ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




01-11-2551 (1658)

Hedonistic Consumerism - สุข-บริโภคนิยม
บริโภคนิยมแนวความสุข : จากระบบฟอร์ดสู่ระบบหลังฟอร์ด (post-Fordism)
วรดุลย์ ตุลารักษ์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการ และนักแปลอิสระสนใจด้านเศรษฐศาสตร์
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ชื่อเดิมของบทแปล: สุข-บริโภคนิยม: ความเหลื่อมล้ำของการบริโภคในระบบทุนนิยมปัจจุบัน

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลและเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ
- ตลาด การบริโภคและลัทธิบริโภคนิยม
- Hedonistic Consumerism
- Fordism - Post Fordism - Hedonistic Consumerism
- self-referencing consumerism
- individual expression = material owner
- (อดีต) ลัทธิบริโภคนิยม - (ปัจจุบัน) สุข-บริโภคนิยม
- material culture - producerism
- Capabilities Approach (Amartya Sen)
- จุดมุ่งหมายการบริโภคที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๕๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Hedonistic Consumerism - สุข-บริโภคนิยม
บริโภคนิยมแนวความสุข : จากระบบฟอร์ดสู่ระบบหลังฟอร์ด (post-Fordism)
วรดุลย์ ตุลารักษ์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการ และนักแปลอิสระสนใจด้านเศรษฐศาสตร์
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ระบอบการสะสมทุนยุคหลังฟอร์ดมุ่งไปสู่ลัทธิสุข-บริโภคนิยม (Hedonistic Consumerism) ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างบริโภคที่เฟื่องฟูกับการบริโภคที่เหลื่อมล้ำของคนกลุ่มต่างๆ, ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปัจจัยเชิงโครงสร้างและปัจจัยทางวัฒนธรรมนำไปสู่สถานการณ์การบริโภคที่อยู่ในระดับเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานสูงมาก การบริโภคอยู่บนเงื่อนไขของความต้องการที่ถูกเร่งเร้า และถูกผูกขาดโดยกลุ่มผู้ที่มั่งคั่งที่สุดทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ บทความนี้ ปรับใช้ข้อความคิดของ Amartya Sen เรื่องความเท่าเทียมกันของโอกาส เพื่อนำมาเสนอทางออกต่อปัญหาแบบแผนของการบริโภคที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ตลาด การบริโภคและลัทธิบริโภคนิยม

บทความนี้ ทำความเข้าใจการเปลี่ยนผ่านของระบบฟอร์ด (Fordism) (1) ไปสู่ระบบหลังฟอร์ด (Post Fordism) (2) โดยวิเคราะห์ในแง่ของระบอบการสะสมทุน (accumulation regimes) ทั้งนี้ระบบฟอร์ดและระบบหลังฟอร์ด ต้องพึ่งพาลัทธิบริโภคนิยมเพื่อเพิ่มการบริโภคให้สูงขึ้น แต่ระบบหลังฟอร์ดใช้ยุทธศาสตร์ขยายการบริโภคไปยังกลุ่มคนที่รวยที่สุด พร้อมกับทำให้การบริโภคคนจนไร้ความสำคัญลงไป

(1) In the United States, Fordism is the economic philosophy that widespread prosperity and high corporate profits can be achieved by high wages that allow the workers to purchase the output they produce, such as automobiles.

"Fordism" was coined in about 1916 to describe Henry Ford's methods in the automobile industry. Fordism represents a range of industrial practices generally associated with American automobile manufacturer Henry Ford, during the last decades of the 19th Century through to the second decade of the 20th Century.

(2) Post-Fordism is the name given to the dominant system of economic production, consumption and associated socio-economic phenomena, in most industrialized countries since the late 20th century. It is contrasted with Fordism, the system formulated in Henry Ford's automotive factories, in which workers work on a production line, performing specialized tasks repetitively. Definitions of the nature and scope of Post-Fordism vary considerably and are a matter of debate among scholars.

Post-Fordism is characterized by the following attributes:

- New information technologies.
- Emphasis on types of consumers in contrast to previous emphasis on social class.
- The rise of the service and the white-collar worker.
- The feminization of the work force.
- The globalization of financial markets.

ในฐานะที่ผู้บริโภคเป็นผู้เล่นในตลาด นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักอธิบายว่า ตลาดเป็นตัวกลางที่นำพาผู้ต้องการซื้อกับผู้ที่ต้องการขายสินค้าและบริการมาพบกัน ความต้องการซื้อและความต้องการเสนอขายทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนขึ้น ตามแนวคิดนี้ พลังของตลาดจะทำให้ปราศจากผู้ซื้อที่ตนเห็นว่าสินค้านั้นมีราคาแพงเกินไป และเนื่องจากความต้องการซื้อเป็นปัจจัยซึ่งก่อให้เกิดความต้องการเสนอขาย ดังนั้น การแลกเปลี่ยนภายใต้กลไกตลาดจึงเป็นเกมที่มีแต่ผู้ชนะ

อย่างไรก็ตาม คำธิบายข้างต้นไม่มีความสมบูรณ์ เนื่องจาก ตลาดเป็นสิ่งที่มากกว่ากลไกการจัดการให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการให้ลงตัวทั้งในด้านราคาและปริมาณ (clearing house) แต่ตลาดยังวางกรอบการแลกเปลี่ยนภายใต้สิ่งสร้างทางสถาบันเชิงสังคม (socioinstitutional constructs) ซึ่งประกอบอยู่ในความสัมพันธ์ทางอำนาจ (Elliott 2000; Fligstein 2001; Weber 1922) ความสัมพันธ์ทางอำนาจนี้เอง มีอิทธิพลต่อกระบวนการการแลกเปลี่ยนของตลาด และมีผลต่อทางเลือกของผู้บริโภคในกระบวนการการแลกเปลี่ยนนั้นๆ ด้วย

บทความนี้นิยามว่า ตลาดเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจสังคม (socioeconomic loci) อันมีองค์ประกอบทั้งที่เป็นนามธรรม เช่น แนวความคิด และองค์ประกอบทางวัตถุ และเนื่องจากการแลกเปลี่ยนของตลาดเป็นการแลกเปลี่ยนทางสังคมประเภทหนึ่ง (Sen 1972; White 1981) ดังนั้น องค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการทางสังคมทั้งหมดจึงสัมพันธ์กับตลาด และการแลกเปลี่ยนก็อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่กำกับระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ โดยมีอาณาบริเวณของการเมืองเป็นตัวกลางในการจัดการ (Boyer 2003: 4)

ภายใต้สถาบันทางสังคมต่างๆ, ตลาดและปัจเจกบุคคลมีความสัมพันธ์กันอย่างมีพลวัต และในอีกด้านหนึ่ง กฎระเบียบทางการเมือง กฎระเบียบทางสังคม และกฎระเบียบทางเศรษฐกิจ ก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของปัจเจกบุคคลด้วย เห็นได้ว่า ปัจเจกบุคคลสามารถเปลี่ยนสิ่งที่ตนเคยปฏิบัติมาภายใต้กลไกตลาดได้ เช่น การเลือกซื้อสินค้าอาหารธรรมชาติ (organic food) หรือการเลือกซื้อสินค้าที่มาจากการค้าที่เป็นธรรม (fair trade) (3) ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน

(3) 'Fair trade' is an organized social movement and market-based approach to empowering developing country producers and promoting sustainability. The movement advocates the payment of a fair price as well as social and environmental standards in areas related to the production of a wide variety of goods. It focuses in particular on exports from developing countries to developed countries, most notably handicrafts, coffee, cocoa, sugar, tea, bananas, honey, cotton, wine, fresh fruit and flowers.

Fair trade's strategic intent is to deliberately work with marginalized producers and workers in order to help them move from a position of vulnerability to one of security and economic self-sufficiency. It also aims at empowering them to become stakeholders in their own organizations and actively play a wider role in the global arena to achieve greater equity in international trade. Fair trade proponents include a wide array of international development aid, social, religious and environmental organizations such as Oxfam, Amnesty International, Catholic Relief Services, and Caritas International.

Hedonistic Consumerism
ในปัจจุบัน ลัทธิสุข-บริโภคนิยม (hedonistic consumerism) เป็นวิวัฒนาการรูปแบบล่าสุดของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ เป็นแบบแผนของการบริโภคที่ก่อให้เกิดความสูญเสีย อีกทั้งยังเลือกปฏิบัติต่อคนกลุ่มต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ

หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ Georg Simmel (1900) and Max Weber (1981) เคยอธิบายว่า นวัตกรรมและพลวัตของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ได้สร้างโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคมขึ้นมาใหม่ ด้วยการแตกหักกับสถาบันทางสังคมและพฤติกรรมแบบเดิม มันสร้างความแตกต่างทางวัตถุกับลัทธิบริโภคนิยมดั้งเดิม โดยเน้นการผลิตสินค้าสู่ลูกค้ามวลชน (mass production) มากกว่าเน้นการผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย (Weber 1981)

สังคมกลายมาเป็นสังคมที่เน้นปัจเจกบุคคลมากขึ้น, ระบบเศรษฐกิจเงินตรา (money economy)กลายมาเป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด, กระบวนการแลกเปลี่ยนกลายมาเป็นสิ่งที่ไร้ชีวิตจิตใจ (Simmel 1900, 1903) ปัจเจกบุคคลถูกแยกออกมาจากกลุ่มและเครือข่าย (Polanyi 1944) พวกเขาถูกทำให้แปลกแยก ทว่าในอีกด้านหนึ่ง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกับการที่มนุษย์ได้รับโอกาสในการแสดงออกซึ่งความเป็นปัจเจกชนในระดับสูงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่นเดียวกับการสร้างโอกาสในการบริโภคของระบบทุนนิยมด้วยการเสนอตัวเลือกที่มากมายไม่หยุดหย่อน (Sassatelli 2000)

สิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้นเชื่อมโยงเข้ากับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มันผสานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเข้ากับฐานการผลิตขนาดใหญ่ เพื่อสนับสนุนให้การบริโภคยั่งยืน กล่าวได้ว่า ระบบทุนนิยมต้องใช้ฐานการผลิตขนาดใหญ่พร้อมกับสร้างให้เกิดการบริโภคในขอบเขตกว้างขวาง ทั้งนี้ ระบบทุนนิยมยังปรับทั้งการผลิตและการบริโภคให้สอดคล้องกับขีดจำกัดทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของสังคมนั้น ๆ ด้วย

Fordism - Post Fordism - Hedonistic Consumerism
ในช่วงของระบบฟอร์ด เพื่อให้โมเดลทางเศรษฐกิจนี้ให้ยืนยาว ลัทธิบริโภคนิยมทำหน้าที่ไปด้วยกับการเชื่อมโยงการผลิตสินค้าเพื่อขายในตลาดลูกค้ามวลชน (mass production) เข้ากับระบบการกระจายรายได้ให้เพียงพอเพื่อให้เกิดการใช้จ่าย แต่เมื่อยุคหลังฟอร์ดเข้ามาแทนที่ยุคฟอร์ด ปรากฎว่า การผลิตสินค้ามาตรฐานเดียวกันเพื่อขายในตลาดลูกค้ามวลชน ถูกแทนที่ด้วยการผลิตสินค้าจำนวนมากแต่มีความแตกต่างหลากหลายสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มลูกค้า (nitche market) ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่มีความแน่นอน ถูกแทนที่ด้วยระบบแรงงานสัมพันธ์แบบยืดหยุ่น (Boltanski and Chiapello 1999) ซึ่งมีการใช้แรงงานที่เข้มข้นขึ้น นำไปสู่สภาพทำงานที่เลวร้ายลง และคนงานไร้ความมั่นคงในงานยิ่งกว่าเดิม

ในปริมณฑลของการบริโภค ลัทธิบริโภคนิยมแบบเดิมได้เปลี่ยนรูปไปเป็นลัทธิสุข-บริโภคนิยม กระบวนการของการบริโภครูปแบบใหม่นี้ ได้ผลักดันให้ความเหลื่อมล้ำขยายตัวยิ่งกว่าในยุคฟอร์ด พร้อมกับนโยบายกระจายรายได้เพื่อช่วยให้เกิดความเท่าเทียมจำนวนมากที่ถูกยกเลิกไป การบริโภคกลายมาเป็นใจกลางของการผลิตซ้ำของทุน (capital reproduction) และเพื่อให้การบริโภคยั่งยืน กลุ่มผู้ที่อยู่ในโครงสร้างรายได้กลุ่มบนสุดของสังคม จึงถูกดึงเข้ามาอยู่ในแบบแผนการบริโภคมากยิ่งขึ้น

การบริโภคกลายเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ของตัวผู้บริโภคเอง (Baudrillard 1994, 1998; Bauman 2001) ที่สำคัญ มันเกิดขึ้นพร้อมกับที่คนอีกจำนวนมากถูกกีดกันออกไปจากตลาด คนเหล่านั้นถูกจำกัดความสามารถในการบริโภค และถูกผลักไสให้กลายเป็นผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการบริโภคเนื่องจากการกระจายรายรายได้ที่เลวลง (Sen 1985, 1999) เหลือแต่เพียงผู้มีรายได้สูงเท่านั้นที่ไม่ถูกจำกัดความสามารถในการบริโภค

The French Regulation School (สำนักคิดที่ให้ความสำคัญกับการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรัฐ-ผู้แปล)
วิเคราะห์ว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีรากฐานอยู่ 2 ระดับ

ระดับแรก คือในระดับสากล ระบอบการสะสมทุน เป็นโครงสร้างของระบบการผลิตที่พัฒนาขึ้นในทิศทางที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเชื่อมโยงเข้ากับปัจจัยทางเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงองค์กรการผลิต, และระบบแรงงานสัมพันธ์

ระดับที่สอง คือชุดกฎระเบียบ (modes of regulation) ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ มันทำหน้าที่จัดการสองสิ่งเข้าด้วยกันคือ ความจำเป็นที่ต้องทำให้ระบบทุนนิยมมีระดับการสะสมทุนให้ยั่งยืน กับความจำเป็นของสังคมในการดำรงโครงสร้างที่สอดคล้องต้องกันเอาไว้ ทั้งนี้ ชุดของกฎระเบียบของแต่ละประเทศและของแต่ละกลุ่มประเทศ มีเนื้อหาที่แตกต่างกัน ตามเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ เงื่อนไขทางวัตถุ และตามโมแดลทุนนิยมของประเทศนั้นๆ (Boyer 2000, 2001)

ในทศวรรษที่ 1970 การสะสมทุนของระบบฟอร์ดเริ่มถูกแทนที่โดยระบบหลังฟอร์ด การเปลี่ยนผ่านนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมของแต่ละประเทศ วิถีการผลิตในระบบฟอร์ด นับตั้งแต่ การผลิตด้วยระบบสายพาน ระบบออโตเมติค และการประหยัดต้นทุนการผลิตโดยการผลิตขนาดใหญ่ (economy of scale) เป็นปัจจัยสำคัญต่อการสะสมทุน โดยระบบฟอร์ดได้ผลิตสินค้ามาตรฐานอย่างเดียวกันจำนวนมหาศาลซึ่งถูกผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำ และปรับวิถีการบริโภค (modes of consumption) ให้สอดรับกันกับวิถีการผลิตนั้น เพื่อให้การสะสมทุนในระยะยาวสามารถดำเนินต่อไป

ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านของระบบเศรษฐกิจมีปัจจัยต้องพิจารณาเป็นจำนวนมาก เช่น ช่วงระยะเวลา การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี่ วิธีการทางบัญชี กระบวนการอุตสาหกรรม ระบบเครดิต ฯลฯ ดังนั้น เราอาจไม่สามารถนิยามโมเดลฟอร์ดได้อย่างชัดเจนมากนัก อย่างไรก็ตาม บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบฟอร์ดไปสู่ระบบหลังฟอร์ดโดยมีกระบวนการใหม่ ๆ เกิดขึ้น ที่สำคัญคือ แบบแผนการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป

O'Hara (2003: 21) ชี้ว่า "ในทศวรรษที่ 1950 และ1960 การสะสมทุนของระบบฟอร์ดพยายามทำให้ระบบการผลิตและแบบแผนของการบริโภคมีความยั่งยืน โมเดลการสะสมทุนในลักษณะนี้ จำเป็นต้องพึ่งพาลัทธิบริโภคนิยม และต้องทำให้การบริโภคล้นกระจายลงไปสู่คนกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวาง

เมื่อผลกำไรต่อหน่วยในสาขาอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมถดถอยลง และผลกำไรและการเก็งกำไรในสาขาการเงินเพิ่มสูงขึ้นมาแทน การเปลี่ยนผ่านจากระบบฟอร์ดสู่ระบบหลังฟอร์ดจึงเกิดขึ้น วิถีการผลิตแบบใหม่เข้ามาแทนที่วิถีการผลิตแบบเดิม วิถีการผลิตแบบใหม่นี้แปรผันตามเทคโนโลยี่ และการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร ในปัจจุบัน ระบบหลังฟอร์ดกำลังพัฒนาไป แต่ก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายสุดท้าย ส่วนผลกระทบเกิดขึ้น ยังคงเป็นประเด็นที่ซับซ้อน และเป็นใจกลางของการถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน (Barnett 2000; Cantwell and Santangelo 2000; O'Hara 2003; Papadakis 2000; Phillips 2000; Tabb 2001; Yates 2001)

ในด้านของการบริโภค ตัวเลขทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า แนวโน้มของการบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืม (O'Hara 2003: 31) ส่วนในด้านของรายได้นั้น ประเทศต่างๆ ได้ยกเลิกกลไกและมาตรการการกระจายรายลงไปเป็นจำนวนมาก กล่าวโดยทั่วไปได้ว่า หากเปรียบเทียบกับในระบบฟอร์ดแล้ว ในระบบหลังฟอร์ด ประเทศต่างๆ มีการกระจายรายได้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมน้อยลง พร้อมทั้งมีแบบแผนในการบริโภคที่ไม่เท่าเทียมกันยิ่งขึ้น ในขณะที่สินค้าและบริการถูกบริโภคในปริมาณที่สูงขึ้นโดยภาพรวม

เพื่อรักษาอัตราการสะสมทุนของระบบทุนนิยม ระบบทุนนิยมจึงจำเป็นต้องบูรณาการแบบแผนของการผลิตกับแบบแผนของการบริโภคเข้าหากัน หากมองด้วยสายตาของแนววิเคราะห์ชนชั้น กล่าวได้ว่า การบูรณาการนี้มีอิทธิผลต่อเงื่อนไขทางวัตถุของชนชั้น และกำหนดเงื่อนไขการต่อสู้ทางชนชั้นภายใต้ความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยม (Meiksins-Wood 1998; Thompson 1978)

self-referencing consumerism
แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถือว่า เป็นความสำเร็จของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ที่สามารถปรับกระบวนการการผลิตและแบบแผนการบริโภคเข้าหากัน เพื่อทำให้ชนชั้นต่างๆ ไม่เห็นถึงความขัดแย้งทางชนชั้น ดังเช่น การทำให้ชนชั้นแรงงานแตกตัวเป็นส่วนย่อยๆ มากยิ่งขึ้น ความเป็นชนชั้นแรงงานถูกทำให้เจือจางลงไป โดยมุ่งเน้นการสร้างให้เกิดความเป็นผู้บริโภคพร้อมกับความเป็นปัจเจกบุคคลซึ่งทุกคนเป็นเหมือนๆ กัน

กล่าวได้ว่า เมื่อการบริโภคในปัจจุบันอยู่ภายใต้แบบแผน "การบริโภคบ่งบอกตัวตน" (self-referencing consumerism) ผลก็คือ คนงานถูกกำหนดให้แสดงออกในฐานะผู้บริโภคมากกว่าเก่า โดยเน้นถึงความเป็นปัจเจกบุคคลสูงขึ้น กระบวนการนี้ได้นำพาทุกคนเข้ามาอยู่ในแบบแผนการบริโภคเดียวกัน ซึ่งในแง่ของชนชั้นถือว่า มันได้สร้างสภาวะไร้ความชัดเจนในการต่อสู้ทางชนชั้นขึ้นมา

ในปัจจุบัน การบริโภคกลายมาเป็นจุดสุดยอดของปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ธรรมชาติของการบริโภคเปลี่ยนมาเป็นการบริโภค "บ่งบอกตัวตน" (self-referencing) ความพึงพอใจของผู้บริโภค (ที่ถูกสร้างขึ้น) เพียงอย่างเดียว ก็เป็นปัจจัยที่เพียงพอให้เกิดการบริโภค ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ผู้บริโภคตกอยู่ใต้อิทธิพลของนักการตลาดประดุจทาส หรือไม่ใช่ว่า ผู้บริโภคไม่สามารถใช้ประสบการณ์การบริโภคของตนในวิถีทางที่ซับซ้อนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้บริโภคถูกนำเสนอด้วยสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งแตกต่างหลายหลายมากขึ้น รวมทั้งถูกนำเสนอด้วยประสบการณ์การซื้อสินค้ามากมายหลายรูปแบบ อันเป็นตัวกำหนดกรอบของทัศนคติของผู้บริโภค (Binkley 2004;Bowlby 1985; Breazele 1994; Cohen 1998; Fine and Leopold 1990; Mackay 1997)

individual expression = material owner
มันจึงหมายความว่า เป้าหมายของการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคที่ฉลาดซื้อและมีความคิดซับซ้อน (sophisticated, acute consumers) กับผู้บริโภคที่ไม่ซับซ้อนล้วนตกอยู่ในกระบวนการ "การบริโภคบ่งบอกตัวตน" แทบจะไม่แตกต่างกัน และไม่ใช่เรื่องที่ว่า ผู้บริโภคขาดความสามารถในการต่อรองให้ได้มาซึ่งการบริโภคที่ดี หรือไม่ใช่ขาดความสามารถในการเลือกซื้อสินค้าที่ตนต้องการจริงๆ ทว่า เกิดวาทกรรมนำ (hegemonic discourse) ที่เปลี่ยนความหมายและธรรมชาติของการบริโภคไปจากเดิม กล่าวคือ การแสดงออกของปัจเจกบุคคล (individual expression) ถูกจำกัดความหมายให้แคบลงเท่ากับการครอบครองหรือเป็นเจ้าของวัตถุ (material owner) (Ritzer 2004; Schor 1996; Scitovsky 1976)

ระบบฟอร์ดผลิตสินค้าราคาถูก โดยใช้การประหยัดต้นทุนจากการขนาดการผลิตขนาดใหญ่ (economies of scale) แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานให้สูงขึ้นในระดับที่เพียงพอจะทำให้คนงานมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอย ดังนั้น ภายใต้ระบบฟอร์ด การบริโภคจึงแพร่กระจายไปยังคนกลุ่มใหญ่ได้ ซึ่งหมายความว่า ระบบทุนนิยมได้แลกผลกำไรสูงสุดกับผลกำไรที่สม่ำเสมอในระยะยาว (Boyer and Orl?an 1991)

ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ประสิทธิภาพของระบบฟอร์ดถดถอยลง เนื่องจาก ตลาดภายในประเทศอิ่มตัว ประกอบกับอายุของเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสินค้ามีแนวโน้มสั้นลง ระเบียบใหม่จึงได้ก่อตัวขึ้นทั้งในพื้นที่ของการผลิตและพื้นที่ของการบริโภค ในขณะเดียวกัน ลัทธิบริโภคนิยมที่ฝังรากอยู่ในระบบฟอร์และระบบหลังฟอร์ด ก็ได้เปลี่ยนรูปกลายมาเป็น "การบริโภคบ่งบอกตัวตน" ตลาดของผู้บริโภคแตกออกเป็นส่วนย่อยๆ และเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการบริโภคสูงขึ้น กล่าวโดยรวบรัดได้ว่า ลัทธิบริโภคนิยมเปลี่ยนรูปไปเป็น ลัทธิสุข-บริโภคนิยม (hedonistic consumerism) ซึ่งเข้ามาเป็นปัจจัยหลักหนุนนำแบบแผนการบริโภคปัจจุบัน

(อดีต) ลัทธิบริโภคนิยม - (ปัจจุบัน) สุข-บริโภคนิยม
หากย้อนกลับไปกล่าวถึงลัทธิบริโภคนิยมในช่วงก่อนหน้านี้ Thein Durning (1992) หยิบยกบางส่วนของงานเขียนที่มีชื่อเสียงในอดีตของ Victor Lebow ในปี 1955 ที่กล่าวถึงแบบแผนการบริโภคของชาวอเมริกันว่า "...เป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งเน้นการผลิตในปริมาณมหาศาล...ต้องการให้การบริโภคเป็นวิถีชีวิตของคนอเมริกัน เปลี่ยนการซื้อสินค้าและการใช้สินค้าให้กลายมาเป็นพิธีกรรม เพื่อให้พวกเราแสวงหาความพึงพอใจทางจิตวิญญาณ ความพึงใจของตัวตน, ในการบริโภคนั้น เรามีความจำเป็นที่จะต้องทำให้สินค้าถูกบริโภค ถูกเผาผลาญ ถูกแทนที่ และถูกทิ้งขว้าง ในอัตราเร่งสูงสุด" (Victor Lebow 1955, cited in Thein Durning 1992: 21-22)

ในปัจจุบัน สุข-บริโภคนิยม กลายมาเป็นแนวคิดที่ชี้นำการบริโภคในตะวันตก เมื่อผลิตผลของคนงานถูกบริโภคทันทีทันใด หรือถูกจับจองไว้ล่วงหน้าเพื่อบริโภค การผลิตเดินหน้าเต็มที่เพื่อผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภค โดยมีสื่อสารมวลชนเป็นส่วนสำคัญของกลจักรในการบริโภคนี้

material culture - producerism
หากแยกวิเคราะห์สังคมในด้านการผลิตและด้านการบริโภค ลัทธิบริโภคนิยมสร้างการบริโภคให้เป็น "วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture)" ของประเทศ (Wells 1972: 43) "วัฒนธรรมทางวัตถุ" นี้หลอมรวมองค์ประกอบต่าง ๆ ในภาคการบริโภคในระบบเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน อาทิ สินค้าอุตสาหกรรม สินค้านำเข้า การบริการ การตลาด ฯลฯ

ส่วนในด้านของการผลิต ลัทธิผู้ผลิตนิยม (producerism) ได้ "เคลื่อนย้ายประชากรของสังคมเพื่อการทำงาน และเพื่อให้ทำงานหนักขึ้น " (Wells 1972: 45) ในกระบวนการนี้ เป็นการเพิ่มระดับการผลิตให้สูงขึ้น สร้างกำไรเพื่อการลงทุนเพิ่มในรอบใหม่, สุข-บริโภคนิยม จึงสะท้อนให้เห็นถึงระบบผู้ผลิตนิยมและบริโภคนิยมที่มีความเข้มข้นสูงมาก

แบบแผนการบริโภคในยุคหลังฟอร์ด ยังสะท้อนถึงการสร้างการบริโภคส่วนเกินที่สูงมากอีกด้วย (Hooks 2000) มันสร้างความแปลกแยกให้แก่ผู้คนในแต่ละสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ (Norberg-Hodge 1999) รวมถึงกระบวนการทำทุกอย่างให้เป็นสินค้า ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้เกิดความแปลกแยกที่กล่าวมานี้. แบบแผนการบริโภคยุคหลังฟอร์ดได้ขยายความแตกต่างระหว่างคนสองกลุ่มให้ถ่างออกจากกันกว้างขึ้น ระหว่างผู้ที่มีความสามารถซื้อกับผู้ไร้ความสามารถ ในเวลาเดียวกัน การกระจายรายได้ก็เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เลวลง ทำให้คนจนกลายเป็นคนด้อยโอกาส ได้รับส่วนแบ่งของรายได้ถดถอยลงเรื่อยๆ

ความเหลื่อมล้ำของรายได้และความเหลื่อมล้ำในการบริโภคได้ปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัด หากพิจารณาจากส่วนแบ่งของการบริโภคของแต่ละประเทศ ต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติของโลก (World GDP) จะพบว่า ประเทศร่ำรวยมีส่วนแบ่งในการบริโภคของโลกในสัดส่วนสูงกว่าประเทศยากจนหลายเท่า ส่วนในแต่ละประเทศเอง การบริโภคของคนกลุ่มต่าง ๆ ก็ไม่มีความเท่าเทียมกันสูงยิ่งขึ้น

ต่อปรากฎการณ์ความเหลื่อมล้ำนี้ เราอาจไม่สามารถนำแนววิเคราะห์มาร์กซิสต์เพียงอย่างเดียวเพื่อวิเคราะห์บทบาทของชนชั้น เพราะว่าในปัจจุบัน เราก็อยู่ในบริบทการเมืองที่ซับซ้อนจนไม่สามารถหาทางออกด้วยการนำเสนอทางออกเชิงนโยบายในลักษณะเดียวได้ รวมทั้งอุดมคติทางสังคมแบบมาร์กซิสต์ก็เลือนลางไป

ต่อประเด็นการวิเคราะห์ชนชั้น ตัวชี้วัดที่เคยใช้ในการวิเคราะห์ประเด็นเกี่ยวกับชนชั้น เช่น ตัวเลขการโหวตให้กับพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย จำนวนสมาชิกสหภาพแรงงาน จำนวนชนชั้นผู้ใช้แรงงานในแต่ละอุตสาหกรรม ดูเหมือนว่าจะขาดพลังในการอธิบายในเรื่องชนชั้นลงไปมาก หากแต่การกระจายรายได้ที่เลวลง การกระจุกตัวของความมั่งคั่งและการบริโภคที่เหลื่อมล้ำ ยังคงเป็นดัชนีที่น่าสนใจในการวิเคราะห์ลำดับชั้นทางวัตถุ (material hierarchy) ของสังคม และยังแสดงให้เห็นความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ภายใน (internal contradiction) ภายใต้การจัดการระเบียบทางเศรษฐกิจสังคม ซึ่งเป็นเป้าหมายเบื้องต้นของการวิเคราะห์แนวมาร์กซิสต์

หากพิจารณาตัวเลขและดัชนีที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำของรายได้ในโลก พบว่า ในทศวรรษที่ผ่านมา รายได้ประชาชาติต่อหัวของประชากร (GDP per capita) และการบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น (Osberg and Sharpe 2002) นับตั้งแต่ การบริโภคของสินค้าขั้นปฐม สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าบริการ โดยไม่มีสัญญาณการลดต่ำลงแต่อย่างใด (OECD 2002, 2004) ในขณะเดียวกัน การบริโภคมีธรรมชาติที่มีความไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรง กล่าวคือ คนรวยบริโภคในปริมาณมหาศาลสูงกว่าที่คนจนบริโภคหลายต่อหลายเท่า

เนื่องจากรายได้ทำให้ปัจเจกบุคคลมีความสามารถในการบริโภค ดังนั้นหากเปรียบเทียบในด้านของรายได้ พบว่า รายได้กระจุกตัวในประเทศพัฒนาแล้ว กลุ่มผู้ที่มีรายได้ชั้นบนสุด 5% ของประชากรโลก มีรายได้มากกว่าคนจนชั้นล่างสุดถึง 114 เท่า คนรวยในชั้นบนสุด 1% ของโลกมีรายได้รวมกันเท่ากับคนจน 57% ในโลกรวมกัน ในสหรัฐฯ คนรวยชั้นบนสุดจำนวน 25 ล้านคน มีรายได้เทียบเท่ากับรายได้ของคนจนในโลกจำนวนประมาณ 2,000 ล้านคน (Milanovic 2002: 51-92)

หากวัดความเหลื่อมล้ำของรายได้โดยใช้ดัชนี GINI Coefficient Index พบว่า การกระจายรายได้ของโลกแย่ลงมาก ยกตัวอย่างเช่น การกระจายรายได้ของทั้งโลกมีดัชนีมีค่าอยู่ที่ (0.66) ซึ่งถือว่ามีความเหลื่อมล้ำสูงมาก ส่วนบราซิลมีดัชนีมีค่าอยู่ที่ 0.59 ซึ่งถือว่า เป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงประเทศหนึ่ง (UNDP 2003) (ดัชนีมีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 1 ถ้ามีค่าเท่ากับ 0 หมายความว่า การกระจายรายได้มีความเท่าเทียมกันโดยสมบูรณ์ แต่หากมีค่าเท่ากับ 1 หมายความว่า ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในระดับสูงสุด-ผู้แปล)

คนรวยที่สุด 20% ของโลกยึดกุมการบริโภค และเป็นเจ้าของทรัพย์สินเกือบทั้งหมด ส่วนในด้านการบริโภค พบว่า ประชากร 80% ของโลกนับจากผู้มีรายได้ต่ำที่สุดขึ้นมานั้น มีส่วนแบ่งในการบริโภคบุคคล (total private consumption) เพียง 14% ของการบริโภคทั้งหมดในโลก นอกจากนี้การบริโภคมักจะกระจุกตัวอยู่ในประเทศร่ำรวยอีกด้วย

Capabilities Approach (Amartya Sen)
จากปัญหาความเหลื่อมล้ำที่แสดงให้เห็นจากดัชนีชี้วัดการกระจายรายได้ดังที่กล่าวมาแล้ว บทความนี้ได้พยายามเสนอทางออกต่อปัญหาข้างต้น โดยการนำเอาข้อความคิดของ Amartya Sen ที่ใช้กรอบการมองถึง "สมรรถนะของมนุษย์" (capabilities approach) เพื่อวิเคราะห์แบบแผนการบริโภค ทั้งนี้แนวคิดเรื่อง "สมรรถนะ" นับเป็นแนวคิดในการมองความเท่าเทียมซึ่งมีความยืดหยุ่น และยังได้นำปัจจัยความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละสังคมเข้าร่วมการวิเคราะห์ โดยที่ผ่านมา งานวิเคราะห์การบริโภคจำนวนมาก มักจำกัดอยู่กับการมุ่งแยกแยะว่า อะไรคือความต้องการ (wants) อะไรคือความจำเป็นที่แท้จริง (needs) ของมนุษย์ ซึ่งมิได้ต้องการถกเถียงในบทความนี้

ใน "Equality of What ?" อมาตยา เซ็น ให้ความสำคัญกับ "สมรรถนะ (capability)" ซึ่งถือเป็นส่วนขยายของแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมของสำนัก Rawlsian , "สมรรถนะ" นี้ เกี่ยวข้องกับ "สมรรถนะ" ของปัจเจกบุคคลในการบรรลุเป้าหมายที่แน่นอนอย่างหนึ่ง,

- "สมรรถนะ" ที่ตนจะเป็นบุคคลที่ตนอยากจะเป็น, และ
- "สมรรถนะ" ในการนำพาชีวิตไปในหนทางที่ตนปรารถนา

แนวความคิดนี้ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมผู้บริโภคและทางเลือกของมนุษย์ มิใช่เพียงแต่มุ่งหาเพียงมาตรการจัดการทางเศรษฐกิจอย่างเดียว

หากขยายข้อความคิดข้างต้นออกไป กล่าวได้ว่า การบริโภคจะเป็นที่ยอมรับในทางจริยธรรมได้ก็ต่อเมื่อคนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปอยู่ในเงื่อนไขที่มี "สมรรถนะ" อย่างเท่าเทียมกัน (equality of capability) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในลัทธิบริโภคนิยมปัจจุบันคือ การบริโภคมีความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น คนจำนวนหยิบมือเดียวบริโภคมากกว่าคนส่วนใหญ่ และมันยังดำเนินไปโดยมิได้คำนึงถึงปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

จุดมุ่งหมายการบริโภคที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
หากการบริโภคมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสมบูรณ์ทางกายภาพ ทางสติปัญญา และทางอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ การบริโภคก็ควรเป็นสิทธิที่ทุกคนได้รับเท่าๆ กัน และถ้าการบริโภคสามารถทำให้การครอบครอง และ/หรือการบริโภคสินค้าเอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง หรือเติมเต็มตนเองของมนุษยชาติ การบริโภคก็จะเป็นที่ยอมรับได้มาก แต่มันก็ไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

Bauman ระบุว่า สังคมผู้บริโภคและลัทธิบริโภคนิยมรูปแบบต่างๆ ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้ "เพียงพอ" ทว่า ลมหายใจ (spiritus movens) ของกิจกรรมของผู้บริโภค เป็นเรื่องของการตอบสนองต่อแรงปรารถนาของมนุษย์ มิใช่เพียงการตอบสนองต่อชุดความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ถูกจัดการให้มันถูกต้องเท่านั้น (2001: 13)

ท่ามกลางคำอธิบายการบริโภคของหลายแนวคิด เช่น การอธิบายว่า

- สังคมทุนนิยมไม่ได้กำหนดหรือชี้นำแบบแผนการบริโภคผ่านโมเดลวัฒนธรรมบริโภคทั้งหมด แต่ผู้บริโภคมีการตัดสินใจเลือกอย่างเสรีด้วย
(Adorno and Horkheimer 1972; Marcuse 1964) หรือการอธิบายว่า

- การโฆษณามิได้กำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเบ็ดเสร็จ เพียงแต่ช่วยจัดรูปร่างให้กับทัศนคติของผู้บริโภคเท่านั้น
(Bauman 2001; Ohmann 1996)

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการบริโภคยังคงเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันเป็นสะท้อนถึงปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคม บทความนี้จึงให้ความสำคัญกับการบริโภคในแง่ที่ว่า เหตุใดการบริโภคจึงมีความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นทุกขณะ

เพื่อตอบคำถามข้างต้น ในส่วนต่อไป ผู้เขียนถกเถียงถึงการเปลี่ยนผ่านระบอบการสะสมทุนจากยุคฟอร์ดไปสู่ยุคหลังฟอร์ด นับตั้งแต่ การพัฒนาวิถีการผลิตและแบบแผนการบริโภคในยุคหลังฟอร์ดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการกระจายการบริโภคที่กว้างขวาง ในการรักษาอัตราการสะสมทุนก็ไม่จำเป็นต้องกระจายการบริโภคให้แต่ละบุคคลได้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งการบริโภคยุคหลังฟอร์ดก็เกี่ยวข้องกับการสถาปนาแนวคิดเสรีนิยมใหม่ด้วย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++(อ่านบทความนี้ต่อเนื่องลำดับที่ ๑๖๕๙)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ : Release date 01 November 2008 : Copyleft MNU.

งานเขียนที่มีชื่อเสียงในอดีตของ Victor Lebow ในปี 1955 ที่กล่าวถึงแบบแผนการบริโภคของชาวอเมริกันว่า " เป็นระบบเศรษฐ กิจซึ่งเน้นการผลิตในปริมาณมหาศาล...ต้องการให้การบริโภคเป็นวิถีชีวิตของคนอเมริกัน เปลี่ยนการซื้อสินค้าและการใช้สินค้าให้กลายมาเป็นพิธีกรรม เพื่อให้พวกเราแสวงหาความพึงพอใจทางจิตวิญญาณ ความพึงใจของตัวตน, ในการบริโภคนั้น เรามีความจำเป็นที่จะต้องทำให้สินค้าถูกบริโภค ถูกเผาผลาญ ถูกแทนที่ และถูกทิ้งขว้าง ในอัตราเร่งสูงสุด" ในปัจจุบัน สุข-บริโภคนิยม กลายมาเป็นแนวคิดที่ชี้นำการบริโภคในตะวันตก เมื่อผลิตผลของคนงานถูกบริโภคทันทีทันใด หรือถูกจับจองไว้ล่วงหน้าเพื่อบริโภค การผลิตเดินหน้าเต็มที่เพื่อผลิตสินค้าเพื่อผู้บริโภค โดยมีสื่อสารมวลชนเป็นส่วนสำคัญ...

H