1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
Space, Place and Gender:
Doreen
Massey
ภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์:
ที่ว่าง พื้นที่ และ เพศสถานะ
(๑)
ดร.สันต์
สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้
ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความแปลชิ้นนี้เรียบเรียงมาจาก
Space, Place and Gender เขียนโดย Doreen Massey
หัวข้อสำคัญ: กรอบของงานแปลวิชาการ
- ที่ว่าง พื้นที่ และ เพศสถานะ
- การเปลี่ยนแปลงและเข้าแทนที่ของแรงงานหญิง
- การเมืองและที่ว่าง / เวลา
- ที่ว่าง ในมุมมองของบรรดานักเขียน
- ที่ว่างและเวลา
- นักภูมิศาสตร์แบบสุดโต่ง (Radical Geography)
- ประเด็นเรื่องเพศสถานะ และที่ว่าง
- มุมมองทางเลือกอื่นๆ ในเรื่องที่ว่าง
- ภาคผนวก Fields of human geography
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๒๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๓ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๕.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Space, Place and Gender:
Doreen
Massey
ภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์:
ที่ว่าง พื้นที่ และ เพศสถานะ
(๑)
ดร.สันต์
สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
ฉันจำได้อย่างแจ่มชัดถึงภาพที่ทำให้ฉันหวนระลึกถึงได้บ่อยๆ
เมื่อตอนที่ฉันอายุเก้าหรือสิบขวบ ในช่วงเวลาที่ได้อาศัยอยู่ในบริเวณชานเมืองของแมนเชสเตอร์
และการ "เข้าไปในเมือง" ในช่วงเวลานั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะว่ามันต้องใช้เวลามากกว่าครึ่งชั่วโมงในการเดินทาง
และตลอดเวลาระยะเวลาในการเดินทางนั้น เราต้องอาศัยอยู่บนหลังคารถโดยสารประจำทาง
ในระหว่างทางเข้าไปในเมือง เราจะข้ามหุบเหวลึกของแม่น้ำเมอร์ซี่ย์ ซึ่งในความทรงจำของฉัน มันเป็นเรื่องของความชื้นแฉะและทุ่งโคลนที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ซึ่งที่ค่อยๆ เลือนหายเข้าไปในหมอกและทุกสิ่งทุกอย่างในทุกเอเคอร์ของแมนเชสเตอร์ พื้นที่ต่างๆ ถูกแบ่งด้วยเส้นแบ่งอันมากมาย จากสนามฟุตบอลและสนามรักบี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันที่พวกเราจะเข้าไปในเมืองกัน บริเวณอันกว้างใหญ่เหล่านั้นจะถูกปกคลุมไปด้วยผู้คนตัวเล็กๆ หลายร้อยคน ต่างวิ่งไล่ตามลูกบอล (จากบนหลังคารถประจำทาง มันช่างดูกว้างใหญ่ดังเช่นภาพเขียนที่เคลื่อนไหวได้ของ โลรี่ (Lowry) (*) ที่ถูกแต่งเติมสีจากผู้คนตัวเล็กๆ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นสีที่สว่างกว่าที่โลรี่ใช้ในการวาดภาพตามปกติ)
(*)Laurence Stephen Lowry (November 1, 1887 - February 23, 1976) was an English artist born on Barrett Street, Stretford, Lancashire. Stretford is now in the borough of Trafford, in Greater Manchester. Many of his drawings and paintings depict nearby Salford and surrounding areas, including Pendlebury where he lived and worked for over forty years at 117 Station Road, opposite St. Mark's RC Church.
Lowry is famous for painting scenes of life in the industrial districts of northern England during the early 20th century. He had a distinctive style of painting and is best known for urban landscapes peopled with many human figures (matchstick men). He tended to paint these in drab colours. He also painted mysterious unpopulated landscapes, brooding portraits, and the secret 'marionette' works (the latter only found after his death).
ฉันจดจำทุกสิ่งนี้ได้อย่างเด่นชัด ในช่วงเหตุการณ์แม่น้ำเมอร์ซี่ท่วมครั้งใหญ่ มันได้ทำร้ายเด็กชายทุกคน เหตุการณ์ครั้งนั้นดึงความสนใจฉันได้อย่างชะงัก เพราะน้ำท่วมดังล่าวทำให้ฉันไม่สามารถไปยังสนามเด็กเล่นนั่นได้ มันดูเหมือนว่าถูกขวางไว้ ดูเป็นอีกโลกหนึ่งที่ว่างซึ่งไม่ใช่ของฉัน ในสถานที่ต่างๆ มันมีพื้นที่ซึ่งฉันเคยได้เข้าไปและเป็นพื้นที่ซึ่งทำให้ฉันรู้สึกได้ว่ามันไม่ได้เป็นพื้นที่ของฉัน หรืออย่างน้อย มันถูกทำให้เกิดผลกระทบ หรือทำให้ฉันรู้สึกอย่างชัดแจ้งถึงความเป็นรองด้วยธรรมเนียมปฏิบัติ ดังเช่นที่ฉันจำได้ถึงช่วงเวลาของการอยู่ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะในช่วงปลายของวัยรุ่น (Art Gallery) ในเมืองที่ข้ามลำคลองไป
ในช่วงเวลานั้นฉันอยู่กับชายหนุ่มอ่อนวัยสองคน และเราผูกติดอยู่กับ "ผืนแผ่นดิน" และวัดแห่งวัฒนธรรมชั้นสูง(หมายถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะ) ที่ซึ่งเป็นพื้นที่เป็นจุดหมายแก่ผู้คนว่าควรเข้าไปเที่ยว ในที่ว่างซึ่งเต็มไปด้วยภาพเขียนที่แสดงให้เห็นสัดส่วนของผู้หญิงเปลือยหลายๆ คนดูชะลูด มันมีภาพของผู้หญิงเปลือยที่ถูกเขียนขึ้นโดยผู้ชายหลายคน ส่งผ่านภาพผู้หญิงที่ถูกเขียนขึ้นผ่านสายตาของผู้ชาย ฉันยืนอยู่ตรงนั้นกับเพื่อนอีกสองคน พวกเขายืนดูภาพที่เป็นภาพของผู้หญิงเปลือยที่สร้างขึ้นผ่านการมองของสายตาผู้ชาย และฉันรู้สึกถึงการ "กลายเป็นวัตถุ" (Objectified)
ที่ว่างเป็นที่ว่างซึ่งทำให้ฉันรู้สึกถึงบางสิ่งบางอย่างอย่างเด่นชัด - บางสิ่งบางอย่างที่น่าอับอาย อัปยศอดสู ในสิ่งที่วัฒนธรรมชั้นสูงได้คิด และแสดงเกี่ยวกับสถานที่และเพศสถานะของตัวฉันในสังคม ผลกระทบต่อฉันในการเป็นอยู่ใน ที่ว่าง/พื้นที่ (Space/Place) นั้นแตกต่างกับผลกระทบกับเพื่อนผู้ชายอีกสองคนที่อยู่ในที่ว่างเดียวกับฉัน (ฉันจำได้ว่าหลังจากที่เราออกจากที่นั่น และไปคาเฟ่ต์ ได้เกิดการถกเถียงกันในเรื่องนี้ แต่ฉันแพ้ในการโต้เถียงครั้งนั้น ดูเหมือนว่าฉันจะกลายเป็นคนที่โง่เง่า - ฉันไม่ได้เป็นผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากการอ่านหนังสือของ กริเซลด้า พอลลอค (Griselda Pollock) (*), เจเน็ต วูลฟ์ (Janet Wolf) หรือ วิทนิย์ แชทวิ๊ก (Whitney Chadwick) เลยแม้แต่น้อย)
(*) Griselda Pollock (born in 1949) is a prominent art historian and cultural analyst, and a world-renowned scholar of international, post-colonial feminist studies in the visual arts. She is best known for her theoretical and methodological innovation, combined with deeply engaged readings of historical and contemporary art, film and cultural theory. Since 1977, Pollock has been one of the most influential scholars of modern, avant-garde art, postmodern art, and contemporary art. She is also a major influence in feminist theory, feminist art history and gender studies.
ที่ว่าง พื้นที่ และเพศสถานะ
ฉันสามารถยกตัวอย่างหลายๆ ประเด็น และฉันมั่นใจว่าทุกคนในวันนี้ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายจะสามารถเข้าใจได้
ประเด็นที่ฉันต้องการจะเสนอนั่นก็คือเรื่องของ ที่ว่าง (Space) กับพื้นที่ (Place)
และความรู้สึกของเราที่เกี่ยวข้องกับมัน (เช่น การที่เราจะสามารถหรือไม่สามารถเคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่ต่างๆ)
นั้นต่างเป็นเรื่องของ "เพศสถานะ" (Gender) และยิ่งไปกว่านั้น เรื่องเพศสถานะนี้
มันมีความแตกต่างหลากหลาย โดยจะแปรผันไปตามวัฒนธรรมและกาลเวลา เพศสถานะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในเรื่องที่ว่างและพื้นที่นี้สะท้อนและสร้างให้เกิดผลกระทบกลับมาในสังคมที่เราอาศัยอยู่
ที่ซึ่งเพศสถานะนั้นถูกประกอบสร้างและถูกทำหน้าที่สะท้อนและทำให้เกิดการเรียนรู้เข้าใจ
ในครั้งแรกที่ฉันถูกสอนให้มีความคิดไปใน "เชิงภูมิศาสตร์" เรื่องเพศสถานะในขณะนั้น ต่างยังไม่ถูกพูดถึง สิ่งที่ฉันอยากจะทำ ในที่นี้คือยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจนในประเด็นที่ว่า เพศสถานะนั้นกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัวในจิตใจของเรา (Subject Matter) โดยมันเป็นการมุ่งเน้นไปที่ประเด็นในเชิงประจักษ์ (Empirical Issue) ผ่านเหตุการณ์ของการพัฒนาในระดับภูมิภาค ดังเช่นตัวอย่างในเรื่องของอาชีพในอังกฤษ ที่ต้องการจะกระจายศูนย์ ในเรื่องของงาน ไปสู่ในระดับภูมิภาค ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างช่วงกลางยุคหกศูนย์ และช่วงต้นเจ็ดศูนย์ โดยเหตุการณ์ในขณะนั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาของรัฐบาลพรรคแรงงาน (Labour Government) ซึ่งมีแฮร์โรล์ วิลสันท์ (Harold Wilson) (*) เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่
(*)James Harold Wilson, Baron Wilson of Rievaulx, KG, OBE, FRS, PC (11 March 1916 - 24 May 1995) was one of the most prominent British politicians of the later 20th century. He served as Prime Minister of the United Kingdom from 1964 to 1970, and again from 1974 to 1976. He emerged as Prime Minister after more general elections than any other 20th century premier. He contested five general elections and won four of them, winning in 1964, 1966, February 1974 and October 1974. He is the most recent British Prime Minister to serve non-consecutive terms.
Harold Wilson first served as Prime Minister in the 1960s, during a period of low unemployment and relative economic prosperity (though also of significant problems with the UK's external balance of payments). His second term in office occurred during the 1970s, when a period of economic crisis was beginning to hit most Western countries. On both occasions, economic concerns were to prove a significant constraint on his governments' ambitions. Wilson's own approach to socialism placed emphasis on efforts to increase opportunity within society, for example through change and expansion within the education system, allied to the technocratic aim of taking better advantage of rapid scientific progress, rather than on the left's traditional goal of promoting wider public ownership of industry. While he did not challenge the Party constitution's stated dedication to nationalisation head-on, he took little action to pursue it either.
การเปลี่ยนแปลงและเข้าแทนที่ของแรงงานหญิง
ช่วงเวลาดังกล่าว เกิดการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของงานเหมืองถ่านหินในทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ,
ในเวลส์ทางใต้, และในส่วนกลางของสก๊อตแลนด์ ซึ่งมันเป็นช่วงเวลาที่เกิดการผลักดันให้เกิดการจ้างงานสู่ภูมิภาคในระดับนโยบาย
ซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นและแรงจูงใจแก่บริษัทต่างๆ ให้มีการลงทุนในภูมิภาคจากพื้นที่ซึ่งมีอัตราสูงของการจ้างงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกกลาง
สู่พื้นที่ภาคเหนือที่มีการจ้างงานต่ำ และปัญหาเกิดขึ้นกับพวกเราหลายๆ คนในช่วงเวลานั้น
คือ เราจะสามารถอธิบายถึงเหตุของการเกิดการกระจายศูนย์ของการจ้างงานที่มีมากมาย
จากดินแดนทางเหนือและทางตะวันตกอย่างไร ข้อโต้แย้งนี้ผ่านการถกเถียงมาหลายขั้นตอน
โดยฉันจะนำเสนอมันในลักษณะขั้นตอนของการวิเคราะห์ที่ต่อเนื่องกัน (Series of
Stages)
การวิเคราะห์ในขั้นที่หนึ่ง: ตั้งอยู่บนฐานของการวิเคราะห์ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับข้อมูลสถิติ ผ่าน คอมพิวเตอร์ ซึ่งวิเคราะห์ในเรื่องช่วงเวลาและจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นของการกระจายตัวเกี่ยวกับการจ้างงาน ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายในระดับภูมิภาค อาจกล่าวได้ว่านโยบายทางภูมิภาคนั้นเกิดขึ้นหลังจากการกระจายของงานต่างๆ สู่ภูมิภาค (เกิดการกระจายแรงงานก่อนแล้ว จึงเกิดนโยบาย) ด้วยเหตุนี้ จึงเสมือนว่านโยบายของภูมิภาคนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
การวิเคราะห์ในขั้นที่สอง: แต่เมื่อมาถึงการวิเคราะห์ "ขั้นที่สอง" ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของเสียงสะท้อนเกี่ยวกับความไม่พอใจทางการเมืองจากสหภาพแรงงานการนำเข้าและส่งออก ซึ่งถูกครอบงำจากเพศชายและสภาท้องถิ่น ซึ่งจากหลักฐานที่ได้เสนอต่อกรรมการย่อยทางรัฐสภาของเหล่าสหภาพแรงงานการนำเข้าและส่งออกนี้ แสดงให้เห็นว่างานนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่งานเท่านั้น แต่มันถูกทำให้เป็นเรื่องของเพศสถานะ ในขณะที่งานของผู้ชายได้สูญหายไปจากการกระจายแรงงานไปสู่ภูมิภาค และผู้หญิงมากมายได้เข้ามาทำหน้าที่แทน ซึ่งก่อให้เกิดความสงสัยในสถาบันการศึกษาต่างๆ ว่า ทำไมงานเหล่านี้ ซึ่งแต่เดิมเป็นงานของเพศชาย เหตุใดจึงได้กลายมาเป็นงานของเพศหญิง
คำตอบซึ่งพบได้ในปัจจุบัน ซึ่งต่างเป็นที่ทราบกันดีก็คือ แรงงานเพศหญิงนั้นมีราคาถูก พวกเธอต่างถูกเตรียมมาให้ยอมรับค่าแรงต่ำ ซึ่งเป็นผลสั่งสมมาเป็นระยะเวลาหลายปีของการกดทับเพศหญิง ผ่านการต่อรองในรูปแบบของ "เงินเดือนของครอบครัว". ผลกระทบของการแบ่งส่วนของแรงงานในครัวเรือน ที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นเหตุในการสร้างลักษณะความสัมพันธ์ของชาย/หญิง ทั้งในการทำงานในบ้านและการทำงานในตลาดการจ้างงานทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ผู้หญิงในภูมิภาคนั้นมีอัตราต่อรองผ่านการจัดตั้งองค์กรที่สามารถเป็นสหภาพได้ต่ำมาก ทำให้เกิดการจ้างแรงงานด้วยราคาค่าจ้างที่ต่ำมาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเพศหญิงนั้น อยู่ในช่วงที่ต่ำที่สุดในประเทศ สตรีเหล่านี้ในอีกทางหนึ่งเป็น "แรงงานสีเขียว" ที่ถูกกระทำอยู่ตลอดมา
จากการพัฒนาของข้อโต้แย้งทำให้เกิดเรื่องราวที่ซับซ้อนขึ้น โดยเป็นการตระหนักได้ถึงความแตกต่างในตลาดแรงงาน ซึ่งในตอนแรกนั้นถูกพิจารณาว่าเป็นข้อได้เปรียบ เป็นจุดเด่น และศักยภาพของลูกจ้างที่เป็นผู้หญิง ซึ่งถูกเข้าใจว่าผู้หญิงและงานของผู้หญิงนั้นมีความต่ำต้อยกว่าแรงงานเพศชาย โดยการพิจารณาข้อได้เปรียบนี้ ทำให้เกิดการประเมินใหม่ในเรื่องผลกระทบของนโยบายในการกระจายงานสู่ระดับภูมิภาค ด้วยการนำมาประเมินใหม่คือ
1) เรื่องแรงงานในภูมิภาคนี้ เห็นได้ชัดว่าเกี่ยวข้องกับการกีดกันทางเพศ โดยแสดงให้เห็นว่า งานใหม่ทั้งหลายที่เปิดขึ้นมาในภูมิภาคนั้น
ส่วนใหญ่แล้วจะถูกมองว่า "ไม่ใช่งานจริงๆ" หรือเป็นเพียง "งานสำหรับผู้หญิง"2) งานใหม่สำหรับผู้หญิง เป็นงานที่มีรายได้น้อยกว่างานสำหรับผู้ชาย ทำให้ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดตลาดแรงงานใหม่ขึ้นก็จริง
แต่รายได้ในภูมิภาคนั้นก็ยังคงต่ำที่สุดอยู่เช่นเดิม
การวิเคราะห์ในขั้นตอนที่สาม: เป็นที่น่าสงสัยถึงสาเหตุของเหตุการณ์ซึ่งนำมาเป็นตัวอย่าง เช่น ทำไมระดับค่าแรงสำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงในภูมิภาคนั้น ถึงได้มีรายได้ต่ำมาvpjk'ต่อเนื่องตลอดเวลาหลายปีของประวัติศาสตร์อันยาวนาน? สิ่งนี้ได้ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับเพศสถานะในเชิงวัฒนธรรม เกี่ยวกับเพศสถานะในท้องถิ่น ซึ่งนักเขียนหลายๆ คนทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต่างสงสัยว่า เหตุใดเรื่องของงานบ้านนั้นจะต้องผูกติดกับการเป็นภรรยาหรือเป็นแม่ พวกเขายังได้วิพากษ์ในเรื่องช่วงเวลาที่มีความยาวและความไม่เสมอภาคของกะในการทำงานระหว่างเพศหญิงและชายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาระหว่างคู่รักที่ทั้งคู่ต่างเสาะหาค่าแรงจากนอกบ้าน นอกจากนี้ยังมีการสืบสาวถึงรายละเอียดในเรื่องของการสร้างรูปแบบของความเป็นชายแก่งาน เช่นการทำเหมือง โดยในการสืบสวนนี้ ต่างชี้ลึกลงไปเพื่ออธิบายว่าทำไม พื้นที่ในภูมิภาคนั้นถึงได้เป็นพื้นที่ซึ่งวัฒนธรรมของผู้ชาย กลายเป็นผู้มีหน้าที่หลักในการหาเงินเลี้ยงครอบครัว (Breadwinner) และผู้หญิงทั้งหลายเป็นผู้ดูแลครอบครัว (Homemaker) มากกว่าในส่วนอื่นๆ ของประเทศ
ประเด็นที่ต่อเนื่องกันต่อไปคือ จากที่ว่างซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเพศสถานะสู่ที่ว่างซึ่งเกี่ยวข้องกับมันอย่างที่สุด ในก้าวแรกนั้น เราได้เข้าไปดูผู้หญิง และจากนั้นจึงเข้าไปดูบทบาทของเพศสถานะ, ผู้ชาย, และการสร้างเพศสถานะ ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับความเป็นท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้เราเห็นว่า ทั้งสองเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแตกต่างกันระหว่างเพศสถานะของผู้คน และส่งผลต่อการประเมินนโยบายภูมิภาคใหม่ในแง่ของเพศสภานะนั้น มีความซับซ้อนอย่างยิ่ง
ฮาโรลด์ วิลสันท์ (Harold Wilson) ได้ก้าวเข้าสู่อำนาจในปี 1964 จากการชูประเด็นในเรื่องของการปฎิรูปให้สังคมประชาธิปไตยมีความทันสมัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางของความนิยมความเป็นเหตุเป็นผล (Rationalism) ที่เกิดมาจากระบบอุตสาหกรรมเก่าแก่เช่น การทำเหมือง. เขาเสนอว่าการสูญเสียงานนั้น เป็นผลกระทบจากความนิยมความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในภูมิภาค ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นฐานอำนาจของเขา พื้นที่ตะวันออกฉียงเหนือ ของอังกฤษ, เวลส์ทางใต้, และพื้นที่ทางส่วนกลางของสก๊อตแลนด์ ในการที่จะปฎิรูปสก๊อตแลนด์ขึ้นมาอีกครั้ง จากการเป็นส่วนหนึ่งที่เก่าแก่ในภูมิภาคนี้ มันมีความจำเป็นที่จะต้องมีการตกลงลับ ในการที่จะต่อรองเชิงนโยบายในระดับภูมิภาค อันนำมาสู่ชัยชนะจากสหภาพแรงงานและสมาชิกของสหภาพ
แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นข้อเท็จจริงอย่างที่สุดว่าผู้ชายในภูมิภาคนั้น ถูกทำให้มีเหลือเฟือ และเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้หญิงและการเกิดแรงงานหญิง เพราะนั้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษที่มีความอิสระในตลาดแรงงาน พวกเธอต้องการการจ้างงานที่มีรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดงานของแรงงานชาย และการที่งานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการทำงานบ้าน ก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามที่ทำให้เธอทำงาน ยิ่งไปกว่านั้นผู้หญิงเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นอย่างเที่ยงตรงจากวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้กลายเป็นรูปแบบหนึ่งของแรงงานที่ตลาดอุตสาหกรรมที่กำลังกระจายตัวต้องการ
นอกเหนือไปกว่านั้น ยังมีการประเมินที่แตกต่างกันของนโยบายในระดับภูมิภาค สำหรับนโยบายในระดับภูมิภาคแล้ว ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักเพียงอย่างเดียวที่จะสามารถอธิบายการแตกตัวของการจ้างงาน เพราะว่าตลาดแรงงานซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของแรงดึงดูดในภาคของอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ ได้ถูกสร้างขึ้นไม่ใช่จากนโยบายระดับภูมิภาคแต่ เกิดจากการปฎิเสธในการทำงานของผู้ชาย ซึ่งเป็นผลของวัฒนธรรมเพศสถานะที่ผ่านมา มันยังมีความจริงที่ว่า นโยบายระดับภูมิภาคได้นำมาซึ่งงานค่าแรงถูกๆ เท่านั้น แต่ในทางหนึ่งมันก็มีมุมมองเชิงบวกของงานที่เกิดขึ้น ซึ่งแต่เดิมแล้วไม่เป็นที่ให้ความสำคัญ สิ่งที่สำคัญที่สุด มันได้นำรายได้อิสระมาให้กับผู้หญิง และเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ และมากไปกว่านั้น การนำงานเหล่านั้นมา ทำให้เกิดความสับสนยุ่งเหยิงกับความสัมพันธ์เชิงเพศสถานะดั้งเดิม หรืออีกนัยหนึ่ง นโยบายระดับภูมิภาคนั้น สามารถมองได้ว่าสร้างผลกระทบที่ดี -ในทิศทางที่แตกต่างออกไปจากข้อเสนอในขั้นที่หนึ่ง
ภาพสะท้อนหลากหลาย ซึ่งสามารถสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ของการพัฒนา
1) เห็นได้ชัดว่า การที่นำเอาการเพศสถานะมาพิจารณาอย่างจริงจัง ทำให้เกิดการประเมินที่แตกต่างออกไปบางอย่างของนโยบายระดับภูมิภาค เช่น ความห่างไกลจากความเข้าใจของการรวมกลุ่มเป็นองค์กร และการจัดองค์กรใหม่ของพื้นที่เศรษฐกิจของชาติเรา - และตั้งแต่ครั้งอุตสาหกรรมที่กระจายตัวได้เคลื่อนตัวไปสู่ทางเหนือ เพื่อที่จะตัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ - มันแสดงให้เราเห็นว่า อุตสาหกรรมของอังกฤษนั้น ได้"ใช้"ความแตกต่างของภูมิภาคในระบบของความสัมพันธ์ในเรื่องเพศสถานะ เพื่อปราถนาที่จะหลีกหนีออกมาจากสิ่งที่มันกลายเป็นวิกฤตการณ์ของเศรษฐกิจของอังกฤษ
2) ความเข้าใจที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้ ไม่ได้มองไปที่ผู้หญิงเท่านั้น แต่มันยังเป็นการเริ่มต้นสู่การสืบค้นเรื่องความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ในการสร้างความเป็นชายและความเป็นหญิง และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง ภูมิศาสตร์เชิงสตรีนิยม (หรือควรจะ) มีความสำคัญเทียบเท่ากับผู้ชาย และ
3) มากไปกว่านั้น การเข้าไปพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ หมายความว่า เราไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะของการดำรงอยู่ของชายและหญิง แต่เราเข้าไปศึกษาและทำความเข้าใจสภาวะของการดำรงอยู่นี้ถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร
4) ซึ่งแตกต่างกับข้ออื่นๆ คือมันเป็นการง่ายในตอนนี้ ที่จะมองกลับเข้าไปและวิพากษ์ถึงสังคมชายเป็นใหญ่แบบดั้งเดิมในเมืองโคลฟิลส์ (Coalfields) เพราะจริงๆ แล้ว มันผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า "การเคลื่อนไหวของแรงงานแบบเก่า" แต่เราไม่ควรที่จะลื่นไถลไปสู่สมมุติฐานที่ว่า ความเก่านั้นไม่ดีและความใหม่นั้นไม่มีปัญหาอะไร เพราะฉะนั้นการที่จะตอบสนองในภาพสะท้อนทั้งสามข้างต้น (ความต้องการที่จะมองเข้าไปในผู้ชายและความเป็นชาย ความสำคัญของการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ และการสร้างการวิเคราะห์ที่ไม่ใช่ในแนวทางของสารัตถะ (Essentialist) และความรู้สึกที่ว่า มันมีความสำคัญในการที่จะมองเข้าไปในงานที่เกิดขึ้นใหม่เช่นเดียวกับงานที่มีมาอยู่เดิม)
ฉันเองในปัจจุบันนี้ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในการวิจัยในเรื่องของ ภูมิภาคเศรษฐกิจใหม่ที่มีความเติบโต - แคมบริด (Cambridge): ชื่อของสถานที่ซึ่งทำให้เกิดความคิดถึง "ปรากฎการณ์แคมบริด" ที่ซึ่งเทคโนโลยีเติบโต เช่นเดียวกับ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม และจากการทำงานของคนงานปกคอเสื้อขาว(งานสำนักงาน) (White-Collar Work) มันห่างไกลจากเหมืองถ่านหินเป็นล้านไมล์ ในทางภูมิศาสตร์ ทางเทคโนโลยี และทางสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้วภาพไม่ได้ชัดเจนเช่นนั้น
คนงานที่มีคุณภาพสูงในส่วนของนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงจำนวนหนึ่ง ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การวิจัยสิ่งใหม่ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของนักวิทยาศาสตร์ และนักเทคโนโลยีเป็นผู้ชาย พวกเขาส่วนใหญ่รักงานของพวกเขา นี่ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย จนกระทั่งคนหนึ่งได้ถามถึง "ขอบเขตพื้นที่ระหว่างการทำงานและการเล่นหายไป" ซึ่งทำเกิดการคิดพิจารณาขึ้นอย่างทันที สิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการได้เงินนั้น ถือว่าเป็น "การเล่น" อย่างนั้นหรือ แล้วใครเป็นคนทำงานบ้าน ลูกจ้างเหล่านี้ทำงานเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง ในปัญหาที่ซับซ้อน และสร้างภาพลักษณ์ของพวกเขาว่าเป็นผู้คนสำหรับงานที่ได้รับค่าจ้าง แต่ชั่วโมงที่ยาวนานเหล่านั้น และความยืดหยุ่นของเวลาในการทำงานในองค์กรของพวกเขา กลายเป็นการบีบบังคับใครคนอื่น ใครเป็นคนไปร้านทำซักรีด ใครเป็นคนรับลูกจากโรงเรียน
ในโครงการที่ผ่านมา ที่ซึ่งเราได้รับข้อมูลเชิงลึกจากลูกจ้างคนหนึ่งในจำนวนผู้หญิงที่เราพบที่ทำงานเหล่านี้ ได้พูดถึงการใช้เวลาที่ยืดหยุ่นของเวลาในการทำงาน ไปในความสัมพันธ์กับการทำงานบ้าน ในกรณีนี้กล่าวว่า ในช่วงที่เธอออกจากที่ทำงานตอนหกโมงเพื่อที่จะหนีไปที่บ้านเพื่อให้อาหารแมว! งานเหล่านี้ต้องการลูกจ้างที่ทำงานผลิตซ้ำ และต้องเป็นคนที่ห่วงใยผู้คนอื่นๆ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าพวกเขานั้นควรมีใครสักคนทำหน้าที่สำหรับคอยดูแลพวกเขา มันไม่ได้เป็นเพียงการเคลื่อนไหวของแรงงานแบบเก่าเท่านั้น แต่มันยังเป็นภูมิภาคใหม่ของ "ผู้ชายแบบใหม่" ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ของเพศสถานะ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในภูมิภาคของการเติบโตใหม่ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของความเป็นชาย และเป็นสิ่งใหม่ของกลุ่มของบทบาทและความสำคัญของเพศสถานะที่ยังเป็นปัญหา
การเมืองและที่ว่าง /
เวลา
"ที่ว่าง" นั้นเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องมาจากความหลากหลายกว้างขวางของหลายแหล่งที่มา
สู่การแสดงที่ทำให้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องของที่ว่างในช่วงเวลานี้: "ที่ว่างที่ถูกทำให้หายไปจากพวกเราอย่างต่อเนื่อง
ไม่ใช่เวลา" (Berger); "ที่ว่างทำให้เกิดความแตกต่าง" (Sayer);
"ความเป็นที่ว่างมีนัยยะสำคัญกับความเป็นหลังสมัยใหม่" (Jameson) ;
"มันเป็นเรื่องของที่ว่างมากกว่าเวลาที่ส่งผลอย่างสำคัญยิ่งกับมิติของทุนนิยมร่วมสมัย"
(Urry); และ "สังคมวิทยาควรจะเตรียมพื้นที่สำหรับแนวความคิดเรื่องภูมิศาสตร์ของมนุษยชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว"
(Braudel) แม้แต่ฟูโก (Foucalt) เองในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการกล่าวอ้างที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในคุณลักษณะเชิงที่ว่าง
อาทิเช่น ในการบรรยายในปี 1967 ที่เบอร์ลิน (Berlin) : "ความตื่นตระหนกในยุคสมัยของเรานั้นเกี่ยวข้องอย่างพื้นฐานที่สุดกับที่ว่าง
โดยไม่ต้องสงสัยเลยว่า ยิ่งเป็นเรื่องของเวลาแล้วย่อมต้องมีความเกี่ยวข้องมากกว่านั้น"
ส่วนความสำคัญของเรื่องในคุณลักษณะเชิงที่ว่าง และจากแนวคิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนใหญ่แล้ว เป็นเรื่องเชิงอุปมาอุปมัยมากกว่า ในการโต้แย้งกันในเรื่องการให้นิยามแก่ที่ว่าง สถานที่ตั้ง ตำแหน่งแห่งที่ และ พื้นที่ เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด อาทิเช่น ในงานของ โฮมิ บาบา (Homi Bhaba) ได้เสนอข้อคิดเห็นในเรื่องของ เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม, การโต้แย้งสำหรับทัศนะของที่ว่างที่สาม (Third Space) ของ เจมส์สัน (Jamesson) ที่ได้เผชิญหน้ากับสิ่งที่เขาได้เห็นว่า เป็น"ความสับสนที่แพร่กระจายไปทั่วโลกของช่วงเวลาหลังสมัยใหม่ และความไร้ทิศทางอย่างชัดเจนของที่ว่างที่ได้แพร่กระจายไปนี้ ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าแผนที่ของการสำเหนียกรู้ในระดับปฎิบัติการณ์ (Cognitive Mapping) และ แลคเลา (Laclau) สะท้อนมุมมองที่แตกต่างในเรื่อง การปฎิวัติใหม่ในยุคสมัยของเรา โดยแลคเลาได้ใช้คำว่า "คุณลักษณะเชิงที่ว่าง" (Spatial) และ "คุณลักษณะเชิงเวลา" (Temporal) ในลักษณะที่เป็นความแตกต่างของหนทางที่หลากหลายของความคิดในเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคม
สิ่งเหล่านี้ได้สร้างความยินดีต่อผู้ที่ทำงานเป็น "นักภูมิศาสตร์" มายาวนาน โดยความคิด (หรืออย่างน้อยความหมาย) ที่มีมาอย่างยาวนานซึ่งเป็นหัวใจของการถกเถียงของเรานั้น ต่างเป็นศูนย์กลางแห่งการสร้างความขัดแย้งกันทั้งเชิงสังคมและเชิงการเมือง ในความปลื้มปิติของฉันนั้น ฉันได้พบว่าตัวเองได้เฝ้าครุ่นคิดถึงเรื่องความหมายที่คำเหล่านี้ถูกใช้ มันทำให้ฉันอยากเข้าไปตรวจสอบในเรื่องการใช้คำอธิบายในเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง การสร้างความหมาย (ซึ่งโดยมากเป็นการทึกทักเอาเอง) ของคำว่า "ที่ว่าง"
ที่ว่าง ในมุมมองของบรรดานักเขียน
นักเขียนส่วนใหญ่ที่ใช้คำว่า "ที่ว่าง" นั้นแท้จริงแล้วมีความหมายในหลายมิติ
โดยนักเขียนหลายท่านได้พึ่งพาอย่างหนักเกี่ยวกับการใช้คำว่า ที่ว่าง (Space)/
คุณลักษณะเชิงที่ว่าง (Spatial) และต่างทึกทักว่าความหมายนั้นชัดเจนและไม่จำเป็นต้องถูกพิจารณา
ความหมายของที่ว่างซึ่งนักเขียนหลายๆ ท่านทึกทักเอาว่าเหมือนกันนั้น แท้จริงแล้วต่างมีหลากหลายความหมายเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งมีการประกอบสร้างจากมุมที่ไม่ถูกรับรู้ และไม่เคยถูกเปิดเผยสู่ผิวหน้า; และมันไม่ปรากฏ
เพราะว่าทุกคนทึกทักเอาว่าเรารู้อยู่แล้วว่าความหมายของที่ว่างคืออะไร
ฮองรี เลอแฟร์ (Henri Lefebvre) (*) ในส่วนเกริ่นนำของหนังสือของเขาที่ชื่อว่า "ผลผลิตของที่ว่าง" (The Production of Space) คำวิจารณ์ที่พูดถึงปรากฏการณ์นี้ นักเขียน หลายๆ ท่านที่ต่างเน้นในเรื่องตรรกะอย่างเข้มงวด กลับมีการละเลยที่จะพิจารณาแยกแยะถึงความหมายและหน้าที่ของคำ ซึ่งทำหน้าที่การสร้างคำโต้แย้งของพวกเขา ซึ่งความคิด"เรื่องที่ว่าง"นั้น แท้จริงแล้ว หายไปจากการศึกษาแบบญาณวิทยา (Epistemological) นั้นคือ ความคิด - ความจริงที่ว่า "ที่ว่าง" ถึงแม้ว่าจะถูกกล่าวถึงในทุกหน้า อย่างไม่โจ่งแจ้งซึ่งอย่างน้อย มันควรจะมีการถกเถียงสำหรับเรื่องของความหมายของสิ่งที่ถูกใช้มากขนาดนั้น
(*)Henri Lefebvre (16 June 1901 - 29 June 1991) was a French sociologist, intellectual and philosopher who was generally considered a Neo-Marxist. Lefebvre has dedicated a great deal of his philosophical writings to understanding the importance of (the production of) space in what he called the reproduction of social relations of production. This idea is the central argument in the book The Survival of Capitalism, written as a sort of prelude to La production de l'espace (1974) (The Production of Space). These works have deeply influenced current urban theory, mainly within human geography, as seen in the current work of authors such as David Harvey and Edward Soja. Lefebvre is widely recognized as a Marxist thinker who was responsible for widening considerably the scope of Marxist theory, embracing everyday life and the contemporary meanings and implications of the ever expanding reach of the urban in the western world throughout the 20th century.
เมื่อฉันทำการเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่ว่าง พบว่าปัญหานั้นลึกซึ้ง ท่ามกลางข้อขัดแย้งในเรื่องของการนิยามที่มากมายในความหมายของที่ว่าง ซึ่งได้ปรากฏอยู่ในงานเขียนต่างๆ มันมีส่วนหนึ่งที่มีพลังมากและถูกถอดถอนออกมาในนิยามทางการเมืองและสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดลักษณะของการเมืองขึ้น ซึ่งมันส่งผลกระทบอย่างมากในการเข้าไปพิจารณาแยกแยะการเมืองในคุณลักษณะเชิงที่ว่าง มีจำนวนน้อยมากที่นักเขียนจะผลักใสที่ว่างให้เป็นไปในลักษณะนี้. หลายๆ คนได้ให้คำนิยามความหมายเช่น ศูนย์กลาง (Center)/ ขอบเขต (Periphery)/ ชายขอบ (Margin) เป็นต้น และการเข้าไปตรวจสอบ "การเมืองเรื่องตำแหน่งแห่งที่" (Politic of Locations) การคิดในเรื่องที่มีคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้นมีลักษณะไม่คงที่ มีความเคลื่อนไหวอย่างมาก แต่สำหรับ "ที่ว่างของการเป็นอื่นนั้น" เป็นที่ว่างซึ่งมีลักษณะที่ขาดหายไป ของการเมือง
บ่อยครั้งการใช้คำนิยามคุณลักษณะเชิงที่ว่างไม่มีการตรวจสอบ มันปรากฏขึ้นแก่ฉันอย่างเด่นชัดเมื่อฉันอ่านคำแถลงการณ์ของเออเนสโต้ แลคเลา (Ernesto Laclau) (*) ในหนังสือใหม่ที่ชื่อว่า การสะท้อนภาพใหม่ของการวิวัฒนาการในช่วงเวลา ในเรื่อง "การเมืองและที่ว่าง" สิ่งที่เขียนนั้นมีความเกี่ยวข้องและมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในเวลาเดียวกัน การเมืองนั้นจะปรากฏอยู่ตราบเท่าที่ที่ว่างได้หลบเลี่ยงเราอยู่ (Eludes) สำหรับนักภูมิศาสตร์ ได้ใช้เวลาหลายปีในการสร้างการโต้แย้งถึงเรื่องความไม่หยุดยิ่งและหนทางการเมืองที่ก้าวหน้าในการสร้างคำว่า "คุณลักษณะเชิงที่ว่าง"
(*)Ernesto Laclau (b.1935 in Buenos Aires) is an Argentinian political theorist often described as post-Marxist. He is a professor at the University of Essex where he holds a chair in Political Theory and was for many years director of the doctoral Programme in Ideology and Discourse Analysis.
Laclau's most important book is Hegemony and Socialist Strategy, which he co-authored with Chantal Mouffe. Their thought is usually described as post-Marxist as they were both politically active in the social and student movements of the 1960s and thus tried to join working class and new social movements. They rejected Marxist economic determinism and the notion of class struggle being the crucial antagonism in society. Instead they urged for radical democracy of agonistic pluralism where all antagonisms could be expressed.
เพราะว่าข้อสงสัยของฉันนั้น เป็นคำถามเดียวกับหนังสือของแลคเลา และเพราะว่าการเปิดเผยความหมายที่แสดงนัยนั้น ต้องการการอ่านอย่างละเอียด (ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้จำนวนของนักเขียนที่เป็นแบบนี้มีน้อยมาก) การถกเถียงนี้ทำให้เกิด ภาพสะท้อนใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นจุดเริ่มต้น และนำไปสู่แนวทางในการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ แต่ความหมายที่บอกเป็นนัยของการนิยามซึ่งถูกใช้โดย แลคเลาทำให้เกิดการรื้อค้นความหมายของที่ว่างเชิงการเมือง โดยเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่างนักเขียนหลายท่าน ดังเช่น ในการโต้แย้งกันในเรื่องของธรรมชาติของโครงสร้างนิยม และเป็นจุดของการอ้างอิงในหลายบทความ หลายต่อหลายครั้ง ที่มุมมองพื้นฐานเหล่านี้ ถูกใช้ร่วมกันระหว่างผู้ประพันธ์ ดังเช่น เฟดริค เจมส์สัน (Federick Jameson) ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างข้อโต้แย้งในอีกทางหนึ่งที่แตกต่างจาก แลคเลา โดยสิ้นเชิง
โดยสรุปแล้ว มุมมองของแลคเลาต่อเรื่องที่ว่างนั้นเป็นเรื่องความจริงของการหยุดนิ่ง (Stasis) โดยเมื่อพิจารณาความจริงที่มีคุณลักษณะเชิงที่ว่าง จะพบว่า ไม่มีความจริงที่มีลักษณะเป็นชั่วคราว (Temporality) และ ไม่สามารถเกิดความเป็นไปได้อื่นๆ ของมิติการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสัมพันธ์ที่นำไปสู่ ความเป็นหลังสมัยใหม่(Postmodernity) ในขณะที่คุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้นถูกให้ความหมายและพิจารณาอย่างแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับคำอธิบายของแลคเลา โดยเจมส์สัน ผู้ซึ่งมองช่วงเวลาหลังสมัยใหม่เป็นดังเช่น เรื่องของการที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามความสำคัญของที่ว่าง ซึ่งหากจะตีความตามนิยามของความหลากหลายแล้ว ที่ว่างนั้นมีความลึกอย่างที่สุดซึ่งเป็นอนันต์ ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของแลคเลา และสำหรับเจมส์สัน มันเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการกีดกันในการพิจารณา "ที่ว่าง" ในมิติของการเมือง
การถกเถียงกันนี้จะเป็นการพูดถึงมุมมองของความจริงที่ซับซ้อน ซึ่งพิจารณาไปพร้อมกับเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง. เลอแฟร์ ได้โต้แย้งกับคนอื่นๆ และยืนกรานในเรื่องความสำคัญของการพิจารณาไม่เพียงแต่สิ่งที่เรียกว่าเป็นคุณลักษณะเชิง 'เรขาคณิต' ของที่ว่าง แต่ยังกล่าวถึงระดับขั้นตอนในการปฎิบัติการณ์ของที่ว่างและ ความหมายเชิงสัญลักษณ์ ของที่ว่างซึ่งมีความเฉพาะเจาะจง และการทำให้เกิดเป็นคุณลักษณะเชิงที่ว่าง การมุ่งเน้นในเรื่องนี้ เป็นเรื่องของมุมมองที่มีต่อที่ว่าง ดังเช่นที่ฉันควรจะเรียกมันว่า "มิติ" (Dimension) ข้อโต้แย้งซึ่งมีความแตกต่างหลายหนทางของการสร้างเรื่องของ "คุณลักษณะเชิงที่ว่าง" นี้ ทำให้เกิดฐานคิดที่แตกต่างกัน (หรือในบางกรณี ไม่มีฐานคิดใดเลย) จากการทำให้ที่ว่างเป็นเรื่องการเมือง แต่อย่างไรก็ตามประเด็นของการสร้างที่ว่างนั้น เป็นมากกว่าความสนใจทางเทคนิค มันเสมือนเป็นภาพตัดทางยาวของสิ่งซึ่งเราได้ประสบและสร้างโลกขึ้นมา
ที่ว่างและเวลา
การทบทวนวรรณกรรมต่างๆ ได้เปิดเผยความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่า ที่ว่าง
แต่มันมีลักษณะอย่างหนึ่งของความหมายนี้ ซึ่งมีความชัดเจนและถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย
นั่นคือการนิยามที่ว่างให้มีลักษณะที่"หยุดนิ่ง"และมีความหมายถึง"สิ่งตรงข้ามกับเวลา".
แลคเลา ได้เสนอความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เขาได้ให้นิยามว่าเป็น"เวลา"
(Temporal) และ สิ่งที่เขาเรียก"ที่ว่าง" ว่าเป็นกุญแจไปสู่ข้อโต้แย้งของเขาทั้งหมด
ทัศนะในเรื่อง"เวลา"และ"ที่ว่าง"ของแลคเลานั้น เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของวิธีการในการทำความเข้าใจระบบสังคม แลคเลาได้เสนอว่า ความซับซ้อนใดๆ ที่ถูกควบคุมด้วยกฎเชิงโครงสร้างของการสืบต่อและสร้างการประสบความสำเร็จนั้นคือ ที่ว่าง (Space) และคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้นหมายถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างโครงสร้าง ซึ่งสร้างขึ้นโดยธรรมชาติที่เป็นด้านดีของนิยามทั้งหมดของมัน และการอ้างถึงโครงสร้างที่สมบูรณ์ ซึ่งมีความสามารถในการจัดแจงตนเองได้นั้น (Self Determining) (*) ถูกตีตราว่าเป็นเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง ซึ่งมีความหมายว่า โครงสร้างของคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถึงแม้ว่าบางทีมันอาจเป็นไปได้แต่สาระสำคัญคือผลรวมของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภายในสู่โครงสร้างทั้งหมด หากพิจารณาคุณลักษณะเชิงที่ว่างด้วยมุมมองแบบนี้ มันจะไม่มีสิ่งใดที่ทำให้เราประหลาดใจได้เลยเนื่องมาจาก ที่ว่างถูกตระเตรียมและสร้างขึ้นจากในสิ่งที่เราได้วิเคราะห์มาเป็นอย่างดีแล้ว แต่ในทางตรงกันข้ามกับระบบที่ปิดและสามารถจัดแจงตนเองได้ในคุณลักษณะเชิงที่ว่าง
(*) Self-determination is defined as free choice of one's own acts without external compulsion, and especially as the freedom of the people of a given territory to determine their own political status or independence from their current state.[1] The latter is a complex concept with conflicting definitions and legal criteria for determining which groups may legitimately claim the right to self-determination.
คำว่า "เวลา" ซึ่งสำหรับแลคเลาแล้ว หมายถึง "การย้ายตำแหน่งแห่งที่ (Dislocation) ความเคลื่อนไหว" ซึ่งส่งผลทำให้เกิดความยุ่งเหยิงในการคาดคะเนในการนิยามความหมายของระบบที่เป็นเหตุผล และคุณลักษณะเชิงที่ว่าง เนื่องมาจากสาเหตุที่ว่า เพราะ"ที่ว่าง"นั้น ขาดการย้ายสถานที่ มันจึงปราศจากความเป็นไปได้ในการที่จะเกิดการเมืองอื่นๆ ขึ้น แต่หากมีการย้ายตำแหน่งแห่งที่เกิดขึ้น ความยุ่งเหยิงก็เกิดขึ้นตามมา
นี่เป็นความแตกต่างที่โดดเด่นระหว่างเวลา ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่ที่ว่างซึ่งขาดการเคลื่อนไหวและหมุนเวียน ในมุมมองของแลคเลา "ที่ว่าง"นั้น สามารถเกิดความเคลื่อนไหวและความเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่านสิ่งที่เรียกว่า ระบบคุณลักษณะเชิงที่ว่าง (Spatial System) ซึ่งไม่ใช่ความเคลื่อนไหวที่แท้จริงแต่เป็นความหมายของการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีความหมายในเชิง 'ระบบ' โดยมันมีความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจากประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตนั้น มีการมอง"เวลาเป็นวงกลม"เป็นเวลาแห่งการทำซ้ำ (Reproduction) เป็นภาพสะท้อนของวิถีชีวิตชาวนา การค่อยคลี่คลายของการหมุนวนของฤดูกาล การหมุนของโลกทำให้เกิดช่วงเวลาที่ฝังตรึงในความเข้าใจ (Embedded) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของเราที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ช่วงเวลาอย่างนี้ที่แลคเลาได้เสนอ ว่าเป็นช่วงเวลาที่ "เวลา" เป็นที่ว่าง
ข้อโต้แย้งของแลคเลานี้ เป็นสิ่งที่เราต้องประสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกซึ่งมีโครงสร้างคือเวลา (Temporal) ที่การย้ายตำแหน่งนั้นเป็นไปอย่างธรรมชาติ และความเปิดกว้างซึ่งเป็นสาระสำคัญนี้ได้ทำให้เกิดความเป็นไปได้หลายๆ อย่างในเชิงการเมือง โดยความพยายามที่จะแสดงภาพตัวแทนของที่ว่างของโลก หรือแม้แต่การแสดงโลกที่มีที่ว่างในเชิงกายภาพนั้น (Physical Space) เป็นความพยายามที่จะเพิกเฉยต่อการย้ายตำแหน่ง และที่ว่างนั้นในความหมายนี้จะเป็นเพียงภาพตัวแทนทาง (อุดมคติ) ของความพยายามที่จะปิดกั้นการใช้ภาพตัวแทนใดๆ และที่ว่างใดๆ เป็นความพยายามที่จะเข้าไปกำหนดสร้าง (Constitute) สังคม แต่ไม่ใช่การพยายามจะบอกว่ามันคืออะไร? ทำให้ "ที่ว่างอย่างบริสุทธิ์" ในความหมายนี้ ไม่สามารถปรากฏอยู่ได้ เพราะที่ว่างถูกนำมาใช้การสร้างภาพตัวแทน ความผิดพลาดของความพยายามที่จะเป็นผู้อิทธิพลเหนือกว่า (ในความหมายของแลคเลาคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในคุณลักษณะเชิงที่ว่าง) ในเรื่องของการกำหนดสร้างความจริง - รวมไปถึงที่ว่างเชิงกายภาพ - นั้นต่างอยู่ในภาวะชั่วคราว (The Ultimate Instance Temporal หรือ เกิดเป็นมายาคติในเรื่องธรรมชาติของที่ว่าง (The Mythical Nature of any Space)
แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า เรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้นไม่ได้ไม่มีความสำคัญ สำหรับเรื่อง "คุณลักษณะเชิงที่ว่าง" ลักษณะของอุดมคติ ถูกพบเห็นเสมือนว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสังคมเป็นสิ่งที่ก่อร่างสร้างมันขึ้นมา และตราบเท่าที่สังคมไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากความหมายที่ถูกกำหนดไว้, ปราศจากวาทกรรมของการปิดกั้น , สิ่งที่เป็นอุดมคตินั้น จะต้องถูกเห็นดังเช่นสิ่งที่ก่อร่างสร้างสังคม ประเด็นเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างไม่ได้หมายถึงเรื่องความสัมพันธ์เชิงลำดับของเวลา แต่ความหมายของมันคือการคิดร่วมกันในเรื่องของเวลา และเรื่องของที่ว่างที่ทำให้แลคเลาสร้างข้อโต้แย้งในการเข้ามาถอดรื้อการเมืองในที่ว่าง
ลักษณะคุณลักษณะเชิงที่ว่างของแลคเลาคือ ความสัมพันธ์อย่างชาญฉลาดของสิ่งที่เป็นมากกว่าความคิดทั่วไปเกี่ยวกับที่ว่างและเวลา (หรือเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างและเวลา) โดยเวลาเป็นองค์ประกอบหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากประวัติศาสตร์ (History) ที่ถูกทำขึ้น ในขณะที่เวลาเปลี่ยนแปลงไป แต่ที่ว่างยังคงหยุดนิ่ง ที่ซึ่งไม่มีสิ่งใดๆ เกิดขึ้น
มันมีหลายหนทางซึ่งสำหรับฉันแล้ว ลักษณะของที่ว่างและความจริงของเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้นก่อให้เกิดคำถาม สามเรื่องคือ
1) เป็นเรื่องของการโต้แย้งซึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มนักภูมิศาสตร์แบบสุดโต่ง(Radical Geography) มากว่าสองทศวรรษ และจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบ
2) การเข้าไปตรวจสอบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเพศสถานะ (Gender) กับที่ว่าง และ
3) การมองจากมุมมองของเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างที่ว่างและเวลาแบบฟิสิกส์
โดยในบทความนี้จะเสนอประเด็นสองประเด็นแรกเท่านั้น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านบทความเดียวกันตอนที่ ๒
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ในปัจจุบันวัฒนธรรมตะวันตก
ผู้หญิงเองก็ถูกนิยามในความหมายของการไม่ปรากฏเช่นเดียวกับที่ว่าง ทำให้เกิดความสงสัยว่า
มันเป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ หรือที่ว่า "ที่ว่าง" และ "ผู้หญิง"
นั้น ต่างถูกนิยามในรูปแบบของการแบ่งสอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงถูกนิยามว่าไม่ใช่
A รูปแบบทั้งหมดที่จะนำเสนอต่อไปนี้คือ รูปแบบของคำในเชิงทวิลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเวลาและที่ว่าง
- โดยในเรื่องของ"เวลา"
มักจะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์, ความก้าวหน้า, อารยธรรม, วิทยาศาสตร์,
การเมือง และเหตุผล สิ่งต่างๆ ถูกทำให้ดูเสมือนว่าเป็นเรื่องสำคัญ -
ส่วนในเรื่องของ"ที่ว่าง"นั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ อาทิเช่น
ความหยุดนิ่ง (Stasis), การผลิตซ้ำ (ที่เรียบง่าย), การถวิลหาอดีต, อารมณ์,
สุนทรียศาสตร์, ร่างกาย (คัดลอกมาจากบทความ)