โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๐๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 07, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

มีความเหมาะสมเพียงไรที่จะบัญญัติในกฎหมายนี้ว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการปราบปรามตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ทั้งนี้เพราะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับความมั่นคง อาจเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับชาติ(ในแง่อาณา เขต) ไม่เกี่ยวกับศาสนา หรือไม่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ แต่อย่างใดเลยก็ได้. การเขียนไว้เช่นนี้จึงดูไร้สาระและก่อให้เกิดความสับสนในปัญหาของความมั่นคงกับ สถานะของชาติ ศาสนาหรือพระมหากษัตริย์ และจะก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่ที่จะใช้แอบอ้างได้
07-11-2550

Homeland Security Act
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ความเห็นและข้อวิจารณ์ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติความมั่นคง ในมุมมองเชิงวิพากษ์ (ตอนที่ ๓)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
นักวิชาการด้านกฎหมายเขียน (anonymous)

บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนได้รับมาจากนักวิชาการด้านกฎหมาย
เดิมชื่อ "ความเห็นและข้อวิจารณ์ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ...."
ซึ่งได้แสดงความเห็นและบทวิพากษ์ โดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระของร่าง พ.ร.บ.
รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ..... ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ ได้เห็นชอบในหลักการ และเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา
พิจารณา ก่อนนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติวันที่ ๗ พฤศจิกายนนี้
การให้ความเห็นและคำวิจารณ์ต่อร่าง พ.ร.บ.นี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน โดย
- ส่วนที่ ๑ จะเป็นความเห็นต่อหลักการและเหตุผลของกฎหมาย
- ส่วนที่ ๒ จะเป็นการให้ความเห็นเรียงมาตรา

เนื่องจากบทความวิชาการทางกฎหมายเชิงวิพากษ์นี้
มีความยาวกว่า ๖๐ หน้ากระดาษ A4 กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
จึงได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ตอน โดยใช้ปริมาณจำนวนหน้าเป็นเกณฑ์
มากกว่าจะแบ่งตอนตามเนื้อหาสาระของบทความ

สำหรับผู้สนใจบทความชิ้นนี้ ขอแนะนำให้อ่านร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงทั้งฉบับก่อน
เพื่อความเข้าใจในสาระของบทวิพากษ์บนหน้าเว็บเพจ ซึ่งสามารถคลิกไปเริ่มได้ที่ http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2544/0009999625.html
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๐๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความเห็นและข้อวิจารณ์ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติความมั่นคง ในมุมมองเชิงวิพากษ์ (ตอนที่ ๓)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
นักวิชาการด้านกฎหมายเขียน (anonymous)


หมวด ๕ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร

๒๑. มาตรา ๒๑
ความจริงแล้วการกำหนดอำนาจในการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร โดยให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานครนั้น ถือเป็นการเหมาะสมแล้วที่ให้ทุกฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน โดยให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ แต่กรณีไม่เป็นการเหมาะสมที่จะให้อำนาจประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในรุงเทพมหานคร เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานครอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ดังเหตุผลเดียวกันกับที่กล่าวในเรื่องของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค ด้วยเหตุที่คณะกรรมการกำกับนโยบายควรที่จะเป็นคนละส่วนกับส่วนปฏิบัติการ กรณีเช่นนี้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร ควรที่จะเป็นบุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบมายจากนายกรัฐมนตรีภายใต้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอีกเช่นกัน

อย่างไรก็ตามการกำหนดให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่ง เป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร นั้น แสดงชัดแจ้งถึงการพยายามรวมอำนาจในการรักษาความมั่นคงของกรุงเทพมหานคร เข้ากับการบังคับบัญชาของกองทัพบกโดยกองทัพภาคที่หนึ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ไม่มีหลักเกณฑ์กำกับในคุณสมบัติของบุคคลที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่ง จะต้องพิจารณาแต่งตั้ง จึงเปิดโอกาสให้สามารถแต่งตั้งโดยอำเภอใจตนเองตามที่เห็นว่าเหมาะสมได้ ซึ่งเมื่อรวมกับฝ่ายทหาร และตัวผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งด้วยแล้ว จะทำให้องค์ประกอบของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนที่มาจากทหาร(ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นทหารทั้งหมดหรือไม่) จำนวนไม่น้อยกว่า ๔ คน หรือ ๑ ใน ๓ ของทั้งหมด

นอกจากนี้แล้วการที่มาตรา ๑๖ (๕) ของร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร แต่ปรากฏว่าในมาตรา ๒๑ กลับกำหนดให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๑ เป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการขัดแย้งกัน และประกอบกับไม่ปรากฏว่ามีความในในร่างกฎหมายนี้ให้อำนาจแม่ทัพภาคที่ ๑ ของกองทัพบก เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๑ ด้วย

๒๒. มาตรา ๒๒ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร
การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานตามความในมาตรา ๒๒(๕) นั้นไม่มีความชัดแจ้งว่าการเสนอรายชื่อนั้น จะเป็นรายชื่อของบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะปฏิบัติงานให้กับใคร ให้กับคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร หรือให้กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้ว คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานตามความในมาตรา ๒๑(๖) นั้นจะถือเป็นคณะบุคคลเดียวกันกับที่กำหนดในมาตรา ๒๑(๕) หรือไม่ ถ้าเป็นคณะบุคคลเดียวกันก็จะเกิดความขัดแย้งในเชิงอำนาจ เพราะคณะบุคคลตามความในมาตรา ๒๑(๕) จะต้องเสนอให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งเป็นผู้ทำการแต่งตั้ง แต่คณะบุคคลตามมาตรา ๒๑(๖) นั้นดูเหมือนว่าจะเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโดยตนเอง

๒๓. มาตรา ๒๓ กองอำนายการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร
การจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร ย่อมมีเหตุผลเป็นเช่นเดียวกันกับการแต่งตั้งในระดับภาคหรือระดับจังหวัด กล่าวคือควรที่จะกระทำเมื่อมีสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีสถานการณ์จำเป็นเกิดขึ้น และคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในประกาศเป็นสถานการณ์ความมั่นคงแล้ว

การให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติงานตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งมอบหมาย จึงควรที่จะเป็นเมื่อมีสถานการณ์ความมั่นคงเกิดขึ้น มิใช่เป็นการตั้งอย่างถาวร อย่างไรก็ตามคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร สามารถรายงานไปยังนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดยที่ไม่ต้องผ่านคณะกรรมการรักาความมั่นคงภายในภาคได้ ในกรณีที่เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานครปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้แล้วแม้ว่าในร่าง พ.ร.บ.นี้จะกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานครก็ตาม แต่การที่ให้ปฏิบัติงานตามที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคหนึ่งมอบหมาย จึงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมสั่งการของกองทัพภาค ๑ โดยปริยาย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงไม่มีอำนาจโดยตนเองอย่างแท้จริงในการแก้ไขสถานการณ์ความมั่นคง

หมวด ๖ การแก้ไขสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร

๒๔. มาตรา ๒๔
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ไม่สมควรที่จะเป็นผู้กำหนดสถานการณ์ความมั่นคงด้วยตนเอง แต่ควรที่จะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ภายใต้การเสนอแนะหรือให้ความเห็นของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเมื่อเกิดสถานการณ์ความมั่นคงขึ้นแล้ว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจะดำเนินการได้โดยอำนาจหน้าที่ของตน ด้วยการสั่งการของนายกรัฐมนตรีภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตามอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐ(แม้ว่าจะเป็นการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง รวมถึงการฟื้นฟูและการช่วยเหลือประชาชนก็ตาม) อำนาจเหล่านี้ก็ยังมีลักษณะที่กว้างขวาง ไม่มีรูปธรรม พ.ร.บ.ฉบับนี้ควรที่จะกำหนดให้ชัดเจน อาทิเช่น กำหนดว่าให้มีอำนาจภายใต้บังคับของมาตรา ๒๕, ๒๖, ๒๗ ฯลฯ เป็นต้น

ความในมาตรานี้เป็นการกำหนดที่ซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติเอาไว้แล้วในมาตราอื่นๆ และก่อให้เกิดความสับสนว่า ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจะมีอำนาจเมื่อมีสถานการณ์ความมั่นคงเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ขณะที่ในมาตรา ๙ ,๑๐,๑๑,๑๒ ให้อำนาจเอาไว้โดยดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับมีเหตุอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่ ก็ดำเนินการได้เลยโดยทันทีที่มีการก่อตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในขึ้น การเขียนกฎหมายเช่นนี้จึงทำให้เห็นว่า ผู้เขียนซึ่งมีสมมุติฐานความคิดอยู่ว่าประเทศไทยไม่มีความมั่นคงในขณะนี้ หรือมีสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงแล้วในขณะนี้ จึงต้องการให้มีการจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในขึ้น และดำเนินการได้ทันทีที่กฎหมายใช้บังคับโดยไม่เกี่ยวพันกับการมีสถานการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงเกิดขึ้นอย่างแท้จริงหรือไม่

การกำหนดให้หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งประชาชนให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนหรือกระทำการใดๆ เมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงาน ในวรรคท้ายของมาตรา ๒๔ นั้น เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานตามกฎหมายนี้เอาไว้เป็นการล่วงหน้าเกินสมควร เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดที่เป็นการควบคุมหรือตรวจสอบการใช้อำนาจได้ ทั้งนี้เพราะได้รับการยกเว้นในมาตรา ๓๖ และ ๓๗ การกระทำของเจ้าพนักงาน วิธีการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย หรือผู้ที่มีแนวคิดเชิงอำนาจนิยมจากทหาร อาจก่อให้เกิดการล่วงละเมิดต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชน โดยการข่มขู่ให้ร่วมมือ จับกุมคุมขังเอาไว้ก่อน สอบสวนทีหลังได้ง่าย และมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งผ่านการอบรมวิชากฎหมาย รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับการเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ทั้งโดยตรงโดยอ้อมมามากกว่าฝ่ายทหาร

บทเรียนในการดำเนินการของทหารต่อผู้ที่มีความคิดตรงกันข้ามกับรัฐหรือตนเองในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดในด้านนี้ นอกจากนี้แล้วมาตรฐานของความรู้ ความสามารถ การประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจให้เข้ากับการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบสิทธิเสรีภาพของบทบัญญัติกฎหมายของทหาร เมื่อเทียบกับความรู้ของข้าราชการพลเรือนซึ่งมิได้อยู่ในกองทัพนั้น การเป็นพลเรือนจะมีโอกาสพัฒนาที่ดีกว่า เนื่องจากไม่ถูกกำกับหรือผลักดันโดยอำนาจของอาวุธที่กำหนดจิตของผู้ปฏิบัติให้อยู่ภายใต้อำนาจ แต่เป็นการผลักดันขึ้นเป็นความเข้มแข็งภายในจิตใจโดยตนเอง

ความจริงแล้วกองทัพบกไทยเองก็ผ่านประสบการณ์ของการใช้อำนาจเกินสมควรมาก่อนแล้ว ในระหว่างสงครามอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ และก็เป็นฝ่ายกองทัพเอง ที่ตื่นรู้ถึงการกระทำที่ไม่ถูกต้องและเปลี่ยนเป็นนโยบาย ๖๖/๒๓ ในที่สุด การมุ่งใช้บังคับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงเป็นการย้อนวิธีการที่ล้าสมัยที่กองทัพเคยก้าวผ่านได้แล้ว

๒๕. มาตรา ๒๕
มาตรการในการยุติการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงตามที่กำหนดในมาตรานี้นั้น เป็นมาตราการที่มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขสถานการณ์ความมั่นคงบางชนิดเท่านั้น ข้อกำหนดของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน สมควรที่จะต้องเป็นไปภายใต้ เงื่อนไข ๓ ประการคือ

๑) การประกาศสถานการณ์หรือชนิดของปัญหาความมั่นคง และกำหนดระดับปัญหาความมั่นคงโดยคณะรัฐมนตรีแล้ว

๒) ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อกำหนดนี้ว่ามีข้อกำหนดนี้โดยผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ถือว่าข้อกำหนดนี้เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ประชาชนทุกคนจะต้องรู้ ทั้งนี้เว้นแต่จะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

๓) ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ควรที่จะสามารถออกคำสั่งให้ใช้กำลังของหน่วยราชการทุกหน่วยหรือหน่วยใดหน่วยหนึ่งก็ได้ เพื่อเข้าร่วมในการแก้ไขสถานการณ์ความมั่นคงตามลักษณะของปัญหา มิใช่ให้อำนาจออกคำสั่งแต่กับหน่วยทหารเท่านั้น

ในกรณีที่สั่งการให้ทหารเข้าปฏิบัติหน้าที่นั้น การดำเนินการของทหารนอกเหนือไปจากการเข้าควบคุมหรือระงับยับยั้งสถานการณ์แล้ว จะกระทำมิได้ กำลังทหารที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจะต้องส่งมอบตัวบุคคลผู้ถูกควบคุม จับกุมหรือกล่าวหาให้กับเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยทันที นอกจากนี้ การใช้อำนาจของทหารนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดความสับสนในการใช้อำนาจตามกฎหมายโดยปกติ ของเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรง รวมทั้งจะต้องไม่ก่อให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด ที่แตกต่างไปจากมาตรฐานที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติ โดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๒๖. มาตรา ๒๖
ประกาศที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีอำนาจออกได้ตามมาตรานี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน ไม่สมควรที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจะมีอำนาจออกประกาศตามความในมาตรานี้ได้โดยอำนาจของตนเอง

ควรที่จะมีการจำแนกมาตรการในการดำเนินการตามความในมาตรา ๒๖ ให้สอดคล้องกับลักษณะของปัญหาความมั่นคง โดยเฉพาะกรณีปัญหาความมั่นคงที่เป็นผลสืบเนื่องจากแนวคิดทางการเมืองต่างจากผู้มีอำนาจนั้น สมควรที่จะใช้วิธีที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใช้บังคับอยู่เท่านั้น ไม่สมควรที่จะสถาปนาอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่เพิ่มไปจากที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว มาตรการตามความในมาตรานี้ควรที่จะเป็นมาตรการที่จะใช้สำหรับปัญหาความมั่นคงชนิดอื่น อาทิเช่น ปัญหาเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของบุคคล เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วสมควรที่การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่จะต้องเป็นไปเพียงเพื่อระงับสถานการณ์หรือระงับเหตุเท่านั้น เมื่อกุมสถานการณ์ได้แล้ว หรือดำเนินการระงับเหตุได้แล้ว ผู้ต้องหาหรือทรัพย์สินของบุคคลทั้งหลายที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการไป จะต้องนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาทางกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายทั่วไปและใน พ.ร.บ.เฉพาะโดยทันที

ในการดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารนั้น กฎ ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร เป็นเช่นไร จำเป็นที่จะต้องบัญญัติให้ชัดแจ้งในกฎหมายฉบับนี้เอาไว้ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารจะได้เปรียบเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น อาทิเช่น ตำรวจและฝ่ายปกครองนั้น จะมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องยึดกุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างใกล้ชิด แต่ฝ่ายทหารไม่มี และอ้างว่าตนเองเข้ามาช่วยแก้ไขสถานการณ์เท่านั้น ซึ่งหากต้องการให้ทหารเข้ามามีบทบาทเพียง"ผู้ช่วย" ในการแก้ไขสถานการณ์เท่านั้นแล้ว สมควรที่จะต้องบัญญัติกฎหมายฉบับนี้ใหม่ทั้งฉบับ โดยกำหนดบทบาทของฝ่ายทหารให้สอดคล้องกับภารกิจ และไม่ให้เกิดความได้เปรียบในการใช้อำนาจเหนือกว่าเจ้าพนักงานที่มาจากฝ่ายอื่น

๒๗. มาตรา ๒๗
เป็นการเหมาะสมแล้วที่กำหนดมาตรการในการใช้อำนาจและการปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัย แต่ระยะเวลาในการควบคุมตัว ไม่ควรที่จะเกินไปกว่าที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนด อย่างไรก็ตามการอนุญาตให้ควบคุมตัวผู้สงสัยไว้ในสถานที่อื่น ซึ่งมิใช่สถานีตำรวจ ทัณฑสถาน หรือเรือนจำนั้น เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะฝ่ายทหาร เลือกที่จะควบคุมผู้ต้องสงสัยในค่ายทหารหรือสถานที่ลับของฝ่ายทหารได้ ซึ่งแม้จะดูดีที่ผู้ต้องขังไม่ต้องถูกควบคุมตัวในสถานีตำรวจ แต่ก็ไม่มีหลักประกันใดที่จะยืนยันได้ว่า ผู้ต้องหาที่ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารควบคุมตัวไปนั้น ได้รับการปฏิบัติเช่นไร ดังที่กล่าวมาแล้วใน ความเห็นที่มีต่อมาตรา ๔

นอกจากนี้ ฝ่ายทหารก็จะมีระเบียบในการปฏิบัติหน้าที่ของตนอยู่แล้วในเรื่องของการควบคุมผู้ต้องสงสัย ซึ่งหาก พ.ร.บ.ฉบับนี้มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นกรอบควบคุมการปฏิบัติของเจ้าพนักงานตามกฎหมายนี้แล้ว จะเกิดปัญหาในชั้นปฏิบัติมาก โดยฝ่ายทหารก็จะอ้างอำนาจหรือระเบียบที่ตนเองจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทหารที่มีเป็นการเฉพาะ อาทิเช่น ในเรื่องการควบคุม การกักขัง การสอบสวน เป็นต้น และอาจไม่เปิดโอกาสโดยชอบธรรมให้กับผู้ต้องสงสัยในการได้รับการเยี่ยมเยียน หรือติดต่อกับทนายความตามที่ควรจะเป็นตามกฎหมายนี้ ซึ่งในกรณีที่เกิดปัญหาติดขัดดังกล่าว การแก้ปัญหาตามปกติทั่วไปที่ฝ่ายทหารจะเลือกใช้คือ การอาศัยคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในระดับสูงขึ้นไป ซึ่งเป็นการใช้วิจารณญาน ของบุคคลที่อาจจะดีกับผู้ต้องหา เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมหรือไม่ก็ได้

๒๘. มาตรา ๒๘
ไม่สมควรที่จะให้ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งตามความในมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ มีผลใช้บังคับก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้หากฝ่ายปกครองมองเห็นว่าการแก้ไขปัญหาความมั่นคง จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือโดยสมัครใจจากประชาชนแล้ว ก็สมควรที่จะต้องให้ความรู้ แก่ประชาชนให้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ของข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งใดๆ ของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในก่อนที่จะดำเนินการใช้บังคับ ประชาชนจะได้มีสภาพเป็นเจ้าหน้าที่โดยปริยายในการร่วมกันรักษาความมั่นคง

การเขียนกฎหมายตามร่างฉบับนี้จึงเป็นข้อยืนยันถึงสมมุติฐานที่ไม่เชื่อมั่นว่า ประชาชนจะสามารถเป็นส่วนร่วมที่ดีในลักษณะของพันธมิตรกับเจ้าหน้าที่ในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาความมั่นคงร่วมกันได้ และต้องการยกอำนาจให้กับผู้ปฏิบัติแต่ฝ่ายเดียว สะท้อนทัศนะอำนาจนิยมของผู้ร่างกฎหมายนี้อย่างชัดเจน. การอนุญาตให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในใช้บังคับข้อกำหนด ประกาศหรือคำสั่งใดของตนเองก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา ย่อมมีผลเป็นการให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ล่วงหน้า และไม่เป็นการสร้างกลไกกำกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อย่างจริงจัง

๒๙. มาตรา ๒๙
ใจความในมาตรา ๒๙ สมควรที่จะต้องอยู่ในตอนต้นของกฎหมายฉบับนี้ โดยให้อยู่ในส่วนของหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และสมควรที่จะต้องบัญญัติใหม่เป็นว่า

"เมื่อการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรเกิดจากการก่อการร้ายที่มีความรุนแรง หรือการก่อการร้ายสากล ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในรายงานสถานการณ์ต่อนากยรัฐมนตรีโดยทันที

เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับทราบรายงานดังกล่าวจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำเข้าหารือเป็นการด่วนในสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยทันที เพื่อรับฟังความเห็น และนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเร่งด่วน

.ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีความเห็นเป็นเช่นเดียวกัน ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการและมอบหมายภารกิจในการแก้ไขสถานการณ์ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว และรายงานการดำเนินการต่อรัฐสภาโดยทันทีที่จะสามารถกระทำได้

ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีความเห็นที่แตกต่างกันในข้อสำคัญ ให้ยึดถือตามความเห็นของนายกรัฐมนตรี และรายงานการดำเนินการต่อรัฐสภาโดยทันทีที่จะกระทำได้ดุจกัน"

๓๐. มาตรา ๓๐
ฝ่ายทหารและเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจฏิบัติตามร่างกฎหมายฉบับนี้ มีอำนาจในการรวบรวมข่าวสาร หรือป้องกันการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ก่อนหน้าที่สำนวนคดีจะเข้าสู่การดำเนินการของพนักงานสอบสวนอยู่แล้ว ทั้งนี้ตามที่ปรากฏในร่างมาตรา ๒๕(๖)(๗) มาตรา ๒๖ (๑)-(๖) และมีอำนาจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ตามมาตรา ๒๗ จึงไม่สมควรที่จะอนุญาตให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค หรือภายในจังหวัดหรือภายในกรุงเทพมหานครเข้ามามีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานเข้าร่วมฟังการสอบสวน หรือเรียกสำนวนการสอบสวนคดีอาญามาตรวจดูได้ ทั้งนี้นอกเหนือไปจากจะเป็นการแทรกแซงดุลพินิจของพนักงานสอบสวนแล้ว ยังไม่เคารพในอำนาจหน้าที่ของผู้อื่นอีกด้วย โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานดังกล่าวมาจากหน่วยงานที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายเป็นพื้นฐาน ก็รังแต่จะเป็นการขยายอำนาจให้กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในตั้งแต่ชั้นจับกุม ควบคุมตัวและสอบสวนอีกด้วย โอกาสกระทบต่อระบบการอำนวยความยุติธรรมของประเทศที่มีรากฐานมาเป็นเวลานานกว่า ๗๐ ปี มีได้สูงยิ่ง

อย่างไรก็ตาม คดีเกี่ยวกับความมั่นคงภายในบางคดีอาจมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างแท้จริงก็ได้ ก็สมควรที่จะต้องบัญญัติเอาไว้ให้ชัดแจ้งในกฎหมายฉบับนี้ว่าคดีลักษณะใดหรือชนิดใดที่พนักงานสอบสวนมีหน้าที่จะต้องจัดทำรายงานสรุปผลการสอบสวน ส่งให้กับเจ้าพนักงานรักษาความมั่นคงได้รับทราบ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการรักษาความมั่นคงต่อไป แต่ย่อมมิใช่เพื่อเป็นฐานในการดำเนินการกับบุคคลที่ถูกจับกุมดังกล่าวที่มากยิ่งขึ้น เหล่านี้เป็นต้น

การบัญญัติเอาไว้โดยไม่มีการจำแนกในร่างกฎหมายฉบับนี้ ถือว่าไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งและสนับสนุนให้เกิดการใช้อำนาจเกินขอบเขตโดยเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง

๓๑. มาตรา ๓๑
มาตรานี้เป็นการร่างกฎหมายที่ไม่ถูกต้องตามหลักนิติธรรมอย่างยิ่ง เนื่องจากขัดกับหลักนิติธรรมและนิติวิธีในเรื่องของการสอบสวนที่ประเทศไทยยึดถือมาเป็นเวลายาวนาน กล่าวคือ บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาก็ต่อเมื่อมีกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติว่าเป็นความผิด และมีโทษทางกฎหมายกำหนดเอาไว้ รวมทั้งจะต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือโดยประมาทแล้วแต่กรณีเท่านั้น

การสอบสวนนั้น พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามความในมาตรา ๑๓๐ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเคร่งครัด กล่าวคือ "ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา" และจะต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๐ - ๑๔๗ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเคร่งครัด

แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ละเมิดหลักการถ่วงดุลอำนาจในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นหลักการที่ยอมรับในนานาอารยประเทศ และสถาปนาอำนาจของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในขึ้นมาแทนที่ ถือเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้งโดยบุคคลที่ไม่มีความรู้ทางกฎหมายและไม่มีหน้าที่ ไม่มีความชำนาญในการอำนวยความยุติธรรม และตัดอำนาจตรวจสอบของพนักงานอัยการรวมทั้งอำนาจของศาลไปอีกด้วย รวมทั้งเป็นช่องทางก้าวล่วงเข้ามาใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงภายใน ในลักษณะที่อาจเป็นการสมคบหรือบีบบังคับต่อเจ้าพนักงานสอบสวนในแต่ละคดีอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ หากปรากฏผลสอบสวนว่าผู้ต้องหาไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหา มาตรการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ชัดเจนและเหมาะสมแล้ว ไม่สมควรที่จะให้ย้อนสำนวนไปที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในอีก เพราะหลักการของความยุติธรรมคือถ้าไม่พบว่าผู้ต้องหากระทำความผิด เจ้าพนักงานต้องปล่อยตัวไปโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข ในเรื่องของความยินยอมของผู้ต้องหาตามที่กำหนดไว้ในวรรค ๓ และรัฐจะต้องมีหน้าที่ชดเชยความบกพร่องของเจ้าพนักงานด้วยมาตรการตามกฎหมายให้กับผู้ต้องหา ขณะเดียวกันก็ต้องชดเชยให้กับความเสียหายที่รัฐได้รับจากการกระทำที่บกพร่องของเจ้าหน้าที่ ด้วยการลงโทษเจ้าหน้าที่อีกเช่นกัน

ความเป็นธรรมในกระบวนยุติธรรมจึงจะต้องเกิดขึ้นทั้งสองขา ไม่ว่าจะเป็นในกรณีผู้ต้องหามีความผิดจริงหรือไม่มีความผิดจริง ไม่สมควรที่จะต้องส่งสำนวนกลับมาที่ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเพื่อขอความเห็นอีก โดยเฉพาะในเรื่องของอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัตินั้น หากศาลพบว่าผู้ต้องหามีการกระทำความผิดจริง ศาลสามารถใช้วิธีการลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖

กรณีตามวรรคสองของร่างกฎหมายนี้ในมาตรา ๓๑ นั้น ความจริงแล้วควรที่บัญญัติเอาไว้ให้เป็นดุลพินิจในชั้นจับกุมหรือควบคุมตัวเท่านั้น เพราะคดียังอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติตามกฎหมายรักษาความมั่นคงภายใน ก่อนส่งคดีต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งจะเป็นการเหมาะสมกว่าและไม่กระทบต่ออำนาจของพนักงานสอบสวนหรือของพนักงานอัยการและศาล ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว บทบัญญัติในมาตรา ๓๑ วรรคท้ายจะเป็นการเหมาะสม ที่จะใช้สำหรับกรณีที่ผู้ต้องหายินยอมให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน ในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้จับกุมเห็นว่าผู้ต้องหากระทำความผิดจริง แต่โทษที่จะใช้กับการกระทำนั้นมีอัตราโทษไม่สูงนัก อาทิเช่น จำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๖,๐๐๐ บาท เหล่านี้เป็นต้น และผู้กระทำความผิดมีเจตนากระทำไปเพราะเหตุสำคัญผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยเหตุนี้ ความยินยอมย่อมไม่เป็นการกระทบต่อเสรีภาพของผู้ต้องหา ความยินยอมของผู้ต้องหาจึงย่อมเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานไม่สามารถฟ้องร้องคดีกับผู้ต้องหาได้อีก อย่างไรก็ตาม สมควรที่จะต้องกำหนดให้ชัดเจนในกฎหมายหรือ ระเบียบหรือประกาศ หรือข้อกำหนดของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเรื่องหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงื่อนไขแทนการฟ้องคดีตามมาตรานี้ ไม่สมควรที่จะให้เป็นอำนาจหรือดุลพินิจของเจ้าพนักงานในภายหลัง

๓๒. มาตรา ๓๒
มาตรานี้สมควรที่จะนำไปบัญญัติเป็นมาตราต้นๆ ของกฎหมายนี้

๓๓. มาตรา ๓๓
ในเรื่องของการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกนั้น เจ้าพนักงานที่ใช้อำนาจจะต้องปฏิบัติตามอำนาจที่ได้รับตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ในขณะที่ประเทศเป็นประชาธิปไตยการใช้กฎอัยการศึกย่อมเกิดขึ้นโดยอำนาจของนายกรัฐมนตรี แต่ในขณะที่ประเทศอยู่ในภาวะของการรัฐประหาร คณะรัฐประหารอาจออกกฎอัยการศึกใช้บังคับ ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎอัยการศึกษาของเจ้าพนักงานทั้งหลายจึงย่อมเป็นไปตามอำนาจที่ได้รับ อย่างไรก็ตามในเมื่อต้องการให้มี พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในเป็นกฎหมายกลางหรือกฎหมายแม่บท ในการบริหารจัดการการรักษาความมั่นคงมั่นคงภายในของประเทศแล้ว การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกสมควรที่จะต้องทบทวน เพราะจะเป็นการใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อนกันโดยผู้ปฏิบัติอาจจะเป็นบุคคลชุดเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ เมื่อใช้บังคับกฎหมายนี้ กฎอัยการศึกก็ดี กฎ หรือระเบียบ หรือข้อบังคับที่ได้ประกาศไว้จำเป็นที่จะต้องยกเลิกหรือสิ้นผลโดยทันที แต่ไม่มีผลเป็นการลบล้างการดำเนินการที่ได้กระทำไปแล้วเท่านั้น กรณีเช่นนี้อาจเป็นความเหมาะสมที่จะต้องกำหนดเป็นบทเฉพาะกาลเอาไว้ในกฎหมายฉบับนี้เกี่ยวกับการใช้กฎหมายที่คาบเกี่ยวหรือทับซ้อนกัน เพื่อป้องกันการใช้อำนาจทับซ้อน และการถูกลงโทษหรือถูกควบคุมทับซ้อน

นอกจากนี้แล้วการกำหนดในร่างมาตรานี้จะมีผลให้การใช้อำนาจของฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก หรือตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับทั้งหลายที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจไปแล้วมีสถานะที่อยู่เหนือกว่าการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.นี้ จึงถือเป็นการร่างกฎหมายที่มุ่งให้มีผลใช้บังคับที่ไม่ถูกต้อง เพราะกฎหมายฉบับนี้ ผู้ใช้บังคับคือนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี แต่กฎอัยการศึกที่ฝ่ายทหารดำเนินการอยู่นั้น ผู้ใช้อำนาจมีสถานะเป็นเพียงผู้บัญชาการทหารบก หรือแม่ทัพภาคเท่านั้น ดังนั้นการไม่มีผลเป็นการลบล้างอำนาจของทหาร จึงต้องเป็นเรื่องของการกระทำที่ดำเนินไปแล้วเท่านั้น

๓๔. มาตรา ๓๔
การร่างกฎหมายตามมาตรานี้ เปิดช่องให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายนี้ใช้อำนาจในเชิงการเป็น "ตำรวจลับ" ซึ่งมีความหมายในแง่ลบของการปฏิบัติหน้าที่ เพราะหากมีข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดต้องสงสัยว่าจะมีพฤติกรรมเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นก็สมควรที่จะต้องมีกระบวนการหรือกลไกคุ้มครองตนเอง มิให้ถูกกล่าวหาโดยง่าย มิฉะนั้นแล้วกฎหมายฉบับนี้จะสร้างอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้เกินจำเป็นแก้การปฏิบัติหน้าที่ ด้วยเหตุนี้ หากข้าราชการผู้ใดหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดต้องสงสัยว่ามีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแต่ละระดับก็สมควรที่จะต้องทำรายงาน เสนอต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น เพื่อทราบและทำการพิจารณาตามระเบียบราชการ ทั้งนี้ความหนักเบาของพฤติการณ์นั้นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในสามารถแสดงในรายงานได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการสอบสวนของหน่วยราชการนั้นๆ

การให้อำนาจของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงไม่ว่าในระดับใดก็ตาม มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากพื้นที่ภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนด จึงเป็นการแทรกแซงระบบราชการอย่างชัดแจ้ง และเป็นช่องทางให้เจ้าพนักงานตามกฎหมายนี้ใช้อำนาจโดยอำเภอใจ เพื่อแต่งตั้งผู้อื่นแทน และโยกย้ายบุคคลที่ตนไม่ชอบออกไปโดยอาศัยเหตุเรื่องความมั่นคงมาอ้างได้ ขณะเดียวกันก็ไม่เป็นการปกป้องหรือส่งเสริมให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไปเพราะอาจปฏิบัติหน้าที่ขัดหรือแย้งกับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคง

๓๕. มาตรา ๓๕
ความในร่างมาตรานี้ไม่ได้แสดงว่าเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายนี้ มีอำนาจในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามความมั่นคงโดยตนเอง แต่จะต้องแจ้งให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการ จึงเป็นการขัดกันกับอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในร่างกฎหมายฉบับนี้ในมาตรา ๒๔ ซึ่งให้เป็นอำนาจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในโดยตนเองที่จะดำเนินการป้องกัน แก้ไข หรือปราบปราม ระงับยับยั้งการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงภายใน เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรเกิดขึ้น ควรที่จะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมายนี้ให้ชัดเจน

๓๖. มาตรา ๓๖
ไม่เป็นการเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะกำหนดให้ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้มีเนื้อแท้เป็นกฎหมายทางปกครอง เป็นการใช้อำนาจทางปกครองอย่างชัดแจ้ง และไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) ของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ และการปฏิบัติราชการตามความในกฎหมายฉบับนี้ไม่ถือเป็นข้อยกเว้นตามมาตรา ๔ แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ โดยเฉพาะใน (๗) ของมาตรานี้ ซึ่งบัญญัติว่า " การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ" นั้นกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองให้การยกเว้นเอาไว้ ก็เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของทหารในการปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการในการป้องกันและรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร

แต่การปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้นั้น มิได้เป็นไปเพื่อการปฎิบัติหน้าที่ทางยุทธการแต่เพียงอย่างเดียว เพราะมีวัตถุประสงค์ตามคำนิยามของคำว่า "การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร" ทั้งในภาวะปกติและไม่ปกติ การยกเว้นการบังคับตามกฎหมายปกครองในกรณีนี้ จึงจำเป็นที่จะต้อง พิจารณาอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นแล้วกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจะมีฐานะที่ไม่สามารถตรวจสอบหรือถ่วงดุลการใช้อำนาจได้ ดังเช่นการดำเนินงานของหน่วยงานด้านทหาร ซึ่งในกรณีปกติไม่มีสงคราม ความจำเป็นในเรื่องของการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยไม่ต้องคิดก็ไม่จำเป็นเท่าใดนัก แต่ก็ปรากฏว่ามีปัญหาระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เนืองๆ ทั้งที่เป็นข่าวและไม่ปรากฏเป็นข่าว

โดยระบบทหารไม่มีทางออกให้กับผู้ใต้บังคับบัญชากรณีที่เห็นว่าคำสั่งใดที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจังโดยระบบศาลที่มีมาตรฐานดังเช่นข้าราชการพลเรือน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครอง ตลอดจนทั้งการฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครอง เพื่อควบคุมการกระทำทางปกครอง และจะทำให้ขัดต่อหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่ไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจได้ รวมทั้งไม่เสริมสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ไม่ส่งเสริมให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการคิด การสร้างสรรค์

นอกจากนี้แล้วการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐทั้งหลายอยู่ภายใต้บังคับของศาลปกครอง ยังจะทำให้หน่วยงานนั้นมีความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคง หากให้อยู่ภายใต้อำนาจของศาลปกครองแล้วจะทำให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะความมั่นคงเป็นเสมือนดาบสองคม และในบางกรณีจะอยู่ที่มุมมองหรือจุดยืนของผู้รับผิดชอบซึ่งอาจแตกต่างไปจากบุคคลทั่วไป กรณีเช่นนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้กับผู้ปฏิบัติอย่างจำกัด และสามารถตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอดเวลา

เราสมควรที่จะต้องกำหนดแนวทางและรากฐานการดำเนินงานด้านความมั่นคงของประเทศเอาไว้โดยยึดถือหลักการที่ว่า "ยิ่งมีหน้าที่ด้านความมั่นคง ยิ่งจะต้องมีการดำเนินงานที่เป็นประชาธิปไตย ยิ่งมีความจำเป็นในการปิดลับ ยิ่งต้องสมควรตรวจสอบ" ทั้งนี้เพราะผลประโยชน์ของรัฐ ย่อมจะต้องเป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้คนทั้งประเทศที่จะต้องปกป้อง มิใช่หน้าที่ของบุคคลที่อยู่ภายใต้กฎหมายความมั่นคงเท่านั้น เราจึงไม่สมควรที่จะผูกขาดการป้องกันหรือระงับยับยั้งปัญหาความมั่นคงไว้กับหน่วยงานทางทหารหรือตำรวจ หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวหรือกลุ่มเดียว

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่จำเป็นต้องยกเว้นในเรื่องของ"การกระทำ"นั้น สมควรที่จะต้องกำหนดขอบเขตการใช้ ขอบเขตของเงื่อนไขของสถานการณ์ และขอบเขตของผู้มีอำนาจกระทำให้ชัดเจน และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการ "ปราบปรามหรือแก้ไขหรือระงับหรือยับยั้ง" ปัญหาความมั่นคงที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้นและจำเป็นต้องอาศัย "การกระทำ" ที่เด็ดขาดภายใต้คำสั่งที่เด็ดขาด ที่ออกมาโดยชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น และเมื่อสถานการณ์ยุติลง ความจำเป็นในการกระทำย่อมจะสิ้นสุดลงเช่นเดียวกัน

๓๗. มาตรา ๓๗
ร่างพ.ร.บ.ในมาตรานี้มีหลักการแห่งความยุติธรรมขัดกัน กล่าวคือ หลักการที่ว่า "การกระทำกับผลของการกระทำ" จะต้องเป็นผลสืบเนื่องหรือโยงใยถึงกันและกัน การกระทำที่จะถือเป็นความผิดจะต้องเป็นการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ทั้งนี้ไม่ว่าจะกระทำโดยเจตนา หรือโดยประมาท หรือโดยเหตุละเมิดก็ตาม ถ้าหากว่าการกระทำใดไม่ถือเป็นความผิดแล้ว ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผลของการกระทำนั้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะต้องรับโดยตนเองหรือโดยผ่านความรับผิดชอบของรัฐ ดังเช่นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่

ด้วยเหตุนี้เมื่อร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้บัญญัติว่าการกระทำของเจ้าพนักงานหรือผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับเจ้าพนักงาน ได้กระทำการในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น ก็ไม่ต้องรับผิด จึงถือเป็นความสับสนของผู้ยกร่างและผู้มีเจตนาในการจะมุ่งใช้กฎหมายนี้ เพราะ

๑. เมื่อการกระทำนั้นไม่ถือเป็นความผิดแล้ว ผู้กระทำจะต้องรับผิดได้อย่างไร และจะก่อให้เกิดความรับผิดของรัฐตามหลักกฎหมายละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้อย่างไร ในเมื่อการกระทำนั้นไม่ถือเป็นความผิด

๒. การกระทำที่เป็นไปโดยโดยสุจริต และไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีจำเป็นนั้น ตามหลักการของกฎหมายอาญาหรือทางแพ่งก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด เนื่องจากผู้กระทำกระทำไปภายใต้ขอบของกฎหมาย และกระทำไปโดยรู้สำนึกในการกระทำ รู้ผลของการกระทำในขณะกระทำ

ด้วยเหตุนี้หากเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้กระทำการใดไปภายใต้กรอบของกฎหมายแล้วและเกิดความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ใดหรือชุมชนใด ผู้เสียหายก็ไม่อาจอ้างความรับผิดฐานละเมิดมาเรียกร้องค่าเสียหายให้กับตนได้ แต่เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องพิจารณาชดเชยหรือเยียวยาในฐานะที่เป็นรัฐซึ่งต้องมีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมและปกป้องคุ้มครองรวมทั้งบำรุงสุขแก่ผู้คนในสังคม แต่ถ้าเจ้าหน้าที่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการลงโทษ. ดังนั้นความจำเป็นในการเขียนกฎหมายเช่นนี้จึงไม่มี และการเขียนเยี่ยงนี้จะก่อให้เกิดความสับสนในการใช้กฎหมายและเป็นมูลอ้างการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายให้พ้นผิดตามกฎหมายเป็นอย่างยิ่ง

๓๘. มาตรา ๓๘
๑. มีความเหมาะสมเพียงไรที่จะบัญญัติในกฎหมายนี้ว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการปราบปรามตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ทั้งนี้เพราะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับความมั่นคง อาจเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับชาติ(ในแง่อาณาเขต) ไม่เกี่ยวกับศาสนา หรือไม่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ แต่อย่างใดเลยก็ได้. การเขียนไว้เช่นนี้จึงดูไร้สาระและก่อให้เกิดความสับสนในปัญหาของความมั่นคงกับ สถานะของชาติ ศาสนาหรือพระมหากษัตริย์ และจะก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่ที่จะใช้แอบอ้างในการปฏิบัติงาน รวมทั้งจะส่งผลในการวินิจฉัยการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิด

๒. จริงๆ แล้ว ขั้นตอนของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามกฎหมายนี้อาจจะไม่ใช่ในเรื่องของการปราบปรามก็ได้ โดยอาจเป็นขั้นตอนในเรื่องของการสืบสวน การสอบสวน หรือการใดๆ ที่มิใช่ขั้นตอนการปราบปราม และก่อให้เกิดการเจ็บป่วย พิการ บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ได้ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับสมควรที่จะต้องมีเช่นกัน(หากกำหนดให้มี) จึงไม่ควรให้มีเฉพาะในกรณีของการปราบปรามเท่านั้น

๓. ในการกำหนดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมกว่าที่กฎหมายในแต่ละหน่วยกำหนดเอาไว้นั้น จำเป็นที่จะต้องพิจารณาให้ถ่องแท้และเป็นกรณพิเศษจริงๆ เพราะจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การเปิดยุทธการของเจ้าหน้าที่ในแต่ละปีอีกด้วย กล่าวคือ หากไม่มีการควบคุมอำนาจสั่งการตามกฎหมายนี้ให้ดีแล้ว อาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการนี้เกินจำเป็น และเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ได้รับเบี้ยเลี้ยงหรือเงินตอบแทนอื่นใดที่มากกว่าการได้รับตามเงินเดือนปกติ อันเป็นการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้

นอกจากนี้แล้วในกรณีของฝ่ายทหารหรือตำรวจนั้น อุดมคติของการสวมเครื่องแบบก็เพื่อประกอบอาชีพที่เสี่ยงภัยกว่าผู้คนโดยทั่วไป โดยที่บุคคลนั้นๆ ได้เลือกที่จะดำเนินชีวิตเช่นนี้อยู่แล้ว เหตุเสี่ยงภัยจึงไม่บังควรที่จะอ้างเพื่อทำให้ฝ่ายทหารหรือตำรวจ ผู้ที่ต้องได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับความมั่นคงนี้ต้องได้รับค่าตอบแทนที่สูงยิ่งขึ้น หรือถือเอาว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ไม่ใช่ปกติได้ ทั้งนี้เพราะการมีสถานการณ์ความมั่นคงเกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่สัมพัทธ์ คือชั่วคราวมิใช่สิ่งสมบูรณ์ เมื่อเกิดสถานการณ์ความมั่นคงขึ้น ก็สมควรที่จะต้องถือเอาว่าเป็นหน้าที่ตามปกติที่ทหารหรือตำรวจต้องปฏิบัติอยู่แล้ว ไม่ใช่หน้าที่พิเศษแต่อย่างใด มิฉะนั้นแล้วการเคลื่อนกำลังทหารหรือตำรวจออกมารัฐประหาร ก็ก่อให้เกิดสิทธิในการได้รับเบี้ยเลี้ยงจากราชการแล้ว ซึ่งดูจะเป็นความคิดและการกระทำไร้สาระเป็นอย่างยิ่ง. ร่างพ.ร.บ.ในมาตรานี้จึงไม่สมควรที่จะบัญญัติเอาไว้

หมวด ๗ บทกำหนดโทษ

๓๙. มาตรา ๓๙
การกำหนดโทษอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนข้อกำหนด หรือประกาศหรือคำสั่ง หรือขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้ในร่างมาตรานี้นั้น เป็นการกำหนดเอาไว้สูงกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพราะความผิดต่อความมั่นคงนั้น มีโทษที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้แล้ว โทษตาม พ.ร.บ.นี้ สมควรที่จะต้องมีและกำหนดโทษให้เท่ากับอัตราโทษที่บัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๘ เพราะถือว่าเจ้าพนักงานตามกฎหมายนี้ เป็นเจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเช่นเดียวกัน การขัดคำสั่งหรือฝ่าฝืนเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่รักษาความมั่นคงในข้อกล่าวหาที่มีโทษจากการกระทำเช่นเดียวกัน โดยไม่ว่าจะกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานเดียวกัน

 

คลิกกลับไปทบทวนบทความนี้ตอนที่ ๑

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
7 November2007

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง
โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และนักวิชาการอิสระ-สถาบันฯ

ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ดูเหมือนจะเป็นยูโธเปีย(utopia) สำหรับประเทศศูนย์กลาง
แต่ขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กลับกลายเป็นยูโธปลอม(dystopia) ของบรรดาประเทศชายขอบทั้งหลาย เนื่องจากได้นำมาซึ่งการสูญเสีย และกดขี่ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านความยุติธรรม ความเท่าเทียม อิสรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะมองจากมิติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมาย ฯลฯ

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นมาจาก
การเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ที่กำลังคุกคามผู้คนและพยายามที่จะแสวงหาตัวบท
พร้อมทั้งกรณีตัวอย่างในที่ต่างๆ มานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์โลก
ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และทางออกที่หลากหลายในประเทศชายขอบต่างๆ
สำหรับผู้สนใจสามารถส่งบทความเข้าร่วมที่ midnightuniv(at)gmail.com