ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




17-10-2551 (1651)

ศัพทานุกรมศิลปะ: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะตะวันตก
สารานุกรมศิลปะ: PICASSO, ART MUSEUM,
AND PRINCETON ART MUSEUM
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

สารานุกรมศิลปะต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแนะนำคำศัพท์ศิลปะสำหรับผู้เริ่มต้น
ซึ่งจะให้ภาพและความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ด้านศิลปะและสถาบันศิลปะพื้นฐาน โดยลำดับดังนี้

1. Pablo Picasso (ประกอบด้วยหัวข้อย่อยคือ)

- วัยเยาว์ของปิคาสโซ
- เข้าศึกษาในโรงเรียนศิลปะ
- ชีวิตส่วนตัวของปิคาสโซ
- ชีวิตรัก และการตกเป็นจำเลยขโมยภาพโมนาลิซา
- ปิคาสโซกับสงครามโลกครั้งที่ ๒
- บทส่งท้าย: แนวคิดทางการเมืองของปิคาสโซ

2. ความเป็นมาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะ(ประกอบด้วยหัวข้อย่อยคือ)

- ประเภทของห้องแสดงงานศิลปะ
- ห้องแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัย
- งานทัศนศิลป์ที่ไม่นิยมนำเสนอในห้องแสดงงานศิลปะ

3. พิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยพรินสตัน (ประกอบด้วยหัวข้อย่อยคือ)

- ทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน โดยสังเขป
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยพรินสตัน
- แนวคิดการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และสมบัติสะสม

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๕๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ศัพทานุกรมศิลปะ: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะตะวันตก
สารานุกรมศิลปะ: PICASSO, ART MUSEUM,
AND PRINCETON ART MUSEUM
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

สารานุกรมศิลปะ: PICASSO, ART MUSEUM, AND PRINCETON ART MUSEUM

1. Pablo Picasso

Pablo Diego Jose Francisco de Paula Juan Nepomuceno Mar?a de los Remedios Cipriano de la Sant?sima Trinidad Martyr Patricio Clito Ru?z y Picasso (25 ตุลาคม 1881 - 8 เมษายน 1973) เป็นจิตรกรเชื้อสายแอนดาลูเซียน-สแปนิช นอกจากนี้เขายังเป็นประติมากร และนักวาดเส้นด้วย ปิคาสโซนับเป็นหนึ่งในศิลปินที่มีชื่อเสียงในคริสตศตวรรษที่ 20 และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งขบวนการศิลปะคิวบิสม์ (ผลงานศิลปะที่ประกอบสร้างขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิต) และลักษณะหลากหลายสไตล์ที่รวมอยู่ในผลงานของเขา ในท่ามกลางผลงานอันมีชื่อเสียงของปิคาสโซนั้น ผลงานอันโดดเด่นคือภาพ Les Demoiselles d'Avignon (1907) และภาพเขียนเกี่ยวกับการที่เยอรมันทิ้งระเบิดที่เมืองเกอนิกา ช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองสแปนิช ในชื่อภาพ Guernica (1937)

วัยเยาว์ของปิคาสโซ
ปิคาสโซน้อยได้แสดงถึงทักษะและความสามารถมาตั้งแต่วัยเด็กในเรื่องของการวาดเส้น ตามที่แม่ของเขาเล่าไว้ ชื่อที่เป็นวลีแรกๆ ของเขาคือ "piz, piz", เป็นคำย่อของคำในภาษาสเปนที่หมายถึงดินสอ(pencil). นับจากวัยเพียง 7 ขวบ ปิคาสโซก็ได้รับการฝึกฝนทางด้านศิลปะอย่างเป็นทางการแล้วโดยพ่อของเขา ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพคน และการวาดภาพสีน้ำมัน. พ่อของเขาเป็นศิลปินที่เขียนภาพแบบจารีต และเป็นครูสอนศิลปะที่เชื่อว่า การฝึกฝนทางด้านศิลปะอย่างเหมาะสม จะต้องคัดลอกผลงานศิลปะของบรรดาปรมาจารย์ทั้งหลายอย่างมีวินัย และต้องฝึกหัดวาดเส้นภาพร่างกายคนทั้งตัวจากหุ่นปูนปลาสเตอร์ และแบบคนที่มีชีวิต

ครอบครัวของปิคาสโซได้ย้ายไปอยู่ที่ La coruna ในปี ค.ศ.1891 ซึ่งที่นั่น พ่อของเขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์และทำการสอนอยู่ที่สถาบันศิลปะ พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นราว 4 ปี. ในช่วงที่พำนักอยู่ที่นั่น พ่อของเขาค้นพบว่า งานจิตรกรรมภาพสเก็ตรูปนกพิราบของบุตรชายเหนือกว่าฝีมือของเขา โดยสังเกตอย่างถี่ถ้วนในด้านเทคนิคของลูกชาย เขารู้สึกว่าปิคาสโซในวัย 13 ขวบได้ล้ำหน้าไปกว่าเขามาก และด้วยเหตุดังนั้น เขาจึงปฏิญานตนเลิกเขียนรูปอีกต่อไป

เข้าศึกษาในโรงเรียนศิลปะ
ในปี ค.ศ.1895 น้องสาววัย 7 ขวบของปิคาสโซ, Conchita ถึงแก่กรรมด้วยโรคคอตีบ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ได้สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวต่อจิตใจแก่ปิคาสโซเป็นอันมาก จากนั้นครอบครัวก็ได้ย้ายไปอยู่ที่บาร์ซีโลนา (Barcelona), พ่อของเขาได้งานที่สถาบันสอนศิลปะ ในขณะที่ปิคาสโซเจริญเติบโตในเมืองใหญ่นี้ ซึ่งเป็นห้วงที่เขาตกอยู่ในภาวะเศร้าโศกและการหวนหาอดีตอันมีความสุขเกี่ยวกับบ้านเดิมของตน พ่อของเขาได้โน้มน้าวให้บรรดาเจ้าหน้าที่ยินยอมให้บุตรชายเข้าสอบในชั้นเรียน ซึ่งปกติแล้วกระบวนการนี้ นักศึกษาต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน แต่ปิคาสโซใช้เวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียวเท่านั้น คณะกรรมการรู้สึกประทับใจมากและยินยอมรับปิคาสโซให้เข้าเรียน ซึ่งขณะนั้นเขาอายุเพียง 13 ปีเท่านั้น

ปิคาสโซในฐานะนักศึกษา แต่ขาดเสียซึ่งวินัย อย่างไรก็ตาม เขาได้สร้างมิตรภาพเอาไว้มากซึ่งมีผลกับชีวิตของเขาต่อมาในภายหลัง พ่อของเขาได้เช่าห้องเล็กๆ ให้แก่เขาห้องหนึ่งซึ่งไม่ไกลจากบ้าน ดังนั้นปิคาสโซจึงสามารถทำงานได้ลำพังตนโดยไม่มีใครรบกวน พ่อของเขายังคงจับตาเขาตลอดเวลา คอยวิพากษ์วิจารณ์งานวาดเส้นของเขา ทั้งคู่ต่างถกเถียงกันอยู่เสมอ

ลุงและพ่อของปิคาสโซตัดสินใจที่จะส่งเขา ในฐานะศิลปินรุ่นเยาว์ไปยังแมดริด ที่ Royal Academy of San Fernando, ซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนสอนศิลปะที่ก้าวหน้าของประเทศ. ในปี 1897 ปิคาสโซอายุได้ 16 ปี และเริ่มออกเดินทางด้วยตัวเอง กระนั้นก็ตาม การยอมรับได้ยากของเขาต่อระบบการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการ ทำให้เขายุติการเข้าชั้นเรียนหลังจากลงทะเบียน แต่อย่างไรก็ตาม แมดริดได้สร้างความสนใจให้ในหลายๆ ด้าน อาทิเช่น ผลงานจิตรกรรม the Prado housed paintings โดยศิลปินที่น่านับถือ อย่าง Diego Velazquez, Francisco Goya, และ Francisco Zurbaran. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปิคาสโซชื่นชมในผลงานของ El Greco; ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยองค์ประกอบต่างๆ อย่างแขน ขา ลำตัวที่ยืดออก, สีสรรที่ดึงดูดความสนใจ, ลักษณะใบหน้าที่ดูลึกลับ ที่ต่อมาได้สะท้อนอยู่ในภาพผลงานของปิคาสโซ



(ภาพประกอบ ผลงานจิตรกรรมของEl Greco)

ชีวิตส่วนตัวของปิคาสโซ (Personal life)
หลังจากเรียนศิลปะที่แมดริด ปิคาสโซได้เดินทางไปยังกรุงปารีสครั้งแรกในปี ค.ศ.1900 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว ปารีสถือเป็นเมืองหลวงทางด้านศิลปะของยุโรป. ณ ที่นั้น เขาได้พบกับเพื่อนที่เป็นชาวปารีส นักหนังสือพิมพ์และกวี นาม Max Jacob, ซึ่งช่วยปิคาสโซเรียนรู้ด้านภาษาและวรรณกรรม ในไม่ช้าพวกเขาก็แบ่งปันห้องเช่าในอพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่ง. แม็กซ์นอนในตอนกลางคืน ขณะที่ปิคาสโซนอนตอนกลางวัน และทำงานในตอนกลางคืน. ห้วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ยากจนข้นแค้นอย่างสุดๆ สาพอากาศหนาวเย็นและสิ้นหวัง. ผลงานของปิคาสโซจำนวนมากได้ถูกเผาเพื่อแลกกับความอบอุ่นในห้องเล็กๆ

แมดริดในปี 1901 นั้น เป็นปีที่ปิคาสโซและเพื่อนซึ่งฝักใฝ่แนวคิดอนาธิปไตย นามว่า Francisco de As?s Soler ได้ก่อตั้งนิตยสาร Arte Joven (Young Art), ซึ่งได้มีการตีพิมพ์ออกมา 5 ฉบับ. Soler ทำหน้าที่ เป็นคนหาบทความมาลง ส่วนปิคาสโซทำหน้าที่เขียนภาพประกอบนิตยสาร ส่วนใหญ่เป็นรูปการ์ตูนที่ดูขึงขัง ซึ่งบ่งถึงและแสดงความเห็นอกเห็นใจภาวะของผู้ยากไร้ นับจากวันเวลานั้น เขาเริ่มเซ็นชื่อผลงานของตนเองว่า Picasso เฉยๆ, ขณะที่ก่อนหน้านี้ เขาจะลงชื่อในภาพเขียนว่า Pablo Ruiz y Picasso.

ชีวิตรัก และการตกเป็นจำเลยขโมยภาพโมนาลิซา
ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ปิคาสโซได้แบ่งเวลาของเขาระหว่างบาร์เซโรนาและปารีส. ในปี 1904 ในช่วงระหว่างกลางของความโกลาหล เขาได้พบกับ Fernande Olivier, ศิลปินโบฮีเมียนซึ่งต่อมากลายเป็นภรรยาลับ ภาพของ Olivier ปรากฏอยู่ในผลงานจิตรกรรมยุคกุหลาบ (Rose period paintings) ของเขา. หลังจากประสบกับความมีชื่อเสียงและโชคลาภ ปิคาสโซได้ละจากโอลิเวียร์ ไปสู่ Marcelle Humbert, ซึ่งเขามักจะเรียกเธอว่า Eva. ปิคาสโซ ได้ประกาศถึงความรักของเขาที่มีต่ออีวา ในงานคิวบิสท์หลายๆ ภาพของตน

ในปารีส, ปิคาสโซรับรองแขกซึ่งเป็นเพื่อนกลุ่มเล็กๆ ที่โดดเด่นและสนใจเรื่องเดียวกันในที่พัก Montmartre และ Montparnasse เพื่อนของเขาประกอบด้วย Andre Breton, นักกวี Guillaume Apollinaire, นักเขียน Alfred Jarry, และ Gertrude Stein. สำหรับ Apollinaire ต่อมาถูกจับกุมในฐานะตกเป็นผู้ต้องสงสัยในการขโมยภาพ Mona Lisa จากพิพิธภัณฑ์ Louvre ในปี ค.ศ. 1911. Apollonaire ได้ชี้ไปยังเพื่อนของเขาปิคาสโซ, ซึ่งได้ถูกนำตัวมาสอบสวนด้วยเช่นกัน แต่ภายหลังทั้งคู่หลุดพ้นจากข้อกล่าวหา และได้รับการปล่อยตัว

เขายังคงมีความสัมพันธ์กับภรรยาลับหลายคนไว้ ทั้งที่ยังคงอยู่กับภรรยาของเขาคนเดิม ปิคาสโซได้แต่งงานเป็นครั้งที่สองและมีลูกด้วยกัน 4 คนโดยสามคนเป็นหญิง ในช่วงฤดูร้อนของปี 1918 ปิคาสโซได้แต่งงานกับ Olga Khokhlova ซึ่งเป็นนักเต้นบัลเล่ต์หญิงร่วมกับคณะของ Sergei Diaghilev สำหรับเธอแล้ว ปิคาสโซกำลังออกแบบภาพเกี่ยวกับบัลเล่ต์, ในชื่อภาพ Parade, Khokhlova ได้แนะนำปิคาสโซกับสังคมชนชั้นสูง นำเขาออกงานดินเนอร์อย่างเป็นทางการ และงานสังคมของพวกคนรวยในช่วงทศวรรษที่ 1920s ของปารีส. ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง ชื่อ Paulo ซึ่งเจริญเติบโตขึ้นเป็นนักแข่งมอเตอร์ไซค์ที่ค่อนข้างทำตัวเหลวแหลก และทำหน้าที่เป็นคนขับรถให้พ่อของเขา. นอกจากความสัมพันธ์ที่มีต่อ Olga Khokhlova แล้ว ปิคาสโซยังมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงอื่นๆ อีกหลายคนในประวัติชีวิตของเขา แม้กระทั่งก่อนที่เขาจะถึงแก่กรรม

ปิคาสโซกับสงครามโลกครั้งที่ 2
ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ปิคาสโซยังคงพำนักอยู่ในปารีส ขณะที่ฝ่ายเยอรมันเข้ายึดครองเมืองนี้ สไตล์การทำงานทางด้านศิลปะของปิคาสโซ ไม่เป็นที่ถูกใจในทัศนะทางศิลปะของพวกนาซี ด้วยเหตุดังนั้น เขาจึงไม่สามารถที่จะแสดงผลงานของตนในช่วงเวลาดังกล่าวได้. แม้จะถอยห่างจากสตูดิโอการทำงานของเขา แต่ปิคาสโซยังคงเขียนภาพอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้เยอรมันจะทำให้การหล่อบรอนส์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในปารีส แต่ปิคาสโซกลับไม่ให้ความเอาใจใส่ มีการใช้บรอนส์อย่างเป็นปกติโดยมีการลักลอบส่งมาถึงเขาโดยพวกต่อต้านชาวฝรั่งเศส

หลังจากการปลดปล่อยปารีสในปี 1944 ปิคาสโซเริ่มสมาคมกับนักศึกษาศิลปะรุ่นเยาว์คนหนึ่ง นามว่า Francoise Gilot. ในท้ายที่สุด ทั้งสองกลายเป็นคู่รักกัน และได้มีลูกด้วยกันสองคน, Claude และ Paloma. โดยเฉพาะท่ามกลางผู้หญิงของปิคาสโซ Gilot ได้ละทิ้งจากปิคาสโซไปในช่วงปี 1953 เนื่องจากมีการกล่าวหาว่า เขากระทำการรุนแรงและมีการนอกใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำร้ายปิคาสโซอย่างมาก เขาต้องผ่านห้วงเวลาที่ค่อนข้างยุ่งยากนี้เกี่ยวกับการตีจากของ Gilot ไปสู่วัยที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการรับรูของเขาว่า มาถึงตอนนี้ในช่วงทศวรรษที่ 70s เขาไม่ได้เป็นที่ดึงดูดใจอีกต่อไปแล้ว และค่อนข้างเป็นพวกวิตถารสำหรับสำหรับหญิงสาวทั้งหลาย

ผลงานวาดเส้นด้วยน้ำหมึกจำนวนมากในช่วงเวลานี้ได้เปิดเผยให้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนแก่น่าเกลียด รูปร่างแคระแกร็นคล้ายๆ พวกตัวตลกที่ต้องเผชิญหน้ากับหญิงสาวสวย รวมไปถึง การมีความสัมพันธ์เพียง 6 สัปดาห์กับ Genevieve Laporte, ผู้ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2005 ได้มีการเปิดประมูลภาพผลงานวาดเส้นต่างๆของปิคาสโซที่เขียนรูปเกี่ยวกับตัวเธอ

วัยชรา และบ้านหลังใหญ่
ปิคาสโซได้ก่อสร้างอาคารขนาดมหึมาในสไตล์กอธิค และจัดให้มีวิลล่าหรือบ้านพักตากอากาศหลังใหญ่หลายหลังในทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ณ Notre-dame-de-vie ซึ่งอยู่ในเขตชานเมืองของ Mougins, ใน Provence-Alpes-Cote d'Azur. โดยในช่วงเวลานี้เขาเป็นคนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง บ่อยครั้ง ได้ให้ความสนใจมากในเรื่องชีวิตส่วนตัว เช่นเดียวกับการให้ความใส่ใจในเรื่องของศิลปะ

นอกจากการประสบความสำเร็จในทางศิลปะนานาชนิด ปิคาสโซยังมีอาชีพเกี่ยวกับภาพยนตร์ด้วย รวมถึงการปรากฏตัวใน Jean Cocteau's Testament of Orpheus. ปิคาสโซมักจะแสดงตัวของเขาเองในภาพยนตร์ของตน. ในปี ค.ศ.1955 เขาได้ช่วยสร้างภาพยนตร์เรื่องThe Mystery of Picasso ซึ่งได้รับการกำกับโดย Henri-Georges Clouzot.

ปาโบล ปิคาสโซ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 1973 ใน Mougins, ฝรั่งเศส ขณะนั้นเขาและภรรยาแจ็คเกอรีน(Jacqueline) กำลังให้การต้อนรับเพื่อนๆ สำหรับมื้อเย็น คำพูดสุดท้ายของเขาคือ "ดื่มให้กับผม ดื่มให้สุขภาพของผม คุณต่างรู้ว่า ผมไม่สามารถดื่มได้อีกต่อไปแล้ว" ("Drink to me, drink to my health, you know I can't drink any more.") ร่างของเขาได้ถูกฝังที่ Castle Vauvenargues' park, ใน Vauvenargues, Bouches-du-Rhone. ในฐานะภรรยาคนสุดท้าย แจ็คเกอรีน ปกป้องมิให้ Claude และ Paloma (ลูกของปิคาสโซ) เข้ามาร่วมในงานพิธีฝังศพครั้งนี้

บทส่งท้าย: แนวคิดทางการเมืองของปิคาสโซ (Political views)
ปิคาสโซวางตัวเป็นกลางในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1, สงครามกลางเมืองของสเปน, และสงครามโลกครั้งที่สอง เขาปฏิเสธที่จะต่อสู้ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บางคนในยุคร่วมสมัยเดียวกันกับเขารู้สึกว่า ความรักสงบและสันติภาพของเขาเกี่ยวพันกับความขี้ขลาดยิ่งกว่าหลักการใดๆ. ในบทความชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร The New Yorker เรียกเขาว่า "คนขี้ขลาด ซึ่งนั่งนอนอยู่ภายนอกสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในขณะที่บรรดาเพื่อนๆ ของเขากำลังตกทุกข์ได้ยากและกำลังตายลงทีละคน"

ในฐานะพลเมืองสเปนคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส ปิคาสโซมิได้อยู่ภายใต้การบังคับให้ต้องต่อสู้กับการรุกรานของเยอรมันในสงครามโลกแต่อย่างใด. ในสงครามกลางเมืองสเปน ในฐานะพลเมืองสเปนที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ เขามีทางเลือกและมีความผูกพันในฐานะอาสาสมัครที่จะหวนกลับไปยังประเทศของตนเพื่อร่วมรบในสงคราม ปิคาสโซได้แสดงอาการโกรธเกรี้ยว และประณามความเป็นเผด็จการของ Francisco Franco โดยผ่านผลงานศิลปกรรมของเขา โดยไม่ได้มีการจับอาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารเพื่อทำร้ายใคร เขายังคงห่างเหินและโดดเดี่ยวจากขบวนการปลดปล่อยเพื่อความเป็นอิสระ Catalan (เมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน) ด้วย ในช่วงที่เขายังเยาววัย ทั้งที่มีการแสดงออกในเชิงสนับสนุนทั่วไป และมีมิตรภาพอันดีต่อกลุ่มกิจกรรมต่างๆ พวกนั้น

ในปี ค.ศ.1944 ปิคาสโซได้ร่วมกับพรรคการเมือง the French Communist Party, ซึ่งได้จัดให้มีการประชุมสันติภาพระหว่างประเทศในโปแลนด์ และในปี 1950 เขาได้รับรางวัล Stalin Peace Prize จากรัฐบาลสหภาพโซเวียด. แต่การวิจารณ์พรรคเกี่ยวกับภาพเหมือนของสตาลิน ในฐานะที่ไม่เหมือนจริงเพียงพอ ได้สร้างความเย็นชาและคลายความสนใจของปิคาสโซ ต่อการเมืองคอมมิวนิสท์ แม้ว่าเขายังคงความเป็นสมาชิกที่ซื่อสัตย์ของพรรคคอมมิวนิสท์จนกระทั่งวาระสุดท้ายก็ตาม

ในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง ปี 1945 โดย Jerome Seckler, ปิคาสโซกล่าวว่า: ผมเป็นคอมมิวนิสท์ และภาพเขียนของผมก็เป็นจิตรกรรมคอมมิวนิสท์... แต่ถ้าผมเป็นช่างทำรองเท้า ความเป็นพวกนิยมราชวงศ์หรือเป็นคอมมิวนิสท์ หรือจะอะไรก็ตาม ก็จะไม่มีความจำเป็นที่จะทำให้ผมตอกรองเท้าด้วยวิธีการที่พิเศษใดๆ เพื่อแสดงถึงความฝักใฝ่ทางการเมืองของผม" เขาขัดแย้งกับการแทรกแซงขององค์การสหประชาชาติ และสหรัฐอเมริกา ในสงครามกลางเมืองเกาหลี และได้เขียนภาพเรื่องราวนี้ใน Massacre in Korea.

ในปี ค.ศ.1962 เขาได้รับรางวัลสันติภาพเลนิน(the International Lenin Peace Prize)

(ภาพประกอบ ผลงานของ Picasso ชื่อภาพ Guernica)

2. ความเป็นมาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะ
ห้องแสดงงานศิลปะ หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะในโลกตะวันตก คือพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการศิลปะ ปกติแล้วเป็นผลงานทางด้านทัศนศิลป์ ยกตัวอย่างเช่น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตาม งานภาพถ่าย ภาพประกอบ และผลงานศิลปะแบบติดตั้งที่เรียกว่า installation art และวัตถุต่างๆ ทางด้านงานประยุกต์ศิลป์ อาจได้รับการนำออกแสดงเช่นเดียวกัน แม้ว่าโดยทางการแล้ว พิพิธภัณฑ์ศิลปะ จะให้ความเอาใจใส่ต่อการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อนำเสนอผลงานทางทัศนศิลป์ แต่บางครั้ง ก็ถูกใช้เป็นสถานที่รองรับกิจกรรมทางด้านศิลปะอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น การแสดงดนตรี หรือการอ่านบทกวี เป็นต้น

ประเภทของห้องแสดงงานศิลปะ (Types of galleries)
ศัพท์คำนี้ถูกใช้ทั้งในส่วนของห้องแสดงงานศิลปะที่เป็นสาธารณะ (public galleries) เช่น พิพิธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแสดงผลงานศิลปะสะสมที่ได้รับการเลือกสรร และห้องแสดงงานศิลปะส่วนตัว (private galleries) ซึ่งหมายถึงธุรกิจการขายงานศิลปะ แต่อย่างไรก็ตาม ห้องแสดงงานทั้งสองประเภท อาจใช้เป็นพื้นที่รองรับนิทรรศการชั่วคราว และรวมถึงผลงานศิลปะที่หยิบยืมมากจากที่อื่นๆ ได้

ห้องแสดงงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ (Galleries in Museums)
ห้องต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ซึ่งถูกจัดให้แสดงผลงานศิลปะแก่สาธารณชน บ่อยครั้งมักหมายรวมถึงห้องแสดงงานต่างๆ ที่ถูกอุทิศให้กับผลงานศิลปะในยุคอียิปต์โบราณ ซึ่งเรียกว่า ห้องอียิปต์(Egypt Gallery) เป็นตัวอย่าง

ห้องแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัย (Contemporary Art Gallery)
ศัพท์คำว่า contemporary art gallery (ห้องแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัย) ปกติแล้ว ในโลกตะวันตกหมายถึง ห้องแสดงผลงานศิลปะส่วนตัวที่เน้นในเรื่องการพาณิชย์ ห้องแสดงภาพเหล่านี้ได้รับการสร้างขึ้นรวมอยู่ในกลุ่ม ณ ศูนย์กลางของเมืองขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น The Chelsea district ของมหานครนิวยอร์ค ได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของศิลปกรรมร่วมสมัยโลก. ส่วนในชุมชนขนาดเล็ก อาจมีห้องแสดงงานศิลปะทำนองนี้เช่นกัน อันเป็นสถานที่พบปะชุมนุมกันของบรรดาศิลปินทั้งหลาย

โดยปกติแล้ว ห้องแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัย จะเปิดให้ผู้คนเข้าชมโดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ แต่อย่างไรก็ตาม บางสถานที่ก็เป็นห้องแสดงงานศิลปะกึ่งส่วนตัว. ห้องแสดงผลงานศิลปะเหล่านี้มีวิธีการทำกำไรด้วยการลดราคาผลงานศิลปะ บางครั้ง 25-50 เปอร์เซ็นต์. นอกจากนี้ยังมีห้องแสดงผลงานศิลปะจำนวนมากที่มิได้ทำเพื่อหวังผลกำไร เพียงเป็นห้องรวบรวมและแสดงงานศิลปะ บางห้องแสดงภาพผลงานศิลปะในเมืองใหญ่ๆ อย่าง โตเกียว จะเก็บค่าเข้าชมจากศิลปินทั้งหลายด้วยอัตราตายตัวตลอดทั้งวัน แม้ว่าการทำเช่นนี้จะไม่เป็นที่พึงพอใจในตลาดศิลปะต่างๆ ระดับนานาชาติก็ตาม. ห้องแสดงงานศิลปะ บ่อยครั้งจะแขวนงานศิลปะของศิลปินแสดงเดี่ยว ส่วนภัณฑารักษ์มักจะนำเสนอผลงานแสดงของศิลปินเป็นกลุ่มๆ ซึ่งบรรดาศิลปินเหล่านั้นได้พูดถึงบางสิ่งบางอย่างในแนวทางเดียวกัน

งานทัศนศิลป์ที่ไม่นิยมนำเสนอในห้องแสดงงานศิลปะ (Visual art not shown in a gallery)
ผลงานบนกระดาษ อย่างเช่น งานวาดเส้น และงานภาพพิมพ์ของบรรดาศิลปินระดับปรมาจารย์ ปกติแล้วจะไม่ถูกเลือกโดยภัณฑารักษ์ทั้งหลายให้จัดแสดง ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และผลงานที่กล่าวถึงเหล่านี้ จะมีการสะสมและจัดแสดงในห้องภาพพิมพ์ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ อยู่แล้ว. และโดยทั่วไป งานจิตรกรรมฝาผนังยังคงได้รับการเขียนอยู่ แม้ว่าจำนวนมากของผลงานประเภทนี้จะได้รับการเคลื่อนย้ายไปยังห้องแสดงภาพต่างๆ รูปแบบอันหลากหลายของผลงานในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวอย่างเช่น land art (ศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นบนพื้นดิน) และ performance art (ศิลปะการแสดงที่แสดงโดยศิลปิน - ไม่ใช่โดยนักแสดง) ปกติแล้ว จะถูกนำเสนออยู่นอกห้องแสดงผลงานศิลปะ

นอกจากที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีสถานที่แสดงผลงานศิลปะ เรียกว่า "สวนประติมากรรม"(sculpture garden or sculpture park), ซึ่งนำเสนองานประติมากรรมที่นอกตัวอาคาร ผลงานประติมากรรมแบบติดตั้ง(Sculpture installation) ปัจจุบันดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูง และมีการนำเสนอเพียงชั่วคราวระหว่างการแสดงนิทรรศการคล้ายกับงานเฉลิมฉลองต่างๆ

3. พิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยพรินสตัน

ทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน โดยสังเขป
มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน (Princeton University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มุ่งทางด้านงานวิจัย ซึ่งมีนักศึกษาชายหญิงเรียนร่วมกัน สถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นหนึ่งในแปดมหาวิทยาลัยที่จัดอยู่ในกลุ่ม Ivy League (*) แต่เดิมได้รับการก่อตั้งขึ้นที่ Elizabeth, New Jersey, ในปี ค.ศ.1746 ในฐานะที่เป็นวิทยาลัย the College of New Jersey, ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่ตั้งไปยัง Princeton ในปี ค.ศ.1756 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน ในปี ค.ศ.1896.

(*)The Ivy League is an athletic conference comprising eight private institutions of higher education located in the Northeastern United States. The term is now most commonly used to refer to those eight schools considered as a group. The term has connotations of academic excellence, selectivity in admissions, and a reputation for social elitism.

มหาวิทยาลัยพรินส์ตันคือสถาบันอุดมศึกษาลำดับที่ 4 ในสหรัฐอเมริกาที่มีชั้นเรียนต่างๆ. มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่เคยมีความเกี่ยวพันทางด้านศาสนาอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับว่าหายากมากท่ามกลางมหาวิทยาลัยต่างๆ ของอเมริกันในยุคเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม มีครั้งหนึ่งซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ผูกพันอย่างใกล้ชิดกับศาสนาคริสต์นิกายเพรสไบทีเรียน แต่ทุกวันนี้พรินส์ตันถือเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่สังกัดนิกายศาสนาใด และไม่เรียกร้องต้องการเรื่องทางศาสนากับบรรดานักศึกษา

โดยจารีต มหาวิทยาลัยพรินส์ตันจะเพ่งความสนใจไปที่การศึกษาระดับปริญญาตรีและงานวิจัยทางวิชาการ แม้ว่าไม่กี่ทศวรรษที่เพิ่งผ่านมานี้ สถาบันแห่งนี้ได้ให้ความเอาใจใส่ในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และได้มีการเรียนการสอนระดับมหาบัณฑิตและโครงการดุษฎีบัณฑิตอย่างหลากหลายสาขาวิชา. ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยพรินส์ตันได้ครอบครองหนังสือตำราราว 6 ล้านเล่ม ท่ามกลางคณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย, สำนักวิจัยต่างๆ อย่างเช่น มานุษยวิทยา, ภูมิฟิสิกส์(geophysics), กีฏวิทยา, และหุ่นยนต์ศาสตร์ ขณะที่แคมปัส Forrestal Campus มีความเชี่ยวชาญและความสะดวกสบายต่างๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพลาสมาฟิสิกส์ และอุตินิยมวิทยา

มหาวิทยาลัยพรินส์ตันจัดอยู่ในท่ามกลางมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความร่ำรวยที่สุด ด้วยเงินบริจาคถึง 15.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อจัดลำดับแล้วถือว่าใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในสหรัฐอเมริกา เมื่อดูจากเงินบริจาคเทียบกับจำนวนนักศึกษา มหาวิทยาลัยพรินส์ตันถือว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดในโลก. อันนี้เป็นไปอย่างมั่นคงโดยผ่านการบริจาคต่อเนื่องของบรรดาศิษย์เก่า และได้รับการธำรงรักษาโดยบรรดาที่ปรึกษาการลงทุนต่างๆ. ความมั่งคั่งอื่นๆ ของพรินส์ตันก็คือการลงทุนในพิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการสะสมภาพผลงานศิลปะของ Claude Monet และ Andy Warhol, ท่ามกลางบรรดาศิลปินที่โดดเด่นคนอื่นๆ

พิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยพรินสตัน
ประวัติความเป็นมา
สำหรับการก่อตัวของพิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยพรินสตัน เริ่มขึ้นจากปี ค.ศ.1880 อธิการบดี James McCosh (อธิการบดีคนที่ ๑๑ ของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน สหรัฐอเมริกา) ได้มอบหมายให้ William C. Prime (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเดียวกัน ซึ่งสนใจในประวัติศาสตร์ศิลปะ และทำการสอนมาตั้งแต่ปี 1843) และนายพล George McClellan เพื่อทำรายงานต่อคณะกรรมการจัดการทรัพย์สิน ในการก่อตั้งภาควิชาศิลปะ

William C. Prime มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่า ผลงานศิลปะที่เป็นของแท้ดั้งเดิม คือแก่นสารสำคัญในการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ และด้วยเหตุดังนั้น พิพิธภัณฑ์ศิลปะควรได้รับการก่อตัวขึ้นในการเเป็นตัวต่อหรือเชื่อมสัมพันธ์กับภาควิชาศิลปะและโบราณคดี โดยการเพิ่มเติมการสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะนี้ ด้วยการทำให้มั่นใจว่า การเก็บสะสมเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องลายครามของเขาจะต้องได้รับการเก็บรักษาเอาไว้ในอาคารที่ทนไฟอย่างสมบูรณ์. ในปี ค.ศ.1890 สิ่งสะสม the Trumbull-Prime collection ได้ถูกส่งไปยังอาคารรูปทรงแบบโรมาเนสค์ ที่ออกแบบโดย A. Page Brown.

Allan Marquand (ศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ และภัณทารักษ์พิพิธภัณฑ์ศิลปะของมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน) ซึ่งทำการสอนในช่วง 1874 และหลังจากปี 1905 ได้เป็นหัวหน้าภาควิชาศิลปะและโบราณคดี ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ ตำแหน่งดังกล่าวเขาครองอยู่จนกระทั่งเกษียรอายุในปี 1922. นอกจากสมบัติสะสมของ William C. Prime แล้ว จำพวกเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องลายคราม ที่ถูกเก็บสะสมเอาไว้ในอาคารซึ่งถูกรู้จักในฐานะพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลป์ ดังที่มันเป็นที่รับรู้จนกระทั่งปี 1947 พิพิธภัณฑ์นี้ยังเป็นที่รวบรวมสิ่งต่างๆ ประเภทงานปั้นและงานหล่อของตัวอาคารอันมีชื่อเสียง อย่างเช่นรายละเอียดทางด้านสถาปัตยกรรม และลวดลายประดับต่างๆ

ผลงานจิตรกรรม ค่อยๆ ก่อเกิดที่ทางของมันเองเข้ามาอยู่ในการสะสมของอาคารแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจาก Frank Jewett Mather Jr. (ผู้สอนวิชาศิลปะและโบราณคดีที่มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน เขายังเป็นนักวิจารณ์ศิลปะด้วย) ได้เข้ามาร่วมกับภาควิชาในปี 1910 โดยสอนวิชาศิลปะสมัยเรอเนสซองค์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ในปี 1922 อันเป็นปีเดียวกับ McCormick Hall, ส่วนต่อเติมในสไตล์ เซเนส กอธิค(Sienese Gothic style) หลังจากแบบแปลนของ Ralph Adams Cram, ได้รับการเพิ่มเข้ามาทางด้านทิศใต้ของอาคาร A. Page Brown.

อาคาร A. Page Brown ในตัวมันเองได้รับการรื้อถอนในปี ค.ศ.1963 เมื่อ Steinman และ Cain ได้ทำการปฏิสังขรณ์และขยับขยาย McCormick Hall ขึ้น และเสร็จสมบูรณ์ในปี 1966. ในลำดับต่อมา การตกแต่งภายในของพิพิธภัณฑ์ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและขยายเนื้อที่เพิ่มอีก 27,000 ตารางฟุต, The Mitchell Wolfson Jr., ที่เป็นปีกของอาคาร ได้รับการออกแบบขึ้นมาโดย Mitchell / Giurgola, และส่งมอบให้ในปี 1989 หนึ่งในสามของพื้นที่เพิ่มเติมจัดเป็นพื้นที่ใหม่ของการจัดแสดงนิทรรศการ ส่วนในการปรับปรุงอื่นๆ รวมไปถึงสตูดิโอเกี่ยวกับการอนุรักษ์ขนาดใหญ่ และห้องสำหรับการจัดสัมนาและห้องเก็บอุปกรณ์การศึกษาทางด้านศิลปะที่ได้สะสมไว้ในทุกๆ ด้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเรียนทางด้านศิลปะของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ นับเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยซึ่งมีความโดดเด่นของประเทศ. สมบัติสะสมต่างๆ ในหลายด้านได้สถาปนาขึ้นภายใต้การอำนวยการของ Marquand และ Mather และบุคคลเหล่านั้นที่ริเริ่มขึ้นหลังจากการเกษียรอายุของ Mather ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งมีอะไรมากไปกว่าการเป็นเพียงของสะสมเพื่อการศึกษาเท่านั้น

แนวคิดการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และสมบัติสะสม
หลักการในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะพรินส์ตันก็คือ เพื่อทำให้นักศึกษาเข้าถึงผลงานศิลปะที่เป็นของแท้ได้โดยตรง สร้างสมความคุ้นเคย และเข้าหาได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมหรือองค์ประกอบอันรุ่มรวยในด้านการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัย และปัจจุบันแนวความคิดที่มีมาแต่เดิมนี้ยังคงดำรงสืบต่อมา. พิพิธภัณฑ์ศิลปะยังให้บริการแก่ผู้ชมจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะทุนทางวัฒนธรรมอันร่ำรวยที่สุดของรัฐนิวเจอร์ซี และในฐานะการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในชุมชนนานาชาติของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ

ผลงานศิลปะที่สะสมจำนวนมากกว่า 68,000 ชิ้น ได้รับการจัดเรียงลำดับในเชิงประวัติศาสตร์นับจากอดีตจนกระทั่งถึงศิลปกรรมร่วมสมัย และให้ความเอาใจใส่ต่อภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน, ยุโรปตะวันตก, จีน, สหรัฐอเมริกา และลาตินอเมริกา. นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นในเรื่องของสะสมของโบราณในยุคกรีกและโรมัน ตลอดรวมถึงผลงานประเภทเซอรามิค, หินอ่อน, บรอนส์, และผลงานโมเสคโรมันจากการขุดค้นทางด้านโบราณคดีของมหาวิทยาลัยพรินส์ตันใน Antioch ประเทศตุรกี

เรื่องราวของยุโรปในยุคกลาง ได้รับการจัดแสดงโดยตัวแทนผลงานประเภทประติมากรรม, ผลงานประเภทโลหะ, และภาพเขียนสีบนกระจก(stained glass). ผลงานจิตรกรรมของยุโรปตะวันตก ประกอบด้วยตัวอย่างผลงานชิ้นสำคัญในสมัยเรอเนสซองค์ตอนต้น จนกระทั่งถึงศิลปะในคริสตศตวรรษที่ 19 และงานสะสมงอกงามต่อมาถึงคริสตศตวรรษที่ 20 และผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย. ผลงานที่ยืมมาสำคัญๆ ได้เพิ่มเติมสมบัติสะสมของพิพิธภัณฑ์ขยายไปในหลากหลายพื้นที่มาก

ท่ามกลางความเข้มแข็งที่สุดในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ คือของสะสมต่างๆ เกี่ยวกับศิลปกรรมจีน โดยการถือครองงานประเภทบรอนส์ รูปแกะสลักที่บรรจุอยู่ในสุสาน ผลงานจิตรกรรม และภาพเขียนพู่กันจีน นอกจากนี้ยังมีงานศิลปะก่อนโคลัมเบียน(หมายถึงก่อนที่โคลัมบัสจะค้นพบทวีปอเมริกา) รวมถึงตัวอย่างที่โดดเด่นของศิลปกรรมยุคมายา เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ศิลปะยังได้มีการสะสมผลงานภาพพิมพ์สำคัญๆ ของปรมาจารย์ในงานศิลปะภาพพิมพ์ด้วย ตลอดรวมถึงผลงานวาดเส้น และงานสะสมประเภทภาพถ่ายของจริงอย่างกว้างขวาง. ศิลปะแอฟริกาก็มีการนำออกแสดงเช่นเดียวกับผลงานศิลปะของอินเดีย. แม้จะไม่มีห้องหับในพิพิธภัณฑ์ แต่ส่วนหนึ่งของงานสะสมของมหาวิทยาลัยก็คือ ผลงานสะสมทางด้านประติมากรรมของ the John B. Putnam Jr. Memorial Collection ซึ่งได้มีการรวบรวมงานปั้นชิ้นสำคัญในคริสตศตวรรษที่ 20 ประกอบด้วยผลงานประติมากรรมของปรมาจารย์ยุคใหม่ อย่างผลงานของ Alexander Calder, Jacques Lipchitz, Henry Moore, และ Pablo Picasso. ยิ่งไปกว่านั้น พิพิธภัณฑ์ศิลปะยังได้สะสมภาพเหมือนผู้บริหารของมหาวิทยาลัยพรินส์ตันด้วย

นิทรรศการศิลปะพิเศษได้มีการจัดแสดงตลอดทั้งปี จำนวนมากถูกดึงมาจากงานสะสมศิลปะถาวร และแสดงร่วมกันไปกับหลักสูตรของภาควิชาศิลปะและโบราณคดี รวมถึงโปรแกรมการเรียนการสอนในภาควิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ : Release date 17 October 2008 : Copyleft MNU.

ในฐานะพลเมืองสเปนคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส ปิคาสโซมิได้อยู่ภายใต้การบังคับให้ต้องต่อสู้กับการรุกรานของเยอรมันในสงครามโลกแต่อย่างใด. ในสงครามกลางเมืองสเปนในฐานะพลเมืองสเปนที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ เขามีทางเลือก และมีความผูกพันในฐานะอาสาสมัคร ที่จะหวนกลับไปยังประเทศของตนเพื่อร่วมรบในการ สงคราม ปิคาสโซได้แสดงอาการโกรธเกรี้ยว และประณามความเป็นเผด็จการของ Francisco Franco โดยผ่านผลงานศิลปกรรมของเขา โดยไม่ได้มีการจับอาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารเพื่อทำร้ายใคร เขายังคงห่างเหินและโดดเดี่ยว จากขบวนการปลดปล่อยเพื่อความเป็นอิสระ Catalan ด้วย ในช่วงที่เขายังเยาววัย ทั้งที่มีการแสดงออกในเชิงสนับสนุนทั่วไป และมีมิตรภาพอันดีต่อกลุ่มกิจกรรม

H