ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 25 March 2009 : Copyleft MNU.

ปรัชญาเมธีในคริสตศตวรรษที่ 3 นามว่า Plotinus เกิด ณ ประเทศอียิปต์ และได้รับการฝึกฝนทางด้านปรัชญา ณ เมือง Alexandria ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักปรัชญานีโอเพลโตนิสท์(Neoplatonist) แต่เขาได้ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของศิลปะยิ่งกว่า Plato กล่าว คือเพลโตมีทัศนะคติในแง่ลบต่องานศิลปะ. ในทัศนะของ Plotinus ศิลปะเปิดเผยถึงรูปทรงของวัตถุชิ้นหนึ่งให้ชัดเจนขึ้นเกินกว่าประสบ การณ์ตามปกติ และมันได้ยกเอาจิตวิญญาณไปสู่การพิจารณาเกี่ยวกับสากลภาพ. ตามความคิดของ Plotinus ช่วงขณะที่สูงสุดของชีวิตคือสิ่งที่ลึกลับ กล่าวได้ว่า วิญญาณได้รับการรวมตัวเป็นหนึ่งในโลกของแบบกับพระผู้เป็นเจ้า สำหรับคนๆ หนึ่ง ขณะที่พิจารณาถึงวัตถุทางสุนทรีย์เขาได้สูญเสียตัวของเขาเองไปหรือหลงลืมตัวตนจนสิ้น

H



25-03-2552 (1706)
ความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น สำหรับคนเริ่มเรียน
Aesthetics: ความเรียงของ Arthur C. Danto เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล
ภาควิชาศิลปะ การออกแบบ และสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความแปลนี้เคยเผยแพร่แล้วในรูปเอกสารคำสอนวิชาสุนทรียศาสตร์
เป็นบทความเก่าเมื่อราว ๑๔ ปีที่แล้ว แต่ได้ถูกนำมาปรับปรุงพร้อมเพิ่มเติมเชิงอรรถ
เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้า และการศึกษาศิลปะสำหรับสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(สำหรับบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้นำเสนอต้นฉบับภาษาอังกฤษเอาไว้ในภาคผนวก)

บทความวิชาการนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- Criticism and Psychology of Art (การวิจารณ์และจิตวิทยาศิลปะ)
- Plato: Classical Theories (เพลโต: ทฤษฎีคลาสสิค)
- ศิลปะคือการเลียนแบบในทัศนะของอริสโตเติล
- สุนทรียศาสตร์กับศีลธรรมและการเมือง
- Other Early Approaches (สุนทรียศาสตร์ในช่วงต้นๆ)
- Modern Aesthetics (สุนทรียศาสตร์สมัยใหม่)
- Aesthetics and Art (สุนทรียศาสตร์และศิลปะ)
- Major Contemporary Influences (อิทธิพลทางความคิดร่วมสมัยที่สำคัญ)
- Existentialism (ลัทธิอัตถภาวนิยม)
- Academic Controversies (ข้อถกเถียงในทางวิชาการ)
- Marxism and Freudianism (มาร์กซิสม์ และฟรอยเดียนนิสม์)
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๐๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น สำหรับคนเริ่มเรียน
Aesthetics: ความเรียงของ Arthur C. Danto เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม : แปล
ภาควิชาศิลปะ การออกแบบ และสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ความนำ
สุนทรียศาสตร์: เป็นสาขาของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ในเรื่องความงาม ตลอดรวมถึงความน่าเกลียด ในภาษาฝรั่งเรียกว่าเป็นคุณค่าในเชิงนิเสธ(negative value) นอกจากนี้เรื่องของสุนทรียศาสตร์ยังเกี่ยวกข้องกับประเด็นคำถามที่ว่า คุณสมบัติ(ความงาม - ความน่าเกลียด) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในเชิง"วัตถุวิสัย"(objective) หรือเป็นเรื่องของ"อัตวิสัย"(subjective)ซึ่งมีอยู่ในใจของแต่ละบุคคลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ วัตถุต่างๆ จึงควรที่จะได้รับการสัมผัสโดยวิธีการเฉพาะอันหนึ่ง. นอกจากนี้ สุนทรียศาสตร์ยังตั้งคำถามในเรื่องที่ว่า มันมีความแตกต่างกัน ระหว่าง"ความงาม"และ"ความสูงส่ง"(sublime)หรือไม่?

Criticism and Psychology of Art
การวิจารณ์และจิตวิทยาเกี่ยวกับศิลปะ(criticism and psychology of art) แม้จิตวิทยาจะมีระเบียบวิธีที่เป็นอิสระแตกต่างไป แต่ก็เป็นศาสตร์ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับสุนทรียศาสตร์. จิตวิทยาเกี่ยวกับศิลปะเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับปัจจัยต่างๆ ทางด้านศิลปะ ยกตัวอย่างเช่น การที่มนุษย์ตอบโต้และขานรับต่อสี เสียง เส้น รูปทรง หรือคำต่างๆ และเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับอารมณ์ความรู้สึก. ส่วนการวิจารณ์ศิลปะจำกัดตัวของมันเองกับผลงานศิลปะโดยเฉพาะ มีการวิเคราะห์ถึงโครงสร้าง ความหมาย และปัญหาต่างๆ ในงานศิลปะเปรียบเทียบกับผลงานชิ้นอื่นๆ และมีการประเมินคุณค่างานศิลปะ

ศัพท์คำว่า"สุนทรียศาสตร์"(Aesthetics) ถูกนำเสนอขึ้นมานับแต่ปี ค.ศ. 1753 โดยนักปรัชญาชาวเยอรมัน นามว่า Alexander Gottlieb Baumgarten โดยเขาหมายความถึงรสนิยม ความรู้สึกสัมผัสในความงาม(*), แต่การศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของความงามได้รับการดำเนินการมาหลายศตวรรษแล้ว. ในอดีตนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่สนใจโดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลาย นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา บรรดาศิลปินทั้งหลายได้มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนทัศนะของพวกเขาด้วย

(*) Baumgarten re-coined the word aesthetics to mean taste or "sense" of beauty, thereby inventing its modern usage. The word had been used differently since the time of the ancient Greeks to mean the ability to receive stimulation from one or more of the five bodily senses. In his Metaphysic, Baumgarten defined taste, in its wider meaning, as the ability to judge according to the senses, instead of according to the intellect. Such a judgment of taste is based on feelings of pleasure or displeasure. A science of aesthetics would be, for Baumgarten, a deduction of the rules or principles of artistic or natural beauty from individual "taste."

Plato: Classical Theories
ทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์แรกในขอบเขตนี้เป็นของ Plato นักปรัชญากรีก ผู้ซึ่งเชื่อว่าความเป็นจริง(reality)มีอยู่ในโลกของแบบ(archetypes or forms) ที่เหนือไปจากประสาทสัมผัสของมนุษย์ ซึ่งเป็นต้นแบบต่างๆ ของสรรพสิ่งซึ่งมีอยู่ในโลกแห่งประสบการณ์ของมนุษย์ วัตถุสิ่งของต่างๆ ของประสบการณ์เป็นเพียงตัวอย่าง หรือการเลียนแบบรูปในโลกของแบบทั้งสิ้น นักปรัชญาท่านนี้พยายามให้เหตุผลสำหรับวัตถุเชิงประสบการณ์(ในโลกมนุษย์)กับความเป็นจริง(โลกของแบบ)ที่มันเลียนแบบมา บรรดาศิลปินทั้งหลายลอกแบบวัตถุเชิงประสบการณ์อีกทอดหนึ่ง หรือใช้มันในฐานะเป็นต้นแบบอันหนึ่งสำหรับงานของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ ผลงานของบรรดาศิลปินทั้งหลายจึงเป็นการเลียนแบบของการเลียนแบบอีกทอดหนึ่ง เพื่อความเข้าใจชัดเจนขึ้นขอยกตัวอย่างต่อไปนี้

โลกของแบบ - "ม้า" (ม้าที่มีอยู่ในสมอง/ความคิดของมนุษย์)
โลกของประสบการณ์ - "ม้า" (ม้าที่เราสัมผัส รับรู้จริง - เลียนมาจากโลกของแบบ)
โลกของศิลปะ - "ม้า" (ภาพวาดม้า ที่เขียนเลียนแบบโลกของประสบการณ์)

ความคิดของ Plato นี้ปรากฏเด่นชัดในหนังสือของเขาเรื่อง the Republic(*), Plato ไปไกลมากถึงขนาดให้ขับไล่หรือเนรเทศศิลปินออกไปจากอุตมรัฐซึ่งเป็นสังคมในอุดมคติของเขา ทั้งนี้เพราะเขาคิดว่า ผลงานของศิลปินเหล่านั้นกระตุ้นและสนับสนุนความไร้ศีลธรรม และผลงานประพันธ์ทางด้านดนตรีบางอย่าง เป็นมูลเหตุให้เกิดความขี้เกียจ หรือด้วยการเสพงานศิลปะ ผู้คนอาจถูกยุยงให้เกิดการกระทำเลยเถิดเกินกว่าจะยอมรับได้ไป (immoderate actions)

(*)The Republic (meaning "city-state governance") is a Socratic dialogue by Plato, written in approximately 380 BC. It is one of the most influential works of philosophy and political theory, and Plato's best known work. In Plato's fictional dialogues the characters of Socrates as well as various Athenians and foreigners discuss the meaning of justice and examine whether the just man is happier than the unjust man by imagining a society ruled by philosopher-kings and the guardians. The dialogue also discusses the role of the philosopher, Plato's Theory of Forms, the place of poetry, and the immortality of the soul.

ศิลปะคือการเลียนแบบในทัศนะของอริสโตเติล
อริสโตเติล (Aristotle) ได้พูดถึงเรื่อง "ศิลปะคือการเลียนแบบ" เอาไว้ด้วยเช่นกัน แต่ไม่ใช่ในความหมายอย่างเดียวกันกับเพลโต (Plato) ใครคนหนึ่งสามารถที่จะเลียนแบบ "สิ่งต่างๆ ได้อย่างที่พวกมันควรจะเป็น และ "บางส่วน ศิลปะได้สร้างความสมบูรณ์ในสิ่งที่ธรรมชาติไม่สามารถนำมาซึ่งความสมบูรณ์แบบได้" (art party completes what nature can not bring to a finish) ศิลปินได้แยกแยะรูปทรงออกมาจากสสารของวัตถุบางอย่างของประสบการณ์ ตัวอย่างเช่น ร่างกายของมนุษย์หรือต้นไม้จริงบนโลก และจัดการกับรูปทรงอันนั้นในสสารอีกอย่างหนึ่ง อย่างเช่น เขียนหรือวาดมันลงบนผืนผ้าใบหรือสลักขึ้นมาจากแท่งหินอ่อน ด้วยเหตุนี้ การเลียนแบบจึงมิใช่เพียงแค่การลอกเลียนต้นแบบอันหนึ่งเท่านั้น และไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสัญลักษณ์มาจากของเดิม แต่เป็นสิ่งที่ปรากฏซึ่งมีลักษณะเฉาพะ มีแง่มุมอันหนึ่งของสิ่งต่างๆ และผลงานศิลปะแต่ละชิ้นคือการเลียบแบบมาจากสิ่งสากลหรือทั่วๆ ไป

สุนทรียศาสตร์กับศีลธรรมและการเมือง
สุนทรียศาสตร์ ไม่อาจแยกออกได้จากเรื่องของศีลธรรมและการเมืองสำหรับในทัศนะของ Aristotle และ Plato. Plato ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องของดนตรีเอาไว้ในหนังสือ Politics ของเขา โดยยืนยันว่า "ศิลปะมีผลกระทบต่อบุคลิกภาพหรืออัตลักษณ์ของมนุษย์ และเนื่องจากเหตุนี้ จึงต้องมีกฏเกณฑ์ทางสังคม" ส่วน Aristotle นั้นถือว่า ความสุขคือเป้าหมายของชีวิต (happiness is the aim of life) เขาเชื่อว่าหน้าที่หลักของศิลปะก็คือ การจัดเตรียมความพึงพอใจให้กับมนุษย์

ในหนังสือเรื่อง Poetics เป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับหลักการละครของ Aristotle. เขาอ้างเหตุผลว่า ละครโศกนาฏกรรมมีส่วนกระตุ้นเร้าอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความสงสารและความกลัวได้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวและไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถึงตอนจบของละคร ผู้ดูจะได้รับการฟอกชำระเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ การระบายอารมณ์ของผู้ชมด้วยผลงานศิลปะ(catharsis)(*)อันนี้ ทำให้ผู้ชมละครมีสุขภาพดีขึ้นและด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้มีความสามารถมากขึ้นเกี่ยวกับความสุข

(*) The term in drama refers to a sudden emotional climax that evokes overwhelming feelings of great sorrow, pity, laughter or any other extreme change in emotion, resulting in restoration, renewal and revitalization in members of the audience.

Using the term "catharsis" to refer to a form of emotional cleansing was first done by the Greek philosopher Aristotle in his work Poetics. It refers to the sensation, or literary effect, that would ideally overcome an audience upon finishing watching a tragedy (a release of pent-up emotion or energy). In his previous works, he used the term in its medical sense (usually referring to the evacuation of the "katamenia", the menstrual fluid or other reproductive material). Because of this, F. L. Lucas maintains that catharsis cannot be properly translated as purification or cleansing, but only as purgation. Since before Poetics catharsis was purely a medical term, Aristotle is employing it as a medical metaphor. "It is the human soul that is purged of its excessive passions."

การละครในสมัย Neoclassic นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนเรื่อง Poeties ของ Aristotle อย่างมาก ผลงานต่างๆ ของนักการละครชาวฝรั่งเศส Jean Baptiste Racine, Pierre Corneille และ Moliere นักการละครเหล่านี้ ได้ให้การสนับสนุนหลักการเกี่ยวกับเอกภาพทั้งสาม นั่นคือ เวลา(time) สถานที่(place) และการกระทำ(action) แนวความคิดนี้ได้ครอบงำทฤษฎีต่างๆ ทางวรรณกรรมมาจนกระทั่งมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

Other Early Approaches
ปรัชญาเมธีในคริสตศตวรรษที่ 3 นามว่า Plotinus (AD 204-270) (*) เกิด ณ ประเทศอียิปต์และได้รับการฝึกฝนทางด้านปรัชญา ณ เมือง Alexandria ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักปรัชญานีโอเพลโตนิสท์(Neoplatonist) แต่เขาได้ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของศิลปะยิ่งกว่า Plato ได้กระทำ (กล่าวคือเพลโตมีทัศนะคติในแง่ลบต่องานศิลปะ). ในทัศนะของ Plotinus ศิลปะเปิดเผยถึงรูปทรงของวัตถุชิ้นหนึ่งให้ชัดเจนขึ้นเกินกว่าประสบการณ์ตามปกติ และมันได้ยกเอาจิตวิญญาณไปสู่การพิจารณาใคร่ครวญเกี่ยวกับสากลภาพ. ตามความคิดของ Plotinus ช่วงขณะที่สูงสุดของชีวิตคือสิ่งที่ลึกลับ กล่าวได้ว่า วิญญาณได้รับการรวมตัวเป็นหนึ่งในโลกของแบบกับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่ง Plotinus พูดถึงสิ่งนี้ว่าเป็น "the one" ในภาวะนั้น ประสบการณ์ทางสุนทรีย์(aesthetic experience)ได้เข้ามาใกล้กับประสบการณ์อันลึกลับ(mystical experience). สำหรับคนๆ หนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว ขณะที่พิจารณาไตร่ตรองถึงวัตถุทางสุนทรีย์อยู่นั้น เขาได้สูญเสียตัวของเขาเองไปหรือหลงลืมตัวตนจนสิ้น

(*) Plotinus (ca. 205-270) was a major Hellenistic Egyptian philosopher of the ancient world who is widely considered the father of Neo-Platonism. Much of our biographical information about him comes from Porphyry's preface to his edition of Plotinus' Enneads. While he was himself influenced by the teachings of classical Greek, Persian and Indian philosophy and Egyptian theology, his metaphysical writings later inspired numerous Christian, Jewish, Islamic and Gnostic metaphysicians and mystics over the centuries. Plotinus taught that there is a supreme, totally transcendent "One", containing no division, multiplicity or distinction; likewise it is beyond all categories of being and non-being. The concept of "being" is derived by us from the objects of human experience, and is an attribute of such objects, but the infinite, transcendent One is beyond all such objects, and therefore is beyond the concepts that we derive from them. The One "cannot be any existing thing", and cannot be merely the sum of all such things (compare the Stoic doctrine of disbelief in non-material existence), but "is prior to all existents".

ศิลปะในช่วงยุคกลาง แรกเริ่มเดิมทีเป็นการแสดงออกอันหนึ่งซึ่งเกี่ยวพันกับศาสนาคริสต์ หลักการทางสุนทรีย์มีรากฐานส่วนใหญ่อยู่ในลัทธิ Neoplatonism และต่อมาในช่วงระหว่างสมัยเรอเนสซองค์ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ศิลปะได้เริ่มกลายมาเป็นเรื่องของทางโลกมากขึ้น และสุนทรียศาสตร์ของมันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับยุคคลาสสิค(กรีก) ยิ่งกว่าสุนทรียศาสตร์เชิงศาสนา. สำหรับโลกสมัยใหม่ แรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ต่อความคิดทางสุนทรีย์ในโลกสมัยใหม่ ถือกำเนิดขึ้นในเยอรมนีในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิจารณ์ชาวเยอรมัน Gotthold Ephraim Lessing ในงานเขียนเรื่อง Laokoon (1766) ของเขา ได้ให้เหตุผลว่า ศิลปะมีข้อจำกัดในตัวเองและได้มาถึงจุดสูงสุดของมันเมื่อข้อจำกัดเหล่านี้ได้รับการยอมรับ

นักวิจารณ์และนักโบราณคดีคลาสสิค(กรีก)ชาวเยอรมัน Johann Joachim Winckelmann ยืนยันว่า ตามความคิดเห็นของชนชาวกรีกโบราณ ผลงานศิลปะที่เยี่ยมยอดที่สุดเป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับตัวตน ไม่เป็นเรื่องบุคคล หรือไม่เป็นเรื่องส่วนตัว(impersonal) สัดส่วนในเรื่องของการแสดงออกทางด้านอุดมคติและความสมดุลนั้น เกินไปกว่าเรื่องของปัจเจกชนซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์มันขึ้นมา. นักปรัชญาชาวเยอรมันอีกคนหนึ่ง Johann Gottlieb Fichte พิจารณาว่า ความงามเป็นคุณความดีทางศีลธรรม ศิลปินสร้างสรรค์โลกขึ้นมาใบหนึ่งซึ่งมีความงดงามซึ่งมีคุณค่าเท่ากันกับความจริง นั่นเป็นจุดหมายอันหนึ่ง อันเป็นนิมิตหมายล่วงหน้าว่าอิสรภาพอันสมบูรณ์คือสิ่งซึ่งเป็นเป้าหมายเกี่ยวกับเจตจำนงของมนุษย์. สำหรับ Fichte ศิลปะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล มิใช่เรื่องของสังคม แต่มันทำให้จุดประสงค์ของมนุษย์อันยิ่งใหญ่บรรลุผลสมบูรณ์ได้

Modern Aesthetics
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ปรัชญาเมธีชาวเยอรมันผู้หนึ่ง Immanuel Kant ได้ถูกนำมาเกี่ยวข้องกับเรื่องของการตัดสินทางด้านรสนิยม เขาเสนอว่า วัตถุทั้งหลายได้รับการตัดสินว่างดงาม ขณะที่พวกมันทำให้ความปรารถนาที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ได้รับความพึงพอใจ หมายความว่า การไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนตัวหรือความต้องการที่เป็นส่วนตัว

วัตถุที่มีความงามมิได้มีวัตถุประสงค์ใดๆ โดยเฉพาะ และการตัดสินเกี่ยวกับเรื่องของความงามนั้น ไม่ได้เป็นการแสดงออกของความชอบที่เป็นส่วนตัวเท่านั้น แต่มันเป็นภาวะที่เป็นสากล(beautiful objects have no specific purpose and that judgement of beauty are not expressions of mere personal preference but are universal) ศิลปะควรที่จะให้ความพึงพอใจที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลปะโยชน์ เช่นเดียวกับความงามของธรรมชาติ (Art should give the same disinterested satisfaction as natural beauty). ในเชิงประติทรรศน์ ศิลปะสามารถที่จะบรรลุถึงผลสำเร็จอันหนึ่งซึ่งธรรมชาติไม่อาจบรรลุถึงได้ มันสามารถให้ภาพของความน่าเกลียดและความงามในวัตถุหนึ่งเดียว กล่าวคือ งานจิตรกรรมที่ประณีตสามารถที่จะแสดงถึงใบหน้าที่น่าเกลียดที่ยังคงมีความงดงามได้

G.W.F.Hegel: ตามความคิดของนักปรัชญาชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 G.W.F.Hegel ศิลปะ ศาสนา และปรัชญา คือรากฐานต่างๆ ของพัฒนาการทางด้านจิตวิญญาณอันสูงสุด ความงามในธรรมชาติคือทุกสิ่งทุกอย่างที่จิตวิญญาณของมนุษย์ได้ค้นพบความพึงพอใจ และเป็นที่ถูกใจต่อการฝึกฝนของจิตวิญญาณและอิสรภาพของสติปัญญา บางสิ่งบางอย่างในธรรมชาติสามารถถูกทำให้เป็นที่ถูกใจมากขึ้นและพึงพอใจมากขึ้น และมันเป็นวัตถุทางธรรมชาติต่างๆ เหล่านี้ที่ถูกยอมรับโดยศิลปะต่อความต้องการความพึงพอใจต่างๆ ทางสุนทรีย์

Arthur Schopenhauer: นักปรัชญาชาวเยอรมัน Arthur Schopenhauer เชื่อว่า รูปทรงต่างๆ หรือแบบของสากลภาพนั้น(forms of the universe) เหมือนกับ "แบบ" อันเป็นนิรันดร์กาลของเพลโต (eternal Platonic forms) มันมีอยู่เหนือไปจากโลกของประสบการณ์ และความพึงพอใจทางสุนทรีย์จะถูกทำให้บรรลุถึงได้โดยการพิจารณาไตร่ตรองมันด้วยเป้าหมายของตัวมันเอง อันเป็นวิธีการอันหนึ่งของหลบเลี่ยงไปจากโลกของความเจ็บปวดของประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน. ทั้ง Fichte, Kant, และ Hegel ต่างก็อยู่ในเส้นทางสายตรงของพัฒนาการ ส่วน Schopenhauer โจมตี Hegel แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากทัศนะของ Kant ในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาไตร่ตรองโดยไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์

Friedrich Nietzsche: ปรัชญาเมธีชาวเยอรมันอีกผู้หนึ่ง Friedrich Nietzsche ในช่วงแรกได้ติดตามความคิดของ Schopenhauer แต่ถัดจากนั้น เขาเริ่มแสดงความไม่เห็นด้วยกับ Schopenhauer. Nietzsche เห็นพ้องว่าชีวิตเป็นเรื่องของความโศกสลด แต่มิได้หมายความว่าต้องขจัดเรื่องความโศกสลดทิ้งไป โดยให้การรับรองความรื่นเริง การทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงอย่างเต็มเปี่ยมคือศิลปะ ศิลปะเผชิญหน้ากับความน่ากลัวของสากลภาพ และด้วยเหตุดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องของคนที่เข้มแข็งเท่านั้น ศิลปะสามารถที่จะแปรเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ สู่ความงามได้ และโดยการเปลี่ยนแปลงความน่าหวั่นหวาดที่กระทำลงไปในหนทางนั้น มันอาจได้รับการพิจารณาไตร่ตรองด้วยความเพลิดเพลิน

ถึงแม้ว่า"สุนทรียศาสตร์สมัยใหม่"เป็นจำนวนมาก ได้รับการหยั่งรากอยู่ในความคิดของนักปรัชญาชาวเยอรมัน แต่ความคิดของนักปรัชญาชาวเยอรมันก็ให้ความเคารพต่ออิทธิพลทางความคิดของชาวตะวันตกอื่นๆ อย่างน้อย ผู้ก่อตั้งลัทธิโรแมนติคเยอรมันคนหนึ่ง ก็ได้รับอิทธิพลมาจากงานเขียนต่างๆ ทางสุนทรีย์ของรัฐบุรุษชาวอังกฤษ อย่าง Edmund Burke (*)

(*) Edmund Burke, whose Philosophical Enquiry into the Origin of our Ideas of the Sublime and Beautiful was published in 1757, believed, however, that "terror is in all cases whatsoever . . . the ruling principle of the sublime" and, in keeping with his conception of a violently emotional sublime, his idea of astonishment, the effect which almost all theorists mentioned, was more violent than that of his predecessors: "The passion caused by the great and sublime in nature . . . is Astonishment; and astonishment is that state of the soul, in which all its motions are suspended, with some degree of horror. In this case the mind is so entirely filled with its object, that it cannot entertain any other." [Burke, On the Sublime, ed. J. T. Bolton. 58]

In addition to the emphasis which he places on terror, Burke is important because he explained the opposition of beauty and sublimity by a physiological theory. He made the opposition of pleasure and pain the source of the two aesthetic categories, deriving beauty from pleasure and sublimity from pain. According to Burke, the pleasure of beauty has a relaxing effect on the fibers of the body, whereas sublimity, in contrast, tightens these fibers. Thus, by using the authority of his ingenious theory, he could oppose the beautiful and sublime: "The ideas of the sublime and the beautiful stand on foundations so different, that it is hard, I had almost said impossible, to think of reconciling them in the same subject, without considerably lessening the effect of the one or the other upon the passions'' [113-114]. Burke's use of this physiological theory of beauty and sublimity makes him the first English writer to offer a purely aesthetic explanation of these effects; that is, Burke was the first to explain beauty and sublimity purely in terms of the process of perception and its effect upon the perceiver.
http://www.victorianweb.org/philosophy/sublime/burke.html

Aesthetics and Art
สุนทรียศาสตร์แนวประเพณีนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ได้ถูกครอบงำแนวความคิดเกี่ยวกับศิลปะที่ว่า ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ บรรดานักเขียนนวนิยายทั้งหลาย อย่างเช่น Jane Austen และ Charles Dickens ในอังกฤษ และนักเขียนบทละครอย่างเช่น Carlo Goldoni ในอิตาลี และ Alexandre Dumas Fils (ลูกชายของ Alexandre Dumas pere) ในฝรั่งเศส ได้นำเสนอเรื่องราวสัจจนิยมเกี่ยวกับชนชั้นกลาง. บรรดาจิตรกรทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพวกทำงานในแนว Neoclassical อย่างเช่น Jean Auguste Dominique Ingres, หรือที่ทำงานในแนวทาง Romantic, อย่างเช่น Eugene Delacroix, หรือพวก realist อย่างเช่น Gustave Courbet ได้ทำงานตามแนวทางของพวกเขาด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวังในรายละเอียดที่เหมือนกับชีวิตจริง

ในสุนทรียศาสตร์แนวประเพณีนิยม มักจะได้รับการทึกทักอยู่บ่อยว่า วัตถุทางศิปะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เช่นเดียวกันกับสิ่งที่สวยงาม ผลงานจิตรกรรมต่างๆ อาจจะเป็นการำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ หรือเป็นสิ่งกระตุ้นทางด้านศีลธรรม, ดนตรีอาจให้แรงดลใจต่อความเลื่อมใสศรัทธาหรือความรักชาติ, การละคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมือของ Dumas และนักเขียนบทละครชาวนอร์เวย์ Henrik Ibsen อาจรับใช้การวิพากษ์วิจารณ์สังคมและน้อมนำไปสู่การปฏิรูปทางสังคมอันยิ่งใหญ่

แต่อย่างไรก็ตาม ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวความคิดแบบ avant-garde ที่มีความคิดล้ำหน้าทางสุนทรียศาสตร์เริ่มต้นท้าทายต่อทัศนะในแบบประเพณีนิยม โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีหลักฐานอยู่ในงานด้านจิตรกรรมฝรั่งเศส. บรรดาจิตรกรฝรั่งเศสแนวอิมเพรสชันนิสท์ หรือ French immpressionists หลายคน อย่างเช่น Claude Monet ได้ตำหนิประณามบรรดาจิตรกรแนวแบบแผนนิยม หรือพวก academic สำหรับการเขียนรูปสิ่งที่พวกเขาคิด. พวกเขาควรจะเห็นมากกว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นจริงๆ (they should see rather than what they actually saw) - นั่นคือ ผิวหน้าต่างๆ จำนวนมากมายและรูปทรงต่างๆ ที่ผันแปร อันมีมูลเหตุมาจากการละเล่นที่บิดเบือนไปมาของแสงและเงา ในขณะที่ดวงอาวทิตย์เคลื่อนที่ไป

ในช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 บรรดาจิตรกร Post-Impressionists หลายคน อย่างเช่น Paul Cezanne, Paul Gauguin, และ Vincent van Gogh ต่างก็ถูกนำเข้ามาพัวพันกับโครงสร้างของงานจิตรกรรมอันหนึ่ง โดยการแสดงออกทางจิตวิญญาณของพวกเขายิ่งกว่าด้วยวัตถุที่ปรากฏแก่สายตาในโลกธรรมชาติ. ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสนใจในโครงสร้างอันนี้ได้รับการพัฒนายิ่งๆ ขึ้น โดยบรรดาจิตรกร cubist อย่างเช่น Pablo Picasso และการเกี่ยวพันกับศิลปิน Expressionists ที่ได้รับการสะท้อนถ่ายอยู่ในงานของ Henri Matisse และศิลปินในแนว Fauves คนอื่นๆ และจากภาพเขียนของบรรดาจิตรกรในแนว expressionism อาจพบเห็นได้ในบทละครของ August Strindberg นักเขียนบทละครชาวสวีเดน และ Frank Wedekind นักเขียนบทละครชาวเยอรมัน

ใกล้เคียงและเกี่ยวโยงกับวิธีการแบบ non-representstional approaches หรือ "นามธรรมศิลปะ" คือหลักการเกี่ยวกับ "ศิลปะเพื่อศิลปะ"(art for art' s sake) ซึ่งได้สืบทอดมาจากทัศนะของ Kant ที่ว่า "ศิลปะมีเหตุผลสำหรับการดำรงอยู่ของตัวมันเอง"(Art has its own reason for being) วลีดังกล่าวนี้ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศส Victor Cousin ในปี ค.ศ. 1818 หลักการนี้บางครั้งเรียกว่าลัทธิสุนทรียศาสตร์(aestheticism) (*) ซึ่งได้รับการสนับสนุนในอังกฤษโดยนักวิจารณ์อย่าง Water Horation Pater โดยบรรดาจิตรกร Pre-Raphaelite (จิตรกรอังกฤษกลุ่มหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งสนใจกับเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ในยุคกลาง ปกรณัมแบบโรแมนติค และคติชาวบ้าน) และโดยจิตรกรชาวอเมริกันที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศ James ABBott Mcneil Whistler. ในประเทศฝรั่งเศส มีขัอบัญญัติทางด้านความเชื่อของกวีในแนว symbolist อย่างเช่น Charles Baudelaire. อาจกล่าวได้ว่า "ศิลปะเพื่อศิลปะ" หลักการอันนี้ ได้อยู่ข้างใต้หรือทำหน้าที่รองรับศิลปะ avant-garde ของตะวันตกมากที่สุดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20

(*) Aestheticsm: the doctrine that aesthetic standards are autonomous and not subject to political, moral, or religious criteria. This term used pejoratively to describe those who believe only in "art for art's sake," to the exclusion of all other human activities.

Major Contemporary Influences
อิทธิพลทางความคิดร่วมสมัยที่สำคัญ:
นักปรัชญา 4 คนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับว่ามีอิทธิพลในช่วงแรกของสุนทรียศาสตร์ทุกวันนี้

Henri Bergson: เริ่มจากฝรั่งเศส Henri Bergson นิยามวิทยาศาสตร์ว่าเป็นประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องของสติปัญญาในการสร้างสรรค์ระบบอันหนึ่งของสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอธิบายความเป็นจริงที่เชื่อกันโดยทั่วไป แต่อันที่จริงกลับเป็นเท็จ แต่อย่างไรก็ตาม ศิลปะได้รับการวางรากฐานอยู่บนสหัชญาน(intuition) ซึ่งเป็นการหยั่งรู้ความจริงโดยตรงซึ่งไม่ผ่านกระบวนการของเหตุผลหรือผ่านสื่อกลางทางความคิด ดังนั้น ศิลปะจึงตัดผ่านสัญลักษณ์ตามขนบประเพณีและความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับผู้คน ชีวิต และสังคม และเผชิญหน้ากับความเป็นจริงโดยตัวของมันเอง

Benedetto Croce: ในอิตาลี นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ Benedetto Croce ได้ให้การยกย่องเรื่องของสหัชญานนี้ด้วยเช่นกัน แต่เขาได้พิจารณามันเป็นเรื่องของการรับรู้โดยทันทีเกี่ยวกับวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้วัตถุชิ้นนั้นปรากฏเป็นรูปทรงขึ้นมา มันเป็นการหยั่งรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ก่อนที่ใครคนหนึ่งจะสะท้อนภาพเกี่ยวกับมันออกมา ผลงานศิลปะต่างๆ คือการแสดงออก เป็นรูปทรงที่เป็นวัตถุของสหัชญานอันนั้น แต่ความงามและความน่าเกลียดมิใช่คุณสมบัติของผลงานศิลปะ แต่มันเป็นคุณสมบัติต่างๆ ของจิตวิญญาณที่แสดงออกในลักษณะของสหัชญานในงานศิลปะเหล่านี้

Geoge Santayana: ปรัชญาเมธีและกวีชาวอเมริกัน Geoge Santayana ให้เหตุผลว่า เมื่อใครคนหนึ่งรู้สึกพึงพอใจต่อสิ่งๆ หนึ่ง ความพึงพอใจนั้นอาจได้รับการถือว่าเป็นคุณสมบัติของสิ่งนั้นในตัวมันเอง(เป็นวัตถุวิสัย - objective) ยิ่งกว่าที่จะเป็นการขานรับต่อวัตถุสิ่งนั้นในเชิงอัตวิสัย(subjective) เทียบกันกับที่ใครคนหนึ่งอาจจะอธิบายลักษณะการกระทำของมนุษย์บางคนว่าเป็นสิ่งที่ดีในตัวมันเอง แทนที่จะเรียกว่ามันดีเพราะใครคนหนึ่งเห็นพ้องหรือยอมรับมัน ดังนั้นเมื่อใครสักคนพูดว่า วัตถุชิ้นนั้นเป็นสิ่งสวยงาม ไม่ใช่เพียงว่ามันเป็นความปลื้มปิติทางสุนทรีย์ของคนๆ นั้นในสีสรรและรูปทรงของมันที่โน้มนำให้เขาเรียกมันว่าสิ่งสวยงาม แต่เป็นเพราะวัตถุชิ้นนั้นมันมีความงามในตัวของมันเอง

John Dewey: นักการศึกษาและนักปรัชญาชาวอเมริกัน มองว่าประสบการณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งตัดขาด เป็นเศษชิ้นส่วน เต็มไปด้วยการเริ่มต้นโดยปราศจากข้อสรุปใดๆ หรือเป็นประสบการณ์ต่างๆ ที่มีการยักย้ายเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมอย่างจงใจ ในฐานะที่เป็นวิธีการไปสู่เป้าหมาย ประสบการณ์ที่เป็นข้อยกเว้นเหล่านั้นซึ่งไหลเลื่อนจากจุดเริ่มต้นต่างๆ ของมันไปสู่ความสมบูรณ์ต่างๆ คือสุนทรียะ ประสบการณ์ทางสุนทรีย์คือความเพลิดเพลินสำหรับจุดหมายของตัวมันเอง เป็นสิ่งสมบูรณ์และมีส่วนประกอบในตัวเองพร้อมมูล และเป็นบทสรุปโดยตัวมันเอง มิใช่เพียวเครื่องมือที่นำพาไปสู่จุดหมายอื่น(Aesthetic experience is enjoyment for its owm sake, is complete and self-contained, and is terminal, not merely instrumental to other purposes)

Marxism and Freudianism
ขบวนการเคลื่อนไหวที่มีพลัง 2 ขบวนการในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ Marxism และ Freudianism. Marxism เคลื่อนไหวในขอบเขตของเศรษฐศาสตร์และการเมือง ส่วน Freudianism เคลื่อนไหวในด้านจิตวิทยา ซึ่งทั้งสองขบวนการทางความคิด ปฏิเสธหลักการเกี่ยวกับ"ศิลปะเพื่อศิลปะ" และได้ยืนยันอีกครั้งถึงประโยชน์ในทางปฏิบัติของศิลปะ. ลัทธิ Marxism มองศิลปะในฐานะที่เป็นการแสดงออกของความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีรากฐานทางเศรษฐกิจ บรรดาผู้ให้การสันบสุนน Marxism ยืนยันว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่ก้าวหน้า ต่อเมื่อมันให้การสนับสนุนมูลเหตุของสังคมภายใต้สิงซึ่งมันได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา

Sigmund Freud เชื่อว่า คุณค่าของศิลปะนั้นดำรงอยู่ที่การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการบำบัด(the value of art to lie in its therapeutic use): โดยวิธีการอันนี้ ทั้งศิลปินและสาธารณชนสามารถที่จะเปิดเผยความขัดแย้งต่างๆ ที่ซ่อนเร้นและความตึงเครียดให้ได้รับการระบายออกมา ความเพ้อฝันต่างๆ และฝันกลางวัน(famtasies and daydreams) ที่มีอยู่ในงานศิลปะ ได้ถูกแปรมาจากการหลบเลี่ยงจากชีวิตเข้าไปสู่หนทางต่างๆ ของการสร้างภาพ. ในการเคลื่อนไหวทางศิลปะของพวก surrealist ในงานจิตรกรรมและกวีนิพนธ์ จิตไร้สำนึกต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นต้นกำเนิดของสาระและเทคนิค. กระแสธารแห่งความสำนึกที่เด่นชัดในเรื่องที่แต่งขึ้นอย่างนวนิยายต่างๆ ของนักเขียนชาวไอริช James Joyce เป็นสิ่งที่ไม่เพียงได้รับการสืบทอดมาจากผลงานของ Freud เท่านั้น แต่บางส่วนได้สืบทอดมาจาก The Principles of Psychology(1890) โดยนักปรัชญาและจิตวิทยาชาวอเมริกัน William James และบางส่วนได้นำมาจากนวนิยายฝรั่งเศส We'll to the Woods No More(1887) โดย Edouard Dujardin.

Existentialism
นักปรัชญาและนักเขียนชาวฝรั่งเศส Jean paul Sartre ได้ให้การสนับสนุนรูปแบบอันหนึ่งของลัทธิ Existentialism ในแนวคิดนี้ได้มองศิลปะว่าเป็นการแสดงออกอันหนึ่งเกี่ยวกับอิสรภาพของปัจเจกบุคคลที่จะเลือก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของพวกเขาสำหรับการเลือกนั้น การไร้ซึ่งความหวัง เป็นส่งที่ถูกสะท้อนอยู่ในงานศิลปะ แต่มิใช่การสิ้นสุด อันที่จริงมันคือจุดเริ่มต้น ทั้งนี้เพราะมันได้ไปทำลายความรู้สึกผิดและปลดเปลื้องเราจากสิ่งซึ่งเป็นความทุกข์ปกติของมนุษย์ ดังนั้นมันจึงเป็นการเปิดทางให้กับอิสรภาพที่แท้จริง

Academic Controversies
การโต้แย้งต่างๆ ทางวิชาการของคริสตศตวรรษที่ 20 ได้หมุนไปรอบๆ เรื่องราวเกี่ยวกับความหมายของศิลปะ นักวิจารณ์และนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงความหมายของภาษาและตรรกะ(sementicist) ชาวอังกฤษ I.A.Richards อ้างว่า ศิลปะคือภาษาอันหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่นำพาหรือถ่ายทอดความคิดและข้อมูลออกมา ตลอดรวมถึงอารมณ์ความรู้สึกอันหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่แสดงออก ปลุกเร้า และสร้างความตื่นเต้นแก่ความรู้สึก และในทัศนะของเขา ถือว่า ศิลปะเป็นภาษาทางอารมณ์ ซึ่งมีระเบียบกฏเกณฑ์และความเชื่อมโยงกับประสบการณ์และทัศนะคติต่างๆ แต่ไม่ได้บรรจุความหมายทางสัญลักษณ์ใดๆ

ผลงานของ Richards เป็นสิ่งสำคัญสำหรับประโยชน์ทางเทคนิคด้านจิตวิทยาด้วย ในการศึกษาปฏิกิริยาทางสุนทรีย์เรื่อง Practical Criticism(1929) เขาได้อธิบายการทดลองต่างๆ ซึ่งเผยให้รู้ว่าคนที่มีการศึกษาสูง ต่างถูกกำหนดโดยการศึกษาของพวกเขา โดยการถ่ายทอดความคิดเห็น และโดยผ่านองค์ประกอบทางสังคมและสถานการณ์ต่างๆ ในการตอบโต้ทางสุนทรีย์ของพวกเขา. ส่วนนักเขียนคนอื่นๆ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบต่างๆ ที่มาจากเงื่อนไขของขนบจารีต แฟชั่น ความนิยมและความกดดันทางสังคมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 18 บทละครของ William Shakespears ได้ถูกมองว่าเป็นศิลปะอนารยชนและศิลปะแบบกอธิค (เป็นคำที่ค่อนไปในเชิงดูถูก) ที่แพร่หลายดาษๆ ทั่วไป

ความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นในเรื่องสุนทรียศาสตร์ ได้ปรากฏออกมาในรูปของนิตยสารที่ออกตามกำหนดเวลา อย่างเช่น Journal of Aesthetics and Art Criticism, ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1941; และ Revue d' Esthetique, ก่อตั้งขึ้นในประเทศฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1948; และนิตยสาร British Journal of Aesthetics ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1960.
_________________________________

เรียบเรียงจากงานเขียนของ Arthur C. Danto จากเรื่อง Aesthetics
"Aesthetics" Microsoft Encarta. Multimedia / Encyclopedia : 1994 (CD-ROM).
แปลเพื่อการศึกษา เมื่อวันที่ 15-25 ตุลาคม 2538
_________________________________

ภาคผนวก

Aesthetics
I INTRODUCTION
Aesthetics, branch of philosophy concerned with the essence and perception of beauty and ugliness. Aesthetics also deals with the question of whether such qualities are objectively present in the things they appear to qualify, or whether they exist only in the mind of the individual; hence, whether objects are perceived by a particular mode, the aesthetic mode, or whether instead the objects have, in themselves, special qualities-aesthetic qualities. Philosophy also asks if there is a difference between the beautiful and the sublime.

Criticism and the psychology of art, although independent disciplines, are related to aesthetics. The psychology of art is concerned with such elements of the arts as human responses to color, sound, line, form, and words and with the ways in which the emotions condition such responses. Criticism confines itself to particular works of art, analyzing their structures, meanings, and problems, comparing them with other works, and evaluating them.

The term aesthetics was introduced in 1753 by the German philosopher Alexander Gottlieb Baumgarten, but the study of the nature of beauty had been pursued for centuries. In the past it was chiefly a subject for philosophers. Since the 19th century, artists also have contributed their views.

II CLASSICAL THEORIES
The first aesthetic theory of any scope is that of Plato, who believed that reality consists of archetypes, or forms, beyond human sensation, which are the models for all things that exist in human experience. The objects of such experience are examples, or imitations, of those forms. The philosopher tries to reason from the object experienced to the reality it imitates; the artist copies the experienced object, or uses it as a model for the work. Thus, the artist's work is an imitation of an imitation.

Plato's thinking had a marked ascetic strain. In his Republic, Plato went so far as to banish some types of artists from his ideal society because he thought their work encouraged immorality or portrayed base characters, and that certain musical compositions caused laziness or incited people to immoderate actions.

Aristotle also spoke of art as imitation, but not in the Platonic sense. One could imitate "things as they ought to be," he wrote, and "art partly completes what nature cannot bring to a finish." The artist separates the form from the matter of some objects of experience, such as the human body or a tree, and imposes that form on another matter, such as canvas or marble. Thus, imitation is not just copying an original model, nor is it devising a symbol for the original; rather, it is a particular representation of an aspect of things, and each work is an imitation of the universal whole.

Aesthetics was inseparable from morality and politics for both Aristotle and Plato. The former wrote about music in his Politics, maintaining that art affects human character, and hence the social order. Because Aristotle held that happiness is the aim of life, he believed that the major function of art is to provide human satisfaction. In the Poetics, his great work on the principles of drama, Aristotle argued that tragedy so stimulates the emotions of pity and fear, which he considered morbid and unhealthful, that by the end of the play the spectator is purged of them. This catharsis makes the audience psychologically healthier and thus more capable of happiness. Neoclassical drama since the 17th century has been greatly influenced by Aristotle's Poetics. The works of the French dramatists Jean Baptiste Racine, Pierre Corneille, and Moli?re, in particular, advocate its doctrine of the three unities: time, place, and action. This concept dominated literary theories up to the 19th century.

III OTHER EARLY APPROACHES
The 3rd-century philosopher Plotinus, born in Egypt and trained in philosophy at Alexandria, although a Neoplatonist, gave far more importance to art than did Plato. In Plotinus's view, art reveals the form of an object more clearly than ordinary experience does, and it raises the soul to contemplation of the universal. According to Plotinus, the highest moments of life are mystical, which is to say that the soul is united, in the world of forms, with the divine, which Plotinus spoke of as "the One." Aesthetic experience comes closest to mystical experience, for one loses oneself while contemplating the aesthetic object.

Art in the Middle Ages was primarily an expression of religion, with an aesthetic principle based largely on Neoplatonism. During the Renaissance in the 15th and 16th centuries, art became more secular, and its aesthetics were classical rather than religious. The great impetus to aesthetic thought in the modern world occurred in Germany during the 18th century. The German critic Gotthold Ephraim Lessing, in his Laokoon (1766), argued that art is self-limiting and reaches its height only when these limitations are recognized. The German critic and classical archaeologist Johann Joachim Winckelmann maintained that, in accordance with the ancient Greeks, the best art is impersonal, expressing ideal proportion and balance rather than its creator's individuality. The German philosopher Johann Gottlieb Fichte considered beauty a moral virtue. The artist creates a world in which beauty, as much as truth, is an end, foreshadowing that absolute freedom which is the goal of the human will. For Fichte, art is individual, not social, but it fulfills a great human purpose.

IV MODERN AESTHETICS
The 18th-century German philosopher Immanuel Kant was concerned with judgments of taste. Objects are judged beautiful, he proposed, when they satisfy a disinterested desire: one that does not involve personal interests or needs. It follows from this that beautiful objects have no specific purpose and that judgments of beauty are not expressions of mere personal preference but are universal. Although one cannot be certain that others will be satisfied by objects he or she judges to be beautiful, one can at least say that others ought to be satisfied. The basis for one's response to beauty exists in the structure of one's mind.

Art should give the same disinterested satisfaction as natural beauty. Paradoxically, art can accomplish one thing nature cannot. It can offer ugliness and beauty in one object. A fine painting of an ugly face is still beautiful.

According to the 19th-century German philosopher G. W. F. Hegel, art, religion, and philosophy are the bases of the highest spiritual development. Beauty in nature is everything that the human spirit finds pleasing and congenial to the exercise of spiritual and intellectual freedom. Certain things in nature can be made more congenial and pleasing, and it is these natural objects that are reorganized by art to satisfy aesthetic demands.

The German philosopher Arthur Schopenhauer believed that the forms of the universe, like the eternal Platonic forms, exist beyond the worlds of experience, and that aesthetic satisfaction is achieved by contemplating them for their own sakes, as a means of escaping the painful world of daily experience.

Fichte, Kant, and Hegel are in a direct line of development. Schopenhauer attacked Hegel but was influenced by Kant's view of disinterested contemplation. The German philosopher Friedrich Nietzsche followed Schopenhauer at first, then disagreed with him. Nietzsche concurred that life is tragic, but thought that this should not preclude acceptance of the tragic with joyous affirmation, the full realization of which is art. Art confronts the terrors of the universe and is therefore only for the strong. Art can transform any experience into beauty, and by so doing transforms its horrors in such a way that they may be contemplated with enjoyment.
Although much modern aesthetics is rooted in German thought, German thinking was subject to other Western influences. Lessing, a founder of German romanticism, was affected by the aesthetic writings of the British statesman Edmund Burke.

V AESTHETICS AND ART
Traditional aesthetics in the 18th and 19th centuries was dominated by the concept of art as imitation of nature. Novelists such as Jane Austen and Charles Dickens in England and dramatists such as Carlo Goldoni in Italy and Alexandre Dumasfils in France presented realistic accounts of middle-class life. Painters, whether neoclassical, such as Jean-Auguste-Dominique Ingres, romantic, such as Eug?ne D?lacroix, or realist, such as Gustave Courbet, rendered their subjects with careful attention to lifelike detail.

In traditional aesthetics it was also frequently assumed that art objects are useful as well as beautiful. Paintings might commemorate historical events or encourage morality. Music might inspire piety or patriotism. Drama, especially in the hands of Dumas and the Norwegian Henrik Ibsen, might serve to criticize society and so lead to reform.

In the 19th century, however, avant-garde concepts of aesthetics began to challenge traditional views. The change was particularly evident in painting. French impressionists, such as Claude Monet, denounced academic painters for depicting what they thought they should see rather than what they actually saw-that is, surfaces of many colors and wavering forms caused by the distorting play of light and shadow as the sun moves.

In the late 19th century, postimpressionists such as Paul C?zanne, Paul Gauguin, and Vincent van Gogh were more concerned with the structure of a painting and with expressing their own psyche than with representing objects in the world of nature. In the early 20th century this structural interest was developed further by cubist painters such as Pablo Picasso, and the expressionist concern was reflected in the work of Henri Matisse and other fauves and by the German expressionists such as Ernst Ludwig Kirchner. The literary aspects of expressionism can be seen in the plays of August Strindberg, a Swede, and Frank Wedekind, a German.

Closely connected with these relatively nonrepresentational approaches to art was the principle of "art for art's sake," which was derived from Kant's view that art has its own reason for being. The phrase was first used by the French philosopher Victor Cousin in 1818. This doctrine, sometimes called aestheticism, was espoused in England by the critic Walter Horatio Pater, by the Pre-Raphaelite painters, and by the expatriate American painter James Abbott McNeill Whistler. In France it was the credo of such symbolist poets as Charles Baudelaire. The "art for art's sake" principle underlies most of avant-garde Western art of the 20th century.

VI MAJOR CONTEMPORARY INFLUENCES
Four philosophers of the late 19th and early 20th centuries have been the primary influences on present-day aesthetics. In France Henri Bergson defined science as the use of intelligence to create a system of symbols that supposedly describes reality but actually falsifies it. Art, however, is based on intuition, which is a direct apprehension of reality unmediated by thought. Thus art cuts through conventional symbols and beliefs about people, life, and society and confronts one with reality itself.

In Italy the philosopher and historian Benedetto Croce also exalted intuition, but he considered it the immediate awareness of an object that somehow gives that object form. It is the apprehension of things before one reflects about them. Works of art are the expression, in material form, of such intuitions; but beauty and ugliness are not qualities of the works of art but qualities of the spirit expressed intuitively in these works of art.

The American philosopher and poet George Santayana argued that when one takes pleasure in a thing the pleasure may be regarded as a quality of the thing itself, rather than as a subjective response to it. Just as one may characterize some human act as good in itself, instead of calling it good merely because one approves it, so one may say that some object is beautiful, not merely that one's aesthetic delight in its color and form leads one to call it beautiful.

John Dewey, the American educator and philosopher, viewed human experience as disconnected, fragmentary, full of beginnings without conclusions, or as experiences deliberately manipulated as means to ends. Those exceptional experiences that flow from their beginnings to consummations are aesthetic. Aesthetic experience is enjoyment for its own sake, is complete and self-contained, and is terminal, not merely instrumental to other purposes.

Marxism and Freudianism
Two powerful movements, Marxism in the fields of economics and politics and Freudianism in psychology, have rejected the art-for-art principle and reasserted art's practical uses. Marxism treats art as an expression of the underlying economic relations in society. Marxist proponents maintain that art is great only when it is "progressive," that is, when it supports the cause of the society under which it is created.

Sigmund Freud believed the value of art to lie in its therapeutic use: It is by this means that both the artist and the public can reveal hidden conflicts and discharge tensions. Fantasies and daydreams, as they enter into art, are thus transformed from an escape from life into ways of meeting it. In the surrealist movement in painting and poetry, the unconscious is used as a source of material. The stream-of-consciousness technique of fiction, notably in the novels of the Irish writer James Joyce, was derived not only from Freud's work but partly from The Principles of Psychology (1890) by the American philosopher and psychologist William James and partly from the French novel We'll to the Woods No More (1887; translated 1957) by Edouard Dujardin.

Existentialism
More recently, the French philosopher and writer Jean-Paul Sartre advocated a form of existentialism in which art is seen as an expression of the freedom of the individual to choose, and as such demonstrates the individual's responsibility for his or her choices. Despair, as reflected in art, is not an end but a beginning, because it eradicates the guilts and excuses from which people ordinarily suffer, thus opening the way for genuine freedom.

C Academic Controversies Academic controversies of the 20th century have revolved about meaning in art. The British critic and semanticist I. A. Richards claimed that art is a language. He asserted that two types of language exist: the symbolic, which conveys ideas and information; and the emotive, which expresses, evokes, and excites feelings and attitudes. He regarded art as emotive language, giving order and coherence to experience and attitudes, but containing no symbolic meaning.

Richards's work was important also for its use of psychological techniques in studying aesthetic reactions. In Practical Criticism (1929) he described experiments revealing that even highly educated people are conditioned by their education, by handed-down opinion, and by other social and circumstantial elements in their aesthetic responses. Other writers have commented on the conditioning effects of tradition, fashion, and other social pressures, noting, for example, that in the early 18th century the plays of William Shakespeare were viewed as barbarous and Gothic art as vulgar.

Growing interest in aesthetics is revealed by the establishment of the periodicals Journal of Aesthetics and Art Criticism, founded in the United States in 1941; Revue d'Esthetique, founded in France in 1948; and the British Journal of Aesthetics, founded in 1960.
Contributed By:
Arthur C. Danto

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1650 เรื่อง หนากว่า 33000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com