1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
Hedonistic Consumerism
- สุข-บริโภคนิยม
บริโภคนิยมแนวความสุข
: หัวใจของระบบทุนนิยมหลังสมัยใหม่
วรดุลย์
ตุลารักษ์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการ และนักแปลอิสระสนใจด้านเศรษฐศาสตร์
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
ชื่อเดิมของบทแปล: สุข-บริโภคนิยม: ความเหลื่อมล้ำของการบริโภคในระบบทุนนิยมปัจจุบัน
บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้
ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)
บทแปลและเรียบเรียงนี้
ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ
- หัวใจของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน
- แนววิเคราะห์การบริโภค - หลังสมัยใหม่
- การบริโภคบ่งบอกตัวตน - จิตวิทยาของฝันกลางวัน
- องค์ประกอบทางวัฒนธรรมของลัทธิบริโภคนิยม
- ปริมณฑลทางเศรษฐกิจ แนวคิดอำนาจนำ
- ยุทธศาสตร์ทางการตลาดและการโฆษณา
- คนยากจนบริโภคสินค้าในด้านใด
- ทุนนิยมเปลี่ยนจากแบบแผนอุตสาหกรรมไปสู่ภาคการเงิน
- ทิวทัศน์เศรษฐกิจ ภายใต้ระบบหลังฟอร์ด
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๕๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๑ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Hedonistic Consumerism
- สุข-บริโภคนิยม
บริโภคนิยมแนวความสุข
: หัวใจของระบบทุนนิยมหลังสมัยใหม่
วรดุลย์
ตุลารักษ์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการ และนักแปลอิสระสนใจด้านเศรษฐศาสตร์
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
(บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความลำดับที่ ๑๖๕๘)
ลัทธิบริโภคนิยม และจิตวิญญาณของระบบทุนนิยม
เช่นเดียวกับระบบความสัมพันธ์ทางสังคมอื่นๆ ระบบทุนนิยมทำหน้าที่อยู่บนองค์ประกอบสำคัญในสังคม อาทิ ชุดของคุณค่า, องค์ประกอบทางวัฒนธรรม, ลักษณะทางสังคม และข้อเท็จจริงทางวัตถุ. แต่ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์พยายามโน้มน้าวให้สาธารณะชนเชื่อว่า ระบบตลาดเป็นสุดยอดของวิวัฒนาการทางเทคนิคในการวางกรอบของปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งที่มีตัวอย่างอื่นๆ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมิได้ขึ้นตรงต่อระบบตลาดทั้งหมด เช่น ระบบเศรษฐกิจของขวัญ (gift economy) (*)
(*) A gift economy is a social theory in which goods and services are given without any explicit agreement for immediate or future quid pro quo ["something for something" - indicates a more-or-less equal exchange or substitution of goods or services.] Typically, a gift economy occurs in a culture or subculture that emphasizes social or intangible rewards for solidarity and generosity: karma, honor, loyalty or other forms of gratitude. In some cases, simultaneous or recurring giving serves to circulate and redistribute valuables within a community. This can be considered a form of reciprocal altruism. Sometimes there is an implicit expectation of the return of comparable goods or services, political support, or the gift being later passed on to a third party. However, in what is considered to be in the true spirit of gift economics, many times giving is done without any expectation of reciprocity.
The concept of a gift
economy stands in contrast to a planned economy or a market or barter economy.[citation
needed] In a planned economy, goods and services are distributed by explicit
command and control rather than informal custom; in barter or market economies,
an explicit quid pro quo - an exchange of money or some other commodity -
is established before the transaction takes place. In practice, most human
societies blend elements of all of these, in varying degrees.
หัวใจของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน
ระบบทุนนิยมเป็นโมเดลที่คำนึงแต่ความเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ความเติบโตและการสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นไปเพื่อรักษาสถานะเดิมของผู้เล่นในระบบเศรษฐกิจ
ระบบทั้งระบบอยู่บนพื้นฐานของการเพิ่มระดับการบริโภคให้สูงขึ้นเรื่อยๆ และ/หรือเพิ่มจำนวนผู้บริโภค
ในสังคมทุนนิยมทันสมัย "การบริโภคบ่งบอกตัวตน" เข้ามาเป็นบรรทัดฐานในการบริโภค
โดยเฉพาะผู้มีรายได้สูง ข้อความคิดของการบริโภคในลักษณะนี้ ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว,
แยกขาดออกจากสิ่งอื่นๆ และกลายมาเป็นศูนย์กลาง
ในลัทธิบริโภคนิยม จำนวนสินค้าถูกผลิตในปริมาณมากขึ้นและหลากหลายยิ่งขึ้น ในจำนวนนั้นเป็นสินค้าที่อุปสงค์มีความยืดหยุ่นสูง (เช่น สินค้าที่ปรับราคาขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ส่งผลให้ความต้องการซื้อลดลงมาก-ผู้แปล) ที่สำคัญ สินค้าเหล่านั้นได้ผนวกสถานะทางสังคมของผู้บริโภคเข้าไป สินค้าถูกตั้งราคาตามสถานะทางสังคมของผู้ซื้อ และความตระหนักเชิงสังคมของผู้ซื้อ ตลอดจนความถี่ในบริโภคก็เป็นการเติมสถานะทางสังคมของผู้บริโภคอีกด้วย
แนวโน้มของความพึงใจในการบริโภคในลักษณะดังกล่าว ทำให้เกิดการบริโภคทรัพยากรที่ไม่สมดุลระหว่างแต่ละคนกลุ่มมากยิ่งขึ้น, ลัทธิปัจเจกชนนิยมที่เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจเป็นตัวสนับสนุนแบบแผนการบริโภคนี้ โดยละเลยเรื่องความเหลื่อมล้ำของรายได้ของคนกลุ่มต่างๆ รวมถึงเกิดความไม่เท่าเทียมในการบริโภคทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
แนววิเคราะห์การบริโภค
- หลังสมัยใหม่
ที่ผ่านมา มีแนววิเคราะห์การบริโภคต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น แนววิเคราะห์ธรรมชาติของความสัมพันธ์ในระบบตลาด
ผ่านผู้เล่นที่ประกอบด้วย ปัจเจกบุคคล, รัฐ, และผู้เล่นอื่นๆ ทั้งในประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน
หรือแนววิเคราะห์ที่มองว่า ผู้บริโภคมีเสรีภาพเต็มที่ในการเลือกซื้อสินค้า หรือ
Frankfurt school ที่มองว่า ผู้บริโภคเป็นผู้ซื้อที่ไร้ชีวิตจิตใจ พวกเขาตกอยู่ในกำมือของนักการตลาด
บางแนววิเคราะห์ก็มองว่า จากผลพวงของระบบทุนนิยม ผู้บริโภคถูกกำหนดให้เป็นทาส
เป็นต้น
ส่วนแนวการวิเคราะห์หลังสมัยใหม่ (Pietrykowski 1994, 1995) ให้ความสำคัญเชิงบวกกับผู้บริโภค โดยมองว่า ผู้บริโภคเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน, มีความแตกต่างหลากหลาย, เป็นผู้ที่มีความคิดซับซ้อน, และมีแนวการมองที่เป็นอิสระในการบริโภค (Brown 1998; Featherstone 1991; Goulding 2003; Hirschman and Holbrook 1992; Jameson 1996) งานลักษณะนี้เป็นการอธิบายการบริโภคสมัยใหม่ว่า เป็นการแสดงออกซึ่งความเป็นปัจเจกบุคคล (individuality) ภายในขอบเขตของโครงสร้างระบบทุนนิยม อันเป็นการแสดงออกซึ่งความทันสมัยผ่านสุนทรียศาสตร์ (Guillet de Monthoux and Strati 2002), และเป็นการแสดงออกถึงความหลากหลายโดยธรรมชาติของการบริโภคเอง
แม้ว่าจะมีหลายแนวคิดที่วิเคราะห์การบริโภคไปในลักษณะต่างๆ ก็ตาม แต่ในแบบแผน "การบริโภคบ่งบอกตัวตน"นั้น ผู้บริโภคถูกเร่งเร้าอย่างไร้ความปราณี, ถูกทำให้ตื่นตาตื่นใจอยู่ตลอดเวลา สังคมตกภายใต้โครงสร้างที่ไร้เสถียรภาพ และอยู่บนความไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง ตลาดได้ผสมผสานคุณค่าสองสิ่งที่ขัดแย้งกันเข้าไว้ด้วยกัน คือ ความปรารถนาในการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น กับความไม่แน่นอนและความไร้หลักประกันต่อผู้บริโภค, กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงคือ ในสังคมบริโภคไม่มีหลักประกันหรือความแน่นอนใดๆ ที่จะประกันว่า สินค้าที่ถูกบริโภคไปแล้ว จะถูกผลิตขึ้นมาทดแทนในแบบเดิมอีกเสมอไป
การบริโภคบ่งบอกตัวตน
- จิตวิทยาของฝันกลางวัน
Colin Campbell (1987, 1991, 1994) ชี้ว่า "การบริโภคบ่งบอกตัวตน"
อยู่บนพื้นฐานของกระบวนทางจิตวิทยาของฝันกลางวัน, เป็นวงจรการผลิตซ้ำความฝัน
ความปรารถนา การตอบแทนตนเอง และการสร้างมายาภาพ ซึ่งหลังจากที่ความปรารถนาของผู้บริโภคถูกเติมเต็มแล้ว
ผู้บริโภคก็จะประดิษฐ์ความปรารถนาขึ้นมาใหม่ เพื่อจะได้บริโภคต่อไป มันเป็นกระบวนการค้นหาสินค้าแปลกใหม่
ซึ่งก็คือการค้นหาความพึงพอใจทางจิตวิทยาของผู้บริโภคนั่นเอง ตามธรรมชาติของกระบวนการนี้
เมื่อการบริโภคเสร็จสมแล้ว ผู้บริโภคก็จะพ้นจากมายาภาพ หลังจากนั้น พวกเขาก็เริ่มต้นค้นหาความแปลกใหม่อีก
ในที่สุดสินค้าที่มีความแปลกใหม่ก็ถูกผู้บริโภคค้นพบ และถูกบริโภคอีก
ส่วนแนวคิดในเรื่องการแข่งขันเพื่อหาตำแหน่งแห่งที่ (positional competition) Robert Frank ชี้ว่า การบริโภคไม่ใช่สิ่งสำคัญในแง่ปริมาณที่เราบริโภคโดยสัมบูรณ์ แต่เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบการบริโภคของตัวเองกับการบริโภคของคนอื่น การแข่งขันเพื่อหาตำแหน่งแห่งที่นี้ วางรากฐานอยู่บนการผลิตสินค้าและการบริโภคที่มากเกินขอบเขต ด้วยต้นทุนที่ต้องเสียไป เช่น การออมที่ลดลง เวลาพักผ่อนสั้นลง รวมถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไป (Schor1996, 1998)
ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน มุ่งเน้นที่"การบริโภคบ่งบอกตัวตน" และเพื่อที่จะสนับสนุนการบริโภคจึงต้องมีการตลาดที่ซับซ้อนซึ่งแผ่ขยายไปทุกหนทุกแห่ง รวมทั้งความพยายามในการโฆษณาอย่างหนักหน่วง ในเวลาเดียวกัน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นที่ชัดเจนยิ่งในกรณีของสหรัฐฯ
องค์ประกอบทางวัฒนธรรมของลัทธิบริโภคนิยม
องค์ประกอบทางวัฒนธรรมของลัทธิบริโภคนิยม เป็นศูนย์กลางของกระบวนการนี้, การสร้างความจำเป็นใหม่ๆ
ของผู้บริโภคขึ้นมา นอกจากจะสะท้อนถึงองค์ประกอบทางวัฒนธรรมของการบริโภคบางอย่างที่เก่าล้าสมัยถูกแทนที่
มันยังสะท้อนถึงลักษณะสำคัญทางจิตวิทยาสังคมของผู้บริโภคในแต่ละรุ่นที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
สิ่งเหล่านี้มีคำอธิบายอยู่ในหลายแนววิเคราะห์ นับตั้งแต่แนววิเคราะห์ที่ว่า
ความหลากหลายที่แท้คือ มายาภาพที่ห่อหุ้มปกปิดความเหมือนกันของกระบวนการการทำทุกอย่างให้เป็นสินค้า
(McLuhan 1951) ไปจนถึงโมเดลหลังสมัยใหม่ที่กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้
วางรากฐานบนกระบวนการอาณานิคมของความจริง (colonization of reality) มันลดทอนความหมายทุกอย่างรอบๆ
ตัวเรา ให้เหลือเพียงแต่การบริโภค (Baudrillard 1994)
สังคมคิดถึงตัวเองและพูดถึงตัวเองในฐานะสังคมบริโภค ยิ่งการบริโภคเพิ่มมากขึ้นเท่าใด สังคมก็บริโภคตัวเองมากขึ้นเท่านั้น (Baudrillard 1998) แต่อย่างไรก็ดี การบริโภคเติมเต็มมากกว่า "ความจำเป็น" ธรรมดา ๆ ของผู้บริโภค สินค้าบางอย่างมีคุณค่าทางสัญญลักษณ์สูง กล่าวคือ การเป็นเจ้าของ และ/หรือการใช้สินค้า ได้ผนวกการบ่งบอกสถานะของผู้บริโภคเข้าไปอย่างมีพลัง
ไม่ว่าเหตุผลของปัจเจกบุคคลในการบริโภคจะเป็นเช่นไร
สังคมกำลังมองหาหนทางที่จะบริโภคสินค้ามากขึ้น และการบริโภคก็เป็นรูปแบบที่ถูกยอมรับแล้วว่า
เป็นการแสดงออกซึ่งทางเลือกของปัจเจกบุคคล, เป็นตัวกำหนดสถานะ, เป็นสิ่งที่แสดงถึงความมั่งมี
และเป็นการสนองความพึงพอใจของผู้คน
แนวโน้มการบริโภค และกรณีตัวอย่างสหรัฐฯ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของบรรษัทข้ามชาติ รัฐชาติ องค์กรระหว่างประทศ และผู้บริโภคในฐานะปัจเจกบุคคล (Burgess 2001; Witt 2001) เป็นปัจจัยร่วมกันทำให้ระบบทุนนิยมโลกมีความยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบหลักๆ คือ การทำให้ระบบการผลิตแตกตัวออกเป็นส่วนย่อยๆ กระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก, การจัดระเบียบใหม่ของยุคหลังฟอร์ด, โลกาภิวัตน์ และลัทธิบริโภคนิยม (Jessop 1999,2000,2002) องค์ประกอบเหล่านี้ สัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ทว่าลัทธิบริโภคนิยมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมันหยิบยื่นช่องทางให้การบริโภคเพิ่มขึ้นและเสนอแนวทางในการบรรลุผลประโยชน์ที่ต่อเนื่องของระบบทุนนิยม
แรงผลักดันสังคมไปสู่ทัศนคติบริโภคนิยมนี้ มีพลวัตด้านกรอบเวลาและด้านภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 มันสถาปนาขึ้นในสหรัฐ ฯ ซึ่งเป็นผลมาจากโมเดลอุตสาหกรรมแบบฟอร์ดกลายมาเป็นโมเดลหลักทางเศรษฐกิจ หลังจากนั้น มันแพร่ขยายออกไปในยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นในช่วงของการฟื้นฟูอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจหลังสงครามโลก ภายใต้แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ด้วยเงินช่วยเหลือและเงินให้เปล่ากับบางประเทศ มาตรฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสู่ตลาดมวลชนได้ถูกกำหนดขึ้น แม้ว่าโมเดลทางเศรษฐกิจนี้ ได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากการแทรกแซงดังที่กล่าวข้างต้น แต่ภายหลังมันกลายมาเป็นแนวทางและมาตรฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ ไม่เฉพาะแต่ในสหรัฐฯ เท่านั้น โดยที่การผลิตสินค้าสู่ตลาดลูกค้ามวลชนได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ
แนวคิดการกระตุ้นอุปสงค์หรือความต้องการซื้อ (ซึ่งก็คือการกระตุ้นการบริโภค) เพื่อเผชิญกับปัญหาในช่วงเศรษฐกิจถดถอยตามนโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์เซียน กลายมาเป็นบรรทัดฐานของระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการเรียกร้องของภาคเอกชนที่ต้องการให้รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายลงไปยังประชาชนมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการบริโภคโดยคนหมู่มาก (mass consumption)
แบบแผนของลัทธิบริโภคนิยมลงหลักปักฐานและขยายตัวอย่างกว้างขวางรวดเร็ว สินค้าต่างๆ มุ่งสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ถูกสร้างขึ้นมา, การแทนที่สินค้าเดิมอยู่ในอัตราที่เร็วขึ้น, ความจำเป็นที่จะต้องบริโภคและเป็นเจ้าของสินค้าสถาปนาขึ้นในชุมชนแห่งต่างๆ ทั่วโลก เป็นไปได้ว่า อาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกที่หลักการพื้นฐานของสังคมมนุษย์ ถูกนิยามและถูกครอบงำด้วยปริมณฑลทางเศรษฐกิจแทบทั้งหมด
ปริมณฑลทางเศรษฐกิจ แนวคิดอำนาจนำ
คำอธิบายนี้อาจใกล้เคียงกับแนวคิดเรื่องการครอบงำทางอุดมการณ์ (hegemony - อำนาจนำ)(*)ในความหมายกรัมชี่
กล่าวคือ คุณสมบัติสำคัญของปริมณฑลทางเศรษฐกิจ ถูกยอมรับแล้วว่า เป็นความชอบธรรมเชิงโครงสร้างทางสังคม
อาทิ หลักการของกลไกตลาด, ตลาดคือกลไกในจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ, ความจำเป็นในการแข่งขันของรัฐชาติ,
การเข้าไปมีส่วนในกลไกตลาดของผู้เล่นทางเศรษฐกิจต่างๆ, การประเมินคุณค่าของตัวเองผ่านการบริโภค
เป็นต้น แนวความคิดเหล่านี้แพร่กระจายเข้าไปใน กลไกทางสังคม และองค์กรทางเศรษฐกิจสังคม
กล่าวได้ว่า มันเป็นองค์ประกอบที่กลายเป็นสามัญสำนึกซึ่งถูกโต้แย้งน้อยมาก (Beabout
and Echeverria 2002; Morgan 2003)
(*) Hegemony is a concept that has been used to describe and explain the dominance of one social group over another, such that the ruling group or hegemon acquires some degree of consent from the subordinate, as opposed to dominance purely by force. It is used broadly to mean any kind of dominance, and narrowly to refer to specifically cultural and non-military dominance, as opposed to the related notions of empire and suzerainty.
In international relations, a hegemon may be defined as a power that can dictate the policies of all other powers in its vicinity, or one that is able to defeat any other power or combination of powers that it might be at war with. Examples of (potentially) hegemonic states in history are the United States, the united Germany that had existed from 1871 to 1945, or historically the Spanish and British Empire.
The processes by which a dominant culture maintains its dominant position: for example, the use of institutions to formalize power; the employment of a bureaucracy to make power seem abstract (and, therefore, not attached to any one individual); the inculcation of the populace in the ideals of the hegemonic group through education, advertising, publication, etc.; the mobilization of a police force as well as military personnel to subdue opposition.
ผู้มีรายได้สูง - ผู้มีรายได้ต่ำ
ตัวอย่างในสหรัฐฯ
ในกรณีของสหรัฐฯ ความไม่เท่าเทียมของรายได้ระหว่างคนจนกับคนรวยเพิ่มมากขึ้น ความเหลื่อมล้ำนี้
พิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆ ประกอบกัน อาทิ ความแตกต่างของเพศ ความแตกต่างของสีผิว
ฯลฯ (Census 1998; Pryor 2002) ปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่สะท้อนจากดัชนีชี้วัดการกระจายรายได้
GINI Index พบว่า ความเหลื่อมล้ำของรายได้มีแนวโน้มลดลงระหว่างช่วงปลายทศวรรษที่
1940 ถึงปลายทศวรรษที่ 1960 แต่หลังจากนั้น ความเหลื่อมล้ำของรายได้เริ่มขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
หากพิจารณาส่วนแบ่งรายได้ครัวเรือนในสหรัฐฯ ในปี 2002 พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้ชั้นบนสุด 20% ของชาวอเมริกันมีส่วนแบ่งของรายได้ประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้รวมของประชากรสหรัฐฯ. ในส่วนของกลุ่มผู้มีรายได้ชั้นบนสุดเองก็มีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ กล่าวคือ จากปี 1967 ถึงปี 2002 กลุ่มผู้มีรายได้ชั้นบนสุด 20% ของประชากรมีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มสูงขึ้น 13.4% ของรายได้รวม (aggregate income) และกลุ่มผู้มีรายได้ชั้นบนสุด 5% มีส่วนแบ่งรายได้เพิ่มขึ้นสูงกลุ่มอื่นๆ คือ 24 % แต่ในด้านกลับกัน กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุดกลับได้รับมีส่วนแบ่งรายได้ที่แย่ลง กล่าวคือ กลุ่มผู้มีรายได้ระดับล่างสุด 20% มีส่วนแบ่งรายได้ลดลง 12.5 %
สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุด หากมีการกระจายรายได้เพียงในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย กลับไปที่คนกลุ่มนี้จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เช่น หากกระจายรายได้ 5% ของรายได้ทั้งหมดของสหรัฐฯ ไปให้คนกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดกลุ่มนี้ จะทำให้คนกลุ่มนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 40%. ที่สำคัญ ในด้านของการบริโภค รายได้เกือบทั้งหมดของครัวเรือนกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำจะหมดไปกับไปกับการใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย อาหาร และการคมนาคม (Passero 1996; Tan 2000) และแต่ละครัวเรือนมีความสามารถในด้านการออมน้อยลงมาก พวกเขาจึงมีทางเลือกสองแพร่งคือ การเพิ่มการใช้จ่ายของตนด้วยการกู้ยืมที่มีต้นทุนทางการเงินสูง หรือการลดการใช้จ่ายที่ต่ำอยู่แล้วให้ต่ำลงไปอีก
ยุทธศาสตร์ทางการตลาดและการโฆษณา
ในขณะที่มีแนวโน้มที่ชัดเจนของการกระจายรายได้ที่แย่ลง, การบริโภคก็กลายมาเป็นการอ้างอิงกับคุณลักษณะของผู้บริโภคมากขึ้น
ด้วยยุทธศาสตร์ทางการตลาด การแบ่งแยกกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
การจัดกลุ่มลูกค้าตามเพศ, รายได้, สถานะ, อายุ, ชาติพันธุ์, กลุ่มคนแต่ละกลุ่มได้รับข้อความทางการตลาดแตกต่างกัน
ทั้งตามระดับรายได้ของแต่ละกลุ่มย่อยๆ กลุ่มต่างๆ
ส่วนค่าใช้จ่ายในการโฆษณาก็กระจุกตัวสูงมากในประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะใน 8 ประเทศร่ำรวยคือ สหรัฐฯ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน อังกฤษ และญี่ปุ่น กล่าวคือ ในปี 2003 ประเทศเหล่านี้ มีรายจ่ายในการโฆษณารวมกันคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 75% ของค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาสินค้าทั้งหมดในโลก. ในปี 2003 การใช้จ่ายด้านโฆษณา (advertising expenditures) ตกอยู่ราว 344,000 ล้านเหรียญสหรัฐ, โดยมีการประมาณการว่า การใช้จ่ายด้านโฆษณาจะเพิ่มขึ้นสูงคือสูงกว่า 400,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2006 การใช้จ่ายด้านโฆษณาดังกล่าวมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงอย่างต่อเนื่อง คือประมาณ 2.5% ในภูมิภาคเอมริกาเหนือ ค่าใช้จ่ายในการโฆษณามีอัตราการเติบโตสูงกว่า 5 % ในช่วงปลายทศวรรษ 1990
การโฆษณาไม่ใช่สิ่งที่มีต้นทุนสูงมากอีกต่อไป มันจึงสามารถแพร่กระจายไปในที่ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง ยกตัวอย่างเช่น ในปี 1990 ในสหรัฐฯ มีหน้าโฆษณาถึง 171 ล้านหน้าตีพิมพ์กระจายในแมกกาซีนต่างๆ กว่า 164 หัว ในปี 1999 หน้าโฆษณาเหล่านี้ เพิ่มเป็น 255 ล้านหน้าในแมกาซีนมากกว่า 238 หัว (Zenith Optimedia Group Limited 2004)
คนยากจนบริโภคสินค้าในด้านใด
จากข้อมูลตัวเลขที่กล่าวมาทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่อยู่ในความยากจน กำลังถูกทำให้เป็นผู้ที่ด้อยความสำคัญในแง่ของความสามารถในการบริโภค.
Passero (1996) และ Tan (2000) ได้วิเคราะห์แบบแผนการบริโภคของกลุ่มผู้ยากจนที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐ
โดยสรุปว่า รายได้เฉลี่ยต่อปีของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย มักจะหมดไปกับการใช้จ่ายในด้านปัจจัยความจำเป็นขั้นพื้นฐานในสัดส่วนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
เช่น ที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ฯลฯ
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีผลต่อคนยากจนอย่างไร ? พวกเขาได้รับผลกระทบอย่างไรในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ? เราสามารถพิจารณาจากความเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปีของกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำชั้นล่างสุด 20% ของประชากรสหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบกับดัชนีผู้บริโภค (CPI) ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา
สำนักงานสถิติแรงงงานของสหรัฐฯ (The U.S. Bureau of Labor Statistics) รายงานว่า ระหว่างปี 1984 ถึงปี 2003 ผู้มีรายได้ชั้นล่างสุด 20% ของประชากรสหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายต่อปีเพิ่มขึ้นจาก 10,894 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 18,492 เหรียญสหรัฐฯ แต่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพิ่มขึ้นในระดับที่ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีผู้บริโภค หมายความว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คนชั้นล่างสุดจำเป็นต้องใช้จ่ายไปเพิ่มขึ้นสูงขึ้นกับกลุ่มสินค้าที่เรียกว่า " ความจำเป็นพื้นฐานต่างๆ (needs) " และลดการใช้จ่ายกับสินค้ากลุ่มอื่น ๆ
สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อสินค้าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของกลุ่มผู้บริโภครายได้ต่ำที่เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย และสุขภาพ เป็นตัวชี้ให้เห็นถึงความตกต่ำของคุณภาพของการบริโภคของคนยากจนในสินค้ากลุ่มอื่นๆ. นี่เป็นผลมาจากโครงสร้างเศรษฐกิจของลัทธิหลังฟอร์ดหรือไม่ ? คำตอบอาจจะยังไม่ชัดเจนนัก ทว่าปัจจัยบางประการอาจช่วยอธิบายได้ กล่าวคือ เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์แบบยืดหยุ่นและไม่แน่นอน และความกดดันต่อค่าจ้างแรงงานของแรงงานทักษะต่ำ เช่นเดียวกับที่ การกระจายรายได้ในสังคมโลกเลวร้ายลงเรื่อย ๆ
ระบบทุนนิยมเปลี่ยนจากแบบแผนอุตสาหกรรมไปสู่ภาคการเงิน
แนววิเคราะห์ต่างๆ เช่น ระบบทุนนิยมเปลี่ยนจากแบบแผนอุตสาหกรรมไปสู่ภาคการเงินมากขึ้น
แนววิเคราะห์โลกาภิวัตน์อย่างง่ายๆ ที่ได้รับความนิยมสูง เช่น ยุคโลกแบนหรือ
"The World is Flat" ของ Friedman (2005) (*) แนววิเคราะห์เหล่านี้
นำเสนอให้เห็นถึงความเฟื่องฟูของบรรยากาศทางสังคมการเมืองและสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
แต่กลับมิได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ไม่สามารถนำตัวเองเข้าไปผนวกกับมาตรฐานที่เข้มงวดเหล่านั้นได้
(*) The World Is Flat: A Brief History of the Twenty-First Century is an international bestselling book by Thomas L. Friedman, analyzing the progress of globalization with an emphasis on the early 21st century. The title is a metaphor for viewing the world as flat or level in terms of commerce and competition, as in a level playing field -or one where all competitors have an equal opportunity. As the first edition cover indicates, the title also alludes to the historic shifts in perception once people realized the world was not flat, but round and how a similar shift in perception -albeit figurative- is required if countries, companies and individuals want to remain competitive in a global market where historical, regional and geographical divisions are becoming increasingly irrelevant.
ส่วนคุณค่าทางสังคมที่เกื้อหนุนนโยบายเศรษฐกิจกิจเสรีนิยมใหม่ตั้งแต่ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา กล่าวได้ว่า เป็นคุณค่าที่มีลักษณะ "อนุรักษ์นิยมทางการเมือง" โดยเฉพาะในเรื่องการต่อสู้กับความยากจน กล่าวคือ การต่อสู้กับความยากจนเปลี่ยนมาใช้ฐานคิดแบบปัจเจกชน โดยลดความสำคัญกับฐานคิดการรวมกลุ่มหรือภราดรภาพ (solidarity) (เช่น สหภาพแรงงาน เป็นต้น-ผู้แปล)
นอกจากนี้ คนจนยังถูกกดดันในด้านของการบริโภคอย่างหนัก (Cotton 1990) พวกเขาถูกบังคับให้เพิ่มรายจ่ายไปกับสินค้าความจำเป็นขั้นพื้นฐานมากขึ้น เช่น บ้าน อาหาร ค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพ เห็นได้จากดัชนีผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าความจำเป็นพื้นฐานเพิ่มขึ้นสูงและรวดเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นรายได้ของกลุ่มผู้บริโภครายได้ต่ำ
ทิวทัศน์เศรษฐกิจ ภายใต้ระบบหลังฟอร์ด
ภายใต้ระบบหลังฟอร์ด ระบบการจ้างแรงงานถูกทำให้มีความยืดหยุ่นสูง ค่าจ้างแรงงานและโอกาสในการจ้างงานของแรงงานทักษะต่ำลดลง
ในทางตรงข้าม ผู้เกี่ยวข้องในภาคการเงินมีความมั่งคั่งมากยิ่งขึ้น ส่วนของความสามารถในการหารายได้
ผู้บริโภคถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ มากยิ่งขึ้น พร้อมด้วยการการกระจายรายได้ที่ถดถอยอย่างก้าวหน้า
โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มคนรวยที่สุด
ภายใต้แบบแผนนี้ สัดส่วนระหว่างการบริโภคกับการออมเกิดความไม่สมดุลมากขึ้น,
ผู้บริโภคพึ่งพิงหนี้เอกชนในการบริโภคมากขึ้น คุณลักษณะเหล่านี้ ดำรงอยู่พร้อมกับแรงกดดันให้มีการบริโภค,
อีกทั้งคนจนถูกกดดันให้เพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายของตนไปกับสินค้าด้านความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
(อาหาร, ที่อยู่อาศัย, สุขภาพ) นอกจากนี้ โครงการความช่วยเหลือคนจนโครงการต่าง
ๆ ได้ถดถอยลงอย่างรวดเร็ว
ในยุคฟอร์ด การบริโภคแพร่กระจายในลักษณะที่มีความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าในยุคหลังฟอร์ด
เนื่องจาก มีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานให้เพียงพอต่อความเป็นอยู่ (living wages)
และมีการใช้นโยบายสวัสดิการสังคมแนวเคนส์เซียน เพื่อรักษาอัตราการบริโภคให้ยั่งยืน
แต่ในปัจจุบัน ความเชื่อมโยงนี้แตกหักลง
ระบบเศรษฐกิจหลังฟอร์ดการสร้างระบบการจ้างงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ขาดกฎระเบียบแรงงานที่ชัดเจน ในขณะเดียวกัน ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้น งานบางส่วนก็ยังคงเป็นงานที่ไม่ต้องการแรงงานทักษะสูง พวกเขาเป็นคนเก็บผลไม้ตามฤดูกาลในแคนาดาหรืออิตาลี เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายในภาคเกษตรที่แคลิฟอร์เนีย เป็นคนงานชาวจีนและอินโดนีเซียในโรงงานห้องแถว (sweatshop) (*) ในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นคนรับใช้ชาวเอเซีย เป็นผู้หญิงค้าบริการทางเพศจากเอเซียและยุโรปตะวันออกที่ไหลบ่าเข้ามาในยุโรป พวกเธอจำนวนมากเป็นหญิงม่ายที่ต้องเลี้ยงดูลูก ส่วนหนึ่งเป็นผู้หญิงอายุน้อยในที่ต้องอาศัยในเมืองใหญ่ และคนอีกจำนวนหนึ่งเป็นคนงานที่ขาดทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมไปแล้ว
(*) A sweatshop is a working environment with very difficult or dangerous conditions, usually where the workers have few rights or ways to address their situation. This can include exposure to harmful materials, hazardous situations, extreme temperatures, or abuse from employers. Sweatshop workers are often forced to work long hours for little or no pay, regardless of any laws mandating overtime pay or a minimum wage. Child labor laws may also be violated.
Though often associated with LEDCs (Less Economically Developed Countries, many people working in primary employment, low levels of technology), sweatshops can exist in any country. Sweatshops have existed in several cultures, including Early American culture beginning in the 1850s. Sweatshops can produce many different goods, from clothing to furniture.
Meanwhile, defenders of sweatshops, such as Paul Krugman and Johan Norberg, claim that people choose to work in sweatshops because the sweatshops offer them substantially higher wages and better working conditions compared to their previous jobs of manual farm labor, and that sweatshops are an early step in the process of technological and economic development whereby a poor country turns itself into a rich country. In addition, sometimes when anti-sweatshop activists were successful in getting sweatshops to close, some of the employees who had been working in the sweatshops ended up starving to death, while others ended up turning to prostitution.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++(อ่านบทความนี้ต่อเนื่องลำดับที่ ๑๖๖๐)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
งานเขียนที่มีชื่อเสียงในอดีตของ Victor Lebow ในปี 1955 ที่กล่าวถึงแบบแผนการบริโภคของชาวอเมริกันว่า " เป็นระบบเศรษฐ กิจซึ่งเน้นการผลิตในปริมาณมหาศาล...ต้องการให้การบริโภคเป็นวิถีชีวิตของคนอเมริกัน เปลี่ยนการซื้อสินค้าและการใช้สินค้าให้กลายมาเป็นพิธีกรรม เพื่อให้พวกเราแสวงหาความพึงพอใจทางจิตวิญญาณ ความพึงใจของตัวตน, ในการบริโภคนั้น เรามีความจำเป็นที่จะต้องทำให้สินค้าถูกบริโภค ถูกเผาผลาญ ถูกแทนที่ และถูกทิ้งขว้าง ในอัตราเร่งสูงสุด" ในปัจจุบัน สุข-บริโภคนิยม กลายมาเป็นแนวคิดที่ชี้นำการบริโภคในตะวันตก เมื่อผลิตผลของคนงานถูกบริโภคทันทีทันใด หรือถูกจับจองไว้ล่วงหน้าเพื่อบริโภค การผลิตเดินหน้าเต็มที่เพื่อผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภค โดยมีสื่อสารมวลชนเป็นส่วนสำคัญ...