โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๘๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ (Febuary, 08, 02, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกราคม ๒๕๕๐)

08-02-2551

Shifting Paradigms
in Economics

Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์เศรษฐศาสตร์ ผลกระทบต่อสังคม
จากลัทธิเคนเชียนสู่ลัทธิเสรีนิยมใหม่: การเปลี่ยนกระบวนทัศน์

ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล
นักวิชาการอิสระ โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการไม่เกี่ยวข้องกับผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความวิชาการเศรษฐศาสตร์ชิ้นนี้ เดิมชื่อ
จากลัทธิเคนเชียนสู่ลัทธิเสรีนิยมใหม่: การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเศรษฐศาสตร์
แปลจาก
"From Keynesianism to Neoliberalism: Shifting Paradigms in Economics,"
เขียนโดย Thomas I. Palley เป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ในคณะกรรมาธิการทบทวนความมั่นคง
ระหว่างสหรัฐฯ และจีน บทความนี้ตีพิมพ์เป็นบทหนึ่งอยู่ในหนังสือของ Deborah Johnston and
Alfredo Saad-Filho, eds., Neoliberalism--A Critical Reader (Pluto Press, 2004).

หัวข้อสำคัญในบทความวิชาการชิ้นนี้ ประกอบด้วย
- รากฐานทางภูมิปัญญาของลัทธิเสรีนิยมใหม่
- ความพลิกผันครั้งยิ่งใหญ่: ความเสื่อมถอยของลัทธิเคนเชียนและความรุ่งเรืองของลัทธิเสรีนิยมใหม่
- นโยบายเสรีนิยมใหม่ในทางปฏิบัติ
- สถิติทางเศรษฐกิจภายใต้ลัทธิเสรีนิยมใหม่
- การกอบกู้บทบาทรัฐบาลขึ้นมาใหม่ในวาทกรรมทางเศรษฐศาสตร์
- ลัทธิโพสต์เคนเชียนกับ "แนวทางที่สาม": ความเหมือนและความต่าง

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๘๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์เศรษฐศาสตร์ ผลกระทบต่อสังคม
จากลัทธิเคนเชียนสู่ลัทธิเสรีนิยมใหม่: การเปลี่ยนกระบวนทัศน์

ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล
นักวิชาการอิสระ โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน

รากฐานทางภูมิปัญญาของลัทธิเสรีนิยมใหม่

"แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์และนักปรัชญาการเมือง ทั้งในเวลาที่คิดถูกต้องและคิดผิดพลาด ล้วนแต่มีอิทธิพลมากกว่าที่เข้าใจกันทั่วไป อันที่จริง โลกนี้ถูกปกครองด้วยแนวคิดเหล่านี้ บรรดานักปฏิบัติทั้งหลาย ซึ่งเชื่อว่าตนเองปลอดพ้นจากอิทธิพลทางภูมิปัญญาใด ๆ ส่วนใหญ่มักตกเป็นทาสของนักเศรษฐศาสตร์ที่ใช้การไม่ได้แล้ว"
John Maynard Keynes, The General Theory of Employment, Interest and Money (1936), p. 383.

ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา นโยบายเศรษฐกิจและความนึกคิดของสาธารณชนถูกครอบงำด้วยปรัชญาเศรษฐศาสตร์อนุรักษ์นิยมที่เรียกกันว่า "ลัทธิเสรีนิยมใหม่" ชื่อของแนวคิดนี้ที่พาดพิงถึง "ลัทธิเสรีนิยม" สะท้อนให้เห็นการสืบทอดทางภูมิปัญญาที่เชื่อมโยงกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นที่เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ระบบแมนเชสเตอร์มีรากเหง้ามาจากเศรษฐศาสตร์ laissez-faire (*) และเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับการค้าเสรีและการยกเลิกกฎหมายข้าว (Corn Law) ของอังกฤษ (1) ซึ่งจำกัดการนำเข้าข้าวสาลี ลัทธิเสรีนิยมใหม่ในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับสำนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโกเป็นหลัก แนวคิดของสำนักนี้เน้นประสิทธิภาพของการแข่งขันในตลาด บทบาทของปัจเจกบุคคลในการกำหนดผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ และเชื่อว่าการแทรกแซงของรัฐบาลและการกำกับดูแลตลาดเป็นการบิดเบือนทางเศรษฐกิจด้วย (2)

(*)Laissez-faire is a French phrase literally meaning "let be". From the French diction first used by the 18th century physiocrats as an injunction against government interference with trade, it became used as a synonym for strict free market economics during the early and mid-19th century. It is generally understood to be a doctrine that maintains that private initiative and production are best allowed to roam free, opposing economic interventionism and taxation by the state beyond that which is perceived to be necessary to maintain individual liberty, peace, security, and property rights.

In the laissez-faire view, the state has no responsibility to engage in intervention to maintain a desired wealth distribution or to create a welfare state to protect people from poverty, instead relying on charity and the market system. Laissez-faire also embodies the notion that a government should not be in the business of granting privileges. As such, advocates of laissez-faire support the idea that the government should not create legal monopolies or use force to damage de facto monopolies. Supporters of laissez-faire also support the notion of free trade on the grounds that the state should not use protectionist measures, such as tariffs and subsidies, in order to curtail trade through national frontiers.

In the free-market economy advocated by economic libertarians, individuals coordinate their economic decisions through the institutions of private property, freedom of contract, and the free price system. Libertarians argue that the free market produces greater prosperity and personal freedom than other economic systems. In the early stages of European and US economic theory, laissez-faire economic policy was in conflict with mercantilism, which had been the dominant system of the United Kingdom, Spain, France and other European countries, during their rise to power. The term laissez-faire is often used interchangeably with the term "free market". Some use the term laissez-faire to refer to "let do, let pass" attitude for matters outside of economics.

Laissez-faire is associated with classical liberalism, libertarianism, and Objectivism.[citation needed] It was originally introduced in the English-language world in 1774, by George Whatley, in the book Principles of Trade, which was co-authored with Benjamin Franklin. Classical economists, such as Thomas Malthus, Adam Smith and David Ricardo did not use the term. Bentham employed it, but only with the advent of the Anti-Corn Law League did the term receive much of its (English) meaning.[3] Free-market anarchists take the idea of laissez-faire to its full length by opposing all taxation, preferring law and order to be privately funded. The Austrian School of economics and the Chicago School of economics are important foundations of the laissez-faire.
(http://en.wikipedia.org/wiki/Laissez-faire)

หลักความเชื่อสองประการของลัทธิเสรีนิยมใหม่ก็คือ
- ทฤษฎีการกระจายรายได้ และ
- ทฤษฎีปัจจัยกำหนดการจ้างงานมวลรวม

ในแง่ของการกระจายรายได้ นั้น ลัทธิเสรีนิยมใหม่ยืนยันว่า ปัจจัยการผลิต กล่าวคือ แรงงานและทุน ย่อมได้รับค่าตอบแทนตามความคุ้มค่าของตน ซึ่งบรรลุถึงได้ด้วยกระบวนการอุปทานและอุปสงค์ ค่าตอบแทนย่อมขึ้นอยู่กับความขาดแคลนโดยเปรียบเทียบของปัจจัยนั้น ๆ (อุปทาน) และประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปสงค์

ส่วนปัจจัยกำหนดการจ้างงานมวลรวม (aggregate employment determination) นั้น ลัทธิเสรีนิยมใหม่ยืนยันว่า ตลาดเสรีจะไม่ปล่อยให้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณค่าต้องเสียเปล่า ซึ่งรวมทั้งแรงงานด้วย ราคาจะปรับตัวจนทำให้มีอุปสงค์เข้ามาและจะมีการใช้ทุกปัจจัยอย่างเต็มที่ หลักความเชื่อนี้เป็นรากฐานของสำนักการเงินนิยมแห่งชิคาโก (Chicago School monetarism) (3) ซึ่งอ้างว่า ระบบเศรษฐกิจย่อมปรับตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตรา (full employment) (4) การใช้นโยบายการเงินการคลัง เพื่อเพิ่มตำแหน่งงานอย่างถาวรจะก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อโดยไม่จำเป็น (5)

สองทฤษฎีที่เป็นหลักความเชื่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่นี้ มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวง และแตกต่างตรงกันข้ามกับแนวคิดที่เคยมีอิทธิพลในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1945-1980 ในยุคนั้น ทฤษฎีปัจจัยกำหนดการจ้างงานที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ แนวคิดของลัทธิเคนเชียน (Keynesianism) ซึ่งยืนยันว่า "ระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกกำหนดจากระดับของอุปสงค์มวลรวม (aggregate demand)" (6) นอกจากนี้ สำนักเคนเชียนยังยืนยันอีกว่า กระบวนการสร้างอุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจะเกิดความอ่อนแอเป็นระยะ ๆ ส่งผลให้เกิดการว่างงานขึ้น บางครั้งบางคราว ความอ่อนแอนี้อาจถึงขั้นร้ายแรงและก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งมีตัวอย่างสำคัญคือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) (*) ในภาวะแบบนี้ นโยบายการเงินและการคลังสามารถสร้างเสถียรภาพให้กระบวนการสร้างอุปสงค์ได้

(*)The Great Depression (also known in the U.K. as the Great Slump) was a dramatic, worldwide economic downturn beginning in some countries as early as 1928. The beginning of the Great Depression in the United States is associated with the stock market crash on October 29, 1929, known as Black Tuesday. The depression had devastating effects in both the industrialized countries and those which exported raw materials. International trade declined sharply, as did personal incomes, tax revenues, prices, and profits. Cities all around the world were hit hard, especially those dependent on heavy industry. Construction was virtually halted in many countries. Farming and rural areas suffered as crop prices fell by 40 to 60 percent. Facing plummeting demand with few alternate sources of jobs, areas dependent on primary sector industries such as farming, mining and logging suffered the most. At the time, Herbert Hoover was President of the United States.

The Great Depression ended at different times in different countries; for subsequent history see Home front during World War II. The majority of countries set up relief programs, and most underwent some sort of political upheaval, pushing them to the left or right. In many states, the desperate citizens turned toward nationalist demagogues like Adolf Hitler, Ant?nio de Oliveira Salazar and Benito Mussolini, setting the stage for World War II in 1939.
(http://en.wikipedia.org/wiki/The_Great_Depression)

ในประเด็นการกระจายรายได้นั้น ภายในสำนักเคนเชียนมีแนวคิดแตกต่างกันเสมอมา และนี่เองที่เป็นต้นตอของการแตกแยกครั้งสำคัญที่กรุยทางไปสู่ชัยชนะของลัทธิเสรีนิยมใหม่

สำนักเคนเชียนสายอเมริกัน (หรือที่รู้จักกันในชื่อ สำนักนีโอเคนเชียน-Neo-Keynesians) มักยอมรับทฤษฎีการกระจายรายได้แบบ "ค่าตอบแทนตามความคุ้มค่า" ของลัทธิเสรีนิยมใหม่ ในขณะที่

สำนักเคนเชียนสายยุโรป (ส่วนใหญ่เกี่ยวโยงกับสำนักเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า สำนักโพสต์เคนเชียน-Post-Keynesians) ปฏิเสธแนวคิดนี้ สำนักโพสต์เคนเชียนแย้งว่า การกระจายรายได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสถาบันอย่างมีนัยสำคัญต่างหาก ดังนั้น ถึงแม้ความขาดแคลนโดยเปรียบเทียบและประสิทธิภาพในการผลิตของปัจจัยหนึ่ง ๆ จะมีความสำคัญก็จริง แต่อำนาจในการต่อรองของปัจจัยนั้น ๆ ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งด้วย และอำนาจต่อรองย่อมได้รับผลกระทบจากโครงสร้างเชิงสถาบัน แนวคิดนี้จึงอธิบายถึงความสำคัญของสหภาพแรงงาน, กฎหมายควบคุมค่าจ้างขั้นต่ำ, สิทธิของลูกจ้างในสถานประกอบการ, และระบบคุ้มครองทางสังคม เช่น เงินประกันการว่างงาน เป็นต้น ในประการสุดท้าย แม้แต่ความเข้าใจของสาธารณชนที่มีต่อระบบเศรษฐกิจก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากสาธารณชนที่มองระบบเศรษฐกิจผ่านแว่นของอำนาจการต่อรอง ย่อมมีจุดยืนทางการเมืองเข้าข้างสหภาพแรงงานและสถาบันคุ้มครองสังคมมากกว่า

ความพลิกผันครั้งยิ่งใหญ่: ความเสื่อมถอยของลัทธิเคนเชียนและความรุ่งเรืองของลัทธิเสรีนิยมใหม่

ตลอดเวลา 25 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1945-1970) ลัทธิเคนเชียนครองความเป็นกรอบกระบวนทัศน์หลักในการทำความเข้าใจต่อปัจจัยกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นี่คือยุคที่มีการพัฒนาเครื่องมือสมัยใหม่ในด้านนโยบายการเงิน (การควบคุมอัตราดอกเบี้ย) และนโยบายการคลัง (การควบคุมงบประมาณและภาษีของรัฐบาล) นอกจากนี้ นี่ยังเป็นยุคที่มีการก่อตั้งสหภาพแรงงานสูงเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งมีการขยายสถาบันการคุ้มครองสังคมและกำกับดูแลตามแบบ "นิวดีล" (New Deal) (7) ออกไปอย่างกว้างขวางด้วย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 แรงกระตุ้นของลัทธิเคนเชียนเริ่มถดถอยลง และถูกลัทธิเสรีนิยมใหม่เข้ามาแทนที่ในที่สุด ความพลิกผันครั้งนี้เกิดขึ้นโดยพ่วงมากับความสั่นคลอนทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับยุคสงครามเวียดนามและภาวะราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปกที่สูงขึ้นอย่างรุนแรง ความสั่นสะเทือนนี้ครอบงำตลอดช่วงทศวรรษ 1970 กระนั้นก็ตาม ภาวะปั่นป่วนนี้เป็นแค่การเปิดช่องให้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ก้าวเข้ามาได้เท่านั้น ถึงที่สุดแล้ว พลวัตของลัทธิเสรีนิยมใหม่ถูกจุดประกายขึ้นมาจากความแตกแยกทางภูมิปัญญาภายในลัทธิเคนเชียน และความล้มเหลวของลัทธิเคนเชียนเองที่ไม่สามารถสร้างความเข้าใจในหมู่สาธารณชนเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ จนไม่สามารถแข่งขันกับโวหารจูงใจของลัทธิ "ตลาดเสรี" เสรีนิยมใหม่ได้

ตลอดช่วงเวลาที่ลัทธิเคนเชียนครองความเป็นใหญ่ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกาต่อต้านลัทธินี้อย่างลึกซึ้งเสมอมา และกลายเป็นฐานของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในการโจมตีลัทธิเคนเชียน ฝ่ายต่อต้านลัทธิเคนเชียนมีอยู่มาตลอดยุคนิวดีล ดังที่ปรากฏให้เห็นในกรณีที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมต่อต้านการสร้างระบบประกันสังคมเพื่อรายได้หลังเกษียณอายุ ความเป็นปฏิปักษ์นี้ยังดำเนินต่อมาจนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดังตัวอย่างที่เห็นได้ในกรณีกฎหมาย Taft-Hartley Act (1947)(*) ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม และกลายเป็นเสมือนการวางยา ซึ่งในที่สุดแล้วก็ทำลายสาระสำคัญด้านสิทธิของแรงงานชาวอเมริกันในการก่อตั้งสหภาพแรงงาน โดยบ่อนทำลายอำนาจของสหภาพและความสามารถในการจัดตั้งรวมตัว

(*)The Labor-Management Relations Act, commonly known as the Taft-Hartley Act, is a United States federal law that greatly restricts the activities and power of labor unions. The Act, still largely in effect, was sponsored by Senator Robert Taft and Representative Fred A. Hartley, Jr. and passed over U.S. President Harry S. Truman's veto on June 23, 1947, establishing the act as a law. Labor leaders called it the "slave-labor bill" while Truman argued that it would "conflict with important principles of our democratic society" despite subsequently using it twelve times during his Presidency. The Taft-Hartley Act amended the National Labor Relations Act (NLRA, also known as the Wagner Act), which Congress had passed in 1935.
(http://en.wikipedia.org/wiki/Taft-Hartley_Act)


แรงจูงใจให้หันมาหาลัทธิเสรีนิยมใหม่ ยังได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมด้วย

- ในด้านเศรษฐกิจนั้น ความสำเร็จของโครงการนิวดีลตามแนวทางลัทธิเคนเชียนนั่นเองที่กลายเป็นจุดอ่อนให้มันต้องพ่ายแพ้ ความมั่งคั่งที่เพิ่มพูนขึ้น ซึ่งเกิดมาจากนโยบายของลัทธิเคนเชียนและสัญญาประชาคมระหว่างภาคธุรกิจกับแรงงานหลังสงครามโลก อาจทำให้เกิดความเชื่อว่า ปัญหาการกระจายรายได้และการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาแก่นกลางของระบบเศรษฐกิจ ในที่สุดก็แก้ไขได้สำเร็จแล้ว ด้วยเหตุนี้ พลเมืองชาวอเมริกันจึงเริ่มเปลี่ยนทัศนคติไปและมองว่า นโยบายและสถาบันต่าง ๆ เช่น สหภาพแรงงาน เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป ทั้ง ๆ ที่นโยบายและสถาบันเหล่านี้นี่เอง ที่นำมาซึ่งความมั่งคั่งของชาวอเมริกัน

- ในด้านวัฒนธรรมนั้น อเมริกาสรรเสริญเชิดชูลัทธิปัจเจกบุคคลนิยมอย่างสุดขั้วเสมอมา ดังมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเชิดชูภาพพจน์ของนักบุกเบิกดินแดนตะวันตก ลัทธิปัจเจกบุคคลนิยมสุดขั้วนี้ ยังได้รับการส่งเสริมจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ที่ฝังลึกในช่วงสงครามเย็นอีกด้วย บ่มเพาะให้ชาวอเมริกันรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อแนวคิดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบรวมหมู่ และไม่ยอมรับข้อจำกัดของระบบทุนนิยมตลาด โดยเฉพาะภาพพจน์ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบรวมหมู่ถูกป้ายสีว่าเป็นสิ่งเดียวกับแนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ยุคสงครามเย็นจึงกลายเป็นโอกาสอันงามในการสร้างความนิยมให้โวหารทางเศรษฐกิจที่โฆษณาถึง "ธรรมชาติ" ของตลาดเสรีที่ไม่ขึ้นต่อรัฐบาล และการกำกับดูแลของรัฐบาลรังแต่จะลดทอนความเข้มแข็งของตลาดเสรี (8)

กระนั้นก็ตาม แม้ว่าปัจจัยทางการเมืองและวัฒนธรรมจะมีความสำคัญในการอธิบายถึงความนิยมในลัทธิเสรีนิยมใหม่ แต่ปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การที่ลัทธิเคนเชียนประสบความแตกแยกภายในทางภูมิปัญญาจนเกิดความอ่อนแอ ต้นตอประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดความแตกแยกก็คือ ทฤษฎีการกระจายรายได้. จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เชื่อในทฤษฎีการกระจายรายได้แบบผลผลิตส่วนเพิ่ม (marginal product theory of income distribution) ซึ่งแรงงานควรได้ค่าตอบแทนตามความคุ้มค่าของตนที่มีต่อบริษัท ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลรองรับมากนักว่า เหตุใดจึงควรมีสหภาพแรงงานหรือการแทรกแซงตลาดแรงงานในรูปแบบอื่น ๆ และทำให้ถูกป้ายสีได้ง่าย ๆ ว่า มันเป็นแค่การบิดเบือนตลาด แทนที่จะเป็นการแก้ไขความล้มเหลวของตลาดที่สืบเนื่องจากอำนาจการต่อรองที่ไม่เท่าเทียม ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้สำนักเคนเชียนมีคุณูปการอย่างยิ่งในแง่การทำความเข้าใจปัจจัยของอุปสงค์มวลรวมและบทบาทในการกำหนดผลลัพธ์ด้านการจ้างงาน แต่ในด้านการวิเคราะห์เงื่อนไขการผลิต ตลอดจนปฏิสัมพันธ์และผลกระทบที่เงื่อนไขการผลิตมีต่ออุปสงค์มวลรวม ถือได้ว่าสำนักเคนเชียนไม่ได้พัฒนาแนวคิดนี้มากพอ (10)

จุดอ่อนประการที่สองของสำนักเคนเชียนก็คือ ความเชื่อว่า ราคาที่ตกต่ำและ (โดยเฉพาะ) ความไม่ยืดหยุ่นของค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน คือสาเหตุของการว่างงาน จุดยืนแบบนี้เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1940 สิบปีหลังจากการตีพิมพ์หนังสือชื่อ "The General Theory of Employment, Interest and Money" ของเคนส์ใน ค.ศ. 1936 โดยให้เหตุผลว่า ค่าจ้างที่ต่ำลงจะช่วยลดราคาสินค้าลง ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของการถือครองเงินเพิ่มมากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในด้านการบริโภคและเพิ่มอุปสงค์มวลรวม. นอกจากนี้ ราคาที่ต่ำลงยังช่วยเพิ่มอุปทานที่แท้จริงของเงิน ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงและกระตุ้นการลงทุน ในลักษณะนี้ ค่าจ้างและราคาสินค้าที่ลดต่ำลงย่อมสามารถแก้ไขปัญหาการว่างงานได้

ทัศนะเกี่ยวกับราคาและความยืดหยุ่นของค่าจ้างแบบสำนักนีโอเคนเชียนนี้ มีอิทธิพลมากเป็นพิเศษในหมู่นักเศรษฐศาสตร์อเมริกัน ทัศนะนี้ยืนยันว่า ความไม่ยืดหยุ่นของระบบเศรษฐกิจเป็นสาเหตุของการว่างงาน และความไม่ยืดหยุ่นนี้ครอบคลุมถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น สหภาพแรงงานและกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ ในแง่นี้ กล่าวได้ว่าจุดยืนของสำนักนีโอเคนเชียนอเมริกันเป็นผู้เบิกทางให้นโยบายความยืดหยุ่นของตลาดแรงงานของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในปัจจุบัน

ทัศนะแบบนีโอเคนเชียนนี้ แตกต่างตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์ของสำนักโพสต์เคนเชียน สำนักโพสต์เคนเชียนถือว่า การว่างงานเป็นผลลัพธ์ของความขาดแคลนอุปสงค์ ซึ่งเกิดจากความไม่เชื่อมั่นและไม่มั่นใจในอนาคตของภาคธุรกิจ ในระบบเศรษฐกิจการเงิน การใช้จ่ายอาจเหือดหายไปถ้าประชาชนตัดสินใจเก็บเงินไว้ และความยืดหยุ่นของราคาอาจทำให้ปัญหาอุปสงค์เลวร้ายลงเนื่องจากหนี้สิน ราคาและค่าจ้างที่ตกต่ำลงกลับเพิ่มภาระการจ่ายดอกเบี้ยของลูกหนี้ ทำให้ลูกหนี้ตัดการใช้จ่ายลงและอาจพักชำระหนี้ (11) ประเด็นที่สำคัญที่สุดของสำนักโพสต์เคนเชียนก็คือ การลดการพึ่งพาตัวเงินลงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะมันลดต้นทุนในการทำธุรกรรมลง แต่การปรับตัวทางเศรษฐกิจโดยอาศัยความยืดหยุ่นของราคาและค่าจ้างที่เป็นตัวเงินนั้น กลับสร้างปัญหาอย่างมาก

ทฤษฎีที่แตกต่างกันเกี่ยวกับปัจจัยกำหนดการกระจายรายได้ และบทบาทของความไม่ยืดหยุ่นของค่าจ้างที่ทำให้เกิดการว่างงาน ก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างลึกซึ้งในหมู่นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนเชียน ในระดับนโยบาย ความแตกแยกนี้เปิดช่องให้นักลัทธิเสรีนิยมใหม่กล่าวหานวัตกรรมด้านตลาดแรงงานของโครงการนิวดีลว่า เป็นการบิดเบือนตลาด หาใช่การแก้ไขความล้มเหลวของตลาดไม่ ดังนั้น นวัตกรรมนี้จึงขาดเหตุผลในด้านประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ และอ้างความชอบธรรมได้เพียงแค่เหตุผลด้านความเท่าเทียม

นอกจากนี้ ความแตกแยกทางทฤษฎียังเปิดช่องให้นโยบายการเงินการคลังที่มุ่งให้มีการจ้างงานเต็มอัตราของสำนักเคนเชียนถูกโจมตีด้วย นักเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอเคนเชียนชาวอเมริกันสนับสนุนนโยบายดังกล่าวด้วยเหตุผลในเชิงปฏิบัตินิยมว่า ความไม่ยืดหยุ่นของราคากับค่าจ้างย่อมมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้ สำนักนีโอเคนเชียนจึงเห็นดีเห็นงามกับนโยบายแทรกแซงของรัฐบาล ประเด็นที่สำนักนีโอเคนเชียนโต้แย้งจึงไม่ใช่คุณประโยชน์ของความยืดหยุ่นในเชิงทฤษฎี แต่เป็นเรื่องของความเป็นไปได้ของความยืดหยุ่นในราคาและค่าจ้างที่เป็นตัวเงินในเชิงข้อเท็จจริงต่างหาก ในเชิงภูมิปัญญาแล้ว นี่เป็นการสร้างมลทินแปดเปื้อนภาพพจน์ของเคนส์ และเป็นการวางนโยบายสาธารณะที่เปิดช่องให้นักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่โต้แย้งได้ว่า นโยบายเศรษฐกิจควรละทิ้งเป้าหมายของการจ้างงานเต็มอัตรา และหันไปทำให้ค่าจ้างมีความยืดหยุ่นในความเป็นจริงดีกว่า

นโยบายเสรีนิยมใหม่ในทางปฏิบัติ
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราสามารถเข้าใจลัทธิเสรีนิยมใหม่จากทฤษฎีการกระจายรายได้และปัจจัยกำหนดการจ้างงาน ในแง่ของทฤษฎีการกระจายรายได้นั้น ตลาดจะมีกลไกที่ทำให้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้รับค่าตอบแทนตามความคุ้มค่า โดยไม่จำเป็นต้องมีสถาบันคุ้มครองสังคมและสหภาพแรงงาน มิหนำซ้ำ สถาบันคุ้มครองสังคมเหล่านี้อาจทำให้ความอยู่ดีกินดีของสังคมลดต่ำลงด้วยซ้ำ อีกทั้งทำให้เกิดการว่างงานเนื่องจากเข้าไปแทรกแซงกระบวนการของกลไกตลาด

ในส่วนของแรงงาน นักเสรีนิยมใหม่ยืนยันว่า การปรับตัวของราคาจะทำให้เกิดแนวโน้มไปสู่การจ้างงานเต็มอัตราโดยอัตโนมัติ ภายในกรอบคิดนี้ การแทรกแซงเชิงนโยบายเพื่อเพิ่มการจ้างงาน กลับจะก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือทำให้ภาวะว่างงานสูงขึ้น เนื่องจากไปสร้างความไร้เสถียรภาพแก่กระบวนการตลาด นี่คือข้ออ้างของมิลตัน ฟรีดแมนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) โดยเขาให้เหตุผลว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เกิดมาจากธนาคารกลางแห่งชาติมีนโยบายผิดพลาดทางการเงิน โดยนัยยะนี้ ผู้วางนโยบายด้านเศรษฐกิจมหภาคจึงควรละทิ้งสูตรของสำนักเคนเชียนที่พยายามบริหารอุปสงค์โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การจ้างงานเต็มอัตรา ผู้วางนโยบายควรหันมาใช้กฎเกณฑ์ด้านความโปร่งใส และขจัดความคิดเห็นส่วนตัวออกจากการตัดสินใจเชิงนโยบาย เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและปล่อยให้กลไกตลาดแก้ปัญหาเอง (12)

ในทางปฏิบัติ การดำเนินนโยบายเสรีนิยมใหม่ในสหรัฐอเมริกา มักมีช่องว่างระหว่างโวหารกับการปฏิบัติจริงอยู่เสมอ กล่าวคือ ลัทธิปฏิบัตินิยม (pragmatism) ทำให้ผู้วางนโยบายที่เป็นนักลัทธิเสรีนิยมใหม่มักไม่ได้ดำเนินนโยบายตามทฤษฎี ในประเด็นการกระจายรายได้ นโยบายเสรีนิยมใหม่ยืนกรานแนวทางที่ส่งเสริมการลดระเบียบข้อบังคับในตลาดแรงงาน โดยอยู่ในรูปของการปล่อยให้มูลค่าที่แท้จริงของค่าแรงขั้นต่ำตกต่ำลง บ่อนทำลายสหภาพแรงงาน และสร้างบรรยากาศความไม่มั่นคงในการจ้างงานในตลาดแรงงานโดยรวม ในแง่นี้ นโยบายเสรีนิยมใหม่มีความซื่อตรงต่อทฤษฎีของตน ซึ่งยืนยันว่าการคุ้มครองการจ้างงานและความไม่ยืดหยุ่นของค่าจ้างเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ผลลัพธ์ของนโยบายนี้ก็คือ ค่าจ้างและรายได้มีความไม่เท่าเทียมมากขึ้น (13) สำหรับนักลัทธิเสรีนิยมใหม่ นี่เป็นเพราะตลาดกำลังจ่ายค่าตอบแทนให้ตามความคุ้มค่าของแต่ละคน แต่ในสายตาของสำนักโพสต์เคนเชียน นี่เป็นเพราะดุลอำนาจในตลาดแรงงานเอียงเข้าข้างภาคธุรกิจต่างหาก

ส่วนในแง่ของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ลัทธิเสรีนิยมใหม่กลับดำเนินตามทฤษฎีของตนอย่างไม่คงเส้นคงวา หลาย ๆ ครั้งก็มักดำเนินนโยบายอย่างฉวยโอกาสและไม่ปฏิบัติตามโวหารทางทฤษฎีของตนเอง. ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ผู้วางนโยบายของลัทธิเสรีนิยมใหม่พยายามใช้สูตรสำเร็จด้านการเงินของสำนักชิคาโก โดยละทิ้งวิธีการปรับอัตราดอกเบี้ยของลัทธิเคนเชียนและหันไปตั้งเป้าหมายที่ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจแทน ผลลัพธ์ที่ตามมาคือการลอยแพคนงานเป็นจำนวนมากในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ผลักดันอัตราการว่างงานขึ้นไปถึงระดับสูงสุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในโลกพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินอย่างรุนแรง สถานการณ์เช่นนี้เองบีบให้ผู้วางนโยบายต้องละทิ้งการทดลองทางการเงินและหันกลับไปใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเหมือนเดิม

แม้ว่าจะหวนกลับไปใช้การตั้งเป้าหมายที่อัตราดอกเบี้ยและการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจตามแนวลัทธิเคนเชียนก็ตาม แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือเป้าหมายเชิงนโยบาย เป้าหมายของการจ้างงานเต็มอัตราถูกแทนที่ด้วยเป้าหมายของ "อัตราการว่างงานตามธรรมชาติ" (natural rate of employment) (14) อัตราตามธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่สังเกตไม่ได้และเชื่อว่าถูกกำหนดจากกลไกอุปสงค์อุปทานในตลาดแรงงาน การใช้โวหารเกี่ยวกับอัตราการว่างงานตามธรรมชาติก็เพื่อรับใช้เป้าหมายสองประการคือ

ประการแรก มันช่วยสร้างโวหารทางการเมืองมาปิดบังอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ย ซึ่งบ่อนทำลายสถานะในการต่อรองของแรงงาน

ประการที่สอง มันทำให้มีข้ออ้างในการรักษาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในระดับสูงเอาไว้ ซึ่งผลประโยชน์ตกเป็นของคนรวยและภาคการเงิน ดังนั้น ถึงแม้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยแบบต้านวัฏจักร (countercyclical) (15) เพื่อบรรเทาปัญหาการหดตัวในวัฏจักรทางธุรกิจ แต่อัตราดอกเบี้ยก็ยังสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ในทำนองเดียวกัน อาจมีการปรับนโยบายการคลังแบบต้านวัฏจักรเพื่อแก้ไขวัฏจักรธุรกิจ แต่ก็มักเป็นไปเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ชนชั้นสูงและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองบางก๊กบางเหล่ามากกว่า ประเด็นนี้เห็นตัวอย่างชัดเจนที่สุดในการตัดลดภาษีที่มีเป้าหมายเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มผู้มีรายได้สูง

การที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่สวมรอยเอานโยบายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นของตัวเอง ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาสองประการคือ

ประการแรก ในขณะที่นโยบายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง แต่ผู้วางนโยบายลัทธิเสรีนิยมใหม่กลับใช้วิธีการนี้ในลักษณะที่ให้ผลลัพธ์ในจุดที่ด้อยลงมา (suboptimal) ดังตัวอย่างที่ปรากฏในนโยบายภาษีครั้งล่าสุดของสหรัฐอเมริกา รัฐบาลบุชฉวยโอกาสใช้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน ค.ศ. 2001 เป็นข้ออ้างในการตัดลดภาษี แต่การตัดลดภาษีกลับเอื้อประโยชน์แก่คนรวยเป็นหลัก ดังนั้น มันจึงส่งผลดีต่อเศรษฐกิจน้อยเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเงินภาษีที่รัฐเก็บได้น้อยลง มิหนำซ้ำ ยังวางนโยบายการตัดลดภาษีให้เป็นโครงสร้างภาษีถาวรด้วย ทั้ง ๆ ที่การต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย จำเป็นต้องมีการตัดลดภาษีลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ประการที่สอง การที่ผู้วางนโยบายลัทธิเสรีนิยมใหม่จำต้องกลับลำไปใช้นโยบายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ บอกให้รู้ถึงความบกพร่องของทฤษฎีเสรีนิยมใหม่ในการทำเข้าใจระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะตามแบบจำลองของลัทธิเสรีนิยมใหม่นั้น ระบบเศรษฐกิจตลาดควรปรับตัวให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตราได้โดยอัตโนมัติและรวดเร็ว

เมื่อต่อชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ความท้าทายเบื้องหน้าสำนักโพสต์เคนเชียนก็คือ การผลักดันการวิวาทะในสองระดับ

- ระดับแรก เราต้องวิพากษ์วิจารณ์รายละเอียดของนโยบายสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ด้อยลงมา
- ระดับที่สอง เราต้องวิพากษ์วิจารณ์กรอบมโนทัศน์ที่เป็นรากฐานของลัทธิเสรีนิยมใหม่

ภารกิจควบคู่กันสองประการนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้เนื่องจากการวิวาทะเกี่ยวกับรายละเอียดในเชิงนโยบาย อาจทำให้สาธารณชนเห็นว่า นี่เป็นแค่ความแตกต่างในเชิงความหนักเบาเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่มันเป็นการปะทะขั้นรากฐานระหว่างแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่แตกต่างกัน

สถิติทางเศรษฐกิจภายใต้ลัทธิเสรีนิยมใหม่
เมื่อมาร์กาเร็ต แธทเชอร์ได้รับเลือกตั้งใน ค.ศ. 1979 และโรนัลด์ เรแกน ใน ค.ศ. 1980 อาจถือได้ว่าเป็นการเปิดฉากยุคที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่ ครองความเป็นใหญ่ในนโยบายเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ. ในช่วง 25 ปีสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 เราได้เห็นการนำแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่มาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งในระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมและในประเทศกำลังพัฒนา แต่เมื่อเปรียบกับยุคสมัย ค.ศ. 1945-80 ต้องถือว่าในยุคหลังนี้ มีความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอช้าลงมาก อีกทั้งมีความไม่เท่าเทียมทางรายได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ (16)

ภายในประเทศอุตสาหกรรม วาระของนโยบายเศรษฐกิจถูกครอบงำด้วยนโยบายที่เกี่ยวเนื่องกับ "โมเดลอเมริกา" ซึ่งประกอบด้วย

- การเปิดเสรีตลาดการเงิน,
- การแปรรูป,
- การลดทอนความเข้มแข็งของสถาบันคุ้มครองสังคม, การลดทอนความเข้มแข็งของสหภาพแรงงานและการคุ้มครองตลาดแรงงาน,
- การลดขนาดของรัฐบาลลง,
- การตัดลดอัตราภาษีของคนรวย,
- การเปิดตลาดสินค้าและตลาดทุนระหว่างประเทศ,
- รวมทั้งการละทิ้งเป้าหมายของการจ้างงานเต็มอัตรา โดยซ่อนอยู่หลังม่านอำพรางของอัตราการว่างงานตามธรรมชาติ
- นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศถูกครอบงำด้วย "ฉันทามติวอชิงตัน" ซึ่งสนับสนุนการแปรรูป การค้าเสรี การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักร การเคลื่อนย้ายทุนการเงิน การลดข้อบังคับในตลาดแรงงาน และความเข้มงวดในนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

ความล้มเหลวของฉันทามติวอชิงตัน ที่ไม่สามารถบันดาลความเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนา มิหนำซ้ำยังทำให้ความเติบโตชะลอช้าลงด้วยซ้ำ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ซึ่งทำลายความน่าเชื่อถือของฉันทามติวอชิงตันลงอย่างมาก เดี๋ยวนี้ มีการตระหนักรู้อย่างแพร่หลายแล้วว่า ตลาดการเงินระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความไร้เสถียรภาพ การเติบโตที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักรอาจไม่เพียงพอต่อการพัฒนาภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดภาวะเงินฝืดและ "การแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุด" ด้วย

ระบอบประชาธิปไตยและสถาบันที่ส่งเสริมความมีส่วนร่วมในสังคมคือสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนา รวมทั้งการคุ้มครองตลาดแรงงานคือสิ่งที่จำเป็นในการป้องกันการขูดรีด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การตอบโต้ฉันทามติวอชิงตันจะมีความคืบหน้าไปมาก แต่การต่อสู้กับ "โมเดลอเมริกา" กลับมีความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อย นี่ถือเป็นอันตรายอย่างหนึ่ง เพราะโมเดลอเมริกาคือต้นตอของนโยบายเสรีนิยมใหม่ ซึ่งรวมถึงฉันทามติวอชิงตันด้วย

ในการให้เหตุผลต่อสาธารณชนนั้น มักมีการนำเสนอว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาคือโมเดลทางเศรษฐกิจที่ควรเอาอย่าง และแตกต่างตรงกันข้ามกับระบบเศรษฐกิจของยุโรป ซึ่งถูกตีตราว่าตายตัวและไม่ยืดหยุ่น แต่ที่จริงแล้ว เรื่องนี้ซับซ้อนกว่านั้นและชี้ให้เห็นว่า รูปแบบเศรษฐกิจทั้งสองอย่าง มีจุดแข็งและจุดอ่อนแตกต่างกันไป

- จุดแข็งของโมเดลเสรีนิยมใหม่แบบอเมริกา คือ อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยที่ต่ำกว่า มีการจ้างงานต่อสัดส่วนประชากรสูงกว่า และมีการเติบโตของผลผลิตรวดเร็วกว่า (ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการเติบโตของประชากร ทั้งที่เป็นการอพยพเข้ามาอย่างถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย)

- จุดอ่อนของโมเดลอเมริกา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับโมเดลแบบยุโรป จุดอ่อนของโมเดลอเมริกาคือ ความไม่เท่าเทียมของรายได้มีสูงกว่าและเลวร้ายลงเรื่อย ๆ (ตัวอย่างคือ ค่าจ้างของซีอีโอในสหรัฐอเมริกาที่ถีบตัวขึ้นราวกับจรวด) อัตราความยากจนสูงกว่า การเติบโตในด้านประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำกว่า (จนกระทั่งช่วงกลางทศวรรษ 1990) ชั่วโมงการทำงานยาวนานกว่า รวมทั้งการหยุดนิ่งของค่าจ้างในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย การวิจัยของ Blanchflower และ Oswald เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ความสุข แสดงให้เห็นว่า ความสุขในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มลดต่ำลง ในขณะที่ความสุขในสหราชอาณาจักรไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในบรรดาตลาดโลกทั้งหมด ระบบเศรษฐกิจในสองประเทศนี้ดำเนินตามเส้นทางเสรีนิยมใหม่อย่างแข็งกร้าวที่สุด แต่มันไม่ก่อให้เกิดความสุขแก่พลเมืองของตนมากขึ้นกว่าเดิมเลย

เราอาจทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้จาก รูป 1. (17) นโยบายเศรษฐกิจมหภาคกำหนดอัตราการว่างงานโดยรวม ในขณะที่นโยบายเศรษฐกิจจุลภาคที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงานและสถาบันคุ้มครองสังคม เป็นตัวกำหนดแบบแผนความไม่เท่าเทียมของรายได้ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบขยายตัวจะช่วยลดการว่างงานลง ในขณะที่นโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบหดตัวจะเพิ่มการว่างงานมากขึ้น การทำลายสถาบันคุ้มครองสังคมจะเพิ่มความไม่เท่าเทียมของรายได้ ในขณะที่การธำรงสถาบันไว้จะช่วยให้ความไม่เท่าเทียมคงที่

รูป 1. ความแตกต่างในนโยบายเศรษฐกิจระหว่างลัทธิเสรีนิยมใหม่และลัทธิโพสต์เคนเชียน และระหว่างสหรัฐอเมริกากับยุโรป

นโยบายเสรีนิยมใหม่ขนานแท้ จะมุ่งบ่อนทำลายการคุ้มครองทางสังคม เนื่องจากมองว่ามันเป็นการบิดเบือนตลาดรูปแบบหนึ่ง และจะโยนนโยบายการจ้างงานเต็มอัตราแบบต้านวัฏจักรทิ้งไปเพราะเห็นว่าไม่จำเป็น ในทางปฏิบัติ มักไม่มีการดำเนินนโยบายตามทฤษฎีเสรีนิยมใหม่อย่างแท้จริง สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบขยายตัว โดยอาศัยการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลจำนวนมหาศาล การใช้อัตราดอกเบี้ยแบบต้านวัฏจักร และการบ่อนทำลายการคุ้มครองทางสังคม ผลลัพธ์ที่ได้มาก็คือ การจ้างงานที่ค่อนข้างมาก แต่มีการกระจายรายได้ที่เลวร้ายกว่าเดิม. ในทางตรงกันข้าม ยุโรปดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบหดตัว โดยอาศัยการใช้อัตราดอกเบี้ยสูงและความเข้มงวดด้านการคลัง ในขณะเดียวกันก็รักษาสถาบันคุ้มครองสังคมเอาไว้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ มีภาวะการว่างงานสูงและการบรรเทาความไม่เท่าเทียมของรายได้มีความคืบหน้าไม่มากนัก

ในประการสุดท้าย เราอาจใช้ รูป 1. ทำความเข้าใจองค์ประกอบเชิงนโยบายที่สำนักเคนเชียนเสนอแนะ ในระดับเศรษฐกิจจุลภาค สถาบันคุ้มครองสังคมและคุ้มครองตลาดแรงงานมีความจำเป็นในการสร้างหลักประกันให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเหมาะสม ในระดับเศรษฐกิจมหภาค นโยบายควรโน้มเอียงไปในทางขยายตัว เพื่อสร้างหลักประกันให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตรา องค์ประกอบเชิงนโยบายเช่นนี้สอดรับกับกรอบทางทฤษฎีของสำนักเคนเชียน ซึ่งถือว่าการกระจายรายได้ย่อมได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากกลไกทางสังคมและสถาบัน อีกทั้งการจ้างงานเต็มอัตราจะเกิดขึ้นได้ จำต้องมีการบริหารจัดการระดับของอุปสงค์มวลรวม ความท้าทายอยู่ตรงที่จะออกแบบสถาบันคุ้มครองสังคมอย่างไร โดยที่ตลาดยังมีแรงกระตุ้นต่อแรงงานและการประกอบการอย่างเหมาะสม พร้อม ๆ กับที่บริษัทต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในระดับที่พอเพียงด้วย หากคำนวณได้อย่างแม่นยำ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคควรสร้างอุปสงค์มวลรวมในระดับที่มากพอ แต่ไม่มากจนเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงเกินไป

การวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจมหภาค-จุลภาคข้างต้น ยังให้บทเรียนทางการเมืองที่สำคัญอีกด้วย ทั้งโมเดลอเมริกาและโมเดลยุโรปต่างมีข้อบกพร่องสำคัญต่างกันไปก็จริง กระนั้นก็ตาม เมื่อพิจารณาในทางการเมืองแล้ว โมเดลอเมริกา ซึ่งมีอัตราการว่างงานต่ำกว่า ค่อนข้างมีความแข็งแกร่งอย่างยิ่ง ในขณะที่โมเดลยุโรปตกอยู่ภายใต้แรงกดดันให้ลดทอนความเข้มแข็งของสถาบันตลาดแรงงานและการคุ้มครองสังคม นี่ชี้ให้เห็นว่า อัตราการว่างงานต่ำมีแต้มต่อเหนือกว่าการกระจายรายได้ในความรู้สึกของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

ข้อสรุปนี้ได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ของความสุข ซึ่งรายงานว่า การว่างงานมีต้นทุนของความทุกข์สูงมาก ประชาชนใส่ใจกับความยุติธรรมก็จริง แต่เป้าหมายนั้นยังไม่แข็งแรงพอที่จะเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายทางการเมือง การจัดลำดับความสำคัญเช่นนี้หมายความว่า โมเดลเศรษฐกิจที่จะประสบความสำเร็จต้องแก้ไขปัญหาการว่างงานก่อน นี่อธิบายได้ว่าเหตุใดโมเดลสังคมแบบยุโรปจึงอ่อนแอลง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคของภาคพื้นทวีปยุโรปนั่นเอง

การกอบกู้บทบาทรัฐบาลขึ้นมาใหม่ในวาทกรรมทางเศรษฐศาสตร์
นอกเหนือจากการปรับส่วนผสมขององค์ประกอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาค-จุลภาคแล้ว ยังมีความจำเป็นอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การปรับความเข้าใจของสาธารณชนที่มีต่อบทบาทของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ คำอธิบายดั้งเดิมของลัทธิเสรีนิยมว่า เหตุใดรัฐบาลจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจนั้น มุ่งเน้นไปที่ "ความล้มเหลวของตลาด" ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการผูกขาด การผูกขาดตามธรรมชาติ (natural monopoly) สินค้าสาธารณะ (public goods) และการผลักภาระ (externalities) (18) แนวความคิดพื้นฐานก็คือ ความล้มเหลวของตลาดนำไปสู่การจัดหาสินค้าที่ให้ผลลัพธ์ในจุดที่ด้อยลงมา (อาจมีการผลิตน้อยไปหรือมากไป) จึงต้องเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ ไม่ว่าโดยการออกระเบียบข้อบังคับ การเก็บภาษีและการให้ทุนอุดหนุน หรือการให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมการผลิตโดยตรง

แนวความคิดเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาดมีอิทธิพลอย่างยิ่ง แต่ในทางกลับกัน มันก็ทำให้ลัทธิเสรีนิยมใหม่สร้างเหตุผลตอบโต้ในกรอบแบบเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนเป็นข้ออ้างถึงความล้มเหลวของรัฐบาลแทน กล่าวคือ แม้ว่าตลาดอาจล้มเหลวก็จริง แต่การให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไข อาจทำให้ความล้มเหลวของตลาดยิ่งเลวร้ายลงกว่าเดิม เนื่องจากความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการ และการขาดแรงจูงใจในแบบตลาด

ข้ออ้างเรื่องความล้มเหลวของรัฐบาลได้เสียงสะท้อนตอบรับกึกก้องในสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากวัฒนธรรมของลัทธิปัจเจกบุคคลนิยมสุดขั้ว อย่างไรก็ตาม บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจตลาดมีอยู่อย่างลึกซึ้งกว่านั้น และคุณูปการของรัฐบาลยังไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างเพียงพอ รัฐบาลไม่เพียงมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขความล้มเหลวของตลาด แต่ยังมีหน้าที่ให้บริการอย่างสำคัญในด้านการศึกษาและสาธารณสุข นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีความสำคัญยิ่งยวดในการสร้างเสถียรภาพให้วัฏจักรธุรกิจ โดยอาศัยนโยบายการคลังและการเงิน และที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้น รัฐบาลคือส่วนที่ขาดไม่ได้ในการทำงานของตลาดภาคเอกชน เนื่องจากรัฐบาลคือฐานรองรับระบบกฎหมายที่สนับสนุนการบังคับใช้สัญญาต่าง ๆ หากปราศจากการทำให้สัญญาบังเกิดผล คุณประโยชน์ที่จะเกิดจากระบบเศรษฐกิจตลาดย่อมลดน้อยถอยลงอย่างมหาศาล

โดยเฉพาะบทบาทของรัฐบาลอีกประการหนึ่ง ซึ่งสาธารณชนมีความเข้าใจน้อยมาก ก็คือ บทบาทของรัฐบาลในการป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งขันในเชิงทำลาย กล่าวคือ กรณีที่แรงจูงใจของตลาดชักจูงให้ฝ่ายต่าง ๆ กระทำการในลักษณะที่ก่อให้เกิดดุลยภาพในจุดที่ด้อยลงมา (suboptimal equilibrium) แต่ตลาดไม่สามารถสร้างแรงจูงใจในทางตรงกันข้ามที่จะช่วยฟื้นฟูดุลยภาพที่ดีที่สุดของสังคมขึ้นมาได้ ตัวอย่างของสถานการณ์ประเภทนี้ อาทิเช่น ปัญหาการติดสินบน การติดสินบนเป็นพฤติกรรมที่ทำลายเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะมันจัดสรรความมั่งคั่งให้ธุรกิจบนพื้นฐานของการจ่ายสินบน ไม่ใช่ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลนี้ สังคมจึงควรมีเป้าหมายหลีกเลี่ยงการติดสินบน อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ไม่มีการกำกับดูแลมักทำให้เกิดการติดสินบน หากฝ่ายหนึ่งติดสินบน ในขณะที่อีกฝ่ายไม่ได้ติดสินบน ฝ่ายที่ติดสินบนย่อมได้เปรียบมากกว่า ผลลัพธ์ก็คือ ทุกฝ่ายจึงมีแรงจูงใจที่จะติดสินบนกันหมด หากปล่อยไปตามยถากรรม ตลาดย่อมก่อให้เกิดดุลยภาพที่ "ไม่ดี" ซึ่งทุกฝ่ายติดสินบนกันหมด

ดุลยภาพที่ "ดี" ซึ่งไม่มีฝ่ายไหนติดสินบนเลย จะเกิดขึ้นและธำรงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยกฎหมายที่มีบทลงโทษคอยขัดขวางการติดสินบนเท่านั้น นี่คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า บทบาทของรัฐบาลมีความจำเป็นในการสนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด โลกในความเป็นจริงถูกรุมเร้าด้วยสถานการณ์ที่นำไปสู่การแข่งขันในเชิงทำลาย ตัวอย่างมีอาทิ

- การติดสินบน
- ค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาที่มากเกินไป
- การแข่งขันด้านภาษีระหว่างเขตการปกครองเพื่อดึงดูดการลงทุนของภาคธุรกิจ และ
- การแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุดในระดับโลก โดยที่ประเทศต่าง ๆ ลดมาตรฐานด้านแรงงานลงเรื่อย ๆ เพื่อดึงดูดภาคธุรกิจ

การแก้ไขสถานการณ์ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการแทรกแซงจากรัฐบาลเท่านั้น

ลัทธิโพสต์เคนเชียนกับ "แนวทางที่สาม": ความเหมือนและความต่าง
ในท้ายที่สุดนี้ เราควรเปรียบเทียบแนวทางของลัทธิโพสต์เคนเชียนกับ "แนวทางที่สาม" (The Third Way) ของนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ แห่งประเทศอังกฤษ (19) "แนวทางที่สาม" คือทางเลือกที่พยายามงัดข้อกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ ที่ครองความเป็นใหญ่ในนโยบายสาธารณะ. "แนวทางที่สาม" พยายามสร้างเส้นทางที่มีความเป็นมนุษย์เชื่อมระหว่างเส้นทางแรกที่เป็นระบบทุนนิยมแบบตลาดเสรี กับเส้นทางที่สองที่เป็นระบบเศรษฐกิจแบบรัฐคอยวางแผนจากศูนย์กลาง ในแง่นี้ "แนวทางที่สาม" ชวนให้เรากระหวัดนึกถึงแนวทางเศรษฐกิจแบบผสมผสานยุคทศวรรษ 1960 ซึ่งสนับสนุนให้มีอุตสาหกรรมทั้งที่เป็นของชาติและของภาคเอกชน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า "แนวทางที่สาม" จะพยายามสร้างความเป็นมนุษย์ให้ตลาด แต่มันก็ยังแตกต่างโดยพื้นฐานจากจุดยืนของสำนักโพสต์เคนเชียน ทั้งนี้เพราะมันยอมรับบทบัญญัติทางทฤษฎีที่สำคัญของลัทธิเสรีนิยมใหม่เกี่ยวกับการกระจายรายได้ และความมีเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม. เมื่อมองในมุมนี้ "แนวทางที่สาม" เป็นแค่ตัวแทนยุคใหม่ของการหาทางแก้ไขความล้มเหลวของตลาดดังที่เคยมีมาก่อนเท่านั้นเอง อีกทั้งมันยังมีเป้าหมายที่จะคัดค้านข้ออ้างของฝ่ายเสรีนิยมใหม่เรื่องความล้มเหลวของรัฐบาลด้วย ดังนั้น "แนวทางที่สาม" จึงเน้นว่า ความล้มเหลวของตลาดอาจเกิดจากข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์ ข้ออ้างเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์นี้ก็คือ ข้ออ้างเรื่องความล้มเหลวของตลาดในอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งเริ่มได้รับการยอมรับทางทฤษฎีในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แทนที่จะกำหนดเป็นสูตรสำเร็จว่า รัฐบาลต้องเข้าไปยึดครองการผลิตด้วยการโอนอุตสาหกรรมเป็นของชาติและเสี่ยงต่อปัญหาความล้มเหลวของรัฐบาล "แนวทางที่สาม" หันไปเน้นการเก็บภาษีและการกำกับดูแล โดยถือว่าเป็นวิธีการที่ดีกว่าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคเอกชน ในทำนองเดียวกัน ในส่วนของการจัดหาบริการสำคัญ ๆ เช่น สาธารณสุขและการศึกษา ซึ่งกลไกตลาดมักจัดหาได้ไม่ดีพอ "แนวทางที่สาม" ก็หาทางออกง่าย ๆ ด้วยการให้รัฐบาลทำสัญญากับภาคเอกชนให้เข้ามาจัดหาบริการเหล่านี้

ถึงแม้ว่าวิธีการใหม่ ๆ ของ "แนวทางที่สาม" อาจสอดคล้องกับแนวทางของสำนักโพสต์เคนเชียนในเชิงหลักการก็ตาม แต่ที่แตกต่างจาก "แนวทางที่สาม" ก็คือ ลัทธิโพสต์เคนเชียนปฏิเสธการกระจายรายได้ตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ อีกทั้งปฏิเสธข้ออ้างของเสรีนิยมใหม่ที่ว่า ตลาดมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการจ้างงานเต็มอัตราโดยอัตโนมัติ สำนักโพสต์เคนเชียนแย้งว่า ไม่มีทางที่แรงงานจะได้รับค่าตอบแทนตามความคุ้มค่าโดยอัตโนมัติด้วยกระบวนการในตลาดที่เป็นกลาง อันที่จริงแล้ว สถาบันในตลาดแรงงานมีอิทธิพลต่อแบบแผนการกระจายรายได้ ดังนั้น การแทรกแซงในเชิงสถาบันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะตลาดมีแนวโน้มที่จะเข้าข้างทุนมากกว่าแรงงานเสมอ

ยิ่งกว่านั้น ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมยังมีปัญหาเรื่องความแปรปรวนของอุปสงค์มวลรวม ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานอย่างไม่จำเป็น การปล่อยให้ราคาตกต่ำและความยืดหยุ่นของค่าจ้างไม่สามารถแก้ปัญหานี้ แต่กลับยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้เลวร้ายลง การแก้ไขปัญหาความขาดแคลนอุปสงค์ จำเป็นต้องอาศัยการแทรกแซงด้วยนโยบายการเงินการคลัง รวมทั้งสถาบันที่ช่วยป้องกันการตกต่ำของราคาสินค้าและค่าจ้างที่เป็นตัวเงิน ย่อมเป็นสถาบันที่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะมันจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาการพักชำระหนี้ได้ นี่คือความแตกต่างในแนวคิดพื้นฐานระหว่างลัทธิโพสต์เคนเชียนกับ "แนวทางที่สาม" และอธิบายถึงความไม่ลงรอยด้านนโยบายระหว่างสมาชิกพรรคแรงงานรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ในสหราชอาณาจักร และระหว่างสมาชิกพรรคเดโมแครตรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ในสหรัฐอเมริกา

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เชิงอรรถ

(1) กฎหมายข้าว (Corn Law of 1815) เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกข้าว (หมายถึงข้าวชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโพด, ข้าวไรย์) ที่อังกฤษตราขึ้นโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ผลิต กฎหมายนี้ทำให้ราคาธัญญาหารในประเทศสูงขึ้นมาก บรรดาเจ้าของอุตสาหกรรมจึงต้องการให้ยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ เพื่อที่ตนจะได้ไม่ต้องขึ้นค่าแรงให้คนงาน มีการก่อตั้งสันนิบาตต่อต้านกฎหมายข้าว (Anti-Corn Law League) ขึ้นมาเพื่อรณรงค์ชักจูงให้ประชาชนเห็นด้วยกับการเปิดเสรี จนกระทั่งรัฐบาลในยุคเซอร์ โรเบิร์ต พีล ต้องยอมยกเลิกกฎหมายข้าวในที่สุด (ผู้แปล)

(2) บุคคลสำคัญในสำนักชิคาโกประกอบด้วย Milton Friedman, George Stigler, Ronald Coase และ Gary Becker ทั้งหมดได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์

(3) สำนักที่เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงในรายได้มวลรวมที่เป็นตัวเงินเกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน และการเปลี่ยนแปลงในภาคการเงินเป็นสาเหตุหลักของความไร้เสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ นักการเงินนิยมจึงเห็นว่า ควรใช้นโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้นโยบายการคลัง นักคิดที่สำคัญของสำนักนี้คือ มิลตัน ฟรีดแมน นั่นเอง (ผู้แปล)

(4) หมายถึง แรงงานที่พร้อมจะทำงานสามารถมีงานทำได้ทุกคน (ผู้แปล)

(5) ธนาคารกลางแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินนโยบายการเงิน เป็นผู้บริหารจัดการอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลต่อระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายการคลังหมายถึงการบริหารจัดการของรัฐบาลในด้านงบประมาณการใช้จ่ายและการเก็บภาษี ซึ่งมีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

(6) อุปสงค์มวลรวม (aggregate demand) คือ ผลรวมของระดับอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจหรือประเทศหนึ่ง ๆ สำนักเคนเชียนเชื่อว่า การผลิตของบริษัทธุรกิจตั้งอยู่บนความคาดหวังของบริษัทนั้น ๆ ต่อระดับของอุปสงค์มวลรวม ดังนั้น ระดับของอุปสงค์มวลรวมจึงเป็นตัวกำหนดระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด

(7) แผนปฏิบัติการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษ 1930 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฟรงคลิน รูสเวลต์ ประกอบด้วยมาตรการหลายอย่าง เช่น การรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาและด้านการเงิน การประกันสังคมในรูปของการช่วยเหลือผู้ว่างงาน การประกันราคาสินค้าเกษตร การสร้างงานผ่านระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เป็นต้น (ผู้แปล)

(8) โปรดดู Palley, Plenty of Nothing, pp.31-38.

(9) ผลผลิตส่วนเพิ่ม (marginal product) หมายถึง จำนวนผลผลิตที่เพิ่มขึ้น (หรือลดลง) อันเป็นผลมาจากการเพิ่ม (หรือลด) ปัจจัยแปรผันชนิดหนึ่งชนิดใดไปอีก 1 หน่วย โดยที่ปัจจัยชนิดอื่น ๆ ยังคงใช้ในปริมาณเดิมหรือคงที่ เช่น จำนวนข้าว (ถัง) ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้แรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ในนาผืนเดิมโดยไม่มีการเพิ่มปัจจัยชนิดอื่น ๆ ในเมื่อแรงงานเป็นปัจจัยแปรผัน ประสิทธิภาพในการผลิตของแรงงานจึงมีผลต่อผลผลิตส่วนเพิ่ม แรงงานจึงควรได้รับค่าแรงตามประสิทธิภาพหรือความทุ่มเทของตน (ผู้แปล)

(10) ประเด็นนี้มีการอธิบายอยู่ใน Palley, Plenty of Nothing.

(11) สำหรับการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่การลดราคาและค่าจ้างที่เป็นตัวเงินอาจนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โปรดดู Palley, Post-Keynesian Economics, Chapter 4.

(12) เหตุผลของฟรีดแมนเกี่ยวกับนโยบายที่ตั้งอยู่บนกติกา ได้รับการสนับสนุนจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองของสำนักชิคาโกรุ่นที่สอง ซึ่งอ้างว่าพวกนักการเมืองล้วนแล้วแต่มีแรงจูงใจจากผลประโยชน์ส่วนตน มักหลอกลวงสาธารณชนและดำเนินนโยบายในทางที่ขัดต่อผลประโยชน์ส่วนรวม ตามความคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักชิคาโกรุ่นที่สอง หนทางแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ก็คือ การมีสถาบันวางนโยบายที่เป็นอิสระจากการควบคุมทางการเมือง แต่ปัญหาของหนทางแก้ไขแบบนี้ก็คือ การขจัดอิทธิพลทางการเมืองออกไป ไม่ได้หมายความว่าสามารถขจัดผลประโยชน์ส่วนตนของผู้อยู่ในอำนาจได้ (Palley, The Institutionalization of Deflationary Policy Bias)

(13) Mishel, et al., The State of Working America; Palley, Plenty of Nothing.
(14) แนวความคิดนี้บางทีเรียกกันว่า "อัตราการว่างงานที่ไม่กระตุ้นเงินเฟ้อ" กล่าวคือ อัตราการว่างงานที่ภาวะเงินเฟ้อไม่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง

(15) ลักษณะของนโยบายทางการเงินหรือการคลังที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางเศรษฐกิจ ในทิศทางตรงกันข้ามกันแนวโน้มของวัฏจักรธุรกิจหรือวัฏจักรการค้า เช่น การใช้นโยบายการคลังแบบหดตัวเพื่อลดปัญหาเงินเฟ้อ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อบรรเทาปัญหาในยามที่วัฏจักรธุรกิจหรือการค้าอยู่ในช่วงขาลง (ผู้แปล)

(16) Mishel, et al., The State of Working America; Weisbrot, et al., "The Scorecard."
(17) การวิเคราะห์ตรงจุดนี้มาจาก Palley, Restoring Prosperity.

(18) การผูกขาดอาจเกิดจากการกระทำของภาคเอกชนหรือเกิดจากลักษณะของเทคโนโลยี ในทั้งสองกรณี มันกีดกันผลดีของการแข่งขัน สินค้าสาธารณะหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ อาทิเช่น การป้องกันประเทศ การติดไฟตามถนนหนทาง ฯลฯ ตลาดจัดหาสินค้าสาธารณะได้ไม่เพียงพอ เพราะผู้ผลิตภาคเอกชนไม่สามารถป้องกันไม่ให้บุคคลต่าง ๆ มาใช้สินค้าดังกล่าวโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การผลักภาระหมายถึงการกระทำของบุคคลหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เมื่อบุคคลตัดสินใจทำอะไร เขาไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนและกำไรของผลกระทบดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงไม่ใช่จุดที่ดีที่สุด
(การผูกขาดตามธรรมชาติหมายถึงการผูกขาดที่เกิดจากสภาพธรรมชาติ เช่น เป็นผู้เดียวที่ครอบครองทรัพยากรบางอย่าง หรือเกิดจากลักษณะของการผลิต เช่น การผูกขาดด้านเทคโนโลยี เป็นต้น-ผู้แปล)

(19) Arestis and Sawyer (2001) ทำการสำรวจแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ "แนวทางที่สาม" ที่มีการนำไปใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บรรณานุกรม

P. Arestis and M. Sawyer, eds., The Economics of the Third Way: Experiences from Around the World (Cheltenham, U.K.: Edward Elgar Publishing, 2001).

D.G. Blanchflower and A.J. Oswald, "Well-being over Time in Britain and the USA," unpublished manuscript, 2002.

John M. Keynes, The General Theory of Employment, Interest and Money (London: Macmillan Press, 1936).

L. Mishel, J. Bernstein, and J. Schmitt, The State of Working America 2000-2001 (Ithaca, NY: Cornell University Press, 2001).

Thomas I. Palley, "General Disequilibrium Analysis with Inside Debt," Journal of
Macroeconomics, vol. 21, Fall 1999, pp. 785 - 804.

-------------, Plenty of Nothing: The Downsizing of the American Dream and the Case for Structural Keynesianism (Princeton University Press, 1998).

-------------, "Restoring Prosperity: Why the U.S. Model is Not the Right Answer for the
U.S. or Europe," Journal of Post Keynesian Economics, vol. 20, Spring 1998, pp. 337-54.

-------------, "The Institutionalization of Deflationary Policy Bias," in H. Hagerman and A. Cohen, eds., Advances in Monetary Theory (Kluwer Acadamic Publishers, 1997).

-------------, Post Keynesian Economics: Debt, Distribution, and the Macro Economy (London: Macmillan Press, 1996).

M. Weisbrot, D. Baker, E. Kraev and J. Chen, "The Scorecard on Globalization 1980-2000: Twenty Years of Diminished Progress," Briefing paper, Center for Economic and Policy Research (Washington: 2002).


 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
08 Febuary 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
ในประเทศอุตสาหกรรม เศรษฐกิจถูกครอบงำด้วยนโยบายที่เกี่ยวเนื่องกับ "โมเดลอเมริกา" ซึ่งประกอบด้วย - การเปิดเสรีตลาดการเงิน, - การแปรรูป, - การลดทอนความเข้มแข็งของสถาบันคุ้มครองสังคม, การลดทอนความเข้มแข็งของสหภาพแรงงานและการคุ้มครองตลาดแรงงาน, - การลดขนาดของรัฐบาลลง, - การตัดลดอัตราภาษีของคนรวย, - การเปิดตลาดสินค้าและตลาดทุนระหว่างประเทศ, - นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศถูกครอบงำด้วย "ฉันทามติวอชิงตัน" ซึ่งสนับสนุนการแปรรูป การค้าเสรี การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักร
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
home