บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Internal
Security Act
Midnight
University
กฎหมายความมั่นคง เพื่อความมั่งคั่งอำนาจของบางคน
บทเรียนจากมาเลเซีย: กฎหมายความมั่นคงกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
รศ.ดร.สุรชาติ
บำรุงสุข : เขียน
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความวิชาการ ๔ เรื่องต่อไปนี้
นำมาจากเว็บไซต์ประชาไทออนไลน์
และ สารานุกรมวิกกิพีเดีย(ฉบับภาษาอังกฤษ) ประกอบด้วย
๑. กฎหมายความมั่นคงกับปัญหาสิทธิมนุษยชน :บทเรียนจากมาเลเซีย (สุรชาติ บำรุงสุข)
๒. กฎหมายความมั่นคงมาเลเซีย ข้อคิดสำหรับประเทศไทย (สุรชาติ บำรุงสุข)
๓. Internal Security Act (Malaysia). (Wikipedia)
๔. ภาคผนวก (โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์) เรื่อง
ผ่านร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง: ประวัติศาสตร์อันอดสูของประชาธิปไตยไทย
โดย ๓ เรื่องแรกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ
กฎหมายความมั่นคง(มาเลเซีย)
ในวาระที่ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในของไทยที่ได้ผ่านสภาไปแล้ว
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐. กฎหมายภายใต้ชื่อเรียกดังกล่าว
มักไม่ถูกนำมาใช้นี้ตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง แตกลับเป็นการนำไปใช้
เครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายอำนาจ เพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้าม และละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในส่วนภาคผนวก เป็นบันทึกถ้อยคำ สนช. บางคน ทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้าน
ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ฉบับนี้ พร้อมข้อสันนิษฐานของผู้เขียน
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๑๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๙.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กฎหมายความมั่นคง เพื่อความมั่งคั่งอำนาจของบางคน
บทเรียนจากมาเลเซีย: กฎหมายความมั่นคงกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
รศ.ดร.สุรชาติ
บำรุงสุข : เขียน
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑. กฎหมายความมั่นคงกับปัญหาสิทธิมนุษยชน :บทเรียนจากมาเลเซีย
สุรชาติ บำรุงสุข (คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
" กฎหมายความมั่นคงภายในของมาเลเซีย เป็นชุดของกฎหมายที่สมบูรณ์ที่สุด และรอบด้านที่สุดสำหรับชนชั้นปกครอง "
The International Commission of Jurists
หากมองปัญหาการเมืองไทยปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าหนึ่งในปัญหาที่น่าสนใจก็คือ ท่าทีของกลุ่มเอ็นจีโอไทยต่อเรื่องของกฎหมายความมั่นคงใหม่ ซึ่งกำลังถูกผลักดันโดยนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อให้ได้รับความเห็นชอบและนำออกมาใช้ปฏิบัติโดยเร็ว แม้กฎหมายจะได้รับการคัดค้านจากกลุ่มคนบางส่วนในสังคมไทย แต่รัฐบาลก็มีท่าทีที่ชัดเจนในการออกแรงผลักดันกฎหมายนี้ เช่น เมื่อเสียงคัดค้านมุ่งไปสู่ประเด็นของการ "รัฐประหารเงียบ" ที่ฝ่ายทหารดึงเอาอำนาจของนายกรัฐมนตรีในการประกาศสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ไปไว้กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ. รมน.) ก็ได้มีความพยายามจากนายกรัฐมนตรี ที่จะแก้ไขเพียงให้อำนาจดังกล่าวมาอยู่ในมือรัฐบาล (ดูมติชนรายวัน, 29 กรกฎาคม 2550) ซึ่งเท่ากับว่า สาระหลักของกฎหมายนี้จะไม่ได้รับการแก้ไข และรัฐบาลได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนในการเป็นผู้ผลักดันกฎหมายนี้
ปัญหาข้างต้น ทำให้บรรดาผู้นำเอ็นจีโอที่ร่วมอยู่ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ หรือร่วมอยู่ในฐานะผู้ได้รับประโยชน์จากกลุ่มทหารที่ยึดอำนาจ โดยการให้มีตำแหน่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือในองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ หรือกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอำนาจรัฐ อาจจะต้องตอบคำถามแก่สังคมให้ได้ว่า ถ้ากฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่จะถูกใช้เพื่อนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว บรรดาผู้นำเอ็นจีโอเหล่านั้นจะกำหนดท่าทีต่อกฎหมายความมั่นคงดังกล่าวอย่างไร เพราะก่อนหน้าที่จะเกิดการยึดอำนาจ ผู้นำเอ็นจีโอที่มีตำแหน่งทั้งหลายนี้ล้วนแต่พร่ำอยู่กับเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดมา
บทความต่อไปนี้ไม่เน้นในกรณีของไทย
แต่จะทดลองนำเสนอว่า ทำไมนักสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวทางสังคมในมาเลเซียจึงคัดค้านกฎหมายความมั่นคงภายในอย่างมาก
แม้ว่าการเคลื่อนไหวของพวกเขาจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีท่าทีและสัญญาณเชิงบวกแต่อย่างใดว่า
รัฐบาลมาเลเซียจะยินยอมยกเลิกกฎหมายนี้ ทั้งที่กฎหมายนี้ออกใช้บังคับในยุคของสงครามเย็น
และกฎหมายความมั่นคงภายในหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ISA (Internal Security
Act 1960) เป็นผลผลิตโดยตรงของการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา
แต่แม้สงครามคอมมิวนิสต์ในมาเลเซียจะสิ้นสุดลงจากการเจรจาสันติภาพที่หาดใหญ่
(The Haadyai Peace Accord) ในวันที่ 24 ธันวาคม 2532 ซึ่งส่งผลให้สงครามภายในที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี
2491 สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2535 รัฐบาลมาเลเซียก็ได้ประกาศรับการกลับคืนของอดีตชาวสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มลายาจำนวน
220 คน
ผลจากการสิ้นสุดของสงครามคอมมิวนิสต์เช่นนี้ทำให้หลาย ๆ ฝ่ายในมาเลเซียเชื่อว่า กฎหมายความมั่นคงน่าจะต้องถูกยกเลิกไป เพราะกฎหมายนี้มีจุดกำเนิดมาจากปัญหาภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ ซึ่งเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้ยุติสงครามปลดปล่อยของพวกเขาแล้ว ความชอบธรรมของกฎหมาย ISA ก็น่าจะหมดไป และกฎหมายก็น่าจะต้องยุติตามไปด้วย. สิ่งที่เห็นได้ชัดในทางการเมือง จากการที่กฎหมายไม่ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการสิ้นสุดของสงครามคอมมิวนิสต์ก็คือ กฎหมาย ISA กลับกลายเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ถูกจับกุมในระยะหลังมักจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ตัวอย่างจากการกวาดล้างในยุทธการลาลัง (Operation Lalang) ในวันที่ 27 ตุลาคม 2530 เห็นได้ชัดว่าผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่ในจำนวน 65 คน เป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน ผู้นำเยาวชน นักธุรกิจ และนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เป็นต้น ในขณะที่ผู้ถูกจับกุมจากกฎหมายนี้นับจากปี 2503 เป็นต้นมานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน และถูกจับด้วยข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์เป็นหลัก
อย่างไรก็ตามในช่วงต้นปี 2539 รัฐบาลมาเลเซียได้แสดงท่าทีว่าอยากจะทบทวนกฎหมาย ISA แต่ก็ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้ ดังนั้นในช่วงปี 2539 กลุ่มเอ็นจีโอร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านในมาเลเซียได้ร่วมกันรณรงค์ให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายนี้ เพราะเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสามารถคุมขังผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องผ่านการไต่สวน (detention without trial). ในเดือนธันวาคม 2539 ได้มีการจัดประชุมโดยกลุ่มเอ็นจีโอเพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจของตำรวจในทางที่เกินเลย แต่ทางอธิบดีตำรวจของมาเลเซียได้ข่มขู่ว่า จะใช้กฎหมาย ISA จัดการกับผู้เข้าร่วมประชุม และองค์กรผู้จัดก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนิยมลัทธิมาร์ก เป็นต้น
ในเดือนสิงหาคม 2540 รัฐบาลมาเลเซียได้ขู่ว่าจะใช้กฎหมาย ISA จัดการกับนักวิเคราะห์ด้านการเงินที่ทำนายค่าเงินริงกิต ที่กำลังตกต่ำในช่วงวิกฤตการณ์การเงินเอเชียในปี 2540 การที่รัฐบาลใช้กฎหมายความมั่นคงขู่ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีใครพูดถึงปัญหาเช่นนี้ เพราะจะเป็นผลในทางลบแก่ภาพลักษณ์ของเงินริงกิต. ในเดือนสิงหาคม 2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอให้ใช้กฎหมาย ISA ในการควบคุมบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ปล่อยข่าวลือในอินเตอร์เน็ต และต่อมาในเดือนกันยายนของปีเดียวกันรองนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อินราฮิม ก็ถูกจับและคุมขังโดยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ใช้อำนาจที่ปรากฏในกฎหมาย ISA นี้เช่นกัน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลยังใช้กฎหมายนี้ห้ามไม่ให้ภรรยาของรองนายกรัฐมนตรีอันวาร์ พูดในที่สาธารณะอีกด้วย แม้กระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในช่วงปี 2541 ก็ได้เสนอให้รัฐบาลใช้กฎหมายนี้จัดการกับผู้ที่จับกุมได้อย่างซึ่งหน้าจากความผิดในการวางเพลิง เป็นต้น
จากการที่กฎหมาย ISA ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ในการจับและคุมขังบุคคลต้องสงสัยได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการไต่สวน จึงทำให้ในช่วงที่มีการเลือกตั้งทั้งในปี 2542 ได้มีการรณรงค์อย่างกว้างขวางเพื่อให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว และในปี 2543 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 40 ปีของ ISA องค์กรสิทธิมนุษยชนของมาเลเซียหรือ SUARAM ก็ได้ขยายการรณรงค์ให้มากขึ้น
แต่หลังจากเหตุก่อการร้ายที่เกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกาในวันที่
11 กันยายน 2544 รัฐบาลมาเลเซียได้ใช้เหตุการณ์ 9/11 เป็นปัจจัยในการสร้างความชอบธรรมให้กับการคงอยู่ของ
ISA ซึ่งรัฐบาลได้ยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายนี้เพื่อจัดการกับปัญหาความมั่นคงใหม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการก่อการร้าย. ในความเป็นจริงกลับพบว่า หลังเหตุการณ์
9/11 รัฐบาลได้ใช้กฎหมาย ISA จัดการกับการชุมนุมของขบวนการนักศึกษา หรือใช้ในการควบคุมสื่อมวลชน
และแม้นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมมัด ในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้แสดงท่าทีคัดค้านอย่างชัดเจนในการคัดค้านกฎหมาย ISA เช่น เขาได้กล่าวให้รัฐสภาในเดือนมีนาคม
2509 ว่า "ไม่มีคนที่มีความรับรู้อย่างถูกต้องคนใดชอบกฎหมายความมั่นคงภายใน
เพราะกฎหมายนี้ขัดแย้งกับหลักการของประชาธิปไตยทุกเรื่อง" (ดูใน Parliamentary
Debates, 22 มีนาคม 2509)
แต่เมื่อเขาเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นผู้มีอำนาจใช้กฎหมายนี้ เขากลับแสดงท่าทีตรงกันข้าม
โดยเขาได้กล่าวในการประชุมระหว่างประเทศที่ประเทศดูไบว่า เขาเป็น "นักเผด็จการที่ดี"
มากกว่าจะเป็น " นักประชาธิปไตยตะวันตก" ซึ่งเท่ากับการสนับสนุนให้ใช้กฎหมายเช่นนี้ต่อไปนั่นเอง
นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า
ในปี 2544 กฎหมาย ISA ถูกนำมาบังคับใช้กับการจับกุมผู้นำนักศึกษาในมาเลเซียมากขึ้น
หรือรัฐบาลใช้กฎหมายนี้ในการไม่อนุญาตให้บุคคลสัญชาติมาเลเซียเดินทางออกนอกประเทศ
เพราะมีรายงานว่าในการเดินทางครั้งก่อนหน้านี้ว่า บุคคลเหล่านั้นได้กล่าววิจารณ์รัฐบาลมาเลเซียในทางลบ
เป็นต้น
การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านกฎหมาย ISA ต่อมาได้ขยายตัวออกไปในวงกว้าง จนมีการก่อตั้ง
"ขบวนการยกเลิก ISA" (The Abolish ISA Movement) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรวมตัวเป็นพันธมิตรทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมาเลเซียในการต่อต้านกฎหมาย
ISA และแกนกลางของการเคลื่อนไหวประกอบด้วยปัญญาชน เอ็นจีโอ พรรคการเมือง และสหภาพแรงงาน
อย่างไรก็ตามหลังเหตุการณ์ 9/11 รัฐบาลมาเลเซียยืนยันอย่างหนักแน่นในการคงไว้ซึ่งการใช้อำนาจพิเศษในกฎหมาย ISA เพื่อจัดการกับการก่อการร้าย โดยนายกรัฐมนตรีมหาเธร์กล่าวว่า กฎหมายนี้จะไม่ยกเลิก เพราะมี "ประสิทธิภาพในการต่อต้านการก่อการร้าย" แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนในมาเลเซีย ได้กล่าววิจารณ์ว่า รัฐบาลมาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้โอกาสของสงครามต่อต้านการก่อการรายในการจัดการกับกลุ่มต่อต้านทางการเมืองภายในประเทศ
เรื่องราวของกฎหมายความมั่นคงของมาเลเซียที่มีผลกระทบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนเช่นที่กล่าวอย่างสังเขปในข้างต้น น่าจะเป็นข้อเตือนใจให้แก่สังคมไทยได้บ้าง เพราะกฎหมายเช่นนี้เมื่อถูกนำออกมาใช้แล้ว ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้ เว้นแต่เราเชื่ออย่างที่ผู้นำรัฐบาลมาเลเซียกล่าวไว้ว่า "การใช้กฎหมายความมั่นคงภายในก็คือสัญลักษณ์ของความรักของรัฐบาล เพื่อช่วยให้พลเมืองมีชีวิตกลับคืนสู่ปกติ" !
๒. กฎหมายความมั่นคงมาเลเซีย
ข้อคิดสำหรับประเทศไทย
สุรชาติ
บำรุงสุข (คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
"การผ่านร่างกฎหมายความมั่นคงใหม่ทำให้ผู้คนที่รักเสรีภาพ ต้องตระหนกตกใจอย่างมาก"
Tan Phock Kin (26 กรกฎาคม 1960)
เมื่อร่างกฎหมายความมั่นคงใหม่ที่ถูกผลักดันโดยผู้นำทหารและนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าสู่คณะกรรมการกฤษฎีกานั้น กลุ่มผู้เสนอได้ออกมาปกป้องร่างกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะการนำมาเสนอว่า "กฎหมายนี้ไม่ต่างกับกฎหมายความมั่นคงภายในของมาเลเซีย" ฉะนั้นเพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นกับปัญหาดังกล่าว บทความนี้จะทดลองนำเสนอเรื่องราวของกฎหมายความมั่นคงของมาเลเซีย อย่างน้อยก็เพื่อเป็นข้อคิดแก่ผู้คนในสังคมไทยในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ที่มาของกฎหมาย
หลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว สงครามใหม่ที่เกิดขึ้นมาจากการจับอาวุธลุกขึ้นสู้ของชาวพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ.
สงครามก่อความไม่สงบของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ที่เกิดขึ้นในปี 2491 เป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้
และเป็นตัวอย่างของสงครามรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของยุคสงครามเย็น และในวันที่
18 มิถุนายน 2491 รัฐบาลอาณานิคมของอังกฤษในมลายาก็ประกาศสถานะสงคราม โดยเรียกว่า
"ภาวะฉุกเฉิน" (Emergency) แทนคำว่า "สงคราม" เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบและภาวะผูกพันในทางเศรษฐกิจ.
การประกาศภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ รัฐบาลอังกฤษในมลายาได้ออกกฎหมายพิเศษคือ "The
Emergency Regulations Ordinance 1948" ในปี 2491 เพื่อรองรับต่อปฏิบัติการของรัฐบาลในการกวาดล้างและจับกุมสมาชิกและแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา
เพียง 2 วันต่อมาหลังจากประกาศภาวะฉุกเฉินก็มีการกวาดล้างใหญ่ทั่วประเทศ ในวันที่ 20 มิถุนายน 2491 มีประชาชนกว่า 600 คนถูกจับกุม และพรรคการเมือง สหภาพแรงงาน และองค์กรการเมืองทั่วมลายากว่า 300 องค์กรถูกยุบ. จากตัวเลขในระยะเวลา 10 ปีของการใช้กฎหมายพิเศษนี้ (พ.ศ. 2491-2500) มีประชาชนกว่า 34,000 คนถูกจับขังโดยไม่มีการไต่สวน และชาวจีนในมลายาประมาณ 26,000 คนถูกเนรเทศออกนอกประเทศ. อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อใช้กฎหมายพิเศษนี้ ทุกคนคิดว่าคงจะเป็น "ภาวะชั่วคราว" เช่นบางคนคิดว่า กฎหมายนี้อาจจะใช้เพียงปีเดียว เป็นต้น หรือบางคนคิดว่าเมื่อสถานการณ์การเมืองและความมั่นคงกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ก็คงจะมีการยกเลิกกฎหมายดังกล่าว แต่การกลับเป็นว่า ภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ดำรงอยู่อย่างไม่สิ้นสุด
จุดมุ่งหมาย
กฎหมายความมั่นคงเดิมที่ออกมาพร้อมกับการประกาศภาวะฉุกเฉินคือ The Emergency
Regulations Ordinance 1948 หรือ "ERO" และเมื่ออังกฤษได้รับชัยชนะในสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบแล้ว
จึงได้ประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินในวันที่ 31 กรกฎาคม 2503 แต่แล้วในวันที่ 1 สิงหาคม
2503 รัฐบาลก็ได้ประกาศกฎหมายความมั่นคงใหม่ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า The
Internal Security Act 1960 หรือ "ISA"
กฎหมายพิเศษไม่ว่าจะเป็น "ERO" หรือ "ISA" ถูกร่างขึ้นเพื่อใช้ต่อสู้กับปัญหาคุกคามของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาเป็นหลัก ซึ่งในช่วงที่อังกฤษยังปกครองมลายานั้น กฎหมายนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นเครื่องมือของรัฐบาลอาณานิคม ที่ใช้ในการปกครองการต่อสู้เพื่อเอกราชของชนพื้นเมือง จนมีบางคนเรียกกฎหมายนี้ว่าเป็น "The White Terror" และเมื่อ ISA ถูกนำมาใช้ปฏิบัติ ก็ถือได้ว่าเป็นกฎหมายที่มีความเข้มงวด (draconian law) มากที่สุดกฎหมายหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้
การใช้ ISA นั้นพบว่า รัฐบาลมาเลเซียเมื่อได้รับเอกราชแล้ว ก็ยังคงดำเนินการใช้กฎหมายพิเศษเข้มงวดไม่แตกต่างจากช่วงที่อังกฤษยังปกครองมลายาเป็นอาณานิคม เพราะ ISA ไม่ได้ใช้เพียงเพื่อจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เป็นคอมมิวนิสต์เท่านั้น หากแต่ยังใช้ในการจับกุมบุคคลที่เป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอีกด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ISA ถูกใช้เป็นเครื่องมือของการกวาดล้างทางการเมือง หรือเพื่อควบคุมการใช้สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของบุคคลให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐบาล (ห้ามแสดงออกในลักษณะที่ขัดแย้งกับแนวทางของรัฐบาล)
ในมุมมองทางกฎหมาย ISA
กลายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้เพื่อปฏิเสธต่อสิทธิของบุคคลในทางกฎหมาย ซึ่งสำหรับนักกฎหมายที่ยึดมั่นในหลักนิติรัฐที่มิได้วางความเชื่อของตนเองไว้กับเพียงว่า
นักกฎหมายต้องยอมรับรัฐบาลทุกชนิดโดยไม่คำนึงถึงความชอบธรรมและจุดกำเนิดแล้ว
กฎหมายพิเศษในลักษณะเช่นนี้ก็คือ การละเมิดหลักแห่งกฎหมาย (rule of law) ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อำนาจพิเศษ
เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า กฎหมายความมั่นคงของมาเลเซียมีความเข้มงวดอย่างมาก
และทั้งยังให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมากด้วยเช่นกัน
ซึ่งสิทธิพิเศษที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) การคุมขังโดยปราศจากการไต่สวน
2) การคุมขังโดยไม่จำกัดเวลา และปราศจากไต่สวนอย่างเปิดเผย
3) เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า บุคคลที่จุบกุมคุมขังได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา
ผลจากการใช้กฎหมาย ISA ทำให้เกิดการกวาดจับขนาดใหญ่ (mass arrests) ภายในมาเลเซีย ผู้ถูกจับกุมมีทุกชาติพันธุ์ ทุกชนชั้น และทุกความเชื่อ อีกทั้งจนแม้สงครามคอมมิวนิสต์ได้ยุติลงอย่างแท้จริงในมาเลเซีย รัฐบาลก็ยังคงใช้กฎหมายนี้ ทั้งที่ในปี 1989 จะมีความตกลงสันติภาพที่หาดใหญ่ เพื่อยุติสงครามคอมมิวนิสต์ในมาเลเซียแล้ว กฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วย อันทำให้กฎหมายถูกวิจารณ์ว่าเป็น "เครื่องมือของรัฐบาล" ในการปราบปรามศัตรูหรือฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง แม้กระทั่งอดีตนายกรัฐมนตรี ดร. มหาเธร์ ในอดีตก็เคยวิจารณ์วา "ไม่มีคนที่มีความรับรู้อย่างถูกต้องคนใดชอบกฎหมายความมั่นคงภายใน เพราะกฎหมายนี้ขัดแย้งต่อหลักการของประชาธิปไตยทุกเรื่อง" (คำกล่าวรัฐสภามาเลเซีย, 22 มีนาคม 1966)
ปัญหาผลกระทบ
การให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นหลักการทั่วไปของกฎหมายความมั่นคงมาเลเซีย
ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่มาตรา 8 ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถจับกุมและคุมขังบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงได้
โดยไม่จำเป็นต้องมีการไต่สวน. ในมาตรา 73 ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจให้สามารถจับกุมบุคคลที่คิดว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงได้
โดยไม่จำเป็นต้องมีหมายจับจากศาล. หรือในมาตร 22 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการห้ามการพิมพ์หรือการแจกจ่ายสิ่งพิมพ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติได้
เป็นต้น
ตัวอย่างของอำนาจที่ปรากฏใน
3 มาตราข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ISA นั้นมีลักษณะเป็นกฎหมายในภาวะสงคราม ซึ่งว่าที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
เพราะ ISA ก็เป็นผลผลิตสืบต่อจาก ERO ซึ่งประกาศใช้ในภาวะที่รัฐบาลของอังกฤษในมลายาต้องเผชิญกับสถานการณ์สงครามของพรรคคอมมิวนิสต์
ดังนั้นจึงมีข้อสังเกตว่า ถ้ากฎหมายความมั่นคงเป็นกฎหมายสงครามแล้ว รัฐควรจะใช้กฎหมายนี้กับการบริหารประเทศในภาวะปกติหรือไม่
เช่นการจับกุมคุมขังโดยปราศจากการไต่สวนนั้น จะใช้ได้ในอังกฤษ ก็ต่อเมื่อมีการประกาศภาวะฉุกเฉินของประเทศแล้ว
เป็นต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กฎหมายในลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ในภาวะปกติของประเทศประชาธิปไตย
เพราะการปกครองภายใต้หลักนิติรัฐนั้น จะต้องไม่ทำให้รัฐกลายเป็นผู้ละเมิดหลักกฎหมายเสียเอง
นอกจากนี้ในกรณีของมาเลเซียจะพบว่าบุคคลที่ถูกคุมขังจากกฎหมาย ISA ก็คือ บุคคลที่กิจกรรมของพวกเขาไปขัดแย้งกับผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจทางการเมือง
ซึ่งขัดแย้งโดยตรงกับจุดมุ่งหมายเดิมของกฎหมายที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการปราบปรามคอมมิวนิสต์
ดังจะเห็นได้ว่าในระยะหลังผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้าน นักวิชาการ
และนักกิจกรรม. การกวาดล้างในปี 2530 เป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้ คนถูกจับกุมไม่ใช่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แต่อย่างใด
(พวกเขาเป็นพวกต่อต้านรัฐบาล) ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ผู้คนที่มีความคิดแตกต่างจากรัฐบาลจะไม่กล้าแสดงความเห็นในที่สาธารณะแต่อย่างใด
ผลกระทบในทางการเมืองอย่างสำคัญก็คือ อำนาจพิเศษอยู่ในมือของรัฐบาล และรัฐบาลจะใช้อำนาจนี้อย่างไรและเมื่อใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินแต่อย่างใดด้วย ผลที่เกิดขึ้นก็คือ อำนาจถูกรวมศูนย์อยู่กับฝ่ายบริหาร อันทำให้ระบบการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) หรือเรียกได้ว่าเป็นการเมืองแบบ "ฝ่ายบริหารเป็นใหญ่" (Executive Supremacy) และกฎหมายความมั่นคงภายในก็กลายเป็นเครื่องมือที่สมบูรณ์และรอบด้านที่สุดของผู้มีอำนาจ
ข้อคิดสำหรับคนไทย
วันนี้สังคมไทยคงจะคิดที่จะตอบตนเองให้ได้วา เราพร้อมจะอยู่กับการเมืองแบบ "ฝ่ายบริหารเป็นใหญ่"
ด้วยการมีอำนาจพิเศษแบบไม่มีข้อจำกัดหรือไม่ และผลกระทบที่นำเสนออย่างสังเขปจากกรณีของมาเลเซียในข้างต้นอาจจะเป็นข้อคิดเพิ่มเติมว่า
สังคมไทยควรจะอนุญาตให้รัฐไทยควรจะมีกฎหมายความมั่นคงที่ให้อำนาจแก่รัฐอย่างกว้างขวางหรือไม่
?
๓. Internal Security Act (Malaysia)
Wikipedia, the free encyclopedia
The Internal Security Act 1960 (ISA) is a preventive detention law in force in Malaysia. Preventive detention was inherited by Malaysia as part of the colonial baggage that the British left behind. Malaysia is one of the few countries in the world whose Constitution allows for preventive detention during peacetime without safeguards that elsewhere are understood to be basic requirements for protecting fundamental human rights.
Article 149 of the Malaysian Constitution under which a person may be detained is characterised by subjective language. Such terms as 'substantial body', 'substantial number', 'cause to fear', 'excite disaffection', 'promote feelings of ill-will and hostility', all embody wide areas of discretionary interpretation. Preventive detention first became a feature of the then Malaya in 1948 primarily to combat the armed insurgency of the Malaysian Communist Party. The Emergency Regulations Ordinance 1948 was made, following the proclamation of an emergency, by the British High Commissioner Sir Edward Gent. It allowed the detention of persons for any period not exceeding one year.
The Emergency Regulations Ordinance 1948 was primarily made to counter acts of violence and, conceivably, preventive detention was meant to be temporary in application. The emergency ended in 1960 and with it ended the powers contained in the Emergency Regulations Ordinance 1948 as it was repealed. The power of preventive detention was however not relinquished and in fact became an embedded feature of Malaysian law. In 1960 itself, the government passed the Internal Security Act under Article 149 of the Malaysian Constitution. It permitted the detention, at the discretion of the Home Minister, without charge or trial of any person in respect of whom the Home Minister was satisfied that such detention was necessary to prevent him or her from acting in any manner prejudicial to national security or to the maintenance of essential services or to the economic life in Malaysia.
The ISA is one of the most controversial Acts enacted under Article 149 of the Malaysian Constitution. Section 8(1) of the ISA provides that '(i)f the minister is satisfied that the detention of any person is necessary ' then s/he may issue an order for his/her detention. The three grounds given in Section 8(1) upon which the order may be based is where a person has acted in any manner prejudicial to the:
a) Security of Malaysia or part thereof;
b) Maintenance of essential services; and,
c) Economic life.
The power to detain seems to be restricted by section 8(1) to a period not exceeding two years but the restriction is really illusionary because, by virtue of section 8(7), the duration of the detention order may be extended for a further period not exceeding two years and thereafter for further periods not exceeding two years at a time. The extension to the detention order may be made on the same ground as those on which the original order was based or on different grounds. In delivering the judgment of the Court, Steve L.K. Shim CJ (Sabah & Sarawak) in Kerajaan Malaysia & 2 Ors. v Nasharuddin bin Nasir (2003) 6 AMR 497 at page 506, has accepted that under section 8 of the ISA the Minister has been conferred powers of preventive detention that 'can be said to be draconian in nature' but nevertheless valid under the Malaysian Constitution.
In addition preventive detention is also now allowed by the Dangerous Drugs (Special Preventive Measures) Act 1985 and the Emergency (Public Order and Prevention of Crime) Ordinance 1969. The Human Rights Commission of Malaysia (SUHAKAM) has recently recommended that the ISA be repealed and replaced by new comprehensive legislation that, while taking a tough stand on threats to national security (including terrorism), does not violate basic human rights.
Article 151 of the Malaysian Constitution gives to any person detained without trial (under the special powers against subversion) certain administrative rights. By the terms of Article 151 the authority, on whose order a person is detained, shall, as soon as may be, inform the detainee of the grounds of detention and the allegations of fact on which the order is based. The detainee shall also be given an opportunity within three months, of making representations against the order to an Advisory Board . The Advisory Board as the name implies is not a court. Its determinations are also mere recommendations that the government is under no obligation to accept. It may also be handicapped in its deliberations by the discretionary power of the government to withhold facts, the disclosure of which would, in the executive's opinion be against national interest.
Any person may be detained by the police for up to 60 days without trial for an act which allegedly threatens the security of the country or any part thereof. After 60 days, one may be further detained for a period of two years each, to be approved by the Minister of Home Affairs, thus permitting indefinite detention without trial. In 1989, the powers of the Minister under the legislation was made immune to judicial review by virtue of amendments to the Act, only allowing the courts to examine and review technical matters pertaining to the ISA arrest.
Since 1960 when the Act was enacted, thousands of people including trade unionists, student leaders, labour activists, political activists, religious groups, academicians, NGO activists have been arrested under the ISA. Many political activists in the past have been detained for more than a decade.
The ISA has been consistently used against people who criticise the government and defend human rights. Known as the "white terror", it has been the most feared and despised, yet convenient tool for the state to suppress opposition and open debate. The Act is an instrument maintained by the ruling government to control public life and civil society.
1. Legislation
Relevant sections of the legislation are as follows:
Section 73(1) Internal Security Act 1960: "Any police officer may without
warrant arrest and detain pending enquiries any person in respect of whom
he has reason to believe that there are grounds which would justify his detention
under section 8; and that he has acted or is about to act or is likely to
act in any manner prejudicial to the security of Malaysia or any part thereof
or to maintenance of essential services therein or to the economic life thereof."
Sect 8. Power to order detention or restriction of persons. "(i) If the Minister is satisfied that the detention of any person is necessary with a view to preventing him from acting in any manner prejudicial to the security of Malaysia or any part thereof or to the maintenance of essential services therein or the economic life thereof, he may make an order (hereinafter referred to as a detention order) directing that that person be detained for any period not exceeding two years."
A detenu can make representations against his/her detention if an order of detention has been made against the detenu by the Minister under section 8(1) of the ISA but under section 73 however, the detenu seems to have no such right. Generally, the attitude of the Malaysian courts in respect of detention under section 73 is that the courts have jurisdiction only in regard to any question on compliance with the procedural requirements of the ISA and they seldom grant any substantive rights to the detenu.
The stated purpose of the ISA was to deter communist activity in Malaysia during the Malayan Emergency and afterwards. The first Prime Minister of Malaysia, Tunku Abdul Rahman, defined the purpose of the act as to "be used solely against the communists...My Cabinet colleagues and I gave a solemn promise to Parliament and the nation that the immense powers given to the government under the ISA would never be used to stifle legitimate opposition and silence lawful dissent". The third Prime Minister, Tun Hussein Onn, stated at the same time that his administration had enforced the act only with a view to curbing communist activity, and not to repress "lawful political opposition and democratic citizen activity".[1]
In response to criticism that the ISA was not democratic or was too open to abuse, the first internal security minister, Ismail Abdul Rahman, stated:
I maintained then and I maintain now the view that the Internal Security Act is essential to the security of this country especially when democracy is interpreted the way it is interpreted in this country. To those in opposition to the government democracy is interpreted to mean absolute freedom, even the freedom to subvert the nation. When cornered by the argument that democracy in the Western sense means freedom in an ordered society and an ordered society is one in which the rule of law prevails, they seek refuge in the slogan that we should imitate Western democracy one hundred per cent.
I am convinced that the Internal Security Act as practiced in Malaysia is not contrary to the fundamentals of democracy. Abuse of the Act can be prevented by vigilant public opinion via elections, a free Press and above all the Parliament.[2]
2. Detention
ISA detainees are typically held at a prison in Kamunting.
2.1 First 60 days
A person detained under the ISA during the first 60 days is held incommunicado, with no access to the outside world. Furthermore, lawyers and family members are not allowed access to the detainee during this initial period. If a two-year detention order is signed, the detainee is taken to the Kamunting Detention Centre to serve his or her two-year term, during which family members are allowed to visit. Otherwise, the detainee may be released.2.2 Torture
Torture is reportedly a major part of an ISA detainee's daily life. Former detainees have testified to being subjected to severe physical and psychological torture that include one or more of the following: physical assault, forced nudity, sleep deprivation, round-the-clock interrogation, death threats, threats of bodily harm to family members, including threats of rape and bodily harm to their children. Also, detainees are confined in individual and acutely small cells with no light and air, in what is believed to be secret holding cells. These interrogation techniques and acts of torture are designed to humiliate and frighten detainees into revealing their weaknesses and breaking down their defences.
3. Release
Although the government may release detainees unconditionally, in some cases,
it has required those being released to make a public "confession"
on television and radio. [3]
4. Criticism
Due to the alleged draconian nature of the ISA, several human rights organisations
and opposition political parties have strongly criticised the act and called
for its repeal. Foreign governments, notably that of the United States, have
also pressured the government to repeal the act.
4.1 Domestic
Several opposition parties, including the Democratic Action Party (DAP) and Parti Keadilan Rakyat (PKR) have spoken out against the ISA. Many of them have leaders or prominent members who were held under the ISA, such as Lim Kit Siang, Karpal Singh and Lim Guan Eng of the DAP, and Anwar Ibrahim of the PKR. Previously in the 1960s, the law had been denounced by such opposition leaders as Tan Chee Khoon, who said:"This infernal and heinous instrument has been enacted by the Alliance Government at a time when the emergency was supposed to be over. Then it promptly proceeds to embody all the provisions of the Emergency Regulations which during the Emergency had to be re-enacted every year, but now it is written into the statute book ad infinitum...[4]"
However, several politicians from the Barisan Nasional coalition, including its largest component party, the United Malays National Organisation (UMNO or Umno), that has governed Malaysia since independence have also criticised the ISA. The fifth Prime Minister of Malaysia, Abdullah Ahmad Badawi, went on the record in 1988 to state "If we want to save Malaysia and Umno, Dr Mahathir (then Prime Minister) must be removed. He uses draconian laws such as the Internal Security Act to silence his critics." The year before, he had also stated "Laws such as the Internal Security Act have no place in modern Malaysia. It is a draconian and barbaric law." In 2003 when he became Prime Minister, however, Abdullah called the ISA "a necessary law," and argued "We have never misused the Internal Security Act. All those detained under the Internal Security Act are proven threats to society."
Prior to becoming Prime Minister, Mahathir had also adhered to a critical view of the ISA. In 1966, when Mahathir spoke out in support of the Internal Security (Amendment) Bill 1966 as a backbencher, he stated that "no one in his right senses like[s] the ISA. It is in fact a negation of all the principles of democracy."[4]
4.2 Foreign
The United States government has criticised the Malaysian government for implementing the ISA several times, most recently in 2001, when President George W. Bush said "The Internal Security Act is a draconian law. No country should any longer have laws that allow for detention without trial." In 2004, however, Bush reversed his stance and claimed "We cannot simply classify Malaysia's Internal Security Act as a draconian law.", likely due to the events of September 11, 2001, and subsequent creation of the PATRIOT Act.
See also
- Internal Security Act
- Internal Security Act (Singapore)
- Operation Lalang
Notes and references
1. Saravanamuttu, Johan. "REPORT ON HUMAN RIGHTS IN MALAYSIA". Retrieved October 16, 2006.
2. "Ismail's struggle to form Malaysia and Asean", pp. 12-13. (Jan. 2, 2007). New Straits Times.
3. Tan, Chee Koon & Vasil, Raj (ed., 1984). Without Fear or Favour, p. 27. Eastern Universities Press.
4. Yatim, Rais (1995). Freedom Under Executive Power in Malaysia: A Study of Executive Supremacy, p. 253. Endowment Publications. ISBN 983-99984-0-4.Other references 6666666666
- Chow, Kum Hor (Nov. 6, 2005). "9/11 changed Hu's view of ISA". New Sunday Times, p. 8-9.
- Kamaruddin, Raja Petra (Oct. 31, 2005). "A taste of one's own medicine". Malaysia Today.
- Kamaruddin, Raja Petra (Nov. 4, 2005). "The true meaning of political doublespeak". Malaysia Today.
- Khaira, Hardial Singh, Preventive Detention: Part I - Constitutional Rights and the Executive, [2007]
1 MLJ lxiii; [2007] 1 MLJA 63
- Khaira, Hardial Singh, Preventive Detention: Part II - Police Power To Arrest And Detain Pending
Enquiries [2007] 4 MLJ cxxxii; [2007] 4 MLJA 132
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
๔. ภาคผนวก
ผ่านร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง:
ประวัติศาสตร์อันอดสูของประชาธิปไตยไทย
ประวิตร โรจนพฤกษ์
ประวัติศาสตร์อันอดสูของประชาธิปไตยไทย ได้พลิกไปสู่อีกหน้าหนึ่ง เมื่อสภารับใช้ทหารที่ชื่อว่า
สนช. รับร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง โดยหลักการ เมื่อวันพฤหัสที่ 8 พฤศจิกายน 2550
ที่ผ่านมา ผู้เขียนในฐานะที่ได้ร่วมชมฟังความอดสูนี้กับตา ณ รัฐสภา ขอคัดคำพูดสำคัญๆ
ของทั้งฝ่ายสนับสนุนและต้าน ใน สนช. มาแลกเปลี่ยนกันและขอตั้งข้อสังเกตเพื่อให้ฝากกันไปคิดต่อ
ฝ่ายที่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน
- "รัฐบาลนี้เสนอช้าไป ควรจะเสนอมาชาติหนึ่งแล้ว เพื่อความมั่นคงของประเทศ
รอแม้กระทั่งวินาทีก็ไม่ได้เพราะไม่รู้อะไรจะเกิดเมื่อไหร่ คนเลวไม่ต้องใช้สิทธิ
ใช้อำนาจเลย"
สมภพ เจริญกุล สนช.
- "ประเทศเพื่อนบ้านของเรามีกฎหมายมั่นคงแบบนี้มานาน
... [พ.ร.บ.นี้] หลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็นต้องทำ"
เชน วิพัฒนอมรวงศ์ สนช.
- "ความมั่นคงเป็นเสมือนออกซิเจน เมื่อใดที่ท่านไม่มีออกซิเจนมาหายใจท่านจะรู้สึก"
- "[พ.ร.บ.นี้] เป็นยาเบาๆ
หน่อยที่ทุกฝ่ายพอจะรับได้ เมื่อเทียบกับกฎอัยการศึก สิ่งที่ไม่ใช่หรือครับที่ประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิก
เราก็สนองตอบก็เลยเกิด พ.ร.บ. นี้ขึ้นมา", "ฝ่ายทหารมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุข
ฝ่ายทหารไม่ได้ต้องการแสวงหาอำนาจอะไร อำนาจเรามีพอแล้ว แต่เราต้องการปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติ
[หาก] เป็นการกำจัดสิทธิเสรีภาพเพื่อนำความสงบสุขสู่ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมก็ต้องยอมรับ"
พล.อ.โชคชัย หงษ์ทอง สนช.
- "อาเซียนเกือบทุกประเทศก็มี
[พ.ร.บ.นี้เหมือน] เกราะอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะคุ้มครองให้ลูกหลานต่อไป เราอย่าไปห่วงครับว่ารายละเอียดกฎหมายจะมีปัญหา
เพราะชั้นนี้เป็นชั้นรับหลักการ"
ไพศาล พืชมงคล สนช.
- "[ปัญหา] หากปล่อยให้ลุกลามแล้ว
แม้ใช้ยาแรงก็อาจรักษาไม่ได้"
พล.อ.องค์กร ทองประสงค์
- "[ร่าง พ.ร.บ.
นี้] ปรับปรุงไปค่อนข้างมากแล้ว เรื่องความมั่นคงของประเทศเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง
ปัญหามีหลายรูปแบบ ปัญหาที่เกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจคาดการณ์ได้และไม่อาจคาดการณ์ได้
เช่นการแพร่ระบาด โรคระบาดจากสัตว์ถึงคน ภัยแล้ง น้ำท่วม ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ
ปัญหาความมั่นคงทางชายแดน แรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมาย ปัญหายาเสพติด ปัญหาเหล่านี้มีการบีบรัดขยายตัวจนเราอาจคาดไม่ถึงเมื่อเกิดวิกฤตขึ้นมา
.... จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง"
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ แถลงต่อ
สนช.
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ
พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน
- "ผลกระทบ [ของร่าง พ.ร.บ.นี้] ร้ายแรงไม่แพ้กฎอัยการศึก ไม่แพ้กฎหมายบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน
และเกิดผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและสิทธิที่รัฐธรรมนูญให้เป็นหลักประกันสูงสุด".
"รัฐบาลและ สนช. ชุดนี้เป็นผลผลิตของรัฐประหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
แต่เราก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติเป็นเป้าหมายสูงสุด ไม่ใช่คำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะที่จะฉวยโอกาสเอาอำนาจไปใช้โดยไม่พิจารณาให้ดี"
- "บ้านเมืองเราในขณะนี้มาไกลพอสมควรในเรื่องการเมืองระบอบประชาธิปไตย เรามาไกลเกินกว่าจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวากลับไปหาระบอบอำนาจนิยมให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหยิบไปใช้"
- "[ผม] อ่านร่างเหมือนกับกำลังเซ็นต์เช็คเปล่าให้ผู้อื่นเอาไปกรอกจำนวนเอาเองตามใจชอบ"
- "กอ.รมน.สามารถเข้าไปสวมแทน ทำแทนหน่วยงานราชการอื่น [ซึ่ง] ต้องถ่ายโอนอำนาจไปให้ กอ.รมน.ใช้ ฝากให้คิดว่าวิธีการเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่ ... ข้าราชการทุกคนทุกฝ่ายของรัฐได้รับผลกระทบหมด [ใครจะชี้] ว่าข้าราชการผู้นี้เป็นภัยต่อความมั่นคง"
- "สมัยกฎหมายต้านคอมมิวนิสต์มีประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐ ผมไม่อยากเห็นอดีตกลับมาอีกครั้งหนึ่ง" (นอกจากนี้ ประสงค์ สุ่นศิริ ยังได้กล่าวถึงรายละเอียดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องอำนาจในการสั่งห้ามออกนอกเคหะสถาน และห้ามใช้เส้นทางพาหนะ)
- "ม.18 [ของร่าง พ.ร.บ.] ให้ ผอ. และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ ผอ. มอบหมายเป็นพนักงานสอบสวน คือทำได้ตั้งแต่ ป้องกัน กำหนดและปราบปราม คือจับก็ได้ สอบสวนเองอีก ไอ้นี่ กฎหมายเขียนอย่างนี้ ม.22 ในการปฏิบัติการเจ้าหน้าที่พนักงานไม่ต้องรับผิดทางแพ่งหรืออาญา หากเชื่อว่าการปฏิบัติเป็นไปตามสุจริต ก็ไม่ต้องรับโทษตาม ม.นี้ ก็หมายความว่า ม.นี้ไม่ต้องรับผิด แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครรับผิดชอบ และท่านละเลยกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา"
- "ทั้งหมดนี้นอกจากว่าทำลายหลักการสิทธิมนุษยชน
ความเสมอภาคทางกฎหมายแล้ว ทางด้านศาล ท่านอยู่เหนือ องค์กรตรวจสอบอื่นๆ ไม่มีเลย".
"กฎหมายอย่างนี้เป็นกฎหมายที่ประเทศของเรามาไกลเกินสมควรแล้วที่จะเลี้ยวซ้ายเลี้ยววาไปหาอำนาจนิยม
[ร่าง พ.ร.บ.นี้] แม้แต่หลักการก็ยังไม่สมควรที่จะรับ"
ประสงค์ สุ่นศิริ สนช.
- "อำนาจพิเศษ [ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.] ก็จะกลายเป็นอำนาจที่ใช้เกือบปกติ นี่จะกลายเป็นอันตราย ที่ผ่านมา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้องประชาชนยังมีที่พึ่งคือศาลปกครอง"
- "ความกลัวบางทีไม่มีเหตุผล เป็นความหวาดระแวงสะสมมาจากอดีต ไทยเคยมีเหตุการณ์ลุอำนาจ"
- "สิทธิมนุษยชนก็เหมือนออกซิเจน
เพราะไม่รู้วันใดเราแจ็คพอตถูกละเมิด น่าจะมีการพูดคุย ร่าง พ.ร.บ. นี้อย่างกว้างขวาง"
โคทม อารียา สนช.
- "[ร่าง พ.ร.บ.]
ไม่น่าจะนำมาใช้ในเวลาที่บ้านเมืองกำลังก้าวพ้นจากเผด็จการ อันสืบเนื่องมาจาก
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549. กฎหมายฉบับนี้เป็นการทำลายบรรยากาศการให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างสิ้นเชิงและแสดงถึงความไม่จริงใจของรัฐบาลที่จะคืนอำนาจแก่ประชาชน
ซึ่งดิฉันไม่เห็นด้วยและรับหลักการมิได้"
บัญญัติ ทัศนียะเวช สนช.
- "[ร่าง พ.ร.บ.นี้]
ใช้ถ้อยคำที่กว้างจนไม่อาจนิยามได้ หรือกรณีใดๆ ก็อาจใช้กฎหมายนี้ได้ [เพราะ]
ไม่มีนิยามที่จะระบุเงื่อนไขต่อการใช้อำนาจเช่นนี้เลย". "[หาก] รับก่อนและแปรญัตติอาจจะมีปัญหา
ถึงขนาดให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการมีอำนาจถึงขนาดเหมือนเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนด้วย
จำเป็นด้วยหรือไม่ อำนาจเจ้าหน้าที่ไปไกลค่อนข้างมาก [อำนาจ] เป็นไปโดยไม่มีกรอบระยะเวลา
เหตุใดจึงยกเว้นความรับผิดทางอาญา มันเป็นอย่างเดียวกันการเซ็นเช็คไม่กรอกวันที่
กฎหมายนี้จะอยู่ต่อไปไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล ผมอยากให้ใคร่ครวญให้ดี เรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชน"
สุรพล นิติไกรพจน์ สนช.
- "อำนาจครอบจักรวาล
มันกว้างมากจนกระทั่งจะทำอะไรก็ได้ในอนาคต จะมีผู้ใช้อำนาจในทางที่ผิดอย่างมาก
ถ้ามันไม่ชัดเจนมันสามารถกล่าวหาใครในห้องนี้ก็ได้ว่าเป็นภัยความมั่นคง เมื่อเราเขียนกฎหมายออกมาอย่างนี้
แล้วเราจะปกป้องประชาชนผู้สุจริตได้อย่างไร [พ.ร.บ.นี้] จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งคู่ต่อสู้ทางการเมือง"
ตวง วรรณชัย สนช.
- "ผมไม่เชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะรักษาความมั่นคง
การใช้อำนาจคนที่มีอำนาจต้องมีความรับผิดชอบและต้องมีการตรวจสอบ ไม่งั้นจะเกิดการละเมิด"
วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ สนช.
- "สองสามวันนี้
ผมนอนไม่หลับ ครุ่นคิดว่าควรรับโดยหลักการไปก่อนไหม [ร่าง พ.ร.บ. นี้] มีโอกาสขัดรัฐธรรมนูญได้มากในหลายมาตรา
และเป็นสัญญาณไม่ดีต่อการเลือกตั้งที่จะมาถึง". "ร่าง พ.ร.บ.นี้ พูดถึงอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางครอบจักรวาล
นิยามยังไม่ชัดเจน หลักการยังไม่ได้ถกให้ตก ลำบากที่จะเห็นด้วยกับหลักการกฎหมายฉบับนี้"
สุริชัย หวันแก้ว สนช.
- "[ร่าง พ.ร.บ.
นี้] จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ถึง 10 มาตรา [ในรัฐธรรมนูญ] ทีเดียว ที่จริงมาตราเดียวก็มากเกินไปแล้ว
[อำนาจในการยกเลิก] เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและรายงานข่าวอันนี้เท่ากับทำลายผมทั้งชีวิตเลย".
"ผมเกิดมา 59 ปีก็เพิ่งเจอวันนี้ ท่านจะดักฟังโทรศัพท์ อีเมลของผม แน่นอนเลย
ถ้าสงสัยว่าผมเป็นภัย". "ถ้าจะทำอย่างนี้ไม่มีพลเมืองใดที่จะให้ตัวแทนของเขาออกกฎหมายปิดกั้น
จำกัด"
สมเกียรติ อ่อนวิมล สนช.
- "แทนที่จะแก้ปัญหาเรากลายเป็นสร้างปัญหามากขึ้นหรือไม่"
โสภณ สุภาพงษ์ สนช.
ฟังดูแล้ว ผู้อ่านควรจะคิดต่อ เพราะผลกระทบนั้นจะใหญ่หลวงนัก สำหรับผู้เขียนขอตั้งข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ดังนี้
หนึ่ง พ.ร.บ. นี้ได้ทำให้สิทธิภายใต้กฎหมายทั่วไป และรัฐธรรมนูญฉบับทหารไร้น้ำยา
สอง พวกนักวิชาการ และภาคประชาสังคมที่เข้าไปอยู่ในสภาหุ่นกระบอกนี้ เช่น สุริชัย หวันแก้ว โคทม อารียา สุรพล นิติไกรพจน์ ได้ช่วยเป็นตัวละครประกอบให้กับการผ่านร่างกฎหมายเผด็จการนี้ [โดยรู้ตัวหรือเจตนาหรือไม่ก็ตาม] และทำให้การลงคะแนนรับร่าง พ.ร.บ. ดูมีความเป็น 'อิสระเสรี' และ 'ประชาธิปไตย' ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่มีอะไรที่เป็นประชาธิปไตยเกี่ยวกับสภานี้ ซึ่งถูกกลุ่มทหารที่ก่อรัฐประหารแต่งตั้งแม้แต่น้อย คนเหล่านี้ได้ทำร้ายประชาชน และสังคม ประวัติศาสตร์จะจารึกถึงแม้พวกเขาอาจจะโหวตต้าน พ.ร.บ. ก็ตาม ว่าพวกเขาคือพวกสมรู้ร่วมคิดชนิดหนึ่ง สมรู้ร่วมคิดให้การผ่านร่างกฎหมายนี้ดูเหมือนมีความชอบธรรมสาม จากนี้ไป ประชาชนคงต้องเสียเลือดเนื้อ เสรีภาพอีกมาก จนกว่าจะสู้มาได้ซึ่งสิทธิเสรีภาพตามที่ทุกคนพึงมี นี่กลายเป็นการถอยหลังลงคลองไปยิ่งกว่ายุคทักษิณหรือยุค รสช. เสียอีก วันพฤหัสที่ 8 พฤศจิกายน เป็นวันแห่งโศกนาฎกรรมของประชาธิปไตยไทยวันหนึ่ง
สี่ ทางผู้สนับสนุนทั้งใน สนช. และนอก สนช. อ้างว่า อำนาจสูงสุดจะอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรีที่น่าจะมาจากการเลือกตั้งและเป็น ผอ.รมน. โดยตำแหน่ง ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.นี้ แถมคณะรัฐมนตรีจะต้องรับทราบ ปัญหาคือ แม้สมัยทักษิณ ซึ่งใครๆ ก็บอกว่า เป็นยุคที่นายกฯ เรืองอำนาจมาก ทหารก็ยังก่อรัฐประหารได้ เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่า ตัว รอง ผอ.รมน. ซึ่งตามตำแหน่งเป็น ผบ.ทบ. จะไม่กลายเป็นผู้กุมอำนาจครอบจักรวาลตัวจริง รัฐธรรมนูญยังฉีกได้เลย นับอะไรกับ พ.ร.บ. สามานย์นี้
ห้า ภาคประชาชนควรถามแต่ละพรรคที่กำลังแข่งขันเลือกตั้งว่าจุดยืนต่อเรื่อง พ.ร.บ. นี้เป็นอย่างไร และล่าลายเซ็นต์ล้มกฎหมายนี้ รวมถึงกฎหมายเผด็จการอื่นๆ ที่ทำคลอดภายใต้รัฐบาลทหาร
หก ดูเสียงโหวต 101 ต่อ 20 แล้ว หมดหวังว่าการแปรญัตติจะนำไปสู่อะไรที่ดีขึ้น เพราะโหวตกี่ที พวกที่อ้างว่า 'หวังดี' และไปอยู่ใน สนช. ก็คงแพ้ ดีไม่ดี มันจะแปรญัตติให้กฎหมายนี้เลวร้ายขึ้นอีกด้วยซ้ำไป
เจ็ด ประชาชนควรเตรียมศึกษาการใช้กฎหมายความมั่นคงในสิงคโปร์และมาเลเซียให้จงดี เพราะเขากดขี่และละเมิดสิทธิประชาชนกันมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว หากคุณเท่าทันรัฐและสถาบันสำคัญต่างๆ นั่งๆ นอนๆ เขาก็อาจลากคุณเข้าตารางโดยไม่ต้องขอหมายศาลได้
แปด ทหารเตรียมเฮได้เลย (จริงๆ พวกเขาคงเฮไปแล้ว เพราะงบประมาณใช้จ่ายเรื่องความมั่นคงจะเพิ่มจนนับแบงค์แทบไม่ทัน แต่อย่าเพิ่งดีใจจนเกินงาม เพราะสุดท้าย การปะทะกันระหว่างประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรม จะต้องเกิดขึ้น พวกเขาจะต่อสู้กับกฎหมายเถื่อน ที่ชงโดยรัฐบาลเถื่อน และอนุมัติ โดยสภาเถื่อน เพราะประชาชนคงไม่ยอมเป็นควายให้พวกนี้จูงจมูกไปตลอดชีวิต
สุดท้าย ระหว่างนี้ เรามาคั่นเวลาเล่นเกมทายกันไหมว่า ใครและกลุ่มไหนจะโดนอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญภายใต้ พรบ. ความมั่นคงภายใน ลากไปขังทรมานก่อนกัน กลุ่มวิพากษ์เจ้า, กลุ่มวิพากษ์ทหาร, กลุ่มต้านเผด็จการการเมือง, หรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดน
คำตอบอาจเป็นว่าใครก็ได้
ที่ต่อต้าน พ.ร.บ. นี้ หรือที่ผู้มีอำนาจไม่ชอบใจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
กฎหมายความมั่นคงของมาเลเซีย
ผลจากการสิ้นสุดของสงครามคอมมิวนิสต์เช่นนี้ทำให้หลาย ๆ ฝ่ายในมาเลเซียเชื่อว่า
กฎหมายความมั่นคงน่าจะต้องถูกยกเลิกไป เพราะกฎหมายนี้มีจุดกำเนิดมาจากปัญหาภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์
ซึ่งเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้ยุติสงครามปลดปล่อยของพวกเขาแล้ว ความชอบธรรมของกฎหมาย
ISA ก็น่าจะหมดไป และกฎหมายก็น่าจะต้องยุติตามไปด้วย. สิ่งที่เห็นได้ชัดในทางการเมือง
จากการที่กฎหมายไม่ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการสิ้นสุดของสงครามคอมมิวนิสต์ก็คือ
กฎหมาย ISA กลับกลายเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการจัดการกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ถูกจับกุมในระยะหลังมักจะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ตัวอย่างจากการกวาดล้างในยุทธการลาลัง
(Operation Lalang) ในวันที่ 27 ตุลาคม 2530 เห็นได้ชัดว่าผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่ในจำนวน
65 คน เป็นนักการเมืองฝ่ายค้าน ผู้นำเยาวชน นักธุรกิจ และนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
เป็นต้น ในขณะที่ผู้ถูกจับกุมจากกฎหมายนี้นับจากปี 2503 เป็นต้นมานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน
และถูกจับด้วยข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์เป็นหลัก
อย่างไรก็ตามในช่วงต้นปี 2539 รัฐบาลมาเลเซียได้แสดงท่าทีว่าอยากจะทบทวนกฎหมาย ISA แต่ก็ไม่ได้กำหนดกรอบเวลาไว้ ดังนั้นในช่วงปี 2539 กลุ่มเอ็นจีโอร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านในมาเลเซียได้ร่วมกันรณรงค์ให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายนี้ เพราะเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสามารถคุมขังผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องผ่านการไต่สวน (detention without trial).