ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




03-03-2552 (1692)

โลกเปลี่ยน: การเมืองภายใต้อุ้งมือของประชาชนชายขอบ
โบลิเวียและปารากวัย: การเมืองหลังสมัยใหม่ในละตินอเมริกา
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : เขียน
นักวิชาการและนักแปลอิสระ สนใจประเด็นการเมืองในละตินอเมริกา
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนนำมาจากประชาไทออนไลน์
๑. รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน: โบลิเวียได้ไปแล้ว ชาวสยามหน้าหมองโปรดรอไปก่อน
๒. ปารากวัย: ขอเลี้ยวซ้ายอีกประเทศ!
กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนได้มีการเพิ่มเติมเชิงอรรถ
เพื่อประโยชน์ทางวิชาการสำหรับสมาชิกและผู้อ่าน

บทความเกี่ยวกับการเมืองใหม่ในละตินอเมริกา ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
๑. รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน: กรณีประเทศโบลิเวีย
- ประวัติศาสตร์และการแบ่งแยก
- มีอะไรในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่?
- ในด้านดีของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ในส่วนข้อด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ความอ่อนเปลี้ยของฝ่ายขวา และการเฉลิมฉลองของ"ฝ่ายซ้าย"

๒. ปารากวัย: ขอเลี้ยวซ้ายอีกประเทศ
- ย้อนมองปารากวัยยุคขวาครองเมือง
- ความเฟื่องฟูของภาคเกษตรกรรม: ปัจจัยชี้ชะตานักการเมือง
- เส้นทางข้างหน้าของเฟอร์นานโด ลูโก
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๙๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๓ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โลกเปลี่ยน: การเมืองภายใต้อุ้งมือของประชาชนชายขอบ
โบลิเวียและปารากวัย: การเมืองหลังสมัยใหม่ในละตินอเมริกา
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : เขียน
นักวิชาการและนักแปลอิสระ สนใจประเด็นการเมืองในละตินอเมริกา
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

๑. รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน: กรณีประเทศโบลิเวีย

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา ชาวโบลิเวียผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งประมาณ 3.8 ล้านคน ออกไปลงประชามติ "รับ" หรือ "ไม่รับ" รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผลเอ็กซิทโพลล์ระบุว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการรับรองด้วยเสียงสนับสนุนท่วมท้นถึง 61.97% โดยเสียง "ไม่รับ" อยู่ที่ 36.52% บัตรเสียอยู่ที่ 1.51% รัฐธรรมนูญชนะเสียงประชามติใน 6 รัฐจากทั้งหมด 9 รัฐ นอกจากลงประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมีช่องอีกช่องหนึ่งให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงกาเลือกว่า รัฐควรจำกัดสิทธิ์การซื้อที่ดินไว้ที่เพดาน 5,000 เฮกตาร์หรือ 10,000 เฮกตาร์ด้วย (1 เฮกตาร์ = 6.25 ไร่ กล่าวคือให้เลือกเพดานระหว่าง 31,250 ไร่ หรือ 62,500 ไร่)

ประวัติศาสตร์และการแบ่งแยก

โบลิเวียไม่ได้น้อยหน้าประเทศไทยมากนักในด้านร่างๆ ฉีกๆ รัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่ ค.ศ.1826 - 2004 โบลิเวียมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 16 ฉบับ และมีการปฏิรูปแก้ไขอีก 6 ครั้ง รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโบลิเวีย ได้รับการร่างโดยวีรบุรุษผู้กอบกู้เอกราชแก่ดินแดนละตินอเมริกา นั่นคือ นายพลซีโมน โบลิวาร์ (*) ซึ่งสัญญาว่าจะสร้าง "รัฐธรรมนูญที่เสรีนิยมที่สุดในโลก" แต่ต่อให้รัฐธรรมนูญก้าวหน้าแค่ไหน ถ้าการบังคับใช้ไม่เป็นผล ความก้าวหน้าก็ไม่เกิดขึ้น ประวัติศาสตร์ของโบลิเวียเองก็มีแนวโน้มคล้าย ๆ สยามประเทศ กล่าวคือ ยิ่งฉีกแล้วร่างใหม่คราใด ก็ยิ่งถอยหลังลงคลองไปเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ของโบลิเวียจึงมีลักษณะกีดกันด้านเชื้อชาติและชนชั้น พลเมืองโบลิเวียที่ทรงสิทธิ์เต็มขั้นมักจำกัดไว้เฉพาะชาวเมืองที่มีการศึกษา ผิวขาวและฐานะดี ในขณะที่ชาวพื้นเมืองถูกกีดกันจากศูนย์กลางอำนาจเรื่อยมา

(*)Simon Jose Antonio de la Santisima Trinidad Bolivar Palacios y Blanco (b. Caracas, July 24, 1783; d. Santa Marta, December 17, 1830) - more commonly known as Simon Bolivar - was, together with the Argentine general Jose de San Martin, one of the most important leaders of Spanish America's successful struggle for independence.

Following the triumph over the Spanish monarchy, Bolivar participated in the foundation of Gran Colombia, a nation formed from the liberated Spanish colonies. He was President of Gran Colombia from 1821 to 1830, President of Peru from 1824 to 1826, and President of Bolivia from 1825 to 1826. Bolivar is credited with contributing decisively to the independence of the present-day countries of Venezuela, Colombia, Ecuador, Peru, Panama, and Bolivia and is often revered as a hero.

แต่ในช่วงสิบปีหลังมานี้ หลังจากชาวพื้นเมืองรวมตัวจัดตั้งเป็นองค์กรเพื่อต่อสู้ทางการเมือง เสียงเรียกร้องให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดความเสมอภาคในสังคมมากขึ้นก็ดังขึ้นเรื่อยๆ ชาวพื้นเมืองต้องการให้รัฐธรรมนูญรับรองการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมในการวางนโยบายด้านที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรทรัพยากรของรัฐและนโยบายพัฒนาประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือ นอกจากร่างรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว ยังต้องมีการบังคับใช้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอย่างเข้มแข็งจริงจังอีกด้วย

ความมุ่งหวังของขบวนการชาวพื้นเมืองมาปรากฏเป็นจริง เมื่อประชาชนรากหญ้าจับมือกันเลือก "เอโว โมราเลส" ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2006 ระหว่างรณรงค์ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี มีสองประเด็นสำคัญที่โมราเลสสัญญากับประชาชนผู้สนับสนุนคือ

- การโอนแหล่งทรัพยากรพลังงาน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ กลับมาเป็นของรัฐ และ
- การร่างรัฐธรรมนูญใหม่

ในประเด็นแรกนั้น ประธานาธิบดีโมราเลสเดินหน้าไปแล้วพอสมควร ส่วนในประเด็นหลัง โมราเลสกล่าวกระตุ้นประชาชนในการปราศรัยเสมอมาว่า ความเปลี่ยนแปลงในประเทศโบลิเวียต้อง "มีการรับรองด้วยรัฐธรรมนูญ" (กล่าวคือ ไม่ใช่ประชานิยมที่แจกๆ เพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองเฉพาะหน้า)

หลังจากรับตำแหน่งได้ราวครึ่งปี ประธานาธิบดีโมราเลสก็จัดการให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 การยกร่างดำเนินมาราวปีครึ่ง จนกระทั่งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2007 สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ผ่านร่างรัฐธรรมนูญใหม่ออกมาโดยถูกฝ่ายตรงข้ามคว่ำบาตร กระนั้นก็ตาม สภาคองเกรสของโบลิเวียได้ลงมติรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อการลงประชามติในวันที่ 21 ตุลาคมศกก่อน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดมาถึงจุดยุติในการเปิดให้ประชาชนลงประชามติเมื่อวันที่ 25 มกราคมปีนี้ ดังกล่าวไปแล้วข้างต้น

แต่เส้นทางของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช่ว่าจะเป็นไปโดยราบรื่น หนทางเต็มไปด้วยขวากหนามและความรุนแรง ทั้งการปะทะกันระหว่างฝ่ายต้านและฝ่ายสนับสนุนตามท้องถนน การชุมนุมประท้วงทางการเมือง การบาดเจ็บล้มตายกันทั้งสองฝ่ายมีให้เห็น ฝ่ายขวาของโบลิเวียจับมือกันเป็น "พันธมิตรฯ" ต่อต้านทั้งรัฐบาลและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยใช้ "สีชมพู" เป็นสัญลักษณ์รณรงค์ให้ประชาชนกาในช่อง "NO" หรือ "ไม่รับ"

ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและรัฐธรรมนูญใหม่มีความหลากสีสันมากกว่า โดยมีทั้งสีน้ำเงินของพรรคการเมือง "ขบวนการสู่สังคมนิยม" (Movimiento al Socialismo หรือ MAS) สีรุ้ง 7 สีที่เรียกกันว่า ธง Wiphala อันเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการชนพื้นเมืองที่มีหลายชนชาติ และสีเขียวนีออนที่เป็นสัญลักษณ์ของพรรคการเมือง "ขบวนการไร้ความกลัว" (Movimiento Sin Miedo หรือ Fearless Movement Party) ซึ่งสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่ได้ใช้สีใด ๆ เช่น กลุ่มเด็กวัยรุ่นฮิปฮอปการเมือง กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยที่อาศัยเสียงเพลงโฟล์กซอง ธงชาติปาเลสไตน์กับใบปลิวโจมตีอิสราเอล เป็นสัญลักษณ์สนับสนุนรัฐบาล และรัฐธรรมนูญ (โมราเลสเพิ่งขับทูตอิสราเอลออกจากประเทศเพื่อประท้วงการโจมตีฉนวนกาซา). นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวเหมือง สมาชิกสภาละแวกบ้าน กลุ่มสตรี ฯลฯ สีสันอันหลากหลายราวนกแก้วมาคอว์นี้ ล้วนแต่รณรงค์ให้ประชาชนกาในช่อง "Sí" หรือ "รับ" รวมทั้งเตือนผู้ลงคะแนนว่า อย่าลืมกาช่องเพดานจำกัดการซื้อที่ดินที่ "5,000 เฮกตาร์" ด้วย

ท่ามกลางการปะทะกันอย่างดุเดือดบนท้องถนน สมรภูมิอีกแห่งหนึ่งที่ดุเดือดไม่แพ้กันคือ สื่อสารมวลชน หนังสือพิมพ์กระแสหลักเกือบทั้งหมดในโบลิเวีย พร้อมใจกันโจมตีร่างรัฐธรรมนูญและพรรครัฐบาล ถึงขนาดบิดเบือนข้อมูลหลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น ไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์ El Diario พาดหัวตัวโตว่า "โบลิเวียจะกลับไปสู่ยุคป่าเถื่อนด้วยระบบยุติธรรมชุมชน" ทั้งนี้เพียงเพราะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้การรับรองระบบยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ที่เป็นจารีตประเพณีและปฏิบัติกันมายาวนานในชุมชนชาวพื้นเมืองทั่วประเทศ หรือกล่าวหาว่า รัฐธรรมนูญใหม่จะอนุญาตให้คนรักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ เป็นต้น

แต่ขบวนการประชาชนที่มีการจัดตั้งอย่างเข้มแข็งในโบลิเวียทำให้ประชาชนรากหญ้าไม่หวั่นไหว หรือถูกสื่อปั่นหัวง่าย ๆ เหมือนดังที่เอ็ดวิน โชเฟอร์ขับแท็กซี่ในกรุงลาปาซกล่าวว่า ต่อให้สื่อมวลชนเกือบทั้งหมดในโบลิเวียต่อต้านโมราเลสและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ "แต่ใครสนว่าสื่อจะพูดยังไง? พวกสื่อก็แค่คนส่วนน้อย แต่พวกเราสิ พวกเราประชาชนชาวโบลิเวียคือคนส่วนใหญ่". เพื่อตอบโต้การโจมตีของสื่อ ประธานาธิบดีโมราเลสจึงประกาศออกหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ที่เป็นของรัฐในชื่อ Cambio หรือ Change ซึ่งวางแผงฉบับปฐมฤกษ์ในวันที่ 22 มกราคม. โมราเลสกล่าวว่า "หนังสือพิมพ์ฉบับใหม่นี้....จะไม่เหยียดหยามใคร แต่จะให้ข้อมูลและให้การศึกษาแก่เราทุกคน"

มีอะไรในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่?

แน่นอน จากประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ย่อมเป็นกระจกสะท้อนการเมืองในโบลิเวีย มันมีทั้งความหวัง ความขัดแย้งและข้อบกพร่องอันเกิดจากความแตกแยกทางการเมือง มีทั้งข้อดีที่น่าชมเชยและข้อเสียที่ควรวิพากษ์วิจารณ์

ในด้านดีของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการรับรองสิทธิแก่ชาวพื้นเมืองที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งสิทธิในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและภาษา ตลอดจนสิทธิในการเข้าถึงบริการพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การดูแลสุขภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกจากนี้ยังขยายบทบาทของรัฐในการจัดการเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติ

- สิทธิของชาวพื้นเมือง รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประเทศโบลิเวียเป็นรัฐหลากหลายชนชาติ เพื่อสะท้อนความหลากหลายของเชื้อชาติพื้นเมืองดั้งเดิม และชาวโบลิเวียเชื้อสายอัฟริกัน กำหนดให้ภาษาสเปนและภาษาพื้นเมืองทั้ง 36 ภาษาเป็นภาษาราชการ รับรองความเป็นอิสระในการปกครองชุมชนของตัวเองแก่กลุ่มชาวพื้นเมืองทั่วประเทศ โดยดำเนินตามกรอบสิทธิของชาวพื้นเมืองตามคำประกาศของสหประชาชาติ ชาวพื้นเมืองมีสิทธิในการเขียนบทบัญญัติทางกฎหมายของตนเอง ตราบที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีสิทธิในการจัดระบบความยุติธรรมตามจารีตประเพณี และมีสิทธิในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังกันที่นั่งในวุฒิสภาบางส่วนให้แก่วุฒิสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากชุมชนชาวพื้นเมืองด้วย

- ด้านศาสนา ในรัฐธรรมนูญฉบับเก่าระบุว่า ศาสนาโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติของโบลิเวีย เพียงแต่รัฐธรรมนูญรับรองเสรีภาพในการปฏิบัติของศาสนาและความเชื่ออื่น ส่วนในรัฐธรรมนูญใหม่ระบุว่า "รัฐเคารพและรับรองเสรีภาพทางศาสนาและความเชื่อ....รัฐเป็นอิสระจากศาสนา" นี่คือการแยกรัฐกับศาสนาออกจากกันอย่างชัดเจน

- ความรับผิดชอบของรัฐ รัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองมีสิทธิในการเข้าถึงน้ำ อาหาร การศึกษา การดูแลสุขภาพ ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคและบำนาญหลังเกษียณ รัฐมีหน้าที่จัดหาสิ่งเหล่านี้แก่พลเมือง โดยถือเป็นสิทธิมนุษยชน รัฐไม่มีอำนาจในการแปรรูปบริการเหล่านี้ รัฐธรรมนูญยังรับรองสิทธิในการเข้าถึงยาและส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน

- สิทธิของแรงงาน รับรองสิทธิในการนัดหยุดงานและก่อตั้งสหภาพแรงงาน คุ้มครองความมั่นคงในการมีงานทำ รวมทั้งสนับสนุนสถานประกอบการที่แรงงานเข้าไปกอบกู้ (Recuperated Workplaces) ในกรณีที่กิจการเอกชนนั้นล้มละลายหรือปิดกิจการ "แบบไม่ชอบธรรม" ตราบที่การกอบกู้ของแรงงานเป็นไปเพื่อสาธารณประโยชน์ของชุมชน

- ด้านการทหาร โบลิเวียเจริญรอยตามเอกวาดอร์ด้วยการห้ามมิให้มีฐานทัพต่างชาติในดินแดนของตน (แน่นอน นี่มุ่งเป้าไปที่ฐานทัพสหรัฐฯ ในโบลิเวีย)

ในส่วนข้อด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่วิพากษ์วิจารณ์กันนั้น มีอาทิเช่น ไม่มีการรับรองทางกฎหมายแก่การทำแท้งและการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความพยายามที่จะประนีประนอมกับฝ่ายศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก

- ในส่วนของการปฏิรูปที่ดิน ถึงแม้จะมีการลงประชามติเกี่ยวกับเพดานในการซื้อที่ดิน แต่ก็จะเป็นกฎหมายที่ใช้กับการซื้อที่ดินครั้งใหม่เท่านั้น รัฐธรรมนูญยังไม่ได้ทลายการครอบครองที่ดินเดิม รัฐยังไม่มีอำนาจเข้าไปจัดสรรที่ดินที่มีการผลิต แต่มีอำนาจในการปฏิรูปที่ดินซึ่งไม่มีการผลิตเท่านั้น การปฏิรูปที่ดินแบบอ่อน ๆ เช่นนี้สะท้อนถึงการประนีประนอมกับฝ่ายขวา ซึ่งเป็นกลุ่มคนร่ำรวยจำนวนน้อยที่ถือครองที่ดินไว้จำนวนมาก

- ประนีประนอมกับฝ่ายค้าน นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ให้ประชาชนลงมติยังสะท้อนถึงการประนีประนอมกับฝ่ายค้าน ในร่างเดิมนั้น โมราเลส จะมีโอกาสลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพิ่มอีกสองสมัยติดต่อกัน แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โมราเลสจะลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีติดต่อกันได้อีกเพียงสมัยเดียวเท่านั้น ซึ่งการเลือกตั้งครั้งหน้ากำหนดไว้ในเดือนธันวาคมปีนี้

ความอ่อนเปลี้ยของฝ่ายขวา และการเฉลิมฉลองของ"ฝ่ายซ้าย"

ถึงแม้สื่อมวลชนพยายามประโคมว่า การลงประชามติรับรัฐธรรมนูญใหม่จะซ้ำเติมความแตกแยกในประเทศ แต่ผลของการลงประชามติครั้งนี้ก็เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความอ่อนแอของฝ่ายขวา ถึงแม้ฝ่ายขวาที่ร่ำรวยและกลุ่มชนชั้นกลางจะทำทุกอย่าง นับตั้งแต่ความรุนแรงบนสื่อมวลชนไปจนถึงท้องถนน แต่พวกเขาก็ไม่สามารถโยกคลอนความตั้งใจของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพวกเขาไม่มีวาระทางการเมืองที่ชัดเจนพอที่จะไปต่อกรช่วงชิงความนิยมมาจากพรรครัฐบาล ยิ่งกว่านั้น การใช้ความรุนแรงกลับกลายเป็นบูมเมอแรงย้อนกลับมาสู่ตัวเอง. แม้แต่นายมานเฟรด เรเยส วีญา อดีตผู้ว่าราชการเมืองโกชาบัมบาและคู่ปรับของโมราเลส ก็ยังยอมรับในเรื่องนี้ การใช้ความรุนแรงของฝ่ายขวาในรัฐปันโด เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 20 คนและบาดเจ็บจำนวนมาก ทำให้ฝ่ายขวาสูญเสียความชอบธรรมแม้แต่ในหมู่ฐานเสียงของตัวเอง

แน่นอน ชัยชนะของประชาชนรากหญ้าครั้งนี้มีการฉลองกันอย่างคึกคักในคืนวันอาทิตย์ โมราเลสออกมายืนที่หน้ามุขทำเนียบประธานาธิบดีและกล่าวแก่ฝูงชนว่า "นี่คือจุดเริ่มต้นของโบลิเวียใหม่ นี่คือจุดเริ่มต้นที่เราจะก้าวไปสู่ความเท่าเทียมที่แท้จริง" ประชาชนจำนวนมากออกมาจุดพลุและร้องรำทำเพลงรอบฐานรูปปั้นของนายพลซีโมน โบลิวาร์ ผู้ปลดปล่อยละตินอเมริกาจากความเป็นอาณานิคม

การเปลี่ยนโฉมหน้าครั้งสำคัญของโบลิเวียไม่ได้มาด้วยโชคช่วยหรือฟ้าประทาน เราจะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของประเทศนี้ได้ ก็ต้องทำความเข้าใจบทบาทของขบวนการสังคม และองค์กรจัดตั้งระดับรากหญ้าของชาวพื้นเมืองยากจนทั้งหลาย อีกทั้งนี่เป็นบทพิสูจน์ในโลกของความเป็นจริงอีกครั้งว่า ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงย่อมวางรากฐานอยู่บนประชาชนรากหญ้า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประชาชนผู้ยากจนเท่านั้น คือผู้ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในระบอบประชาธิปไตยไม่เกี่ยวกับระดับการศึกษา แต่ประชาชนจะบรรลุพลังทางการเมืองเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็ต้องอาศัยการจัดตั้งองค์กรของตัวเอง และการต่อสู้ทางชนชั้นเท่านั้น

ข้อมูลประกอบการเขียน:

Benjamin Dangl, "¿Sí o No? Bolivians Mobilize for National Vote on New Constitution, http://upsidedownworld.org/main/content/view/1670/1/, Sunday, 18 January 2009.

---------, "Spilling Ink Instead of Blood: Bolivia Poised to Vote on New Constitution," http://upsidedownworld.org/main/content/view/1677/1/, Thursday, 22 January 2009.

----------, "Bolivia: After Rallies for New Constitution, Morales Nationalizes Oil Company, http://upsidedownworld.org/main/content/view/1680/1/, Saturday, 24 January 2009.

---------, "Bolivia Looking Forward: New Constitution Passed, Celebrations Hit the Streets," http://upsidedownworld.org/main/content/view/1683/1/, Monday, 26 January 2009.

Benjamin Dangl and April Howard, "From Bolivia's Streets: What Voters Think About the New Constitution," http://upsidedownworld.org/main/content/view/1682/1/, Sunday, 25 January 2009.

Alex van Schaick, "Bolivia's New Constitution," http://nacla.org/, Jan 21 2009.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาพประกอบ: Fernando Armindo Lugo Mendez

๒. ปารากวัย: ขอเลี้ยวซ้ายอีกประเทศ

เย็นวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2008 ณ กรุงอาซุนซีออน ประเทศปารากวัย ดอกไม้ไฟกระจายเต็มท้องฟ้า ประชาชนหลายหมื่นคนออกมาฉลองกลางท้องถนน คึกคักด้วยเสียงดนตรีและการเต้นรำ หญิงชราชาวพื้นเมืองเผ่ากัวรานีหลายคนห่อตัวด้วยธงชาติปารากวัย เต้นรำกับเด็กๆ บนท้องถนนและโห่ร้องสุดเสียง นี่คือชั่วขณะที่หลายคนรอคอยมาชั่วชีวิต. ไม่ว่ากาลข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ชาวปารากวัยทุกคนรู้ว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นที่จดจำไปอีกนานแสนนาน วันนี้คือจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือประตูเปิดออกสู่อนาคต

เพราะในวันเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งประวัติศาสตร์นี้ "เฟอร์นานโด ลูโก" อดีตบิชอปหัวก้าวหน้า นักการเมืองเคราครึ้ม ผู้ชอบใส่รองเท้าแตะ ชนะคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างถล่มทลายและใสสะอาด ล้มคว่ำระบอบการปกครองที่ยาวนานที่สุดในโลกถึง 60 ปี ของพรรคการเมืองฝ่ายขวา"โคโลราโด"ลง จนได้ในที่สุด ถึงแม้ว่าพรรคการเมืองฝ่ายขวาจะยังครองเสียงข้างมากในสภา แต่ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคแนวร่วมรักชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงของลูโก ก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามามากขึ้นอย่างเหนือความคาดหมาย

ชัยชนะของลูโกในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ส่งสัญญาณสั่นสะเทือนไปจนถึงวอชิงตัน เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศในละตินอเมริกาเลี้ยวซ้ายไปประเทศแล้วประเทศเล่า ปารากวัยเป็นประเทศที่ได้รับการคาดหมายว่า จะยืนหยัดอยู่กับฝ่ายขวามากพอๆ กับประเทศโคลอมเบีย. ปารากวัยดำรงตนเป็นพันธมิตรสำคัญของวอชิงตัน เป็นดินแดนฝันร้ายของสิทธิมนุษยชน และเป็นสวรรค์ของบรรษัทข้ามชาติ รวมทั้งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุดประเทศหนึ่งในซีกโลกตะวันตก แต่การได้รับเลือกตั้งของเฟอร์นานโด ลูโก (*) ในครั้งนี้ ถือว่าพลิกโฉมหน้าการเมืองของปารากวัยทีเดียว

(*) Fernando Armindo Lugo Mendez (born May 30, 1951) is the current President of Paraguay and the former Roman Catholic bishop of the Diocese of San Pedro.

เขาผู้นี้ได้รับฉายาจากผู้สนับสนุนว่า "บิชอปของคนจน" ส่วนฝ่ายขวาเรียกเขาว่า "บิชอปคอมมิวนิสต์" เฟอร์นานโด อาร์มินโด ลูโก เมนเดซ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1951 เขาบวชเป็นพระในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเมื่อ ค.ศ. 1977 และทำงานเป็นมิชชันนารีในชุมชนชาวพื้นเมืองที่ประเทศเอกวาดอร์จนถึง ค.ศ. 1982 จากนั้น เขาเดินทางไปศึกษาศาสนาที่วาติกันถึง 10 ปี และได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ในปารากวัย ใน ค.ศ. 1994 ลูโกเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นบิชอปแห่งสังฆมณฑลซานเปโดร

ในยุคเผด็จการของปารากวัย พี่ชายน้องชายของลูโกถึงสามคนต้องลี้ภัยออกไปต่างประเทศ ลูโกเองถูกผู้มีอำนาจเหนือในศาสนจักรคาทอลิกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งบิชอป เนื่องจากเขาสนับสนุนการยึดที่ดินของเกษตรกรไร้ที่ดิน เมื่อลูโกลาออกจากตำแหน่งบิชอป เขาจึงหันมาหาการเมือง และประกาศตัวเข้าแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของปารากวัย ท่ามกลางกระแสที่ชาวปารากวัยกำลังเบื่อหน่ายผู้สมัครจากภาคธุรกิจ

ลูโกก่อตั้งแนวร่วมที่ประกอบด้วยพรรคฝ่ายค้านถึง 7 พรรค โดยใช้ชื่อ พรรคแนวร่วมรักชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลง นโยบายในการหาเสียงของเขาเน้นการปราบปรามคอร์รัปชั่นและการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สองประการในปารากวัย ในระหว่างการหาเสียง เขาถูกโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นคนนอกรีต เป็นศัตรูของศาสนา เป็นผู้ก่อการร้ายที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพจรยุทธ์ FARC ในโคลอมเบีย เขายังถูกกล่าวหาว่าได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีอูโก ชาเวซแห่งเวเนซุเอลา รวมทั้งมีการลอบสังหารชาวนาสองคนที่เป็นสมาชิกขบวนการเกษตรกรที่สนับสนุนลูโก กระนั้นก็ตาม ลูโกชนะการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างขาดลอยและจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งปารากวัยในวันที่ 15 สิงหาคมนี้

ย้อนมองปารากวัยยุคขวาครองเมือง

ปารากวัยตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหารมาตั้งแต่ ค.ศ. 1954 โดยมีนายพลอัลเฟรโด สเตริสเนอร์ ครองอำนาจนานถึง 35 ปี ด้วยแรงหนุนหลังของสหรัฐอเมริกา ระบบการเมืองของปารากวัยถูกครอบงำด้วยการครองอำนาจของพรรคการเมืองพรรคเดียว นั่นคือ พรรคโคโลราโด ซึ่งครองความเป็นพรรครัฐบาลนานถึง 61 ปี นับเป็นพรรคการเมืองที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดในโลก

นายพลสเตริสเนอร์ได้รับการเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งถึง 7 ครั้ง สิ่งที่เป็นเสาค้ำบัลลังก์ของเขาก็คือ พรรคโคโลราโดและกองทัพ สเตริสเนอร์มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับจอมเผด็จการออกุสโต ปิโนเชท์ และรัฐบาลเผด็จการทหารในอาร์เจนตินา ทำให้ภูมิภาคละตินอเมริกาในยุคนั้นปกคลุมด้วยภัยสยองที่กระทำต่อฝ่ายค้านทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการลักพาตัว ทรมานและลอบสังหาร

ถึงแม้กลุ่มสเตริสเนอร์จะหลุดออกจากอำนาจไปใน ค.ศ. 1989 แต่พรรคโคโลราโดก็ยังมีอำนาจต่อมาด้วยระบบอุปถัมภ์ เนื่องจากปารากวัยมีอัตราการว่างงานสูงมาก การหางานทำในโครงการของรัฐและระบบราชการจำต้องอาศัยเส้นสายในพรรคโคโลราโด ไม่ว่าจะเป็นคนงานก่อสร้างถนน ครู ไปจนถึงนายกเทศมนตรี ดังนั้น ถึงแม้ประชาชนมองว่าพรรคนี้มีแต่ความฉ้อฉลและไร้ประสิทธิภาพ แต่พวกเขาก็ยังจำใจเป็นสมาชิกพรรค เพราะเป็นโอกาสเดียวในการหางานทำ ตามสถิตินั้น พรรคโคโลราโดทำให้เกิดการจ้างงานถึง 200,000 คน โดยที่ 95% เป็นสมาชิกพรรค

ประธานาธิบดีคนล่าสุดของปารากวัยคือ นิคานอร์ ดูอาร์เต ฟรูโตส จากพรรคโคโลราโด ประธานาธิบดีดูอาร์เตสร้างภาพให้ตัวเองเป็นนักการเมืองประชานิยมที่ใกล้ชิดรากหญ้า แต่ในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่ง อัตราของอาชญากรรมและการลักพาตัวกลับพุ่งสูงขึ้น. ดูอาร์เตผูกมิตรใกล้ชิดกับประธานาธิบดีบุชมาเกือบตลอดวาระ. สหรัฐฯ เองก็สนับสนุนปารากวัยด้วย "โครงการสร้างเสริมประชาธิปไตย" ซึ่งเป็นศัพท์ของวอชิงตันที่แปลได้อีกทีว่า "การช่วยฝึกอบรมทางการทหาร" นั่นเอง

แต่เมื่อประเทศในละตินอเมริกาเริ่มเลี้ยวซ้ายมากขึ้นเรื่อยๆ ดูอาร์เตก็ฉลาดพอที่จะหันไปผูกมิตรกับประธานาธิบดีชาเวซ เขาลงนามในข้อตกลงด้านพลังงานกับเวเนซุเอลา และสนับสนุนการก่อตั้งธนาคารแห่งซีกโลกใต้ ที่โด่งดังที่สุดก็คงเป็นตอนที่ดูอาร์เตไปปราศรัยก่นด่า "ทุนนิยมไร้กฎเกณฑ์" ในที่ประชุมยูเนสโก ก่อนสิ้นวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ดูอาร์เตค่อยๆ ถอยห่างจากวอชิงตัน และหันไปแนบแน่นกับ คารากัส มากขึ้น เหตุผลก็ไม่มีอะไรมาก สำหรับในละตินอเมริกาตอนนี้ นี่คือสิ่งที่จะทำให้ได้รับความนิยมจากประชาชน

ความเฟื่องฟูของภาคเกษตรกรรม: ปัจจัยชี้ชะตานักการเมือง

ความรุ่งเรืองของภาคธุรกิจเกษตรเพื่อการส่งออก กลายเป็นปัจจัยที่บั่นทอนอำนาจของพรรคโคโลราโด เมื่อสภาพทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป รัฐไม่ได้เป็นผู้จ้างงานรายใหญ่ที่สุดในประเทศอีกแล้ว อิทธิพลของพรรคโคโลราโดจึงเริ่มเสื่อมถอย และกลายเป็นช่องว่างให้ลูโกก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี

ในปารากวัย กลุ่มชนชั้นนำที่มีอิทธิพลทางการเมืองมีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ

1) เจ้าของไร่ถั่วเหลืองและปศุสัตว์ คนกลุ่มนี้มีกองกำลังกึ่งทหารไว้คอยขับไล่ชาวนาเพื่อยึดที่ดินไปเป็นของตนเอง
2) นักค้ายาเสพย์ติดที่มักติดสินบนนักการเมือง
3) นักธุรกิจที่พึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศ และตลาดมืด
4) บรรษัทข้ามชาติที่ผลิตถั่วเหลือง ฝ้าย และน้ำตาล

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา พรรคโคโลราโดและรัฐบาลมีหน้าที่ตอบสนองผลประโยชน์ของสี่กลุ่มนี้

แต่ในช่วงยี่สิบปีหลัง ในฟากฝ่ายตรงกันข้ามเริ่มมีการก่อตัวของขบวนการรากหญ้า โดยเฉพาะองค์กรของชาวไร่ชาวนาชนพื้นเมือง เป้าหมายขององค์กรเหล่านี้คือ การปฏิรูปที่ดิน. ขบวนการประชาชนไม่เพียงต้องต่อสู้กับชนชั้นนำในประเทศ แต่ยังต้องเผชิญหน้ากับภาคธุรกิจเกษตรที่มั่งคั่งของบราซิล ซึ่งเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อนำไปทำอุตสาหกรรมเกษตรและเก็งกำไร

ภาคเกษตรที่กำลังขยายตัวมากที่สุดก็คือ การเพาะปลูกที่รองรับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงเกษตร (หรือไบโอดีเซลนั่นเอง) ตามคำพูดของซีอีโอบริษัทคาร์กิลล์ นี่เปรียบเสมือนการ "ตื่นทอง" เพียงแต่เดี๋ยวนี้ "ทองคำ" งอกงามอยู่ในไร่นา พื้นที่ป่าและไร่นาของเกษตรกรรายย่อยถูกกวาดเข้าสู่ภาคธุรกิจเกษตรที่โถมถั่งราวคลื่นยักษ์สึนามิดัดแปลงพันธุกรรม. ปารากวัยเป็นผู้ส่งออกถั่วเหลืองรายใหญ่อันดับสี่ของโลก และปริมาณถั่วเหลืองที่ผลิตก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ. ปารากวัยแทบจะเป็นที่รวมผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติด้านธุรกิจเกษตรทุกบริษัทในโลก นับตั้งแต่มอนซานโต, ซินเจนตา, ดูปองท์, คาร์กิลล์, เอดีเอ็ม และบังเก

การขยายตัวของอุตสาหกรรมเพาะปลูกถั่วเหลืองนำไปสู่การกดขี่เกษตรกรรายย่อยและชนพื้นเมืองอย่างรุนแรง พรรคโคโลราโด รักษาผลประโยชน์ของภาคธุรกิจเกษตรอย่างขันแข็ง โดยใช้ทั้งตำรวจ ทหารและศาลมาลงโทษผู้นำชาวไร่ชาวนา. การประท้วงถือเป็นอาชญากรรม ผู้นำชาวไร่ชาวนาเผชิญมาตรการทั้งทางกฎหมายและนอกกฎหมาย นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีเกษตรกรรายย่อยเกือบ 100,000 ครอบครัว ถูกขับไล่ออกจากที่ดินทำกิน มีผู้นำชาวไร่ชาวนากว่า 100 คนถูกฆ่าทิ้ง

นอกจากถูกขับไล่แล้ว เกษตรกรชาวปารากวัยจำนวนมากยังจำใจอพยพออกจากไร่นาของตนเอง เพราะไม่สามารถทนต่อยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืชกว่า 24 ล้านลิตร ที่ภาคอุตสาหกรรมเกษตรประเคนพ่นใส่ไร่ถั่วเหลืองทุกๆ ปี เมื่อเกษตรกรเห็นสัตว์เลี้ยงล้มตาย พืชผลเหี่ยวเฉา น้ำบ่อปนเปื้อน และคนในครอบครัวเจ็บป่วย พวกเขาส่วนใหญ่ก็จำใจเก็บกระเป๋าและย้ายไปตายดาบหน้าในเมือง. คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ สังคมและสิทธิทางวัฒนธรรมของสหประชาชาติยืนยันว่า "การขยายตัวของการเพาะปลูกถั่วเหลือง นำมาซึ่งการใช้ยาฆ่าแมลงอย่างไม่บันยะบันยัง ทำให้เกิดความตายและความเจ็บป่วยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สร้างปัญหาแหล่งน้ำปนเปื้อนสารพิษ การล่มสลายของระบบนิเวศ และสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรที่เป็นแหล่งอาหารดั้งเดิมของชุมชน"

กระแสต่อต้านอุตสาหกรรมถั่วเหลืองค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในหมู่เกษตรกรและนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน การที่ลูโกสัญญาจะปฏิรูปที่ดิน จึงถือว่าเป็นนโยบายที่ยิงเข้าสู่หัวใจของปัญหา ฐานเสียงของลูโกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากอุตสาหกรรมผลิตถั่วเหลือง

เส้นทางข้างหน้าของเฟอร์นานโด ลูโก

ในเวทีการเมืองของปารากวัยวันนี้ ทางเลือกของฝ่ายซ้ายยังมีเพียงลูโกคนเดียว เขาสามารถรวบรวมพรรคฝ่ายค้านทั้งหมดมาเป็นแนวร่วมได้ ถึงแม้ผลประโยชน์และนโยบายของพรรคเหล่านี้มีจุดร่วมกันเพียงประการเดียวคือ "ยุติการครองเมืองของพรรคโคโลราโด"

นอกจากนำเสนอนโยบายปฏิรูปที่ดิน ปราบปรามการคอร์รัปชั่น ลูโกยังเสนอว่า เขาจะขอทบทวนสัญญากับบราซิลเกี่ยวกับเขื่อนอิไตปู ซึ่งเป็นเขื่อนพลังน้ำสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก เขื่อนยักษ์ของปารากวัยแห่งนี้ขายไฟฟ้าให้บราซิลคิดเป็น 20% ของกระแสไฟฟ้าทั้งหมดในบราซิล หากสามารถเปิดการเจรจาใหม่ได้สำเร็จ เขื่อนอิไตปูจะตอบสนองปารากวัยทางด้านพลังงานและการเงินได้มากขึ้นกว่าเดิม แต่หากบราซิลไม่ยอมทบทวนสัญญา ลูโกจะนำประเด็นนี้ขึ้นฟ้องร้องในศาลโลก

ลูโกวางตำแหน่งของตนใกล้ชิดไปข้างประธานาธิบดีฝ่ายซ้ายอย่างอูโก ชาเวซ และเอโว โมราเลส และโวหารในการหาเสียงก็ต่อต้านจักรวรรดินิยมมากกว่านักการเมืองปารากวัยคนอื่นๆ เขาบอกสื่อมวลชนว่า เขาจะต่อต้านข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ แต่สนับสนุนตลาดร่วมอเมริกาใต้หรือ MERCOSUR (*) มากกว่า

(*) Mercosur or Mercosul is a Regional Trade Agreement (RTA) among Argentina, Brazil, Paraguay and Uruguay founded in 1991 by the Treaty of Asuncion, which was later amended and updated by the 1994 Treaty of Ouro Preto. Its purpose is to promote free trade and the fluid movement of goods, people, and currency.

Mercosur origins trace back to 1985 when Presidents Raul Alfonsin of Argentina and Jose Sarney of Brazil signed the Argentina-Brazil Integration and Economics Cooperation Program or PICE (Spanish: Programa de Integracion y Cooperacion Economica Argentina-Brasil, Portuguese: Programa de Integracao e Cooperacao Economica Argentina-Brasil).

Bolivia, Chile, Colombia, Ecuador and Peru currently have associate member status. Venezuela signed a membership agreement on 17 June 2006, but before becoming a full member its entry has to be ratified by the Paraguayan and the Brazilian parliaments. The founding of the Mercosur Parliament was agreed at the December 2004 presidential summit. It should have 18 representatives from each country by 2010.

กระนั้นก็ตาม หากพิจารณาจุดยืนทางการเมืองของเฟอร์นานโด ลูโกอย่างละเอียดแล้ว ความเป็นซ้ายของเขาน่าจะเป็นเพียงแค่ "ขวาน้อยกว่า" เท่านั้นเอง ถึงแม้เขาเคยมีประสบการณ์ในความขัดแย้งทางสังคมในชนบทและมีสายสัมพันธ์กับขบวนการชาวไร่ชาวนา แต่ลูโกไม่ใช่ "ซ้ายจัด" และยิ่งห่างไกลจากคำว่า "คอมมิวนิสต์".
ลูโกไม่ได้มีทรัพยากรในมือมากมายพอที่จะดำเนินการตามใจชอบ ปารากวัยไม่มีน้ำมันเหมือนเวเนซุเอลา ไม่มีก๊าซธรรมชาติเหมือนโบลิเวีย และไม่มีทองแดงเหมือนชิลี เขาคงไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมากนัก และไม่แน่ว่าจะต้านทานแรงกดดันของวอชิงตันไปได้ตลอดรอดฝั่ง นอกจากนี้ พรรคการเมืองที่สนับสนุนเขาไม่สามารถครองเสียงข้างมากในรัฐสภา อีกทั้งมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่แนวร่วมพรรคการเมืองของลูโกจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เนื่องมาจากความแตกต่างภายใน

แต่เราก็ไม่ควรดูเบาชัยชนะในการเลือกตั้งของเฟอร์นานโด ลูโก การที่เขาได้รับชัยชนะ สะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศบางอย่างในละตินอเมริกา ทั้งๆ ที่ลูโกไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญอย่างราฟาเอล คอร์เรอา แห่งเอกวาดอร์, ไม่ใช่นายทหารมากบารมีอย่างอูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา, ไม่ได้เป็นผู้นำสหภาพอย่างลูลาแห่งบราซิล หรือโมราเลสแห่งโบลิเวีย. การที่ลูโกได้ชัยชนะหมายถึงความปรารถนาที่ล้นลึกเต็มหัวใจของชาวละตินอเมริกาที่กำลังใฝ่หาความเปลี่ยนแปลง

ข้อมูลประกอบการเขียน:

Michael Fox, "Paraguay Celebrates Lugo's Historic Victory," UpsideDownWorld.org; Sunday, 20 April 2008.

---------------, "Paraguay Changes: Elections End 60 Years of Right Wing Rule," UpsideDownWorld.org;
Monday, 21 April 2008.

----------------, "Report From Paraguay on the Eve of Historic Elections," UpsideDownWorld.org; Friday, 18 April 2008.

April Howard & Benjamin Dangl, "Dissecting the Politics of Paraguay's Next President," UpsideDownWorld.org; Thursday, 10 April 2008.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1650 เรื่อง หนากว่า 33000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๓ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 03 March 2009 : Copyleft MNU.

ท่ามกลางการปะทะกันอย่างดุเดือดบนท้องถนน สมรภูมิอีกแห่งหนึ่งที่ดุเดือดไม่แพ้กันคือ สื่อสารมวลชน หนังสือพิมพ์กระแสหลักเกือบทั้งหมดในโบลิเวีย พร้อมใจกันโจมตีร่างรัฐธรรมนูญ และพรรครัฐ บาล ถึงขนาดบิดเบือนข้อมูลหลายๆ อย่าง อาทิเช่น ไม่นานมานี้ หนัง สือพิมพ์ El Diario พาดหัวตัวโตว่า"โบลิเวียจะกลับไปสู่ยุคป่าเถื่อนด้วยระบบยุติธรรมชุมชน" ทั้งนี้เพียงเพราะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้การรับรองระบบยุติธรรมชุมชน (Community Justice) ซึ่งเป็นจารีตประเพณีและปฏิบัติกันมายาวนานในชุมชนชาวพื้นเมืองทั่วประ เทศ หรือกล่าวหาว่า รัฐธรรมนูญใหม่จะอนุญาตให้คนรักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ เป็นต้น. แต่ขบวนการประชาชนที่มีการจัดตั้งอย่างเข้มแข็งในโบลิเวียทำให้ประชาชนรากหญ้าไม่หวั่นไหวต่อเรื่องนี้...

H