โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๖๐ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 16, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

16-01-2551

Political Return: Thailand
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

(๓) สู่วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์
ปาฐกถารำลึก: สังคมไทยกับการก้าวสู่วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์
พระไพศาล วิสาโล : บรรยาย
ปัจจุบัน จำพรรษาที่วัดป่ามหาวัน อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

คำบรรยายต่อไปนี้ เป็นส่วนหนึ่งของปาฐกถานำ ๑๔ ตุลา ประจำปี ๒๕๔๗
จัดโดยมูลนิธิ ๑๔ ตุลา เรื่อง : เปิดหน้าต่าง สร้างสะพาน สมานใจ
ทางออกจากกับดักแห่งความรุนแรงในยุคทักษิณ

กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนเห็นว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน เรากำลังจะได้รัฐบาลใหม่
โดยการนำของพรรคพลังประชาชน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการหวนกลับมาของ
บรรดาสมาชิกพรรคไทยรักไทยเดิมจำนวนมาก และอาจมีนโยบายบริหารประเทศ
ในลักษณะอำนาจนิยม จัดการปัญหาต่างๆด้วยวิธีใช้ความรุนแรง เพ่งเล็งพัฒนาการ
ทางเศรษฐกิจมิติเดียว และมีนโยบายประชานิยม อย่างเดียวกัน
โดยเหตุนี้ ปาฐกถาเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว ซึ่งแสดงโดยท่านพระไพศาล วิสาโล
จะเตือนสังคมไทยได้เป็นอย่างดีถึงข้อควรระวัง และความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
ตลอดรวมถึงนโยบายการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่คับแคบแบบเดิมๆ ซึ่งอาจจะหวนคืน
ดังนั้น การเฝ้าจับตาต่อกรณีเหตุการณ์และนโยบายต่างๆที่เคยเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นดัชนีและ
ข้อเตือนความจำ เพื่อสังคมไทยจะตั้งอยู่ในความไม่ประมาทกับรัฐบาลใหม่

เนื่องจากปาฐกถาฉบับสมบูรณ ์มีขนาดความยาวเกือบ ๔๐ หน้ากระดาษ A4
ทางกองบรรณาธิการฯ จึงไดแบ่งเนื้อหาของปาฐกถานี้ออกเป็น ๓ ตอน
โดยตั้งชื่อต่างกันแต่เรียงลำดับหัวข้อนำเสนอต่อเนื่องกัน เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
และสะดวกต่อการจัดการเชิงเทคนิค
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๖๐
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

(๓) สู่วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์
ปาฐกถารำลึก: สังคมไทยกับการก้าวสู่วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์
พระไพศาล วิสาโล : บรรยาย
ปัจจุบัน จำพรรษาที่วัดป่ามหาวัน อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

สู่วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์
สังคมไทยจะหลุดจากความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมได้ ต้องเริ่มต้นจากการทำให้"ขันติธรรม"และ"เมตตาธรรม"กลายมาเป็นวัฒนธรรมของสังคม ขันติธรรมและเมตตาธรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงเมื่อเรารู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับผู้อื่น ตระหนักว่าเรามีความเหมือนมากกว่าความต่าง แม้จะต่างความคิด ต่างภาษา ต่างเชื้อชาติ แต่เหนืออื่นใดเราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์เหมือนกัน รักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกัน ความรู้สึกเช่นนี้ที่จะทำให้เราเห็นใจกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น

ควบคู่กับขันติธรรมและเมตตาธรรม ก็คือความตระหนักว่า ความรุนแรงนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน มันทำได้อย่างมากเพียงแค่ยุติปัญหาชั่วคราวเท่านั้น และไม่มีหลักประกันว่าปัญหาจะไม่ลุกลามเลวร้ายลง ยิ่งใช้ความรุนแรงเพื่อขจัดความชั่วร้ายด้วยแล้ว ความชั่วร้ายมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะสิ่งที่ถูกขจัดไปคือตัวบุคคลเท่านั้น ขณะที่ผู้ใช้ความรุนแรงนั้นเองกลับจะถูกความชั่วร้ายครอบงำมากขึ้น เช่นเดียวกับตำรวจที่ใช้ความรุนแรงกับโจรเป็นอาจิณ ในที่สุดย่อมมีพฤติกรรมเยี่ยงโจรเสียเอง กล่าวคือ รีดไถ ปล้น หรือฆ่าผู้บริสุทธิ์ ดังเป็นข่าวอยู่เสมอ จะสู้กับความชั่วร้ายนั้นมีวิธีเดียว คือใช้ความดี และความดีนั้นย่อมแสดงออกโดยวิธีการที่สันติ

สันติวิธีมิใช่การยอมจำนน แต่เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา เราสามารถเผชิญกับปัญหาได้โดยไม่จำต้องใช้วิธีหักโค่นทำลายล้าง หรือทำด้วยความเกลียดโกรธ แต่ทำด้วยความเมตตา นั่นคือ ไม่มองคู่กรณีเป็นศัตรูที่ต้องกำจัด เพราะมนุษย์นั้นหาใช่ศัตรูไม่ ความโกรธเกลียด อาฆาตพยาบาท ความโลภ และความหลงต่างหากคือศัตรูที่แท้จริง เมตตาธรรมนั้นมีพลังในตัวเองที่สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ในด้านหนึ่งเมตตาธรรมสามารถดึงเอาความดีงามออกมาจากใจของคู่กรณี และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่ที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเมตตาธรรมยังสามารถยกระดับจิตใจของผู้ที่ใช้สันติวิธีได้ด้วย

วัฒนธรรมที่มีขันติธรรมและเมตตาธรรมเป็นพื้นฐานนั้น นอกจากจะเรียกร้องการเปลี่ยนมุมมองต่อผู้อื่นแล้ว ยังต้องอาศัยการเปลี่ยนมุมมองต่อตนเองด้วย นั่นคือไม่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง หรือเอาความเห็นของตนเองเป็นใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือจำเป็นต้องหันมามองตนเองและรู้เท่าทันตนเองด้วยว่า ลึก ๆ แล้วเราชอบแบ่งเขาแบ่งเราโดยไม่รู้ตัว มนุษย์พร้อมจะเอาทุกอย่างมาเป็นเส้นแบ่งเขาแบ่งเรา ถ้าไม่เอาเผ่าพันธุ์มาเป็นเส้นแบ่ง ก็เอาภาษา เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว มาแบ่งเขาแบ่งเราแทน หรือไม่ก็เอาความคิด ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา หรือสถาบันที่สังกัด มาเป็นเส้นแบ่ง แม้แต่สิ่งดีงามเช่นความดีหรือศีลธรรม ก็ไม่เว้นที่จะถูกเอามาใช้เป็นเส้นแบ่งด้วยเช่นกัน การแบ่งดีแบ่งชั่วชัดเจนว่า พวกฉันดี พวกแกเลว เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผู้คนขาดขันติธรรม เพราะเมื่อสรุปว่าอีกฝ่ายเลวเสียแล้ว ก็ไม่ต้องสนใจฟังมัน และเมื่อมันชั่ว ก็ต้องจัดการกับมันอย่างไม่ต้องปรานีปราศรัย

เมื่อสาวให้ลึกลงไปจะพบว่าสัญชาตญาณที่ชอบแบ่งเขาแบ่งเรานั้นมิได้มาจากอะไรอื่น หากเกิดจากความสำคัญมั่นหมายในตัวตน หรือความยึดมั่นใน "ตัวกู ของกู" ความสำคัญมั่นหมายดังกล่าวนี้เอง ที่ทำให้เราชอบยึดเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็น "ของกู"โดยไม่รู้ตัว รวมทั้งแสวงหากลุ่มสังกัดเพื่อจะได้ยึดหมายว่าเป็น "พวกกู" ซึ่งก็คือการผลักให้คนที่เหลือกลายเป็น "พวกมัน"ไปเสีย จะเอาชนะสัญชาตญาณแบ่งเขาแบ่งเราได้ก็ด้วยการรู้เท่าทัน "ตัวกู ของกู" ไม่ยอมให้มันมาครอบงำจิตใจของเราง่าย ๆ

ขันติธรรม เมตตาธรรม ความใฝ่ในสันติวิธี ไม่นิยมความรุนแรง และการไม่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง คือสิ่งที่จะต้องทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมของสังคม วัฒนธรรมดังกล่าวซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่า "วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์" เป็นสิ่งที่จะนำพาสังคมไทยหลุดจากความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่กำลังลุกลามอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมดังกล่าวไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการเทศน์การสอนเท่านั้น หากยังต้องอาศัยการรณรงค์ขับเคลื่อนทางสังคม เพื่อก่อให้เกิดสัมพันธภาพและทัศนคติอย่างใหม่ ซึ่งในที่นี้มีข้อเสนอบางประการ

๑. ส่งเสริมให้เกิดสายสัมพันธ์ข้ามกลุ่มทั่วทั้งสังคม
การขาดขันติธรรมและเมตตาธรรมแพร่ระบาดในสังคมไทยก็เพราะ มีการสร้างกำแพงขวางกั้นระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม แม้วิถีชีวิตของโลกสมัยใหม่ดูเหมือนจะทำให้ผู้คนกลุ่มต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งสังคมสมัยใหม่ก็มีความซับซ้อนและซอยย่อยหลากหลายมากขึ้น การแตกตัวออกเป็นหมู่เหล่าต่าง ๆ มากมาย ทำให้ผู้คนสัมพันธ์กันอย่างฉาบฉวยมากขึ้น และยากที่กลุ่มต่าง ๆ จะรู้จักกันได้ทั่วถึง นอกจากนั้นความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างในสังคมเมืองก็มักจะผลักดันให้ผู้คนเข้าหาสังกัดและจำกัดตัวอยู่ในกลุ่มของตน สภาพดังกล่าวได้ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ มากมายในสังคม (จะเรียกว่าช่องว่างทางอัตลักษณ์ก็ได้)

ผลก็คือการมีทัศนคติและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันอย่างมาก จนยากจะเข้าใจกันได้ แม้พูดภาษาเดียวกัน นับถือศาสนาเดียวกัน แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน ก็ยากที่จะสื่อสารกันให้รู้เรื่อง เพราะช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเวลานี้ห่างกันไกลมาก ไม่ต้องดูอื่นไกล แม้ในครอบครัวเดียวกัน ช่องว่างระหว่างพ่อแม่กับลูก ซึ่งเป็นวัยรุ่นก็ถ่างกว้างมากจนเข้าใจกันได้ยาก ส่วนหนึ่งเพราะดูโทรทัศน์คนละช่อง ใช้เวลาว่างคนละแบบ อยู่กับสิ่งแวดล้อม(และเทคโนโลยี)คนละแวดวง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ต้องพูดถึงกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และท้องถิ่นที่แตกต่างกัน อาทิ คนเมืองกับชาวเขา ชาวพุทธในกรุงเทพ ฯกับชาวมุสลิมในภาคใต้ ช่องว่างดังกล่าวนับวันจะทำให้เกิดเป็นปฏิปักษ์กันมากขึ้น และมีขันติธรรมกันน้อยลง

ในบริบทดังกล่าว วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการสร้าง "สายสัมพันธ์พาดผ่าน" ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม เป็นสายสัมพันธ์ที่ไม่เพียงข้ามวัฒนธรรม ภาษา เชื้อชาติ เศรษฐกิจ การศึกษา และภูมิประเทศเท่านั้น หากยังข้ามอายุ และเพศด้วย เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ใหญ่ทุกวันนี้มีความเข้าใจเด็กและเยาวชนน้อยลงทุกที จึงลงเอยด้วยการมีทัศนคติในทางลบ และทำให้เกิดการกระทบกระทั่งและก่อความรุนแรงทางจิตใจและวาจาโดยไม่รู้ตัว

สายสัมพันธ์พาดผ่านนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อให้คนต่างกลุ่มต่างอัตลักษณ์มารู้จักกัน ที่ดีกว่านั้นก็คือ มาใช้ชีวิตร่วมกัน และทำงานด้วยกัน หน่วยงานของรัฐ องค์กรธุรกิจ และองค์กรภาคประชาชน ควรร่วมกันจัดทำโครงการระดับชาติเพื่อสร้างสายสัมพันธ์พาดผ่านชนิดที่ครอบคลุมทั้งประเทศ โดยอาศัยกิจกรรมเช่น การประชุม สัมมนา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การจัดค่าย กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยได้อย่างมากคือการส่งเสริมอาสาสมัครลงไปทำงานในชุมชนที่มีอัตลักษณ์แตกต่างไปจากตน โดยไม่จำกัดเฉพาะคนหนุ่มสาว แต่ควรรวมผู้มีอายุด้วย โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้จากกันและกัน เพื่อสร้างสมานฉันท์ระหว่างคนในชาติ นอกเหนือไปจากการช่วยเหลือชุมชนที่ยากไร้

สื่อมวลชนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวได้ด้วยการนำเสนอเรื่องราวของคนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีอำนาจควบคุมสื่อ เช่น คนยากจน ชนกลุ่มน้อย ทั้งนี้เพื่อให้คนส่วนใหญ่เข้าใจปัญหาและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ กรณีแม่ใหญ่ไฮเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า สื่อมวลชนมีอำนาจที่จะทำให้ผู้คนเกิดความเห็นใจคนยากไร้ได้ไม่น้อย แม้จะยังมองไม่เห็นถึงสาเหตุเชิงโครงสร้างก็ตาม

๒. เสริมสร้างกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม
ผู้คนมีอคติต่อกันส่วนหนึ่งก็เพราะไม่สามารถฟังผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง ผู้คนมักจะเบียดเบียนกันส่วนหนึ่งก็เพราะ ไม่รู้วิธีที่จะจัดการกับความขัดแย้งโดยสันติวิธี ด้วยเหตุนี้กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรเผยแพร่ให้รู้จักกันมาก ๆ ถ้าจะให้ดีควรส่งเสริมให้มีขึ้นตั้งแต่ในระดับโรงเรียน

ในสหรัฐอเมริกา มีโรงเรียนประถมและมัธยมนับพัน ๆ แห่งที่จัดอบรมทักษะการแก้ไขความขัดแย้งแก่นักเรียน เพื่อจะได้รู้จักวิธีการสื่อสาร การฟังอย่างตั้งใจ การจัดการกับความโกรธ และการหาทางออกร่วมกัน โรงเรียนบางแห่งถึงกับจัดตั้งศูนย์จัดการความขัดแย้งขึ้น โดยมีนักเรียนเป็นอาสาสมัครในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบาดหมางระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน (1) ประสบการณ์ในหลายประเทศบ่งชี้ว่า การจัดการความขัดแย้งมิใช่เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน แม้แต่นักเรียนหรือเด็ก ๆ ก็สามารถทำได้ เพราะอาศัยทัศนคติในทางบวกและทักษะพื้น ๆ บางประการเท่านั้น อาทิ การรู้จักฟัง การเปิดใจกว้าง และความเห็นอกเห็นใจ

สถาบันการศึกษาในประเทศไทยควรมีการอบรมทักษะการจัดการความขัดแย้งให้แก่นักเรียน ครู ขณะเดียวกันควรมีการอบรมให้แก่บุคคลภายนอกด้วย แน่นอนว่าทักษะดังกล่าวต้องมีทัศนคติที่เกื้อกูลเป็นพื้นฐานด้วย จะพัฒนาทักษะให้ได้ผล ก็ต้องพัฒนาทัศนคติ อันได้แก่ความ"ใจกว้าง"และ"ความเห็นอกเห็นใจ" ซึ่งก็คือ"ขันติธรรม"และ"เมตตาธรรม"นั่นเอง. นอกจากสถาบันการศึกษาแล้ว หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ก็ควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย เพราะทุกหน่วยงานย่อมหนีไม่พ้นความขัดแย้ง เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานภาครัฐของไทยได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากขึ้น อาทิ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจัดให้มีการวิจัยและอบรมด้านนี้แก่บุคลากรอย่างจริงจังในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา

หากมีการเผยแพร่กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธีไปทั่วทั้งสังคม ผู้คนจะเข้าใจสันติวิธีดีขึ้น และมีทักษะในการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง ขณะเดียวกันขันติธรรมและเมตตาธรรมก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นด้วย ความสำเร็จของการใช้สันติวิธีแก้ไขปัญหาทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และระดับประเทศ เป็นประเด็นที่สื่อมวลชนควรให้ความสนใจ เพื่อช่วยให้คนส่วนใหญ่ในสังคมตระหนักว่า ยังมีวิธีอื่นที่ทรงประสิทธิภาพและให้ผลยั่งยืนกว่าความรุนแรง

๓. สร้าง "จิตใหญ่" และสำนึกไทยที่ไม่คับแคบ
"จิตใหญ่" คือจิตที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่คิดติดตันอยู่กับผลประโยชน์ของตัว เป็นจิตที่ไม่ตีกรอบจำกัดวงอย่างคับแคบ ว่าคนกลุ่มนี้พวกนี้เท่านั้นที่เป็นพวกของตน หากรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับมวลมนุษย์ในโลกแม้จะต่างเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา หรือความเชื่อ เห็นมนุษย์ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมโลก หรือเพื่อนร่วมทุกข์ที่ควรมีความเอื้ออาทรต่อกัน

องค์กรศาสนาควรส่งเสริมให้ผู้คนมีจิตใหญ่ แทนที่จะเอาศาสนามาเป็นเส้นแบ่ง ควรช่วยให้ศาสนิกชนไปพ้นเส้นแบ่งทั้งหลาย เพื่อให้เข้าถึงแก่นแท้ของศาสนาที่เห็นมนุษย์ทั้งปวงเป็นพี่น้องกัน โดยเฉพาะพุทธศาสนาซึ่งไปลึกถึงขั้นตั้งคำถามกับสำนึกเรื่องตัวตน น่าจะมีบทบาทในการช่วยให้พุทธศาสนิกชนรู้เท่าทันความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ซึ่งเป็นตัวการที่ชอบแบ่งเขาแบ่งเรา โดยเอาศาสนา ภาษา เชื้อชาติ เศรษฐกิจ การศึกษา และอะไรต่ออะไรอีกมากมาย มาเป็นเครื่องมือ

สถาบันการศึกษาตลอดจนองค์กรต่าง ๆ ในภาคประชาชนสามารถมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ด้วยการสร้างสายสัมพันธ์แห่งไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างคนไทยกับคนชาติอื่น ๆ ดังที่เครือข่ายองค์กรสันติภาพในไทย ได้จัดทำโครงการปันน้ำใจให้เด็กอิรัก แม้จะเป็นโครงการเฉพาะกิจก็ตาม นอกจากการขยายจิตสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ให้กว้างไกลแล้ว การขยายจิตสำนึกแห่งความเป็นไทยให้กว้างขวางก็สำคัญ

ดังได้กล่าวแล้วว่า ความเป็นไทยที่คับแคบเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งวันนี้มีบทบาทไม่น้อยในการก่อความรุนแรงขึ้นในภาคใต้ การพยายามบังคับให้ผู้คนในสามจังหวัดภาคใต้นับถือพุทธศาสนาและพูดภาษาไทย เพื่อจะได้เป็นไทยตามนิยามของรัฐ ได้สร้างความบีบคั้นแก่ผู้คนที่นั่นมาหลายสิบปี แม้เวลานี้แรงบีบคั้นดังกล่าวจะบรรเทาเบาบางลง แต่ความรังเกียจเดียดฉันท์คนที่นั่นว่าไม่ใช่คนไทย เพราะไม่ยอมเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็นไทยตามนิยามที่คับแคบ ก็ทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นพลเมืองชั้นสองไปโดยปริยาย ซึ่งในที่สุดความคับแค้นก็ประทุออกมาเป็นความรุนแรงโดยคนจำนวนหนึ่ง

ทางออกย่อมไม่ใช่การผลักไสให้คนเหล่านั้นไปอยู่ประเทศอื่นอย่างที่หลายคนอยากจะเห็น ทางออกที่แท้จริงคือการเปลี่ยนสำนึกหรือนิยามความเป็นไทยเสียใหม่ ให้ครอบคลุมถึงคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ที่เกิดในผืนแผ่นดินนี้ ครอบคลุมถึงคนทุกคนที่ปรารถนาจะฝากปัจจุบันและอนาคตไว้บนผืนแผ่นดินนี้ แม้จะมีอดีตหรือความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ต่างกันก็ตาม พูดอีกนัยหนึ่ง แม้บรรพบุรุษจะไม่ได้มาจากเทือกเขาอัลไต ก็มีสิทธิเป็นคนไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ใช่แต่เท่านั้น แม้แต่คนจนก็ต้องได้รับการนับรวมให้เป็นเจ้าของแผ่นดินไทยด้วย นั่นหมายความว่า ปัญหาของคนจนก็ต้องถือว่าเป็นปัญหาของชาติด้วย ไม่ใช่เรียกร้องให้คนจนเสียสละเพื่อชาติ ซึ่งเมื่อสาวไปถึงที่สุดแล้ว "ชาติ"ที่ว่าก็คือคนกลุ่มเล็ก ๆ ในเมืองที่มีอำนาจเงินและการเมืองอยู่ในมือนั่นเอง

สำนึกความเป็นไทยจะพ้นจากความคับแคบได้ นอกจากจะต้องอาศัยการแย่งชิงคำนิยาม เพื่อไม่ให้ถูกผูกขาดโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ และการเชื่อมโยงคนไทยต่างกลุ่มต่างอัตลักษณ์ให้มารู้จักกันและเข้าใจกันแล้ว อีกปัจจัยที่สำคัญก็คือการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดความเป็นไปของชาติ รวมทั้งการกำหนดชะตากรรมของตนเองด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้พื้นที่ทางการเมืองเปิดสำหรับทุกคน ทุกคนมีสิทธิที่ประท้วงคัดค้านเพื่อปกป้องวิถีชีวิตของตน มีสิทธิใช้ท้องถนนและสื่อมวลชนเป็นเวที สำหรับการแสดงออกซึ่งความทุกข์ร้อนของตน ด้วยวิธีนี้ชาติจึงจะเป็นของทุกคน และทุกคนจะรู้สึกว่าตนเป็นคนไทยอย่างแท้จริง

การเมืองแห่งความเมตตา
ประเด็นข้างต้นเป็นสิ่งที่ย้ำถึงความสำคัญของการเมืองภาคประชาชน การเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันของประชาชน ไม่ว่าเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือเพื่อปกป้องวิถีชีวิตของตน ต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการตอกย้ำว่าชาติเป็นของทุกคน แต่การเมืองภาคประชาชนจะมีคุณูปการมากกว่านั้น หากพยายามสร้างวัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์ไปพร้อม ๆ กัน นั่นคือกระทำด้วยขันติธรรมและเมตตาธรรม ไม่ติดยึดกับความคิดของตนจนเห็นผู้ที่คิดต่างเป็นศัตรู เห็นคู่กรณีเป็นเพื่อนมนุษย์ มีความอดทนอดกลั้น แม้จะถูกกระทำด้วย ความรุนแรงก็ตาม แต่ก็พร้อมจะให้อภัยและมั่นคงในสันติวิธี ด้วยวิธีนี้การเมืองภาคประชาชนจะเป็น "การเมืองแห่งความเมตตา" (คำของชัยวัฒน์ สถาอานันท์) (2) ไปพร้อม ๆ กัน

วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากคนทั่วทั้งสังคมอยู่ในภาวะสงบราบคาบ แต่วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์สามารถเกิดขึ้นได้ หากในสังคมมี "การเมืองแห่งความเมตตา" ภาคประชาชนจะต้องช่วยกันสร้างการเมืองแห่งเมตตาให้มีมากขึ้น แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความไร้เมตตาจากรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลจะกล่าวหาด้วยถ้อยคำที่เป็นเท็จ วาดภาพให้เป็นตัวร้ายหมายทำลายชาติ แต่ก็ไม่ควรที่ภาคประชาชนจะตอบโต้ด้วยวิธีเดียวกัน ควรระลึกว่าศัตรูของตนนั้นไม่ใช่รัฐบาลหรือตัวบุคคลในรัฐบาล หากคือความหลงผิด ความโกรธเกลียด ในตัวเขา ใครก็ตามที่ใช้วิธีที่เลวร้าย ผลร้ายก็ย่อมจะตกแก่ตัวเขาเอง

จะว่าไปแล้ว ทัศนคติและวิธีการของ พ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ การมองผู้ที่คิดต่างจากตนว่า เป็นศัตรู เป็นผู้ไม่หวังดีต่อชาติ การแบ่งเขาแบ่งเราอย่างชัดเจน รวมไปจนถึงการชอบใช้อำนาจ เอาเงินเป็นที่ตั้ง ล้วนแต่เป็นภาพสะท้อนของคนไทยส่วนใหญ่ในสังคม ที่ตกอยู่ภายใต้วัฒนธรรมแห่งความรุนแรงและวัตถุนิยม สังคมไทยเวลานี้มีความรุนแรงกันมากแล้ว เป็นความรุนแรงที่มิได้มาจากความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรหรือผลประโยชน์เท่านั้น หากยังมีความขัดแย้งทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมเพิ่มเข้ามาอีกอย่างชัดเจนในระยะหลัง ไม่นับถึงความรุนแรงระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มระหว่างสถาบัน (อาทิ อาชญากรรม และการวิวาทของวัยรุ่น) มองในแง่นี้การตอบโต้ พ.ต.ท.ทักษิณด้วยวิธีการเดียวกัน มีแต่จะทำให้สังคมไทยตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายลง

สังคมไทยจะมีอนาคตก็ต่อเมื่อวัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์เข้ามาแทนที่วัฒนธรรมแห่งความรุนแรง สิ่งสำคัญเร่งด่วนที่สังคมไทยวันนี้กำลังต้องการก็คือ ความร่วมมือและไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน และความสมานฉันท์ของคนในชาติ ปราศจาก ๒ ปัจจัยดังกล่าว สังคมไทยจะมีแต่ความรุนแรงมากขึ้น วัฒนธรรมแห่งความสมานฉันท์และการเมืองแห่งความเมตตาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ควรตระหนักถึงมิติดังกล่าว และถือเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญยิ่งกว่าเรื่องเศรษฐกิจด้วยซ้ำ พ.ต.ท.ทักษิณควรเร่งฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน ด้วยการเคารพและรับฟังประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน พยายามชนะใจประชาชนด้วยความดีและคุณธรรม ยิ่งกว่าการใช้เงินและอำนาจรัฐ ผลักดันให้ทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการของตน

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การเยียวยาบาดแผลในจิตใจของประชาชนที่เกิดจากน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐและรัฐบาล รัฐต้องยอมรับความจริงว่าที่ผ่านมาได้ใช้ความรุนแรงกับประชาชนหลายหมู่เหล่า สร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนเป็นอันมาก ทั้งโดยการละเมิดสิทธิในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน ตลอดจนทำลายวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คน การอุ้มฆ่าและสังหารหมู่ตลอดจนการผลักดันโครงการต่าง ๆ เข้าไปในท้องถิ่นต่าง ๆ ตามอำเภอใจ ได้สร้างบาดแผลที่ฝังลึกในผู้คนจำนวนไม่น้อย ความไว้วางใจระหว่างประชาชนกับรัฐจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการที่รัฐยอมรับความผิดพลาดที่ผ่านมาและพร้อมจะแก้ไข วิธีดังกล่าวเท่านั้นที่จะช่วยให้บาดแผลในใจประชาชนได้รับการเยียวยา

ขณะเดียวกันการหันมาให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมและวัฒนธรรมมากขึ้น จะช่วยให้รัฐสร้างสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มชนต่าง ๆ ในสังคมได้ รัฐสามารถช่วยให้ทุกภาคส่วนของสังคมเกิดความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับครอบครัวขึ้นไป ด้วยการปรับปรุงระบบการศึกษา ปฏิรูปสื่อไม่ให้กลุ่มทุนผูกขาด เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้าไปดูแลกำกับหรือใช้ประโยชน์ มีการส่งเสริมกิจกรรมภาคประชาชน เพื่อให้ร่วมกันแก้ปัญหาท้องถิ่นของตน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม ศาสนา เยาวชน สวัสดิภาพ รวมทั้งการเสริมสร้างขันติธรรมและเมตตาธรรมให้เพิ่มพูนมากขึ้น สังคมไทยจะมีภูมิต้านทานต่อความรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน และสามารถจะหลุดจากกับบดักแห่งความรุนแรงได้ในที่สุด

เปิดหน้าต่าง สร้างสะพาน สมานใจ
ทางออกจากกับดักแห่งความรุนแรงทั้งหมดที่เสมอมานั้น สามารถสรุปได้ด้วยอุปมาอุปมัย ๓ ประการคือ

๑. เปิดหน้าต่าง หน้าต่างนั้นเมื่อเปิดออก ย่อมทำให้เราสามารถเห็นโลกภายนอกได้ชัดเจนขึ้น ขณะเดียวกั ก็ช่วยให้แสงแดดสาดส่องเข้าไปในตัวบ้าน นำความสว่างเข้ามาแทนที่ความมืด

รัฐบาลโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ควรเปิดใจเพื่อขยายวิสัยทัศน์ให้มีความรอบด้าน ไม่จำกัดคับแคบอยู่เฉพาะมิติเศรษฐกิจ หากครอบคลุมไปถึงมิติทางสังคม วัฒนธรรม จริยธรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุลทุกมิติ นอกจากนั้นยังควรเปิดใจรับฟังคำวิจารณ์หรือความเห็นที่ต่างจากตน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สื่ออย่างเสรีหรือมีเวทีที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่กระทบต่อวิถีชีวิตของตน การพยายามควบคุมสื่อหรือปิดกั้นไม่ให้ประชาชนมีเวทีแสดงความเห็น อาทิ เวทีประชาพิจารณ์ แท้ที่จริงก็คือการปิดหูปิดตาของตัวท่านนั้นเอง การเปิดเสรีให้แก่สื่อต่าง ๆ และการเปิดให้มีประชาพิจารณ์อย่างถูกต้องช่วยให้ท่านเห็นความจริงอย่างรอบด้าน แม้ว่าแดดจะแรง เสียงจะดัง แต่ก็ไม่ควรปิดหน้าต่างไปเสียทั้งหมด เพราะบ้านจะอุดอู้และมืดมิด

ทางด้านประชาชน ก็ควรเปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของผู้คนที่มีอัตลักษณ์และวิถีชีวิตต่างจากตน ไม่ควรรับรู้หรืออุดอู้อยู่กับผู้คนที่คิดเหมือนกับตน หรืออยู่ในแวดวงเดียวกับตน การเปิดใจรับรู้ สุขทุกข์ ความใฝ่ฝัน ของผู้คนต่างศาสนา ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ย่อมช่วยให้เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อกัน ความรู้ความเข้าใจในชีวิตและสังคมจะอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ในทำนองเดียวกัน การรับฟังผู้ที่คิดต่างจากตน ก็ช่วยให้เกิดปัญญาและมีจิตไม่คับแคบ อย่าลืมว่าผู้ที่มีการศึกษาที่แท้จริงคือ ผู้ที่สามารถรับฟังทุกสิ่งได้โดยไม่หวั่นไหวและไม่สูญเสียความมั่นใจในตนเอง

๒. สร้างสะพาน สะพานนั้นเป็นสื่อกลางให้ผู้คนติดต่อสัมพันธ์กันและเกิดความร่วมมือกัน ไม่มีสะพาน ผู้คนก็เหมือนอยู่คนละโลก และง่ายที่จะเป็นปฏิปักษ์กัน

รัฐบาลควรก้าวจากปราการของตน ออกไปแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน แทนที่จะสั่งการจากหอคอย หรือใช้วิธี "จัดการ" โดยอาศัยเงินและอำนาจรัฐเป็นเครื่องมือ การกระจายอำนาจก็คือการสร้างสะพานเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ในการขับเคลื่อนผลักดันประเทศให้รุดหน้าสู่ความผาสุก แทนที่จะเป็นฝ่ายทำตามบัญชาของรัฐแต่อย่างเดียว ประชาชนจะมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับรัฐบาลได้ก็ต่อเมื่อ รัฐบาลก้าวไปหาประชาชน เคารพและรับฟังเขา ไม่คิดที่จะใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อดึงเขามาสนับสนุนรัฐสถานเดียว นอกจากนั้นควรช่วยให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ และมีอำนาจจัดการอย่างเท่าเทียมกัน มิใช่ผูกขาดโดยคนกลุมเล็ก ๆ

ในภาคประชาชนควรมีการสนับสนุนให้ประชาชนก้าวออกจากโลกของตัว ด้วยการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคนกลุ่มต่าง ๆ ชนิดที่ไปพ้นเส้นแบ่งทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ฐานะทางเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ และการศึกษา ทั้งนี้เพื่อจะได้ลดอคติต่อกัน มีความเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้นและรู้สึกถึงความเป็นเพื่อนร่วมชาติหรือเพื่อนร่วมโลกมากขึ้น แม้จะมีความขัดแย้งกันทางด้านความคิด วิถีชีวิต หรือผลประโยชน์ แต่ก็สามารถเป็นมิตรหรือคืนดีกันได้เพราะรู้จักจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี

๓. สมานใจ ใจที่ประสานเข้าด้วยกันในฐานะเพื่อนร่วมชาติและเพื่อนร่วมทุกข์ย่อมนำไปสู่สันติสุข ห่างไกลจากการเบียดเบียนกัน บ้านเป็นบ้าน และชาติเป็นชาติ เพราะใจที่เป็นหนึ่งเดียวกัน

รัฐบาลควรตระหนักถึงความสำคัญของสร้างสมานฉันท์ในชาติ ไม่ว่าความสมานฉันท์ระหว่างรัฐกับประชาชน หรือความสมานฉันท์ระหว่างประชาชนด้วยกัน ขันติธรรมและเมตตาธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรพูดจาสร้างความแตกแยก กล่าวร้ายคนที่เห็นต่าง ขณะเดียวกันไม่ควรใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เพราะมีแต่จะสร้างความร้าวฉาน รัฐบาลต้องพร้อมยอมรับความผิดพลาดที่ทำกับประชาชน ไม่มีอะไรที่สมานแผลในจิตใจได้ดีกว่าคำขออภัย และการให้อภัย รางวัลแห่งการให้อภัยจะมีความหมายแท้จริงต่อเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นแบบอย่างแห่งการขออภัยและการให้อภัย

ในภาคประชาชนก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีขันติธรรมและเมตตาธรรมต่อกันให้มากขึ้น ทั้งนี้โดยตระหนักว่า แม้จะคิดไม่เหมือนกัน มีอัตลักษณ์ต่างกัน แต่ถึงที่สุดแล้วเราต่างเป็นเพื่อนร่วมโลกที่รักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น แม้ว่าจะอยู่คนละฝ่ายในทางการเมือง แต่ก็ควรมีเมตตาต่อกัน พร้อมจะให้อภัยกัน และมั่นคงในสันติวิธี จะมีความคิดหรือความเชื่อใด ๆ ก็ตาม อย่าให้ความคิดความเชื่อนั้นมาบั่นทอนจิตใจของเราจนกลายเป็นคนไร้เมตตา

ภารกิจยังไม่สิ้นสุด
การปฏิวัติตุลาคม ๑๖ ได้ผ่านมา ๓๑ ปีแล้ว เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ทิ้งมรดกหลายประการที่นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมไทย อย่างไรก็ตาม ภารกิจของการปฏิวัติครั้งนั้นยังไม่บรรลุถึงจุดที่น่าพอใจ หนึ่งในภารกิจที่ยังไม่บรรลุนั้นก็คือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ นี้คือภารกิจและความรับผิดชอบที่ท้าทายเราทั้งหลายในปัจจุบัน แต่เราจะทำภารกิจดังกล่าวให้บรรลุผลได้อย่างไร ข้าพเจ้าคิดว่าเราคงต้องกลับไปทบทวนบทวิเคราะห์และข้อสรุปของเสน่ห์ จามริก ที่ได้นำมากล่าวไว้แต่ต้นปาฐกถานี้

อาจารย์เสน่ห์ได้ชี้ว่าการปฏิวัติครั้งนั้น "เรียกร้องต้องการหลักการทางสังคมใหม่ เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติ" หลักการที่ว่านั้นก็คือหลักการสิทธิเสรีภาพ ในทัศนะของข้าพเจ้า หลักการดังกล่าวแม้จะสำคัญ แต่ดูเหมือนจะไม่เพียงพอแล้วที่จะทำให้ผู้คนในสังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ สังคมไทยยังต้องอีกสิ่งหนึ่ง นั่นคือหลักการแห่งความสมานฉันท์ อันมีขันติธรรมและเมตตาธรรมเป็นพื้นฐานสำหรับการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพที่พึงประสงค์ และ "เพื่อร่วมกันเผชิญปัญหาวิกฤตการเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งของสังคมสมัยใหม่"

ภารกิจดังกล่าวแม้จะเป็นเรื่องหนัก แต่ข้าพเจ้ายังมีความหวังว่าด้วยการร่วมแรงร่วมใจของผู้คนทั้งสังคมทั้งรัฐและประชาชน เราจะสามารถนำพาสังคมไทยให้หลุดพ้นจากกับดักแห่งความรุนแรงได้ แม้อาจจะไม่ใช่ในยุคทักษิณ แต่ก็ควรหวังว่าจะเป็นจริงได้ในยุคถัด ๆ ไป

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกกลับไปทบทวนบทความเรื่องเดียวกัน)

เชิงอรรถ

(1) วิลเลียม ยูรี เขียน เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว แปล กลยุทธการสมานไมตรี (กรุงเทพ :สวนเงินมีมา ๒๕๔๗) น. ๑๒,๑๓๙
(2) ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาวุธมีชีวิต ?:แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง (กรุงเทพ :ฟ้าเดียวกัน ๒๕๔๖) น.๒๑

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประวัติย่อของ พระไพศาล วิสาโล

- เกิด ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๐
- จบการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนอัสสัมชัญ, ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี ๒๕๒๓
- ทำกิจกรรมตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนและนักศึกษาทั้งงานคิดงานเขียนมากมาย เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม

- อุปสมบทเมื่อปี ๒๕๒๖ ที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร
- ได้รับเป็นองค์ปาฐกในการแสดงปาฐกถาประจำปีของมูลนิธิโกมลคีมทอง ๒๕๒๗
- เป็นกรรมการมูลนิธิโกมลคีมทอง ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙
- เป็นกรรมการมูลนิธิสุขภาพไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐
- เป็นประธานเครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย
- ได้รับเป็นองค์ปาฐกของมูลนิธิ ๑๔ ตุลา ในงานปาฐกถา ๑๔ ตุลา ประจำปี ๒๕๔๗
- ปัจจุบัน จำพรรษาที่วัดป่ามหาวัน อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

- มีผลงานเขียนและแปลหนังสือ อาทิ ๒๕๓๔, ๒๕๔๔ (งานเขียน) สถานะและชะตากรรมของมนุษย์ในยุคคอมพิวเตอร์, ๒๕๓๕ (บทความเชิงวิชาการ) สุขภาพ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม, ๒๕๓๕ (บรรณาธิการ) องค์รวมแห่งสุขภาพ, ๒๕๓๘ (งานเขียน) ด้วยพลังแห่งปัญญาและความรัก, ๒๕๔๑ (งานแปล) ประตูสู่สภาวะใหม่ : คำสอนธิเบตเพื่อเตรียมตัวตายและช่วยเหลือผู้ใกล้ตาย, ๒๕๔๔ (นักเขียนร่วม) ฉลาดทำบุญ, ๒๕๔๕ (งานเขียน) เส้นโค้งแห่งความสุข

- เป็นบรรณาธิการและนักเขียนให้กับนิตยสารไลฟ์แอนด์แฟมิลี่, จดหมายข่าวรายสะดวก ธรรมานุรักษ์, สาวิกา, เสขิยธรรม, ปาจารยสาร

- งานศึกษา ได้แก่ ปี ๒๕๓๗ เรื่อง ประวัติศาสตร์การบริโภคสุราในประเทศไทย,
- ปี ๒๕๔๖ เรื่อง พุทธศาสนาไทยในอนาคต

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
16January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
"อำนาจรัฐ"และ"เม็ดเงิน"นั้น อย่างมากก็สร้างได้แต่ความสงบแบบราบคาบ แต่ไม่สามารถทำให้เกิดความสงบอย่างสมานฉันท์ได้ ทั้งนี้ก็เพราะทั้ง ๒ ประการนี้ไม่สามารถเป็นเครื่องมือขจัดความรุนแรงเชิงโครงสร้างได้เลย ยิ่งนำเอามาใช้เป็นเครื่องมือผลักดันนโยบายที่ให้ประโยชน์แก่กลุ่มคนที่ได้เปรียบอยู่แล้วในสังคม พร้อมกับผลักภาระให้แก่ประชาชนระดับล่าง ก็เท่ากับเพิ่มความรุนแรงเชิงโครงสร้างให้มากขึ้น ซึ่งในที่สุดย่อมระเบิดออกมาเป็นความรุนแรงทางกายภาพในที่สุด ที่น่าวิตกก็คือ ทั้งอำนาจรัฐและเม็ดเงินเป็นเครื่องมือที่ พ.ต.ท.ทักษิณเชื่อมั่นและไว้วางใจ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
คนรวยช่วยคนจน ???
ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และทรัพยากรดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในบรรดาความขัดแย้งอีกมาก ซึ่งมิอาจแก้ไขได้ด้วยอาญาสิทธิ์จากรัฐ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่ารัฐบาลชุดนี้เต็มไปด้วยนักธุรกิจระดับชาติ จำเพาะ พ.ต.ท.ทักษิณเองมีสินทรัพย์ถึง ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท ขณะที่รายได้เฉลี่ยของคนไทยเมื่อปี ๒๕๔๒ มีเพียง ๓,๕๐๐ บาทต่อเดือนเท่านั้น การที่รัฐจะตั้งตัวเป็นผู้ผูกขาดการจัดสรรผลประโยชน์ในชาติแต่เพียงผู้เดียว ย่อมยากที่จะเป็นไปอย่างชอบธรรมและเท่าเทียม เพราะผลประโยชน์ของนักธุรกิจเองก็ใช่ว่าจะไปด้วยกันได้กับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนที่เหลือ ข้อเท็จจริงที่ว่าสินทรัพย์ของบริษัทในเครือตระกูลชินวัตรเพิ่มขึ้นถึง ๒๐๐ % ในเพียงปีเดียวคือปี ๒๕๔๖ มียอดรวมถึง ๔ แสนล้านบาท (อ้างจาก เสกสรรค์ ประเสริฐกุล)