ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๙ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 09 March 2009 : Copyleft MNU.

ภายในดินแดนของรัฐประชาธิปไตยหนึ่งๆ รัฐมีอำนาจเหนือดินแดนตามหลักการที่ว่าด้วยหลักอำนาจอธิปไตยสูงสุดเป็นของปวงชนและของรัฐ ซึ่งในปัจจุบันรัฐเหล่านี้ต่างยอมรับในหลักการดังกล่าว การยอมรับหลักอำนาจอธิปไตยนั้น นอกจากรัฐจะมีสิทธิหรืออำนาจเหนือดินแดนแล้ว สิทธิหรืออำนาจดังกล่าว จะต้องถูกใช้อย่างชอบธรรม- เป็นระบบ และความชอบธรรมของกระบวนการในการใช้อำนาจรัฐดังกล่าวนี้เอง ที่นำไปสู่การก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐ และเรียกร้องให้รัฐต้องทำหน้าที่ในด้านต่างๆ ซึ่งเรียกหน้าที่เหล่านั้นว่าบริการสาธารณะ สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อม ถือว่าเป็นหน้าที่บริการสาธารณะอย่างหนึ่งซึ่งรัฐจะต้องดำเนินการใช้อำนาจ ดังจะเห็นได้จากการจัดองค์กรของรัฐที่ถูกกำหนดโดยกฎหมายให้ทำหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง

H



09-03-2552 (1698)
สถานการณ์มลพิษทางอากาศในเขตภาคเหนือตอนบน: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
กฎหมายอากาศ: มาตรการกำจัดมลพิษฝุ่นควันในเขตภาคเหนือ (๒)
ไพสิฐ พาณิชย์กุล : เขียน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความวิชาการทางกฎหมายนี้ ได้รับมาจากผู้เขียน เดิมชื่อ:
"สถานการณ์มลพิษทางอากาศในเขตภาคเหนือตอนบน: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต"
เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อพิจารณามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวเนื่อง มาเป็นเครื่องมือในการลดมลพิษทางอากาศ

บทความวิชาการกฎหมายต่อไปนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ
- กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษจากสถานประกอบการ
- กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษจากครัวเรือนและชุมชน
- แหล่งกำเนิดมลพิษ ผลกระทบ กับมาตราการทางกฎหมาย
- ข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของระบบกฎหมาย
- ข้อเท็จจริงของเมืองเชียงใหม่
- ข้อเสนอแนะในทางกฎหมาย
- การใช้มาตรการในทางกฎหมายสิ่งแวดล้อม
- การใช้มาตรการทางสังคมของประชาชน
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๙๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๙ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สถานการณ์มลพิษทางอากาศในเขตภาคเหนือตอนบน: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
กฎหมายอากาศ: มาตรการกำจัดมลพิษฝุ่นควันในเขตภาคเหนือ (๒)
ไพสิฐ พาณิชย์กุล : เขียน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

3. พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
หลักการของการจัดการตามพระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเช่นเดียวกับ หลักการของพระราชบัญญัติรถยนต์คือใช้ระบบการควบคุมทางทะเบียน (*) ดังนั้นจึงจะไม่กล่าวซ้ำ เพียงแต่ต้องการที่จะขยายความเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ที่ หากมองในแง่ของแหล่งกำเนิดมลพิษยานพาหนะที่นำมาใช้ในการขนส่งอาจจะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่สามารถผลิตมลพิษได้มากว่ายานพาหนะทั่วไป แต่ในขณะเดียวกัน ภายใต้อำนาจของรัฐตามพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหามลพิษจากแหล่งกำเนิดจากรถยนต์ได้ ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการใช้ระบบการขนส่งมวลชนมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถที่จะสร้างมาตราการต่างๆ ภายใต้พระราชบัญญัตินี้เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้

4. พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
หลักการของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือการจัดการระบบการจราจรทางบกให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ที่ใช้ยานพาหนะ ผู้ที่สัญจรไปมา ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้เป็นหน้าที่ของทุกๆฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการจราจร ซึ่งมีหลายส่วนโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับรถยนต์ไปเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติสองฉบับคือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ดังที่ได้กล่าวมา

อย่างไรก็ตามจากสภาพปัญหาที่เกิดจากการจราจร ทั้งในด้านของอุบัติเหตุทั้งที่ร้ายแรงและที่ไม่ร้ายแรง การใช้ทางสัญจรที่ผิดวัตถุประสงค์ ฯลฯ จึงทำให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยต้องการที่จะให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการควบคุมยานพาหนะ ที่จะนำมาใช้ในการสัญจรที่จะต้องคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรง มีเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่สร้างความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ รบกวน และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเกินที่กฎหมายกำหนด มาตราการความปลอดภัยดังกล่าวนี้สามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะได้เป็นอย่างดี

5. พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535
แม้พระราชบัญญัติฉบับนี้จะมิได้เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิดมลพิษเช่นเดียวกฎหมายฉบับอื่น ดังที่กล่าวมาข้างต้นโดยตรงก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทางหลวงซึ่งรวมถึงผู้ที่ขับขี่ยวดยานพาหนะและบุคคลใดๆ ที่ใช้ทางมีหน้าที่ที่จะต้องไม่ทำให้เขตทางหลวงสกปรก อันเป็นที่มาของฝุ่นละออง สิ่งสกปรกทั้งหลายที่จะปลิวปนเปื้อนในอากาศ

6. ประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2514
แม้ประกาศของคณะปฎิวัติฉบับนี้จะประกาศใช้มาแล้วเป็นเวลานานก็ตาม แต่ประกาศคณะปฎิวัติดังกล่าวก็ยังสามารถใช้ในการกำหนดมาตราการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุม การป้องกัน และการแก้ไขมลพิษทางอากาศที่อยู่ในรูปของควันอันตรายต่อสุขภาพ เป็นเหตุรำราญ และมลพิษทางเสียง ที่เกิดจากยานพาหนะที่เป็นรถยนต์และเรือที่ใช้เครื่องยนต์ที่ใช้สัญจรในแม่น้ำลำคลอง

7. พระราชบัญญัติเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ต้องการที่จะควบคุมกิจการทั้งหลายที่เกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง และมิติหนึ่งที่พระราชบัญญัตินี้กล่าวถึงคือ คุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเท่าที่ได้ดำเนินการมาในอดีตและส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันให้กับสถานบริการน้ำมันต่างๆ ต้องมีการปรับตัวโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสารที่ผสมในน้ำมัน เพื่อป้องกันมิให้เครื่องยนต์สะดุดจากสารตะกั่วที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไปเป็นสารชนิดอื่น ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงเอื้อต่อการผลักดันให้เกิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่สะอาดมากขึ้นได้

(ข) กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษจากสถานประกอบการ

1. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้มีเพื่อควบคุมดูแลการประกอบกิจการโรงงานให้เหมาะสม โดยแบ่งโรงงานออกเป็น 3 ประเภท
กลไกที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศตามกฎหมายฉบับนี้ ได้กำหนดให้โรงงานจำพวกใดจำพวกหนึ่งหรือทุกจำพวก ต้องปฏิบัติตามในเรื่องที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะอาคารและลักษณะภายในของโรงงาน ลักษณะและชนิดของเครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ คนงานที่ต้องมีความรู้ตามประเภทชนิดหรือขนาดของโรงงาน หลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ กรรมวิธีการผลิต เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อป้องกันหรือระงับหรือบรรเทาอันตราย ความเสียหาย ความเดือดร้อนที่อาจเกิดแก่บุคคลหรือทรัพย์สินในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียง มาตรฐานและวิธีควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม การจัดให้มีเอกสารเพื่อการควบคุมหรือตรวจสอบ ข้อมูลที่จำเป็นที่ผู้ประกอบกิจการจะต้องแจ้งตามระยะเวลาที่กำหนด และการอื่นใดที่คุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน

ในมาตรา 8 (4) รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ กรรมวิธีการผลิตและการจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใด เพื่อป้องกันหรือระงับหรือบรรเทาอันตรายความเสียหายหรือความเดือดร้อนที่อาจเกิดแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน และใน ( 5 ) ก็ให้อำนาจในการกำหนดมาตราฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียและมลพิษต่างๆ นอกจากนั้นมาตราการในเชิงลงโทษตามที่พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ก็มีมาตราการหลายๆ อย่างอาทิเช่น การกำหนดให้ต้องแก้ไข การสั่งให้หยุดการเดินเครื่องจักร การสั่งปิดโรงงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การเพิกถอนใดอนุญาต การปรับ การใช้มาตราการลงโทษในทางอาญา ฯลฯ เป็นต้น

ปัญหาของกฎหมายโรงงานคือการขาดสภาพบังคับอย่างจริงจัง และยังมีโรงงานกระจัดกระจายโดยทั่วไป ประกอบกับการที่กฎหมายผังเมืองไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ก็ยิ่งทำให้สภาพมลพิษยิ่งเพิ่มขึ้นและฟุ้งกระจาย

2. พระราชบัญญัติ ผังเมือง พ.ศ. 2518
หลักการและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติผังเมืองที่ต้องการวางแผนและกำหนดการใช้พื้นที่ต่างๆ ในเขตเมืองให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งตามพระราชบัญญัติผังเมือง การวางผังเมืองหมายถึง การวาง จัดทำ และดำเนินการให้เป็นไปตามผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะในบริเวณเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท เพื่อสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมืองขึ้นใหม่ หรือแทนเมืองหรือส่วนของเมืองที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้มีหรือทำให้ดียิ่งขึ้นซึ่งสุขลักษณะความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม เพื่อส่งเสริมการเศรษฐกิจสังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือเพื่อบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิประเทศที่งดงาม หรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ

ด้วยเหตุนี้ การวางผังเมืองจึงมาตราการที่สำคัญในการวางแผนการใช้พื้นที่ ซึ่งถือเป็นมาตราการที่เป็นหลักการที่สำคัญประการหนึ่งของหลักการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบและความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเกิดขึ้น (precautionary) และวิธีการที่กฎหมายผังเมืองใช้ในการวางผังคือ การกำหนดเขตพื้นที่ต่างๆ ตามความเหมาะสมของกิจกรรม โดยจะใช้ควบคู่กับกฎหมยในการควบคุมอาคาร กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตในการประกอบกิจการ ซึ่งหากกิจการที่มีการขออนุญาตไม่เป็นไปตามสภาพพื้นที่ตามที่กฎหมายผังเมืองกำหนดไว้โดยหลักการ ก็ไม่อาจที่จะอนุญาตให้ประกอบกิจการได้ หรือหากจะมีการอนุญาตก็ต้องมีเงื่อนไขหรือมาตราการต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดมากขึ้นเป็นพิเศษ

นอกจากนั้น ในกรณีต่างประเทศที่กฎหมายผังเมืองมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายอื่นสนับสนุนอีกมากมายเพื่อให้การใช้พื้นที่ในเขตผังเมืองเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กฎหมายว่าด้วยการแลกเปลี่ยนที่ดินเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมือง กฎหมายที่เกี่ยวกับการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน กฎหมายกำหนดมาตราการการเงินการคลัง และภาษีอากร เพื่อสนับสนุนให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม

ในกรณีของประเทศอังกฤษมีการกำหนดเขตที่ชัดเจนระหว่างความเป็นเมืองกับชนบท โดยมีเขตแนวพื้นที่สีเขียว (green belt) เป็นตัวกำหนด เป็นต้น. สำหรับในกรณีประเทศไทยการณ์กลับตรงกันข้าม สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท ล้วนเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมืองทั้งสิ้น

3. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
หลักการสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ การควบคุมตรวจสอบกระบวนการในการก่อสร้าง การควบคุมการใช้ ตลอดรวมถึงการที่จะรื้อถอนอาคารต่างๆให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงปลอดภัย และการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย ซึ่งในกรณีมลพิษทางอากาศจะพบว่า อาคารบ้านเรือน สามารถที่จะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษในรูปแบบต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการในการก่อสร้าง การต่อเติมเปลี่ยนแปลง หรือทุบทำลาย

ดังนั้น หากสามารถที่จะนำเอากลไกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มาใช้ร่วมกับพระราชบัญญัติอื่นๆอย่างเป็นระบบประสานและสอดคล้องต้องกัน ก็สามารถที่จะช่วยในการดำเนินการให้การแก้ไขมลพิษทางอากาศอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติฉบับนี้นำไปสู่การจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่จัดหาพื้นที่เพื่อตั้งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการลงทุนโดยการนิคมอุตสหกรรมจะนำพื้นที่ในเขตนิคมที่ก่อตั้งขึ้นมาให้ผู้ลงทุน เช่า เช่าซื้อ หรือขาย และให้บริการในด้านต่างๆ แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม

การนิคมอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่ทั้งในด้านการสำรวจ การวางแผน การบำรุงดูแลรักษา การตรวจสอบผู้ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่จะต้องดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายต่างๆ กำหนด ซึ่งรวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขและการรักษาสภาพแวดล้อมด้วย (*)

(*) มาตรา 10 ให้ กนอ.มีอำนาจกระทำกิจการภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา 6 อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง

(1) การสำรวจ วางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการค้าเพื่อส่งออก และผู้ประกอบกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือการประกอบการค้าเพื่อส่งออกแล้วแต่กรณี

(2) การกำหนดประเภทและขนาดของกิจการอุตสาหกรรม การค้าเพื่อส่งออกหรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องที่พึงอนุญาตให้ประกอบในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

(3) การตรวจตราความเป็นอยู่ของคนงานในนิคมอุตสาหกรรม

(4) การควบคุมการดำเนินงานของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการค้าเพื่อส่งออก ผู้ประกอบกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือการประกอบการค้าเพื่อส่งออก และผู้ใช้ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายรวมทั้งการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขหรือที่กระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม แม้ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมจะให้อำนาจแก่การนิคมอุตสาหกรรมในการกำหนดมาตราการต่างๆ ที่เป็นการทั้งป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษ แต่ในทางปฎิบัติกลับพบว่า ในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมมีสถานะการณ์มลพิษโดยเฉพาะมลพิษทางอากาศที่รุนแรง ทั้งนี้เนื่องมาจากสภาพของโรงงาน เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดการบำรุงดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

5. ประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์
ประมวลกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายพื้นฐานที่สุดของประเทศไทย ในประมวลกฎหมายอาญามีหลายๆ มาตราที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และในบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะเรื่องส่วนใหญ่ ก็จะมีมาตราการที่เป็นโทษในทางอาญาบัญญัติให้เป็นกลไกของกฎหมายแทบจะทุกฉบับของกฎหมายไทย. ในส่วนที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 220 (*) ที่บัญญัติให้การเผาวัตถุใดๆ จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นก็ถือว่าเป็นความผิดในทางอาญาได้

(*) มาตรา 220. ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218

อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่า จะสามารถนำความผิดดังกล่าวไปใช้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ประเด็นปัญหาที่สำคัญคือ คำว่า " น่าจะเป็นอันตราย " ต่อผู้อื่นมีความหมายครอบคลุมเพียงใด ตัวอย่างที่น่าจะใช้ได้สำหรับกรณีมลพิษทางอากาศ ได้แก่ กรณีการก่อให้เกิดหมอกควัน หรือกลุ่มก๊าซที่มีความเข้มข้นจนทำให้เกิดการเจ็บป่วยอย่างฉับพลัน หรือการทำให้ทัศน์วิสัยในการมองเห็นต่ำ และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่สามารถที่จะนำไปใช้ได้กับกรณีที่มลพิษทางอากาศมีผลในลักษณะของการค่อยๆ สะสม

6. พระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ. 2507
พระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ. 2507 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการจะรักษาพื้นที่ป่า โดยกฎหมายมีวิธีการดำเนินการโดยการประกาศให้พื้นที่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นเขตป่าสงวน และในเขตพื้นที่ป่าที่มีการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนนั้น ห้ามบุคคลใดเข้าไปทำประโยชน์ อยู่อาศัย หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการทำลายพื้นที่ป่า ซึ่งรวมถึงการเผาป่าด้วย(*) ดังนั้น ในกรณีที่เกิดกรณีหมอกควันที่เกิดจากการเผาป่า หากเป็นกรณีพื้นที่ป่าสงวนก็สามารถที่จะใช้มาตราการในทางกฎหมายดังกล่าวได้

(*) มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่ …

7. พระราชบัญญัติอุทยาน พ.ศ. 2504
หลักการของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเช่นเดียวกันในแง่ของวิธีการกับพระราชบัญญัติป่าสงวน ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่กลไกในการบังคับใช้และมาตราการต่างๆ มีลักษณะที่เข้มงวดมากกว่า และมีมาตราการลงโทษที่รุนแรงกว่า

(ค) กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษจากครัวเรือนและชุมชน

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ละเมิด
กฎหมายว่าด้วยเรื่องละเมิด มีลักษณะที่เป็นเช่นเดียวกับกฎหมายอาญา ที่ทั้งสองกฎหมายต่างเป็นกฎหมายที่เป็นรากฐานที่สำคัญของระบบกฎหมายของประเทศ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน. ในกรณีหมอกควันที่เกิดจากแหล่งมลพิษต่างๆ และส่งผลเสียหายในด้านต่างๆ หรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลใดแล้ว ผู้กระทำให้เกิดความเสียหายดังกล่าวในทางกฎหมายถือว่าเป็นผู้ทำละเมิด กฎหมายจึงบังคับให้ผู้ทำละเมิดดังกล่าวจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย (*)

(*) มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

แต่ประเด็นที่จะเป็นปัญหาในการใช้กลไกในทางกฎหมายละเมิดก็คือ ภาระในการพิสูจน์ในความเชื่อมโยงระหว่างการกระทำและผลความเสียหาย กับการพิสูจน์ถึงค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งในกรณีมลพิษทางอากาศ หากไม่มีความเข้มข้นในปริมาณที่มากเพียงพอ ผลความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้นในทันที และแม้จะเกิดขึ้น แต่หากมีผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศหลายคน จะพิสูจน์และแยกแยะสัดส่วนของการกระทำและผลกันอย่างไร ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่ศาลยุติธรรมเองกำลังคิดหาวิธีการที่จะดำเนินการในการทำให้กระบวนการยุติธรรม สามารถที่จะเป็นที่พึ่งของประชาชนในกรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้งศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมขึ้นแล้ว

2. พระราชบัญญัติสาธารณะสุข พ.ศ 2535
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีการกำหนดขอบเขตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะเข้ามาควบคุมดูแลกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขในด้านต่างๆ โดย กำหนดมาตรการกำกับดูแลและป้องกันเกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่เกิดเหตุรำคาญ

(*) มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ

(1) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใดซึ่งอยู่ในทำเลไม่เหมาะสมสกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนำโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

(2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

(3) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษ หรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียง จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

(4) การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละอองเขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

(5) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่างๆ ได้

มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้

ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีกโดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น

มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งได้

ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น

ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้

กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขในการควบคุมดูแลและอนุญาตกิจการที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และกำหนดการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

3. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของบุคคลผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
ในควันบุหรี่ซึ่งถือว่าเป็นมลพิษทางอากาศที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง แต่เนื่องจากแหล่งกำเนิดมลพิษมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศชนิดอื่นๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งมลพิษที่สามารถที่จะเข้าไปได้ในทุกๆที่ ดังนั้น ในพระราชบัญญัตินี้จึงออกมากำหนดพื้นที่เพื่อคุ้มครองผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และในขณะเดียวกันก็กำหนดบริเวณที่จัดให้เป็นพื้นที่สามารถสูบได้

4. ประกาศเทศบาลนครเชียงใหม่ เรื่อง การห้ามเผาขยะในที่โล่ง
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์หมอกควันปกคลุมในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้ดำเนินการหลายอย่างที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่นการฉีดน้ำเพื่อทำลายหมอกควัน การใช้เครื่องบินเพื่อโปรยละอองน้ำ รวมถึงการใช้มาตราการทางกฎหมายโดยได้มีการออกประกาศเทศบาลนครเชียงใหม่ เรื่องการป้องกันมลพิษทางอากาศ ลงวันที่ 16 มีนาคม 2550 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง) ฉบับที่ 12 พ.ศ.2546 ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการไม่เผาขยะในที่โล่งพร้อมทั้งมีระบบให้มีการแจ้งให้เทศบาลเข้าไปดำเนินการในกรณีที่มีการฝ่าฝืน

แหล่งกำเนิดมลพิษ ผลกระทบ กับมาตราการทางกฎหมาย
ผลกระทบในทางด้านมลภาวะต่อมนุษย์มีอยู่ในหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบมีมาตราการในทางกฎหมายคุ้มครองที่แตกต่างกัน โดยสามารถที่จะแบ่งสภาพของมลภาวะเพื่อความสะดวกในการใช้มาตราการในทางกฎหมายดังต่อไปนี้

1. มลภาวะทางอากาศในรูปของก๊าซและสารระเหย
ภาวะมลภาวะของอากาศเกิดจากก๊าซและอนุภาคขนาดเล็กที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ ซึ่งจะต้องถูกควบคุมเพื่อป้องกันหรือบรรเทาภาวะมลพิษ ก๊าซและอนุภาคขนาดเล็กที่เป็นมลพิษประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนมอนน็อคไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนอ๊อกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดอ๊อกไซด์ สารตั้งต้นโอโซน ไฮโดรคาร์บอนในรูปของก๊าซที่มีขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า เอียโรโซล ( Aerosols). ลักษณะของผลกระทบต่อตัวบุคคลจากมลภาวะทางอากาศในรูปของก๊าซและสารระเหย ได้แก่
- การก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อร่างกาย (การระคายเคือง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ไอ คัดจมูก หายใจได้ไม่เต็มที่ หอบ หืด)
- เกิดการสะสมในร่างกาย

ลักษณะของผลกระทบที่เกิดต่อสังคม
- เกิดสภาวะฝนกรด
- สภาวะเรือนกระจก

2. มลภาวะทางอากาศในรูปของหมอกควัน
มลภาวะในรูปของหมอกควัน ทำให้เกิดทัศนะวิสัยในการมองที่ไม่ชัดเจน เกิดความเสี่ยงในการสัญจร เกิดผลกระทบทางจิตใจที่ก่อให้เกิดภาวะเซื่องซึม

3. มลภาวะทางอากาศในรูปของกลิ่น
มลภาวะในรูปของกลิ่นก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในทางร่างกายและจิตใจ ในลักษณะทำนองเดียวกับกรณีทางอากาศในรูปของก๊าซและสารระเหย

ในอีกด้านหนึ่งก็ก่อให้เกิดความรำคาญซึ่งก็เป็นผลกระทบที่อาจจะไม่ร้ายแรงมาก หากไม่เกิดมลภาวะขึ้นถี่จนเกินไป. มาตราการต่างๆ ทางกฎหมายที่นำมาใช้ในการป้องกันและแก้ไข ได้แก่ การควบคุมแหล่งกำเนิดมลภาวะทางอากาศ โดยวิธีการกำหนดเขต กำหนดให้ต้องขออนุญาต กำหนดให้ต้องมีเครื่องมือในการกำจัดมลภาวะทางอากาศ กำหนดรูปแบบวิธีการผลิต กำหนดประเภทหรือชนิดของสารที่จะนำมาใช้ในการผลิต กำหนดให้ต้องแจ้งรายงานผลการดำเนินการในการควบคุมมลภาวะทางอากาศ การสั่งห้ามดำเนินการ การสั่งให้ปรับปรุงรูปแบบวิธีการผลิต การสั่งห้ามประกอบการหรือสั่งปิดกิจการ ฯลฯ ซึ่งมาตราการต่างๆ ดังกล่าวเหล่านี้ขึ้นอยู่กับกลไกของระบบราชการที่จะดำเนินการให้ทันเหตุการณ์ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เนื่องจากการจะเข้าไปดำเนินการอย่างใดๆ กับแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศก็ดี กิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษก็ดี ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลทั้งสิ้น ดังนั้น การที่จะดำเนินการดังกล่าวจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยการใช้อำนาจของรัฐในฐานะที่เป็นองค์กรที่ได้รับการยอบรับ มีความชอบธรรมโดยฐานในทางกฎหมายและมีเป้าหมายของการใช้อำนาจว่าจะต้องเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งในที่นี้ก็เพื่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพที่ดีนั่นเอง

ข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของระบบกฎหมาย
ผลจากการศึกษาตัวระบบกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การป้องกัน และการแก้ไขปัญหามลภาวะอากาศ โดยทำการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับระบบกฎหมายของบางประเทศ สามารถที่จะทำให้เห็นถึงโครงสร้างของระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการจัดที่เป็นระบบ เพื่อจัดการกับปัญหามลภาวะทางอากาศ โดยอาจจะสรุปสังเคราะห์ให้เห็นภาพรวมของระบบกฎหมายว่า หากต้องการที่จะมีระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการจัดการ การวางแผน การป้องกัน และการแก้ไขมลภาวะทางอากาศ จำเป็นที่จะต้องมีการปฎิรูประบบกฎหมายโดยจัดเป็นกลุ่มของกฎหมายดังนี้ คือ

1. กลุ่มกฎหมายที่เกี่ยวกับการวางแผนในการจัดการ เตรียมการ และป้องกัน ตามหลักการป้องกันผลกระทบและความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม
ก่อนที่จะเกิดขึ้น (precautionary )

2. กลุ่มกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุม การติดตาม การดำเนินการแก้ไขต่อ
แหล่งกำเนิดมลภาวะ

3. กลุ่มกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินการคัดสรรวัสดุ อุปกรณ์ ที่มีคุณสมบัติไม่
ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ

4. กลุ่มกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินการกับผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมาย
ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศ และมาตรการในการลงโทษต่อผู้ที่กระทำความผิด และมาตรการคิดค่าใช้จ่ายต่อผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษ

5. กลุ่มกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะในทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ทางสาธารณสุข สุขภาพ และสภาพแวดล้อม

6. กลุ่มกฎหมายที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน การสนับสนุนให้เกิดการ
ศึกษาวิจัย ติดตามผล และการประเมินระบบการจัดการปัญหาโดยรวม

7. กลุ่มกฎหมายที่จัดระบบองค์กร กำหนดนโยบายที่มีความยืดหยุ่น

ข้อเท็จจริงของเมืองเชียงใหม่
เมื่อทำการศึกษาจากกรณีศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวกับสภาพมลภาวะทางอากาศในกรณีข้อเท็จจริงของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เห็นถึงข้อจำกัดหรือจุดอ่อนของระบบกฎหมายและสะท้อนถึงปัญหาดังต่อไปนี้

1. ปัญหาความไม่ชัดเจนของกฎหมายในการควบคุมแหล่งกำเนิดมลภาวะทางอากาศประเภทใหม่ๆ ดังเช่นในกรณีปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ ได้แก่ การเผาขยะในที่โล่ง การเผาป่า การเผาพื้นที่เกษตร ฝุ่นควันจากยวดยานการจราจร ครัวเรือน ฝุ่นควันจากโรงงานและกิจการอุตสาหกรรม ฯลฯ

2. ปัญหาความซ้ำซ้อนและการขาดการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ ในการสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหา


3. ข้อจำกัดขั้นพื้นฐานของระบบราชการทั้งในระดับนโยบายที่ไม่เห็นถึงความสำคัญของปัญหาในระดับปฎิบัติการ ตั้งแต่ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับปัญหาก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ

4. ปัญหาการไม่กล้าบังคับใช้กฎหมายเพราะข้าราชการกลัวถูกร้องเรียน กลัวเกิดผลกระทบทางการเมืองในลักษณะของการเสียคะแนนเสียงทางการเมือง

5. ปัญหาความไม่เหมาะสมของมาตราการต่างๆ ในทางกฎหมาย ซึ่งไม่สามารถจัดการกับแหล่งกำเนิดมลภาวะทางอากาศ รวมถึงอัตราโทษและมาตราการที่นำมาใช้กับผู้ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศไม่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการก่อมลภาวะทางอากาศ

6. การขาดระบบการติดตามประเมินผลที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

7. การขาดข้อมูล และระบบการศึกษาวิจัยในลักษณะของการติดตามเฝ้าระวัง และการนำผลการศึกษาวิจัยไปดำเนินการแก้ไข

8. การขาดการมีส่วนร่วมของสังคม

ข้อเสนอแนะในทางกฎหมาย

1. จากการศึกษาสถานการณ์มลภาวะทางอากาศย้อนหลังกลับไปรวมถึงในปัจจุบัน ทำให้เห็นถึงภาพรวมของระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศที่เริ่มจะก่อตัวขึ้นเป็นระบบ แต่ถ้าหากต้องการที่จะทำให้กลไกในทางกฎหมายดังที่กล่าวมา สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความจำเป็นที่จะต้องปฎิรูประบบการบังคับใช้กฎหมาย ให้เป็นไปตามหลักการป้องกันผลกระทบและความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเกิดขึ้น (precautionary) กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงหลักการของกฎหมายในการจัดการและควบคุมมลพิษจากหลักการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือการไปควบคุมที่ปลายท่อ (end the pipe) และจะต้องเกิดผลกระทบและความเสียหาย ไปสู่หลักการจัดการและควบคุมในรูปแบบของการป้องกันและการทำให้ของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุด และจะต้องมีการควบคุมไม่ให้ของเสียเกิดมลพิษ (prevention , minimization waste and pollution)

2. การเปิดระบบกฎหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงได้ และที่สำคัญก็คือ การมีระบบฐานข้อมูลที่ถูกต้องและกว้างขว้าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ ต่อระบบเศรษฐกิจ และต่อสังคม เพื่อนำไปสู่การสร้างและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม

3. แม้วัตถุประสงค์หลักในการศึกษาครั้งนี้ ต้องการศึกษาเพียงการทำความเข้าใจบทบัญญัติกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมลภาวะทางอากาศและจุดอ่อนของกฎหมาย เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาสภาพของมลภาวะทางอากาศ ผ่านข้อมูลจากเครื่องวัดอากาศที่ตั้งวัด ณ จุดต่างๆ สามารถที่จะเห็นถึงโอกาสและช่องทางที่น่าจะนำกลไกและมาตราการทางการเมืองการปกครองและกฎหมายมาทดลองเพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศดังมีรายละเอียดดังนี้

3.1 จากข้อมูลของเครื่องตรวจวัดมลภาวะทางอากาศ พบว่า ความเข้มข้นของก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่มีการตรวจวัด เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากสามารถที่จะอ่านและแปลค่าข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการเกิดมลภาวะอากาศในแต่ละพื้นที่ได้ ก็สามารถที่จะสร้างระบบการป้องกันและการแก้ไขมลภาวะดังกล่าวได้ โดยใช้มาตรการทางการปกครองเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดังต่อไปนี้

- มาตราการเฉพาะหน้าซึ่งจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนและผลกระทบ กล่าวคือ การเข้าไปทำให้ความเข้มข้นของอากาศที่เป็นก๊าซอันตรายเจือจางลง โดยอาศัยวิธีการต่างๆที่จะเข้าไปควบคุมแหล่งมลพิษ เช่น การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานในการออกคำสั่งห้ามมิให้รถยนต์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งมลพิษเข้าไปในเขตพื้นที่ ซึ่งมีปริมาณก๊าซเกินเกณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ หรือการใช้ละอองน้ำพ่นเพื่อควบคุม โดยละอองน้ำไปจับตัวกับก๊าซและอนุภาคขนาดเล็กที่อยู่ในอากาศในบริเวณดังกล่าว

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลความสะอาดของถนน ทางสาธารณะ รวมถึงบริเวณที่พักอาศัยของประชาชน ต้องรีบเข้าไปดำเนินการดูแลมลภาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆ

- การดำเนินการในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณต้นไม้ในการช่วยลดปริมาณก๊าซที่เป็นอันตรายและเพิ่มก๊าซที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

3.2 การใช้มาตรการในทางกฎหมายสิ่งแวดล้อม ซึ่งตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ได้สร้างกลไกเพื่อให้อำนาจแก่หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะใช้อำนาจตามกฎหมายในการเข้าไปจัดการปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ เป็นรูปธรรม และมีผู้ที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ดังปรากฎในมาตรา 59 และมาตรา 60 ที่ให้อำนาจแก่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่จะประกาศ " เขตควบคุมมลพิษ "(*) ทั้งนี้เนื่องจากการประกาศให้เขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเขตควบคุมมลพิษ เป็นการกำหนดสถานภาพในทางกฎหมายของเขตพื้นที่ดังกล่าวเสียใหม่โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาต้องมีหน้าที่โดยเร่งด่วนที่จะต้องเข้ามาดำเนินการ โดยจะต้องมีการดำเนินการในการสำรวจแหล่งมลพิษ จัดทำบัญชี ศึกษาวิเคราะห์ ประเมินขอบเขตความรุนแรง เสนอมาตรการและจัดทำแผนปฎิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษ (**) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับให้หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (***)

(*) มาตรา 59 ในกรณีที่ปรากฏว่าท้องที่ใดมีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษเพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษได้

(**) มาตรา 60 เพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดตามมาตรา 37 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นในท้องที่ที่ได้ประกาศกำหนดให้เป็นเขตควบคุมมลพิษตามมาตรา 59 จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษนั้นเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อรวมไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด

การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ทำการสำรวจ และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีอยู่ในเขตควบคุมมลพิษนั้น
(2) จัดทำบัญชีรายละเอียดแสดงจำนวน ประเภท และขนาดของแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่ได้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลตาม (1)
(3) ทำการศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสถานภาพมลพิษ รวมทั้งขอบเขตความรุนแรงของสภาพปัญหาและผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมและจำเป็นสำหรับการลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษนั้น

ในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษแนะนำและช่วยเหลือตามความจำเป็น

(***) มาตรา 63 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 60 ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ดำเนินการภายในเวลาอันสมควร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจดำเนินการแทนเมื่อได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทราบแล้ว

3.3 การใช้มาตรการทางสังคมของประชาชน เพื่อทำให้กลไกในการคุ้มครองสิทธิในสิ่งแวดล้อมของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้เป็นจริงในทางปฎิบัติ(*) ดังนั้น เพื่อทำให้สภาพของมลภาวะทางอากาศที่เกิดขึ้นค่อนข้างจะเป็นประจำและมีวงรอบที่เป็นวัฎจักรที่แน่นอน จนเกือบจะกลายเป็นปัญหามลภาวะทางอากาศสำหรับในบางจังหวัดในภาคเหนือ เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ ให้เข้าสู่ระบบการดำเนินการในทางกฎหมาย จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนในการแก้ไขปัญหา ดังนั้น หากนำผลการการตรวจวัดสภาพอากาศในจุดต่างๆ เท่าที่มีอยู่มาแปลค่าเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจต่ออันตรายที่จะได้รับจากมลภาวะทางอากาศ และนำเอาผลการวิจัยดังกล่าวไปขับเคลื่อนในทางสังคม เพื่อให้เกิดระบบการจัดการมลภาวะทางอากาศ (และสามารถที่จะขยายผลไปยังมลภาวะด้านอื่นๆ ด้วย) ก็จะเป็นการใช้มาตรการในทางสังคมเพื่อมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตั้งอยู่บนการมีฐานข้อมูล

(*) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม

การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว

สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++คลิกกลับไปทบทวนบทความเรื่องเดียวกันตอนที่ ๑

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1650 เรื่อง หนากว่า 33000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com