1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
กำเนิดและพัฒนาการแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่
การผลิตซ้ำอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่และอิทธิพลต่อเศรษฐกิจการเมืองไทย
เกรียงศักดิ์
ธีระโกวิทขจร : เขียน
Ph.D. Candidate, University of Paris II , ประเทศฝรั่งเศส
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
ใจความสำคัญของบทความ
ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
- ลัทธิเสรีนิยมใหม่ปรากฏโฉมหน้าให้เห็นอย่างชัดเจนในทศวรรษ 1970
- สำนักเสรีนิยมใหม่กับบริบทการเมืองช่วงปลายศตวรรษที่ 20
- เสรีนิยมใหม่: กระบอกเสียงของนายทุน-เครื่องมือพิฆาตฝ่ายซ้าย
- ทักษิโณมิกส์กับเงาของเสรีนิยมใหม่
- การเมืองแบบเสรีนิยมในประเทศไทย
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๐๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๐๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กำเนิดและพัฒนาการแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่
การผลิตซ้ำอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่และอิทธิพลต่อเศรษฐกิจการเมืองไทย
เกรียงศักดิ์
ธีระโกวิทขจร : เขียน
Ph.D. Candidate, University of Paris II , ประเทศฝรั่งเศส
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
ความนำ
แนวนโยบายหลักของรัฐแบบเสรีนิยมใหม่ ประกอบด้วย การแปรรูปบริการของรัฐเป็นเอกชน
(Privatisation) การเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน (Trade and Financial liberalization)
และการผ่อนคลายและลดกฎระเบียบ (Deregulation) เพราะหลักการของเสรีนิยมใหม่ ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อว่า
เงื่อนไขที่จำเป็นของการอยู่ดีมีสุขของมนุษย์นั้นคือ เสรีภาพของปัจเจกบุคคล (ในการประกอบการ)
ดังนั้น โครงสร้างเชิงสถาบันที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเสรีนิยมใหม่คือ
การคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลอย่างเข้มงวดและระบบตลาดแข่งขันเสรี
ลัทธิเสรีนิยมใหม่ปรากฏโฉมหน้าให้เห็นอย่างชัดเจนในทศวรรษ
1970
ภายหลังผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศนำทางอุตสาหกรรมอย่างสหรัฐฯและอังกฤษเสื่อมความเชื่อมั่นในลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเคนส์เซียน
(Keynesianism) (*) ที่ไม่สามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งมีปัญหาการว่างงานควบคู่กับภาวะเงินเฟ้อสูง
(stagflation) ได้ ในเดือนพฤษภาคม ปี 1979. มากาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher)
ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ พร้อมด้วยภารกิจในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ
ด้วยอิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ เธอยอมรับว่า จำเป็นจะต้องละทิ้งนโยบายแบบเคนส์เซียนและหันมาใช้วิธีการบริหารตามแนวทฤษฎีสำนักการเงินนิยม
(monetarism) หรือแบบเน้นอุปทาน (supply-side) เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อังกฤษประสบอยู่ในช่วงทศวรรษ
1970
(*)Keynesian economics, also Keynesianism and Keynesian Theory, is an economic theory based on the ideas of twentieth-century British economist John Maynard Keynes. The state, according to Keynesian economics, can help maintain economic growth and stability in a mixed economy, in which both the public and private sectors play important roles. Keynesian economics seeks to provide solutions to what some consider failures of laissez-faire economic liberalism, which advocates that markets and the private sector operate best without state intervention. The theories forming the basis of Keynesian economics were first presented in The General Theory of Employment, Interest and Money, published in 1936.
In Keynes's theory, some micro-level actions of individuals and firms can lead to aggregate macroeconomic outcomes in which the economy operates below its potential output and growth. Many classical economists had believed in Say's Law, that supply creates its own demand, so that a "general glut" would therefore be impossible. Keynes contended that aggregate demand for goods might be insufficient during economic downturns, leading to unnecessarily high unemployment and losses of potential output. Keynes argued that government policies could be used to increase aggregate demand, thus increasing economic activity and reducing high unemployment and deflation. Keynes's macroeconomic theories were a response to mass unemployment in 1920s Britain and in 1930s America.
Keynes argued that the solution to depression was to stimulate the economy ("inducement to invest") through some combination of two approaches :
- a reduction in interest rates.
- Government investment in infrastructure - the injection of income results in more spending in the general economy, which in turn stimulates more production and investment involving still more income and spending and so forth. The initial stimulation starts a cascade of events, whose total increase in economic activity is a multiple of the original investment.
A central conclusion of Keynesian economics is that in some situations, no strong automatic mechanism moves output and employment towards full employment levels. This conclusion conflicts with economic approaches that assume a general tendency towards an equilibrium. In the 'neoclassical synthesis', which combines Keynesian macro concepts with a micro foundation, the conditions of General equilibrium allow for price adjustment to achieve this goal.
The New Classical Macroeconomics movement, which began in the late 1960s and early 1970s, criticized Keynesian theories, while "New Keynesian" economics have sought to base Keynes's idea on more rigorous theoretical foundations.
- More broadly, Keynes saw his as a general theory, in which utilization of resources could be high or low, whereas previous economics focused on the particular case of full utilization.
- ดูเพิ่มเติมใน http://www.history-ontheweb.co.uk/concepts/keynesianism51.htm
กระบวนการทำให้เป็นเสรีนิยมใหม่
(neoliberalisation) หยิบฉวยเอาทุนทางวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมที่ฝังราก อย่างมั่นคงในสังคมตะวันตก
โดยผู้นำกระบวนการนี้ได้เน้นนำคุณค่าที่เป็นเสาหลักของแนวคิดเสรีนิยมคือ "อิสรภาพและเสรีภาพส่วนบุคคล"
รวมทั้งรังสรรค์ปั้นแต่งใหม่ด้วยกลวิธีตอกย้ำ คุณค่าที่พึงปรารถนาในสายตาของตน
เพื่อออกแบบ ผลิต และผลิตซ้ำคุณค่าเหล่านั้นให้เข้าแทนที่คุณค่าเดิมและผสมกลมกลืนกับคุณค่าอื่นอย่างแนบเนียนจนกลายเป็น
"สามัญสำนึก" ของสมาชิกแต่ละคนในสังคม ดังคำกล่าวที่โด่งดังของแทตเชอร์ประโยคหนึ่งว่า
"no such thing as society, only individual men and women" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศสงครามต่ออุดมคติแบบสังคมนิยม
(หรือคุณค่าที่เสนอโดยพรรคแรงงาน พรรคการเมืองคู่แข่งฝ่ายซ้าย) ด้วยการตอกย้ำอุดมคติแบบปัจเจกนิยม
(individualism) ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 11 ปีที่เธอดำรงตำแหน่งนายกฯ
ถึงความเป็นสากลแท้จริงและอยู่เหนือสังคมของสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เธอประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐกิจและสังคมอังกฤษ
และสามารถทำลายพื้นที่ในสังคมของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนชั้นแรงงานอย่างราบคาบ
[1]
[1] See David Harvey, A Brief History of Neoliberalism,
Oxford University Press, 2007 (paperback)
บทความนี้ต้องการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเสรีนิยมใหม่ ในฐานะลัทธิ (Doctrine) เศรษฐกิจการเมืองหนึ่งในมุมมองประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การเมือง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่มีอิทธิพลครอบงำความคิดกระแสหลักในสังคมไทยและสังคมโลกาภิวัตน์อย่างรู้เท่าทัน
สำนักเสรีนิยมใหม่กับบริบทการเมืองช่วงปลายศตวรรษที่
20
นักคิดที่ถือเป็นหัวหอกสำคัญของสำนักเสรีนิยมใหม่ คือ นักปรัชญาสำนักออสเตรียอย่าง
ฟริดริช ฟอน ฮาเย็ค (Friedrich von Hayek, 1899-1992), ลุดวิก ฟอน มิสเซส (Ludwig
von Mises, 1881-1973), คาร์ล ปอปเปอร์ (Karl Popper, 1902-1994) และนักเศรษฐศาสตร์ผู้ก่อตั้งสำนักการเงินนิยมของมหาวิทยาลัยชิคาโก
มิลตัน ฟริดแมน (Milton Friedman, 1912-2006) ทั้งหมดเป็นสมาชิกของสมาคมที่เรียกตัวเองว่า
Mont Pelerin Society ซึ่งตั้งชื่อตามสถานที่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้นัดพบกันและจัดตั้งสมาคมขึ้นอย่างเป็นทางการ
นักคิดเหล่านี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วโลก ในฐานะนักวิชาการที่สนับสนุนคุณค่าของเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดและความเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮาเย็คและฟริดแมนนั้น นอกจากได้รับการยอมรับในฐานะนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่สนับสนุนคุณค่าของระบบทุนนิยม และเสรีภาพของการประกอบธุรกิจตามแนวทางเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิคแล้ว ทั้งคู่ยังได้รับการยอมรับในฐานะนักปรัชญาการเมืองที่มีงานเขียนสำคัญมากมายเกี่ยวกับปัจเจกชนนิยม เสรีภาพ และการต่อต้านระบอบเผด็จการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมอเมริกาในวงกว้างอย่างมาก
ในอีกมุมหนึ่ง ฮาเย็คและฟริดแมน เป็นที่รู้จักในฐานะผู้เสนอทฤษฎีที่ปฏิเสธแนวความคิดของมาร์กซ์และเคนส์ ซึ่งรายหลังมีอิทธิพลและบทบาทอย่างมากหลังเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 1930 กล่าวคือ เคนส์เป็นผู้เสนอให้รัฐเพิ่มบทบาทในด้านเศรษฐกิจ โดยเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐเพื่อกระตุ้นด้านอุปสงค์หรือความต้องการบริโภคสินค้าของครัวเรือนและสร้างงานให้กับแรงงานที่ประสบกับภาวะว่างงาน
ความสำเร็จส่วนหนึ่งของนักคิดเสรีนิยมใหม่กลุ่มนี้
มาจากการช่วยเหลือทางด้านการเงินและทางการเมืองจากกลุ่มทุนธุรกิจในสหรัฐฯ ที่ไม่ต้องการการแทรกแซงและการเพิ่มกฎระเบียบในด้านเศรษฐกิจจากรัฐ
ทั้งนี้ ลัทธิเสรีนิยมใหม่เริ่มปรากฏบทบาทในทางการเมืองชัดเจนในสหรัฐฯ และอังกฤษในทศวรรษ
1970 เมื่อชื่อเสียงและอิทธิพลของนักคิดกลุ่ม Mont Pelerin Society แพร่กระจายไปมากในวงวิชาการ
โดยผ่านทางสถาบันวิจัยทางด้านเศรษฐกิจหรือสถาบันผลิตนักคิด อย่างเช่น Institute
of Economic Affairs ในลอนดอน (*) และ the Heritage Foundation ในวอชิงตัน (**)
ยิ่งเมื่อภายหลังฮาเย็คและฟริดแมนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1974
และ 1976 ตามลำดับด้วยแล้ว (ถึงแม้จะเป็นที่วิจารณ์ว่ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น
มีที่มาและระบบการคัดเลือกที่แยกออกเป็นเอกเทศและไม่เกี่ยวข้องกับโนเบลของสาขาอื่น
รวมทั้งยังถูกครอบงำและกำหนดทิศทางจากกลุ่มชนชั้นนำนายธนาคารของสวีเดน) เป็นที่ยอมรับว่าลัทธิเสรีนิยมใหม่นั้น
สามารถยึดครองพื้นที่สำคัญในทางการเมืองได้อย่างเป็นทางการในช่วงปี 1979 [2]
[2] David Harvey p. 23
(*)The Institute of Economic
Affairs (IEA) styles itself the UK's pre-eminent free-market think-tank, founded
in 1955. Its mission is to improve understanding of the fundamental institutions
of a free society by analysing and expounding the role of markets in solving
economic and social problems.
The IEA tries to achieve its mission by:
- a publishing programme
- conferences, seminars and lectures
- outreach to university, college and school students
- brokering media introductions and appearances;
- and other related activities
The core belief of free-marketeers is that people should be free to do what they want in life as long as they don't harm anyone else. They say that on the whole, society's problems and challenges are best dealt with by people and companies interacting with each other freely without interference from politicians and the State. This means that government action, whether through taxes, regulation or laws, should be kept to a minimum. IEA authors and speakers are therefore always on the look-out for ways of reducing the government's role in our lives.
(**)The Heritage Foundation is one of the world's most prominent conservative think tanks. Founded in 1973, it is based in Washington, D.C., in the United States. Heritage's stated mission is to "formulate and promote conservative public policies based on the principles of free enterprise, limited government, individual freedom, traditional American values, and a strong national defense."
The Heritage Foundation's initial funding came from political conservative Joseph Coors, co-owner of the Coors Brewing Company. Funding from Coors was later augmented by financial support from billionaire Richard Mellon Scaife. Conservative activist Paul Weyrich was its first head. Since 1977, Heritage's president has been Edwin Feulner, Jr., previously the staff director of the House Republican Study Committee and a former staff assistant to U.S. Congressman Phil Crane.
ปัจจัยที่เอื้อให้อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ได้รับการยอมรับในสังคมขณะนั้น คือ บรรยากาศทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งกำลังเบ่งบานสุดขีดในช่วงทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องเสรีภาพของปัจเจกชน ที่นำโดยนักศึกษา และเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกในปี 1968 (3 ปีให้หลัง ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านเผด็จการทหารที่นำโดยของนิสิตนักศึกษา ในประเทศไทย ได้รับชัยชนะในการเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองในเดือนตุลาคม ก่อนที่จะถูกปราบปรามและเข่นฆ่าอย่างเลือดเย็น โดยเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายปฏิกิริยาฝั่งขวาในอีก 3 ปีต่อมา) อาจกล่าวได้ว่าในขณะนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวใดก็ตามที่ชูธงเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม สามารถผสมกลมกลืนและร่วมขบวนการปฏิวัติสังคมไปด้วยกันได้ทั้งสิ้น เนื่องจากมีศัตรูที่ชัดเจนเดียวกัน นั่นคือ รัฐอำนาจนิยม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเรียกร้องสิทธิพลเมือง สิทธิในการแสดงออกทางเพศ กลุ่มต่อต้านกระแสบริโภคนิยม ไปจนถึงกลุ่มต่อต้านสงครามเวียดนาม
ความต้องการและถวิลหาเสรีภาพของปัจเจกชนนี้เอง ที่ช่วยให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเหล่านี้เต็มใจอ้าแขนรับแนวคิดเพื่อเรียกร้องเสรีภาพของนักคิดกลุ่มเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาย้อนหลัง ดูเหมือนจะเข้ากันได้อย่างดีกับวัฒนธรรมความคิดแบบ "หลังสมัยใหม่ (postmodernism)" ที่ถูกดึงเข้ามาเป็นทางเลือกเชิงตรรกะของขบวนการเคลื่อนไหวในขณะนั้นด้วย อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ข้อเรียกร้องสำคัญอีกประการของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม คือความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งแท้จริงแล้ว ขัดแย้งและตรงข้ามกับข้อเสนอของเสรีนิยมใหม่ที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ข้อเท็จจริงประการนี้กลับไม่ปรากฏชัดเจนในขณะนั้น อาจเป็นเพราะข้ออ้างเชิงทฤษฎีในเรื่องการแข่งขันสมบูรณ์ของเสรีนิยมใหม่นั้นเอง ที่ยังสามารถใช้เป็นม่านบังให้กับระบบทุนนิยมอย่างได้ผล เช่นเดียวกับที่สำนักเสรีนิยมนีโอคลาสสิคเคยใช้ข้ออ้างข้อเดียวกันนี้มาแล้วในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนทำให้เกิดข้อเรียกร้องการปฏิวัติของชนชั้นจากมาร์กซ์ [3]
[3]ลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมนั้น มีวิวัฒนาการในลักษณะต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องมาโดยตลอด นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 กล่าวคือ ตามแนวคิดของกลุ่มเสรีนิยมคลาสสิค ที่นำโดย จอห์น ลอค สิทธิและเสรีภาพถูกอ้างอิงอยู่กับหลักสิทธิธรรมชาติ เขาจึงถือสิทธิและเสรีภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดในตัวเอง นอกจากนี้ มนุษย์มีสิทธิพื้นฐานในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพราะมนุษย์เป็นเจ้าของแรงงานของตนเอง ตามความเชื่อของลอค สิทธิที่เรารู้จักในภายหลังว่า "กรรมสิทธิ์" นี้จึงไม่ได้เกิดจากรัฐ (ถือว่ามีลักษณะปฏิกิริยากับระบอบศักดินา ซึ่งขุนนางและชนชั้นสูงเท่านั้นสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน) หลักการเรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลนี้ ถือเป็นหลักการสำคัญที่ถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาในภายหลัง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราละเลยคือคำกล่าวของเขาว่า "กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะต้องไม่นำไปสู่การกดขี่หรือขูดรีด แต่ต้องช่วยสนับสนุนให้มนุษย์มีอิสระ" กรรมสิทธิ์จึงเป็นเครื่องมือไปสู่เสรีภาพ
ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 อดัม สมิท ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนักคิดรุ่นก่อนและนักคิดร่วมสมัย ไม่ว่าเรื่องความมีกฎเกณฑ์และระเบียบของธรรมชาติ รวมทั้งมนุษย์มีศีลธรรม สามารถแยกแยะการกระทำที่ถูกและผิดออกจากกันได้ สังคมจึงมีระเบียบและกฏเกณฑ์เช่นเดียวกับโลกกายภาพ ผลประโยชน์ของทุกฝ่ายในสังคมจึงสามารถประสานลงตัวกันได้ แนวคิดลักษณะนี้ ทำให้เขาเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวหรือการที่แต่ละคนต่างมุ่งหาประโยชน์ส่วนตัว จะทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุดตามไปด้วยจากสิ่งที่เขาเรียกว่า "มือที่มองไม่เห็น" (ที่ภายหลังสำนักนีโอคลาสสิคทำให้กลายเป็นเพียง "กลไกตลาด" หรือกลไกของอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง)
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 นักคิดกลุ่มเสรีนิยมนีโอคลาสสิคหรือสำนักประโยชน์นิยม ที่นำโดยเจเรมี เบนแทมนำหลักจริยธรรมที่เรียกว่าหลักแห่งประโยชน์ (Principle of Utility) เข้ามาแทนที่หลักสิทธิธรรมชาติ ทำให้สิทธิและเสรีภาพถูกลดความสำคัญลง เป็นเพียงเครื่องมืออันนำไปสู่เป้าหมาย นั่นคือ ความสุข และความสุขของปัจเจกต้องหลีกทางให้กับสังคม ตามแนวความคิดที่โด่งดังของเขาที่ว่าด้วย "ความสุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด (the greatest happiness of the great number)" อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวถูกท้าทายและทัดทานจากนักคิดอีกหลายคนเช่น จอห์น สจ๊วต มิลล์ ที่หันเหความสำคัญกลับมาที่ปัจเจกและเน้นความสำคัญของความสุขทางสติปัญญาและศีลธรรมมากกว่าทางกายภาพ แต่อิทธิพลของประโยชน์นิยม ที่เดินคล้องแขนร่วมไปกับแนวคิดทางเศรษฐกิจแบบ laissez-faire ได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการและคนชั้นกลางที่ขยายตัวขึ้นในยุโรป ทำให้แนวความคิดตามแบบเบนแทมและอดัม สมิทกลายเป็นเสาหลักให้กับเสรีนิยมใหม่ในเวลาต่อมา (ตำราที่สมบูรณ์ด้านลัทธิเศรษฐกิจการเมือง ได้แก่ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐)
เสรีนิยมใหม่: กระบอกเสียงของนายทุน-เครื่องมือพิฆาตฝ่ายซ้าย
การผลิตซ้ำแนวความคิดของเสรีนิยมใหม่ในสหรัฐฯ นั้น เกิดขึ้นผ่านการให้ทุนสนับสนุนจากองค์กรธุรกิจไปยังสถาบันผลิตความคิด
เช่น the Hoover Institute, the Center for the Study of American Business,
the American Entreprise Institute ไปจนถึงสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น
National Bureau of Economic Research (NBER) ซึ่งได้รับการกำหนดหัวข้อวิจัยจากกลุ่มทุน
เพื่อเป้าหมายในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่ ปรากฏว่า
กว่าครึ่งหนึ่งของเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยของ NBER นั้น ได้จากองค์กรธุรกิจชั้นนำและกลุ่มบริษัท
Fortune 500 จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมแนวความคิดแบบเสรีนิยมใหม่นี้จึงได้ถูกผลิตซ้ำอย่างกว้างขวาง
โดยคณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยทั่วโลก
หรือหากจะพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปในแกนกลางของการผลิตความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เอง อาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีที่เกิดขึ้นหลังสำนักเคนส์เซียนนั้น สามารถนำมาใช้สร้างความชอบธรรมให้กับเสรีนิยมใหม่ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีสายการเงินนิยมของฟริดแมน ทฤษฎีการคาดการณ์อย่างมีเหตุผล (rational expectations) ของโรเบิร์ต ลูคัส, ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (public choice) ของสำนักชิคาโก หรือแม้กระทั่งทฤษฎีที่เน้นด้านอุปทาน (supply-side) ที่เสนอโดยอาร์เธอร์ ลาฟเฟอร์ ต่างก็เห็นไปในทางเดียวกันว่าการแทรกแซงของรัฐคือปัญหามากกว่าการแก้ไข และเสนอใช้นโยบายการเงินแบบมีเสถียรภาพร่วมกับการลดภาษี เพื่อเป็นมาตรการสร้างแรงจูงใจใหผู้ประกอบการ
แนวทฤษฎีและนโยบายลักษณะนี้ยังได้รับการผลิตซ้ำจากวารสารทางการเงินอย่าง
Wall Street Journal และมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่างสแตนฟอร์ดและฮาร์วาร์ด ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตความคิดเสรีนิยมกระแสหลักในปัจจุบัน
ในพื้นที่นอกสังคมวิชาการ ซีรีย์ทางโทรทัศน์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของฟริดแมนที่ชื่อว่า
Free to choose (ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนธุรกิจเช่นกัน) ก็เริ่มออกอากาศทางช่อง
PBS ในปี 1977 และประสบความสำเร็จอย่างสูงในฐานะรายการคุณภาพ ซึ่งต่อมาได้รับการผลิตซ้ำเป็นหนังสือที่กลายเป็นหนังสือขายดีที่สุดเล่มหนึ่งจนกระทั่งปัจจุบัน
[4]
[4] David Harvey p. 54
ผลของการเผยแพร่ลัทธิเสรีนิยมใหม่นี้
ปรากฏชัดเจนในประเทศสหรัฐฯ และอังกฤษก่อน แล้วจึงค่อยแผ่ขยายอาณาบริเวณไปยังประเทศอาณานิคมชั้นในของจักรวรรดินิยมรูปแบบใหม่ซึ่งมีสหรัฐฯ
เป็นเจ้าอาณานิคม. ประเทศอาณานิคมชั้นในนี้หมายถึงประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา
นอกจากนี้ อิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมยังแผ่ขยายไปยังประเทศรอบนอกผ่านทางองค์กรระหว่างประเทศ
อย่างไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก สักขีพยานที่ชัดเจนต่อคำกล่าวหานี้ก็คือคำกล่าวของโจเซฟ
สติกลิทซ์ อดีตรองประธานและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกในหนังสือ Globalization
and its discontents ของเขาว่า จุดเปลี่ยนที่สำคัญภายในองค์กรของไอเอ็มเอฟคือ
การเปลี่ยนถ่ายเอานักเศรษฐศาสตร์สายเสรีนิยมใหม่เข้าแทนที่พวกเคนส์เซียนในช่วงปี
1982 ซึ่งทำให้ไอเอ็มเอฟกลายเป็นกลไกรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในสหรัฐฯ และกระบอกเสียงของเสรีนิยมใหม่ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเต็มตัว
[5]
[5] See Joseph. Stiglitz, Globalization and Its Discontents, W.W.Norton &
Company, 2001
ในประเทศอังกฤษ ชัยชนะของแทตเชอร์หมายถึงการหยุดชะงักของการเมืองแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ที่ก่อตัวและเติบโตขึ้นภายหลังปี 1945 พลังของสหภาพแรงงานถูกทำลายลงด้วยการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ของตลาดแรงงาน เพื่อความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการจ้างงานและความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม แนวโน้มของรัฐสวัสดิการต้องกลับหลังหันอย่างทันทีทันใด บริการของรัฐอย่างเช่น โครงการสวัสดิการที่อยู่อาศัยถูกโอนไปเป็นของเอกชน มีการลดภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าบรรยากาศในการลงทุนที่ดีของประเทศ และการไหลเข้าของทุนจากต่างประเทศ สังคมอังกฤษหันไปให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกชนและความรับผิดชอบของปัจเจก กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและคุณค่าของครอบครัว แทนที่ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของสังคม
ในสหรัฐฯ ภายหลังการขึ้นสู่ตำแหน่งของเรแกนในปี 1980 นโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์เซียนตามหลักการนิวดีล (*) ของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการจ้างงานเต็มที่ถูกแทนที่ด้วยนโยบายแบบเสรีนิยมเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ที่ปรึกษาของเรแกนเห็นว่าตัวยาขนานการเงินนิยมของโวลค์เกอร์ ประธานของเฟดในสมัยของคาร์เตอร์นั้นใช้ได้ผล เรแกนจึงแต่งตั้งเขากลับเข้าดำรงตำแหน่งประธานของเฟดอีกครั้ง และสนับสนุนนโยบายในลักษณะเปิดเสรีมากขึ้น มีการลดภาษี ลดทอนอำนาจของสหภาพและสมาคมอาชีพต่างๆ ทั้งนี้ การลดหย่อนภาษีการลงทุนทำให้ทุนเคลื่อนย้ายจากภูมิภาคที่สหภาพแรงงานเข้มแข็ง โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมิดเวสต์ไปในเขตที่ปลอดสหภาพ ทางใต้และตะวันตก
(*)The New Deal was the title that President Franklin Roosevelt gave to a sequence of programs and promises he initiated between 1933 and 1938 with the goal of giving relief to the poor, reform of the financial system, and recovery of the economy during the Great Depression.
The "First New Deal"
of 1933 aimed at short-term recovery programs for all groups. Based on the
assumption that the federal government could solve the financial problems,
the Roosevelt administration promoted or implemented: banking reform laws,
emergency relief programs, work relief programs, and agricultural programs.
A "Second New Deal" (1935-36) was a more comprehensive redistribution
of power and resources; which included: union protection programs, the Social
Security Act, and programs to aid tenant farmers and migrant workers. The
Supreme Court ruled several programs unconstitutional; however, some parts
of these were soon replaced, with the exception of the National Recovery Administration).
Several New Deal programs remain active with some still operating under the original names, including the: Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC), the Federal Housing Administration (FHA), and the Tennessee Valley Authority (TVA). The largest programs still in existence today are the Social Security System and Securities and Exchange Commission (SEC).
ทุนทางการเงินเริ่มมองหาแหล่งลงทุนใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมทั้งการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมไปลงทุนและทำการผลิตนอกประเทศเริ่มกลายเป็นปรากฏการณ์ปกติ ภาษีธุรกิจลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ภาษีส่วนบุคคลลดลงจากที่เคยสูงถึง 70 เป็น 28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกลายเป็นปรากฏการณ์ลดภาษีที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ นี่คือจุดเริ่มต้นก่อตัวความเหลื่อมล้ำทางสังคม และอำนาจทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของชนชั้นรายได้สูง มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ความจริงแล้วกระบวนการเสรีนิยมใหม่ ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดหรือทฤษฎีเศรษฐกิจมากเท่ากับเป็นผลของความพยายามรักษาอำนาจในการจัดสรรทรัพยากร และสถานะทางสังคมของชนชั้นนายทุน
[6] Ibid. David Harvey
ทักษิโณมิกส์กับเงาของเสรีนิยมใหม่
หากจะกล่าวถึงตัวอย่างของนักเศรษฐศาสตร์ลาตินอเมริกาที่คนไทยรู้จักดี ตัวอย่างแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชาวเปรู
เฮอนานโด เดอ โซโต (Hernando De Soto)(*)เกี่ยวกับ "ทุนที่ตายแล้ว (dead
capital)" ก็ได้รับอิทธิพลจากลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างชัดเจน ทฤษฎีของเขาได้รับการยกย่องจากอดีตนายกทักษิณ
ชิณวัตร ที่ประกาศแนะนำให้หนังสือ The mystery of capital เป็นหนังสือสำคัญที่คนไทยต้องอ่าน
และนำทฤษฏีของเดอ โซโตเรื่องทุนที่ตายแล้ว และภาคธุรกิจใต้ดินมาประยุกต์เป็นนโยบาย
"แปลงสินทรัพย์เป็นทุน" ซึ่งถูกใช้เป็นนโยบายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
(*)Hernando de Soto (born 1941-06-02) is a Peruvian economist known for his work on the informal economy and on the importance of property rights. He is the president of Peru's Institute for Liberty and Democracy (ILD), located in Lima.
De Soto has published two books about economic and political development: The Other Path: The economic answer to terrorism, and at the end of 2000, The Mystery of Capital: Why Capitalism Triumphs in the West and Fails Everywhere Else. Both books have been international bestsellers, translated into some 30 languages.
ถึงแม้นิตยสารชั้นนำทางธุรกิจอย่าง Time, Forbes, หรือ The New York Times Magazine จะสรรเสริญให้เดอ โซโตเป็นดาวเด่นในศตวรรษ ในฐานะผู้สร้างนวัตกรรมทางความรู้เกี่ยวกับ "ทุน" และการแก้ปัญหา "ความยากจน" แต่สถาบันเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย (*) ที่ก่อตั้งโดยเดอ โซโตเอง รวมทั้งหนังสือของเขาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในวารสารวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ว่า เป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองหรือกระบอกเสียงที่ใช้เผยแพร่อุดมคติแบบเสรีนิยมใหม่ของสำนักชิคาโก ยิ่งไปกว่านั้น หนังสือหรือบทความที่ผลิตโดยสถาบันนี้ยังถูกวิจารณ์ว่า ขาดมาตรฐานตามบรรทัดฐานทางวิชาการ และมีลักษณะใกล้เคียงกับบทความเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองมากกว่า สักขีพยานที่สำคัญที่แสดงว่า เดอ โซโตนั้นทำหน้าที่กระบอกเสียงนี้ได้อย่างดีเยี่ยมคือรางวัล "Milton Friedman prize for the advancing liberty" ที่เขาได้รับเกียรติในปี 2004 จากสถาบันคาโต (Cato Institute) (**) ซึ่งเป็นสถาบันที่ส่งเสริมคุณค่าทางด้านเสรีนิยมอย่างเข้มแข็งในสหรัฐฯ
(*)The Institute for Liberty and Democracy (or ILD) is a Lima-based think tank devoted to the promotion of property rights in developing countries. It was established in 1979 by Peruvian economist Hernando de Soto.
(**)The Cato Institute is a libertarian think tank headquartered in Washington, D.C. The Institute's stated mission is "to broaden the parameters of public policy debate to allow consideration of the traditional American principles of limited government, individual liberty, free markets, and peace" by striving "to achieve greater involvement of the intelligent, lay public in questions of (public) policy and the proper role of government." Cato scholars have been sharply critical of the Bush administration on a wide variety of issues, including the Iraq war, civil liberties, education, health care, agriculture, energy policy, and excessive government spending. However, some Cato scholars have found common cause with the administration on other issues, most notably, on Social Security, global warming, tax policy, and immigration.
ทั้งนี้ รายชื่อคณะกรรมการนานาชาติสำหรับการมอบรางวัลมิลตัน
ฟริดแมน ในปี 2008 นี้ ประกอบด้วย ประธานของสถาบันคาโต, ภริยาของ ฟริดแมน ผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนโรส-ฟริดแมน
ซึ่งมีบทบาทสำคัญร่วมกับฟริดแมนในการเผยแพร่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ในอเมริกา ผ่านหนังสือของเขาและรายการโทรทัศน์
Free to Choose, อดีตรัฐมนตรีคลังของเม็กซิโก Francisco Gil D?az, ประธานบริษัทและซีอีโอของ
Koch Industries Inc. ของสหรัฐฯ, ประธานบริษัทสื่อ Next Media ของฮ่องกง, รวมทั้ง
Editorial Board ของ The Wall Street Journal (Mary Anastasia O'Grady) และบรรณาธิการของนิตยสาร
Newsweek International (Fareed Zakaria) ส่วนคณะกรรมการในอดีตที่สำคัญคือ อดีตนายกฯ
อังกฤษมากาเรต แทตเชอร์, ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเชค Vaclav Klaus รวมทั้งประธานและซีอีโอของเฟดเอ็กซ์
คอร์ปอเรชัน [7]
[7] ข้อมูลจาก http://www.cato.org/friedmanprize
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเสรีนิยมใหม่ในสหรัฐฯ จะรอดพ้นจากวิกฤตด้านความชอบธรรมอย่างหมดจด นักวิจารณ์และนักวิชาการจำนวนมากตั้งคำถามกับกระบวนการผลิตซ้ำลัทธิเสรีนิยมใหม่ของสถาบันการศึกษาระดับสูง อย่างเช่น มหาวิทยาลัยชิคาโก. ตัวอย่างรูปธรรมที่ชัดเจนคือ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บุคลากรด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยชิคาโกจำนวนร้อยกว่าคน เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัย เพื่อคัดค้านการทุ่มงบประมาณ 200 ล้านเหรียญเพื่อสร้างสถาบันฟริดแมน โดยในจดหมายดังกล่าว บุคลากรเหล่านี้ได้ให้เหตุผลแสดงความห่วงใยต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในทางลบ ที่เกิดจาก "neoliberal global order" [8] ทั้งนี้ ในหนังสือเล่มล่าสุดของ Naomi Klein (*) ที่ชื่อว่า The Shock Doctrine : The Rise of Disaster Capitalism [9] เธอถึงกับตั้งสมมุติฐานว่า แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของฟริดแมน อยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกับที่หน่วยงาน CIA ใช้ทรมานและสอบสวนผู้ต้องขังคดีก่อการร้ายในคุก Abu Ghraib ของอิรัก ซึ่งตกเป็นข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลกกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้ถูกคุมขัง
[8] อ่านจดหมายได้ที่
https://www.naomiklein.org/shock-doctrine/resources/faculty-letter-mfi
[9] See Naomi Klein, The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism,
Metropolitan Books, 2007
(*)Naomi Klein (b. 8 May 1970, Montreal, Quebec) is a Canadian journalist, author and activist well known for her political analyses of corporate globalization. Klein ranked 11th in an internet poll of the top global intellectuals of 2005, a list of the world's top 100 public intellectuals compiled by Prospect magazine in conjunction with Foreign Policy magazine. She was the highest ranked woman on the list.
Klein's third book, The Shock Doctrine: The Rise of Disaster Capitalism, was published on 4 September 2007, becoming an international and New York Times bestseller, translated into 20 languages. The book documents the concept of economic shock therapy and argues that the deregulated policies of free market neoliberalism, as advocated by the Chicago school of economics, have not risen to prominence because they were democratically popular, but because they were pushed through at various times when citizens were in a state of shock from a traumatic event, such as a natural disaster, a war, a coup, or an economic crisis. Detailed in the book are case histories of Chile under Pinochet, Russia under Yeltsin, New Orleans after Hurricane Katrina, and the privatization of Iraq's economy under the Coalition Provisional Authority.
The Shock Doctrine was also adapted into a short film of the same name, released onto YouTube. The film was directed by Jonas Cuaron, produced and co-written by his father Alfonso Cuaron. The video has been downloaded over one million times.
Naomi Klein นำสมมุติฐานที่ผู้เขียนขอแปล The Shock Doctrine ว่า "ทุนนิยมหายนะ" มาอธิบายการครอบงำทางอุดมการณ์ของลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ ที่นำโดยสหรัฐฯในปัจจุบัน โดยเนื้อหาสำคัญคือ การพยายามแสดงให้เห็นว่า ฟริดแมนเองนำหลักการของความกลัวและวิธีการเดียวกับที่ใช้บำบัดผู้ป่วยทางจิตในอดีตโดยสร้างอาการช็อกมาประยุกต์ในระดับสังคมอย่างไร กล่าวคือ ในระดับปัจเจก วิธีการบำบัดแบบ Shock Therapy นี้ทำลายสภาวะแห่งเหตุผลและลดทอนให้บุคคลมีสภาพไม่ต่างจากทารก เมื่อประยุกต์ใช้ในระดับสังคม ความกลัวความไม่มั่นคง เศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อ การตกงาน ความยากจน วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากแนวนโยบายที่ฝ่ายเสรีนิยมใหม่เสนอ ในทางสังคมและการเมือง ก็ทำให้ประชาชนไม่ต่างจากทารก ที่ต้องพึ่งพาและเชื่อฟังผู้นำ รวมทั้งสามารถบ่อนทำลายเสรีภาพและประชาธิปไตยได้อย่างชะงัดนัก
การเมืองแบบเสรีนิยมในประเทศไทย
การครอบงำของวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมใหม่ในเศรษฐกิจโลก ทำให้เงื่อนไขการเปิดเสรีทางการเงินและการค้าปรากฏต่อรัฐไทยในฐานะภาวะที่จำเป็น
หรือสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในนัยที่ "ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้"
แทนที่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในเชิงนโยบาย ในทางการเมือง. วัฒนธรรมเศรษฐกิจตามแบบเสรีนิยมใหม่ยังมีส่วนไม่น้อย
ในการกำหนดทิศทางและโฉมหน้าการเมืองไทยในช่วงรอยต่อ โดยผ่านสิ่งที่ ศ.ดร. ผาสุก
พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์เรียกว่า "การเมืองของการเปิดเสรี" ที่เกิดขึ้นหลังกระบวนการทำให้เป็นอุตสาหกรรม
(industrialisation) และเปิดเสรีตลาดสินค้าอย่างรวดเร็วของไทยในช่วงหลังทศวรรษ
2520 [10]
[10] Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Democracy, Capitalism and Crisis:
Examining Recent Political Transitions in Thailand, speech at Princeton University,
15 November 2001
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า การยอมรับวัฒนธรรมเศรษฐกิจตามรูปแบบเสรีนิยมใหม่นั้น ได้ทำให้กระบวนการจัดสรรอำนาจทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไป คือ การเมืองไทยตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหารในเดือนพฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ไปจนกระทั่งการปฏิรูปการเมืองในช่วงปี 2540 อันนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญและเกิดรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 (ที่ถูกฉีกในเวลา 10 ปีต่อมาโดยคณะรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549) ทั้งนี้ วัฒนธรรมทุนนิยมแบบเสรีนิยมใหม่ที่กำลังพูดถึงนั้น เข้ามามีอิทธิพลในกระบวนการจัดสรรอำนาจ โดยผ่านปัจจัยสำคัญ คือ อิทธิพลของสื่อตะวันตกและการขยายตัวของชนชั้นกลางในเมืองของไทย
ตามการวิเคราะห์ของ ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์ ภายหลังทศวรรษ 2520 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญกับเศรษฐกิจไทย 2 ประการคือ
ประการแรก ไทยหันมาเน้นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งในขณะเดียวกัน เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในปี 2530
ก็เพิ่มมากขึ้นในปริมาณที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนประการที่สอง ระหว่างปี 2532-2536 ภาคการเงินระหว่างประเทศถูกเปิดเสรีบางส่วน ในปี 2538 ปีเดียว เงินทุนหมุนเวียนในบัญชีทุนมากเท่ากับทั้งหมดที่ปรากฏในช่วง 10 ปี ระหว่างต้นทศวรรษ 2510-2520 และหนี้ต่างประเทศของเอกชนเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในเวลา 8 ปี
ทั้งหมดนี้ ทำให้อิทธิพลของปัจจัยภายนอกเข้ามามีบทบาทกับการเมืองไทยโดยผ่าน "การจับจ้องอย่างใกล้ชิด" ของสื่อการเงินต่างประเทศ และสถาบันเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (เช่น ธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟ เอดีบี บีไอเอส แกตต์) หรือที่อาจารย์ทั้งสองท่านใช้คำว่า "การกำกับสอดส่องจากภายนอก" โดยท่านได้ยกตัวอย่างของการขยายกิจกรรมของนิตยสารการเงินหลายฉบับในประเทศไทย เช่น The Economist และ Institutional Investor ที่เริ่มจ้างตำแหน่งประจำในประเทศไทย หรือ Asian Wall Street Journal ก็เพิ่มพื้นที่และเริ่มเปิดแผนกภาษาไทย หรือกระทั่งที่ดาวน์โจนส์หันมาสนใจถูมิภาคนี้ โดยเริ่มเป็นสมาชิกนิตยสาร FEER ในช่วงเวลาเดียวกันนี้
บทความวิเคราะห์ทางด้านการเงินจากนิตยสารเหล่านี้
รวมทั้งที่ผลิตจากนักวิเคราะห์ขององค์กร ถูกผลิตซ้ำอย่างเป็นระบบจากสื่อท้องถิ่นหรือสื่อไทยเพราะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางเทคนิคที่ยังขาดแคลนในประเทศ
สื่อเหล่านี้มีตลาดที่สำคัญคือชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงานคอปกขาวในเมือง ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
และเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนหน้า สิ่งที่สำคัญคือ ฐานะทางเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้
ผูกติดกับระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งถูกกำหนดจากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญ ถึงจะมีจำนวนไม่มากนัก
และมีอิทธิพลทางการเมืองเพียงสามารถกำหนดจำนวนที่นั่ง ส.ส. ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด
แต่ก็เป็นที่ยอมรับว่า คนกลุ่มนี้เองที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงปี
2534-2535 และเปิดโอกาสให้ทหารเข้ายึดอำนาจคณะรัฐบาล "บุฟเฟท์"ในขณะนั้น
โดยข้อหาคอรัปชั่นและเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจโดยตรงคือ ดัชนีตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรงประกอบกับนักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่น
[11]
[11] Ibid. Pasuk Phongpaichit and Chris Baker
ที่น่าสนใจและดูเหมือนเป็นเรื่องตลกเสียดสีก็คือ การเสื่อมความนิยมของคนกลุ่มเดียวกันนี้เอง กลับมีส่วนทำให้กลุ่มทหารต้องถอนบทบาททางการเมืองอย่างสิ้นเชิงในช่วง 10 ปีหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เราอาจเรียกปรากฏการณ์ลุกฮือของชนชั้นแรงงานคอปกขาวนี้อย่างที่สื่อมักนิยมใช้คำว่า "ม็อบมือถือ" ตามการสำรวจที่พบว่า ผู้มาร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ณ ท้องสนามหลวงนั้นร้อยละ 45.7 ทำงานเอกชน ในขณะที่เป็นข้าราชการร้อยละ 14.8 เป็นเจ้าของกิจการ 13.7 โดยที่เป็นนิสิตนักศึกษาร้อยละ 8.4 [12]
[12] การสำรวจโดยสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยสุ่มสำรวจตัวอย่าง เผยแพร่ในนิตยสารสารคดี ฉบับ เดือนมิถุนายน 2535 : 123 อ้างโดย สมชาย ปรีชาศิลปกุล ใน "เงาคนเดือนตุลาในพฤษภาทมิฬ" http://midnightuniv.tumrai.com/midnightweb222/newpage04.html
ควรกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่า ความสำเร็จในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม 2535 นั้น ถึงแม้จะเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่ค่อนข้างหลากหลาย กล่าวคือประกอบด้วยคนหลากหลายอาชีพ เมื่อเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่ก็เกิดขึ้นจากความสามารถผสมผสานลงตัวของการเรียกร้องที่มีหัวใจอยู่ที่ "เสรีภาพในการแสดงออก ความโปร่งใส และประสิทธิภาพในการบริหาร" ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการเคลื่อนไหวแบบ "เสรีนิยมใหม่" ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของอิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดสรรอำนาจในพื้นที่การเมือง ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อมและค่อยเป็นค่อยไป และไม่สามารถเปรียบเทียบได้เลยกับอิทธิพลที่แผ่ขยายโดยตรงในแกนกลางของแวดวงผลิตความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ที่สำนักเสรีนิยมใหม่นี้ได้ครอบงำมาเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษ ในที่สุดแล้ว อาจกล่าวได้ว่าอิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ และการศึกษาวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ของไทยนั้น ได้ทำให้เสรีภาพของปัจเจกชนและกรรมสิทธิ์นั้นกลายเป็น raison d'etre (*)ของระบบเศรษฐกิจไทยไปโดยปริยาย
(*)Raison d' etre is a phrase borrowed from French where it means simply "reason for being"; in English use it also comes to suggest a degree of rationalization, as "The claimed reason for the existence of something or someone".
สรุป
อิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังระบบคุณค่าและกระบวนการคิด
ไม่เพียงแต่ในสังคมของประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก แต่ยังรวมไปถึงในสังคมของประเทศกำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อย่างประเทศไทย ทั้งนี้ ความแยบยลของการเผยแพร่กระบวนทัศน์นี้ ถูกกระทำผ่านกระบวนการกำหนดทิศทางและผลิตประเด็นการศึกษาวิจัย
รวมทั้งกระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจนำ ภายในระยะเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ
จนสามารถสร้างความชอบธรรมให้กับระเบียบใหม่ที่เป็นส่วนผสมระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและการปกครองเสรีประชาธิปไตย
ในลักษณะที่เรียกว่า "โดยดุษฎีและโดยปริยาย"
หมายเหตุ
บทความนี้เรียบเรียงจากบทความเดิมชื่อ "ลัทธิเสรีนิยม เสรีนิยมใหม่ อิทธิพลทางความคิดต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย"
(เคยเผยแพร่แล้วในประชาไทออนไลน์ - เชิงอรรถภาษาอังกฤษเพิ่มเติมโดย
กอง บก.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
กระบวนการทำให้เป็นเสรีนิยมใหม่ (neoliberalisation) หยิบฉวยเอาทุนทางวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมที่ฝังราก อย่างมั่นคงในสัง คมตะวันตก โดยผู้นำกระบวนการนี้ได้เน้นนำคุณค่าที่เป็นเสาหลักของแนวคิดเสรีนิยมคือ "อิสรภาพและเสรีภาพส่วนบุคคล" รวมทั้งรังสรรค์ปั้นแต่งใหม่ด้วยกลวิธีตอกย้ำ คุณค่าที่พึงปรารถนาในสายตาของตน เพื่อออกแบบ ผลิต และผลิตซ้ำคุณค่าเหล่านั้น ให้เข้าแทนที่คุณค่าเดิมและผสมกลมกลืนกับคุณค่าอื่นอย่างแนบเนียนจนกลายเป็น "สามัญสำนึก" ของสมาชิกแต่ละคนในสังคม ดังคำกล่าวที่โด่งดังของแทตเชอร์(นายกฯ อังกฤษ) ประโยคหนึ่งว่า "no such thing as society, only individual men and women" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศสงครามต่ออุดมคติแบบสังคมนิยม ...