ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




15-02-2552 (1683)

กลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำ และการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำ:
กรอบแนวคิดอันโตนิโอ กรัมชี กับการอธิบายการเมืองไทยร่วมสมัย
วัชรพล พุทธรักษา : ผู้เขียน
สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
(หมายเหตุ: ผู้สนใจเชิงอรรถประกอบ โดยผู้เขียน สามารถ download ได้จากต้นฉบับ)

หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน เดิมชื่อ...
กลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำ และการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำ:
แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชี กับการอธิบายการเมืองไทยร่วมสมัย
บทความนี้ปรับปรุงจากบทความที่นำเสนอครั้งแรก ในที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตร์
และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ณ คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑


บทความ กรอบแนวคิดอันโตนิโอ กรัมชี ประกอบด้วยโครงเรื่องดังต่อดังนี้
- นิยาม ความหมายของแนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ และปัญญาชน (Intellectual)
- แนวความคิดองค์ประกอบที่สำคัญต่อการทำความเข้าใจแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำ
- กลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำและการโต้ตอบต่ออำนาจนำ
- คุณูปการของแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำ
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๘๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำ และการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำ:
กรอบแนวคิดอันโตนิโอ กรัมชี กับการอธิบายการเมืองไทยร่วมสมัย
วัชรพล พุทธรักษา : ผู้เขียน
สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
(หมายเหตุ: ผู้สนใจเชิงอรรถประกอบ โดยผู้เขียน สามารถ download ได้จากต้นฉบับ)

1. บทนำ

บทความนี้ มุ่งตอบคำถามหลักที่ว่า แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชี (Antonio Gramsci) นอกเหนือไปจากแนวความคิดเรื่องการครองอำนาจนำ (Hegemony) ที่เป็นแนวคิดหลักที่มักถูกอ้างถึง แล้วยังมีแนวความคิดอื่นของกรัมชีอีกหรือไม่ที่มีความสำคัญ และสามารถประยุกต์ใช้อธิบายการเมืองไทยร่วมสมัยได้ รวมไปถึงแนวความคิดดังกล่าวนั้นมีความสัมพันธ์กันกับแนวความคิดเรื่องการครองอำนาจนำหรือไม่ อย่างไร

อันโตนิโอ กรัมชีได้ชื่อว่าเป็นมาร์กซิสต์คนสำคัญคนหนึ่ง เขาเป็นมาร์กซิสต์ที่มีทั้งมิติเชิงทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แนวความคิดที่เป็นที่รู้จักกันดีของเขาคือ แนวความคิดเรื่องการครองอำนาจนำ (Hegemony) ซึ่งมักจะถูกนำไปใช้ในสองมิติหลักด้วยกันคือ

มิติแรก การครองอำนาจนำในบริบทการเมืองระหว่างประเทศ และ
มิติที่สอง คือ การครองอำนาจนำในบริบทการเมืองระหว่างกลุ่ม/ชนชั้นของการเมืองภายใน

แนวความคิดเรื่องการครองอำนาจนำนั้นแม้จะเป็นแนวคิดที่ถูกกล่าวถึง ตลอดจนนำไปใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์การเมืองในบริบทต่างๆ อย่างกว้างขวาง แต่การทำความเข้าใจความคิดเรื่องการครองอำนาจนำของกรัมชีนั้น ผู้เขียนมองว่าควรที่จะทำความเข้าใจแนวคิดอื่นๆ ประกอบกัน จึงจะสามารถทำความเข้าใจแนวคิดการครองอำนาจนำได้ดีขึ้น

จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า แนวความคิดสำคัญที่มีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจความคิดของกรัมชีนั้น ได้แก่ แนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน แนวความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนล่าง/โครงสร้างส่วนบน สังคมการเมือง/ประชาสังคม สงครามยึดพื้นที่ทางความคิด/สงครามขับเคลื่อน การยินยอมพร้อมใจ/การใช้อำนาจบังคับ กลไกการใช้อำนาจ และการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำเป็นต้น

แนวคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ และปัญญาชน เป็นสองแนวความคิดองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจภาพรวมของแนวความคิดการครองอำนาจนำ อีกทั้งเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญอย่างมาก ในฐานะที่เป็นผลสะท้อนของความคิดที่มีต่อแนวความคิดของนักคิดที่มีลักษณะเศรษฐกิจกำหนดแบบกลไก (Mechanistic Economic Determinism หรือพวก Economism )

ส่วนต่อจากนี้ไปจะเป็นส่วนของการนำเสนอเพื่อตอบคำถามหลักที่ได้ตั้งไว้ข้างต้น โดยเริ่มที่การให้นิยามเกี่ยวกับแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์และปัญญาชน ตามด้วยการวิเคราะห์แนวคิดองค์ประกอบอื่นๆที่สำคัญต่อการทำความเข้าใจกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชนและการครองอำนาจนำ ลำดับถัดไปจะเป็นการอธิบายภาคปฏิบัติการของการสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาเหตุการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันกรณีการสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และในส่วนท้ายจะได้กล่าวถึงความสำคัญของแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์และปัญญาชนในแง่มุมต่างๆ

2. นิยาม ความหมายของแนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ (Historical Bloc) และปัญญาชน (Intellectual)

2.1 แนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ (Historical Bloc)

แนวคิดนี้คือ แนวความคิดที่กรัมชีใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับการรวมตัวกันอย่างเป็นเอกภาพโดยลักษณะวิภาษวิธี (Dialectical unity) ระหว่างโครงสร้างส่วนล่าง(โครงสร้างทางเศรษฐกิจ) กับโครงสร้างส่วนบน(โครงสร้างอุดมการณ์) ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ ระหว่างปัญญาชนกับมวลชน

กรัมชีได้เสนอแนวคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม เพื่อใช้แทนแนวคิดเศรษฐกิจกำหนดแบบกลไกของสำนักคิดแบบมาร์กซิสต์ดั้งเดิม หรือที่เรียกว่าพวก Economism / Economic Determinism แนวคิดดังกล่าวเป็นการอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relation) ระหว่างชนชั้นและกลุ่มพลังต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างของสังคมโดยอธิบายว่าในสังคมทุนนิยมนั้น ชนชั้นนายทุน (Bourgeoisie) จะพยายามครองอำนาจนำให้เกิดในพื้นที่ของความสัมพันธ์ในการผลิต (Sphere of Production) ซึ่งการครองอำนาจนำในพื้นที่นี้แต่เพียงพื้นที่เดียวนั้นจะไม่เกิดการครองอำนาจนำที่สมบูรณ์ (Absolute) ดังจะเห็นได้ว่า มีการพยายามท้าทายชนชั้นนายทุนจากกลุ่มชนชั้นแรงงาน เช่น จากสหภาพแรงงานอยู่เนืองๆ การสร้างภาวะการครองอำนาจนำที่สมบูรณ์ให้เกิดขึ้นจึงเป็นการสร้างแนวร่วมพันธมิตร (Alliance) ระหว่างกลุ่มพลัง หรือชนชั้นต่างๆ เหนือพื้นที่ทางสังคมที่กว้างกว่ามิติเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น

ดังนั้น โดยสรุปเกี่ยวกับแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ก็คือ แนวความคิดที่ใช้สำหรับอธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมการเมืองหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเชื่อว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจชุดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นกลไก หรือโดยอัตโนมัติ แต่เกิดขึ้นโดยฝีมือ หรือการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่มี / ผ่านประวัติศาสตร์ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั่นเอง

2.2 ปัญญาชน (Intellectual)
สำหรับกรัมชี คนทุกคนล้วนเป็นปัญญาชนในแง่ของการมีปัญญา ความรู้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้แสดงบทบาท / หน้าที่ในฐานะของปัญญาชน กรัมชีได้แบ่งปัญญาชนออกเป็น 2 ประเภท ด้วยกัน ได้แก่

1) ปัญญาชนสามัญ (Traditional Intellectual) ซึ่งเป็นปัญญาชนที่ทำหน้าที่ของตนในกลุ่ม / สังคม / ชนชั้นดั้งเดิมที่ตนถือกำเนิดมา และ
2) ปัญญาชนจัดตั้ง (Organic Intellectual) เป็นปัญญาชนที่ยกตัวเองออกจากกลุ่มสังคม / ชนชั้นดั้งเดิมที่กำเนิดมา เช่น แรงงานที่กลายเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น

ปัญญาชนทั้งสองประเภทนั้นไม่ได้แยกขาดจากกันแต่อย่างใด แต่มีบทบาทที่สำคัญร่วมกันในฐานะที่เป็นเสมือนตัวการในการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีสู่การปฏิบัติ และเชื่อมโยงระหว่างจิตสำนึกของชนชั้นผู้ถูกเอาเปรียบ เช่น ชนชั้นแรงงานให้มีความเป็นปึกแผ่นขึ้นผ่านทางกลไกต่างๆ เพื่อสร้างการครองอำนาจนำให้เกิดขึ้นเหนือสังคม และยกกลุ่ม/ชนชั้นของตนขึ้นเป็นชนชั้นผู้กุมความได้เปรียบแทนที่ชนชั้นเดิม

บทบาทหน้าที่ของปัญญาชนในทัศนะของกรัมชีมองว่า ปัญญาชนจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนรูป (Transform) จิตสำนึกของชนชั้นกรรมาชีพ หรือชนชั้น/กลุ่มที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ มาสู่การสร้างพันธมิตรระหว่างชนชั้นอื่นให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเปลี่ยนจิตสำนึกร่วมให้เกิดผลในทางปฏิบัติ คือการปฏิวัติเพื่อล้มล้างชนชั้นนายทุน หรือกลุ่ม/ชนชั้นผู้เอาเปรียบนั่นเอง

อาจกล่าวได้ว่าปัญญาชนนั้นเปรียบได้กับผู้จัดการให้เกิดการครองอำนาจนำในทางปฏิบัติ หรือเป็นผู้จัดการให้เกิดการครองอำนาจนำ (Organizer of Hegemony) เพราะปัญญาชนนั้นจะทำหน้าที่ทั้งในการให้ความรู้เกี่ยวกับปลุกจิตสำนึกของชนชั้นในประเด็นต่างๆ (Educator) พร้อมทั้งเป็นผู้นำทางสติปัญญา (Leader) และผู้นำในการขับเคลื่อนมวลชนทางความคิดอีกด้วย

นอกเหนือจากสองแนวคิดหลักดังที่ได้อธิบายไปแล้ว ผู้เขียนตีความว่า ยังมีแนวความคิดองค์ประกอบที่สำคัญที่สามารถเชื่อมโยงเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจแนวคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำได้อยู่ 4 แนวความคิดที่สำคัญ ดังจะได้นำเสนอให้หัวข้อถัดไป

3. แนวความคิดองค์ประกอบที่สำคัญต่อการทำความเข้าใจแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำ

แนวความคิดของกรัมชีมีลักษณะที่กระจัดกระจายในผลงานจำนวนมหาศาล ทั้งก่อนและระหว่างจำคุก อีกทั้งมิได้มีลักษณะของการนำเสนอกรอบแนวความคิด (Framework) สำเร็จรูปเพื่อนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติแต่อย่างใด การนำเสนอในส่วนนี้เป็นการตีความของผู้เขียน โดยมองว่า แนวความคิดองค์ประกอบดังที่จะได้นำเสนอต่อไปนี้ มีความสำคัญยิ่งต่อการทำความเข้าใจความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน รวมถึงการครองอำนาจนำ

3.1 โครงสร้างส่วนล่าง/โครงสร้างส่วนบน (Structure/Super structure) และสังคมการเมือง/ประชาสังคม (Political Society/Civil Society)
แนวความคิดมาร์กซิสต์นั้น ให้ความสำคัญอย่างมากกับ "โครงสร้างส่วนล่าง" ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งหมด แต่ความสำคัญของกรัมชีก็คือ เขาเป็นนักคิดมาร์กซิสต์คนแรกๆ ที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างส่วนบน (Super-Structure) ซึ่งต่างออกไปจากแนวคิดของนักมาร์กซิสต์ดั้งเดิมบางจำพวก ที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างส่วนล่างในฐานะที่เป็นโครงสร้างหลักในการกำหนดโครงสร้างส่วนบนดังที่ได้กล่าวไปแล้ว และอาจกล่าวได้ว่า เขาเองเป็นคนที่กลับมาเน้นย้ำ (Re-emphasis) ในมิติทางด้านการเมือง และความสำคัญของการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ของแนวความคิดมาร์กซิสต์ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่สังคมนิยม

สำหรับกรัมชี โครงสร้างส่วนบนนั้นเป็นโครงสร้างสังคมที่มีความสำคัญ และสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือส่งผลต่อสังคมในส่วนรวมได้เช่นเดียวกันกับโครงสร้างส่วนล่าง หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างส่วนบนนี้ประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า "สังคมการเมือง" (Political Society หรือ State) และ "ประชาสังคม" (Civil Society) ซึ่งเป็นโครงสร้างของระบบความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ กฎหมาย วัฒนธรรม และอื่นๆ ที่ไม่ใช่โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

พื้นที่ในโครงสร้างส่วนบนตามแนวคิดของกรัมชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ประชาสังคม นั้นเป็นพื้นที่ของการสร้างความยินยอม และสามัญสำนึก(Common Sense) หรือมีมุมมอง/โลกทัศน์ต่อปรากฏการณ์ตามที่ถูกชนชั้นปกครอง หรือกลุ่มผู้พยายามสร้างการครองอำนาจนำ พยายามสร้างไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทิศทางของโครงสร้างส่วนบนนี้จึงเป็นสิ่งที่ก้าวไปไกลกว่าการมองเพียงแค่ความสัมพันธ์ และพลังในการผลิตเท่านั้น ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่มุมมองในการอธิบายปรากฏการณ์ให้กว้างขวางออกไป

ภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจส่วนล่าง และโครงสร้างทางอุดมการณ์ส่วนบนนั้น ต่างก็ประกอบไปด้วยกลุ่มทางสังคมกลุ่มต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันแตกต่างกันไป อาทิ กลุ่มที่อยู่ภายในสังคมส่วนล่างนั้นก็มีความสัมพันธ์ในการผลิต และการบริโภคในทางเศรษฐกิจต่อกัน, ส่วนกลุ่มที่อยู่ในโครงสร้างสังคมส่วนบนในพื้นที่ประชาสังคมนั้น จะมีความสัมพันธ์กันในเชิงอุดมการณ์ ระบบความคิด และความเชื่อ ขณะที่ภายในพื้นที่สังคมการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มจะเป็นความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ และการใช้อำนาจบังคับต่อกัน

3.2 สงครามขับเคลื่อน/สงครามยึดพื้นที่ทางความคิด (War of Movement/War of Position)
การสร้างการครองอำนาจนำให้เกิดขึ้นเหนือกลุ่ม/ชนชั้นอื่นๆ ในสังคมการเมืองนั้น กรัมชีได้เปรียบดังเช่นการทำสงคราม. แนวคิดเรื่องสงครามขับเคลื่อน (War of Movement) และสงครามยึดพื้นที่ทางความคิด(War of Position) จึงได้ถูกนำมาใช้โดยอธิบายว่า การทำสงครามขับเคลื่อนนั้นเป็นการทำสงครามในทางยุทธวิธีทางการทหาร การที่จะสามารถเอาชนะฝ่ายศัตรู หรือฝ่ายตรงข้ามได้จะต้องทำการบุกยึดพื้นที่เพื่อยึดครองปัจจัยสำคัญของฝ่ายตรงข้ามให้ได้ อาทิ การยึดเมืองหลวง หรือสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ เป็นต้น แต่ในการดำเนินการเพื่อสร้างภาวะการครองอำนาจนำให้เกิดขึ้นเหนือชนชั้นอื่นๆ นั้น ชนชั้นผู้พยายามสร้างการครองอำนาจนำจะต้องดำเนินการต่อสู้เพื่อยึดกุม "พื้นที่เชิงอุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อ" ของผู้คนในพื้นที่ "ประชาสังคม" ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งในโครงสร้างส่วนบนให้ได้

การดำเนินการช่วงชิง หรือยึดกุมความคิด ความเชื่อของคนในพื้นที่ประชาสังคมนี้ กรัมชีเรียกว่า เป็น "การทำสงครามยึดพื้นที่ทางความคิด" ถ้าสามารถเอาชนะสงครามนี้เหนือพื้นที่ประชาสังคมได้สำเร็จการครองอำนาจนำก็จะสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์ และยั่งยืน

3.3 กลไกการครองอำนาจนำ/กลไกรัฐ (Hegemonic/State Apparatus)
แนวคิดเรื่องกลไกการครองอำนาจนำ และกลไกการใช้อำนาจรัฐ หรือกลไกรัฐ นับได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการสร้างการครองอำนาจนำให้เกิดขึ้นตามเป้าหมายของกลุ่ม/ชนชั้นผู้ดำเนินการครองอำนาจนำ

แนวคิดเรื่อง "กลไกการครองอำนาจนำ" นั้น เปรียบได้กับการทำหน้าที่เป็นสื่อกลางเพื่อถ่ายทอดอุดมการณ์ หรือระบบความคิด ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ชุดหนึ่งๆ ตามที่กลุ่มผู้ดำเนินการสร้างการครองอำนาจนำต้องการ เพื่อสื่อไปถึงประชาชนในชนชั้นต่างๆ เหนือ "พื้นที่ประชาสังคม" เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในการเห็นพ้องและยินยอมที่จะปฏิบัติตาม (Consent) ความต้องการของชนชั้นผู้ถ่ายทอดอุดมการณ์

นอกจากนี้ กลไกการครองอำนาจนำยังทำหน้าที่รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึก (Conscious) ให้ชนชั้นผู้ถูกครอบงำมีความรู้สึกว่า ผลประโยชน์ของชนชั้นตนนั้นได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากชนชั้นปกครอง หรือชนชั้นผู้ดำเนินการสร้างภาวะครองอำนาจนำ โดยที่ชนชั้นผู้ถูกครอบงำไม่รู้สึก หรือไม่สามารถตระหนักรู้ได้ว่า ชนชั้นของตนนั้นถูกเอาเปรียบ หรือขูดรีดอย่างไร

กลไกการครองอำนาจนำ กล่าวได้ว่า จะเป็นสิ่งใดก็ได้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอด หรือส่งผ่านชุดความคิด จากด้านของกลุ่ม/ชนชั้นผู้ดำเนินการสร้างการครองอำนาจนำไปยังผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็น พรรคการเมือง ปัญญาชน นโยบายของพรรคการเมือง/รัฐบาล สื่อมวลชนทุกประเภท สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา การสร้างภาพ/การจัดการภาพลักษณ์ของฝ่ายผู้ดำเนินการสร้างภาวะสร้างภาวะการครองอำนาจนำ เป็นต้น

กลไกการใช้อำนาจรัฐ นั้น จะถูกใช้เหนือ "พื้นที่สังคมการเมือง" โดยแตกต่างจากกลไกการครองอำนาจนำตรงที่ กลไกรัฐนั้นไม่ได้เป็นกลไกที่ใช้สื่อสารเพื่อสร้างชุดของอุดมการณ์ตามที่ชนชั้นผู้ดำเนินการสร้างภาวะครองอำนาจนำต้องการ แต่กลไกรัฐนั้นเป็น"กลไกที่ใช้อำนาจบังคับ" เพื่อบังคับให้ประชาชนของชนชั้นต่างๆ ปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติตามความต้องการของชนชั้นปกครองหรือผู้ดำเนินการสร้างการครองอำนาจนำ โดยที่ทุกคนในสังคมนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

กลไกการใช้อำนาจรัฐจึงได้แก่ สิ่งใดๆ ก็ตามที่รัฐ หรือผู้ครองอำนาจนำสามารถนำมาใช้เหนือผู้คนในสังคมทุกชนชั้น เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายต่างๆ ตามต้องการ กลไกลักษณะนี้จะอาศัยอำนาจในการบังคับ เช่น กฎหมาย การใช้อำนาจศาล การใช้กำลังของกองทัพ และตำรวจ เป็นต้น

3.4 การโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำ (Counter Hegemony)
การครองอำนาจนำที่ไม่สมบูรณ์ของกลุ่ม/ชนชั้นปกครอง หรือการที่ไม่สามารถสร้างการครองอำนาจนำเหนือพื้นที่ประชาสังคม หรือสังคมการเมืองได้เลย หรือสามารถครองอำนาจนำได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการยึดกุมพื้นที่ทางสังคมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ หรือสามารถสร้างการครองอำนาจนำได้ใกล้เคียงกับการครองอำนาจนำสมบูรณ์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้เกิดเหตุปัจจัยต่างๆ ที่บั่นทอนความชอบธรรม และลดทอนความรู้สึกยินยอมพร้อมใจของชนชั้นผู้ถูกครอบงำที่มีต่อชนชั้น/กลุ่มผู้ครองอำนาจนำ ทำให้ในช่วงเวลาต่อมาภาวะการครองอำนาจนำนั้นถูกลดทอนลงไป กรณีทั้งหมดที่กล่าวมาหมายความว่า กลุ่มผู้ดำเนินการสร้างภาวะครองอำนาจนำนั้น ไม่สามารถสร้างภาวะการครองอำนาจนำได้อย่างสมบูรณ์

การครองอำนาจนำสมบูรณ์ที่กลุ่มผู้ดำเนินการสร้างการครองอำนาจนำ สามารถเอาชนะสงครามยึดพื้นที่ทางความคิดได้ด้วยการยึดครองเหนือพื้นที่ประชาสังคมและสังคมการเมืองนั้น ผู้คนในสังคมจะดำเนินชีวิตอย่างปกติ โดยไม่เกิดความสงสัย หรือตั้งคำถามต่อการดำเนินการต่างๆ ของกลุ่ม/ชนชั้นผู้ครองอำนาจนำ และไม่มีการดำเนินการใดๆ เพื่อแสดงความคิดที่ขัดแย้งต่อความคิดหลัก หรืออุดมการณ์หลักตามที่กลุ่มผู้ดำเนินการสร้างการครองอำนาจนำต้องการ

ในทางกลับกัน ถ้ากลุ่มผู้ดำเนินการสร้างภาวะครองอำนาจนำ ไม่สามารถสร้างภาวะการครองอำนาจนำได้สำเร็จ ผู้คนในสังคมส่วนหนึ่งที่ตระหนักรู้ได้ว่าตน หรือชนชั้น/กลุ่มของตนได้ถูกดำเนินการครองอำนาจนำเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่ม/ชนชั้นผู้ครองอำนาจนำ กลุ่มคนที่ตระหนักรู้นี้จะได้แสดงออก หรือเผยให้เห็นถึงการดำเนินการใดๆ เพื่อเป็น "การโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำ "ของชนชั้นผู้ครองอำนาจนำ ทั้งนี้การโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของกลุ่มคน/ชนชั้นอื่นในสังคมอาจเป็นไปเพียงเพื่อแสดงให้ผู้ครองอำนาจนำได้เห็นและรับรู้ว่า อำนาจของตนนั้นถูกท้าทาย หรือแม้การโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำ เพื่อโค่นล้มกลุ่มผู้ดำเนินการครองอำนาจเก่า และนำไปสู่การก้าวไปเป็นกลุ่มผู้ดำเนินการครองอำนาจนำกลุ่มใหม่ก็เป็นได้

หัวข้อถัดไปจะเป็นการอธิบายการเมืองไทยร่วมสมัยกรณีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยอาศัยกรอบความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำ และการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำเป็นหลักในการอธิบาย

4. กลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำและการโต้ตอบต่ออำนาจนำ:
แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชี กับการอธิบายการเมืองไทยร่วมสมัย กรณีศึกษาพันธมิตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในสังคมไทย

ส่วนนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้แนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำ และแนวความคิดองค์ประกอบอื่นๆ มาทำความเข้าใจและสร้างคำอธิบายให้กับการเมืองไทยร่วมสมัยในกรณีศึกษากรณีการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ผู้เขียนมองการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในกรอบความคิดของกรัมชีว่า เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์ของตนเองให้เกิดขึ้นเหนือสังคมและการเมืองไทย โดยมองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น มีลักษณะเป็นตัวแสดงในการสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์ที่แตกต่างออกไปเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่

ลักษณะแรก ในช่วงแรกของการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยระหว่างปี 2548-2549 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น ได้สร้างกลุ่มประวัติศาสตร์ของตนขึ้นมากลุ่มหนึ่งโดยที่ตนเองอยู่ในฐานะผู้โต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของรัฐบาล/ระบอบทักษิณ (Counter Hegemony)

สิ่งที่น่าสนใจก็คือเมื่อเวลาผ่านไปในปี 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เปลี่ยนตัวเองจากการเป็นผู้โต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของกลุ่ม/ชนชั้นอื่นมาเป็นตัวแสดงในลักษณะที่สอง คือ

ลักษณะที่สอง การแปลงตัวเองมาเป็นตัวการสำคัญในการสร้างการครองอำนาจนำเหนือสังคมการเมืองไทย โดยสร้างกลุ่มประวัติศาสร์กลุ่มใหม่ขึ้นมาเพื่อกดดัน และโค่นล้มรัฐบาลสมัคร (สุนทรเวช) ลงไป

4.1 ปรากฏการณ์สนธิ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยระยะแรก (พ.ศ. 2548-2549): การสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นตัวโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของระบอบทักษิณ

ปรากฏการณ์สนธิ: จุดเริ่มต้นบทบาทปัญญาชนจัดตั้งในการสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์เพื่อโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณ
ปรากฏการณ์สนธิ มีที่มาจากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรซึ่งเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดเจนถึงการแสดงออกเพื่อโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณ ปรากฏการณ์สนธินี้เป็นบทบาทการโต้ตอบโดยตัวแสดงที่เป็นสื่อมวลชนในช่วงแรก แต่ในระยะต่อมาจะเป็นการร่วมมือกันระหว่างสื่อ และกลุ่มการเมืองภาคประชาชนต่างๆ

สิ่งที่เรียกว่า "ปรากฎการณ์สนธิ" นั้นเริ่มก่อตัวขึ้นในเดือนกันยายน 2548 เมื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้เริ่มออกมาแสดงบทบาทในการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณด้วยการเปิดโปงความฉ้อฉลของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยพยายามหาแนวร่วมสนับสนุนการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำด้วยการหยิบยกประเด็นที่เป็นจุดอ่อนไหวของสังคมไทยคือประเด็นเรื่อง ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เช่น ประเด็นเรื่องการที่ พ.ต.ท.ทักษิณจัดงานทำบุญประเทศในวัดพระแก้ว ประเด็นเรื่องการล่วงละเมิดพระราชอำนาจ และการขอถวายคืนพระราชอำนาจ เพื่อขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เป็นต้น มาเป็นประเด็นหลักในการดำเนินรายการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่สวนลุมพินีในเวลาต่อมา

ก่อนการเคลื่อนไหวด้วยการนำมวลชนเดินขบวนครั้งใหญ่นั้น รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้พยายามสร้างความรู้สึกร่วมให้เกิดขึ้นกับผู้ชมรายการ ด้วยการพยายามใช้จุดเด่นเชิงสัญลักษณ์ เช่น การใส่เสื้อเหลืองมาฟังรายการ เพราะสีเหลืองนั้นหมายถึงสีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการเชิดชูแนวคิดหลักว่าเป็นการ "สู้เพื่อในหลวง" เป็นต้น

ภายหลังการจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรได้ระยะหนึ่ง เมื่อความรู้สึกร่วมของผู้คนที่ติดตามนายสนธิ ลิ้มทองกุลเริ่มมีมากขึ้น เขาก็ได้จัดชุมนุมใหญ่ครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยได้มีการเดินทางไปยื่นฎีกาที่สำนักราชเลขาธิการฯ และไปยื่นจดหมายให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ด้วย แต่ภายหลังการชุมนุมใหญ่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จในแง่ของการประกาศตัวอย่างชัดแจ้ง ถึงการเกิดขึ้นของกลุ่มโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณที่มีความสำคัญต่อการให้ความสนใจ แต่การตอบรับจากผู้ใหญ่ในกองทัพนั้น ยังคงไม่มีการเคลื่อนไหวมากนัก

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย: การสร้างและผสานพันธมิตรระหว่างชนชั้น
ทิศทางต่อไปของการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณที่นำโดยสื่อมวลชนอย่างนายสนธิ ลิ้มทองกุลคือ การขยายแนวร่วม ในการดำเนินการโต้ตอบให้กว้างขวาง และเข้มแข็งมากขึ้นจึงได้เกิด พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People Alliance for Democracy; PAD) ขึ้นมา ซึ่งองค์ประกอบของพันธมิตรฯ นั้นประกอบด้วย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป.ซึ่งนำโดย พิทยา ว่องกุล ผู้เป็นประธาน และ สุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการแล้ว ยังมีองค์กรสื่อมวลชนของสนธิ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนที่สนใจปัญหาเฉพาะด้าน เช่น กลุ่ม FTA Watch กลุ่มองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสตรี องค์กรแรงงานจากรัฐวิสาหกิจ องค์กรครู แพทย์ นักศึกษาและที่สำคัญคือ กองทัพธรรมมูลนิธิของพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตผู้นำการเคลื่อนไหวในเดือนพฤษภาคม 2535

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ร่วมชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 และมีการชุมนุมต่อเนื่องทุกคืนที่บริเวณสนามหลวง และได้นัดชุมนุมครั้งใหญ่ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งคาดว่าจะเป็นการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มตึงเครียดจากการแบ่งฝ่ายของคนในสังคมระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุน และผู้ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในที่สุดรัฐบาลทักษิณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ได้ตัดสินใจยุบสภาในที่สุดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ก่อนการนัดชุมนุมครั้งใหญ่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพียง 2 วันเท่านั้น ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกภายในสังคมมากไปกว่าที่เป็นอยู่

ภายหลังการยุบสภาในเดือนกุมภาพันธ์ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทยหลายเหตุการณ์ด้วยกัน เช่น เกิดการเลือกตั้งทั่วไปที่มีปัญหา นับตั้งแต่เกิดการบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน(พรรคประชาธิปัตย์) ด้วยเหตุผลที่พรรคไทยรักไทยปฏิเสธการทำปฏิญญาร่วมกันเพื่อปฏิรูปการเมืองหลังการเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จึงเป็นการแสดงเสียงสนับสนุนรัฐบาลทักษิณ/ไทยรักไทย กับพลังการออกเสียงไม่เลือกผู้ใดเท่านั้น และในเวลาต่อมาด้วยข้อเรียกร้องว่าการเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม เนื่องจากการหันคูหาเลือกตั้งออกด้านนอก ส่งผลให้การวินิจฉัยโดยฝ่ายตุลาการในเวลาต่อมาปรากฏออกมาว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 นั้นเป็นโมฆะ

รัฐบาลทักษิณซึ่งเป็นรัฐบาลรักษาการในขณะนั้นนำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินต่อไป ท่ามกลางกระแสต่อต้าน และเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เว้นวรรคทางการเมือง สภาวะทางสังคมในช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่ประชาสังคมในขณะนั้นมีความเคลื่อนไหวอย่างมาก และแสดงพลังของกลุ่มโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณในระดับสูงมาก มีการชุมนุมเพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันในพื้นที่สังคมการเมืองก็เริ่มมีการเคลื่อนไหว ดังจะเห็นได้ว่าเริ่มมีข่าวลือและสื่อมวลชนเริ่มหยิบยกประเด็นเรื่องการรัฐประหารมาพูดถึงกันมากขึ้น แต่ทางกองทัพในขณะนั้นก็ยังคงไม่มีความเคลื่อนไหว

ประชาสังคมกับสังคมการเมือง: ความสัมพันธ์เสมือนในโครงสร้างส่วนบนที่เชื่อมโยงถึงกัน
ด้วยเหตุที่พื้นที่ประชาสังคมและสังคมการเมืองนั้น เป็นพื้นที่ในโครงสร้างส่วนบนร่วมกันตามแนวคิดของกรัมชี และพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของความสัมพันธ์ทางสังคม เปรียบได้กับการเป็นพื้นที่เสมือนที่มิได้มีการแบ่งแยกกันอย่างเด็ดขาดชัดเจน ผู้คนในบริบทพื้นที่ประชาสังคมย่อมต้องมีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกันกับพื้นที่สังคมการเมืองในทางใดก็ทางหนึ่ง เช่นเดียวกันกับกลุ่ม/สถาบันสำคัญในสังคมการเมือง เช่น กองทัพ ย่อมต้องมีความเชื่อมโยงและทับซ้อนกับความสัมพันธ์ในพื้นที่ประชาสังคมอย่างแยกไม่ออกเช่นเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ เมื่อสถานการณ์การแสดงพลังของกลุ่มโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำเริ่มสุกงอมได้ที่ และสังคมเริ่มมีการแบ่งขั้ว/แบ่งฝ่าย ระหว่าง"กลุ่มผู้สนับสนุน"กับ"กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลทักษิณ"อย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลสะเทือนถึงการเคลื่อนไหวของสถาบันในสังคมการเมือง ทำให้กองทัพได้ออกมาเคลื่อนไหว(ด้วยเหตุผลใดก็ตาม) โดยการก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณในที่สุด เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ในนามคณะรัฐประหารที่ชื่อว่า"คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) การถูกรัฐประหารในครั้งนี้จึงถือเป็นการสิ้นสุดการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณ

4.2 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยระยะที่สอง (พ.ศ. 2551):
การสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นตัวสร้างการครองอำนาจนำเหนือรัฐบาลสมัคร (สุนทรเวช)

การกลับมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย: การเปลี่ยนผ่านจากผู้โต้ตอบต่อการครองอำนาจนำเป็นผู้ครองอำนาจนำ
การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 ภายหลังจากการยุติการเคลื่อนไหวที่สำคัญไปภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 รวมถึงช่วงเวลาของรัฐบาลเฉพาะกิจของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อบริหารประเทศเป็นการชั่วคราวก่อนคืนอำนาจให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการเลือกรัฐบาลอีกครั้ง ภายหลังการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550

หลังการลงประชามติประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ซึ่งพรรคพลังประชาชนได้รับเสียงข้างมากได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น ซึ่งนำมาสู่การเข้าสู่อำนาจของนายสมัคร สุนทรเวช ภายหลังการเข้าสู่อำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศของรัฐบาลสมัครได้เพียงไม่นาน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เริ่มที่จะมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง โดยเริ่มต้นการเคลื่อนไหวในรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2551 ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีประเด็นเรียกร้องสำคัญในการเคลื่อนไหวอยู่สองประการ คือ

ประการแรก คือการไม่ยอมรับรัฐบาลสมัครโดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลสมัครนั้นเป็นรัฐบาลนอมินีหรือเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของกลุ่มอำนาจเก่า หรือกลุ่มอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั่นเอง

ประการที่สอง เหตุผลในการเคลื่อนไหวอีกประการหนึ่ง คือ การไม่ยอมรับความพยายามของ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ที่ต้องการจะยื่นญัติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเพิ่งจะมีอายุการใช้งานเพียงประมาณหกเดือนเท่านั้น อีกทั้งยังให้เหตุผลว่าการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ได้เป็นไปโดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาการเมือง หรือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการพยายามแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับอดีตนักการเมืองพรรคไทยรักไทยจำนวนหนึ่ง ที่ต้องโทษเว้นวรรคทางการเมืองเท่านั้น

การชุมนุมของมวลชนจำนวนมาก ภายใต้การนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 โดยมีจุดมุ่งหมายในระยะแรกคือ การเรียกร้องให้มีการถอนญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไป แต่ต่อมาภายหลัง แม้ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะตกไปแล้ว แต่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ยังคงชุมนุมอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเป้าหมายไปที่การขับไล่นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่ง

ช่วงระยะเวลาประมาณ 3 เดือนกว่าของการชุมนุมนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งพันธมิตรฯ ได้มีการเคลื่อนไหวโดยการฟ้องศาลปกครองกลางให้ระงับแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา และดำเนินการชุมนุมยืดเยื้อในหลายสถานที่ด้วยกัน ทั้งที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ซึ่งเป็นจุดชุมนุมหลัก และมีการย้ายไปชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล แต่มีการฟ้องร้องเนื่องจากสถานที่ชุมนุมเป็นการรบกวนต่อประชาชนผู้สัญจรไปมา โดยเฉพาะกระทบกระเทือนต่อการเรียนการสอนของโรงเรียนราชวินิต ทำให้ย้ายการชุมนุมกลับไปที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์อีกจนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 พันธมิตรฯ ได้ดำเนินยุทธวิธีปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า บุกยึดสถานีโทรทัศน์ NBT และยึดทำเนียบรัฐบาล

ภายหลังปฏิบัติการยึดทำเนียบที่พันธมิตรฯประกาศว่าเป็น "การทำสงครามครั้งสุดท้าย" นั้นศาลได้อนุมัติหมายจับ 9 แกนนำพันธมิตรฯ และรัฐบาลได้ดำเนินการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลังตำรวจอย่างรุนแรงจนส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ และมีการปะทะกันระหว่างพันธมิตรกับแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จนส่งผลให้เกิดการที่คนไทยทำร้ายกันเอง และมีผู้เสียชีวิตในการปะทะกันดังกล่าว เหตุการณ์ข้างต้นส่งผลให้ในเวลาต่อมารัฐบาลสมัครได้ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมอย่างกว้างขวาง และมีการกลับมาสนใจการเมืองของกลุ่มเยาวชนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มากขึ้น

การชุมนุมของพันธมิตรฯ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องแม้ว่า ณ วันที่ 9 กันยายน 2551 นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชจะต้องพ้นสภาพจากการเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว เนื่องจากต้องคำพิพากษาว่ามีความผิดกรณีการทำรายการ "ชิมไป บ่นไป" ของนายกฯสมัคร ที่เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 267 ซึ่งมีเจตนามรมณ์ห้ามไม่ให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งในบริษัท หรือเป็นลูกจ้างของบริษัทใดๆ

ภายใต้กรอบการอธิบายของงานชิ้นนี้สร้างคำอธิบายได้ว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยรอบที่สองในปี 2551 นั้น ได้เปลี่ยนบทบาทของตัวเองจากการเป็นผู้ที่โต้ตอบต่อการครองอำนาจนำของรัฐบาลทักษิณ มาสู่การสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์กลุ่มใหม่ โดยการนำมวลชนจากกลุ่ม/ชนชั้นต่างๆ มาประสานพลังกันเพื่อเป็นการกดดันรัฐบาลสมัครให้ออกจากอำนาจได้อย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ โดยการนำของปัญญาชนจัดตั้งที่เป็นแกนนำของกลุ่มต่างๆ ที่มาเข้าร่วมชุมนุมรวมถึงการสนับสนุนในด้านต่างๆ ในครั้งนี้เป็นการแสดงบทบาทนำเหนือรัฐบาลสมัครอย่างชัดเจน

5. คุณูปการของแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำ

จากการศึกษาผู้เขียนสามารถสรุป คุณูปการของแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำได้ 3 ประการดังต่อไปนี้

ประการแรก คุณูปการของแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ และปัญญาชนที่มีต่อการทำความเข้าใจแนวความคิดการครองอำนาจนำ (Hegemony). แนวความคิดการครองอำนาจนำของกรัมชี ถูกนำมาใช้ในวงวิชาการรัฐศาสตร์ในมิติที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในลักษณะแยกส่วน และไม่ได้กล่าวถึงแนวความคิดองค์ประกอบที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างอำนาจนำให้เกิดขึ้น

แนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์เป็นแนวความคิดที่อธิบายการสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่สลับซับซ้อนในสังคม ด้วยการผนวกรวมความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างส่วนล่าง-โครงสร้างส่วนบน และสังคมการเมือง-ประชาสังคมเข้าด้วยกันตามหลักวิภาษวิธี แนวความคิดนี้เป็นประโยชน์ต่อการมองแนวคิดการครองอำนาจนำในแง่ของสร้างความเข้าใจว่า ในการครองอำนาจนำของกลุ่ม/ชนชั้นใดๆ นั้น จะไม่สามารถกระทำได้โดยแปลกแยกจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมที่มีความสลับซับซ้อนไปได้

อีกด้านหนึ่งคือ แนวความคิดเรื่องปัญญาชน ซึ่งเป็นแนวความคิดที่มีส่วนในการเติมเต็มแนวคิดการครองอำนาจนำในประเด็นการให้ภาพของ ผู้ที่มาทำหน้าที่ในการสร้างการครองอำนาจนำให้เกิดขึ้นจริงในเชิงปฏิบัติ อีกทั้งยังให้ภาพเกี่ยวกับบทบาทต่างๆ ของปัญญาชน เช่น การให้ความรู้ การสร้างจิตสำนึกร่วมให้เกิดขึ้นระหว่างชนชั้น และการเปลี่ยนรูปจิตสำนึกของชนชั้นไปสู่การปฏิบัติ หรือการเปลี่ยนแปลง. ดังนั้นการทำความเข้าใจแนวคิดกลุ่มประวัติศาสตร์และปัญญาชนนั้นจะเป็นการเติมเต็มเกี่ยวกับภาพรวมการทำความเข้าใจเรื่องการครองอำนาจนำของกรัมชีให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ประการที่สอง คุณูปการของแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำต่อการขยายพื้นที่ของการศึกษาแนวความคิดมาร์กซิสต์

แนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำ เป็นการสะท้อนความคิดของกรัมชีที่มีต่อแนวความคิดมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิมบางจำพวกที่เชื่อใน "หลักเศรษฐกิจกำหนด " (Economism / Economic Determinism) "หลักการกำหนดนิยมเชิงกลไก" (Mechanical determinism) ที่มองว่า ปัจจัยในเรื่องเศรษฐกิจนั้นเป็นอิสระจากปัจจัยอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในเชิงเจตจำนง และความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ และเป็นตัวกำหนดความเป็นไปหรือพัฒนาการของสังคมโดยอัตโนมัติ

ดังนั้นตามความคิดของกรัมชี เขาจึงไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพวกมาร์กซิสต์ดั้งเดิมพวกหนึ่ง เช่น เคาท์สกี้ และเบอร์นสไตน์ ที่เชื่อในหลักการกำหนดนิยมโดยเศรษฐกิจอย่างเป็นกลไก ในมุมมองของกรัมชีนั้นมองว่า "โครงสร้างส่วนบน อันประกอบไปด้วยพื้นที่ของระบบกฎหมาย ความเชื่อ ศีลธรรม ปัญญา อุดมการณ์ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดนั้นก็เป็นส่วนสำคัญต่อการกำหนดความเป็นไป หรือมีผลต่อพัฒนาการของสังคมได้" ดังเห็นได้จากแนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ และปัญญาชนที่ผู้เขียนตีความได้ว่า ในการดำเนินการสร้างการครองอำนาจนำในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองอย่างเป็นกลไก แต่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมหลากหลายรูปแบบ ผ่านกลไก / เครื่องมือหลายชนิด จึงจะสามารถสร้างการครองอำนาจนำให้เกิดขึ้นได้

ประการสุดท้าย คุณูปการของแนวความคิดกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำต่อการอธิบายการเมืองไทย

การศึกษาการเมืองไทยในเชิงวิชาการรัฐศาสตร์ สามารถทำได้จากหลากหลายแนวทางด้วยกัน ซึ่งกรอบแนวความคิดของกรัมชีนั้น ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้อธิบายการเมืองไทยได้ แนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน และการครองอำนาจนำมีประโยชน์ในแง่ของการเสนอตัวเป็นทางเลือกในการเป็นกรอบการอธิบายปรากฏการณ์ โดยเน้นการมองไปที่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างตัวแสดงต่างๆ รวมไปถึงการทำความเข้าใจสภาพสังคมของความสัมพันธ์เชิงอำนาจชุดนั้นๆ รวมไปถึงการมองไปที่กลไกของการใช้อำนาจว่ามีการดำเนินการผ่านเครื่องมือ/วิธีการใด อย่างไรบ้าง แนวความคิดเหล่านี้จะเป็นการช่วยเปิดพื้นที่ทางการศึกษาการเมืองไทยให้กว้างขวางขึ้น จากกรอบแนวทางการศึกษาแบบอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ศึกษาได้มองปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์อย่างมีพลวัต และมีลักษณะการมองความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ในลักษณะที่ไม่เป็นกลไกอัตโนมัติอีกด้วย

บทสรุป

บทความนี้นำเสนอเพื่อนำมาสู่การตอบคำถามหลักที่ว่า แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชี นอกเหนือไปจากแนวความคิดเรื่องการครองอำนาจนำ (Hegemony) ที่เป็นแนวคิดหลักที่มักถูกอ้างถึงแล้วยังมีแนวความคิดอื่นของกรัมชีอีกหรือไม่ที่มีความสำคัญ และสามารถประยุกต์ใช้อธิบายการเมืองไทยร่วมสมัยได้ รวมไปถึงแนวความคิดดังกล่าวนั้นมีความสัมพันธ์กันกับแนวความคิดเรื่องการครองอำนาจนำหรือไม่ อย่างไร

จากการศึกษาผู้เขียนมองว่า นอกเหนือไปจากแนวความคิดเรื่องการครองอำนาจนำที่เป็นที่รู้จักดีหากมีการอ้างถึงอันโตนิโอ กรัมชี แล้ว ยังมีแนวความคิดที่จัดได้ว่าเป็นแนวความคิดองค์ประกอบของการทำความเข้าใจแนวคิดการครองอำนาจนำอยู่อีกหลายแนวความคิด ดังที่ได้นำเสนอในหัวข้อที่ 2 และ 3 ในงานชิ้นนี้ แต่แนวความคิดองค์ประกอบที่มีความสำคัญโดดเด่น และช่วยเติมเต็มความเข้าใจเกี่ยวกับแนวความคิดการครองอำนาจนำได้เป็นอย่างดีก็คือ แนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ และแนวความคิดเรื่องปัญญาชนนั่นเอง นอกจากนี้แนวความคิดทั้งสามยังสามารถประยุกต์ใช้เพื่อสร้างคำอธิบายให้กับการเมืองไทยร่วมสมัยได้ด้วย ดังที่ได้นำเสนอไปในหัวข้อที่ 4 กรณีการสร้างกลุ่มประวัติศาสตร์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

นอกเหนือไปจากแนวความคิดเรื่องกลุ่มประวัติศาสตร์ ปัญญาชน การครองอำนาจนำ และการโต้ตอบต่อการครองอำนาจนำ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่าแนวความคิดอื่นๆ ของกรัมชีที่สำคัญ และยังไม่ได้ถูกนำมาศึกษา และประยุกต์ใช้ในแวดวงรัฐศาสตร์ไทยมากนัก เช่น แนวความคิดเรื่องพรรคการเมือง และสภาโรงงาน ก็ล้วนมีความสำคัญและความน่าสนใจ และน่าจะได้นำมาศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้อธิบายการเมืองไทยได้ในโอกาสต่อไป

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ : Release date 15 February 2009 : Copyleft MNU.

กรัมชีได้เสนอแนวคิดเรื่อง"กลุ่มประวัติศาสตร์" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคม เพื่อใช้แทนแนวคิดเศรษฐกิจกำหนดแบบกลไกของสำนักคิดแบบมาร์กซิสต์ดั้งเดิม หรือที่เรียกว่าพวก Economism / Economic Determinism แนวคิดดังกล่าว เป็นการอธิบายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างชนชั้นและกลุ่มพลังต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างของสังคมโดยอธิบายว่าในสังคมทุนนิยมนั้น ชนชั้นนายทุน (Bourgeoisie) จะพยายามครองอำนาจนำให้เกิดในพื้นที่ของความสัมพันธ์ในการผลิต (Sphere of Production) ซึ่งการครองอำนาจนำในพื้นที่นี้แต่เพียงพื้นที่เดียวนั้นจะไม่เกิดการครองอำนาจนำที่สมบูรณ์ (Absolute) ดังจะเห็นได้ว่า มีการพยายามท้าทายชนชั้นนายทุนจากกลุ่มชนชั้นแรงงาน...

H