ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




03-11-2551 (1660)

Hedonistic Consumerism - สุข-บริโภคนิยม
บริโภคนิยมแนวความสุข : การแก้ปัญหาการบริโภคที่เหลื่อมล้ำ
วรดุลย์ ตุลารักษ์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการ และนักแปลอิสระสนใจด้านเศรษฐศาสตร์
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ชื่อเดิมของบทแปล: สุข-บริโภคนิยม: ความเหลื่อมล้ำของการบริโภคในระบบทุนนิยมปัจจุบัน

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลและเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ
- ระบบหลังฟอร์ด - เสรีนิยมใหม่
(แรงงานยืดหยุ่น, ภาคการเงินและบริการ, การกระจุกตัวของการบริโภค และการบริโภคแพร่กระจายผ่านสื่อ)
- การแก้ปัญหาการบริโภคที่เหลื่อมล้ำ
- การสร้างความเท่าเทียมกันของสมรรถนะ (equality of capabilities)
- คนจนไม่มีเหตุผลในการบริโภค และไร้พลัง ??? (ทางออก)
- การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เสียเปรียบ
- การจัดสรรงบประมาณให้กลุ่มทำงานเรื่องความยากจน
- การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ - ด้านเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วม
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๖๐
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Hedonistic Consumerism - สุข-บริโภคนิยม
บริโภคนิยมแนวความสุข : การแก้ปัญหาการบริโภคที่เหลื่อมล้ำ
วรดุลย์ ตุลารักษ์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการ และนักแปลอิสระสนใจด้านเศรษฐศาสตร์
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

(บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความลำดับที่ ๑๖๕๙)

ความขัดแย้งภายในลัทธิสุข-บริโภคนิยม

สุข-บริโภคนิยม เดินหน้าไปพร้อมกับความขัดกันภายในตัวเอง

- ในด้านหนึ่ง เมื่อกระบวนการโลกาภิวัตน์เพิ่มความรวดเร็วขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็เข้าสู่ภาวะวิกฤติมากยิ่งขึ้น (Sklair 2002)
- ในอีกด้านหนึ่ง มันโยกย้ายทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อสนองต่อความพึงพอใจในการบริโภคที่อ้างอิงกับตัวปัจเจกชนเอง โดยละเลยการตอบสนองต่อความจำเป็นในการบริโภคของคนจำนวนมาก

ช่องว่างทางรายได้ระหว่างผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นนำกับผู้บริโภคส่วนที่เหลือ ถ่างออกจากกันกว้างขึ้น สิ่งนี้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากความกดดันเชิงโครงสร้าง กล่าวคือ การโอนย้ายการผลิตสินค้าและบริการจำนวนมากออกจากประเทศพัฒนาแล้ว (OECD) (*) ประกอบกับแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเป็นนิยามของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน การขยายเครือข่ายการผลิตข้ามชาติผ่านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการนำงานออกไปจ้างงานนอกประเทศ ที่สำคัญนโยบายสนับสนุนคนงาน และนโยบายก้าวหน้าต่างๆ ของประเทศต่างๆ ที่จะทำให้ระบบทุนนิยมดำรงอยู่อย่างยั่งยืน กลับถูกยกเลิกไปเป็นจำนวนมาก

(*)The Organisation for Economic Cooperation and Development (OECD) is an international organization that brings together the governments of countries committed to democracy and the market economy from around the world to:

- Support sustainable economic growth
- Boost employment
- Raise living standards
- Maintain financial stability
- Assist other countries' economic development, and
- Contribute to growth in world trade.

It plays a prominent role in fostering good governance in the public service and in corporate activity among its 30 member countries. It produces internationally agreed-upon instruments, decisions, and recommendations to promote rules in areas where multilateral agreement is necessary for individual countries to make progress in the global economy.

OECD member countries include Australia, Austria, Belgium, Canada, the Czech Republic, Denmark, Finland, France, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Japan, Korea, Luxembourg, Mexico, The Netherlands, New Zealand, Norway, Poland, Portugal, Slovak Republic, Spain, Sweden, Switzerland, Turkey, United Kingdom, and the United States.

ระบบหลังฟอร์ด - เสรีนิยมใหม่
(แรงงานยืดหยุ่น, ภาคการเงินและบริการ, การกระจุกตัวของการบริโภค และการบริโภคแพร่กระจายผ่านสื่อ)
ระบบหลังฟอร์ดมิได้ช่วยให้การทำงานของลูกจ้างเบาลง แต่นำระบบแรงงานยืดหยุ่นมาใช้ (Boltanski and Chiapello 1999; Salais 1991) มันเป็นการทำงานที่หนักขึ้น และเกิดอัตราการว่างงานสูงขึ้นด้วย การทำงานมีเวลาที่ยาวนานขึ้น แต่มีความมั่นคงน้อยลง สวัสดิการต่างๆ เช่น การศึกษา การประกันสุขภาพ และประกันสังคม กำลังถูกยกเลิกออกจากพื้นที่ที่สังคมควรจัดหาให้ประชาชน

เมื่อระบบการสะสมทุนเปลี่ยนจากภาคอุตสาหกรรมไปเน้นภาคการเงินและบริการ (Boyer 2000) นโยบายของรัฐบาลจึงมักอยู่ในทิศทางของนโยบายเสรีนิยมใหม่ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 นโยบายเสรีนิยมใหม่นี้ กลายมาเป็นกรอบหลักของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคมในประเทศทั่วโลก (Beck 1999) ในสหรัฐฯ กระบวนการนี้ส่งผลให้ผู้ที่มีรายได้ระดับกลางและระดับต่ำยากจนลง และเป็นผู้ที่ต้องเฝ้ามองการจ้างงานหดตัว

เมื่อระบบเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไป รากฐานของนโยบายแรงงานก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย กล่าวคือ รัฐบาลหลายประเทศที่เคยให้ความสำคัญกับการเจรจาด้านแรงงานเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ และให้ความสำคัญกับข้อตกลงแรงงานที่มีฐานผู้ใช้แรงงานภายในประเทศที่กว้างขวาง กำลังมุ่งเน้นนโยบายการเปิดเสรี และเน้นระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว การต่อสู้ทางชนชั้น และความขัดแย้งทางชนชั้นในระบบทุนนิยม จะเปลี่ยนไปจากการต่อรองภายในประเทศไปอยู่ในพื้นที่ระหว่างประเทศมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนงานน้อยลง

ระบอบการสะสมทุนที่เคยพึ่งพาการกระจายตัวของการบริโภคไปสู่คนกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวาง เปลี่ยนไปเป็นการพึ่งพิงกับนโยบายการเงินและการค้าเสรี ซึ่งอยู่ภายใต้ระบบการกระจายรายได้ที่เหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น โดยระดับการบริโภคที่เพิ่มขึ้นนี้สร้างเงื่อนไขให้คนรวยบริโภคได้สูงสุด พร้อมกับลดทอนส่วนแบ่งรายได้ของคนกลุ่มที่เหลือลงไป

ในสังคมยุคหลังฟอร์ด, แรงกระตุ้นให้เกิดการบริโภคแพร่กระจายผ่านสื่อต่างๆ มากกว่าในอดีต มันแพร่กระจายไปยังส่วนย่อย ๆ ทุกส่วนในสังคม และกลายมาเป็นตัวบ่งชี้ทางสังคมของผู้บริโภค ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของการบริโภคสร้างความตึงตัวแก่ทรัพยากรให้ถูกใช้ไปเกินขีดจำกัด นอกจากนี้ ด้านที่อันตรายของสุข-บริโภคนิยมที่ปรากฎก็คือ "การบริโภคบ่งบอกตัวตน" ทำให้การบริโภคลักษณะนี้แยกขาดจากส่วนอื่นๆ ของสังคม และมันได้สร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวของมันเองมากยิ่งขึ้นด้วย

การแก้ปัญหาการบริโภคที่เหลื่อมล้ำ
มาตรการภาษีการบริโภค
ต่อการแก้ปัญหาการบริโภคที่เหลื่อมล้ำในบางส่วน อาจทำได้โดยการสร้างมาตรการภาษีการบริโภคที่เฉพาะเจาะจง เพื่อนำไปกระจายรายได้ในโครงการต่างๆ หรือว่า การหาทางเลือกในการบริโภคบนพื้นฐานของการบริโภคที่แท้จริง โดยสลายความเชื่อมโยงระหว่างคุณค่าของมนุษย์ออกจากการบริโภคไปบ้าง

การสร้างความเท่าเทียมกันของสมรรถนะ (equality of capabilities)
แต่หากไม่ปฏิเสธการบริโภค ทางออกที่เป็นไปได้อีกแนวทางหนึ่งคือ การสร้างความเท่าเทียมกันของสมรรถนะ (equality of capabilities) ซึ่งตั้งอยู่บนการยอมรับการบริโภคโดย Sen เสนอพื้นที่เชิงทฤษฎีที่เหมาะสมเพื่อทำความเข้าใจแนวคิดสวัสดิการสังคมคือ สิ่งที่เรียกว่า "การทำให้มันทำหน้าที่ได้ (functionings)" ซึ่งก็คือ สิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่มนุษย์คนหนึ่งให้คุณค่าที่จะกระทำหรือที่อยากจะเป็น แต่สิ่งนี้อาจยังไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายของสวัสดิการสังคม

กุญแจสำคัญในการไปสู่สวัสดิการสังคมคือ การยกระดับของเสรีภาพของปัจเจกบุคคลในการบรรลุผลประโยชน์และบรรลุถึงคุณค่าที่มีต่อพวกเขา ซึ่ง "สมรรถนะ" ก็คือเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่สามารถแปรสภาพไปสู่การสร้างโอกาสที่แท้จริงของมนุษย์ ที่จะได้รับสิ่งที่ตนให้คุณค่ากับมัน

แม้กรอบวิเคราะห์เรื่องสมรรถนะ (capability approach) จะถูกวิจารณ์ทั้งจากฝ่ายซ้าย และมีข้อสงสัยว่า มันตั้งอยู่บนหลักการของเสรีนิยม และปัจเจกชนนิยม (Devereux 2001) รวมทั้งยังถูกวิจารณ์อยู่บ่อยครั้งว่า ไม่ได้นำเสนอภาพของความสัมพันธ์ทางอำนาจได้อย่างถึงรากถึงโคน (Hill 2003; Koggel 2003; Robeyns 2003) แต่นักวิชาการบางส่วน (Alkire 2002; Nussbaum 2000, 2004) ก็นำเอาประเด็นเหล่านี้มาเข้ามาประกอบในงานเขียนของเขา โดยข้อได้เปรียบของกรอบวิเคราะห์สมรรถนะ (capability approach) คือความยืดหยุ่นที่จะนำข้อวิจารณาต่างๆ เข้ามาร่วมพัฒนาแนวคิดนี้ได้ นอกจากนี้มันได้เปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการสร้างความเข้มแข็งแก่กลุ่มประชาชนรากหญ้า ซึ่งได้มีการนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนบางแห่งแล้ว (Appadurai 2001; Sirolli 1999)

หากนำแนวคิดของ Sen มาวิจารณ์และเสนอทางออกต่อแบบแผนการบริโภคปัจจุบัน สรุปได้ว่า ผู้บริโภคในฐานะปัจเจกบุคคลเผชิญกับความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชนชั้นและระหว่างประเทศ และรายได้เหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงและ/หรือการบริโภคที่เหลื่อมล้ำ เป็นสิ่งที่ไร้จริยธรรม ในขณะเดียวกัน การสร้างสรรค์ระบบที่อนุญาตให้ส่วนที่เสียเปรียบที่สุดในสังคมได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น การนำรายได้ของประเทศเพี่ยงไม่กี่เปอร์เซ็นกระจายกลับไปยังคนจนก็จะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับพวกเขาในสัดส่วนสูงมาก

คนจนไม่มีเหตุผลในการบริโภค และไร้พลัง ??? (ทางออก)
Bonvin and Farvaque (2004: 20) ชี้ว่า หากนำแนววิเคราะห์เรื่องสมรรถนะของ Sen มาปรับใช้เราควรเน้นที่การออกแบบกรอบแนวคิดเชิงสถาบันที่เหมาะสมให้แก่ปัจเจกบุคคล เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ และเนื่องจากมันไม่ใช่เรื่องที่ว่า "คนจนเป็นคนไม่มีเหตุผลในการบริโภค" แต่คนจนเสียเปรียบเชิงโครงสร้างในกระบวนการการบริโภค ดังนั้น "มันจึงเป็นไปได้จริงๆ ที่คนจนจะเชื่อว่าพวกเขาไม่มีพลัง....คนจนมีแนวโน้มที่จะควบคุมพฤติกรรมของตนจากผลกระทบภายนอก และเชื่อว่าพวกเขาสามารถควบคุมชตากรรมของตนได้เพียงน้อยนิดเท่านั้น" (Alwitt and Donley 1996: 67)

เป้าหมายของเรา, คืออย่างน้อยต้องลดความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างที่คนจนเผชิญอยู่ ด้วยการวางเงื่อนไขให้เกิดพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อการบริโภคของคนที่มีรายได้สูง และเพื่อที่จะไปถึงความเท่าเทียมกันของสมรรถนะ เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เสียเปรียบ เพื่อให้พวกเขาสามารถส่งเสียงเรียกร้องในสิ่งที่พวกเขาต้องการ, เพื่อให้การต่อสู้ของพวกเขาเดินหน้าต่อไป, และเพื่อให้พวกเขาบรรลุเป้าหมาย

สิ่งข้างต้นจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีมาตรการแทรกแซงทางวัตถุ เพื่อสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้เกิดกิจกรรมของผู้เสียเปรียบในสังคม ในเวลาเดียวกัน เราต้องประเมินบทบทของรัฐภายใต้กรอบคิดประชาธิปไตยเสียใหม่ ส่วนหนึ่งมีความจำเป็นที่จะมอบหมายให้รัฐมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เสียเปรียบ และผู้ที่ถูกทำให้ด้อยความสำคัญด้วย รวมถึงเข้ามาปกป้องผู้ที่ไม่สามารถปกป้องตนเองได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่แตกต่างกับนักทฤษฎีเสรีนิยมใหม่

ถ้าลัทธิพหุนิยม (Pluralism) เป็นคุณค่าที่สำคัญอย่างแท้จริงของสังคมประชาธิปไตย มันจึงไม่มีอะไรสำคัญสำหรับรัฐมากไปกว่าการจัดให้มีวิธีการที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกทุกคนของสังคมการเมือง ในมุมมองของสำนัก Kantian (Kant 1993), สิ่งเหล่านี้เทียบได้กับการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับความจำเป็นขั้นพื้นฐานและความหวังของปัจเจกบุคคล ดังนั้น ไม่เป็นที่น่ากังขาว่า การสร้างความเข้มแข็งนี้ต้องผลักดันเข้าไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริงในระดับประเทศ เช่น การขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำ และในระดับสากล เช่น การยกเลิกหนี้สินของประเทศยากจนที่กู้ยืมจากองค์กรระหว่างประเทศและจากประเทศร่ำรวย รวมไปถึงต้องผลักดันให้เกิดความช่วยเหลือทางการเงินต่อประเทศยากจนที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เสียเปรียบ
การศึกษา
ในเวลาเดียวกัน องค์ประกอบสำคัญของการพัฒนา เราจำเป็นต้องทบทวนบทบาทของการศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และปัญญา ให้แก่คนทุกเพศ เชื้อชาติ และทุกระดับรายได้ ที่สำคัญเราต้องตระหนักกับข้อเท็จจริงที่ว่า การพูดถึงความยากจนไม่ได้หมายความง่ายๆ ว่า เป็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ความยากจนยังหมายถึงการถูกกีดกันออกจากความสัมพันธ์ทางอำนาจและเครือข่ายทางสังคมด้วย (Douglas and Isherwood 1979; Jordan 1996)

กรณียธรรมวิทยา (deontology)
ดังนั้น เราควรหาหนทางขยายทางเลือกของมนุษย์ให้กว้างขึ้นในพื้นที่ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ส่วนขอบเขตในการปฏิบัติการ ควรอยู่บนข้อความคิดเรื่องความยุติธรรมและความเป็นธรรม และให้ความสำคัญกับจริยศาสตร์สิทธิและหน้าที่ (Deontology) (กรณียธรรมวิทยา, วิทยาว่าด้วยหน้าที่) (*) และภายใต้กรอบความคิดนี้ ความพึงพอใจทางเศรษฐกิจ (economic utility) จึงเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญ

(*)Deontological ethics or deontology (from Greek , deon, "obligation, duty"; and, -logia) is an approach to ethics that focuses on the rightness or wrongness of intentions or motives behind action such as respect for rights, duties, or principles, as opposed to the rightness or wrongness of the consequences of those actions. Let justice be done though the heavens fall! is one of its slogans.

It is sometimes described as "duty" or "obligation" based ethics, because deontologists believe that ethical rules "bind you to your duty". The term 'deontological' was first used in this way in 1930, in C. D. Broad's book, Five Types of Ethical Theory.

การจัดสรรงบประมาณให้กลุ่มทำงานเรื่องความยากจน
ในทางปฏิบัติ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เสียเปรียบสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบและจากหลายองค์กร ยกตัวอย่างเช่น เมืองต่างๆ อาจเลือกจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้แก่กลุ่มที่ทำการรณรงค์เรื่องการต่อสู้กับปัญหาความยากจน, หรือสร้างพื้นที่สำหรับการถกเถียกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและงานวิจัยในประเด็นเหล่านี้ ในส่วนงานวิจัยเอง, นักวิชาการอาจสร้างรูปแบบของหุ้นส่วนในการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิชาการ,นักศึกษา, คนยากจน และกลุ่มรณรงค์ต่อสู้กับปัญหาความยากจน เป็นต้น รวมถึงการกำหนดหัวข้อวิจัยที่สะท้อนออกมาจากความต้องการของคนจนจริงๆ เช่น ผู้ไร้ที่อยู่อาศัยต้องการให้รัฐจัดสรรสิ่งใดให้บ้าง เป็นต้น

เป็นที่ปรากฎชัดเจนว่า ความสำเร็จที่น่าจดจำของประชาชนรากหญ้าคือ เมื่อความเห็นของพวกเขาถูกแสดงออกมาให้ได้ยิน พวกเขาก็จะมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายต่างๆ มากขึ้น (Appadurai 2001) สิ่งนี้จึงเป็นบทเรียนที่สำคัญยิ่ง นอกจากนี้ เราควรให้ความสำคัญกับการเป็นสมาชิกขององค์กรที่หลากหลายต่างๆ ไปพร้อมกัน

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ - ด้านเศรษฐกิจ และการมีส่วนร่วม
กล่าวโดยสรุป ความพยายามในการกระจายสิ่งต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ต้องครอบคลุมทั้งสองด้านของปัญหาคือ

- ด้านเศรษฐกิจ และ
- ด้านการมีส่วนร่วมจากสมาชิกของสังคม

กล่าวได้ว่า เราไม่สามารถมีโอกาสที่เท่าเทียมกันได้ หากปราศจากความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจบางประการเป็นอย่างน้อย และความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจนี้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากประชาชนถูกปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และถูกปิดกั้นทางเลือกต่างๆ ในทางปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น แบบแผนในการบริโภคจึงเป็นดัชนีที่สำคัญที่สะท้อนถึงทางเลือกของเราว่ามีอยู่อย่างจำกัดหรือไม่

และตราบใดที่เรายังตระหนักถึงวิกฤติสิ่งแวดล้อม ความคิดของ Sen สามารถนำไปปรับใช้ในแง่ของการเรียกร้องให้เกิดการบริโภคที่ยั่งยืน ในฐานะที่มันเป็นกระบวนการที่จะช่วยลดวิกฤติที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค ภายใต้ขอบเขตของเทคโนโลยี่ซึ่งสามารถช่วยลดวิกฤติได้ ตลอดจนการตระหนักถึงความเท่าเทียม โอกาสของคนในรุ่นปัจจุบัน และความเท่าเทียมกันของโอกาสของคนรุ่นหลังในอนาคตด้วย

แนวคิดนี้มิได้เสนอทางออกร่วมเพียงอย่างเดียวต่อปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด นับตั้งแต่ กระบวนการทำทุกอย่างให้เป็นสินค้า, ลัทธิบริโภคนิยม, ความไม่เท่าเทียมกัน, หรือปัญหาอำนาจต่อรอง. แต่แนวคิดนี้นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ ปฏิบัติการของปัจเจกบุคคล, การสร้างความเข้มแข็งให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนรากหญ้า การตอบโต้หลายรูปแบบต่อระบบทุนนิยมทั่วโลกซึ่งมีความหลายหลาย

ที่สำคัญ ปฏิบัติการต่างๆ ข้างต้นจะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ในเบื้องต้น เราต้องนำตัวเองเข้าไปสู่ด้านที่สร้างสรรค์ของการบริโภคก่อน แล้วนิยามมันเสียใหม่ให้ท้าทายกับธรรมชาติของมันในปัจจุบัน ซึ่งก็คือ "การบริโภคบ่งบอกตัวตน"

..........................................................................................(ย้อนอ่านบทความนี้ตั้งแต่ลำดับที่ ๑๖๕๘)

ภาคผนวก

1. The regulation school มองว่า ระบอบการสะสมทุนของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน โดยมีลักษณะเฉพาะเชิงสถาบัน วัฒนธรรม อุดมการณ์ และชุดของกฎระเบียบ (modes of regulation) ซึ่งกำกับระบบเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ อยู่ ยกตัวอย่างเช่น ระบบฟอร์ดของประเทศอิตาลีเกิดขึ้นช้ากว่าและแตกต่างกันกับโมเดลของสหรัฐฯ ในขณะที่องค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ไม่แตกต่างกันนัก เช่น การผลิตสินค้าสู่ตลาดลูกค้ามวลชน (mass production), การเพิ่มการบริโภค, ค่าจ้างแรงงานสูงในภาคอุตสาหกรรม ส่วนบทบาทของรัฐ บทบาทของสหภาพแรงงาน และระบบธนาคาร มีลักษณะเฉพาะในแต่ละประเทศ

2. Melanesian ในการแลกเปลี่ยนสินค้าในสังคมของชาว Melanesian, ปัจจัยความเชื่อทางศาสนาและความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้สร้างพันธะสัญญาระหว่างของผู้เล่นในระบบเศรษฐกิจขึ้น และเป็นข้อผูกพันธ์แบบต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ (reciprocal obligation) ซึ่งในบางกรณีช่วยแก้ปัญหาการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจที่ขาดประสิทธิภาพได้

แปลและเรียบเรียงจาก
Migone, Andrea "Hedonistic Consumerism: Patterns of Consumption in Contemporary Capitalism"
Review of Radical Political Economics 2007; 39; 173

เกี่ยวกับผู้เขียน
Andrea Migone เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ เขียนงานวิชาการด้านนโยบายสาธารณะและโลกาภิวัตน์
ในปัจจุบัน สอนอยู่ที่ Simon Fraser University ในประเทศแคนาดา


.................................................................

References

Adorno, T., and M. Horkheimer. 1972. Dialectic of enlightenment. New York: Herder and Herder.

Alkire, S. 2002. Valuing freedoms. Sen's capability approach and poverty reduction. Oxford: Oxford University Press.

Alwitt, L. F., and T. D. Donley. 1996. The low-income consumer. Adjusting the balance of exchange. Thousand Oaks: Sage.

Appadurai, A. 1986. The social life of things: Commodities in cultural perspective. Cambridge: Cambridge University Press.

---. 2001. Deep democracy: Urban governability and the horizon of politics. Environment and Urbanization 13 (2): 23-44.

Barnett, C. 2000. E-legacy: The IP systems challenge. Journal of General Management 25 (4): 1-16.

Baudrillard, J. 1994. Simulacra and simulation. Ann Arbor: University of Michigan Press.
---. 1998. The consumer society: Myths and structures. London: Sage.

Bauman, Z. 2001. Consuming life. Journal of Consumer Culture 1 (1): 9-29.

Beabout, G. R., and E. J. Echeverria. 2002. The culture of consumerism: A catholic and personalist critique. Journal of Markets & Morality 5 (2): 339-383.

Beck, U. 1999. World risk society. Cambridge: Polity Press.
Binkley, S. 2004. Everybody's life is like a spiral: Narrating post-Fordism in the lifestyle movement of the 1970s. Cultural Studies-Critical Methodologies 4 (1): 71-96.

Boltanski, L., and E. Chiapello. 1999. Le nouvel esprit du capitalisme. Paris: Gallimard.

Bonvin, J.-M., and N. Farvaque. 2004. Social opportunities and individual responsibility: The capability approach and the third way. Ethique et Economique/Ethics and Economics 2 (2).

Bowlby, R. 1985. Just looking: Consumer culture in Dreiser, Gissing and Zola. Andover: Methuen.

Boyer, R. 2000. The political in the era of globalization and finance: Focus on some regulation school research. International Journal of Urban and Regional Research 24 (2): 274-322.

Boyer, R. 2001. The regulation approach as a theory of capitalism: A new derivation. In Institutional economics in France and Germany: German ordoliberalism versus the French regulation school, ed. A. Labrousse and J.-D. Weisz, 49-92. Berlin: Springer Verlag.

---. 2003. Les institutions dans la th?orie de la r?gulation. Paris: CEPREMAP.
Boyer, R., and Y. Saillard, eds. 2002. Regulation theory: The state of the art. London: Routledge.

Boyer, R., and A. Orl?an. 1991. Les transformations des conventions salariales entre th?orie et histoire: D'Henry Ford au Fordisme. Revue Economique 42 (2): 233-272.

Breazele, K. 1994. In spite of women: Esquire Magazine and the construction of the male consumer. Signs 20 (1): 1-22.

Brown, S. 1998. Postmodern marketing two: Telling tales. London: ITBP.
Burgess, A. 2001. Flattering consumption: Creating a Europe of the consumer. Journal of Consumer Culture 1 (1): 93-117.

Burke, T. 1996. Lifebuoy men, lux women: Commodification, consumption, and cleanliness in modern Zimbabwe. Durham: Duke University Press.

Campbell, C. 1987. The romantic ethic and the spirit of modern capitalism. New York: Blackwell.

---. 1991. Consumption: The new wave of research in the humanities and social sciences. Journal of Social Behavior and Personality 6 (6): 57-58.

---. 1994. Consuming goods and the good of consuming. Critical Review 8 (4): 503-520.

Cantwell, J., and G. D. Santangelo. 2000. Capitalism, profits and innovation in the new techno-economic paradigm. Journal of Evolutionary Economics 10: 131-157.

Census, U.S. Bureau of the. 1998. Current population reports, P60-203, Measuring 50 years of economic change using the March Current Population Survey.Washington, DC: U.S. Government Printing Office.

Clark, T. N., and S. M. Lipset, eds. 2004. The breakdown of class politics: A debate on post-industrial stratification. Baltimore: Johns Hopkins University Press.

Cohen, L. 1998. The new deal state and the making of citizen consumers. In Getting and spending, ed.

S. Strasser, C. McGovern, and M. Judt, 111-125. Cambridge: Cambridge University Press.

Cotton, P. 1990. Tobacco foes attack ads that target women, minorities, teens and the poor. The Journal of the American Medical Association 264 (2): 1505-1506.

Crocker, D. A., and T. Linden, eds. 1998. Ethics of consumption: The good life, justice, and global stewardship. Lanham: Rowman and Littlefield.

Daly, H. E. 1997. Beyond growth: The economics of sustainable development. Boston: Beacon Press.

Debord, G. 1994 [1967]. The society of the spectacle. New York: Zone Books.

Deleuze, G., and F. Guattari. 1988. A thousand plateaus: Capitalism and schizophrenia. London: Athlone Press.

DeNavas-Walt, C., R. Cleveland, B. H. Webster, Jr., and U.S. Census Bureau. 2003. Current population reports, P60-221, Income in the United States: 2002. Washington, DC: U.S. Government Printing Office.

Devereux, S. 2001. Sen's entitlement approach: Critiques and counter-critiques. Oxford Development Studies 29 (3): 245-263.

Douglas, M., and B. Isherwood. 1979. The world of goods: Towards an anthropology of consumption. New York: Basic Books.

Doyal, L., and I. Gough. 1991. A theory of human need. London: Macmillan.

Elliott, J. E. 2000. Adam Smith's conceptualization of power, markets, and politics. Review of Social Economy 58 (4): 429-454.

Featherstone, M. 1991. Consumer culture and postmodernism. London: Sage.

Ferguson, R. W., Jr. 2004. Remarks by Vice Chairman Roger W. Ferguson, Jr. to the National Bankers Association, October 6, 2004, at Nashville, Tennessee.

Fine, B. 1995. From political economy to consumption. In Acknowledging consumption, ed. D. Miller, 127-163. New York: Routledge.

Fine, B., and E. Leopold. 1990. Consumerism and the industrial revolution. Social History 15: 151-179.

Fischer, C. S. 2003. Succumbing to consumerism?: Underlying models in the historical claim. Paper read at the American Sociological Association Meetings, Atlanta, August.
Fligstein, N. 2001. The architecture of markets: An economic sociology of twenty-first century capitalist societies. Princeton: Princeton University Press.

Frank, R. 1985. Choosing the right pond. New York: Oxford University Press.

Friedman, T. 2005. The world is flat: A brief history of the twenty-first century. New York: Farrar, Straus and Giroux.

Gabriel, Y., and T. Lang. 1995. The unmanageable consumer: Contemporary consumption and its fragmentation. London: Sage.

Galbraith, J. K. 1958. The affluent society. Cambridge: The Riverside Press.

Ger, G. 1997. Human development and humane consumption. Journal of Public Policy and Marketing 16 (1): 110-125.

Godelier, M. 1999. The enigma of the gift. London: Blackwell.

Goulding, C. 2003. Issues in representing the postmodern consumer. Qualitative Market Research: An International Journal 6 (3): 152-59.

Guillet de Monthoux, P., and A. Strati. 2002. Modernity/art and marketing/aesthetics-A note on the social aesthetics of Georg Simmel. Consumption, Markets and Culture 5 (1): 1-11.

Hansen, U., and U. Schrader. 1997. A modern model of consumption for a sustainable society. Journal of Consumer Policy 20: 443-468.

Held, D., and A. McGrew. 2002. Introduction. In Governing globalization: Power, authority and global governance, ed. A. McGrew, 1-21. Cambridge: Polity Press.

Hill, M. 2003. Development as empowerment. Feminist Economics 9 (2/3): 117-135.
Hirschman, E. C., and M. B. Holbrook. 1992. Postmodern consumer research. The study of consumption as text. London: Sage.

hooks, b. 2000. Where we stand: Class matters. New York: Routledge.

Jackson, W. A. 2005. Capabilities, culture and social structure. Review of Social Economy 63 (1): 101-124.

Jameson, F. 1990. Reification and utopia in mass culture. Signatures of the visible. London: Routledge.

Jameson, F. 1996. Postmodernism and consumer society. In Advertising and consumer culture, ed. J. Baker, 91-98. Toronto: Canadian Scholars' Press Inc.

Jessop, B. 1999. Reflections on globalization and its (il)logics. In Globalization and the Asia Pacific: Contested territories, ed. P. Dicken, P. Kelley, K. Olds, and H. Yeung, 19-38. London: Routledge.

Jessop, B. 2000. The crisis of the national spatio-temporal fix and the ecological dominance of globalizing capitalism. International Journal of Urban and Regional Research 24 (2): 323-360.

---. 2002a. The future of the capitalist state. Cambridge: Polity.
---. 2002b. Time and space in the globalization of capital and their implications for state power. Rethinking Marxism 14 (1): 97-117.

Jordan, B. 1996. A theory of poverty and social exclusion. Cambridge: Polity Press.
Kant, I. 1993. Grounding for the metaphysics of morals. Trans. J. W. Ellington. Cambridge: Hackett Publishing Company, Inc.

Koggel, C. 2003. Globalization and women's paid work: Expanding freedom? Feminist Economics 9 (2/3): 163-183.

Levi-Strauss, C. 1987. Introduction to the works of Marcel Mauss. London: Routledge and Kegan Paul. Li, X. 2001. The market democracy conundrum. Journal of Political Ideology 6 (1): 75-94.

Lipietz, A. 1991. Les rapports capital-travail a l'aube du XXIe siecle. In Les limites de l'ineluctable, ed. J. M. Chaumont and P. Van Parijs. Bruxelles: De Boeck-Wesmael,
Lu, P. 2001. New people, a special lifestyle. Bejing Review 31 (May): 13-17.

Mackay, H., ed. 1997. Consumption and everyday life. London: Sage.

Maddison, A. 2003. The world economy: Historical statistics. Paris: Organization for Economic Cooperation and Development.

Marcuse, H. 1964. One dimensional man: Studies in the ideology of advanced industrial society. Boston: Beacon Press.

Maslow, A. H. 1987. Motivation and personality. 3rd ed. New York: Longman.

Mauss, M. 1969. The gift forms and functions of exchange in archaic societies. London: Cohen and West.

Mazur, L. A., ed. 1994. Beyond the numbers: A reader on population, consumption and the environment. Washington: Island Press.

McKibben, B. 1999. Consuming nature. In Consuming desires, ed. R. Rosenblatt. Washington: Island Press,

McLuhan, H. M. 1951. The mechanical bride: Folklore of industrial mind. New York: Vanguard Press.

Meiksins-Wood, E. 1998. The retreat from class. A new 'true' socialism. Rev. ed. London: Verso.

Milanovic, B. 2002. Correspondence on income, inequality and poverty during the transition from planned to market economy. Washington, DC: World Bank.
Morgan, J. M. 2003. Citizenship, consumerism, and the pursuit of excellence. Technology in Society 25: 55-64.

Norberg-Hodge, H. 1999. Reclaiming our food: Reclaiming our future. The Ecologist 29 (3): 209-214.

Nussbaum, M. 2000. Women and human development: The capabilities approach. Cambridge: Cambridge University Press.

Nussbaum, M. 2004. Beyond the social contract: Capabilities and global justice. Oxford Development Studies 32 (1): 3-18.

OECD. 2002. Towards sustainable household consumption? Trends and policies in OECD countries. Paris: Organization for Economic Cooperation and Development.

OECD. 2004. Economic outlook no. 75. Paris: Organization for Economic Cooperation and Development.

O'Hara, P. A. 2002. A new financial social structure of accumulation in the United States for long wave upswing? Review of Radical Political Economics 34: 295-301.

---. 2003. Deep recession and financial instability or a new long wave of economic growth for U.S. capitalism? A regulation school approach. Review of Radical Political Economics 35 (1):18-43.

Ohmann, R., ed. 1996. Making and selling culture. Hanover: Wesleyan University Press.

Osberg, L., and A. Sharpe. 2002. An index of economic well-being for selected OECD countries. Review of Income and Wealth 48 (3): 291-316.

Papadakis, M. 2000. Technology in the globalization of the USA. In Globalizing America: The USA in world integration, ed. T. L. Brewer and G. Boyd, 134-153. Cheltenham: Edward Elgar.

Passero. 1996. Spending patterns of families receiving public assistance. Monthly Labor Review (April): 21-28.

Phillips, R. J. 2000. Digital technology and institutional change from the gilded age to modern times: The impact of the telegraph and the internet. Journal of Economic Issues 34 (2): 267-289.

Pietrykowski, B. 1994. Consuming culture: Postmodernism, post-Fordism, and economics. Rethinking Marxism 7 (1): 62-80.

---. 1995. Beyond contested exchange: The importance of consumption and communication in market exchange. Review of Social Economy 53 (2): 215-241.

---. 1999. Beyond the Fordist/post-Fordist dichotomy: Working through the second industrial divide. Review of Social Economy 57: 177-198.

Pogge, T. 2003. Can the capability approach be justified? Philosophical Topics 22 (2).

Polanyi, K. 1944. The great transformation. Boston: Beacon Press.

Pryor, F. L. 2002. The future of U.S. capitalism. Cambridge: Cambridge University Press.
Qu?mia, M. 2001. Th?orie de la r?gulation et d?veloppement: Trajectoires Latino-Am?ricaines. L'Annee de la Regulation 5: 57-104.

Reich, R. B. 1991. The work of nations: Preparing ourselves for 21st century capitalism. New York: Knopf.

Reisman, G. 1961. The revolt against affluence: Galbraith's neo-feudalism. New York: Nathaniel Branden Institute.

Ritzer, G. 2004. Enchanting a disenchanted world: Revolutionizing the means of consumption. 2nd ed. London: Sage.

Robeyns, I. 2003. Sen's capability approach and gender inequality: Selecting relevant capabilities. Feminist Economics 9 (2/3): 61-92.

Rosenbaum, E. F. 1999. Against naive materialism: Culture, consumption and the causes of inequality.Cambridge Journal of Economics 23: 317-336.

Salais, R. 1991. Flexibilite et conventions du travail: Une approche. Economie Appliquee 44 (2): 5-32.

Sassatelli, R. 2000. From value to consumption: A social-theoretical perspective on Simmel's Philosophie des geldes. Acta Sociologica 43: 207-218.

Schor, J. 1996. What's wrong with consumer capitalism? The joyless economy after twenty years. Critical Review 10 (4): 495-508.

---. 1998. Beyond consumerism. New York: Basic Books.

Scitovsky, T. 1976. The joyless economy: An inquiry into human satisfaction and consumer dissatisfaction. New York: Oxford University Press.
Sen, A. K. 1972. Rational fools: A critique of the behavioral foundations of economic theory. In Choice, welfare and measurement, ed. A. Sen. Cambridge: MIT Press.

---. 1980. Equality of what? In Tanner lectures on human values, ed. S. M. McMurrin, 195-220. Cambridge: Cambridge University Press.

---. 1985. Rights and capabilities. In Morality and objectivity, ed. T. Honderich, 130-148. London: Routledge.

---. 1990. Development as capability expansion. In Human development and the international development strategy for the 1990s, ed. K. Griffin and J. Knight, 41-58. London: MacMillan.

---. 1992. Inequality reexamined. Cambridge: Harvard University Press.

---. 1993. Capability and well-being. In The quality of life, ed. M. Nussbaum and A. Sen, 30-53. Oxford: Clarendon Press.

---. 1996. Rationality, joy and freedom. Critical Review 10 (4): 481-494.

---. 1999. Development as freedom. Oxford: Oxford University Press.

---. 2002. Globalization, inequality and global protest. Development and Change 45: 11-16.

Shipman, A. 2001. Privatized production, socialized consumption? Old producer power behind the new consumer sovereignty. Review of Social Economy 59 (3): 331-352.

Simmel, G. 1900. Philosophie des geldes. Leipzig: Duncker and Humbolt.

---. 1903. ?ber r?umliche projektionen sozialer formen. Zeitschrift fur sozialwissenschaften 6: 287-302.

--- 1971 [1904]. Fashion. In Georg Simmel, ed. D. Levine, 294-323. Chicago: University of Chicago Press.

Sirolli, E. 1999. Ripples from the Zambesi: Passion, entrepreneurship and the rebirth of local economies. Philadelphia: New Society Publishers.

Sklair, L. 2002. Globalization: Capitalism and its alternatives. Oxford: Oxford University Press.

Slater, D. 1997. Consumer culture and modernity. Oxford: Polity Press.

Spangenberg, J. H., and S. Lorek. 2002. Environmentally sustainable household consumption: From aggregate environmental pressures to priority fields of action. Ecological Economics 43: 127-140.

Staab, A. 1997. Testing the West: Consumerism and national identity in Eastern Germany. German Politics 6 (2): 139-149.

Tabb, W. K. 2001. New economy . . . same irrational economy. Monthly Review 52 (11): 1-9.

Tan, L. 2000. Spending patterns of public-assisted families. Monthly Labor Review (May): 29-35.

Thein Durning, A. 1992. How much is enough: The consumer society and the future of the Earth. New York: W. W. Norton.

Thompson, E. P. 1978. Eighteenth-century English society: Class struggle without class? Social History 3.

UNDP. 1998. Human development report 1998: Consumption for human development. New York: United Nations Development Programme.

---. 2003. Human development report 2003: Millennium development goals: A compact among nations to end human poverty. New York: United Nations Development Programme.

U.S. Department of Labor, Bureau of Labor Statistics. 2006. Consumer Expenditure Survey. Series CXUPA000103.

U.S. Department of Labor, Bureau of Labor Statistics. 2006. Consumer Expenditure Survey. Series CXUUE000103.

Vaneigem, R. 1984 [1967]. The revolution of everyday life. London: Rebel Press.

Weber, M. 1922. Wirstschaft und gesellschaft. Grundriss der verstehenden soziologie. T?bingen: Mohr.

---. 1981. General economic history. New Brunswick: Transaction Books.

Wells, A. 1972. Picture-tube imperialism? The impact of U.S. television on Latin America. Marknoll: Orbis.

White, H. 1981. Where do markets come from? American Journal of Sociology and Social Welfare 87 (3): 517-547.

Wilk, R. R. 1996. Economies and cultures: Foundations of economic anthropology. Boulder:Westview Press.

Witt, U. 2001. Learning to consume-A theory of wants and the growth of demand. Journal of Evolutionary Economics 11 (1): 23-36.

Yates, N. 2001. Globalisation and social policy. Sage: London.

ZenithOptimedia Group Limited. 2004. Press release: ZenithOptimedia upgrades global ad forecasts again. London.

Zhao, B. 1996. Consumerism, Confucianism, communism: Making sense of China today. New Left Review 222 (March-Apr.): 43-59.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ : Release date 03 November 2008 : Copyleft MNU.

งานเขียนที่มีชื่อเสียงในอดีตของ Victor Lebow ในปี 1955 ที่กล่าวถึงแบบแผนการบริโภคของชาวอเมริกันว่า " เป็นระบบเศรษฐ กิจซึ่งเน้นการผลิตในปริมาณมหาศาล...ต้องการให้การบริโภคเป็นวิถีชีวิตของคนอเมริกัน เปลี่ยนการซื้อสินค้าและการใช้สินค้าให้กลายมาเป็นพิธีกรรม เพื่อให้พวกเราแสวงหาความพึงพอใจทางจิตวิญญาณ ความพึงใจของตัวตน, ในการบริโภคนั้น เรามีความจำเป็นที่จะต้องทำให้สินค้าถูกบริโภค ถูกเผาผลาญ ถูกแทนที่ และถูกทิ้งขว้าง ในอัตราเร่งสูงสุด" ในปัจจุบัน สุข-บริโภคนิยม กลายมาเป็นแนวคิดที่ชี้นำการบริโภคในตะวันตก เมื่อผลิตผลของคนงานถูกบริโภคทันทีทันใด หรือถูกจับจองไว้ล่วงหน้าเพื่อบริโภค การผลิตเดินหน้าเต็มที่เพื่อผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภค โดยมีสื่อสารมวลชนเป็นส่วนสำคัญ...

H