ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




10-07-2551 (1609)

ON LATIN AMERICA AND THE FOREFRONT OF SOCIAL MOVEMENT
สัมภาษณ์ปีเตอร์ รอสเซ็ต: ลาตินอเมริกาและแนวหน้าขบวนการสังคม

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วใน a day weekly

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความต่อไปนี้ ได้รับจากผู้เขียน และถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

ปีเตอร์ รอสเซ็ต นักกิจกรรมชาวอเมริกันที่เคยประกาศตัวว่า ขอเนรเทศตัวเอง
ออกจากสหรัฐอเมริกาด้วยความเต็มใจ และไปอยู่เม็กซิโก เขาทำงานกับซาปาติสตา
MST และอีกหลายขบวนการประชาชนทั่วละติน อเมริกา สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จาก
ความเคลื่อนไหวทางสังคมที่เข้มข้นเหล่านี้ คือความเข้มแข็งและความเป็นอิสระ
ของขบวนการประชาชนต้องมาก่อนการยึดอำนาจทางการเมือง เพราะถึงจุดนั้น
ไม่ว่าคุณจะได้เข้าไปสู่ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองหรือไม่ คุณก็มีความสามารถ
เต็มที่ในการควบคุมมันได้แล้ว

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๐๙
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



ON LATIN AMERICA AND THE FOREFRONT OF SOCIAL MOVEMENT
สัมภาษณ์ปีเตอร์ รอสเซ็ต: ลาตินอเมริกาและแนวหน้าขบวนการสังคม

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วใน a day weekly

global report / ฉบับ 051 หน้า 42-47
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


ความนำ
ในกระแสทุนที่เชี่ยวกรากไหลบ่าโถมทำลายสิ่งกีดขวาง ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิต ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและชีวิตลึกๆ ในใจหลายคนยังมีความหวังเมื่อเห็นการต่อสู้ของกลุ่มคนต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีกว่า

- ซาปาติสตา ไม่ใช่แค่เพียงนักรบคลุมหน้าที่พูดจาคมคาย
- ขบวนการแรงงานไร้ที่ดิน (MST) (*) ไม่ใช่ขบวนการในฝันสร้างคนพันธุ์ใหม่ที่ไร้จุดหมาย
- การต่อสู้ของพวกเขาอาจเป็นแรงบันดาลใจ
แต่การต่อสู้ของพวกเขามีอะไรมากกว่านั้น มีทั้งองค์ประกอบ ปัจจัย ความสำเร็จ และความผิดพลาด พวกเขามีบทเรียน มีประสบการณ์ให้เรียนรู้

(*)Landless Workers Movement, or in Portuguese Movimento dos Trabalhadores Rurais Sem Terra (MST), is the largest social movement in Latin America with an estimated 1.5 million landless members organized in 23 out of Brazil's 26 states. The MST states it carries out land reform in a country mired by unjust land distribution. In Brazil, 1.6% of the landowners control roughly half (46.8%) of the land on which crops could be grown. Just 3% of the population owns two-thirds of all arable lands.

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล มีโอกาสได้พูดคุยกับ ปีเตอร์ รอสเซ็ต นักวิจัยจากศูนย์เพื่อการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในชนบทเม็กซิโก (Center for the Study of Change in the Mexican Countryside - CECCAM is a non-profit organization, which supports the peasant movement in Mexico.) และศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการจัดการที่ดินในละตินอเมริกา

ปีเตอร์ รอสเซ็ต นักกิจกรรมชาวอเมริกันที่เคยประกาศตัวว่า ขอเนรเทศตัวเองออกจากสหรัฐอเมริกาด้วยความเต็มใจ และไปอยู่เม็กซิโก เขาทำงานกับซาปาติสตา MST และอีกหลายขบวนการประชาชนทั่วละติน อเมริกา สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากความเคลื่อนไหวทางสังคมที่เข้มข้นเหล่านี้ คือความเข้มแข็งและความเป็นอิสระของขบวนการประชาชนต้องมาก่อนการยึดอำนาจทางการเมือง เพราะถึงจุดนั้น ไม่ว่าคุณจะได้เข้าไปสู่ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองหรือไม่ คุณก็มีความสามารถเต็มที่ในการควบคุมมันได้แล้ว

(*) Dr. Peter Rosset is based in Oaxaca, Mexico, where he is a researcher at the Centro de Estudios para el Cambio en el Campo Mexicano (Center of Studies for Rural Change in Mexico), and co-coordinator of the Land Research Action Network. He is also Global Alternatives Associate of the Center for the Study of the Americas and an affiliated scholar of the University of California, both in Berkeley, California, USA. He is the former co-director of Food First/The Institute for Food and Development Policy in Oakland, California.

He previously served as executive director of the Stanford University Regional Center in Chiapas, Mexico. During the 1980s he spent eight years in Central America, where he led several sustainable agriculture projects. Peter has taught at Stanford University, the University of California at Berkeley, the University of Texas at Austin, the National Agrarian University of Nicaragua, the Havana Agricultural University (ISCAH) and the University of Las Villas, both in Cuba, and the Tropical Center for Agricultural Research & Education (CATIE) in Costa Rica. Peter has also been a Fellow of the John D. and Catherine T. MacArthur Foundation, and is a Board Member of Focus on the Global South in Thailand.

He is a food rights activist, agroecologist and rural development specialist with a Ph.D. from the University of Michigan. His published books include The Case for a GM-Free Sustainable World (2003); Sustainable Agriculture and Resistance: Transforming Food Production in Cuba (Food First Books, 2002); America Needs Human Rights (Food First Books, 1999); World Hunger: 12 Myths, Second Edition (Grove Press, 1998); The Nicaragua Reader (Grove Press, 1983); Nicaragua: Unfinished Revolution (Grove Press, 1986); The Greening of the Revolution: Cuba's Experiment with Organic Agriculture (Ocean Press, 1994); Agroecology (McGraw-Hill, 1990); and A Cautionary Tale: Failed US Development Policy in Central America (Lynne Rienner,1996).

คำโปรย
- "ผมหวังว่าในมหาวิทยาลัยจะเต็มไปด้วยนักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรม เราจะได้ถกเถียงปรัชญามาร์กซิสม์จนถึงตี 3 ของทุกวัน ไม่มีอะไรเลย มีแต่การพูดคุยกันเรื่องทีมฟุตบอล จะไปกินเบียร์ที่ไหน จนเมื่อจบมหาวิทยาลัยผมถึงได้กลับมาเป็นนักกิจกรรมอีกครั้ง ในชีวิตมีเพียง 4 ปีในมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ผมไม่ได้เป็นนักกิจกรรม"

- "ขณะนี้เอ็นจีโอต้องพึ่งขบวนการประชาชนเพื่อความอยู่รอด เช่น เอ็นจีโอสายพัฒนาต้องไปหาแหล่งทุนพร้อมกับบอกว่า ช่วยสนับสนุนด้านการเงินให้แก่เรา เพราะเราทำงานให้เครือข่ายชาวนาโลก (Via Campasina) แหล่งทุนก็จะโทรมาถามว่าเอ็นจีโอทำงานร่วมกับ Via Campasina จริงๆ หรือไม่ ก่อนที่จะให้ทุน เอ็นจีโอจึงเป็นเหมือนฝ่ายสนับสนุนให้กับขบวนการภาคประชาชน"

- "ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้น หากชาเวชถูกลอบสังหาร ซึ่งซีไอเออยากจะทำอยู่แล้ว หรือ โคลัมเบียในฐานะตัวแทนของสหรัฐบุกเข้าไปเวเนซูเอลา เพราะทุกสิ่งทุกอย่างขณะนี้ขึ้นกับชาเวชเพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าขบวนการประชาชนเข้มแข็งกว่านี้ คนหนึ่งตาย สิบคนตาย หรือร้อยคนตายก็ไม่มีปัญหา เพราะยังมีตัวแทนอีกเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากกรณีของ MST และซาปาติสตา"

- "อัมโลไม่ใช่ซ้ายสุดๆ เขาเหมือน 'ลูลา' มากกว่า คือ ซ้ายกลาง เราเชื่อว่าถ้าเขาขึ้นสู่อำนาจก็คงทำไม่ต่างจากลูลา คือไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับสหรัฐ และจะไม่ก่อปัญหาให้กับชนชั้นปกครอง แล้วก็จะไปกู้เงินรับเงื่อนไขจากไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก แต่เพราะสหรัฐและชนชั้นปกครองในเม็กซิโก โง่มากๆ ทำใจรับอัมโลไม่ได้ จึงกดดันให้อัมโลต้องไปอยู่กับฝ่ายก้าวหน้าสุดๆ"

บทสัมภาษณ์ระหว่าง กรรณิการณ์ กิจติเวชกุล กับ ปีเตอร์ รอสเซ็ต

คุณเติบโตมาในช่วงการต่อต้านสงครามเวียดนาม นี่เป็นเหตุผลสำคัญให้คุณสนใจขบวนการประชาชน
ช่วงสงครามเวียดนามเป็นช่วงที่ผมศึกษาอยู่มัธยมต้นและต่อด้วยมัธยมปลาย ซึ่งคนรุ่นผมโดยเฉพาะผู้ชายต่างต้องคิดถึงเรื่องสงครามเวียดนาม เพราะเมื่อเราอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ต้องไปเป็นทหาร ฉะนั้นเด็กผู้ชายทุกคนต้องเลือกระหว่าง เป็นทหารแล้วถูกส่งไปต่างประเทศ ไปฆ่าคนที่คุณไม่รู้จัก ด้วยเหตุผลที่คุณไม่รู้ว่าคืออะไร หรืออาจจะถูกฆ่าตายด้วยคนต่างชาติด้วยเหตุผลที่คุณไม่รู้ หรือว่าจะลี้ภัยไปต่างประเทศ หรือว่าจะยอมถูกจับขังคุก นี่เป็นคำถามที่หนักหนาที่สุดแต่เป็นคำถามที่เด็กในวัยแบบนั้นต้องครุ่นคิด ทั้งที่วัยขณะนั้นน่าจะเป็นวัยที่ไม่ต้องคิดอะไรอย่างอื่นมากกว่า แต่คนรุ่นผมในสหรัฐอเมริกา และในเวียดนามต้องมานั่งคิดว่าจะเลือกอะไรระหว่างการมีชีวิตอยู่และความตาย จากเหตุผลนี้ทำให้มีขบวนการเคลื่อนไหวของนักเรียนนักศึกษาหัวก้าวหน้าเกิดขึ้นมากมาย

สำหรับผมค่อนข้างโชคดี เมื่อผมอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ การบังคับให้เป็นทหารยุติลง แต่ผมไม่ได้รู้ล่วงหน้า ฉะนั้นก่อนหน้านั้น ผมใช้เวลาเกือบทั้งหมดครุ่นคิดไปกับประเด็นของจักรวรรดินิยมและสงครามว่ามันหมายความว่าอะไร เราพร้อมไหมที่จะตายเพื่อลัทธิจักรวรรดินิยมเช่นนี้. พ่อของผมมีสำนักพิมพ์เล็กๆ ที่พิมพ์หนังสือฝ่ายซ้ายก้าวหน้า และเรื่องราวจากละตินอเมริกา เช่น ไดอารี่ของเช เกวารา ทำให้ผมสนใจในการปฏิวัติของละตินอเมริกา ควบคู่ไปกับที่เจาะลึกลัทธิจักรวรรดินิยมอเมริกา

และอีกปัจจัยที่สำคัญคือ เมื่อเป็นเด็ก ผมได้เข้าเรียนในโรงเรียนทางเลือกของฝ่ายซ้ายชื่อว่า 'นิว ลินคอน' ในเมืองนิวยอร์กที่ให้เด็กลูกของปัญญาชนคนชั้นกลางแบบผมได้เรียนร่วมกับเด็กจากสลัม ตอนนี้โรงเรียนนี้ไม่มีแล้ว ถูกรัฐนิวยอร์กทุบทิ้งเอาที่ไปสร้างเรือนจำ ทั้งหมดมันเป็นปัจจัยที่ผสมและเอื้ออย่างยิ่งในการสร้าง 'นักกิจกรรมขาสั้น(นักเรียน) ระดับหัวก้าวหน้า'. อ๋อ ผมเกือบลืมไป อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ในช่วงแรกของสงครามเวียดนาม ถ้าคุณเป็นครู คุณไม่ต้องไปรบ ฉะนั้นในโรงเรียนของผมมีครูผู้ชายผมยาวหนา เครารุงรัง สวมรองเท้าแตะ มีใจปฏิวัติเต็มไปหมด จนกระทั่งปี 1971 รัฐบาลยกเลิกข้อยกเว้นดังกล่าว ครูเหล่านั้นต้องไปรบ แต่ก็นับว่าหลายปีทีเดียวที่เรามีครูหัวก้าวหน้าแบบนี้

แล้วชีวิตในมหาวิทยาลัยของคุณเป็นอย่างไรบ้าง
แย่ที่สุด สงครามเวียดนามยุติเมื่อผมจบไฮสคูล ผมหวังว่าในมหาวิทยาลัยจะเต็มไปด้วยนักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรม เราจะได้ถกเถียงปรัชญามาร์กซิสม์จนถึงตี 3 ของทุกวัน ไม่มีอะไรเลย มีแต่การพูดคุยกันเรื่องทีมฟุตบอล จะไปกินเบียร์ที่ไหน ไม่มีการพูดคุยประเด็นการเมืองเลย เป็น 4 ปีที่ทุกทรมานของผมมากๆ จนเมื่อจบมหาวิทยาลัยผมถึงได้กลับมาเป็นนักกิจกรรมอีกครั้ง ในชีวิตมีเพียง 4 ปีในมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ผมไม่ได้เป็นนักกิจกรรม

เมื่อจบจากมหาวิทยาลัย คุณเริ่มต้นทำงานในประเด็นใดก่อน
2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ ขบวนการประชาชนคัดค้านสงครามเวียดนาม ประเด็นที่สอง คือ ขบวนการเสือดำ (Black Panther Movement) ซึ่งเป็นขบวนการกึ่งทหารของคนผิวดำ ส่วนใหญ่เป็นคนสลัมที่ปกป้องชุมชนของเขาจากการรบกวนของตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำส่วนใหญ่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐลอบสังหาร สองขบวนการประชาชนนี้เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐยังมีอำนาจมาก ก่อนหน้าที่จะเป็นสังคมเสรีนิยมใหม่ที่รัฐถูกลดบทบาทลง

ในช่วงที่รัฐมีอำนาจมาก น่าสนใจว่ามีขบวนการทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย และเป็นช่วงที่เศรษฐกิจดีกว่านี้มาก คือมันเห็นภาพชัดเจนว่า เมื่อเศรษฐกิจดีมาก มีคนบางกลุ่มถูกเลือกปฏิบัติ บางกลุ่มได้รับผลประโยชน์มากมาย แต่บางกลุ่มได้ประโยชน์น้อยมาก มันเห็นชัดว่า ช่วงเวลาที่ความเคลื่อนไหวภาคประชาชนในสหรัฐอเมริกาแข็งแกร่งที่สุดคือ ช่วงที่เศรษฐกิจดีที่สุด แต่พอเศรษฐกิจตกต่ำลงมันทำลายขบวนการประชาชน ผมไม่ใช่นักรัฐศาสตร์อาจจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ไม่ดีนัก อาจเป็นเพราะว่าช่วงที่เศรษฐกิจดีทุกคนตั้งความหวังว่าทุกอย่างจะดีไว้สูงมาก สูงกว่าความเป็นจริง และต้องการให้เร็วมาก เกินกว่าความเป็นจริงจะเป็นไปได้ ซึ่งผิดกับช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ คนส่วนใหญ่ทำใจไว้แล้ว มันเป็นช่องว่างระหว่างความหวังกับความเป็นจริง

มาพูดถึงสถานการณ์ความเคลื่อนไหวภาคประชาชนในละตินอเมริกาตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง
ต้องเริ่มย้อนหลังประวัติศาสตร์ไปสักนิดหนึ่ง ช่วงทศวรรษที่ 80 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ประเทศในละตินอเมริกาเกือบทั้งหมดต้องพึ่งโครงการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Program - SAP) ของธนาคารโลก ทำให้รัฐ (State) ส่วนใหญ่ในละตินอเมริกาล่มสลาย พรรคการเมืองก็ล่มสลายเมื่อรัฐถูกทำให้เล็กลง

ก่อนหน้านี้รัฐใหญ่โต มีพรรคการเมืองมากมาย แล้วพรรคการเมืองก็คุมภาคประชาสังคมทั้งหมด (อยู่ในลักษณะของกลุ่มประชาสังคม และขบวนการทางสังคมที่จัดตั้งและพึ่งพาพรรคการเมืองต่างๆ) แต่ SAP ทำให้รัฐล่มสลาย พรรคการเมืองก็อ่อนแอ ขณะเดียวกันขบวนการประชาชนต่างๆ เหมือนได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากการควบคุมจากพรรคการเมือง แต่นั่นเป็นสถานการณ์ที่ใช้เวลาบ่มเพาะพอสมควร

น่าจะเรียกว่าเป็นด้านดีด้านเดียวของ SAP
ย้อนหลังกลับไป ทันทีที่โครงการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเริ่มต้นในละตินอเมริกา ปรากฏการณ์ใหม่คือ การเกิดขึ้นของเอ็นจีโอเพราะ

หนึ่ง. ข้าราชการเก่าที่ถูกให้ออกเพราะงานถูกแปรรูป(privatization)ไปให้เอกชน พวกนี้ก็มองหางานใหม่

สอง. การเปลี่ยนนโยบายของหน่วยงานให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก สหภาพยุโรป และ USAID ว่าจะไม่ให้เงินช่วยเหลือผ่านรัฐบาลอีกต่อไป จะให้กับสถาบันเอกชน เอ็นจีโอต่างๆ ในละตินอเมริกาจึงเกิดจากกลุ่มข้าราชการเก่า เพื่อดึงเงินจากแหล่งทุนต่างประเทศ

เมื่อรัฐล่มสลาย เอ็นจีโอเคลื่อนเร็วกว่าขบวนการประชาชนมาก เอ็นจีโอ (ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเก่า) เหล่านี้เลยเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นก่อนกลุ่มอื่นๆ ดึงเงินสนับสนุนจากแหล่งเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ช่วงทศวรรษที่ 80 กลุ่มคนเหล่านี้ยึดกุมพื้นที่ทางการเมืองของภาคประชาสังคม ขณะเดียวกัน ขบวนการประชาชนที่เพิ่งถูกปลดปล่อยจากพรรคการเมืองก็ถูกกดโดยเอ็นจีโอ ทำให้ช่วงทศวรรษที่ 80-90 ขบวนการภาคประชาชนต้องต่อสู้กับเอ็นจีโอโดยบอกว่า พวกเขามีสิทธิอันชอบธรรมในการพูดในนามของประชาชนมากกว่าเอ็นจีโอ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วละตินอเมริกา ขบวนการประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เป็นเครือข่ายของขบวนการชาวนาโลก (Via Campasina) (*) ประกาศจุดยืนไม่ร่วมสังฆกรรมกับเอ็นจีโอ ไม่พูด ไม่ทำงานด้วย ไม่เจรจาในวงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Dialogue) เพราะเอ็นจีโอ พยายามที่จะมาครอบงำ

(*)Via Campesina (from Spanish la via campesina, the campesino way) describes itself as "an international movement which coordinates peasant organizations of small and middle-scale producers, agricultural workers, rural women, and indigenous communities from Asia, Africa, America, and Europe". They are a coalition of over 100 organizations, advocating family-farm-based sustainable agriculture and were the group that first coined the term "food sovereignty". Food sovereignty refers to the right to produce food on one's own territory. Probably their best known spokesperson is the French farmer Jose Bove. The organisation was founded in 1992 by Rafael Alegria, and had its original headquarters in Tegucigalpa, Honduras. The headquarters office of Via Campesina is now in Jakarta, Indonesia. Henry Saragih is the International Operative Secretary.

Organized worldwide into eight regions, the group has members throughout the world. It receives support from UK charity War on Want amongst others.

เมื่อขบวนการภาคประชาชนเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่เอ็นจีโออ่อนแอลง เพราะเงินจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศลดน้อยลง นำมาสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ขบวนการภาคประชาชนเข้มแข็งจึงประกาศว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะทำงานร่วมกับเอ็นจีโอด้วยเป้าหมายของเรา ไม่ใช่เป้าหมายของเอ็นจีโออีกต่อไป ให้เอ็นจีโอทำงานให้เรา

ขณะนี้เอ็นจีโอต้องพึ่งขบวนการประชาชนเพื่อความอยู่รอด เช่นเอ็นจีโอสายพัฒนาต้องไปหาแหล่งทุนพร้อมกับบอกว่า ช่วยสนับสนุนด้านการเงินให้แก่เรา เพราะเราทำงานให้เครือข่ายชาวนาโลก (Via Campasina) แหล่งทุนก็จะโทรมาถามว่า เอ็นจีโอทำงานร่วมกับ Via Campasina จริงๆ หรือไม่ ก่อนที่จะให้ทุน เอ็นจีโอจึงเป็นเหมือนฝ่ายสนับสนุนให้กับขบวนการภาคประชาชน

อย่างที่ทำงานของคุณ
อย่างสำนักงานของผม CECCAM หรือศูนย์เพื่อการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในชนบทเม็กซิโก เป็นเอ็นจีโอที่ขบวนการชาวนาเม็กซิโก (UNORCA) (*) ตั้งขึ้นมา. ขบวนการชาวนาในเม็กซิโกต้องเผชิญปัญหาเชิงนโยบายจำนวนมาก เช่น นาฟตา (เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ) และจีเอ็มโอ เป็นต้น พวกเขาต้องการทราบผลกระทบที่เกิดขึ้น เพราะข้อมูลของฝ่ายรัฐอ้างว่าทุกอย่างดีหมด เมื่อขบวนการชาวนาแย้งว่าไม่จริง ผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย ก็จะถูกฝ่ายรัฐย้อนว่า แล้วไหนล่ะข้อมูล ตัวเลขชี้วัด ทำให้พวกเขาตั้งเอ็นจีโอเพื่อมาวิเคราะห์นโยบายต่างๆ ของรัฐ คือให้มาทำหน้าที่ Think Tank ของขบวนการชาวนา ขบวนการชาวนาจ่ายตังค์จ้างนักวิชาการ นักวิจัย ไม่ใช่เอ็นจีโอจ่ายตังค์ให้ขบวนการชาวนาไปประชุมที่นั่นที่นี่ เป็นด้านตรงกันข้ามเลย

ในบราซิล ขบวนการแรงงานไร้ที่ดิน (MST) ตั้งเอ็นจีโอประมาณ 50 แห่งเพื่อมาทำงานในด้านต่างๆ เช่น ด้านเทคโนโลยีการเกษตร ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมาย ทำการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของ MST ฯลฯ เพราะขบวนการแรงงานไร้ที่ดินเองไม่มีสถานะทางกฎหมายจึงไม่สามารถรับทุนจากรัฐได้ เอ็นจีโอจึงเป็นช่องทางที่ดีในการดึงทรัพยากรและประสานงานจากรัฐ แต่คณะกรรมการของทุกเอ็นจีโอคือ ผู้นำของ MST ที่จะมากำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานของเอ็นจีโอในสังกัด

ช่วยเปรียบเทียบขบวนการภาคประชาชน คือ ซาปาติสตา, MST และ คิวบา ที่คุณเรียกว่า senior social movements
3 ขบวนการใหญ่ที่แตกต่างกันอย่างมาก คิวบามีทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ความเป็นรัฐ ทำให้สามารถทำอะไรได้มากมาย ขณะที่ ซาปาติสตาและ MST เป็นขบวนการประชาชนจริงๆ แต่ก็มีความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มนี้อย่างมากเช่นกัน

ประเด็นแรกและสำคัญที่สุด ซาปาติสตา เป็นชนพื้นเมืองซึ่งไม่สนใจความคิดของตะวันตกเลย ขณะที่ MST เป็นเกษตรกรและแรงงานไร้ที่ดิน ความคิดส่วนใหญ่จึงได้รับอิทธิพลของความคิดตะวันตก ทำให้ MST เชื่อบทบาทของรัฐว่า ต้องเข้มแข็ง ต้องทำหน้าที่ดูแลประชาชน ต้องให้บริการสาธารณะ นี่เป็นความคิดตะวันตกแท้ๆ ขบวนการประชาชนจึงต้องประท้วงกดดันให้รัฐทำหน้าที่ของตัวเอง กระจายที่ดิน กระจายทุน จัดไฟฟ้า-น้ำประปา รวมทั้งหาตลาดให้กับประชาชน

โลกทัศน์ของซาปาติสตา (*) ไม่เชื่อในรัฐ เพราะรัฐมาจากลัทธิล่าอาณานิคม รัฐถูกสร้างมาเพื่อทำลายวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง มาแย่งที่ดิน ชนพื้นเมืองมีประวัติศาสตร์เป็นหมื่นๆ ปีในการปกครองตัวเอง มีการศึกษาของตัวเอง เราทำการผลิตการเกษตรของเราเองได้ ดูแลรักษาพยาบาลเองได้ รัฐดีแต่ทำให้คนขี้เกียจโดยการให้เงิน สร้างความแตกแยกในชุมชน เพราะดึงพรรคการเมืองเข้ามาในชุมชน แยกเป็นก๊กเป็นเหล่า ทำให้คนลืมวัฒนธรรมและชุมชนด้วยการสอนให้พูดภาษากลาง สอนด้วยหลักสูตรกลาง ไม่ใช่หลักสูตรเฉพาะท้องถิ่น ฉะนั้น ซาปาติสตาจะไม่สนรัฐเลย ให้การศึกษาแก่เด็กในชุมชนด้วยหลักสูตรของตัวเอง ไม่รับครูจากส่วนกลาง ใช้ครูของตัวเอง มีโรงพยาบาลของตัวเองที่ผสมยาพื้นบ้านและยาสมัยใหม่ ในการผลิตไม่ใช้สารเคมีเพราะไม่ต้องพึ่งพิงบริษัทข้ามชาติ

(*)The Zapatista Army of National Liberation (Ejercito Zapatista de Liberacion Nacional, EZLN) is an armed revolutionary group based in Chiapas, one of the poorest states of Mexico. Since 1994, they have been in a declared war "against the Mexican state." Their social base is mostly indigenous but they have some supporters in urban areas as well as an international web of support. Their main spokesperson is Subcomandante Marcos (currently a.k.a. Delegate Zero in relation to the "Other Campaign"). Unlike other Zapatista comandantes, Subcomandante Marcos is not an indigenous Mayan.

The group takes its name from Emiliano Zapata, the anarchist commander of the Liberation Army of the South during the Mexican Revolution, and thus see themselves as his ideological heirs. In reference to inspirational figures, in nearly all EZLN villages exist murals accompanying images of revolutionaries Emiliano Zapata, Che Guevara, and Subcomandante Marcos.

Some consider the Zapatista movement the first "post-modern" revolution: an armed revolutionary group that has abstained from using their weapons since their 1994 uprising was countered by the overpowering military might of the Mexican Army. The Zapatistas quickly adopted a new strategy by trying to garner the support of Mexican and international civil society. They try to achieve this by making use of the Internet to disseminate their communiqu?s and to enlist the support of NGOs and solidarity groups. Outwardly, they portray themselves as part of the wider anti-globalization, anti-neoliberalism social movement while for their indigenous base the Zapatista struggle is all about control over their own resources, particularly the land on which they live.

ฉะนั้นการมองขบวนการประชาชนในละตินอเมริกาจะต้องไม่มองแบบเดียวกันหมด ยกตัวอย่างเช่น คุณเดินทางไปละตินอเมริกา เห็น MST ขบวนเดียว คุณจะรู้สึก ว้าว หัวรุนแรงสุดๆ ไปเลย มหัศจรรย์ที่สุด แต่ถ้าคุณรู้จักซาปาติสตา คุณจะรู้ว่า แม้ว่า MST จะดูก้าวหน้ามากๆ แต่ก็ต่างจากกระบวนทัศน์กระแสหลักเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ยังมีโลกที่แตกต่างจากนี้อีกมาก แตกต่างโดยสิ้นเชิง

มีคนวิจารณ์ว่า ซาปาติสตา เป็นแรงบันดาลใจได้ แต่เป็นแบบอย่างไม่ได้
ซาปาติสตาไม่ได้ประกาศว่าจะเป็นแบบอย่างให้กับใคร เพราะคำขวัญของพวกเขาก็คือ One world which room for many worlds (โลกหนึ่งใบสำหรับโลกอีกหลายๆ ใบ) และ Unity for the basis of diversity (เอกภาพบนพื้นฐานของความหลากหลาย) ซึ่งมาจากพื้นฐานของการปกครองแบบชนพื้นเมืองที่สืบเนื่องมาหลายชั่วอายุคน ที่การตัดสินใจต่างๆ ต้องมาจากการประชุมของชุมชนค่อนๆ ขึ้นไปสู่ด้านบน เป็นการปกครองตัวเอง (Self-Government) แต่มันมาบรรจบกับความคิดของอนาธิปไตยสมัยใหม่ที่พูดเรื่อง Local Autonomy แต่ละชุมชนสามารถพัฒนาตามหนทางของตัวเองที่ไม่สร้างปัญหากับชุมชนอื่นๆ

มาที่ MST พวกเขาสนับสนุน 'ลูลา' ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี พวกเขาได้บทเรียนอะไรบ้าง
ถ้าคุณไปถาม MST พวกเขาจะบอกว่า MST ไม่ได้สนับสนุน 'ลูลา' (*) แต่สมาชิกส่วนใหญ่ของเราสนับสนุน 'ลูลา' แต่เขาไม่ใช่ตัวแทนของ MST เพราะ MST ตั้งข้อสงสัยต่อ 'ลูลา' มาแต่ต้นว่า เป็นนักฉวยโอกาสทางการเมือง เขาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งสิ้น 4 ครั้ง 'ลูลา' ที่ชนะการเลือกตั้งในการลงสมัครครั้งที่ 4 ไม่ใช่คนเดียวกับ 'ลูลา' ที่ลงสมัครเลือกตั้งในครั้งแรก ยิ่งลงเลือกตั้งมากเท่าไร เขาก็ยิ่งคลั่งอำนาจมากเท่านั้น ละทิ้งความคิดก้าวหน้าต่างๆ ที่เคยมี ยิ่งไปกว่านั้น ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ผู้สมัครร่วมในตำแหน่งรองประธานาธิบดีของเขา คือนักการเมืองฝ่ายขวากลาง พอเข้าดำรงตำแหน่ง เขาตั้งประธานสภาอุตสาหกรรมเกษตรเป็นรัฐมนตรีเกษตร

(*)Luiz Inacio Lula da Silva (born October 27, 1945), known simply as Lula , is the thirty-fifth and current President of Brazil and a founding member of the country's Workers' Party. He was elected on October 27, 2002, and took office on January 1, 2003. On October 29, 2006, he was re-elected, extending his term as President until January 1, 2011.

Lula had little formal education. He did not learn to read until he was ten years old, and quit school after the fourth grade in order to work to help his family. His working life began at age 12 as a shoeshiner and street vendor. By age 14 he got his first formal job in a copper processing factory.

At age 19, he lost a finger in an accident while working as a press operator in an automobile parts factory. After losing his finger he had to run to several hospitals to receive attention.[citation needed] This experience increased his interest in participating within Workers' Union.[citation needed] Around that time, he became involved in union activities and held several important union posts. Brazil's dictatorship strongly curbed trade unions' activities, and as a reaction Lula's views moved further to the political left.

ดังนั้น MST จึงประกาศว่า รัฐบาล 'ลูลา' อาจไม่เลวร้ายเท่ากับรัฐบาลฝ่ายขวา แต่คงจะเป็นภาพลวงตาหากไปพูดว่า นี่คือรัฐบาลของฝ่ายซ้าย ในรัฐบาลจึงเป็นพื้นที่ให้แต่ละฝ่าย ฝ่ายทุน ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ฝ่ายหนุนชาวนา ฝ่ายต่อต้านชาวนา ฯลฯ ต้านทานกัน จึงเป็นช่องทางให้ MST ดึงทรัพยากรจากรัฐ แต่ก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์และต่อสู้ด้วย

หลักการสำคัญที่ MST ประกาศคือ ในฐานะของขบวนการภาคประชาชน ต้องเป็นอิสระจากพรรคการเมืองต่างๆ แม้จะเป็นพรรคฝ่ายซ้าย ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน หน่วยงานภาครัฐบางส่วนดีต่อประชาชน บางหน่วยก็ไม่ดี ส่วนใดดีร่วมมือ-ชื่นชม ส่วนใดไม่ดี เราจะไปยึดที่ทำการ จับข้าราชการเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้ทำตามข้อเสนอของเรา แล้วถ้าใครไม่ให้ความร่วมมือ เราก็จะไปประท้วง ไปยึดที่ทำการเหมือนกัน

อยากจะมีความสัมพันธ์ที่ดี หรือเลวกับเรา คุณก็ลองไปคิดดู MST ประกาศต่อ 'ลูลา' กลางที่สาธารณะเสมอว่า เราโหวตให้คุณ ถ้าไม่มีเสียงจากพวกเรา คุณไม่มีวันได้เป็นประธานาธิบดี ฉะนั้นนี่ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องทำตามข้อเสนอของเรา ถ้าไม่ เราจะใช้การเมืองบนท้องถนน ตอนนี้พวกเขาก็กำลังอยู่ระหว่างการเดินทางไกลจากชนบทสู่เมืองหลวง 200,000 ครอบครัวเดินทางเข้าเมือง ตั้งเต็นท์ดำอยู่ตามรายทางถนนสายหลักที่เข้าสู่เมืองหลวง มันอาจเป็นทัศนะอุจาดสำหรับชนชั้นกลาง แต่ก็จะกลายเป็นแรงกดดันไปสู่รัฐบาลให้ฟังข้อเรียกร้องของ MST. บทเรียนที่สำคัญก็คือ รัฐบาลฝ่ายซ้ายจะเป็นฝ่ายซ้ายที่ดีก็ต่อเมื่อขบวนการประชาชนเข้มแข็งพอที่จะควบคุมรัฐบาล "ตีให้แรง ถ้าเขาทำตัวไม่ดี ปรบมือให้ ถ้าเขาทำดี"

ไปที่เวเนซูเอลา จากมุมมองของคนไกลเห็นว่า ประธานาธิบดีชาเวชน่าจะเป็นผู้นำฝ่ายซ้ายที่ดี จริงๆ เป็นอย่างนั้นหรือไม่
เราได้รับมอบหมายจากเครือข่ายชาวนาโลกให้ไปลงพื้นที่ศึกษาในเวเนซูเอลา เพิ่งเดินทางกลับมาเมื่อ 3 วันก่อน ข้อสรุปของเราคือ ช่องว่างยังห่างไกลระหว่างตัวอย่างที่ดีที่สามารถจะเป็นไปได้ กับตัวอย่างที่ดีของความเป็นจริง. เราพบว่า คนจำนวนมาก มากจริงๆ ที่สนับสนุน 'ชาเวช'(*) ซึ่งคนที่สนับสนุนและเกลียดชาเวชแยกตามชนชั้นอย่างชัดเจน แรงงานและคนจนรักชาเวชสุดหัวใจ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ ทั้งชีวิตผมเคยเห็นที่เดียวคือในคิวบา กรณีของความรักที่มีต่อ ฟิเดล คาสโตร(**)

(*)Hugo Rafael Chavez Frias (born July 28, 1954) is the current President of Venezuela. As the leader of the Bolivarian Revolution, Ch?vez promotes a political doctrine of democratic socialism and Latin American integration. He is also a critic of neoliberalism, globalization and United States foreign policy.

A career military officer, Chavez founded the left-wing Fifth Republic Movement after orchestrating a failed 1992 coup d'?tat against former President Carlos Andres Perez. Chavez was elected President in 1998 with a campaign centering on promises of aiding Venezuela's poor majority, and was reelected in 2000 and in 2006.

(**)Fidel Alejandro Castro Ruz (born August 13, 1926) is a Cuban revolutionary leader who served as the country's 22nd president and led the country from January 1959 until his retirement in February 2008. Castro began his political life with nationalist critiques of Batista, and of United States political and corporate influence in Cuba. He gained an ardent, but limited, following and also drew the attention of the authorities. He eventually led the failed 1953 attack on the Moncada Barracks, after which he was captured, tried, incarcerated and later released. He then traveled to Mexico to organize and train for the guerrilla invasion of Cuba that took place in December 1956.

He came to power in an armed revolution that overthrew the dictatorship of Fulgencio Batista, and was shortly thereafter sworn in as the Prime Minister of Cuba. In 1965 he became First Secretary of the Communist Party of Cuba and led the transformation of Cuba into a one-party socialist republic. In 1976 he became President of the Council of State as well as of the Council of Ministers. He also held the supreme military rank of Comandante en Jefe ("Commander in Chief") of the Cuban armed forces.

ผมไปพักที่โรงแรมฮิลตัน หรูหรามาก พนักงานทำความสะอาดมาพูดคุยกับพวกเรา ถามว่าพวกเราจะได้ไปพบชาเวชจริงๆ หรือ ช่วยบอกเขาด้วยนะว่า พนักงานทำความสะอาดของทั้งโรงแรมนี้ตกหลุมรักเขา บอกเขาและช่วยจูบเขาให้เราด้วย ผมเลยตอบไปว่า จะบอกให้ แต่จูบคงทำแทนไม่ได้ แค่กอดให้แล้วกัน (หัวเราะ) แต่คนเวเนซูเอลาที่เป็นแขกของโรงแรมทุกคนเกลียดชาเวชด่าว่าเป็นคอมมิวนิสต์ พวกหัวขโมย คนบ้า คนขับแท็กซี่ก็เกลียดชาเวช เป็นสายสืบดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้าน 'ชาเวช'

คนขับแท็กซี่ไม่ใช่แรงงานหรือ
ที่อื่นไม่รู้ แต่ที่ละตินอเมริกา คนขับแท็กซี่เป็นสปายให้ฝ่ายความมั่นคงมาโดยตลอด เราจะไม่พูดเรื่องลับๆ ในรถแท็กซี่เด็ดขาด แม้ว่าเสียงสนับสนุนชาเวชจะเข้มแข็ง แต่รัฐมนตรีและกลไกรัฐทั้งหมดเป็นมรดกตกทอดมาจากรัฐบาลที่แล้ว เลยมีคำพูดว่า พรรคการเมืองของชาเวชชื่อ สาธารณรัฐที่ 5 แต่รัฐมนตรีและข้าราชการยังอยู่ในสาธารณรัฐที่ 4 เมื่อชาเวชสั่งนโยบายอะไร ไม่มีรัฐมนตรีคนไหนทำตาม เขาไม่สามารถปลดรัฐมนตรีทุกคนออกได้ เพราะเวเนซูเอลามีคนที่มีการศึกษาไม่มากนัก เพราะมีมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่ง

ชาเวชจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยการสร้างโครงสร้างคู่ขนานขึ้นมา เป็นคณะเจรจา(Mission) ในขบวนการโบลิเวียรา ซึ่งเป็นขบวนการประชาชนที่สนับสนุนเขาอยู่ ทีแรกผมนึกว่าเหมือนกับมิชชันนารีไปเกลี้ยกล่อม ชาเวชบอกไม่ใช่ นี่เป็นคณะเจรจาแบบทหาร เอาปืนคุมคำสั่งไปแต่ละหน่วยงานให้ทำตาม เช่น คำสั่งให้ปลูกพืช กระจายที่ดิน จัดการน้ำ. อีกคณะคือ ชาเวชได้นำเข้าหมอจากคิวบา 10,000 คน ไปทำงานในชนบท รักษาฟรี เพราะหมอเวเนซูเอลาเป็นชนชั้นกลางทั้งหมดไม่ยอมไปรักษาคนในชนบท ฉะนั้นสิ่งที่ชาเวชพยายามทำคือ พยายามทำให้รัฐทำหน้าที่ปกป้องประชาชนได้โดยผ่านขบวนการประชาชน

มันยากมากๆ ปัญหาที่สำคัญก็คือ แม้ขบวนการประชาชนมีพลัง มีความกระตือรือร้นที่จะช่วยชาเวชในการปฏิรูปประเทศ แต่อ่อนแอมาก ไม่เคยถูกจัดตั้ง ไม่เคยได้รับการศึกษาในเชิงกระบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนมาก่อน ไม่มีฝ่ายนำเลย ทำให้ขณะนี้ในชนบทเกิดความไม่พอใจอย่างมาก เพราะชาเวชให้ความหวังไว้สูงมาก แต่เพิ่งเติมเต็มความหวังเพียงนิดเดียวเท่านั้น แต่คนชนบทก็ยังรักชาเวช จึงไม่กล้าวิจารณ์ พวกเขาอ้างว่า ที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะชาเวชยังไม่รู้ว่าเกิดปัญหา ถ้าเขารู้เขาต้องมาแก้แล้ว

ข้อสรุปที่พวกเราได้ต่างออกไป เราเห็นว่าขบวนการประชาชนในเวเนซูเอลาต้องได้รับการจัดตั้งและให้การศึกษา เพื่อที่จะได้สามารถควบคุมกลไกรัฐได้ ถ้าไม่ทำตามการปฏิรูปการเกษตรอย่างแท้จริงก็ต้องประท้วงและกดดัน ซึ่งขณะนี้เครือข่ายชาวนาโลกรับที่จะเข้าไปช่วยเหลือโดยจัดการให้การศึกษา เพื่อฝึก 'นักรบ' ให้กับขบวนการชาวนาในเวเนซูเอลา และขบวนการเหล่านี้ต้องเป็นอิสระจากชาเวชด้วย เพื่อจะได้กล้าวิพากษ์วิจารณ์จุดที่ผิดพลาด. ในกรณีของเวซูเอลา เราเชื่อว่าการจัดตั้งขบวนการภาคประชาชนจะเดินหน้าเร็วมาก เพราะความไม่พอใจที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีมาก พวกเขาจะกดดันจากข้างล่างขึ้นข้างบน ให้มีการเวนคืนที่ดิน เวนคืนธุรกิจที่อยู่ในมือนายทุนแบบรวดเร็ว ซึ่งจะต่างกับกรณีของคิวบา การปฏิวัติในปี 50 ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเวนคืนได้ ในปี 60-70

แต่ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้น หากชาเวชถูกลอบสังหาร ซึ่งซีไอเออยากจะทำอยู่แล้ว หรือ โคลัมเบียในฐานะตัวแทนของสหรัฐบุกเข้าไปในเวเนซูเอลา เพราะทุกสิ่งทุกอย่างขณะนี้ขึ้นกับชาเวชเพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าขบวนการประชาชนเข้มแข็งกว่านี้ คนหนึ่งตาย สิบคนตาย หรือร้อยคนตายก็ไม่มีปัญหา เพราะยังมีตัวแทนอีกเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากกรณีของ MST และซาปาติสตา นี่จึงเป็นบทเรียนที่สำคัญของโบลิเวีย แม้ขบวนการประชาชนจะสามารถโค่นรัฐบาลนายทุนได้ แต่ยังไม่ยึดอำนาจรัฐ เพราะถกกันตกแล้วว่า ถึงได้อำนาจรัฐก็ไม่สามารถปกครองได้ จนกว่าจะมีขบวนการภาคประชาชนที่เข้มแข็งพอ ช่วงนี้จึงเป็นการบ่มเพาะขบวนการประชาชน

แล้วขณะนี้ ประเทศไหนในละตินอเมริกาน่าจะเป็นตัวอย่างที่น่าตื่นเต้นที่สุด
เม็กซิโก อีกไม่นานรัฐบาลเม็กซิโกจะไร้ความสามารถในการปกครองเช่นเดียวกับโบลิเวีย เอกวาดอร์ เพราะว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในปีหน้า คนที่มีคะแนนเสียงนำในโพลอยู่ในขณะนี้คือ 'อัมโล' (Andres Manuel Lopez Obrador) (*) ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเม็กซิโกซิตี้ เป็นนักการเมืองฝ่ายซ้าย พรรคฝ่ายซ้ายในเม็กซิโกเป็นพรรคการเมืองที่แย่ แย่ แย่มาก คอรัปชั่นและแตกแยก แต่อัมโลเป็นนายกเทศมนตรีคนแรกที่บริหารเม็กซิโกซิตี้ได้ดีมาก เมืองที่มีคน 30 ล้านคนไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบริหารให้ได้ดี คงยากกว่ากรุงเทพฯสัก 3 เท่า ทำให้คนชื่นชมมาก ไม่ใช่แค่ฝ่ายซ้าย แต่ทั้งฝ่ายขวา ฝ่ายขวากลางก็ชื่นชอบเขา สร้างความวิตกให้กับพรรคการเมืองเก่าๆ มาก

(*)Andres Manuel Lopez Sobador, a.k.a. "El Peje", (born November 13, 1953) is a Mexican politician affiliated with the Party of the Democratic Revolution (PRD). He is recognized by his followers as the leader of a civil resistance movement rejecting the results of the 2006 presidential election.

He held the position of Head of Government of the Federal District (roughly, Mayor of Mexico City) from 2000 to 2005, before resigning in July 2005 to contend the 2006 presidential election, representing the Coalition for the Good of All, a PRD-led coalition that also includes the Convergence party and the Labor Party.

สหรัฐวิตกกังวลที่สุด เพราะพึ่งพาน้ำมันร้อยละ 92 ของน้ำมันที่ใช้ในประเทศจาก 2 ประเทศ คือ เวเนซูเอลาและเม็กซิโก ฉะนั้นสหรัฐรับไม่ได้ที่จะเจอชาเวชในเม็กซิโกอีก. แต่ในสายตาพวกเรา อัมโลไม่ใช่ซ้ายสุดๆ เขาเหมือน 'ลูลา' มากกว่า คือ ซ้ายกลาง เราเชื่อว่าถ้าเขาขึ้นสู่อำนาจก็คงทำไม่ต่างจากลูลา คือไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับสหรัฐ และจะไม่ก่อปัญหาให้กับชนชั้นปกครอง แล้วก็จะไปกู้เงินรับเงื่อนไขจากไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก แต่เพราะสหรัฐและชนชั้นปกครองในเม็กซิโก โง่มากๆ ทำใจรับอัมโลไม่ได้ จึงกดดันให้อัมโลต้องไปอยู่กับฝ่ายก้าวหน้าสุดๆ

วิธีที่พวกเขาทำก็คือ สร้างข้อกล่าวหาว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้วสมัยที่เป็นนายกเทศมนตรีไปเซ็นสร้างถนนสายหนึ่งที่ไปขวางทางเข้าออกของที่ดินซึ่งเป็นที่ดินเปล่าผืนหนึ่ง ไปละเมิดคำสั่งศาลที่ห้ามขวางทางเข้าออกที่ดินเอกชน ฉะนั้นมีความผิดต้องติดคุก และตัดสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งในทางการเมือง

ในการหยั่งเสียง อัมโลมีคะแนนนิยมนำผู้สมัครที่ได้ความนิยมอันดับ 2 อยู่เท่าตัว ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการถอดถอน คาดว่าปลายสัปดาห์นี้เขาจะถูกตัดสินจำคุกและตัดสิทธิทางการเมือง อัมโลประกาศแล้วว่า เขาจะเป็นประธานาธิบดีจากในเรือนจำ เมื่อวันอาทิตย์ (17 พฤษภาคม) คน 1.2 ล้านคนเดินขบวนประท้วงในเมืองใหญ่ และยังมีการประท้วงตามหัวเมืองต่างๆ อีกด้วย ต้องเรียกว่าพวกชนชั้นปกครองสร้างความเดือดแค้นให้เกิดในใจประชาชนเอง

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในสายตาผม นับจากนี้ไปจนถึงการเลือกตั้งจะมีการประท้วง การจัดตั้งขบวนประชาชน ภาคประชาสังคมในภาคส่วนต่างๆ แล้วในการเลือกตั้งเชื่อว่า อัมโลจะได้รับชัยชนะ ไม่ว่าด้วยการฉีกบัตร หรือกาบัตรเสียก็ตาม เมื่อถึงเวลานั้นจะกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ของกลไกรัฐ อัมโลจะเป็นประธานาธิบดีจากในคุกที่ขบวนการประชาชนทุกภาคส่วนสนับสนุน ซึ่งฝ่ายซ้ายไม่เคยสามารถจัดตั้งขบวนประชาชนได้ขนาดนี้ . แล้ว 'อัมโล' ก็จะเป็น 'ชาเวช' คนต่อไป ทั้งที่สหรัฐอเมริกาและชนชั้นปกครองเก่าไม่อยากได้ แต่ได้กลับสร้างขึ้นมาเอง

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 10 July 2008 : Copyleft by MNU.

เมื่อรัฐล่มสลาย เอ็นจีโอเคลื่อนเร็วกว่าขบวนการประชาชนมาก เอ็นจีโอ (ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเก่า) เหล่านี้เลยเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นก่อนกลุ่มอื่นๆ ดึงเงินสนับสนุนจากแหล่งเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ช่วงทศวรรษที่ 80 กลุ่มคนเหล่านี้ยึดกุมพื้นที่ทางการเมืองของภาคประชาสังคม ขณะเดียวกัน ขบวนการประชาชนที่เพิ่งถูกปลดปล่อยจากพรรคการเมืองก็ถูกกดโดยเอ็นจีโอ ทำให้ช่วงทศวรรษที่ 80-90 ขบวนการภาคประชาชนต้องต่อสู้กับเอ็นจีโอโดยบอกว่า พวกเขามีสิทธิอันชอบธรรมในการพูดในนามของประชาชนมากกว่าเอ็นจีโอ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วละตินอเมริกา ขบวนการประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เป็นเครือข่ายของขบวนการชาวนาโลก ประกาศจุดยืนไม่ร่วมสังฆกรรมกับบรรดาเอ็นจีโอ

H