ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




07-07-2551 (1606)

Electoral Systems and Electoral Misconduct
ระบบการเลือกตั้ง และการกระทำผิดในการเลือกตั้งยุคใหม่

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปล
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความนี้เรียบเรียงจาก
Electoral Systems and Electoral Misconduct เขียนโดย Sarah Birch
The online version of this article can be found at
http://cps.sagepub.com/cgi/content/abstract/40/121533
Originally published online Sep. 17, 2007

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทคัดย่อ: มีงานเขียนจำนวนมากขึ้น ที่พูดถึงกระบวนการการเข้าสู่ความ
เป็นประชาธิปไตย (democratization) โดยเน้นศึกษาในกลุ่มประเทศ
ที่มีปัญหาในแง่การเมือง แม้ประเทศเหล่านี้จะเปลี่ยนจากลัทธิเผด็จการ
(authoritarianism) ไปเป็นรูปแบบการปกครองที่มีรัฐบาลมาจาก
การแข่งขันกันในการเลือกตั้งแล้ว แต่ประเทศเหล่านี้ก็ยังไม่เป็นไปตาม
มาตรฐานทั่วไปของหลักประชาธิปไตย เป็นที่ตระหนักว่าการทุจริต
ทางการเมือง เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุดของประเทศดังกล่าวนี้
ถึงแม้จะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยในระบบเลือกตั้ง ด้วยเหตุผลที่ว่า
มีการเลือกตั้งโดย "เสรีและยุติธรรม" แต่ก็มักจะมีรายงานจากคณะ
ผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งระบุว่า กระบวนการเลือกตั้งของประเทศ
เหล่านี้ มีข้อบกพร่องในเรื่องที่สำคัญ

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๐๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Electoral Systems and Electoral Misconduct
ระบบการเลือกตั้ง และการกระทำผิดในการเลือกตั้งยุคใหม่

รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปล
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการทำวิจัยในขอบข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยผลกระทบของการกำหนดรูปแบบการเลือกตั้ง ที่มีผลต่อการกระทำผิดเลือกตั้ง เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว (single-member districts - SMD) ตามหลักเสียงข้างมาก เป็นระบบที่จะเป็นเป้าหมายของการกระทำผิดได้มากกว่าการเลือกตั้งแบบระบบสัดส่วน (proportional representation - PR) โดยมีเหตุผลสองข้อที่สนับสนุนความเชื่อข้างต้น

ประการแรก ผู้สมัครในระบบเขตเดียวเบอร์เดียว มีโอกาสทุจริตการเลือกตั้งได้มากกว่าผู้สมัครในระบบสัดส่วน
ประการที่สอง การเลือกตั้งระบบเขตเดียวเบอร์เดียว สามารถทำผิดได้ง่ายกว่า เนื่องจากผลการเลือกตั้งตามระบบนี้
สามารถพลิกได้ด้วยคะแนนที่ต่างกันน้อยกว่าระบบสัดส่วน

สมมติฐานนี้ ได้รับการตรวจสอบและยืนยันด้วยข้อมูลชุดใหม่ที่สำรวจจากการทำผิดเลือกตั้งในประเทศต่างๆ หลังยุคคอมมิวนิสต์จำนวน 24 ประเทศ ระหว่าง ค.ศ. 1995 - 2004 ซึ่งพบว่า สัดส่วนของผู้ที่รับการเลือกตั้งในระบบเขตเดียวเบอร์เดียว มีความสัมพันธ์กับระดับของการทุจริตการเลือกตั้ง โดยมีการตรวจสอบปัจจัยที่เป็นบริบทแวดล้อม

มีงานเขียนจำนวนมากขึ้น ที่พูดถึงกระบวนการการเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย (democratization) โดยเน้นศึกษาในกลุ่มประเทศที่มีปัญหาในแง่การเมือง แม้ประเทศเหล่านี้จะเปลี่ยนจากลัทธิเผด็จการ (authoritarianism) ไปเป็นรูปแบบการปกครองที่มีรัฐบาลมาจากการแข่งขันกันในการเลือกตั้งแล้ว แต่ประเทศเหล่านี้ก็ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปของหลักประชาธิปไตย เป็นที่ตระหนักว่าการทุจริตทางการเมือง เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุดของประเทศเหล่านี้ ถึงแม้จะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยในระบบเลือกตั้ง (electoral democracies) ด้วยเหตุผลที่ว่า มีการเลือกตั้งโดย "เสรีและยุติธรรม" แต่ก็มักจะมีรายงานจากคณะผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งระบุว่า กระบวนการการเลือกตั้งของประเทศเหล่านี้ มีข้อบกพร่องในเรื่องที่สำคัญ

การละเมิดหลักการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (electoral integrity) นับเป็นรูปแบบหนึ่งของการทุจริตทางการเมืองที่สำคัญ การเลือกตั้งมีความสำคัญเพราะเป็นการวางรากฐานของกระบวนการประชาธิปไตย และเป็นการสรรหาผู้มีบทบาทสำคัญในระบบการเมือง แต่ยังไม่มีการศึกษาในขอบข่ายระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้ง งานวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีศึกษา แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อหลักการของการเลือกตั้งมีความสำคัญ สำหรับการค้นหาว่าจะสามารถทำอย่างไร เพื่อทำให้การดำเนินการทางการเมืองในประเทศต่างๆ มีความเข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่กระบวนการประชาธิปไตยยังมีอุปสรรค ประเทศประชาธิปไตยที่กำลังเกิดใหม่ และประเทศประชาธิปไตยใหม่ รวมทั้งในประเทศระบอบกึ่งเผด็จการ (semi-authoritarian regimes)

การทุจริตทางการเมืองนั้นฝังรากลึกจนเป็นแบบอย่างที่ทำกันทั่วไปอยู่ในกิจกรรมทางสังคมที่ซับซ้อน ในหลายกรณีก็ยากเกินกว่าจะปรับเปลี่ยน โดยที่กฎหมายที่ใช้ควบคุมกระบวนการเลือกตั้งมักจะเป็นเรื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่ยากในระบบการเมืองของประเทศ ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่ารูปแบบบางอย่างทางกฎหมาย มีส่วนทำให้เกิดการทุจริตการเลือกตั้งน้อยลง ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบการเลือกตั้ง และผู้ให้คำปรึกษาในกระบวนการดังกล่าว

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (The United Nations General Assembly) ซึ่งเป็นประชาคมกฎหมายระหว่างประเทศ ได้ประกาศความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบของระบบการเลือกตั้งโดยภาพรวม ดังนี้

"ไม่มีระบบการเมืองหรือวิธีการเลือกตั้งเพียงหนึ่งเดียวที่เหมาะกับทุกประเทศ และเหมาะกับพลเมืองของแต่ละประเทศ การที่ประชาคมระหว่างประเทศพยายามส่งเสริมหลักการเพื่อให้มีการเลือกตั้งที่แท้จริง และให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้ตามวาระ ด้วยความพยายามเพื่อให้เป็นไปตามเจตจำนงของพลเมืองในประเทศ เพื่อให้มีเสรีภาพในการเลือก และเพื่อเป็นการพัฒนาระบบการเมือง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างที่ประเทศอื่นต้องการหรือไม่ก็ตาม ความพยายามนี้ ก็ไม่ควรจะเป็นประเด็นที่ทำให้มีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศ"

ตามความเห็นของ Goodwin-Gill (1994)(*) หลักการที่ซ่อนอยู่ในภารกิจในการจัดการเลือกตั้งแบบเสรีและยุติธรรมคือ หลัก "การผูกพันตามผลการเลือกตั้ง" โดยที่ประเทศต่างๆ จะถูกตัดสินด้วยผลจากกระบวนการเลือกตั้งที่ประเทศนั้นนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้ก็มีทางเลือกในระดับหนึ่ง ในการที่จะเลือกรูปแบบการเลือกตั้งด้วยตัวเองซึ่งจะมีอิทธิพลต่อผลของกระบวนการเลือกตั้ง บทความนี้ต้องชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของกฎหมาย และคุณภาพของการจัดการเลือกตั้งที่เป็นผลจากรูปแบบของกฎหมายเลือกตั้ง และบทความนี้จะเน้นไปที่บทบาทของระบบการเลือกตั้ง ที่ทำให้เกิดแรงจูงใจต่อการทุจริตในการเลือกตั้ง โดยเฉพาะเรื่องการเลือกรูปแบบระบบเลือกตั้งที่แตกต่างกัน ซึ่งมีแนวโน้มในการทำให้เกิดโอกาสหรือเป็นการส่งเสริมให้มีโอกาสในการละเมิดหลักการของการเลือกตั้งในประเทศต่างๆ หลังยุคคอมมิวนิสต์อันเป็นประเทศที่อยู่ในแถบยุโรปตะวันออกรวมถึงอดีตสหภาพโซเวียต

(*)Guy Goodwin-Gill is a barrister and a professor of public international law at Oxford University and a Fellow of All Souls College, Oxford. His research areas include international organisations, human rights, migrants and refugees, elections and democratisation and children's rights; he teaches Human Rights and International Law.

การคาดหมายในทางทฤษฏี (Theoretical Expectations)

ประชาธิปไตยถูกมองว่าเป็นสิ่งที่มีความไม่แน่นอนซึ่งถูกทำให้เป็นระบบ โดยมีกระบวนการการเลือกตั้งทำหน้าที่ยืนยันผลลัพธ์ในแบบที่ควรจะเป็นในทางการเมือง อย่างไรก็ตาม นักการเมืองต้องการได้มาซึ่งอำนาจ คนกลุ่มนี้จึงต้องการลดความไม่แน่นอนในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย การทุจริตในกระบวนการเลือกตั้งจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ล่อใจที่สุด เพื่อให้บรรลุความต้องการดังกล่าวของนักการเมือง แต่ในขณะเดียวกันนักการเมืองที่ทุจริตก็มีความเสี่ยงกับการทำผิดกฎหมาย ถ้าได้รับเลือกตั้ง บุคคลเหล่านี้ก็อาจจะไม่สามารถรักษาคะแนนเสียงสนับสนุนได้ อันเป็นผลเสียกับโอกาสในการเลือกตั้งในครั้งต่อไป รวมทั้งเป็นการทำลายสถานภาพของประเทศในระดับสากลอีกด้วย นักการเมืองในเวทีการเลือกตั้งจึงต้องเผชิญกับภาวะที่ต้องเลือก ระหว่างผลได้และผลเสีย ระหว่างความต้องการที่จะรักษาตำแหน่งหรือถูกมองว่าอยู่ในแนวทางที่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย ขณะที่ต้องรักษาอำนาจไว้ให้ได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้น จึงสามารถเชื่อได้ว่านักการเมืองอาจจะยอมทำผิดกฎหมายด้วยการทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อคนเหล่านี้มีความมั่นใจว่าการทุจริตนั้นจะทำให้ประสบความสำเร็จได้มากกว่า

ตามที่เข้าใจในงานวิจัยนี้ การทำผิดเลือกตั้งหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่นำไปสู่การละเมิด "สนามแข่งขันที่ยุติธรรม" อันเป็นอุดมการณ์ของการเลือกตั้ง ซึ่งก็รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ระหว่างการหาเสียง เช่น

- การใช้สิทธินำเงินของรัฐไปใช้ในทางมิชอบ (เช่น การเลือกตั้ง Duma เมื่อ ค.ศ. 1999 ในรัสเซีย ขณะนั้น Yurii Luzhkov นายกเทศมนตรีกรุงมอสโกและเป็นหัวหน้าพรรค Fatherland and All Russia ได้ลงรับเลือกตั้งแข่งกับสมาชิกพรรค Kremlin-backed Unity โดยได้ใช้จ่ายเงินในอำนาจความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่ไปสนับสนุนการหาเสียงของตัวเอง) หรือ

- การใช้วิธีป้ายสีหรือใช้การหาเสียงด้วยกลยุทธ์หลอกลวง (ในรัสเซียใน ค.ศ. 2003 มีรายงานว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นใน Yekaterinburg, Rostovna-Donu และ Novosibirsk ได้บิดเบือนความจริงทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเสื่อมเสียชื่อเสียง) และยังมีการกระทำผิดต่างๆ ในวันเลือกตั้ง เช่น

- การขัดขวางการลงคะแนน (ใน ค.ศ. 2003 กล่องบัตรถูกขนย้ายออกจากหน่วยเลือกตั้งโดยมีการข่มขู่ด้วยอาวุธปืน)

- การใช้วิธีหย่อนบัตรแทน (ใน Macedonia ค.ศ. 1998 มีการสังเกตพบว่ามีผู้ออกเก็บรวบรวมบัตรลงคะแนนจากผู้ที่ยังไม่ได้กาบัตรและนำไปกาแทน)

- การกดดันเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งให้ร่วมทุจริตหรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นการทุจริต (ใน District 44 ที่มีการเลือกตั้ง Kyrgyz ใน ค.ศ. 2000 ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่สามารถหยุดการโกงการเลือกตั้งที่เกิดจากความร่วมมือของรัฐบาลส่วนภูมิภาคได้ และในที่สุดประธานกรรมการก็ถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง)

ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการโกงการเลือกตั้ง คือผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งโดยการทุจริต รวมถึงผู้ที่อยู่ในภาครัฐและเอกชนซึ่งได้รับประโยชน์บางประการจากความสำเร็จของผู้สมัครเหล่านี้ สำหรับผู้ที่สูญเสียคือ ผู้สมัครที่ถูกแย่งที่นั่งด้วยวิธีโกงการเลือกตั้งรวมถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ผู้สมัครแต่ละคนไม่ได้มีโอกาสเท่ากันในการทุจริต
ในสนามเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนไม่ได้มีโอกาสเท่ากันในการทุจริตการเลือกตั้ง พรรคการเมืองและนักการเมืองที่กำลังดำรงตำแหน่ง จะอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบกว่าผู้ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่ง (แม้ว่าการกระทำต่างๆ อย่างเช่นการป้ายสีคู่แข่งนั้น ผู้ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งจะสามารถทำได้เช่นเดียวกันก็ตาม) จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า การทุจริตเลือกตั้งส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาล (โดยไม่จำเป็นหรือว่าเป็นแต่เฉพาะกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง) โดยสามารถทุจริตได้โดยตรงหรือด้วยการกดดันผู้ดำเนินการเลือกตั้ง หรือกับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอื่นในระดับต่างๆ

จากการใช้ดัชนีชี้วัดของ The Transparency International and World Bank เรื่องการคอร์รัปชั่น (ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมถึงการกระทำผิดเลือกตั้ง) จะพบว่า มีงานศึกษาวิจัยจำนวนหนึ่งในปัจจุบันที่ทำการศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "ระบบเลือกตั้ง"กับ"การคอร์รัปชั่นทางการเมือง" รวมทั้งการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแสวงหาค่าเช่าส่วนเกิน (rent seeking) และการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ งานวิจัยบางชิ้นพบว่าระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนมีความสัมพันธ์กับการคอร์รัปชั่นในระดับสูงกว่าระบบเขตเดียวเบอร์เดียว (single-member districts) เนื่องจากตามวิธีการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ผู้นำมีโอกาสที่จะถูกพิจารณาในลำดับท้ายๆ แม้ว่าจะมีการแย้งว่าในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะมีการคอร์รัปชั่นในระดับที่สูงกว่า เพราะว่าการเข้าสู่การแข่งขันระบบเขตเดียวเบอร์เดียวมีอุปสรรคมากที่ขัดขวางการแข่งขัน สำหรับการศึกษาอื่นก็เป็นการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์แบบมีเงื่อนไขหรือคลุมเครือ และสำหรับประเด็นในที่นี้คือ ระบบการเลือกตั้งมีผลเป็นการเฉพาะอย่างไรกับรูปแบบการทุจริตในการเลือกตั้ง

แม้จะให้ความสำคัญกับเรื่องของแรงจูงใจและผลตอบแทนที่ทำให้เกิดการทุจริตการเลือกตั้ง แต่ก็จะไม่มองข้ามเรื่องของระบบเลือกตั้งที่มีผลต่อการคอร์รัปชั่น ซึ่งอาจมีผลเกี่ยวพันกับเรื่องของการเลือกตั้งอย่างซับซ้อน (โดยหลักแล้วคือ ด้วยการใช้เงินทุนที่ได้มาอย่างมิชอบด้วยกฎหมายในการหาเสียง) แต่เนื่องจากระบบเลือกตั้งเป็นโอกาสเฉพาะ ดังนั้นบทบาทของระบบเลือกตั้งที่มีผลต่อรูปแบบของการทุจริตในการเลือกตั้งจึงผันแปรไปตามหลักเหตุและผลและในแบบชั่วคราว โดยส่วนใหญ่แล้วจะต่างจากการที่ระบบเลือกตั้งมีผลกับการคอร์รัปชั่นในรูปแบบอื่น ดังนั้น จึงควรได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน งานวิเคราะห์ชิ้นนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยเติมเต็ม (มากกว่าจะเป็นการคัดค้านผลงานวิชาการของ The Transparency International and World Bank) ว่าด้วยเรื่องบทบาทของระบบเลือกตั้งที่มีผลต่อการดำเนินการเลือกตั้ง

สมมติฐานหลัก และแรงจูงใจในการทำผิดเลือกตั้ง
สมมติฐานหลักที่นำเสนอในที่นี้คือ การทำผิดในการเลือกตั้งมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวมากกว่าระบบสัดส่วน ด้วยเหตุผลว่า ถ้าการทุจริตในการเลือกตั้งเป็นวิธีลดความไม่แน่นอนในการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการทุจริตเลือกตั้งทุกรูปแบบจะสามารถกระทำสำเร็จ มีความเป็นไปได้ว่านักการเมืองจะเลือกทำผิดการเลือกตั้งมากกว่า ในเมื่อคนกลุ่มนี้มีวิธีที่เชื่อถือได้ในการพลิกแพลงการเลือกตั้งให้เป็นประโยชน์กับตนเอง แม้จะเห็นว่าระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว มีบางแง่มุมที่ทำให้การทุจริตการเลือกตั้งได้ผลมากกว่าแบบสัดส่วน ด้วยเหตุผลสองประการ

ประการแรก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแรงจูงใจที่ทำให้ผู้สมัครและหัวหน้าพรรคกระทำผิดเลือกตั้ง และ
ประการที่สอง เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลไกของระบบเลือกตั้ง ที่มีผลในการเปลี่ยนคะแนนเสียงให้มีสิทธิเข้าสู่สภา

แรงจูงใจในการทำผิดเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน ภายใต้ระบบเขตเดียวเบอร์เดียวกับระบบสัดส่วนมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และความแตกต่างนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การหาเสียงที่สำคัญสุด ในระบบสัดส่วน ผู้มีสิทธิออกเสียงจะลงคะแนนให้กับพรรคการเมือง (ถึงแม้ว่าในระบบสัดส่วนแบบเปิด <open list>[1] ผู้มีสิทธิออกเสียงจะสามารถเลือกผู้สมัครได้หนึ่งคนหรือมากกว่าก็ตาม)

[1] closed party list system คือบัญชีรายชื่อแบบปิด กำหนดให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งเลือกบัญชีใดบัญชีหนึ่ง open party list system คือให้ประชาชนเลือกและเรียงลำดับความพอใจในผู้สมัครแต่ละคนในบัญชีรายชื่อได้

ในขณะที่ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว เป็นการเลือกผู้สมัครเป็นรายบุคคล ลักษณะดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจที่ทำให้นักการเมืองทำผิดเลือกตั้ง ยิ่งสมาชิกในสภานิติบัญญัติเป็นผู้ที่ได้รับเลือกแบบรายบุคคล หัวหน้าพรรคการเมืองก็ยิ่งต้องพบกับปัญหาการปฏิบัติไปแนวทางเดียวกันของสมาชิกพรรค. Carey และ Shugart ได้กล่าวว่า "ถ้าโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการลงคะแนนให้กับนักการเมืองเฉพาะราย แทนที่จะลงให้พรรคการเมือง นักการเมืองก็จำเป็นต้องประเมินถึงผลได้ผลเสียระหว่างความสำคัญของชื่อเสียงส่วนตัวกับของพรรคการเมือง" ซึ่งโดยทั่วไป ผลได้ผลเสียดังกล่าวจะถูกมองในแง่ของท่าทีของผู้สมัครเฉพาะราย กับท่าทีของพรรคในเรื่องของนโยบาย หรือในแง่ของแรงจูงใจในการนำเสนอผลตอบแทนเพื่อแลกกับคะแนนเสียง แต่เรื่องนี้สามารถขยายไปถึงแรงจูงใจที่พรรคการเมืองต้องรักษาชื่อเสียงในการเลือกตั้งอย่างซื่อตรงหรือไม่ก็ทุจริตเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง

ทั้งในระบบการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว และระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ผู้สมัครบางคนอยู่ในสถานะที่ชนะได้แบบเฉียดฉิว ในขณะที่ผู้สมัครอีกส่วนหนึ่งค่อนข้างมั่นใจในชัยชนะหรือไม่ก็ตระหนักว่าตัวเองมีโอกาสเพียงเล็กน้อย สำหรับระบบเขตเดียวคนเดียว การที่ผู้สมัครมีโอกาสชนะกันแบบเฉียดฉิวเป็นปัญหาเรื่องการขาดความน่าเชื่อถือ ขณะที่ระบบบัญชีรายชื่อนั้น ปัญหาหลักอยู่ที่ลำดับของผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ (ยกเว้นพรรคขนาดเล็กที่ผู้สมัครอาจได้รับเลือกบ้างก็อาจจะอยู่ในสภาพที่ได้รับเลือกแบบหวุดหวิด) เป็นไปได้ว่าผู้สมัครที่มีโอกาสแบบเฉียดฉิวจะเป็นผู้ที่ใช้ประโยชน์จากการทำผิดในการเลือกตั้งมากที่สุด ด้วยสิ่งที่คาดหวังมากที่สุดคือ ประโยชน์ที่จะได้แม้ว่าอาจจะทำให้ต้องเสียชื่อเสียงก็ตาม

การเลือกตั้งระบบสัดส่วนและชื่อเสียงของพรรค
ตามการเลือกตั้งระบบสัดส่วน หัวหน้าพรรคจะมีแรงจูงใจและความสามารถมากกว่า ในการที่จะบังคับให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหมายเลือกตั้งเพื่อเป็นการปกป้องชื่อเสียงของพรรค เหตุผลก็เพราะว่าในระบบสัดส่วนนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพรรคเป็นอันดับแรกก็คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย และชัยชนะของการเลือกตั้งก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับบัญชีรายชื่อของพรรค ด้วยเหตุผลที่การจะประสบความสำเร็จและการปกป้องชื่อเสียงเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันในการเลือกตั้งระบบสัดส่วน ดังนั้นพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบันจึงมีแรงจูงใจเป็นอย่างมากที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายนี้ให้ได้มากที่สุด ด้วยการสื่อข้อความไปถึงผู้มีสิทธิออกเสียงและการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ภายในพรรค ทั้งการให้มีบทลงโทษและรางวัล แม้ว่าผู้มีสิทธิออกเสียงบางคนอาจจะประเมินความซื่อสัตย์ของผู้สมัครที่อยู่ในบัญชีรายชื่อแตกต่างกันออกไป และอาจลงคะแนนตามระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด (open-list) ให้กับผู้ที่เชื่อว่าเป็นคน "มือสะอาด" แต่สำหรับพรรคการเมืองจะต้องทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงมีความเชื่อมั่นในพรรคก่อน ที่ให้ความแตกต่างระหว่างผู้สมัครเข้ามามีบทบาท ดังนั้น พรรคการเมืองในระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจึงยืนอยู่ด้วยกันและล้มด้วยกัน ด้วยชื่อเสียงและด้วยระดับของเสียงสนับสนุนโดยรวมในการเลือกตั้ง

ดังนั้นภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ จึงย่อมคาดได้ว่า หัวหน้าพรรคการเมืองต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการป้องกันไม่ให้เกิดการทำผิดเลือกตั้งเพื่อปกป้องภาพลักษณ์ของพรรค และสิ่งที่หัวหน้าพรรคสามารถทำได้ด้วยการใช้บทลงโทษกับสมาชิกพรรคที่ทำผิด (เช่น ไม่ให้การสนับสนุนภายหลังการเลือกตั้ง หรือด้วยการตัดสิทธิการลงสมัครรับเลือกตั้งในสมัยหน้า) หรือการให้รางวัลกับผู้ที่ยืนหยัดในหลักการเลือกตั้งที่ถูกต้อง เช่น การให้ตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลหรือให้อยู่ในลำดับที่ดีในบัญชีรายชื่อ

ตัวอย่างใน ค.ศ. 2004 เกิดเหตุการณ์รุนแรงที่ว่าเรียกว่า Orange Revolution (*) ในยูเครน กลุ่มผู้ที่สนับสนุน Viktor Yushchehko (ผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี) ประสบความสำเร็จในการผลักดันให้มีการเลือกตั้งอีกครั้ง เพราะมีการโกงการเลือกตั้งและในที่สุดก็สามารถทำให้ Yushchenko ชนะการเลือกตั้ง หลังจากนั้นในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2006 บุคคลที่เป็นแกนนำสำคัญในการประท้วง (Yurii Yekhanurov กับ Boris Tarasyuk) ก็ได้รับการจัดให้อยู่ลำดับต้นในบัญชีรายชื่อของพรรค

(*)The Orange Revolution was a series of protests and political events that took place in Ukraine from late November 2004 to January 2005, in the immediate aftermath of the run-off vote of the 2004 Ukrainian presidential election which was compromised by massive corruption, voter intimidation and direct electoral fraud. Kiev, the Ukrainian capital, was the focal point of the movement with thousands of protesters demonstrating daily. Nationwide, the democratic revolution was highlighted by a series of acts of civil disobedience, sit-ins, and general strikes organized by the opposition movement.

The protests were prompted by reports from several domestic and foreign election monitors as well as the widespread public perception that the results of the run-off vote of November 21, 2004 between leading candidates Viktor Yushchenko and Viktor Yanukovych were rigged by the authorities in favor of the latter. The nationwide protests succeeded when the results of the original run-off were annulled, and a revote was ordered by Ukraine's Supreme Court for December 26, 2004. Under intense scrutiny by domestic and international observers, the second run-off was declared to be "fair and free". The final results showed a clear victory for Yushchenko, who received about 52 percent of the vote, compared to Yanukovych's 44 percent. Yushchenko was declared the official winner and with his inauguration on January 23, 2005 in Kiev, the Orange Revolution peacefully reached its successful conclusion.

ในระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิดจะมีแรงจูงใจที่ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งทำผิดกฎหมายได้มากกว่า แต่ผู้สมัครก็ยังคงอยู่ภายใต้การกดดันของพรรคการเมืองให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็นการทำผิดการเลือกตั้งในรูปแบบที่ไม่ปรากฏชัดเจน แทนที่จะละเมิดกฎเกณฑ์การเลือกตั้งอันจะไม่ทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงรู้สึกไม่พอใจ (เช่น การใช้งบประมาณเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และการให้ผลตอบแทนเพื่อแลกกับคะแนนเสียง) ดังนั้น การทำผิดต่อระบบเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิดก็จะไม่รุนแรง ถึงแม้ว่าการแข่งขันภายในพรรคและแรงจูงใจในเชิงส่วนบุคคลภายหลังเลือกตั้ง จะทำให้คิดว่าระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนในระบบเปิด (open party list system) สัมพันธ์กับการทำผิดเลือกตั้งสูงกว่าระบบสัดส่วนแบบปิด (closed-list)

ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว
ในระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ชื่อเสียงของบุคคลเป็นสิ่งที่สามารถแยกจากพรรคได้ และองค์กรพรรคการเมืองก็มีความยากลำบากในการใช้บทลงโทษกับผู้สมัคร เนื่องจากผู้สมัครมีอิสระมากกว่า จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้สมัครแบบเขตเดียวเบอร์เดียวจะมีการประเมินผลได้ผลเสียส่วนตัวมากกว่าของกลุ่ม เพราะประโยชน์ที่ได้จากการทำผิดเลือกตั้ง จะมีผลโดยตรงกับผู้สมัครมากกว่าจะส่งผลไปถึงบัญชีรายชื่อของพรรค เมื่อผู้สมัครในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวซึ่งดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ อาจใช้ตำแหน่งดังกล่าวเพื่อเอื้อต่อการเลือกตั้งของตน

- ในยูเครน ค.ศ. 1998 ที่ขณะนั้นมีรายงานว่า "หัวหน้าฝ่ายบริหารของราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนในสภาแห่งชาติ ได้พากันใช้ตำแหน่งหน้าที่หาเสียงให้ตัวเอง ด้วยการใช้สิทธิเข้าไปในสถานที่ราชการ และนำสิ่งของที่ใช้สำหรับหาเสียงของตนเองไปจัดวางไว้ในสถานที่เหล่านั้น หรือ

- ด้วยการพยายามทุจริตในขั้นตอนการลงคะแนน เช่น การเลือกตั้งใน Kyrgyz ใน ค.ศ. 2002 ที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทำตัวเป็นพันธมิตรอย่างแนบแน่นกับผู้สมัครบางคน โดยการเข้าควบคุมการดำเนินการบางอย่างในหน่วยเลือกตั้ง และมีการกระทำที่เป็นประโยชน์กับพวกเดียวกัน

การกระทำดังกล่าวมีส่วนโดยตรงต่อการที่ทำให้ผู้สมัครที่ทุจริตสามารถชนะการเลือกตั้งได้ ดังนั้น ผู้สมัครจึงมีโอกาสที่จะทำผิดกฎหมาย ที่เป็นการละเมิดการเลือกตั้งมากกว่าการเสี่ยงทำผิดที่ส่งผลกับสมาชิกพรรคทุกคน แต่ว่าผลประโยชน์ตกอยู่กับเฉพาะบางคนเท่านั้น อันเป็นสิ่งที่สามารถพบได้ในระบบพรรคที่เน้นตัวบุคคล ซึ่งมักปรากฏในโลกยุคหลังคอมมิวนิสต์

ข้อพิจารณาประการที่สอง การทุจริตเลือกตั้งในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวมีประสิทธิภาพกว่าระบบสัดส่วน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า ระบบเขตเดียวเบอร์เดียวส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่. สำหรับการแข่งขันในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวที่มีความใกล้เคียงระหว่างผู้สมัคร การจะพลิกผลการเลือกตั้งได้ จะต้องพยายามเอาชนะกันที่ผู้สมัครที่มีคะแนนใกล้เคียงกัน และด้วยจำนวนคะแนนเสียงเพียงเล็กน้อยก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งในเขตนั้น ในทางตรงกันข้าม เมื่อพิจารณาการเลือกตั้งในระบบสัดส่วน การจะเปลี่ยนดุลอำนาจในสภานิติบัญญัติโดยรวมได้จะต้องพลิกกันด้วยคะแนนเสียงของทั้งประเทศในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก. ภายใต้ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว การทำผิดกฎหมายจึงมีความเป็นไปได้มากกว่าระบบสัดส่วน เนื่องจากในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวสามารถพลิกกันด้วยคะแนนที่น้อยกว่า แต่ได้ผลเท่ากันในแง่ของจำนวนที่นั่งของผู้ที่ผ่านเข้าสภา

นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่า ภายใต้ระบบการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวมีการใช้เงินทำผิดมากกว่าในระบบสัดส่วน. Lehoucq และ Molina (2002) ได้แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ของคอสตาริกา ซึ่งพบว่า การแข่งขันกันในชนบทตามระบบเขตเดียวเบอร์เดียว มีการทุจริตกันมากกว่าการแข่งขันในเมืองตามระบบสัดส่วน

"เนื่องจากระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้การเลือกตั้ง มักจะเป็นไปในแบบที่ผู้ชนะมีคะแนนที่มากกว่าผู้แพ้แต่ด้วยคะแนนที่ไม่ถึงครึ่งของคะแนนรวมทั้งหมด และมีคะแนนที่แตกต่างกันเล็กน้อย ต่างกับระบบสัดส่วนที่ฝ่ายชนะและฝ่ายแพ้มีคะแนนที่ต่างกันมากกว่า จึงเป็นเหตุผลที่พรรคการเมืองมักจะโทษว่ามีการโกงการเลือกตั้งในพื้นที่ต่างจังหวัดมากกว่าในเมือง"

ดังนั้น มีเหตุผลอยู่สองข้อที่จะเชื่อได้ว่า การเลือกตั้งในระบบเขตเดียวเบอร์มีโอกาสที่จะเป็นเป้าของการทำผิดเลือกตั้งมากกว่าระบบสัดส่วน เพราะผู้สมัครในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวได้รับผลตอบแทนโดยตรงจากการพยามยามทำผิดเลือกตั้ง (เมื่อเทียบกับสิ่งที่คาดว่าจะสูญเสีย) มากกว่าผู้สมัครในระบบสัดส่วน อีกทั้งในระบบเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวนคะแนนที่จะพลิกผลการเลือกตั้งได้ก็น้อยกว่าระบบสัดส่วนจึงใช้เงินน้อยกว่า เพราะฉะนั้น ในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวจึงมีแรงจูงใจให้ทั้งผู้สมัครแบบรายบุคคล ไปจนถึงระดับผู้นำของพรรคอยากทำผิดเลือกตั้งมากกว่า

ปัจจัยด้านบริบทและระดับประชาธิปไตย
นอกจากรูปแบบของระบบเลือกตั้งแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับระดับของการทำผิดเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม การสร้างทฤษฎีในเรื่องนี้ก็ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น มีเหตุผลที่จะนำปัจจัยด้านบริบทที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเชื่อได้ว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการทำผิดเลือกตั้งมาพิจารณาด้วย ดังนั้น ระดับของการคอร์รัปชั่นที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือระดับของการคอร์รัปชั่นอื่นๆ จึงนำมาใช้กับวัตถุประสงค์นี้ เนื่องจากระดับของการคอร์รัปชั่น จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนลักษณะสำคัญของระบบการเมืองที่มีลักษณะที่ง่ายต่อการคอร์รัปชั่น แต่เมื่อวิเคราะห์แล้วก็เป็นสิ่งที่แตกต่างจากการทำผิดเลือกตั้ง ยิ่งกว่านั้นยังสามารถเชื่อได้อีกว่า ระบบเลือกตั้งมีผลกับการคอร์รัปชั่นทั่วไปด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น การนำปัจจัยนี้มาพิจารณาจะทำให้สามารถพิจารณาเรื่องของรูปแบบการเลือกตั้ง กับรูปแบบของพฤติกรรมการทำผิดเลือกตั้งโดยเฉพาะ

นอกจากนี้เป็นที่เชื่อกันว่าระดับของประชาธิปไตยที่อยู่ในแต่ละประเทศ มีผลกับคุณภาพของการเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นที่เชื่อว่าแง่มุมต่างๆ ในระบบการเมืองมีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด และยังสามารถตั้งสมมติฐานได้ว่า การจัดการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา จะทำให้มีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงขึ้น เพราะหมายถึงการมีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองต่อผลของการเลือกตั้งจะสูงขึ้น

ประสบการณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับบริบทหลังยุคคอมมิวนิสต์คือ ประสบการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้าของแต่ประเทศ (รวมถึงประสบการณ์เรื่องการเลือกตั้ง และความแตกต่างของลัทธิคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ) อันเป็นปัจจัยที่มีการศึกษาพบว่า มีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบพรรคการเมืองและระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างหนึ่งก็คือ กลุ่มประเทศที่แยกตัวออกมากจากสหภาพโซเวียต ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว เป็นประเทศที่มีประสบการณ์จำกัด (ในช่วงเวลาก่อนหน้ายุคคอมมิวนิสต์) ในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย โดยการเลือกตั้งที่เคยเกิดขึ้นเป็นตามรูปแบบของแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ อันมีขอบเขตจำกัดมาก

อีกตัวอย่างหนึ่งคืออดีตประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งเป็นประเทศที่ค่อนข้างจะมีประสบการณ์การเลือกตั้งมากกว่า ทั้งในช่วงเวลาก่อนและในช่วงยุคคอมมิวนิสต์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เต็มไปตามความรุนแรง เป็นที่คาดเดาได้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่าประเทศในแถบยุโรปกลาง (*) อันเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเลือกตั้งในช่วงสงครามโลก และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบคอมมิวนิสต์ที่ดำเนินไปในอย่างสันติมากกว่า

(*)Central Europe is the region lying between the variously and vaguely defined areas of Eastern and Western Europe. In addition, Northern, Southern and Southeastern Europe may variously delimit or overlap into Central Europe. The term and widespread interest in the region itself came back into fashion[1] after the end of the Cold War, which had divided Europe politically into East and West, with the Iron Curtain splitting "Central Europe" in half.

The understanding of the concept of Central Europe is an ongoing source of controversy,[2] varying considerably from nation to nation, and also has from time to time. This region is usually considered to include: Austria, Czech Republic, Germany, Hungary, Liechtenstein, Poland, Romania, Slovakia, Slovenia , Switzerland, Sometimes, the region may extend to include Croatia.

ปัจจัยทางเศรษฐกิจของประเทศยากจน
ปัจจัยสุดท้ายที่อาจมีผลต่อระดับของการทำผิดเลือกตั้งคือ ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในประเทศที่มีฐานะค่อนข้างยากจน อาชีพที่มักมองกันว่าเป็นงานที่น่าดึงดูดมากกว่าอาชีพอื่นๆ เป็นงานในภาครัฐ เช่น อาชีพนักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าภาคเอกชนนั้นยังขาดการพัฒนา หรือด้วยเหตุผลที่ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมีโอกาสในการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการหาประโยชน์จากสังคม รวมทั้งสามารถคอร์รัปชั่นในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

กรณีศึกษา (Case and Data)

ประเทศที่ใช้สำหรับทำการศึกษาในที่นี้เป็นกลุ่มประเทศยุคหลังคอมมิวนิสต์ (Post-communist Countries) ซึ่งเป็นประเทศที่มีหลายพรรคในการเลือกตั้งหลังจากลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลายลง และแทนที่การเลือกตั้งจะเป็นกลไกที่พลเมืองใช้ควบคุมรัฐ การเลือกตั้งในระบบคอมมิวนิสต์แบบโซเวียตกลับทำหน้าที่เป็นกลไกซึ่งรัฐใช้ควบคุมพลเมืองของตัวเอง การมีส่วนร่วมเคยเป็นแนวคิดในทางทฤษฎีแต่การขาดการแข่งขันที่แท้จริง ทำให้การออกเสียงเลือกตั้งจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมสังคมและทำให้ประเทศเข้าสู่ความเป็นสังคมนิยม แทนที่จะเป็นกระบวนการทางประชาธิปไตย. การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ทำให้บทบาทและความหมายของการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในประเทศที่เคยผ่านการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ (ยกเว้น Turkmenistan) เนื่องจากโอกาสในการแข่งขันและการมีส่วนร่วมโดยสมัครใจได้เปิดกว้างมากขึ้น

การสังเกตการณ์การเลือกตั้งของ OSCE
สำหรับข้อมูลที่จะนำมาใช้พิสูจน์สมมุติฐานที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นข้อมูลที่นำมาจากหลายแหล่ง ซึ่งส่วนมากแล้วเป็นข้อมูลที่ไม่มีข้อสงสัย ในการประเมินการทำผิดต่อการเลือกตั้งได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากประเทศยุคหลังคอมมิวนิสต์จำนวน 27 ประเทศ สำหรับในทางปฏิบัติ การทุจริตเลือกตั้งเป็นการกระทำที่ซ่อนเร้น จึงย่อมเป็นไม่ได้ที่จะเก็บข้อมูลโดยตรงมาทำการประเมินได้ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่สามารถหาได้และมีความน่าเชื่อถือ แต่โชคดีที่ทั้ง 27 ประเทศ (ยกเว้นมองโกเลีย) ล้วนเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความมั่นคงและร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE)) (*) (เป็นข้อมูลที่ปรากฏระหว่างที่กำลังศึกษา) โดย OSCE เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่สังเกตการณ์การเลือกตั้งในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990

(*)The Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) is an international organization which serves as a forum for political dialogue. Its stated aim is to secure stability in the region, based on democratic practices and improved governance. Most of its 3,500-plus staff are engaged in field operations, with only around 10% in its headquarters.
The OSCE is an ad hoc (*) organization under the United Nations Charter (Chap. VIII), and is concerned with early warning, conflict prevention, crisis management and post-conflict rehabilitation. Its 56 participating States are from Europe, the Caucasus, Central Asia and North America and cover most of the northern hemisphere. It was created during the Cold War era as an East-West forum.

[*] Ad hoc is a Latin phrase which means "for this [purpose]". It generally signifies a solution designed for a specific problem or task, non-generalizable, and which cannot be adapted to other purposes.

รายงานต่างๆ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสังเกตการณ์การเลือกตั้งของ OSCE จัดทำโดย the Office for Democratic Institutions and Human Rights (ODIHR = คือหน่วยงานหนึ่งของ OSCE) เป็นรายงานที่เป็นประโยชน์ซึ่งให้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการเลือกตั้งในภูมิภาคนี้ และรายงานเหล่านี้ยังมีข้อดีตรงที่ว่า เป็นรายงานที่ทำโดยองค์กรเดียวกันตามหลักเกณฑ์ทั่วไปภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ใน Copenhagen Document of 1990 ดังนั้น จึงทำให้ข้อมูลที่ใช้ในรายงานมีความสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ระหว่างแนวคิดและวิธีการที่ใช้ในการประเมิน อย่างไรก็ตาม วิธีสังเกตการณ์เลือกตั้งของ OSCE ได้มีพัฒนาไปเป็นอย่างมากตั้งแต่ ODIHR เริ่มเข้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 1994 และในการประชุมสุดยอด OSCE ที่ Budapest ค.ศ. 1994 ได้มีการประกาศการเปลี่ยนแปลงอีกขั้นหนึ่ง ในเรื่องของการดำเนินการสังเกตการณ์เลือกตั้งของ ODIHR นับจากนี้เป็นต้นไป การสังเกตการณ์การเลือกตั้งจะเริ่มเป็นมาตรฐานและเป็นระบบมากขึ้น รายงานการเลือกตั้งขององค์กรนี้ที่ทำขึ้นหลังจากนั้นจึงมีความละเอียดและเป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานมากขึ้น ทำให้เหมาะอย่างยิ่งกับการประมวลผลในเชิงปริมาณ ด้วยเหตุนี้การสำรวจการเลือกตั้ง จึงเป็นการดำเนินการของการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในประเทศต่างๆ ที่มีขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1995 - 2004

สำหรับการวิเคราะห์การเลือกตั้งชิ้นนี้ ปัจจัยที่เป็นตัวแปรคือระดับของการทุจริตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการประเมินโดยคณะทำงานของ OSCE ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดใน Copenhagen Document โดยตัวแปรนี้จะทำหน้าที่เป็นดัชนีชี้วัดการทำผิดเลือกตั้ง (Electoral Misconduct Index=EMI) ที่ได้จากการประมวลผลสรุปโดยรวมจากรายงานการสังเกตการณ์เลือกตั้งของ ODIHR ซึ่งจะเป็นการให้คะแนนจากคะแนนสูงสุด 5 คะแนน โดย 1 คะแนนหมายถึง การเลือกตั้งที่มีการทุจริตน้อยที่สุด และ 5 คะแนนมีการทำผิดมากที่สุด ถ้าในประเทศใดมีการเลือกตั้งที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ Copenhagen Document อย่างครบถ้วน ประเทศนั้นก็จะได้ 1 คะแนน (ถึงแม้ว่าในรายงานจะมีการให้ข้อเสนอแนะให้ประเทศนั้นทำการปรับปรุงการเลือกตั้งในประเด็นเล็กน้อยก็ตาม) สำหรับ 5 คะแนน จะให้กับการเลือกตั้งที่เห็นว่ามีข้อบกพร่องอย่างสิ้นเชิง

ดังนั้น สิ่งที่ได้ก็คือชุดข้อมูลที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งจำนวน 55 ครั้งภายใน 24 ประเทศ ซึ่งในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.073 ซึ่งเป็นค่าที่เกือบใกล้เคียงกึ่งกลางของระดับคะแนน 1 ถึง 5 และไม่มีสิ่งบ่งชี้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องของเวลาที่แตกต่างกัน เพราะจากข้อมูลค่าเฉลี่ยที่ได้จากการเลือกตั้งครั้งที่ 1, 2 และ 3 ที่จัดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้น ทั้งสามครั้ง ก็ล้วนมีค่าอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของชุดข้อมูลโดยรวม

ถึงแม้ว่ารายงานทั้งหมดของ ODIHR จะให้รายละเอียดและข้อมูลที่ชัดเจน แต่จากแง่มุมของงานวิจัยก็เห็นว่าวิธีการรวบรวมข้อมูลนี้มีปัญหา แม้ ODIHR จะมีคณะผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งจำนวนค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถสังเกตการณ์ได้เพียงส่วนน้อยของกระบวนการเลือกตั้งในแต่ละประเทศ และโดยทั่วไปผู้ที่ทำผิดกฎหมายมักจะปกปิดร่องรอยของการทำผิด การทุจริตที่สำรวจพบจึงเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของปัญหาทั้งหมด ทำให้เป็นที่สงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของรายงานนี้

สำหรับสิ่งที่ทำให้ขาดความน่าเชื่อถืออีกประการหนึ่งคือ เรื่องอคติทางการเมือง (political bias) ในการจัดทำรายงาน ทั้งนี้รายงานอาจสะท้อนจุดประสงค์ขององค์กรที่เป็นเจ้าของรายงาน สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและไม่ควรมองข้ามไป ในการตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศต่างๆ อาจใช้วิธีประเมินในแบบอื่น เช่น การวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งตามหลักสถิติ แต่การใช้วิธีนี้เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากมากกว่า ในการจะทำให้เป็นระบบเมื่อนำไปใช้กับกรณีศึกษาที่มีข้อมูลจำนวนมาก สำหรับภายใต้บริบทนี้ แม้ว่ารายงานการสังเกตการณ์การเลือกตั้งจะไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่ดีเยี่ยม แต่ก็เป็นข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่หาได้ และยังพอวางใจได้บ้างว่าข้อบกพร่องต่างๆ ของข้อมูลจะไม่ได้ทำให้เกิดข้อสรุปอย่างผิดพลาด

สำหรับโครงสร้างของปัจจัยอื่นที่เหลือมีลักษณะที่เรียบง่ายกว่า ในประเทศยุคหลังคอมมิวนิสต์มีระบบเลือกตั้งอยู่สามแบบด้วยกัน คือ

1. ระบบเขตเดียวเบอร์เดียวล้วน (pure SMD system) ซึ่งในชุดข้อมูลนี้มีอยู่ด้วยกัน 7 ประเทศที่ใช้ระบบนี้
2. ระบบผสม (mixed system) มี 25 ประเทศ
3. ระบบตัวแทนแบบสัดส่วนล้วน (pure proportional representation system) มี 23 ประเทศ

ในการเลือกตั้งแบบผสม สัดส่วนที่นั่งระหว่างสองระบบนั้นมีสัดส่วนที่ต่างกันเป็นอย่างมาก โดยมีสัดส่วนของที่นั่งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวตั้งแต่ 33% ใน Georgia ใน ค.ศ. 1995 ไปจนถึง 87% ใน Kazakhstan ค.ศ. 1999 และ ค.ศ. 2004 ดังนั้น จึงจะได้กล่าวถึงรูปแบบของระบบเลือกตั้งต่างๆ ด้วยการยึดสัดส่วนของที่นั่งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวเป็นหลัก

การประเมินเกี่ยวกับเรื่องการคอร์รัปชั่น ตามดรรชนี CPI
การประเมินเกี่ยวกับเรื่องการคอร์รัปชั่น เป็นการวัดด้วยการใช้ดรรชนีของ Transparency International Corruption Perceptions Index (CPI) ซึ่งเป็น "โพลแห่งโพล" (poll of polls) ที่ทำการสำรวจในกลุ่มนักธุรกิจชั้นนำ(ทั้งในและต่างประเทศ) ในแต่ละประเทศ การทำการสำรวจของ CPI เน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักธุรกิจชั้นนำกับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่คำถามบางคำถามก็กว้างพอที่กลุ่มผู้สำรวจจะคิดว่ารวมถึงการทำผิดเลือกตั้งด้วย ในการสำรวจของ CPI ไม่มีคำถามที่แสดงให้เห็นว่ามีเรื่องที่เกี่ยวกับการทำผิดเลือกตั้งเลย จึงมั่นใจที่จะเชื่อว่าข้อมูลของ CPI เป็นตัวบ่งชี้ที่โดยหลักการแล้ว แตกต่างจากเรื่องการกระทำผิดเลือกตั้ง

จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของที่นั่งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวมีความสัมพันธ์กับการทำผิดเลือกตั้งด้วยเหตุผลที่ว่า พรรคการเมืองและผู้สมัครมีแรงจูงใจที่จะต้องทำให้ตนเองมีโอกาสชนะเลือกตั้งมากที่สุด โดยต้องทำให้ตัวเองเสี่ยงน้อยที่สุดกับการทำผิดกฎหมาย รวมถึงเหตุผลว่า การทำผิดเลือกตั้งภายใต้ระบบเขตเดียวเบอร์เดียวนั้นให้ผลตอบแทนที่มากกว่า โดยพบว่าสัดส่วนของที่นั่งในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวมีอิทธิพลกับการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในประเทศต่างๆ ยุคหลังคอมมิวนิสต์ ยิ่งประเทศมีการเลือกตั้งโดยมีสัดส่วนแบบเขตเดียวเบอร์เดียวมาก ก็ยิ่งทำให้คุณภาพในการเลือกตั้งแย่ลง

ดัชนี Transparency International CPI ซึ่งเป็นดัชนีที่แสดงถึงการคอร์รัปชั่นที่เป็นภูมิหลัง แสดงให้เห็นว่า การคอร์รัปชั่นนั้นมีผลอย่างมีนัยสำคัญกับการทำผิดเลือกตั้ง อันเป็นการชี้ให้เห็นว่ารูปแบบของการควบคุมในทางการเมือง (political manipulation) มีการแปรผันไปด้วยกัน เมื่อมีการควบคุมปัจจัยเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น ก็ดูเหมือนจะไม่ปรากฏว่าการทำผิดเลือกตั้งมีความเชื่อมโยงกับระดับของความเป็นประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญ หรือการพัฒนาเศรษฐกิจ การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาพร้อมกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีดูเหมือนว่าจะทำให้มีการทุจริตเลือกตั้งค่อนข้างสูงอย่างที่คาด แต่ทั้งสองปัจจัยก็มีความสัมพันธ์กันในระดับที่ต่ำ

ในส่วนที่เกี่ยวกับความแปรผันตามที่ตั้งของแต่ละกลุ่มประเทศ จากการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตและอดีตยูโกสลาเวีย ล้วนสัมพันธ์กับการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่ากลุ่มประเทศในยุโรปกลาง (โดยที่กลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตนั้นมีคะแนนเฉลี่ย 3.438 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยการทำผิดเลือกตั้งโดยรวมที่ 3.073 สำหรับกลุ่มประเทศอดีตยูโกสลาเวียมีค่าคะแนนเฉลี่ยที่ 3.444) อย่างไรก็ตาม เมื่อนำปัจจัยเรื่องระบบการเลือกตั้งและปัจจัยอื่นๆ เข้ามาใช้พิจารณาร่วมด้วย ผลการวิเคราะห์ชี้ว่า ประเทศที่ตั้งอยู่ในกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียตไม่ได้สัมพันธ์กับระดับของการทำผิดในระดับที่สูงขึ้น แต่สำหรับแบบจำลองแบบวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว แสดงให้เห็นว่า ประเทศที่ตั้งอยู่ในอดีตยูโกสลาเวีย จะมีโอกาสที่การเลือกตั้งอยู่ในระดับที่คุณภาพต่ำกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะประเทศต่างๆ เหล่านี้ มีประสบการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงเป็นผลทำให้กลุ่มชนชั้นนำในสังคมมีความเชื่อมั่นลดลง

มีการใช้แบบจำลองอีกอันหนึ่ง เพื่อใช้ตรวจสอบว่าผลลัพธ์ที่ปรากฏสะท้อนรูปแบบของระบบเลือกตั้งแต่ละรูปแบบหรือไม่ (ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเขตเดียวเบอร์เดียว แบบสัดส่วนและแบบผสม) แทนที่จะเป็นการสะท้อนถึงจำนวนที่นั่งในระบบเขตเดียวเบอร์เดียว จากงานวิจัยพบว่าระบบเลือกตั้งแบบผสม (mixed electoral systems) มีบางแง่มุมที่แตกต่างจากระบบเลือกตั้งแบบอื่น จึงมีการกำหนดแบบจำลองกับระบบเขตเดียวเบอร์เดียวและระบบผสม แทนที่จะเป็นแบบสัดส่วนของจำนวนที่นั่งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ซึ่งแบบจำลองนี้แสดงให้เห็นว่าทั้งระบบเขตเดียวเบอร์เดียวล้วน กับระบบผสมมีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่าระบบสัดส่วนล้วนอย่างมีนัยสำคัญ และค่าสัมประสิทธิ์ (coefficient) ของระบบเขตเดียวเบอร์เดียวล้วน (pure SMD) ก็แสดงให้เห็นว่าระดับของการทำผิดเลือกตั้งของแต่ละระบบ ก็ยังคงเรียงลำดับเดิมเหมือนที่ได้มีการทำนายไว้แต่เดิม (คือระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ระบบผสม และตามด้วยระบบสัดส่วน) ในระบบเลือกตั้งแบบผสมมีบางแง่มุมที่แตกต่างจากระบบอื่นๆ แต่ในแง่ของหลักการการเลือกตั้ง ระบบนี้จะมีระดับของการทำผิดเลือกตั้งอยู่ในลำดับที่แทรกอยู่ระหว่างระบบเขตเดียวเบอร์เดียวล้วน (full SMD) กับระบบสัดส่วนล้วน (full PR)

ประเด็นสุดท้าย จะเป็นการพิสูจน์สมมติฐานที่ว่า การที่จำนวนที่นั่งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวมีผลต่อการทุจริตเลือกตั้ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะรวมไปถึงที่นั่งของระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด (open-list seats) ก็อาจมีผลต่อการทุจริตเลือกตั้งเช่นกัน ด้วยการกำหนดแบบจำลองที่ใช้จำนวนสัดส่วนที่นั่งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ร่วมกับที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด ซึ่งเป็นสัดส่วนของที่นั่งที่ผู้มีสิทธิออกเสียงสามารถเลือกผู้สมัครเป็นรายบุคคลได้ และใช้แบบจำลองอีกอันแยกต่างหากที่มีผู้สมัครให้เลือกลงคะแนนเป็นรายบุคคล (ไม่ว่าจะเลือกในแบบเขตเดียวเบอร์เดียว หรือแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อแบบเปิดก็ตาม) สมการนี้มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรต่างๆ ดังกล่าวน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

เพื่อเป็นการตรวจสอบเพิ่มขึ้นในเรื่องของผลกระทบของจำนวนที่นั่งในระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อแบบเปิด จึงได้มีการใช้แบบจำลองอีกอันหนึ่ง ด้วยการใช้ระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อแบบเปิดเป็นตัวแปร ผลที่ได้ผิดไปจากที่คาดไว้เนื่องจากตัวแปรนี้ไม่มีนัยสำคัญ เป็นการแสดงให้เห็นว่าโดยหลักการแล้ว เหตุที่ระบบเขตเดียวเบอร์เดียวมีผลกับการทุจริตเลือกตั้ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของการเลือกตั้งในระบบนี้โดยตัวมันเอง มากกว่าจะเป็นเพราะการเพิ่มทางเลือกให้สามารถลงคะแนนให้กับผู้สมัครเป็นรายบุคคลได้

บทสรุป (Conclusion)

การวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ จะเป็นการพิจารณาที่เลือกเอาระหว่างระบบเขตเดียวเบอร์เดียวกับระบบสัดส่วน ในแง่ของการนำเสนอแบบจำลองที่สนับสนุนระบบเลือกตั้งแต่ละระบบ หรือในแง่ที่เกี่ยวกับบทบาทของรูปแบบเลือกตั้งที่ส่งผลทางการเมืองในระดับกว้าง สำหรับงานวิเคราะห์ในปัจจุบันเป็นการเผยให้เห็นข้อพิสูจน์ใหม่ว่า มีความเป็นไปได้ระหว่างความสัมพันธ์ของระบบการเลือกตั้งกับพฤติกรรมการเลือกตั้ง จะเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเรื่องจำนวนสัดส่วนที่นั่งในระบบเขตเดียวเบอร์เดียว กับระดับของการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้งในกลุ่มประเทศต่างๆ ยุคหลังคอมมิวนิสต์. ถ้าสมมตินี้ได้รับการยืนยันด้วยการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในภูมิภาคอื่นของโลก ก็จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการประเมินการเลือกตั้งได้คิดทบทวนแนวคิดของตนเองในเรื่องเกี่ยวกับ "แนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด"

อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องระมัดระวังในการนำงานศึกษาวิจัยนี้ไปสรุปแบบเหมารวมกับการศึกษานอกบริบทของกลุ่มประเทศยุคหลังคอมมิวนิสต์ อาจเป็นได้ว่าการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว มีผลที่สังเกตเห็นได้ในประเทศยุคหลังคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุผลที่ว่ามีอำนาจที่ให้การสนับสนุนเข้ามาเกี่ยวข้องในช่วงที่มีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ และช่วงเวลาหลังจากผ่านยุคคอมมิวนิสต์ได้ไม่นาน แต่ระบบการเลือกตั้งแบบนี้อาจจะไม่ทำให้เกิดการทุจริตในระดับเดียวกันสำหรับกับประเทศในส่วนอื่นของโลก และอาจเป็นได้ว่าในส่วนอื่นของโลกที่มีพรรคการเมืองซึ่งเข้มแข็งนั้น การปฏิบัติตามกลไกของพรรคมีความสำคัญ อันเป็นสิ่งที่นักการเมืองในระบบเขตเดียวเบอร์เดียวต้องให้ความสำคัญมากกว่า แต่ยังมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่ารูปแบบของระบบเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวในภูมิภาคอื่นมีผลต่อการทำผิดเลือกตั้งเช่นเดียวกัน เนื่องจากว่าเหตุผลพื้นฐานของการชิงชัยกันในการเลือกตั้งนั้นซึ่งกล่าวถึงในที่นี้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใช้ได้เฉพาะกับบริบทในส่วนของประเทศหลังยุคคอมมิวนิสต์เท่านั้น

เป็นการดีที่จะได้มีการขยายงานศึกษาข้างต้น ไปทำการศึกษาถึงการทำผิดเลือกตั้งในรูปแบบต่างๆ ที่รายงานการสังเกตการณ์เลือกตั้งไม่สามารถตรวจสอบได้ เช่น การซื้อเสียงและการโน้มน้าวในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่สามารถตรวจจับได้ และเพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น งานวิจัยในอนาคตก็ควรทำการศึกษาเกี่ยวกับความแปรผันที่ดำเนินไปอย่างซับซ้อน ระหว่างการทำผิดเลือกตั้งกับการคอร์รัปชั่นในรูปแบบอื่น

ประเด็นสุดท้าย งานวิเคราะห์ที่นำเสนอในบทความเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะจะนำไปใช้พิสูจน์กลไกที่เป็นสาเหตุของปัญหา อีกทั้งควรมีการศึกษาต่อไปอีกเพื่อหา "กล่องดำ" (black box) ของการทำผิดเลือกตั้งด้วยการพิจารณาจากกรณีศึกษาอย่างละเอียด การศึกษาเรื่องการทุจริตเลือกตั้งเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่นักรัฐศาสตร์การเมืองเชิงเปรียบเทียบ (comparative political scientists) จะได้เข้ามามีบทบาทอย่างจริงจัง และเป็นที่คาดหวังว่า บทความปัจจุบันชิ้นนี้จะสามารถทำให้มีการพัฒนาโครงการวิจัยนี้ต่อไปได้ในอนาคต

Books and Articles
Carey, J.M., & Shugart , M. S. (1995). Incentives to cultivate a personal vote: A rank ordering of electoral formulas. Electoral Studies. 14(4),417-439

Goodwin-Gill, G. S. (1994). Free and fair elections: International Law and practice. Geneva, Switzerland: Inter-Parliamentary Union.

Lehoucq, F. E., & Molina, I. (2002). Stuffing the ballot box: Fraud, electoral reform and democratization in Costa Rica. Cambridge, UK: Cambridge University Press.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 07 July 2008 : Copyleft by MNU.

การเลือกตั้งระบบสัดส่วนและชื่อเสียงของพรรค: ตามการเลือกตั้งระบบสัดส่วน หัวหน้าพรรคจะมีแรงจูงใจและความสามารถมากกว่า ในการที่จะบังคับให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหมายเลือกตั้งเพื่อเป็นการปกป้องชื่อเสียงของพรรค เหตุผลก็เพราะว่าในระบบสัดส่วนนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพรรคเป็นอันดับแรกก็คือ ความถูกต้องตามกฎหมาย และชัยชนะของการเลือกตั้ง ก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับบัญชีรายชื่อของพรรค ด้วยเหตุผลที่ว่า การจะประสบความสำเร็จและการปกป้องชื่อเสียงเป็นสิ่งที่ไปด้วยกันในการเลือกตั้งระบบสัดส่วน ดังนั้นพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบันจึงมีแรงจูงใจเป็นอย่างมากที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายนี้ให้ได้มากที่สุด ด้วยการสื่อข้อความไปถึงผู้ที่มีสิทธิออกเสียงและการใช้กลยุทธ์ต่างๆ ภายในพรรค ทั้งการมีบทลงโทษและรางวัล

H