ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




25-06-2551 (1596)

Empire and the multitude. A dialogue on the new order of globalisation
จักรวรรดิและมหาชน: บทสนทนาระเบียบโลกใหม่ยุคโลกาภิวัตน์
(ตอน ๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลการสนทนาเรื่อง"จักรวรรดิ"ต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่ง
ในโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

สาระสำคัญของบทสนทนาต่อไปนี้ ตั้งอยู่บนประเด็นปัญหาเกี่ยวกับ
๑. ข้อถกเถียงเกี่ยวกับขอบเขตพิเศษ
๒. จักรวรรดิ, ไม่ใช่จักรพรรดินิยม
๓. วิภาษวิธีจักรพรรดินิยม: จักรวรรดิในฐานะพัฒนาการอีกก้าวหนึ่ง
๔. การปฏิวัติของการเมืองมหาชน
โดยเนื้อหาของการสนทนาจะเกี่ยวข้องกับหนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire)

การประยุกต์นำเอาลัทธิมาร์กซ์และฟูโกต์มาใช้ในสังคมร่วมสมัย-หลังสมัยใหม่
มีการพูดถึงการเข้ามาแทนที่จักรพรรดินิยมโดยจักรวรรดิที่ปราศจากดินแดน
แต่มีอำนาจมหาศาล และสุดท้ายเป็นการให้ความหมายอย่างชัดเจนในเรื่อง
"มหาชน"(multitude)ซึ่งเป็นปัญหาในการทำความเข้าใจถึงศัพท์คำนี้
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๙๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Empire and the multitude. A dialogue on the new order of globalisation
จักรวรรดิและมหาชน: บทสนทนาระเบียบโลกใหม่ยุคโลกาภิวัตน์
(ตอน ๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทสนทนาระหว่าง Antonio (Tony) Negri, Danilo Zolo

T.N. ผมไม่คิดว่านั่นเป็นการกล่าวหาหรือประณามเพื่อลดระดับพวกเราลงอย่างถาวร ดังที่ใครก็ตามที่ได้อ่านหนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire)รู้กัน เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องวิภาษวิธี เราเพียงรู้จักแต่การต่อสู้ทางชนชั้นเท่านั้น. มันคือการต่อสู้ทางชนชั้น (แนวโน้มหรือท่าทีโดยทั่วไปของ Machiavelli: การเปิดโอกาส, ความคลุมเครือ, และสาเหตุเกี่ยวกับความเสี่ยง)ที่ได้สร้างพื้นฐานให้กับวิธีการของพวกเรา. มันไม่มีสิ่งที่เรียกว่าวิภาษวิธีในที่นี้ เว้นแต่จะมีใครสักคนใช้คำเรียกดังกล่าว ที่รวมเอาแนวทางหรือวิธีการวิเคราะห์ต่อพัฒนาการประวัติศาสตร์อันนั้น

การสาธยายของเราเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงต้นเหตุ ด้วยความสุ่มเสี่ยงและการต่อสู้ของผู้คนต่อการตักตวงผลประโยชน์ มีความพยายามทำให้ชีวิตเป็นเรื่องของความสนุกสนาน ขจัดความเจ็บปวด… เหตุดังนั้น ปัญหาทางการเมืองของพวกเราจึงเกี่ยวข้องกับการนำเสนอพื้นที่อย่างเพียงพอต่อสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เกี่ยวกับการต่อสู้ที่เริ่มต้นมาจากฐานล่าง. ในกรอบงานดังกล่าวจึงไม่มีที่ว่างสำหรับการโหยหาอดีตอย่างอาลัยอาวรณ์ และการปกป้องเรื่องรัฐชาติ แต่ไปเกี่ยวพันกับเกี่ยวกับความป่าเถื่อนอานารยะอย่างสมบูรณ์แบบที่เกิดขึ้นที่เมือง Verdun (*), การทิ้งระเบิดที่ Dresden, ที่ Hiroshima และ (ถ้าเผื่อว่าคุณยอมรับ) Auschwitz (**) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกพิสูจน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

(*)The Battle of Verdun was one of the most critical battles in World War I on the Western Front, fought between the German and French armies from 21 February to 18 December 1916 around the city of Verdun-sur-Meuse in northeast France. The Battle of Verdun resulted in more than a quarter of a million deaths and at least a million wounded. Verdun was the longest battle and one of the bloodiest in World War I and more generally in human history. In both France and Germany it has come to represent the horrors of war, similar to the significance of the Battle of the Somme in the United Kingdom and the Commonwealth or the Battle of Gettysburg to the United States.

(**)Auschwitz-Birkenau was the largest of Nazi Germany's concentration camps. Located in German-occupied southern Poland, it took its name from the nearby town of Oswiecim (Auschwitz in German), situated about 50 kilometers west of Krakow and 286 kilometers from Warsaw. (the German occupation of Poland in September 1939)

ผมไม่ทราบว่า รัฐชาติจะยังคงสามารถได้รับการพิจารณาว่าเป็นบางสิ่งบางอย่างอะไรยิ่งไปกว่าความผิดพลาดและอุดมการณ์ที่อันตราย. ในเชิงตรงข้าม เครือข่ายต่างๆ เกี่ยวกับขบวนการของขบวนการทั้งหลายคือ, ดังที่ทั้งหมดเกิดขึ้นอย่างอิสระทั่วโลก, ความหลากหลายของหน่วย / อะตอมต่างๆ นั่นคือ พวกเขาสานตัวเข้าด้วยกัน และในหนทางนี้พวกเขาสามารถก่อรูปขบวนการอันเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่ยุ่งยาก ดังที่พวกเขาได้ทำกันมาแล้ว. ความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะขัดขวางการรวมตัวกันนี้ และผลที่ตามมาของการจำแนกแยกแยะเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ร่วมกันคือลักษณะปฏิกริยา หรือค่อนข้างเป็นการแสดงออกของกลุ่มย่อยๆ และปฏิบัติการต่างๆ ที่ไม่เป็นมิตร. มันเป็นปรัชญาที่ต่อต้านความเป็นโลก และ"ขบวนการซีแอตเติล"เป็นขบวนการลัทธินานาชาติหรือสากลนิยมและขบวนการเคลื่อนไหวโลก. ตราบใดที่ความชิงชังของเราสำหรับกลุ่ม NGOs บางกลุ่มยังเข้ามาเกี่ยวข้อง มันจะไม่เป็นเรื่องผิดพลาด สำหรับการก่อตัวขึ้นมาของความกรุณา การมีใจกว้าง เพื่อการแข็งข้อไม่ยอมแพ้ และเพื่อนำมาซึ่งความเข้มแข็งใหม่ๆ

D.Z. พวกคอมมิวนิสท์ คุณบอกว่าคือ พวกสากลนิยม, พลเมืองโลก, แพร่หลายกว้างขวางโดยความโน้มเอียงอย่างนั้น กล่าวคือ ลักษณะที่เป็นไปในแนวราบคือเกี่ยวกับทั้งหมดของความเป็นมนุษย์ และเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์โดยทั่วไป (การดำรงอยู่ของสายพันธุ์) ดั่งที่มาร์กซ์กล่าว. ช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ผ่านมา อย่างที่คุณรำลึกถึง มวลชนคนงานมักจะพึ่งพาอาศัยความเป็นนานาชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง และสังคม. ด้วยเหตุผลนี้ คุณยืนยันว่าพลังอำนาจของจักรวรรดิระดับโลกจักต้องถูกควบคุม แต่จะไม่ถูกรื้อถอนหรือทำลาย นั่นคือ การประกอบสร้างขึ้นเป็นจักรพรรดินิยมจะถูกปกปักรักษาไว้ และมีเป้าประสงค์อื่นๆ

แม้จะเป็นความจริงว่า เทคโนโลยีด้านตำรวจต่างๆ จะเป็นแกนหลักของระเบียบจักรพรรดิ แต่ระเบียบดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทั้งหลายของการเป็นเผด็จการ และการปกครองแบบเบ็ดเสร็จของคริสตศตวรรษที่ผ่านมาตามความเห็นของคุณ. จากจุดยืนทางความคิดนั้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคอมมิวนิสท์ การก่อตัวของจักรวรรดิคืออีกก้าวที่ไปข้างหน้า นั่นคือ "จักรวรรดิ", ที่คุณเขียน, "คือสิ่งที่ดีกว่าที่มีมาก่อนหน้ามัน เพราะมันได้กำจัดระบอบที่โหดเหี้ยมของอำนาจสมัยใหม่ลงไป" และ "ได้ให้ความเป็นไปได้อย่างมากสำหรับการสร้างสรรค์และการปลดปล่อยเพื่ออิสรภาพ เสรีภาพ". ผมไม่สามารถที่จะมีส่วนร่วมกับหลักวิภาษวิธีที่มองโลกในแง่ดีของแนวคิดการขึ้นครองอำนาจแบบ Hegelian และ Marxist อย่างแจ่มชัดนี้ได้

T.N. ผมไม่ได้พูดอย่างนั้นเลยว่า สถานะอันนี้เป็นการแสดงออกถึงหลักวิภาษวิธีที่มองโลกในแง่บวก เป็นที่ชัดเจนว่าคุณเป็นคนหัวแข็ง ดื้อด้าน ไม่ประนีประนอมในศัพท์คำว่า"วิภาษวิธี" นั่นคือ อะไรก็ตามที่คุณไม่ชอบก็โยนให้เป็นเรื่องของหลักการวิภาษวิธีไป. ผมขอเสนอนักเขียนคนหนึ่ง แน่นอน ซึ่งไม่ใช้หลักการวิภาษวิธี กระนั้นก็สามารถมองไปข้างหน้าได้ คือ Spinoza. ในที่นี้ ปรัชญาของเขา การมองโลกในแง่ดีไม่มีอะไรเกี่ยวพันกับเฮเกล กล่าวคือ มันเกี่ยวข้องกับเสรีภาพและการมีความสุข คืออิสรภาพจากความเป็นทาส… ผมไม่ต้องการพูดให้ติดตลกเกี่ยวกับนักบุญ อันที่จริงผมชอบคนโกงมากกว่า

ปัจจุบัน เหล่านี้คือการเมืองมหาชน(multitude) ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้ ความหลากหลายมากมายของคนๆๆๆ (singularities) ผสมรวมตัวกัน มีความสามารถทางแรงงานสติปัญญา ด้วยพลานุภาพมหาศาลของอิสรภาพ. อันนี้ไม่ใช่หลักการวิภาษวิธี แต่เป็นการวิเคราะห์ทางสังคมวิทยา เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตรงตามข้อกำหนด เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแรงงาน เกี่ยวกับองค์กรของมัน และเกี่ยวข้องกับอัตวิสัยทางการเมืองที่มันถ่ายทอดออกมา ผมไม่สามารถเชื่อได้ว่าคุณชื่นชอบกับเรื่องราวพ้นสมัยในจารีตแบบชาวนา และช่างฝีมือ ที่ก่อรูปก่อร่างขึ้นมาในมายาคติอันไร้ประสิทธิผล หรือความทุกข์ยากของมวลชนแรงงาน ผูกมัดกับโซ่ตรวนของเขา กับการเคลื่อนไหวของโลกและการยืดหยุ่นของเวลาเกี่ยวกับชีวิตและแรงงาน

ช่วงระยะเวลาอันยาวนานเกี่ยวกับความคาดหวังเรื่องชีวิต และการพอกพูนขึ้นของชีวิตทางศีลธรรมและชีวิตด้านสติปัญญาของบรรดาคนงาน ดูเหมือนว่าสำหรับผมแล้วเป็นสิ่งที่ดี ในที่นี้คือ"จักรวรรดิ"ได้ถูกนำเสนอในฐานะสิ่งที่ดีในตัวมันเอง แต่นับจากนี้ที่กลายเป็นเรื่องที่ดีในตัวมันเอง มันนำมาสู่ขบวนการต่างๆ ที่กล่าว(มิใช่เรื่องจิตวิญญาน). แต่ ณ ที่นี้ ผมสามารถเพิ่มเติมบางสิ่งเข้ามาได้ คือ ขบวนการต่างๆ ซึ่งในจักรวรรดิและการมีอยู่ของพวกมันในฐานะปรปักษ์ มิใช่เป็นข้ออ้างหรือใจความสำคัญที่มีลักษณะคล้ายกันกับพลังอำนาจจักรพรรดิ

สิ่งที่น่าสนใจมากคือการอ่านขบวนการต่างๆ ที่แสดงออกมาในทุกวันนี้ ต่อการก่อรูปพลังอำนาจจักรพรรดิ ไม่ได้ถูกต่อต้านหรือคัดค้านวาทกรรมเกี่ยวกับการฉกฉวยควบคุมอำนาจ(seizure of power) แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอพยพครั้งใหญ่(exodus). นี่เป็นหลักวิภาษวิธีเชิงนิเสธ(Negative dialectics)หรือ ? คุณอาจจะกล่าวหาผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ผมไม่สามารถเรียกมันว่าอย่างนั้นได้สำหรับปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่ห่างไกลจากอำนาจทางการเมือง ที่ดำเนินการและแสดงออกผ่านผู้คนทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนคนหนุ่มสาว หรือมหาชนของทุกวันนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมันอยู่ลึกลงไปกว่าสิ่งที่เรากล่าวถึงในระดับการจัดประเภทหรือการจัดหมวดหมู่ทางการเมือง จากความเป็นสมัยใหม่ถึงความเป็นหลังสมัยใหม่. ต้องระมัดระวัง นั่นคือ ความทุกข์ยากอันยิ่งใหญ่มันรอคอยคนเมืองที่ตอนนี้เริ่มต้นเส้นทางของมันขึ้นมาแล้ว… มันคือความต่อเนื่อง (และในเวลาเดียวกันคือการเปลี่ยนรูปไป) ของสิ่งที่บางครั้งเป็นเรื่องประชาธิปไตย, บางครั้งเป็นเรื่องสังคมนิยม ซึ่งมักจะเป็นขบวนการขัดขืนต่างๆ ที่กระทำการผ่านความเป็นสมัยใหม่

D.Z. ผมถูกทำให้แน่ใจโดยการวิเคราะห์แบบหลังอาณานิคม - ผมกำลังคิดถึงเรื่องการศึกษาความด้อยสถานะ(การกดทับ) - ที่วางโครงในแนวเกี่ยวกับความต่อเนื่องระหว่างลัทธิอาณานิคมคลาสสิค และกระบวนการปัจจุบันเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์อำนาจนำ(hegemonic globalization). ทุกวันนี้ หลังจากวงเล็บเกี่ยวกับสงครามเย็น และเสรีภาพชั่วคราวของประเทศต่างๆ ในอาณานิคม จากการอยู่ใต้อำนาจโดยตรงของแสนยานุภาพของชนยุโรป ตะวันตกได้ถูกผูกรวมขึ้นมาใหม่ในยุทธศาสตร์ของการควบคุม การครอบครองอำนาจทางทหาร การรุกรานทางการค้า และ"อารยธรรม"ของโลกที่ไม่ใช่ตะวันตก. การตอบโต้อย่างถึงเลือดถึงเนื้อและไร้อำนาจของลัทธิการก่อการร้ายโลกซึ่งต่อสู้กับยุทธศาสตร์นี้ มันไม่ใช่กรณีหนึ่งซึ่งมีเป้าหมายต่างๆ ที่เกือบจะเฉพาะกับสหรัฐฯ

T.N. ผมคิดว่า ผมได้แต่เห็นพ้องต้องกันกับคุณเท่านั้นสำหรับประเด็นนี้ แน่ทีเดียว การคุกคามยังคงดำเนินต่อไประหว่างลัทธิอาณานิคมคลาสสิค และกระบวนการปัจจุบันเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์จักรพรรดินิยมที่มองเห็นอยู่ แต่ผมระมัดระวังที่จะไม่เรียกลักษณะชั่วคราวหรือสั้นๆ เกี่ยวกับเสรีภาพของประเทศอาณานิคมทั้งหลาย และคิดว่าไพ่ต่างๆ บนโต๊ะภูมิศาสตร์การเมืองมันเปลี่ยนไปแล้วอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ

ประการแรก โลกที่สองและโลกที่สามไม่ได้เปลี่ยนแปลงความร่วมมือของพวกเขาในระดับผิวหน้า แต่มันเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานทีเดียว พวกเขาได้รวมตัวกัน และคุณจะพบว่า โลกที่หนึ่งอยู่ ณ จุดล่างสุดของแอฟริกา เช่นเดียวกับในสาธารณรัฐต่างๆ ในกลางทวีปเอเชีย. ถ้าคุณมองมันทั้งหมดนี้มาจากมุมมองจากอวกาศ สถานการณ์ดังกล่าวแม้ว่าจะเปลี่ยนไป แต่มันยังคงสถิตย์หรือนิ่งอยู่ และหากว่าคุณจ้องมองไปที่ปรากฏการณ์เดียวกัน และการเคลื่อนที่เหล่านี้จากจุดยืนของความเข้มข้นเอาจริงเอาจังของพวกเขา คุณก็สามารถรับรู้ถึงพลังอำนาจของการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเหล่านี้ (และนี่คือส่วนใหญ่ของการศึกษาภาวะการกดทับ(ด้อยสถานะ)อธิบาย). ข้อเท็จจริงคือ มันเกี่ยวพันกับเหมืองแร่ต่างๆ ที่วางอยู่ทุกๆ ที่บนแผนที่โลก ในมุมมองนี้ ขณะที่ลัทธิก่อการร้ายโลกเป็นส่วนหนึ่งของ"สงครามกลางเมือง"สำหรับความเป็นผู้นำของจักรพรรดิ การต่อต้านและขบวนการอพยพครั้งใหญ่ (exodus) ก็ก่อตัวในเชิงคุกคามที่แท้จริงใหม่ๆ ต่อระเบียบทุนนิยมโลกด้วย

D.Z. กระบวนการโลกาภิวัตน์ได้เร่งความเร็วนับจากสิ้นสุดทศวรรษที่ 1980s เป็นต้นมา หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการถึงจุดจบของลัทธิการแบ่งขั้ว(bipolarism) จากนั้น บรรดาประเทศตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาผูกพันกับการเมืองใหม่ของอำนาจ ซึ่งถูกรับรู้โดยบรรดาประเทศที่ไม่ใช่ตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโลกอิสลามและเอเชียตะวันออกทั้งหลาย ดังที่เกิดการท้าทายเพิ่มขึ้นด้วยการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียกันของพวกเขาเอง ด้วยความเป็นอิสระทางการเมืองและการมีอัตลักษณ์ร่วมกันของพวกเขา. ฐานทางด้านการทหารของสหรัฐฯ และศูนย์กลางการจารกรรม ได้แผ่ขยายออกไปดั่งเส้นโลหิตฝอยไปทั่วดาวเคราะห์โลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแพร่ไปทั่วภูมิภาคต่างๆ ที่มีอำนาจรอง. การแสดงออกและการยืนยันเช่นนั้น ในความคิดเห็นของผม ลัทธิอาณานิคมใหม่และลัทธิจักรพรรดินิยมใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ มันยังคงดำเนินต่อไปตามเส้นทางนี้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่คลาสสิคของมัน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐและดินแดน

ทั้งหมดของการแทรกแซงด้านการทหาร การตัดสินใจโดยสหรัฐฯ นับจากสงครามอ่าว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยกเพิ่มมากขึ้นระหว่างศักยภาพด้านการทหาร (ด้านเศรษฐกิจ, วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี, ข้อมูลข่าวสาร)โดยการนำของสหรัฐฯ กับ ประเทศต่างๆ ที่เหลือของโลก. บางทีมันไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีมหาอำนาจเพียงประเทศเดียว ซึ่งครอบงำและแผ่คลุมเหนือระนาบทางการเมือง และไม่อาจเอาชนะได้ทางด้านการทหาร. ในฉากของอำนาจความเป็นเจ้านี้ ผมไม่อาจมองเห็นปัจจัยใดๆ ที่เป็นจริงที่สามารถจะวางรากฐานในเชิงวัตถุวิสัยแก่มุมมองของปฏิบัติการร่วม เพื่อการปลดปล่อยและความเป็นอิสระจากจักรวรรดิได้เลย กล่าวคือ มันไม่สามารถละทิ้งโครงสร้างของอำนาจความเป็นจักรวรรดิทางการเมืองอันมั่นคง โดยไม่ไปขัดแย้งกับความทะเยอทะยานหรือจุดมุ่งหมายความเป็นสากลนิยมของมัน

T.N. จากหลักฐานในกรอบของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างที่คุณอธิบาย การฉีกตัวออกมาเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้. ความต่อเนื่องของลัทธิจักรพรรดินิยมเก่าและใหม่ การยังคงอยู่ของลัทธิอาณานิคม มหาอำนาจสหรัฐฯ ที่มากำหนด และการแผ่ขยายเกี่ยวกับการตักตวงเอาประโยชน์ รวมถึงเทคโนโลยีด้านการทหาร นั่นคือ ในที่นี้ ไม่มีอะไรที่สามารถต้านทานได้. พวกเราต่างอยู่ท่ามกลางวิสัยของ new-Marcusian (*) เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ แน่นอน ในทัศนะของผม จุดยืนของคุณมันขัดแย้งกันโดยหลักการ ในพื้นฐานการวิเคราะห์เกี่ยวกับจักรวรรดิ

(*)Herbert Marcuse (July 19,1898 - July 29,1979) was a German philosopher and sociologist, and a member of the Frankfurt School. His best known works are Eros and Civilization and One-Dimensional Man.

- Eros and Civilization is one of Herbert Marcuse's best known works. Written in 1955, it is a synthesis of Karl Marx and Sigmund Freud. Its title alludes to Freud's Civilization and its Discontents. Marcuse's vision of a non-repressive society, based on Marx and Freud, anticipated the values of 1960s countercultural social movements.

In the book, Marcuse writes about the social meaning of biology - history seen not as a class struggle, but fight against repression of our instincts. He argues that capitalism (if never named as such) is preventing us from reaching the non-repressive society "based on a fundamentally different experience of being, a fundamentally different relation between man and nature, and fundamentally different existential relations". He argues that Freud's contention that repression is necessary for civilisation to persist is ill-founded - instead of being destructive, Marcuse considers that a liberated eros is upbuilding.

- One-Dimensional Man is a work by Herbert Marcuse, first published in 1964.

One-Dimensional Man offers the reader a wide-ranging critique of both contemporary capitalism and the Soviet model of communism, documenting the parallel rise of new forms of social repression (both public and personal) in both these societies as well as the decline of revolutionary potential in the West. He argued that "advanced industrial society" created false needs, which integrated individuals into the existing system of production and consumption via mass media, advertising, industrial management, and contemporary modes of thought. This results in a "one-dimensional" universe of thought and behaviour in which aptitude and ability for critical thought and oppositional behaviour wither away. Against this prevailing climate, Marcuse promotes the "great refusal" (described at length in the book) as the only adequate opposition to all-encompassing methods of control. Much of the book is a defense of "negative thinking" as a disrupting force against the prevailing positivism.

ในข้อเท็จจริง พื้นฐานเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานในเชิงระเบียบวิธีได้รับการประกาศออกมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นอันหนึ่งซึ่ง ชีวอำนาจของจักรพรรดิที่มาควบคุมร่างกายคน ไม่ว่าจะลงลึกแค่ไหนก็ตาม มักจะถูกทำให้เป็นสิ่งตรงข้ามและนำไปสู่พื้นที่ของความขัดแย้งเสมอกับชีวการเมือง(การเมืองเรื่องการควบคุมร่างกาย - biopolitics) ดังนั้น หลักฐานสนับสนุนในแง่ระเบียบวิธี จึงทำให้เราไม่สามารถยอมรับกรอบแนวคิดจักรพรรดินิยมใหม่นั้นตามที่คุณอธิบายได้ ข้อเท็จจริงคือว่า ที่ใดก็ตามซึ่งแผ่คลุมไปด้วยชีวอำนาจ ยกตัวอย่างเช่น ศักยภาพของอำนาจที่แผ่คลุมไปสู่ทุกๆ แง่มุมของชีวิตในตัวมันเอง ดังที่ปฏิบัติอยู่มันเปิดตัวเองให้กับพลวัตการต่อต้านในระดับจุลกายภาพ(microphysical) และการแพร่ขยายความขัดแย้ง บ่อยครั้ง เป็นไปไม่ได้ที่จะยับยั้งหรือจำกัดขอบเขต

โดยหลังจากจ้องมอง"จักรวรรดิ"จากเบื้องบน เราจะพบเห็นมันจากฐานล่าง เราสามารถเห็นถึงความเปราะบางและแตกหักง่าย เราสามารถตรวจพบการแทรกแซงบนเส้นทางที่ประกอบสร้างดังกล่าว. ความไม่มั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างจักรพรรดิ ยังได้รับการยืนยันโดยการวิเคราะห์ถึงการก่อตัวขึ้นมาของมันด้วย กล่าวคือ จักรวรรดิคือผลผลิตของการต่อสู้ของคนงานต่างๆ และพวกที่ต่อต้านลัทธิอาณานิคม และเกี่ยวกับการกบฎต่อลัทธิเผด็จการสตาลินิสท์. นี่คือเหตุผลว่าทำไมการต่อสู้กับจักรวรรดิจึงมีความเป็นไปได้. ขอให้ผมพูดถึงเรื่องตลกเลวๆ สักเรื่องให้ฟังได้ไหม นั่นคือ คุณจะไม่ลองคิดดูว่า คุณไม่ใช่หนึ่งในภาพเหล่านี้ของลัทธิจักรพรรดินิยมใหม่ไม่ได้หรือ ตัวอย่างหนึ่งของวิภาษวิธีเลวๆ ของเผด็จการเบ็ดเสร็จอันนั้น?

D.Z. มันค่อนข้างจะต่อต้าน"จักรวรรดิ" ซึ่งในทัศนะของผมการต่อสู้ต้องถูกกำกับ โดยการแย้งกับลัทธิแผ่ขยายโลกและอุดมคติความเป็นสากล ไม่เหมือนกับลัทธิสาธารณรัฐคอมมิวนิสทาเรียน (หมายถึงรัฐเล็กๆ ที่ปกครองตนเอง) ผมไม่ได้รู้สึกกับการโหยหาอดีตที่จะหวนกลับไปสู่รัฐชาติแบบคริสตศตวรรษที่ 18 แม้ว่าผมเองก็มิได้เชื่อมั่นว่ารัฐชาติต่างๆ เหล่านั้น มาถึงตอนนี้คือสิ่งที่ได้รับสืบทอดต่อๆ กันมาทางประวัติศาสตร์. ผมรู้สึกร่วมกับความคิดของ Ulrich Beck (*) ที่ว่า พวกเขากำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่รัฐของการเปลี่ยนผ่าน และตัวแทนจำนวนหนึ่งและสถาบันข้ามชาตทั้งหลาย อย่างเช่น ธุรกิจขนาดใหญ่, ตลาดการเงิน, เทคโนโลยีข่าวสารและการสื่อสาร อุตสาหกรรมวัฒนธรรม ฯลฯ ล้วนดำเนินการโดยผ่านประชาสังคมของพวกเขา

(*)Ulrich Beck (born May 15, 1944) is a German sociologist who holds a professorship at Munich University and at the London School of Economics. Beck currently studies modernization, ecological problems, individualization, and globalization. Recently he has also embarked on exploring the changing conditions of work in a world of increasing global capitalism, declining influence of unions, and flexibilisation of the labor process, a new theory rooted in the concept of cosmopolitanism. Beck has also contributed a number of new words in German sociology, including "risk society" and "second modernity".

มันเป็นที่ชัดเจนสำหรับผมว่า รัฐต่างๆ กำลังนิยามตนเองกันใหม่ถึงบทบาทหน้าที่ทั้งหลายของพวกมัน โดยการเพ่งความเอาใจใส่กับคำถามเรื่องความมั่นคงมากขึ้น และระเบียบสาธารณะภายใน เช่นดังที่ Pierre Bourdieu (*) และ Loic Wacquant (**) อ้าง. ตามความคิดของ Thomas Mathiesen (***) เรากำลังเดินทางจากรัฐที่จับตามองผู้คนอย่างกว้างขวาง(panoptic state) ไปสู่รัฐในสถานะที่มีการจับตามองผู้คนอย่างละเอียด(synotic state) ขอบคุณต่อการมีศักยภาพที่ยิ่งใหญ่นั้นเกี่ยวกับการควบคุมที่นำมาให้โดยเทคโนโลยีต่างๆ และข้อมูลอีเล็กทรอนิคที่ได้รับการสร้างขึ้น ซึ่งซ่อนตัวอยู่เบื้อหลังพลเมือง. แต่รัฐทั้งหลายค่อนข้างไกลห่างจากการสูญพันธุ์ บางรัฐกลับเข้มแข็งมากขึ้น

(*)Pierre Bourdieu (August 1, 1930 - January 23, 2002) was an acclaimed French sociologist and writer known for his outspoken political views and public engagement. One of the principal players in French intellectual life, Bourdieu became the "intellectual reference" for movements opposed to neo-liberalism and globalisation that developed in France and elsewhere during the 90's.

His thought exerted an immediate and important ongoing influence in the social sciences, particularly in France, though his rigorous analytical methods were criticised for their deterministic vision.

He used methods drawn from a wide range of disciplines: from philosophy and literary theory to sociology and anthropology. He is best known for his book Distinction: A Social Critique of the Judgment of Taste, in which he argues that judgments of taste were connected to social position (habitus). Notably he combined both theory and verifiable facts in an attempt to reconcile difficulties such as: how to understand the subject within objective structures. In the process, he tried to reconcile the inflluences of both the social background and "free choice" on the individual

(**)Loic Wacquant is a French sociologist, specializing in urban sociology, poverty, and ethnography. Wacquant is currently a Professor of Sociology and Research Associate at the Earl Warren Legal Institute, University of California, Berkeley, where he is also affiliated with the Program in Medical Anthropology and the Center for Urban Ethnography, and Researcher at the Centre de sociologie europeenne in Paris.

(***)Thomas Mathiesen is a norwegian sociologist. Born 5 October 1933. Matheisen was one of the inspirers of the British prisoners movement, Preservation of the Rights of Prisoners (PROP).

T.N. ส่วนใหญ่แล้วผมเห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องที่คุณพูด และผมซาบซึ้งกับงานเขียนต่างๆ ที่คุณยกขึ้นมา ผมคิดเช่นกันว่า รัฐชาติจะไม่สูญสลายไป นั่นเป็นที่แน่นอน มันยังมีหลักฐานว่า ความชัดถ้อยชัดคำเกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆ ของคำบัญชาเรื่องความเป็นสากล และระเบียบสาธารณะภายใน ซึ่งได้ถูกฝึกปรือการออกเสียงโดยรัฐชาติต่างๆ ด้วย ขณะเดียวกันก็ธำรงความต่อเนื่องของมันเอาไว้ แต่เชื่อได้เลยว่าบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของรัฐชาติจำนวนมากจะยังคงเหลือรอด ซึ่งไม่ได้เกี่ยวพันกับความคิดที่ว่า รัฐชาติต่างๆ ยังคงยืนกรานต่อแนวโน้มนี้ หรือที่ว่าพวกมันกำลังเข้มแข็งมากขึ้น ในเชิงตรงข้าม ผมคิดว่าความสัมพันธ์หรือสมาคมของรัฐชาติต่างๆ กระทั่งที่ได้รับการลงทุนโดยการกำกับควบคุมข้ามชาติ จะได้รับการมองในกระบวนการของการทำให้เป็นลำดับชั้นสูงต่ำ และเกี่ยวกับความเป็นพิเศษของ"จักรวรรดิ"

สิ่งที่พูดหมายถึงว่า เรื่องราวของการรับประกันความเป็นสากลเกี่ยวกับระเบียบโลก ได้ถูกกำหนดขึ้นมาในเทอมต่างๆ ที่ไม่อาจย้อนคืนได้อีก. เส้นทางในช่วงสำคัญของประวัติศาสตร์ได้ถูกวางไว้แล้วตอนนี้. มันอยู่ในการไหลบ่าและต้องเผชิญหน้ากับปัญหาดังกล่าว ซึ่งเราต้องสร้างอัตลักษณ์ทางเลือกทางการเมืองและทางทฤษฎีต่างๆ ของเราเองขึ้นมา. แน่นอน คุณอาจจะกล่าวโทษผมในประเด็นนี้เกี่ยวกับความดื้อรั้นและการเป็นเพียงเรื่องเชิงทฤษฎี ซึ่งน่าจะไปให้ความสนใจที่ความเป็นจริงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่า. ถ้าผมทำมัน ผมจะทำมันเพียงสั้นๆ ในการสนทนา แต่ในข้อเท็จจริงผมสามารถยกตัวอย่างหนึ่งขึ้นมาได้ ลองไปดูว่าอะไรเกิดขึ้นในลาตินอเมริกา เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าไปจัดการอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งดูเหมือนจะยิ่งใหญ่มาก ผมสามารถเข้าใจความเชื่อมโยงอันลึกซึ้ง และความเป็นพันธมิตรนั้นระหว่างชนชั้นปกครองและทุนต่างๆ ซึ่งพ้นไปจากรัฐชาติ. แต่เราได้พูดถึงเรื่องนี้ไปมากพอสมควรแล้ว

D.Z. ตามความเห็นผม เราควรคิดถึงเรื่องและปฏิบัติการเกี่ยวกับรูปแบบใหม่ๆ ของดุลยภาพโลก ในนามของลัทธิภูมิภาคแบบหลายขั้ว(multipolar regionalism) ซึ่งสามารถที่จะสร้างสมดุล และลดทอน พร้อมทั้งล้มล้างทำลายยุทธศาสตร์ที่ก้าวร้าวของขั้วอำนาจเดี่ยว อย่างอำนาจจักรพรรดิของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นอิสระจากความอึดอัดหายใจไม่ออกของการเป็นส่วนหนึ่งของแอตแลนติก ยุโรปที่มีความเป็นตะวันตกน้อยและค่อนไปทางเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออก - ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นในความหมายนี้. ในทิศทางดังกล่าว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนืออย่างจีน ซึ่งอยู่ในกลุ่มก้อนแนวคิดขงจื้อที่กำลังเคลื่อนตัวไปอย่างเงียบๆ

T.N. รูปแบบใหม่ๆ ขององค์กรโลกบาลที่เชื่อมต่อกับภูมิภาคต่างๆ หลากหลายขั้วเป็นที่ปรารถนา ตามข้อเท็จจริง อันนี้กำลังเกิดขึ้นแล้วในตลาดโลก ในกระบวนการดังกล่าวได้น้อมนำไปสู่การประกอบสร้างอธิปไตยจักรพรรดิ. ผมไม่อาจเข้าใจได้ถึงสิ่งที่กระบวนการนี้มันดีกว่าอย่างไร ในเมื่อตามความเป็นจริงแล้ว มันคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น. ถ้าทุกสิ่งทุกอย่าง ปัญหาดังกล่าวจะถูกปฏิบัติ จากทุกๆ จุดในจักรวรรดิ เพื่อเปิดให้เห็นภาพฉากหรือแผนการเกี่ยวกับความไม่มั่นคงหรือไร้เสถียรภาพของโลก. เพียงในโครงกรอบนี้เท่านั้น ที่การเปลี่ยนแปลงอันหนึ่งของการปกครองต่างๆ โดยอำนาจครอบงำและการตักตวงผลประโยชน์สามารถเป็นไปได้

เป็นที่แน่ชัดว่า ผมไม่ยอมรับคำว่า"ดุลยภาพ", ผลิตผลของยุคสมัยต่างๆ ทางความคิด. ไม่ว่ามันจะได้รับการรวบรวมขึ้นมาในกรณีต่างๆ เกี่ยวกับภูมิภาคหรือไม่ก็ตาม ในข้อเท็จจริง มันมักจะเกี่ยวพันกับการจัดลำดับชั้นสูงต่ำมากกว่าเรื่องของดุลยภาพ, การมีบทบาทหน้าที่อันหลากหลาย มากกว่าความหลากหลายขั้ว(multifunctionality rather than multipolarity). โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อในสิ่งที่ผมเขียนนี้ สำหรับการประชุม ณ the European Institute of Fiesole, ซึ่งตีพิมพ์ใน Europa politica. Ragioni di una necessity, a cura di H. Friese, A. Negri, P. Wagner, Manifestolibri, 2002. นี้คือสิ่งที่มีอยู่ในกรอบโครงเรื่อง"จักรวรรดิ", สหภาพยุโรปอาจเป็นภูมิประเทศในปฏิบัติการทำลายล้างหน้าที่เกี่ยวกับระเบียบโลก. แต่บทบาทหน้าที่นี้ สามารถได้รับการสร้างสรรค์และแพร่ขยายจากฐานล่างเท่านั้น, ทำให้การเมืองมหาชน(multitudes)ขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ ยกตัวอย่างเช่น ผมศรัทธาในพลังประชาธิปไตยในสถาบันต่างๆ ของประชาชนอเมริกัน อย่างน้อยที่สุดมากกว่าที่ผมมีศรัทธาต่อชนชาวยุโรป

D.Z. ผมขออนุญาตเสริมว่า ดุลยภาพแบบหลายขั้วคือเงื่อนไขหนึ่งสำหรับกฎหมายระหว่างประเทศ ในปฏิบัติการเล็กๆ อันหนึ่งของบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับผลที่ตามมาในเชิงทำลายล้างส่วนใหญ่ของสงครามสมัยใหม่. เงื่อนไขอันนั้นสำหรับระบบบรรทัดฐานระหว่างประเทศ ที่ยังผลต่อพิธีกรรมและบรรจุภัณฑ์ของการใช้ประโยชน์อำนาจกองทัพ, เกี่ยวกับการยอมจำนนต่อการดำเนินงานที่กำหนดไว้แล้ว และต่อกฎเกณฑ์ทั่วๆ ไป, ที่ซึ่งไม่มีหัวข้อหรือประเด็นเกี่ยวกับระเบียบการดังกล่าวที่ควรเกี่ยวข้องกับตัวของมันเอง หรือถูกพิจารณาโดยชุมชนนานาชาติ ดังเช่น legibus solutus (not bound by the laws - ไม่ถูกผูกมัดโดยกฎหมายต่างๆ), อันเนื่องมาจากพลังอำนาจที่ครอบอยู่ของมัน. กล่าวอีกนัยหนึ่ง ใครสักคนต้องการให้"การก่อรูปก่อร่างจักรพรรดิ"ถูกล้มเลิกไป. จักรวรรดิและกฎหมายระหว่างประเทศ ก็ได้รับการปฏิเสธหรือคัดค้านโดยอีกคนหนึ่ง

T.N. คิดว่าสิ่งที่คุณพูดมาทั้งหมดเป็นความจริง นั่นคือ จักรวรรดิและกฎหมายระหว่างประเทศ ความสงสัยเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเยือกเย็นในเชิงนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ UN. มีงานอยู่จำนวนมากรายรอบการเสริมพลังขึ้นใหม่ๆ ขององค์การสหประชาชาติ และการสร้างประชาสังคมโลก(a global 'civil society') ในฐานะการพูดคุยที่มีศักยภาพเกี่ยวกับอธิปไตยในเรื่องของระเบียบโลกใหม่… กระทั่งธนาคารโลก ที่มักใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ ซึ่งแตกต่างจากสถาบันโลกบาลอื่นๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะทำให้เรื่องของการมีส่วนร่วม และระบบบรรทัดฐานสากลกระชุ่มกระชวยขึ้นนั้น (ในความหมายของ Westphalian - หรือ แนวคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐชาติ) มิได้มีผลใดๆ. แม้กระทั่งเมื่อมันดำเนินการไปในทิศทางที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับสิทธิอัตบุคคลของพลเมือง และประชาชาติต่างๆ, เกี่ยวกับกลุ่มและสมาคมทั้งหลาย เหมือนตัวอย่างในกรณีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของศาลโลก, ลัทธิปฏิรูปทางกฎหมายที่มีชัยเหนือกฎหมายระหว่างประเทศแบบคลาสสิค. เพียงบนพื้นที่นี้เท่านั้นที่เราสามารถจะต่อสู้ได้

D.Z. หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา สถานการณ์เกี่ยวกับภาวะการไร้สมดุลระหว่างประเทศได้เพิ่มเติมขยายตัวขึ้น. ยุทธศาสตร์อำนาจนำเกี่ยวกับสงครามถาวร โดยปราศจากเขตแดนหรือภูมิประเทศ หรือเส้นตายชั่วคราว ส่วนมากแล้วลึกลับและค่อนข้างไร้การควบคุมกว่าที่เป็นมา บนพื้นฐานของสิทธิสากลที่ได้รับการยืนยันรับรอง. ไม่เคยเลยเช่นดังทุกวันนี้ กองทัพชนชั้นสูงทางการเมืองของตะวันตก ดูเหมือนว่าจะตระหนักว่า เพื่อที่จะประกันความมั่นคงปลอดภัยและความอยู่ดีกินดีของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ มันมีความจำเป็นที่จะมีปฏิบัติการกดดันเพิ่มมากขึ้นกับโลกใบนี้ทั้งใบ. ตอนนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า สงครามในอัฟกานิสถาน เป็นเพียงการเริ่มต้นของสงครามทั้งหมดที่ต่อสู้กับฝ่ายซึ่งถูกเรียกว่าแกนแห่งความชั่วร้าย แน่นอน อิรักถูกโจมตีด้วยเช่นกัน ในฉากหรือแผนการเกี่ยวกับผู้มีศักยภาพในเชิงที่ขัดแย้งสูง

ชนปาเลสติเนียนยังคงถูกประหารอย่างโหดเหี้ยม โดยลัทธิอาณานิคมของจักรพรรดินิยมไซออนิสท์, ในทัศนะของผม วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ไปไกลยิ่งกว่าการปราบปรามลัทธิก่อการร้ายโลก. จุดประสงค์ของอภิมหาอำนาจอเมริกันคือ การรวมนำเอาโลกทั้งใบให้มาอยู่ใต้อำนาจนำของเขา เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของตัวมันเอง และการมีเสถียรภาพในใจกลางของเอเชียกลาง(อันเป็นแหล่งพลังงาน). โครงการดังกล่าวนำมาซึ่งการควบคุมทรัพยากรด้านพลังงานจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ในสาธารณรัฐต่างๆ ของอดีตสหภาพโซเวียตในแถบคอเคเชียน, คาสเบียน, และทรานสเคเชียน และเหนือขึ้นไปทั้งหมดอย่างสมบูรณ์รายรอบสหพันธรัฐรัสเซียทางตะวันตก และจีนทางตะวันออก

ถัดจากนั้น มุมมองเกี่ยวกับการเริ่มต้นใหม่ โดยเฉพาะ ยุทธศาสตร์อาณานิคมใหม่ที่ก้าวร้าว ที่ถูกให้เหตุผลโดยความต้องการต่อสู้กับลัทธิก่อการร้าย ซึ่งคือภาวะเร่งด่วนที่น่าตกใจทุกวันนี้. ในระหว่างนั้น ต้องขอบใจต่อตลาดต่างๆ ของโลกาภิวัตน์ สถานการณ์อันเลวร้ายที่แบ่งแยกประเทศที่ร่ำรวยและมีอำนาจ จากประเทศที่ยากจนและอ่อนแอให้ถ่างกว้างขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน. ผู้คนกว่าหนึ่งพันล้านดำรงชีวิตอยู่ในความยากจนสมบูรณ์แบบ ขณะที่ผู้คนอีกหนึ่งพันล้านอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ของความสุขสบายเพิ่มขึ้น ในโลกที่มีขีดจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ ที่มีการจัดการมากขึ้นตามลำดับ. จากจุดยืนทางความคิดเห็นนี้ ผมไม่เห็นช่องทางใดๆ ในเชิงประวัติศาสตร์วิภาษวิธีที่เป็นภววิสัยใดๆ ซึ่งจะมาทำให้การเอาชนะระเบียบโลกปัจจุบันสามารถเป็นไปได้ง่ายเลย

T.N. แต่คำถามคือ ใครกำลังมองดูประวัติศาสตร์วิภาษวิธีนั้น ? (ซึ่งคุณได้อธิบายถูกต้องแล้ว ไม่มากก็น้อย) ผมเพียงเห็นแต่ความต้องการที่จะต่อต้านลัทธิทุนนิยม ซึ่งมีลักษณะปรสิตและนักล่ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยอ้างความชอบธรรมของตัวมันเอง และสำหรับรัฐดังกล่าวรวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือจักรพรรดิที่มันได้ถูกบ่งชี้จนกลายเป็นพื้นฐานอย่างสมบูรณ์ของสงคราม. Foucault และ Deleuze ได้สาธยายมามากพอเกี่ยวกับเรื่องระบอบของการมีวินัย(ในปัจเจกชน)เกี่ยวกับลัทธิทุนนิยมคลาสสิค เราได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การควบคุมระบอบต่างๆ (เกี่ยวกับประชากร)ของลัทธิทุนนิยมที่สุกงอมเต็มที่ ทุกวันนี้ มันคือชนิดหนึ่งของสงครามความชอบธรรมแบบบูรณาการ

ความทุกข์ยากและจินตนาการต่อแต่นี้ไป ไม่เพียงจะคงอยู่ แต่ยังถูกผลิตซ้ำโดยสงครามจักรพรรดิต่างๆ อย่างต่อเนื่อง. ขอบเขตใหม่ๆ ทั้งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และเชื้อชาติ จะถูกกำหนดโดยสงครามจักรพรรดิ. ปัญหาของผมในการเผชิญหน้ากับทุกสิ่งเหล่านี้ก็คือ การทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นการต่อต้านสงคราม, ความทุกข์ยาก, การตักตวงผลประโยชน์ที่ใช้การได้. สำหรับภูมิศาสตร์ของคุณเกี่ยวกับการครอบงำ, อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้รวมตัวกันขึ้นมา จะต้องถูกต่อต้าน ไม่ยอมรับ

ในโครงสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับการต่อต้าน นั่นคือ รองผู้บัญชาการมาคอส(ของกลุ่มซาปาติสต้า) คือจากจุดยืนความคิดเห็นนี้ มีความสำคัญยิ่งกว่าการปฏิวัติอเมริกันทั้งหมดในกิจกรรมต่างๆ ของกองทัพ. สิ่งที่กระตุ้นความสนใจผมคือ "เดวิด"ที่เผชิญหน้ากับ"ยักษ์โกไลแอด", เกี่ยวกับยักษ์โกไลแอดจักรพรรดิแต่ละตน นั่นคือ กองทัพจะเรียกขานมันว่า "การต่อต้านในแบบอสมมาตร"(the resistance of the asymmetric). สำหรับเหตุผลนี้ กรอบการต่อต้านระดับโลกจะกลายเป็นอำนาจอันยิ่งใหญ่ เพราะว่า ปฏิบัติการล้อมรั้วอย่างต่อเนื่องและอย่างไม่ผ่อนปรนที่กองทหารของจักรพรรดิสร้างขึ้น, ในพื้นที่อิสระของโลกาภิวัตน์ ที่ชอนไชและกอดประสานกันผ่านการอพยพหลั่งไหลครั้งใหญ่และการต่อต้าน สามารถจะถูกพบเห็นได้เสมอ

4. การปฏิวัติของการเมืองมหาชน
(The revolution of the multitude)


D.Z. ผมเสนอให้สรุปการสนทนาของเราโดยการไปทำความรู้จักกับเรื่องท้ายสุด นั่นคือ คำถามเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่คุณและ Hardt ปรารถนาจะปฏิวัติภายในหนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire). ผมใช้ศัพท์คำว่า"ปฏิวัติ"ในฐานะที่มันมีนัยสำคัญเชิงมานุษยวิทยา เมื่ออันนี้เป็นความเข้าใจ ผมคิดถึงสิ่งที่นำมาซึ่งโครงการคอมมิวนิสท์ของคุณ. ในเชิงคลาสสิค คุณคิดถึงการเปลี่ยนผ่านในโลกที่ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ยังสัมพันธ์กับเรื่องทางด้านวัฒนธรรมและจริยธรรมด้วย

T.N. นอกจากการคิดถึงปฏิวัติในเชิงจริยธรรมและการเมือง เรายังคิดถึงมันในเทอมของการเปลี่ยนแปลงในเชิงมานุษยวิทยาอย่างลึกซึ้งด้วย นั่นคือ เกี่ยวกับการคลุกเคล้าและผสมผสานกันอย่างต่อเนื่องของประชากร, เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปทางชีวการเมือง. ภูมิประเทศแรกของการต่อสู้ จากจุดยืนความคิดนี้ สิทธิสากลจะขยับเขยื้อน ทำงานและเรียนรู้เรื่องของผิวหน้าโลกทั้งมวล. การปฏิวัติที่เรามองเห็นมิใช่เพียงในจักรวรรดิ แต่ยังผ่านจักรวรรดิด้วย. มันไม่ใช่บางสิ่งที่ต่อสู้กับพระราชวังฤดูหนาว(Winter Palace)(*) แต่ได้ถูกทำให้แผ่ขยายไปสู่โครงสร้างที่เป็นศูนย์กลางและชายขอบของอำนาจ เพื่อทำให้พวกมันว่างเปล่าและลบล้างสมรรถภาพทางการผลิตจากทุน

(*)Winter Palace : Located between the Palace Embankment and the Palace Square, the Winter Palace or Zimniy Dvorets in Saint Petersburg, Russia was built between 1754 and 1762 as the winter residence of the Russian tsars. In July, 1917, the Provisional Government took up residence in the Hermitage Winter Palace, laying the foundation for the October Revolution. The Bolshevik government eventually transferred its capital to Moscow. Since that time, the Winter Palace has served as the renown Hermitage Museum.

D.Z. คุณได้ตั้งชื่อคนที่จะทำการปฏิวัตินี้ในหนังสือจักรวรรดิว่า"มหาชน"('multitude'). ผมพูดถึง"การใช้ชื่อ" การแสดงออกนี้ โดยเจตนาในเชิงวิพากษ์ นั่นคือ "มหาชน"(multitude) สำหรับผมแล้ว คำนี้คือแนวคิดที่ลื่นไหล ดูเหมือนจะเป็นศัพท์ที่ดูแย่สุดของคลังแสงทางความคิดทั้งหมดในหนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"นี้ ไม่มีที่ไหนเลยในหนังสือของคุณที่ได้ให้นิยามความหมายในเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับศัพท์คำดังกล่าว' - บนพื้นฐานของการจัดหมวดหมู่ทางสังคมวิทยาการเมือง - ที่อาจช่วยให้ผู้อ่านระบุถึงคนรวมหมู่ในบริบทสังคมวิทยาการเมืองนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม มันได้เปิดทางไปสู่เรื่องของโลกาภิวัตน์. ในส่วนของการวิเคราะห์หลายหน้ากระดาษมากของหนังสือ(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน้า 329-343)

คนอ่านพบว่า มันได้ช่วยยกระดับและเน้นถึงพลังอำนาจของมหาชน - พลังอำนาจดังกล่าวเป็นไปในลักษณะของการมีอยู่, ความรัก, การเปลี่ยนแปลง, การสร้างสรรค์ - และแรงปรารถนาของมันเกี่ยวกับ"การปลดปล่อย"(emancipation). ผมเกรงว่า ในที่นี้คุณกำลังเป็นหนี้บุญคุณต่อแนวคิดเรื่องของบุคคลที่จะมาโปรดของมาร์กซิสท์(Marxist messianism) [messianism] (*) และการทำให้การเมืองที่ยิ่งใหญ่เข้าใจง่าย

"มหาชน"(multitude) ตามที่ปรากฎ สำหรับผมแล้วคือสาระสำคัญที่สืบทอดจาก ความค่อยๆ จืดจางไปอันหนึ่งของคำว่า"ชนชั้นกรรมาชีพ"(proletariat) ในช่วง 1800, ชนชั้นที่มาร์กซ์ได้เปลี่ยนไปสู่ผู้สร้างโลกของประวัติศาสตร์ (demiurge of history) (**). ผมพูดเรื่องนี้ด้วยความรู้สึกขื่นขมและไม่ต้องการผันไปสู่การเสียดสี

(*)Messianism is any field of philosophy which concerns itself with the interpretations of stories about a world hero or the establishment of an utopia. The four most common topics of messianism are the Messiah, the Saoshyant, the Maitreya, and the Kalki found in Christianity, Judaic adventism/Zionism and Islam, Zoroastrianism, Buddhism, and Hinduism respectively, though Marxism and many other fields also present messianisms.

(**)demiurge - A powerful creative force or personality.

T.N. ถูกต้องทีเดียวในการตำหนิเรื่องของการขาดเสียซึ่งนิยามความหมายในเชิงวิเคราะห์มากพอ เกี่ยวกับคำว่า"มหาชน"(multitude)ในเรื่องจักรวรรดิ. ผมมีความสุขในการถูกคุณวิจารณ์ ยิ่งไปกว่านั้นตอนที่ Hardt และผมเสร็จสิ้นจากการคิดศัพท์คำนี้มาใช้ในช่วงนั้น ผมเชื่อว่าอย่างไรก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับ"มหาชน" ในหนังสือสามารถได้รับการทำความเข้าใจได้ อย่างน้อยที่สุดในมุมมอง 3 ประการ

แนวคิดเกี่ยวกับ"มหาชน"(multitude) 3 ประการ
ประการแรก, คือการเถียงกับแง่มุมนิยามความหมาย 2 อย่างที่ได้ให้ไว้เกี่ยวกับประชากรต่างๆ ที่แทรกอยู่ในกรอบของอธิปไตยในความเป็นสมัยใหม่ นั่นคือ "ผู้คน"และ"มวลชน"(people and mass). เราคิดว่า "มหาชน"(multitude) ก็คือความหลากหลายของคนเป็นคนๆ (multiplicity of singularities), ที่ไม่สามารถค้นพบตัวแทนความเป็นเอกภาพได้ กล่าวคือ

- "ผู้คน"(people) ในด้านหนึ่งนั้นมีความเป็นเอกภาพเทียม(artificial unity) ที่รัฐสมัยใหม่ต้องการ ในฐานะที่เป็นพื้นฐานของนิยายเกี่ยวกับความชอบธรรม(the fiction of legitimation);

- ในขณะที่"มวลชน"(mass)คือแนวคิดหนึ่งซึ่งในทางสังคมวิทยาที่เป็นจริงทึกทักว่า เป็นพื้นฐานของแบบแผนทุนนิยมของการผลิต (ทั้งในภาพของเสรีนิยมและสังคมนิยมเกี่ยวกับการจัดการทุน) ในทุกกรณี มันคือเอกภาพที่ไม่แตกต่างกัน

- ในอีกด้านหนึ่ง สำหรับเรา "มนุษย์"คือ "คนเป็นคนๆ" (men are singularities), มหาชนของคนๆๆๆๆ (a multitude of singularities).

ประการที่สอง, ความหมายที่สองเกี่ยวกับมหาชน(multitude) ได้รับมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เราต่อต้าน ไม่ให้การยอมรับเรื่องชนชั้น. ตามสาระที่เป็นจริง จุดยืนของสังคมวิทยาที่รื้อสร้างกันใหม่เกี่ยวกับแรงงาน, คนงานได้นำเสนอตัวของเขาเองเพิ่มขึ้นในฐานะคนที่มีภาระและความสามารถที่ทำการผลิตสิ่งซึ่งไม่ใช่เรื่องวัตถุ. เขาได้ปรับใหม่เกี่ยวกับการเป็นเครื่องไม้เครื่องมือหรือแรงงาน. ในการเป็นแรงงานผลิตที่มิใช่วัตถุ เครื่องไม้เครื่องมือนี้คือสมอง (และในหนทางนี้ หลักวิภาษวิธีเฮเกเลียนเกี่ยวกับเครื่องมือ(instrument) ได้ถูกทำให้สิ้นสุดลง). ความสามารถพิเศษนี้สำหรับแรงงาน ได้สร้างคนงานทั้งหลายขึ้นมาในความเป็น"มหาชน" มากกว่าเป็นเรื่อง"ชนชั้น". ผลที่ตามมา ในที่นี้ เราได้พบภูมิประเทศที่สามของนิยามความหมาย ซึ่งเป็นเรื่องการเมืองโดยเฉพาะมากกว่า

ประการที่สาม, เรายอมรับ"มหาชน"ในฐานะที่เป็นพลังอำนาจทางการเมือง(sui generis))(*): คือการยอมรับในตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ในความสัมพันธ์กับมหาชนเกี่ยวกับความพิเศษหรือความเป็นเอกเทศต่างๆ(singularities), การจัดหมวดหมู่ทางการเมืองใหม่นี้จะต้องได้รับการนิยาม. เราคิดว่า การจัดหมวดหมู่ใหม่เหล่านี้จะต้องได้รับการระบุลงไปโดยผ่านการวิเคราะห์เกี่ยวกับส่วนรวม(common) มากกว่าโดยผ่านสมมุติฐานเกี่ยวกับเอกภาพ(unity). แต่นี่ไม่ใช่ที่ทางที่จะล้ำหน้าไปไกลใดๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ กล่าวคือ ผมพูดถึงเรื่องนี้อย่างค่อนข้างที่จะย้อนแย้ง

(*)Sui generis is a Neo-Latin expression, literally meaning of its own kind/genus or unique in its characteristics

D.Z. ในความเห็นผม หนังสือของคุณได้ทิ้งปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับพื้นที่ใหม่ๆ และประเด็นใหม่ๆ เกี่ยวกับการแข่งขันกันในระดับโลกที่ไม่อาจแก้ไขได้เอาไว้ ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ"การทำสงครามรูปแบบใหม่" ที่อ้างโดย Marco Revelli (นักประวัติศาสตร์และสังคมวิทยาอิตาเลียน) (*). การบ่งชี้ของคุณดำเนินไปในทิศทางของการฟื้นคืนการต่อสู้ทางการเมืองในระดับสากล(ระดับโลก) หลังจากการสูญเสียความหมายและความมีประสิทธิภาพ กี่ยวกับการหมั้นหมายกับสถานการณ์ทางการเมืองแบบรัฐชาติ. แต่สำหรับผมแล้วมันดูเหมือนว่า คุณมิได้ให้ความสนใจมากพอกับเรื่องราวของการทำให้ไม่ใช่เรื่องการเมืองของโลก(depoliticization) โดยอาศัยพลังอำนาจมหาศาลของเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Massimo Cacciari (นักปรัชญาและนักการเมืองอิตาเลียน) (**) ได้ยืนยันในงาน Duemilauno. Politica e futuro ของเขา

(*)Marco Revelli (Cuneo, December 3 1947) is a historian and sociologist Italian.
(**)Massimo Cacciari (born June 5, 1944) is an Italian philosopher and politician, currently mayor of Venice, Italy.

ในทางกลับกัน มีอยู่หลายหน้าในหนังสือของคุณที่ดูเหมือนว่าถูกทำให้มีชีวิตชีวาโดยความชื่นชอบกับเรื่องเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม - แรงงานนิยม, ที่ใครสักคนอาจกล่าว - ในความสัมพันธ์กับเครือข่ายทางสังคม ในการใช้พจนานุกรมของ Manuel Castells (*). ราวกับว่า สำหรับคุณแล้วการปฏิวัติเทคโนโลยีและข่าวสารข้อมูล คือทิศทางตามพรหมลิขิตของการปฏิวัติคอมมิวนิสท์ในระยะเวลาอันใกล้

(***)Manuel Castells (full Spanish name: Manuel Castells Oliv?n; born 1942 in Hell?n, Albacete, Spain) is a sociologist associated particularly with research into the information society and communications. According to the Social Sciences Citation Index's survey of research from 2000 to 2006, Castells was ranked as the fifth most cited social sciences scholar and the foremost cited communications scholar in the world.

T.N. เราได้ให้ความสนใจอย่างมากต่อการปฏิวัติข่าวสารข้อมูล ในเชิงหลักฐาน นี่เป็นเพราะเรายังคงเป็นมาร์กซิสท์และเชื่อว่า ถ้าหากว่ากฎเกณฑ์เรื่องคุณค่ามันไม่ทำงาน หรือใช้ไม่ได้เช่นเดียวกับกฎว่าด้วยมาตรวัดเกี่ยวกับพัฒนาการของทุนนิยม แต่อย่างไรก็ตาม แรงงานยังคงความภาคภูมิในความเป็นมนุษย์ และเป็นแก่นสารของประวัติศาสตร์. การปฏิวัติเทคโนโลยีและข่าวสารข้อมูลได้ทำให้ความเป็นไปได้สำหรับพื้นที่ใหม่ๆ ของอิสรภาพ และเสรีภาพ. ณ ช่วงขณะนี้ มันได้กำหนดรูปแบบใหม่ๆ ของความเป็นทาสขึ้นมาด้วย

แต่การปรับตัวใหม่ให้เหมาะสมเกี่ยวกับคนงานในเรื่องเครื่องมือ, การเพ่งความเอาใจใส่ด้วยการประคับประคองและการประสานร่วมมือกันของคนงานความรู้(cognitive workers) การแผ่ขยายทางความรู้ และความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในกระบวนการผลิต, ทั้งหมดนี้ได้ไปกำหนดเงื่อนไขทางวัตถุใหม่ๆ ที่จะต้องได้รับการพิจารณาในเชิงบวกจากทัศนียภาพของการเปลี่ยนแปลง. ปัญหาเกี่ยวกับองค์กรทางการเมือง มาถึงตอนนี้ ต้องเกี่ยวข้องกับมหาชน(multitude), ขนานไปกับการพัฒนาของสหภาพแรงงานและพรรคสังคมนิยมที่เกี่ยวพันกับผู้คนทั้งหลายในชนชั้นกรรมาชีพที่แตกต่างและประสบความสำเร็จ

การทำให้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง(depoliticization)ของโลกที่ปฏิบัติการโดยพลังอำนาจมหาศาล มิใช่ปฏิบัติการในเชิงลบเท่านั้น เมื่อมั่นถูกมุ่งหมายให้ไปกำจัดและ/หรือเปิดโปงอำนาจเก่าและรูปแบบต่างๆ ของตัวแทนที่มิได้เป็นสิ่งที่ใช้อ้างอิงได้จริงอีกต่อไปแล้ว. ทุกวันนี้คือช่วงขณะของการตีความ"ภาคส่วนใหม่"(new part) ยกตัวอย่างเช่น "ทุกสิ่ง/ทั้งหมดใหม่"(new everything/all) (nuovo tutto) เกี่ยวกับคนงานทั้งหลาย. ด้วยความเบื่อหน่าย, ใครสักคนอาจพูดถึงซ้ายใหม่ว่า ปัญหาของมันก็คือ ลึกซึ้งมากเกินไปและเป็นมุมมองที่อับโชค สิ้นหวัง. แต่วันเวลากำลังเดินรุดหน้าไป

D.Z. ในทัศนะของผม การรับเอาคำว่า"มหาชน"(multitude)มาใช้ของคุณ เป็นการยืนยันถึงการต่อต้านลัทธิปัจเจกชนนิยมทางการเมืองอย่างสุดขั้วด้วย. หนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ" นำมาซึ่งการปฏิเสธจารีตเกี่ยวกับปัจเจกชนนิยมที่ครองอยู่. แต่ผมไม่เชื่อว่าอันนี้จะส่งผลให้เกิดการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวจารีตเสรีนิยมประชาธิปไตยของชนยุโรปได้ ตราบเท่าที่ กระทำการโดยผ่านแนวคิดเกี่ยวกับมหาชน(multitude)ที่ถูกเรียกว่าอย่างนั้น, a la Spinoza, ประชาธิปไตยสัมบูรณ์(an 'absolute democracy'). ดังที่ Spinoza, ปัญหาของพวกเขาไม่ใช่นำเอาปัจเจกชนแต่ละคนมารวมกัน แต่ค่อนข้างเป็นการตีความหรือมีความหมายว่า คือหนทางของการประสานร่วมมือกัน เป็นรูปแบบหรือเครื่องมือต่างๆ ของผู้คนที่มารวมกัน และน้อมนำไปสู่การตระหนักถึงการรวมตัว(ในเชิงภววิทยา). จากน้ำสู่อากาศถึงผลผลิตด้านข่าวสารของเครือข่าย นี่คือภูมิประเทศที่อิสรภาพวางอยู่ แต่คำถามคือ ผู้คนจะรวมตัวกันอย่างไร?

...แม้ว่าผมสามารถไขว่คว้า จับเอาความกล้าและความคิดริเริ่มในเชิงทฤษฎีของคุณได้ ที่แสดงให้เห็นในการเผชิญหน้ากับใจความสำคัญ แต่มันก็ยังยากอยู่ดีในทัศนะของผม ผมไม่รู้สึกพอใจกับข้อเสนอต่างๆ เกี่ยวกับชนเผาเร่ร่อน และเรื่องพันธุ์ผสม('nomadism' and of 'miscegenation') ในฐานะที่เป็นเครื่องมือต่างๆ ของการต่อสู้ทางการเมืองระดับโลก(ระดับสากล) ที่จะสำเร็จผลได้ได้ในรูปหนอนกาฝากของจักรวรรดิ. ชนเผ่าเร่ร่อนและพวกพันธุ์ผสม ที่คุณอ้าง คืออาวุธต่างๆ ที่นำมาใช้ต่อสู้กับการตกอยู่ใต้อำนาจหรือในสังกัดของอุดมการณ์ปฏิกริยาอย่างเช่นรัฐชาติ, ชาติพันธุ์, ผู้คน, และเชื้อชาติ(nation, ethicity, people and race)

มหาชน(The 'multitude')กลายเป็นพลังอำนาจ ซึ่งต้องขอบคุณต่อความสามารถในการไหลเวียนของมัน, การนำ, และการเจือปน. ผมมีแนวโน้มไปในทางความคิดที่ว่า ในทัศนะของคุณนั้น ณ ที่นี้ การประเมินที่ต่ำกว่าความเป็นจริงที่ว่า ชนเร่ร่อน, พวกพันธุ์ผสม, และวัฒนธรรมผสมผสาน(cultural creolisation) คือผลต่างๆ ของการหลั่งไหลอันยิ่งใหญ่ของการอพยพที่ได้รับการโน้มน้าวโดยความสูญเปล่านานาชาติที่เพิ่มขึ้นของอำนาจและความมั่งคั่ง. Serge Latouche (*) (นักเศรษฐศาสตร์และปรัชญาชาวฝรั่งเศส) อ้างว่า เนื่องจากผลของการทำให้ไร้ราก, การทำให้ไร้ซึ่งวัฒนธรรม, และการทำให้ไร้ซึ่งเขตแดนหรือพื้นที่('deculturation', 'deterritorialisation and planetary 'unrootedness' effects), ใครสักคนอาจพูดคุยถึงความล้มเหลวที่แท้จริงของโครงการเกี่ยวกับการทำให้เป็นสมัยใหม่(modernisation), เกี่ยวกับการตรวจสอบเรื่องของความเป็นสากลนิยมแบบโพมีเทียน(Promethean universalism)ของมัน (การสร้างสรรค์อย่างกล้าหาญ และมีความคิดริเริ่มที่ท้าทาย) (**)

(*)Serge Latouche (Vannes, January 12 1940) is an economist and philosopher French.
It is one of the leaders of La Revue du MAUSS, president of "La ligne d'horizon ', is Professor Emeritus of Economics at' University of Paris XI. It is among the best known opponents of 'westernisation of the planet and a supporter degrowth convivial and localism.

It is among the best known opponents of 'westernisation of the planet and a supporter degrowth convivial and localism. Known for his work on economic anthropology, Serge Latouche criticized the concept of economy understood in a formal way, that is as activities mere choice between scarce resources in order to achieve an end. Rifacendosi in tal senso al pensiero di Karl Polanyi egli mira a proporre nelle sue opere il concetto dell' economico , rifacendosi alla definizione di economia sostanziale , intesa, come attivit? in grado di fornire i mezzi materiali per il soddisfacimento dei bisogni delle persone. Referring to that effect at the thought of Karl Polanyi he intended to propose in his works the concept of 'economic, referring to the definition of substantial economy, understood, as an asset that can provide material resources to meet the needs of people.

(**) Boldly creative; defiantly original.

T.N. ผมถูกอกถูกใจมากต่อความรู้สึกของคุณ ด้วยความกระตือรือร้นในเชิงทฤษฎีมากพอ ความมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับงานนิพนธ์ของเราในเรื่องของชนเร่ร่อน และพวกพันธุ์ผสม ผมคิดว่าสามารถตีความตามคำพูดในแนวนี้ของคุณได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินของคุณถูกโน้มเอียงไปในลักษณะมองโลกในแง่ร้าย บ่อยทีเดียว ผมได้พบกับ Serge Latouche เกี่ยวกับประเด็นปัญหาข้างต้น และต้องขอบอกกับคุณว่า แม้ว่าผมจะไม่ยอมรับตำแหน่งแห่งที่ของเขา มิใช่เพราะว่าไม่ยอมรับ มันเป็นความจริงในหลายๆ กรณี แต่เป็นเพราะว่ามันเต็มไปด้วยมิติที่รับเอาทุกอย่าง และเป็นมิติความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมเราจักต้องเยาะเย้ยเรื่องความเป็นสากลแบบโพมีเทียน(promethean universalism) ที่สร้างสรรค์และท้าทาย ซึ่งตามข้อเท็จจริง ผู้คนทั่วโลกกำลังดำเนินไป, บรรดาผู้อพยพเดินทางเพื่อค้นหาความหวัง ผมไม่คิดว่าบรรดาผู้อพยพเพียงต้องการหนีให้พ้นจากความทุกข์ทน ผมคิดว่าพวกเขายังค้นหาอิสรภาพด้วย รวมถึงการแสวงหาความรู้และความมั่งคั่งร่ำรวย

ความปรารถนาเป็นพลังสร้างสรรค์ และนั่นคือคนที่แข็งแรงทั้งหมด เมื่อผุดมาจากรากเหง้าของความยากจน กล่าวคือ "ความจน" ในข้อเท็จจริง มิใช่ความทุกข์ยากอย่างง่ายๆ แต่มันคือความเป็นไปได้ของสิ่งต่างๆ มากมายด้วย ซึ่งความปรารถนาตั้งเป้าและแรงงานได้ผลิตขึ้น. ผู้อพยพมีความภาคภูมิและทรงเกียรติ พวกเขาคือคนที่แสงหาความจริง, ทำการผลิต, และแสวงหาความสุข. นี่คือความแข็งแกร่งที่จะหยุดยั้งความสามารถของศัตรูเกี่ยวกับความโดดเดี่ยวและการตักตวงผลประโยชน์ และการขจัด พร้อมกับคาดการณ์เกี่ยวกับลัทธิโพมีเทียนิสม์(prometheanism), ความกล้าหาญ และ/หรือ ในเชิงทฤษฎีโน้มสู่พฤติกรรมเกี่ยวกับความจนและการล้มล้าง. ถ้าลัทธิโพมีเทียนิสม์ของคนจนและของบรรดาผู้อพยพเป็นเกลือของแผ่นดิน หากเป็นเช่นนั้น โลกใบนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปโดยชนเร่ร่อนและพวกพันธุ์ผสม

D.Z. ผมใคร่จะถามคุณว่า ท้ายที่สุด แม้ว่าผมตระหนักถึงความยากยิ่งเกี่ยวกับคำตอบ - แต่อะไรคือรูปแบบเชิงสถาบันต่างๆ และแบบนิยมบรรทัดฐานของสิ่งซึ่งคุณเรียกว่า"การเผชิญหน้าหรือการเป็นปรปักษ์กับจักรวรรดิ" ยกตัวอย่างเช่น องค์กรการเมืองทางเลือกเกี่ยวกับการอพยพหลั่งไหลครั้งใหญ่ และการแลกเปลี่ยนกันไปมาทั้งโลก ? อันนี้คือองค์กรทางการเมืองที่คุณอ้างว่าเป็น"อำนาจเชิงสร้างสรรค์ของมหาชน" ที่สามารถสร้างขึ้นได้โดยตัวมันเอง. มันประกอบตัวขึ้นมาจากอะไร ในเชิงรูปธรรม? ทั้งหมดที่ผมอนุมานจากการสำรวจด้วยความระมัดระวังในหน้ากระดาษของคุณก็คือ มันเป็นรูปแบบทางการเมืองจักรพรรดิอย่างหนึ่ง. อันนี้ผมคิดว่า ไม่น่าพอใจเลยทั้งในทางทฤษฎีและในทางการเมือง. แต่อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะมันเป็นลักษณะโรคเกี่ยวกับการยึดมั่นถือมั่นต่อตำแหน่งแห่งที่ของคุณ ซึ่งคล้ายดั่งจะระลึกถึงทฤษฎีมาร์กซ์ในเรื่องความเหี่ยวเฉาของรัฐ

"จักรวรรดิ"ที่เป็นโครงสร้างลักษณะสถาบันซึ่งรัฐต่างๆ และเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่จะได้รับการหลอมละลาย จะตกอยู่ในอาการเฉื่อยชา (otmiranie - เหี่ยวเฉา ร่วงโรย), ดั่งที่เลนินกล่าว. ในบรรทัดนี้ กับออร์โธด็อกมาร์กซิสท์ - จากคำถามของชาวยิวต่อมา - คำสอนทั้งหมดเกี่ยวกับ"สิทธิของรัฐ" และเกี่ยวกับการปกป้องอิสรภาพโดยรากฐานได้ถูกเพิกเฉยในหนังสือของคุณ พร้อมกับประเด็นปัญหาทั้งหลายเกี่ยวกับการเคารพในการเมืองของคนกลุ่มน้อยและการตัดสินใจด้วยตนเองของผู้คนต่างๆ. ในหน้าหนังสือของคุณ พลังอำนาจของมหาชนถูกรับรู้และเข้าใจในฐานะที่เป็นพลังงานที่สำคัญอันไร้ขีดจำกัด เป็นไปทั้งโลกและถาวรมั่นคง นั่นคือ พลังงานร่วม(collective energy)ที่แสดงออกถึง "พลังอำนาจที่กำเนิดขึ้น, มีความปรารถนาและความรัก"

"มหาชน"(multitude) คือชนิดหนึ่งของมดลูกประวัติศาสตร์ จากแหล่งกำเนิดใหม่ของชีวิตและมนุษย์พันธุ์ใหม่จะปรากฏตัวขึ้น "สู่สิ่งที่เรียกว่า homohomo, จัตุรัสมนุษยชาติ, ที่ถูกฟูมฟักขึ้นมาโดยสติปัญญาร่วมและความรักของชุมชน" (p.193). คุณไม่คิดว่าทั้งหมดนี้มันเต็มไปด้วยเรื่องราวของลัทธิศาสดาพยากรณ์หรอกหรือ เกี่ยวกับความคิดความปรารถนาที่ล้นเกิน เพื่อที่จะค้นพบมุมมองที่เป็นรูปธรรมของการต่อต้านและการต่อสู้กับสิ่งทั้งหมดนั้น ดูเหมือนว่าสำหรับผมแล้ว มากเท่าๆ กันกับคุณ มันไม่อาจยอมรับได้ในโลกที่เป็นโลกาภิวัตน์ดังที่เราอาศัยอยู่นี้

T.N. ผมไม่รู้ว่าจะตอบคำถามสุดท้ายของคุณอย่างไร ผมเกือบๆ รู้สึกเบื่อหน่าย เราเสนอเรื่องการเผชิญหน้าการรับรู้ต่างๆ และความคิดที่ตายตัวต่างๆ มากกว่าบรรทัดของการถกเถียงในเชิงเหตุผล. แน่นอน คุณได้ศึกษา"ความเหี่ยวเฉาของรัฐ"ในมาร์กซิสท์คลาสสิคมากกว่าที่ผมทำ ซึ่งผมสนใจเอาใจใส่ในปัญหาต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงมากกว่า. ในการบอกกับคุณว่า ทั้งหมดนี้ดูเหมือนว่าสำหรับผมแล้วมันค่อนข้างน่าขัน ผมคิดว่าผมสามารถเห็นพ้องต้องกันกับคุณได้ แต่อย่างไรก็ตาม คิดว่าคำสอนทั้งหมดเกี่ยวกับ"สิทธิของรัฐ" มันเป็นสิ่งงอกเงยขึ้นมาที่เก่ามาก และคนเราต้องการให้มือของเขาไปจับต้องแก่นของอิสรภาพ เว้นแต่ว่าพวกเขาต้องการที่จะลงเอยเหมือนกับคนจำนวนมาก ดังที่ Don Ferrantes (*) ที่เก็บรักษาความเป็นปรัชญาเอาไว้ในความว่างเปล่าของความหมาย

(*)Don Ferrante คือปัญญาชนลวงและนักวิชาการที่เฉลียวฉลาด ซึ่งเชื่อว่าโรคระบาดรุนแรงมีสาเหตุมาจากพลังอำนาจของโหราศาสตร์

สิ่งซึ่งมหาชนจะต้องทำต่อจักรวรรดิ โดยเจตจำนง ผมได้วางความเชื่อมั่นของตนลงในสิ่งที่เป็นการทำสงครามกับขบวนการโลกาต่างๆ ทั้งความคิดและการกระทำ. เชื่อผมเถอะ พวกเขามีความสามารถและสติปัญญหายิ่งกว่าที่พวกเรามีเมื่อพวกเราอยู่เป็นหนุ่มสาว

*Published on Reset, ตุลาคม 2002.
ฉบับปรับปรุงจากการแปลของ Arianna Bove ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน
Radical Philosophy 120, กรกฎาคม / สิงหาคม 2003

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกกลับไปอ่านทบทวนตอนที่ ๑)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

1550. แนะนำหนังสือ: Empire ประวัติอันโตนิโอ เนกรี และเชิงอรรถ
1571. บทนำ: ว่าด้วยอภิจักรภพยุคหลังสมัยใหม่ (Preface: Empire)
1576. อภิจักรภพ โลกาภิวัตน์ และประชาธิปไตย (Empire and Multitude)

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 25 May 2008 : Copyleft by MNU.

ความหมายเกี่ยวกับมหาชน(multitude) ได้รับมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เราต่อต้าน ไม่ให้การยอมรับเรื่องชนชั้น. ตามที่เป็นจริง จุดยืนของสังคมวิทยาที่รื้อสร้างกันใหม่เกี่ยวกับแรงงาน, คนงานได้นำเสนอตัวของเขาเองเพิ่มขึ้น ในฐานะคนที่มีภาระ และความสามารถที่ทำการผลิตสิ่งซึ่งไม่ใช่เรื่องวัตถุ. เขาได้ปรับใหม่เกี่ยวกับการเป็นเครื่องมือหรือแรงงาน. ในการเป็นแรงงานผลิตที่มิใช่วัตถุ เครื่องไม้เครื่องมือนี้คือสมอง (และในหนทางนี้ หลักวิภาษวิธีเฮเกเลียนเกี่ยวกับเครื่องมือ ได้ถูกทำให้สิ้นสุดลง). ความสามารถพิเศษนี้สำหรับแรงงาน ได้สร้างคนงานทั้งหลายขึ้นมาในความเป็น"มหาชน" มากกว่าเป็นเรื่อง"ชนชั้น". ผลที่ตามมา ในที่นี้ เราได้พบภูมิประเทศที่สามของนิยามความหมาย ซึ่งเป็นเรื่องการเมืองโดยเฉพาะมากกว่า

H