1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
แนวคิดทวนกระแสอาหารจานด่วนในยุคโลกาภิวัตน์
SLOW FOOD (SAVES THE WORLD): อาหารประณีตจากแผ่นดินแม่
กรรณิการ์
กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วใน a day
weekly
global report /
ฉบับ 027 หน้า 38-42
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
บทความต่อไปนี้ ได้รับจากผู้เขียน
และถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)
เมื่อ กว่า 20 ปีที่แล้ว
คาร์โล เพตรินี นักข่าวชาวอิตาเลียน เฝ้ามองการเปิดตัว
ของแมคโดนัลด์สาขาแรกกลางกรุงโรม แล้วเขาก็ตระหนักว่า ไม่มีที่ไหนในโลก
อีกแล้วที่จะรอดพ้นเงื้อมมือของบรรษัทอาหารยักษ์ แม้แต่ในอิตาลีที่รสชาติอาหาร
มีความสำคัญในวิถีชีวิต เขาจึงก่อตั้ง Slow Food Movement ขึ้นมาเพื่อปกป้อง
วัฒนธรรมอาหาร เขากล่าว "เราถือกำเนิดจากสมาคมคนรักอาหารที่หลงใหล และ
ใส่ใจในอาหารและไวน์ที่กำลังถูกทำลายเพราะวิถีชีวิตอันเร่งรีบ วิถีชีวิตและการผลิต
อาหารที่กำลังทำให้รสชาติอาหารเหมือนกันไปหมด และทำลายวัฒนธรรม
"เรื่องน่าเศร้าที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ เกษตรกรร่ำรวยผลิตอาหารเพื่อคนในประเทศยากจน
ส่วนคนจนผลิตอาหารเพื่อคนร่ำรวย ทั้งที่ยังมีหนทางที่สามคือ ความเป็นธรรม
ราคายุติธรรม และคุณภาพ"
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๑๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แนวคิดทวนกระแสอาหารจานด่วนในยุคโลกาภิวัตน์
SLOW FOOD (SAVES THE WORLD): อาหารประณีตจากแผ่นดินแม่
กรรณิการ์
กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วใน a day
weekly
global report /
ฉบับ 027 หน้า 38-42
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
คำโปรย
- "ชุมชนอาหารทำหน้าที่ทางยุทธศาสตร์ที่จะสร้างความเท่าเทียมกันของสังคม เพราะชุมชนเกษตรกรรมคือชุมชนของความเป็นพี่เป็นน้อง ปราศจากซึ่งความเห็นแก่ตัว ทุกคนร่วมใจกันปกป้องรักษาดำรงวัฒนธรรมและพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ของเรา เชื่อมประสานทั้งความรู้เก่าและใหม่ ถือเป็นหน้าที่สำคัญของคนที่เลี้ยงดูโลก เป็นสัญลักษณ์ระหว่างคน ธรรมชาติ และชีวิต อาหารจากทุกที่"- ทุกวันนี้สิ่งที่ถูกเรียกว่าอาหาร มันไม่ใช่อาหาร แต่เป็นของเหลือจากสงครามสารเคมี มันเป็นสงครามต่อต้านเกษตรกรและต่อต้านโลก ทางเลือกที่เรากำลังสร้างอยู่นี้ เป็นพลังเพื่อนำไปสู่สันติสุข สันติภาพสำหรับทุกวัฒนธรรม ทุกวันนี้ คนมักจะกลัวความหลากหลาย แต่ถ้าคุณมาที่นี่ คุณจะรู้ว่า เราอยู่ร่วมกันได้แม้จะมีความแตกต่างกัน
- "อาหารที่พวกคุณผลิต ไม่ใช่เพียงแค่อาหาร เพราะมันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมวิถีชีวิตเกษตรกร เป็นประวัติศาสตร์วิถีชีวิตชนบท แสดงความเอาใจใส่ในชีวิตสัตว์ แสดงความรักในผืนดิน เป็นตัวแทนความทรงจำในวัยเยาว์ ความรู้และภูมิปัญญาที่ร่ำเรียนจากบรรพบุรุษ ความรู้และมีความเข้าใจในสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศท้องถิ่นเป็นอย่างดี"
- โรงเรียนมัธยมแอพเพิลตัน ในรัฐวิสคอนซิล ก่อนหน้านี้ เด็กนักเรียนที่นั่นมีปัญหาพฤติกรรมอย่างมาก โรงเรียนจึงหาทางแก้ ไม่ใช่ด้วยการอบรม หรือลงโทษ แต่เป็นการแก้ด้วยการเปลี่ยนอาหาร
ความนำ
วิญญาณอันยิ่งใหญ่สร้างโลกให้ทุกสรรพสิ่งเป็นพี่น้องกัน
ไม่ว่าเขาจะมีปีก มีหาง หรือมีขา ฉะนั้นเราจึงต้องรัก ปกป้อง และเป็นหนึ่งเดียวกันกับญาติพี่น้องของเรา
ตัวแทนจากชาวอเมริกันพื้นเมือง
โลกาภิวัตน์แบบแดกด่วน
:
They want us all to be the same
คุณรู้หรือไม่ว่า อุตสาหกรรมเกษตรที่เน้นการผลิตคราวละมากๆ ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างเข้มข้น
ใช้ทรัพยากรอย่างไม่จำกัด ถางป่า ขุดภูเขา สร้างเขื่อน จับสัตว์ธรรมชาติอย่างทำลายล้าง
จนกระทั่งทำให้
- ทุกวันนี้ มีพืชเพียง 30 ชนิดที่เลี้ยงประชากรเกือบ 95 เปอร์เซ็นต์ ของโลก
- ในช่วงศตวรรษที่แล้วพืชผักกว่า 30,000 ชนิดหายไปจากโลกนี้ และทุกๆ 6 ชั่วโมงจะมีพันธุ์พืชสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ 1 ชนิด
- ตั้งแต่เริ่มศตวรรษที่ 20 ความหลากหลายของพืชอาหาร 75 เปอร์เซ็นต์ ในทวีปยุโรปสูญหายไป
- ช่วงเวลาเดียวกัน 93 เปอร์เซ็นต์ ของความหลากหลายของพืชอาหารในสหรัฐอเมริกาสูญหายไป
- 33 เปอร์เซ็นต์ ของพันธุ์สัตว์ปีกที่หลากหลายทั่วโลกกำลังสูญหาย หรือตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์
- 1 ใน 3 ของวัว แกะ และหมูพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่สูญพันธุ์ไปแล้ว และที่เหลือกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติใกล้จะสูญพันธุ์คุณรู้หรือไม่ว่า
- สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ไก่เหลืองพันธุ์พื้นเมืองชั้นดีของฮังการีสูญพันธุ์ไป
- สงครามโคโซโว ทำให้หมูดำพันธุ์สโลวาเนียที่ใช้ทำ เซอร์รามี (แหนมฝรั่ง) ที่พิเศษที่สุดชนิดหนึ่งสูญพันธุ์
- ก่อนสงครามอัฟกานิสถาน ประเทศนี้มีองุ่นหลากหลายพันธุ์มาก ตั้งแต่องุ่นเขียวไร้เม็ดขนาดเล็กเท่าถั่วดำคุณภาพดีสามารถผลิตไวน์ชั้นเลิศ ไปจนถึงองุ่นสีม่วงเม็ดโตรสพิเศษใช้ทำเป็นลูกเกดรสเลิศ แต่ปัจจุบันนี้หลงเหลืออยู่น้อยมาก และเหลือเพียงไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้น
- ขณะที่ปาเลสไตน์ถูกอิสราเอลแย่งชิงทั้งน้ำและที่ดิน ต้นมะกอกเก่าแก่หลายพันเอเคอร์ก็ถูกรถบูโดเซอร์ของกองทัพอิสราเอลกราดเรียบราบเป็นหน้ากลอง ฯลฯแล้วคุณรู้หรือไม่ว่า
- วัวทังโกกุของญี่ปุ่น สู้วัวในฟาร์มอุตสาหกรรมไม่ได้ ทั้งที่ไขมันน้อย ทานได้ทุกวัน
- วัวไซบีเรียที่เหมาะกับภูมิอากาศท้องถิ่น ถูกตีตลาดด้วยเนื้อวัวราคาถูกจากต่างถิ่น
- ไก่แอฟริกาหลากหลายพันธุ์ที่ออกไข่หลากสีสัน ตั้งแต่ไข่สีแดงไปจนถึงไข่สีดำ ไข่สีเขียวตามธรรมชาติ และมีลักษณะพิเศษเหมาะกับท้องถิ่น เช่น ขนน้อย ทนอากาศร้อนในทวีปแอฟริกาได้ดี ไขมันน้อย หนังบาง กลับสู้ไก่อุตสาหกรรมเนื้อเละๆ ราคาถูกๆ จากสหภาพ ยุโรปที่เข้ามาตีตลาดไม่ได้
- ชาวประมงจับกุ้งในรัฐหลุยส์เซียนาแทบจะต้องล้มละลาย เพราะกุ้งที่เขาเลือกจับแบบพิถีพิถัน เลือกขนาดที่โตเต็มที่ ไม่ใช้อวนลากอวนรุนกวาดเอาสัตว์น้ำที่ไม่ต้องการติดมาด้วย สู้กุ้งกุลาดำราคาถูกจากนากุ้งที่ถางป่าชายเลนจนเกือบเรียบด้ามขวานไทยไม่ได้
- ชีสราคาถูกจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ชีสพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์แต่ละท้องถิ่นกำลัง หดหายไป ทั้งที่ชีสจากโรงงานอุตสาหกรรมไม่ได้ทำจากนมด้วยซ้ำไป แต่ทำจาก by product of cow หลายคนยังไม่กล้ายืนยันว่า มันควรเรียกว่า อาหาร
- พืชน้ำมันคาโนลาจีเอ็มโอของบริษัทมอนซานโตและบริษัทเอเวนติส กระจายปนเปื้อนไปยังฟาร์มคาโนลาของเกษตรกรอินทรีย์ที่เมืองสเก็จเชวาน ประเทศแคนาดา ทั้งที่อยู่ในแปลงและในโรงเก็บ ปัจจุบันเกษตรกรอินทรีย์ที่เมืองสเก็จเชวานไม่สามารถทำเกษตรอินทรีย์ขายใครได้อีกต่อไป พวกเขาจึงต้องรวมตัวกันฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก 2 บริษัทนี้ ก่อนที่จะตกเป็นเหยื่อการฟ้องร้องของบริษัทตามที่ เพอร์ซี ชไมเซอร์ เพื่อนเกษตรกรชาวแคนาดาเคยโดนมาแล้ว
Slow Food Movement
เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว คาร์โล เพตรินี (*) นักข่าวชาวอิตาเลียน เฝ้ามองการเปิดตัวของแมคโดนัลด์สาขาแรกกลางกรุงโรม แล้วเขาก็ตระหนักว่า ไม่มีที่ไหนในโลกอีกแล้วที่จะรอดพ้นเงื้อมมือของบรรษัทอาหารยักษ์ แม้แต่ในอิตาลีที่รสชาติอาหารมีความสำคัญในวิถีชีวิต เขาจึงก่อตั้ง Slow Food Movement (**) ขึ้นมาเพื่อปกป้องวัฒนธรรมอาหาร
(*)Carlo Petrini (born June 22, 1949), born in the province of Cuneo in the commune Bra in Italy, is the founder of the International Slow Food Movement. He first came to prominence in the 1980s for taking part in a campaign against the fast food chain McDonald's opening near the Spanish Steps in Rome.
He is an editor of multiple publications at the publishing house Slow Food Editore and writes several weekly columns for La Stampa. He was one of Time Magazine's heroes of 2004. In 2004, he founded the University of Gastronomic Sciences, a school intended to bridge the gap between agriculture and gastronomy. In order to strengthen his campaign against intensive food production, he refers to the Pope's call for the protection of local agriculture, despite the renowned papal support for unsustainable population growth.
(**)Slow Food is a non-profit,
eco-gastronomic member-supported organization that was founded in 1989 to
counteract fast food and fast life, the disappearance of local food traditions
and people's dwindling interest in the food they eat, where it comes from,
how it tastes and how our food choices affect the rest of the world. Today,
we have over 85,000 members in 132 countries. (http://www.slowfood.com/)
philosophy
We believe that everyone has a fundamental right to pleasure and consequently the responsibility to protect the heritage of food, tradition and culture that make this pleasure possible. Our movement is founded upon this concept of eco-gastronomy - a recognition of the strong connections between plate and planet.
Slow Food is good, clean and fair food. We believe that the food we eat should taste good; that it should be produced in a clean way that does not harm the environment, animal welfare or our health; and that food producers should receive fair compensation for their work.
We consider ourselves co-producers, not consumers, because by being informed about how our food is produced and actively supporting those who produce it, we become a part of and a partner in the production process. (http://www.slowfood.com/about_us/eng/philosophy.lasso)
"เราถือกำเนิดจากสมาคมคนรักอาหารที่หลงใหลและใส่ใจในอาหารและไวน์ที่กำลังถูกทำลายเพราะวิถีชีวิตอันเร่งรีบ วิถีชีวิตและการผลิตอาหารที่กำลังทำให้รสชาติอาหารเหมือนกันไปหมด และทำลายวัฒนธรรม "เรื่องน่าเศร้าที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ เกษตรกรร่ำรวยผลิตอาหารเพื่อคนในประเทศยากจน ส่วนคนจนผลิตอาหารเพื่อคนร่ำรวย ทั้งที่ยังมีหนทางที่ 3 คือ ความเป็นธรรม ราคายุติธรรมและคุณภาพ"
มูลนิธิสโลว์ฟู้ด เริ่มจากการเสาะหาอาหารท้องถิ่นคุณภาพเยี่ยมที่กำลังจะสูญหาย ให้การสนับสนุนเพื่อรื้อฟื้นให้คืนกลับมาในนามโครงการ The Ark of Taste (*) เปรียบเหมือนเรือของโนอาห์ที่พยายามรวบรวมสัตว์ทุกชนิดก่อนที่น้ำจะท่วมโลก พวกเขายังมีโครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการดำรงการผลิตทั้งอาหารที่มีคุณค่ากับวัฒนธรรม และอาหารที่มีความสำคัญกับชุมชมท้องถิ่นกว่า 250 โครงการทั่วโลก และทุก 4 ปีจะมีการแจกรางวัล Slow Food Award
(*) The Ark of Taste
is part of the Slow Food Foundation for Biodiversity, and is aimed at identifying
and preserving unique economic, social, cultural, and culinary heritage in
the form of endangered foods. Most members of Slow Food practice eco-gastronomy,
but the Ark of Taste takes it to the next level, actively working to save
the rare foods that people eat all over the world. According to Slow Food
International, Europe has lost 75% of its crop diversity since 1900, and the
United States has lost 93%. Thirty plants feed the majority of the global
population, meaning that culinary diversity and biodiversity are both at serious
risk. Under the Ark of Taste program, Slow Food has been working to save rare
varietals ranging from Irish Kerry cattle to Roman Taffy Candy from Louisiana.
(http://www.wisegeek.com/what-is-the-ark-of-taste.htm)
Slow Food ไม่ได้หมายความถึงอาหารชาววัง อาหารที่ถูกจัดเตรียมและปรุงอย่างประณีตเท่านั้น บางครั้งหน้าตาของอาหารอาจจะธรรมดาอย่างที่สุด แต่มันต้องหมายความถึงการเพาะปลูก การผลิต ที่เคารพธรรมชาติ เคารพภูมิปัญญาท้องถิ่น และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ. ทุก 2 ปี มูลนิธิสโลว์ฟู้ดจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน The Salone del Gusto ซึ่งหมายถึงห้องโถงแห่งรสชาติ เพื่อให้คนในเมืองได้สัมผัสกับรสชาติอาหารที่แท้จริงที่ไม่ได้ออกจากโรงงานอุตสาหกรรมแดกด่วน
แซค โกลด์สมิธ บรรณาธิการของดิ อิโคโลจิส เจ้าภาพจัดงานเทศกาลชิมอาหารสโลว์ ฟู้ดในมหานครลอนดอนเพื่อต้านพืชและอาหารจีเอ็มโอเมื่อต้นปี กล่าวว่า "ปีที่แล้ว เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รายได้ของแมคโคนัลด์ลดลง และอาหารอินทรีย์กำลังเป็นกระแสความต้องการหลักของผู้บริโภค" เขาเกลียดอาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะมันผลิตจำนวนมากๆ มีพลังอำนาจที่จะทำลายชีวิตทั้งคนและสิ่งแวดล้อม การผลิตเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนอุตสาหกรรมอาหารทำลายวิถีชีวิตของเกษตรกรทุกที่บนโลก "สโลว์ฟู้ดจะเป็นพลังทางสังคมที่ช่วยกอบกู้โลก"
Terra Madre แผ่นดินแม่
ปีนี้เป็นปีแรกที่มูลนิธิสโลว์ฟู้ดหาญกล้าจัดงานใหญ่ Terra Madre (*) ซึ่งหมายถึงแผ่นดินแม่เพื่อเป็นการประชุมระดับโลกของชุมชนอาหารทั่วโลก มีคนมาร่วมงานถึง 4,888 คน มาจาก 1,202 ชุมชนของ 128 ประเทศทั่วโลก จนต้องกระจายผู้ร่วมงานไปพักตามที่ต่างๆ ในภูมิภาคพีมอนเต(Peimonte Region) เป็นรัศมี 100 กิโลเมตรรอบที่ประชุม
(*)Terra Madre is a network of food communities, each committed to producing quality food in a responsible, sustainable way. Terra Madre also refers to a major bi-annual conference held in Torino, Italy intended to foster discussion and introduce innovative concepts in the field of food, gastronomy, globalization, economics. Terra Madre is coordinated by the Slow Food organization.
The first Terra Madre conference took place in Turin in 2004 and was attended by 5,000 delegates from 150 countries. The program included 61 Earth Workshops at which the participants discussed topics such as organic certification, rural communication, rare livestock breeds, indigenous agriculture systems and small-scale fishing. The Torino (Turin) Terra Madre conference convenes every two years in the Fall. In October 2006 (October 26 to October 30), Terra Madre drew over 6,500 participants from all over the world. Presenters and attendees board in Torino as well as throughout the Piedmont region. Over 1,500 people in the Piedmont region opened their doors for Terra Madre delegates to stay with them as a place besides hotels. Terra Madre 2006 focused on the relationships between food communities, cooks, universities and scientists.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ 61 ห้อง มีตั้งแต่เรื่องเมล็ดพันธุ์ ข้าว น้ำ เนื้อ ชีส ไวน์ น้ำผึ้ง การค้า การตลาด การศึกษา และการทำความเข้าใจกับผู้บริโภค เพื่อช่วยกันค้นหาทางออกสำหรับวิกฤติอาหารและวัฒนธรรมของโลก การประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากเมือง ภาค และกระทรวงเกษตรและป่าไม้ของอิตาลี ที่ออกทุนเชื้อเชิญชุมชนอาหาร (Food communities) มาจากทั่วโลก ชุมชนอาหารในที่นี้หมายถึงทั้งผู้ผลิต เกษตรกร ชาวประมง คนเลี้ยงสัตว์ ผู้ผลิตอาหาร ตลอดจนผู้บริโภค ซึ่งในที่นี้เรียกว่า ผู้ผลิตร่วม (co-producer) เพราะไม่ต้องการให้ผู้บริโภค บริโภคอย่างไม่คิดอะไรเท่านั้น แต่ควรต้องตระหนักถึงบทบาทของตัวเองในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากร และชีวิตชุมชนด้วย
"ชุมชนอาหารทำหน้าที่ทางยุทธศาสตร์ที่จะสร้างความเท่าเทียมกันของสังคม เพราะชุมชนเกษตรกรรมคือชุมชนของความเป็นพี่เป็นน้อง ปราศจากซึ่งความเห็นแก่ตัว ทุกคนร่วมใจกันปกป้องรักษาดำรงวัฒนธรรมและพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ของเรา เชื่อมประสานทั้งความรู้เก่าและใหม่ ถือเป็นหน้าที่สำคัญของคนที่เลี้ยงดูโลก เป็นสัญลักษณ์ระหว่างคน ธรรมชาติ และชีวิต อาหารจากทุกที่ ข้าวจากเอเชีย ฟูฟูจากแอฟริกา จาปาตีจากอินเดีย พาสตาจากอิตาลี ขนมปังในยุโรป ฯลฯ แสดงถึงความหลากหลายและแสดงถึงเศรษฐกิจที่ต่อต้านความอดอยาก
"อย่างไรก็ตามความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ กำลังถูกทำลายโดยการบงการและครอบงำของกลุ่มทุนที่แสวงหากำไรเพื่อคนส่วนน้อย เอารัดเอาเปรียบแรงงาน ทำลายสิ่งแวดล้อม การต่อสู้เพื่อปกป้องความหลากหลายจึงเป็นความสำคัญของเกษตรกรทั่วโลก สำหรับเราที่เป็นคนผลิตเพื่อแผ่นดินแม่ เพื่อสิทธิเสรีภาพและอธิปไตย เรามีสิทธิที่จะจัดการทรัพยากรของเราเอง และต่อต้านบรรษัทข้ามชาติที่ผลิตจีเอ็มโอและสารเคมีเป็นการผลิตที่ค้านกับธรรมชาติ
"ชุมชนเดียวไม่สามารถต่อสู้ได้โดยลำพัง เพราะมันมีทั้งการล็อบบี้ กดดัน และทำลาย. เราจึงต้องรวมตัวกันกระจายข้อมูลข่าวสารแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อรักษามรดกแผ่นดินไว้ ผู้บริโภคจะมีชีวิตที่ดีได้ก็ต่อเมื่อผู้บริโภคตระหนักถึงการเป็นผู้ผลิตร่วมของตัวเอง เพื่อความพอใจ คุณภาพ สิทธิชุมชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เราจึงจะฝ่าวิกฤตินี้ไปได้ ขอให้เราใช้ความเป็นพี่น้อง เพื่อนำไปสู่อิสรภาพและความเท่าเทียม" คาร์โล เพรตินี ประธานมูลนิธิสโลว์ฟู้ด กล่าว
วันทนา ศิวะ (*) นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวชาวอินเดีย กล่าวเปิดงานด้วยความยินดี "ฉันดีใจมากที่ได้มาร่วมงาน ฉันอยากเห็นโลกเป็นแบบนี้ มีความหลากหลายของท้องถิ่น หน้าตา สีผิวก็หลากหลาย เป็นความงดงามจริงๆ"
(*)Vandana Shiva, is a physicist, environmental activist and author. Shiva, currently based in New Delhi, is author of over 300 papers in leading scientific and technical journals. Shiva participated in the nonviolent Chipko movement during the 1970s. The movement, whose main participants were women, adopted the tactic of hugging trees to prevent their felling. She is one of the leaders of the International Forum on Globalization, (along with Jerry Mander, Edward Goldsmith, Ralph Nader, Jeremy Rifkin, et al.), and a figure of the global solidarity movement known as the alter-globalization movement. She has argued for the wisdom of many traditional practices, as is evident from her interview in the book Vedic Ecology (by Ranchor Prime) that draws upon India's Vedic heritage.
Terra Madre ให้ความสำคัญกับคนเล็กคนน้อยในจุดต่างๆ ของการผลิต ชอบคำที่เรียกผู้บริโภคว่าผู้ร่วมผลิต เพราะการบริโภคมีนัยยะแห่งการทำลายล้าง ไม่สนใจโลก ไม่สนใจสิทธิมนุษยชน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม. ทุกวันนี้สิ่งที่ถูกเรียกว่าอาหาร มันไม่ใช่อาหาร แต่เป็นของเหลือจากสงครามสารเคมี มันเป็นสงครามต่อต้านเกษตรกรและต่อต้านโลก ทางเลือกที่เรากำลังสร้างอยู่นี้ เป็นพลังเพื่อนำไปสู่สันติสุข สันติภาพสำหรับทุกวัฒนธรรม ทุกวันนี้ คนมักจะกลัวความหลากหลาย แต่ถ้าคุณมาที่นี่ คุณจะรู้ว่า เราอยู่ร่วมกันได้แม้จะมีความแตกต่างกัน
มิเกล อัลทีอะรี นักวิชาการจากชิลี
กล่าวว่า การรวมตัวของชุมชนอาหารครั้งนี้ ถือเป็นการท้าทายกระบวนทัศน์เกษตรกระแสหลัก
ที่ชี้นำโดยประเทศร่ำรวยและเป็นรากฐานของความอดอยาก ไม่ใช่อาหารไม่พอ แต่เราใช้ปัจจัยภายนอกมากไป
มีแต่ผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้นที่อยู่รอด เราต้องต่อต้านพืชตัดต่อพันธุกรรมที่อ้างว่าเพิ่มผลผลิต
เพราะภัยร้ายแรงจากการปนเปื้อนนั้นรุนแรงกว่าที่คิด
และข้ออ้างที่ว่า การตลาดและเกษตรสมัยใหม่ช่วยเกษตรกรนั้นไม่เป็นความจริง แต่จะยิ่งทำให้เกษตรกรยากจนลง
ฉะนั้นจึงต้องมีการเชื่อมผู้ผลิตกับผู้บริโภค หนทางที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารคือ
ให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน ผู้ผลิตรายใหญ่ไม่ทุ่มตลาด เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์
มีเงินทุนให้เกษตรกรได้กู้ยืม ให้ลดการผูกขาด ให้มีการทำวิจัยสนับสนุน ต้องไม่มีจีเอ็มโอ
และต้องไม่มีสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต. แบบแผนเศรษฐกิจที่ถูกต้อง ต้องเริ่มจากเกษตรรายย่อย
ไปสู่การปฏิรูประบบเกษตรอย่างแท้จริง สู่ตลาดท้องถิ่น พัฒนาอุตสาหกรรม ไม่ใช่ระบบที่ใช้การเปิดเสรี
แล้วมาสร้างผลกระทบต่อทุกส่วน เพราะในที่สุด ประเทศจะเป็นแค่ที่ดินราคาถูก แรงงานราคาถูก
ถูกแย่งชิงทรัพยากรเท่านั้น
ชุมชนอาหาร
งานครั้งนี้ มีตัวแทนจากเครือข่ายเกษตรทางเลือกของไทย 5 กลุ่มเข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ค้นหาความยั่งยืนของโลก
- กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ภาคเหนือ ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 200 ครอบครัว เกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตจากการปลูกเชิงเดี่ยวมาทำเกษตรอินทรีย์ เน้นการปลูกพืชท้องถิ่น เหลือจึงขาย ขณะนี้มีการตั้งตลาดสีเขียวเพื่อเป็นการพบปะกับผู้บริโภคโดยตรงใจกลางเมืองเชียงใหม่ทุกสัปดาห์ ทุกวันนี้ แม้ไม่มีเงินเหลือเก็บมากมาย แต่ก็สามารถยืดอกได้ว่าไม่มีหนี้
- ชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์ เริ่มปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2535 มีสมาชิกกว่า 700 คน สามารถเชื่อมต่อกับองค์กรปกครองท้องถิ่นระดับจังหวัดให้มีนโยบายและงบประมาณมาสนับสนุนเกษตรทางเลือก สามารถส่งออกสินค้าผ่านโครงการ Fair Trade (*) จุดยืนของกลุ่มนี้ชัดเจน ไม่ขายข้าวให้บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ตอนนี้กำลังโดดลงมาแย่งชิงตลาดอินทรีย์ด้วย (แต่เป็นอินทรีย์? แบบใช้สารเคมี 30 เปอร์เซ็นต์)(*)Fair trade is an organized social movement and market-based approach to alleviating global poverty and promoting sustainability. The movement advocates the payment of a fair price as well as social and environmental standards in areas related to the production of a wide variety of goods. It focuses in particular on exports from developing countries to developed countries, most notably handicrafts, coffee, cocoa, sugar, tea, bananas, honey, cotton, wine, fresh fruit, and flowers.
Fair trade's strategic intent is to deliberately work with marginalized producers and workers in order to help them move from a position of vulnerability to security and economic self-sufficiency. It also aims at empowering them to become stakeholders in their own organizations and actively play a wider role in the global arena to achieve greater equity in international trade. Fair trade proponents include a wide array of international religious, development aid, social and environmental organizations such as Oxfam, Amnesty International, and Caritas International.
- กลุ่มประมงขนาดเล็ก จังหวัดตรัง ชาวประมง 13 หมู่บ้านเริ่มตั้งวงพูดคุยกันถึงประสบการณ์และปัญหาที่เกิดจากเรือประมงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และจำนวนปลาที่ลดลงจากการใช้เครื่องมือประมงแบบทำลายล้าง ตั้งแต่ปี 2536 ทุกวันนี้พวกเขายังมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้มีการสืบต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน
- เครือข่ายเกษตรทางเลือก ภาคใต้ ชุมชนที่พยายามรักษาระบบการผลิตแบบดั้งเดิมที่เน้นความหลากหลายของต้นไม้ คงพันธุ์พืชผลไม้ท้องถิ่นให้รอดพ้นจากการรุกรานของสวนยางพารา และพวกเขายังพิสูจน์คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน
- ชุมชนผู้อนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้านอีสาน กลุ่มนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 เพื่ออนุรักษ์พันธุ์พื้นเมืองที่สูญหายไปนับจากที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งการปลูกข้าวเพื่อการส่งออก ข้าวพันธุ์พื้นเมืองแต่ละพันธุ์มีลักษณะเฉพาะและเหมาะแก่การทำอาหารแต่ละชนิด ไม่ใช่ข้าวชนิดเดียวทำอาหารทุกชนิด
ไม่เอาจีเอ็มโอ
ตูริน (Turin) เมืองที่เป็นสถานที่จัดงาน จัดว่าเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม ที่นี่มีโรงงานผลิตรถยนต์เฟียตขนาดใหญ่ ดูช่างขัดกับงานที่ว่าด้วยเกษตรกรรมและอาหาร. เอ็นโซ คีโก ประธานภูมิภาคพีมอนเต (อิตาลีแบ่งการปกครองเป็น 21 ภูมิภาค ตูรินอยู่ในภูมิภาคพีมอนเต) ไขข้อข้องใจนี้ว่า หลายปีที่ผ่านมานี้ เมืองตูรินเป็นศูนย์กลางการต่อสู้และการเคลื่อนไหวทางการเมืองและวัฒนธรรม เพื่อปกป้องอาหารปลอดภัยให้กับพลเมืองในภูมิภาค เพราะปีนี้จะเป็นปีที่การประกาศห้ามปลูกจีเอ็มโอของสหภาพยุโรปจะหมดอายุ ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องสิ่งแวดล้อม ภูมิภาคพีมอนเต ซึ่งเป็นหน่วยปกครองของรัฐ จึงสนับสนุนเกษตรกรประกาศให้ภูมิภาคพีมอนเตเป็นภูมิภาคปลอดจีเอ็มโอ
"ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ประชาชนพยายามหาหนทางที่จะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและวิถีชีวิตชนบท พร้อมไปกับการสร้างทางเลือกให้คนรุ่นใหม่
การต่อสู้นี้อาจถูกตีความเหมือนขบวนการเกษตรกรล้าหลังคร่ำครึ แต่แท้ที่จริงแล้วมันเป็นการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ"
ไม่เพียงแค่ภูมิภาคพีมอนเตที่ลุกขึ้นมาประกาศไม่เอาจีเอ็มโอ ภูมิภาคทัสคานีที่อยู่ใต้ลงไปก็ต่อสู้เข้มข้นไม่แพ้กัน.
นับตั้งแต่ พ.ศ.2503 เป็นช่วงเร่งปฏิวัติอุตสาหกรรมของอิตาลี แต่ปรากฏว่าคนยากจนลง
ตกงานมากขึ้น ทั้งๆ ที่ผลผลิตมากขึ้น ทำให้มีคนเริ่มคิดหนทางไปสู่ความยั่งยืน
ที่ผูกพันกับฟาร์มขนาดเล็ก วัฒนธรรม ประเพณี และสิ่งแวดล้อม. ในที่สุด เมื่อปี
2543 ภูมิภาคทัสคานี ได้ออกกฎหมายฉบับแรกที่ปกป้องสิทธิเกษตรกรในเมล็ดพันธุ์
ส่วนกฎหมายฉบับที่ 2 กำลังจะคลอดในเร็ววันนี้ เป็นการปกป้องสิทธิชุมชนในความหลากหลายทางพันธุ์พืช
เพื่อป้องกันเกษตรกรจะถูกฟ้องจากการปนเปื้อนจีเอ็มโอ เพื่อให้ประชาชนสามารถปลูกได้
แลกเปลี่ยน และเก็บเพื่อขยายพันธุ์ต่อได้
ตัวแทนจากภูมิภาคทัสคานีเล่าให้ฟังว่า ทั้งคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี มีรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและป่าไม้คนเดียวเท่านั้นที่ค้านจีเอ็มโออย่างจริงจัง ทั้ง ครม.ไม่มีใครเอาด้วย แต่ยังเก่งที่สามารถยันเอาไว้ได้ แต่อันที่จริง อิตาลีเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ประกาศห้ามจีเอ็มโอในอาหารเด็กมานานแล้ว ส่วนประเทศอื่นๆ เป็นแต่เพียงการบังคับติดฉลากเท่านั้น
เกียอานี อเลมานโน (*) รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ของอิตาลีแน่แค่ไหน คำอภิปรายเปิดและปิดงานของเขาน่าจะพอบอกอะไรได้ "เป็นครั้งแรกที่เกษตรกรทั่วโลกมาพบกันเช่นนี้ ไม่ใช่แค่นักการเมืองที่มาพูดเรื่องเกษตร เกษตรกรเป็นผู้เชื่อมโลกสมัยใหม่และโลกจารีตประเพณี จึงต้องเป็นผู้พิจารณาเองว่าเทคโนโลยีไหนที่ดีกับเรา เราเคารพการผลิต เคารพผู้บริโภค ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดในโลกนี้ที่จดสิทธิบัตรได้ เราต้องต่อต้านจีเอ็มโอ ตัวเลือกของเกษตรกรต้องมีเท่ากับที่ตัวเลือกของผู้บริโภคต้องคงอยู่ เราต้องไม่ถูกทุ่มโดยสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าที่ถูกทำให้เหมือนกันทั้งโลก เราต้องปกป้องสิทธิของคนและชุมชน เพื่อให้เขาปกป้องพันธุ์พื้นเมืองให้รอดพ้นจากมือโจรสลัดชีวภาพ ที่เอาไปจดสิทธิบัตรจนเราไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ต่อไปได้ ขณะที่เรารักษาก็มีกลุ่มคนที่จะเข้ามาทำลายและแย่งชิง เพื่อขายให้ตลาดโลก ฉะนั้นทุกคนต้องมีสิทธิภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตัวเอง จงภูมิใจที่เป็นเกษตรกรเหมือนที่บรรพบุรุษเคยภาคภูมิใจ" ไม่เชื่อว่า รัฐมนตรีไทยคนไหนกล้าประกาศอย่างนี้
(*)Giovanni "Gianni"
Alemanno (b. 3 March 1958 in Bari, Italy) is an Italian politician who is
currently Mayor of Rome. He joined the Italian Social Movement at a very early
age and became national secretary of the youth organization of the party in
1988. After being elected regional deputy of Lazio in 1990, he was elected
for the first time to the Chamber of Deputies in the 1994 general election.
In 1995, along with Francesco Storace, he founded the Social Right, which was intended to be the more right-wing, socially-oriented and socially conservative faction within National Alliance, the new party in which the Italian Social Movement was merged after repudation of extremism.
แต่ที่ต้องถือว่าเป็น บิ๊กเซอร์ไพรส์ตอนปิดงาน คือการปรากฏตัวของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ ผู้อุทิศที่ดินของพระองค์เพื่อการทดลองเกษตรทางเลือก และแสดงเจตนารมณ์คัดค้านพืชตัดต่อพันธุกรรมมาโดยตลอด
นี่คือ พระราชดำรัสโดยสรุปของพระองค์
. . .ข้าพเจ้าเชื่อเสมอมาว่า เกษตรกรรมไม่ใช่เพียงแค่กิจกรรมการผลิตที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ แต่เป็นกิจกรรมการผลิตที่สำคัญที่สุด เป็นทั้งการจ้างงานท้องถิ่น เป็นรากฐานของวัฒนธรรมและความศิวิไลซ์ หัวใจของข้าพเจ้าห่อเหี่ยวทุกครั้งที่ได้อ่าน 'วิสัยทัศน์' เช่นที่ รัฐอันตระประเทศของอินเดียจะปฏิรูปการเกษตรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสู่การใช้เทคโนโลยี การปลูกเชิงเดี่ยว การใช้สารเคมี และการใช้พืชตัดต่อพันธุกรรม
เราต้องยอมรับความจริงว่า ผลของโลกาภิวัตน์คือความไม่ยั่งยืนที่ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ กระจายความยากจน โรคระบาด และความอดอยากในเมืองต่างๆ ขณะที่ในชนบทไม่สามารถพึ่งตัวเองได้และไม่สามารถเอาตัวรอดได้ คงเป็นที่รับรู้กันทั่วว่า ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า พืชตัดต่อพันธุกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ คงตั้งคำถามว่า เทคโนโลยีใหม่นี้เป็นผลผลิตที่ชาญฉลาดหรือไม่ หรือเป็นแค่ตัวขยายผลประโยชน์ ในระยะยาวมันจะช่วยแก้ปัญหาให้มนุษยชาติหรือจะกลายเป็นเพิ่มปัญหา แม้ว่าความเป็นไปได้ของหายนะอาจจะไม่มาก แต่ก็ยังมีคำถามต่อไปอีกว่าเป็นหนทางที่ถูกแล้วหรือที่จะเลือกเดินทางนี้
ถ้าเอาเงินที่ลงทุนไปในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ไปลงทุนเกษตรกรรมยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนา ข้าพเจ้าเชื่อว่า เราจะได้เห็นความก้าวหน้าที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
นักอุตสาหกรรมการเกษตรมักอ้างว่า การตัดต่อพันธุกรรมเป็นหนทางเดียวที่จะเลี้ยงคนทั้งโลกได้ แต่ในความเป็นจริงแม้จะไม่มีเงินลงทุนมหาศาลเท่า เกษตรอินทรีย์ก็ได้พิสูจน์ความสามารถของมัน ดังตัวอย่างในการศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ การปลูกมันฝรั่งอินทรีย์ในโบลิเวียสามารถเพิ่มผลผลิตจาก 4 เป็น 14 ตันต่อเอเคอร์. ในคิวบา เกษตรอินทรีย์สามารถเพิ่มผลผลิตเท่าตัว ในเอธิโอเปียซึ่งครั้งหนึ่งอดอยากและเกิดทุพภิกขภัย แต่เพราะเกษตรทางเลือก พวกเขาสามารถเพิ่มผลผลิตมันฝรั่งหวานจาก 6 เป็น 30 ตันต่อเอเคอร์
การใช้ระบบเกษตรอุตสาหกรรมเข้าไปแทนที่ระบบเกษตรดั้งเดิม ทำลายทุนทั้งทางสังคมและในเชิงความหลากหลายทางชีวภาพ ทำลายอัตลักษณ์วัฒนธรรมที่ยึดโยงกับที่ดิน และพรากมนุษย์ออกจากความสัมพันธ์ที่มีความหมายที่มีต่อธรรมชาติ และอาหารที่พวกเขากิน อุตสาหกรรมที่ขาดศิลปะคือความโหดเหี้ยม
อาหารที่พวกคุณผลิต ไม่ใช่เพียงแค่อาหาร เพราะมันเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมวิถีชีวิตเกษตรกร เป็นประวัติศาสตร์วิถีชีวิตชนบท แสดงความเอาใจใส่ในชีวิตสัตว์ แสดงความรักในผืนดิน เป็นตัวแทนความทรงจำในวัยเยาว์ ความรู้และภูมิปัญญาที่ร่ำเรียนจากบรรพบุรุษ ความรู้และมีความเข้าใจในสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศท้องถิ่นเป็นอย่างดี และยังแสดงทั้งความหวังและความกลัวของคนรุ่นที่ก้าวสู่ความสำเร็จ พวกคุณได้ทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพวกท่าน
ขอชีวิตเราคืน
ในระหว่างงาน คุณครูอเมริกันคนหนึ่ง เล่าให้ฟังถึงความพยายามของเธอในการจะปรับพื้นที่ว่างในโรงเรียนมาทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เด็กๆ ในโรงเรียนได้มีอาหารดีๆ กินกัน ไม่เพียงแต่เด็กที่มองเธออย่างตัวประหลาด แม้แต่บรรดาครูที่เป็นเพื่อนร่วมงานก็ยังหาว่าเธอบ้า. จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ไม่ตกใจมากนักเมื่อได้ชมเนื้อหาในสารคดี Super Size me ของมอร์แกน สเปอร์ล็อค เขาพาไปชมอาหารกลางวันของเด็กในโรงเรียนมัธยมเอกชนของสหรัฐ ส่วนใหญ่จะให้บริษัทเอกชนรับเหมาเข้ามาจัดการเรื่องอาหารกลางวัน ซึ่งส่วนใหญ่ขายอาหารแดกด่วน
ส่วนโรงเรียนของรัฐ กระทรวงเกษตรของสหรัฐ จะเป็นผู้จัดหาอาหารมาให้ตามโครงการซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารกึ่งสำเร็จแช่แข็ง เครื่องมือหลักที่ใช้ในการทำอาหารกลางวันของแม่ครัวคือที่เปิดกล่อง คำนวณแล้วแม่ครัวทำอาหารจริงๆ แค่ 6 มื้อจาก 36 มื้อเท่านั้น. ขณะเดียวกันโรงเรียนมัธยมแอพเพิลตัน ในรัฐวิสคอนซิน ก่อนหน้านี้ เด็กนักเรียนที่นั่นมีปัญหาพฤติกรรมอย่างมาก โรงเรียนจึงหาทางแก้ ไม่ใช่ด้วยการอบรม หรือลงโทษ แต่เป็นการแก้ด้วยการเปลี่ยนอาหาร
ผู้บริหารโรงเรียนกำจัดตู้ขายขนมถุง และน้ำอัดลมออกไปทั้งหมด ขณะเดียวกันอาหารกลางวันของเด็กจะเป็นอาหารไขมันต่ำ และน้ำตาลต่ำ เป็นอาหารไม่ผ่านกระบวนการ ไม่เจือสารเคมี ไม่มีสารกันบูด เต็มไปด้วยธัญพืชและผักสด ไม่มีเนื้อวัว ไม่ทอด ใช้การอบ หรือเสิร์ฟสดๆ พูดง่ายๆ ก็คือ เปลี่ยนจากอาหารแดกด่วนมาเป็นอาหารสโลว์ฟู้ด
เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น และตั้งใจเรียนมากขึ้นอย่างสังเกตได้ ทั้งๆ ที่อาหารของโรงเรียนนี้ก็ราคาเท่ากับโรงเรียนอื่นๆ มอร์แกน สเปอร์ล็อคตั้งคำถามว่า ทำไมโรงเรียนอื่นไม่ทำ คำตอบที่ได้คือ อุตสาหกรรมอาหารมีอิทธิพล และการขายอาหารในโรงเรียนเป็นเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลเกินกว่าจะสูญเสีย
ข้อมูลจาก
- พระราชดำรัส สุนทรพจน์ การนำเสนอ เอกสารและข้อมูลในงานการประชุมของชุมชนอาหารทั่วโลก (Terra Madre)
ณ เมืองตูริน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 20-23 ตุลาคม 2547
- ภาพยนตร์เรื่อง Super Size me โดย มอร์แกน สเปอร์ล็อค
- นิตยสาร The Ecologist
- ข้อมูลและประสบการณ์จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ข้ออ้างที่ว่า การตลาดและเกษตรสมัยใหม่ ช่วยเกษตรกรนั้น ไม่เป็นความจริง แต่จะยิ่งทำให้เกษตรกรจนลง ฉะนั้นจึงต้องมีการเชื่อมผู้ผลิตกับผู้บริโภค หนทางที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารคือ ให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน ผู้ผลิตรายใหญ่ไม่ทุ่มตลาด เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ มีเงินทุนให้เกษตรกรได้กู้ยืม ให้ลดการผูกขาด ให้มีการทำวิจัยสนับสนุน ต้องไม่มีจีเอ็มโอ และต้องไม่มีสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต. แบบแผนเศรษฐกิจที่ถูกต้อง ต้องเริ่มจากเกษตรรายย่อย ไปสู่การปฏิรูประบบเกษตรอย่างแท้จริง สู่ตลาดท้องถิ่น พัฒนาอุตสาห กรรม ไม่ใช่ระบบที่ใช้การเปิดเสรี แล้วมาสร้างผลกระทบต่อทุกส่วน เพราะในที่สุด ประเทศจะเป็นแค่ที่ดินราคาถูก แรงงานราคาถูก ถูกแย่งชิงทรัพยากรเท่านั้น (ข้อความบางส่วนจากบทความ)