โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๑๒ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 16, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ข้อมูลทางวิชาการกฎหมายต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสำรวจและรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้มีแนวคิดทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๓ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายให้ดีขึ้นตามลำดับ เพียงแต่ว่าการแก้ไขกฎหมายในเรื่องดักงล่าว มักจะเป็นไปในลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและแก้เป็นจุดๆ กระจัดกระจายกันไป ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าหรือแก้ไขปัญหาในลักษณะที่เป็นการแก้ไขโดยองค์รวมหรือเชิงโครงสร้าง
16-11-2550

Animal Protection
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

สำรวจกฎหมายคุ้มครองสัตว์ จากอดีตถึงปัจจุบัน
ตามรอยกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ ในประเทศไทย
โกเมน สิมากร : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ สาขานิติศาสตร์

ข้อมูลทางวิชาการกฎหมายต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ได้รับมาจากผู้เขียน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสำรวจและรวบรวมกฎหมาย
ในเรื่องการคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในประเทศไทย
จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้มีแนวคิดทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ เหล่านี้
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๓ นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๑๐๐ กว่าปีแล้ว ซึ่งมีแนวโน้ม
ที่จะเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายให้ดีขึ้นตามลำดับ เพียงแต่ว่าการแก้ไข
กฎหมายในเรื่องดังกล่าว มักจะเป็นไปในลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
และแก้เป็นจุดๆ กระจัดกระจายกันไป ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าหรือแก้ไขปัญหา
ในลักษณะที่เป็นการแก้ไขโดยองค์รวมหรือเชิงโครงสร้าง
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๑๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สำรวจกฎหมายคุ้มครองสัตว์ จากอดีตถึงปัจจุบัน
ตามรอยกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ ในประเทศไทย
โกเมน สิมากร : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ สาขานิติศาสตร์

1. ความนำ
บทความนี้เป็นความพยายามเบื้องต้น ในการรวบรวมและตรวจสอบกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด วิวัฒนาการ ตลอดจนพัฒนาการของกฎหมายไทยในด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ และเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ตลอดจนกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานในด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์

2. พัฒนาการของกฎหมาย
ในที่นี้ได้แยกอธิบายตามลำดับชั้นของกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

- กฎหมายรัฐธรรมนูญ กับ ระดับพระราชบัญญัติ และ
- กฎหมายลำดับรองต่างๆ (ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ฯลฯ)

2.1 รัฐธรรมนูญ
จากการศึกษาพบว่านับแต่ อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ปรากฏมีมาตราใดในรัฐธรรมนูญไทย ไม่ว่าฉบับใดก็ตามที่กล่าวถึงการคุ้มครองดูแลสัตว์ไว้โดยตรง คงมีแต่ที่กล่าวถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า มีบางประเทศที่กล่าวถึงการคุ้มครองสัตว์ไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย เช่น

รัฐธรรมนูญประเทศบราซิล มาตรา 225 (7) (*) กล่าวว่า
" สิทธิของบุคคลในความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทรัพย์สินสาธารณประโยชน์และจำเป็นต่อคุณภาพของชีวิต ในการนี้ รัฐและชุมชนมีหน้าที่ป้องกันและสงวนรักษาเอาไว้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินการตามสิทธิดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐมีหน้าที่
............................
7. เพื่อคุ้มครองสัตว์และพืช ห้ามมิให้กระทำการใดๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการส่งผลกระทบกับระบบนิเวศวิทยา หรือเป็นเหตุให้สัตว์สูญพันธ์ หรือเป็นการทารุณสัตว์ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"

(*) Article 225 All have the right to an ecologically balanced environment. which is an asset of common use and essential to a healthy quality of life, and both the Government and the community shall have the duty to defend and preserve it for present and future generations.

Paragraph 1 - In order to ensure the effectiveness of this right, it is incumbent upon the Government to:

I. …
II. …
III. …
VII. protect the fauna and the flora, with prohibition, in the manner prescribed by law,
of all practices which represent a risk to their ecological function, cause the extinction of species or subject animals to cruelty.

รัฐธรรมนูญประเทศเยอรมัน (Basic Law) มาตรา 20a (*) กล่าวว่า
"รัฐมีหน้าที่รับผิดชอบสำหรับคนในอนาคต ในการป้องกันธรรมชาติขั้นพื้นฐานของชีวิตและสัตว์ ด้วยกลไกของรัฐธรรมนูญ โดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และตุลาการ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติและตามความยุติธรรม

(*) Article 20a (Protection of Natural Resource)
The State, also in its responsibility for future generations, protects the natural foundations of life and the animals in the framework of the constitutional order, by legislation and, according to law and justice, by executive and judiciary

2.2 พระราชบัญญัติ และกฎหมายลำดับรอง
แยกอธิบายได้ เป็น 6 เรื่อง ดังนี้

2.2.1 กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์
2.2.2.สัตว์เลี้ยง
2.2.3.สัตว์ป่า
2.2.4 สัตว์ทดลอง
2.2.5 สัตว์เศรษฐกิจ
2.2.6.สวัสดิภาพสัตว์

2.2.1 กฎหมายป้องกันการทารุณกรรมสัตว์

ก. กฎหมายลักษณะอาญา รศ.127 (พ.ศ. 2451)
(ยกเลิกโดยประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499)

ข. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499
มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์

(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือเครื่องมือ อันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 359 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 358 ได้กระทำต่อ

(1) เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบกสิกรรมหรืออุตสาหกรรม
(2) ปศุสัตว์
(3) ยวดยานหรือสัตว์พาหนะ ที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะ หรือในการประกอบกสิกรรมหรืออุตสาหกรรม หรือ
(4) พืชหรือพืชผลของกสิกร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 377 ผู้ใดควบคุมสัตว์ดุหรือสัตว์ร้าย ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นไปเที่ยวโดยลำพัง ในการที่อาจเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 381 ผู้ใดกระทำการทารุณต่อสัตว์หรือฆ่าสัตว์ โดยให้ได้รับทุกขเวทนาอันไม่จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 382 ผู้ใดใช้ให้สัตว์ทำงานจนเกินสมควร หรือใช้ให้ทำงานอันไม่สมควร เพราะเหตุที่สัตว์นั้นป่วยเจ็บ ชรา หรืออ่อนอายุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 395 ผู้ใดควบคุมสัตว์ใดๆ ปล่อยปละละเลยให้สัตว์นั้นเข้าในสวน ไร่หรือนาของผู้อื่นที่ได้แต่งดินไว้ เพาะพันธุ์ไว้ หรือมีพืชพันธุ์หรือผลผลิตอยู่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

มาตรา 396 ผู้ใดทิ้งซากสัตว์ซึ่งอาจเน่าเหม็นในหรือริมทางสาธารณะ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

2.2.2.สัตว์เลี้ยง

1) การเลี้ยงสัตว์


(1) พระราชบัญญัติการสวนครัวและการเลี้ยงสัตว์เพื่อประโยชน์แห่งครัวเรือน พุทธศักราช 2482
(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ.2546)
เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการขาดแคลน
อาหารเท่านั้น

(2) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2545
(ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 29)
เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อกำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ เพื่อประโยชน์ในการ
รักษาสภาวะความเป็นอยู่มี่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ และอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ตลอดจนกำหนดมาตรการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์

เนื้อหาหลัก
- กำหนดให้กรุงเทพมหานคร เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ (ข้อ 5)
- ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ควบคุมในที่หรือทางสาธารณะ (ข้อ 6)
- อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ควบคุม (ข้อ 7)
- หน้าที่ของเจ้าของสัตว์ (ข้อ 8)
- บทลงโทษ (ข้อ 11)

2) การรักษาโรค

ก. พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2498
(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535)

ข. พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกฎหมายนี้ไปใช้กับสัตว์อื่นได้โดยการออกเป็นกฎกระทรวง

2.2.3.สัตว์ป่า

(1)
ก. พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาช้างป่า ร.ศ.119 (พ.ศ. 2443)

(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2464)

ข. พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2464
เป็นกฎหมายที่ยกเลิกกฎหมายเดิมและตราขึ้นใหม่ เพื่อดูแลการจับและป้องกันอันตรายแก่ช้างป่า รวมทั้งบำรุงพันธุ์ช้างป่า

(2)
ก. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503

(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535)
เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สัตว์ป่าโดยเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราออกมาเพื่อกำหนดหลักการในการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ว่าจะต้องประกาศในพระราชกฤษฎีกา มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับผู้ที่จะเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ห้ามทำลายต้นไม้และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เพื่อให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งหาอาหาร แหล่งหลบภัย และแหล่งขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ

ข. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 228 พ.ศ.2515
(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535)

ค. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อปรับปรุงให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเร่งรัดการขยายพันธุ์สัตว์ป่าควบคู่กันไป และเพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ

เนื้อหาหลัก
- การกำหนดชนิดสัตว์ป่าคุ้มครอง (มาตรา 6)
- การขออนุญาต (มาตรา 8)
- การล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (มาตรา 16)
- การกำหนดชนิดสัตว์ป่าคุ้มครองที่ให้เพาะพันธุ์ได้ (มาตรา 17)
- การมีสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครอง (มาตรา 19)
- การค้าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง (มาตรา 20)
- การนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านสัตว์ป่า (มาตรา 21-22)
- สวนสัตว์สาธารณะ (มาตรา 29-32)
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (มาตรา 33-40)
- เขตห้ามล่าสัตว์ป่า (มาตรา 42)
- บทกำหนดโทษ (มาตรา 47-59)

ง. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2546
แก้ไขกฎหมายโดยกำหนดให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาแจ้ง
การครอบครองและขออนุญาตมีไว้ในครอบครองได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่ต้องรับโทษ

(3) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น พันธุ์ไม้ สัตว์ป่าฯลฯ
ให้คงอยู่ในธรรมชาติตามเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป

เนื้อหาหลัก
- ข้อห้ามมิให้กระทำในเขตอุทยานแห่งชาติ (มาตรา 16)
- บทกำหนดโทษ (มาตรา 24-27)

(4) ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ห้ามมิให้นำช้างเข้ามาเลี้ยงหรือปล่อยในเขตกรุงเทพมหานคร
(ออกตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2545 ข้อ 7)

2.2.4 สัตว์ทดลอง

จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในเรื่องนี้โดยเฉพาะ คงมีแต่ "จรรยาบรรณการใช้สัตว์" ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 11/ 2545 วันที่ 19 มีนาคม 2545 ให้ทุกสถาบันและหน่วยงานของรัฐที่เลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ และงานสอน พัฒนาการดำเนินงานให้ได้มาตรฐานสากลและสอดคล้องกับ "จรรยาบรรณการใช้สัตว์" ของสภาวิจัยแห่งชาติ และจัดทำแผนงาน / โครงการพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์ฯ ประกอบการของบประมาณและเสนอให้กรรมการแห่งชาติฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และมีมติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 เห็นชอบให้แต่งตั้ง "คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ และงานสอน" โดยมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้

1) กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานวิจัย งานทดสอบ
งานผลิตชีววัตถุ และงานสอน ให้ได้มาตรฐานสากล และสอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์
สภาวิจัยแห่งชาติ

2) พิจารณาโครงการหรือแผนงานพัฒนาหน่วยงานเลี้ยงและใช้สัตว์ฯ ของหน่วยงานหรือสถาบันเพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่
สำนักงบประมาณในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นประจำทุกปี

3) ประสานงานกับภาคธุรกิจเอกชนและโครงการความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการ
วิจัย การผลิตวัสดุอุปกรณ์ และการพัฒนาบุคลากร เพื่อพัฒนางานการเลี้ยงและใช้สัตว์ให้ได้มาตรฐานสากล

4) เสนอแต่งตั้งผู้แทนเป็นสมาชิกในองค์กรนานาชาติที่เกี่ยวข้อง

5) กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์ สภาวิจัยแห่งชาติ และเสนอปรับปรุงแก้ไข
จรรยาบรรณการใช้สัตว์ สภาวิจัยแห่งชาติ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ความก้าวหน้าทางวิชาการ และวัฒนธรรมประเพณี

6) มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ดำเนินการเฉพาะเรื่องได้ตามความเหมาะสม

7) หน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.2.5 สัตว์เศรษฐกิจ

1) สัตว์พาหนะ

(1) พระราชบัญญัติสำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะ ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443)
(ยกเลิกโดย พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน พ.ศ.2546 )
เป็นกฎหมายที่ใช้เพื่อการตรวจโรคและควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อใช้ทำเป็นอาหารเท่านั้น

(2) พระราชบัญญัติตามช้าง ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2441)
เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อำนาจเจ้าพนักงานในการป้องกันการลักช้าง

(3)
ก. พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ ร.ศ.119 (พ.ศ. 2443)

(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482)

ข. พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พุทธศักราช 2482
เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อปรับปรุงการคุ้มครองกรรมสิทธิ์และการป้องกันการลักสัตว์พาหนะ

เนื้อหาหลัก
- การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณ (มาตรา 8-13)
- การโอนกรรมสิทธิ์และการจำนอง (มาตรา 14-16)
- การย้ายและจำหน่ายทะเบียน (มาตรา 17-19)
- บทเบ็ดเตล็ด (มาตรา 20-26)
- บทกำหนดโทษ (มาตรา 27-30)

2) ปศุสัตว์

ก. พระราชบัญญัติบำรุงและรักษาพันธุ์ปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2479

(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติบำรุงพันธุ์สัตว์ พ.ศ. 2509)

ข. พระราชบัญญัติบำรุงพันธุ์สัตว์ พ.ศ. 2509
เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อปรับปรุงให้การตอนสัตว์ และการสงวนพันธุ์สัตว์มีความรัดกุมและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

3) โรคระบาด

ก. พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์ และสัตว์พาหนะ พ.ศ.2474
ข. พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์ และสัตว์พาหนะ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2478
ค. พระราชบัญญัติโรคระบาดปศุสัตว์ และสัตว์พาหนะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2497
ง. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499

เป็นกฎหมายที่ออกมารวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับโรคระบาดสัตว์ให้อยู่ในฉบับเดียวกัน และให้ อำนาจเจ้าพนักงานในการตรวจสัตว์หรือซากสัตว์ และสั่งให้เจ้าของดำเนินการรักษาสัตว์ ทำลายซากสัตว์ และกำจัดโรคจากสัตว์หรือซากสัตว์ได้

เนื้อหาหลัก
- การป้องกันโรคระบาด (มาตรา 8-10)
- เขตปลอดโรคระบาด (มาตรา 11-14)
- เขตโรคระบาด (มาตรา 15-20)
- การควบคุมการค้าสัตว์ (มาตรา 21-24)
- เบ็ดเตล็ด (มาตรา 25-38)
- บทกำหนดโทษ (มาตรา39-52)

จ. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542
เป็นกฎหมายที่ออกมาปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสัตวแพทย์ สารวัตร และอธิบดี ในการควบคุมโรคระบาดสัตว์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และปรับปรุงอัตราโทษให้สูงขึ้นเพื่อให้เกิดผลบังคับตามกฎหมาย

4) การฆ่าสัตว์

ก. พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2502

(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535)

ข. พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2502 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504
(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535)

ค. พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535

เป็นกฎหมายที่ควบคุมโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์ และการฆ่าสัตว์ โดยออกมาเพื่อแก้ไขปัญหา
เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ในระยะยาว เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค

2.2.6.สวัสดิภาพสัตว์

1) อาหารสัตว์

ก. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2506
(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525)

ข. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 204 พ.ศ.2515
(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525)

ค. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อปรับปรุงการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ให้รัดกุม และเพิ่มมาตรการในการขออนุญาตผลิต การขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์ ตลอดจนควบคุมในเรื่องอื่นๆ

เนื้อหาหลัก
- การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต (มาตรา 14-22)
- หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต (มาตรา 23-30)
- อาหารปลอมปน อาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพ (มาตรา 31-36)
- การขึ้นทะเบียน และการโฆษณาอาหารสัตว์ (มาตรา 37-47)
- พนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 48-50)
- การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา 51-56)
- บทกำหนดโทษ (มาตรา 57-71)

ง. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542
แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจรัฐมนตรี อธิบดี และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะปราศจากอันตรายแก่สัตว์หรือมนุษย์ผู้บริโภค

2) การพยาบาล

(1)
ก. พระราชบัญญัติควบคุมการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
(ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545)
เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อป้องกันบุคคลทำการบำบัดโรคสัตว์ เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว โดยบำบัดโรคสัตว์ไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของสัตว์ และเป็นการเสื่อมเสียแก่สถาบันการสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้ โรคสัตว์บางชนิด ยังเป็นอันตรายแก่ผู้ทำการบำบัดโรคและเจ้าของสัตว์ อีกด้วย

ข. พระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. 2545
เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมการประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ใหม่ โดยให้มีองค์กรควบคุม การประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ในรูปของสภาวิชาชีพ เพื่อส่ง เสริมการประกอบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน และควบคุม ส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ รวมทั้งควบคุมมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลที่ไม่มีความรู้ อันก่อให้เกิดภัยและความเสียหายแก่ผู้มารับบริการ

เนื้อหาหลัก
- การควบคุมการประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ (มาตรา 29-49)
- การกำกับดูแล (มาตรา 50-53)
- บทกำหนดโทษ (มาตรา 54-57)

(2) พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2533
เป็นกฎหมายที่ออกมาใหม่เพื่อควบคุมการจัดตั้งและการดำเนินกิจการสถานพยาบาลสัตว์

เนื้อหาหลัก
- การจัดตั้งและการดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ (มาตรา 6-15)
- การควบคุมสถานพยาบาลสัตว์ (มาตรา 16-31)
- พนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 32-35)
- การปิดสถานพยาบาลสัตว์และการเพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา 36-42)
- บทกำหนดโทษ (มาตรา 43-51)

3) การขนส่ง
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522

ก. กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 พ.ศ.2524 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 49 พ.ศ.2537)
หมวด 2 สภาพเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ข้อ 15 ถึง ข้อ 21 (ออกตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 7 และ 71)

ข. ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะและมาตรฐานของตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ 1, 6, 7 และลักษณะ 8 (ออกตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9 ข้อ 15 และ 18)

3. บทสรุป
จากการศึกษาวิวัฒนาการกฎหมายไทยในเรื่องการคุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้มีแนวคิดทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาบ้างตั้งแต่ พ.ศ. 2443 นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 100 กว่าปีแล้ว ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายให้ดีขึ้นตามลำดับ เพียงแต่ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องนี้ มักจะเป็นไปในลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละครั้ง และแก้เป็นจุดๆ เป็นเรื่องๆ กระจัดกระจายกันไป ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าหรือแก้ไขปัญหาในลักษณะที่เป็นการแก้ไขโดยองค์รวมหรือเชิงโครงสร้าง หรือแนวคิดอุดมการณ์แต่อย่างใด

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. รายงานผลการศึกษาวิจัย โครงการศึกษาวิจัยกฎหมายสิ่งแวดล้อมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ระยะที่ 1-2. มปท, 2534.

ไพโรจน์ อาจรักษา. เปิดกรุกฎหมายเก่า. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2545.

ยืนหยัด ใจสมุทร. รวมกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้และสัตว์ป่า. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2544.

ภาษาอังกฤษ

Axel Tschentscher The Basic Law (Grundgesetz) : The constitution of the Federal
Republic of Germany (May 23rd, 1949) Wurzburg/Bern: Jurisprudentia, 2002-2003.

เว็บไซต์

http://www.krisdika.go.th/ (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
http://www.lawreform.go.th/ (สำนักงานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมาย)
http://www.nrct.go.th/~animal/ (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)
http://www.kodmhai.com
http://www.thaiaga.org/ (สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย)
http://www.animallaw.info/

 


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
16 November2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy