โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๐๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 07, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงของสังคมมิใช่เป็นสิ่งที่มีความขัดแย้งโดยพื้นฐาน รัฐพึงมีหน้าที่เคารพและเชื่อมั่นต่อหลักการของสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเชื่อมั่นว่ารัฐหรือสังคมที่มีความเข้มแข็งนั้น จะมีรากฐานและมีแนวปฏิบัติในการให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนของพลเมืองของรัฐนั้นๆ อย่างจริงจังและจริงใจ. สิทธิมนุษยชนจึงเป็นรากฐานของความมั่นคงของชาติ ขณะเดียวกันความมั่นคงของชาติจะบังเกิดขึ้นอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อ บุคคลทั้งหลายในรัฐนั้นให้ความเคารพต่อรัฐของตน เพราะยอมรับว่ารัฐของตนให้ความเคารพนับถือสิทธิของปัจเจกบุคคล ...
07-11-2550

Homeland Security Act
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

ความเห็นและข้อวิจารณ์ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติความมั่นคง ในมุมมองเชิงวิพากษ์ (ตอนที่ ๒)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
นักวิชาการด้านกฎหมายเขียน (anonymous)

บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนได้รับมาจากนักวิชาการด้านกฎหมาย
เดิมชื่อ "ความเห็นและข้อวิจารณ์ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ...."
ซึ่งได้แสดงความเห็นและบทวิพากษ์ โดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระของร่าง พ.ร.บ.
รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ..... ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ ได้เห็นชอบในหลักการ และเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา
พิจารณา ก่อนนำเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติวันที่ ๗ พฤศจิกายนนี้
การให้ความเห็นและคำวิจารณ์ต่อร่าง พ.ร.บ.นี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน โดย
- ส่วนที่ ๑ จะเป็นความเห็นต่อหลักการและเหตุผลของกฎหมาย
- ส่วนที่ ๒ จะเป็นการให้ความเห็นเรียงมาตรา

เนื่องจากบทความวิชาการทางกฎหมายเชิงวิพากษ์นี้
มีความยาวกว่า ๖๐ หน้ากระดาษ A4 กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
จึงได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ตอน โดยใช้ปริมาณจำนวนหน้าเป็นเกณฑ์
มากกว่าจะแบ่งตอนตามเนื้อหาสาระของบทความ

สำหรับผู้สนใจบทความชิ้นนี้ ขอแนะนำให้อ่านร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงทั้งฉบับก่อน
เพื่อความเข้าใจในสาระของบทวิพากษ์บนหน้าเว็บเพจ ซึ่งสามารถคลิกไปเริ่มได้ที่ http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2544/0009999625.html
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๐๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๐ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความเห็นและข้อวิจารณ์ร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร
พระราชบัญญัติความมั่นคง ในมุมมองเชิงวิพากษ์ (ตอนที่ ๒)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
นักวิชาการด้านกฎหมายเขียน (anonymous)


หมวด ๑

๖. มาตรา ๖ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน
คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในนั้น ถือว่าเป็นคณะบุคคลชุดที่ซ้ำซ้อนกันกับสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ โดยเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหาร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซี่งดำรงตำแหน่งในสภาความมั่นคงแห่งชาติอยู่แล้ว และมีอำนาจหน้าที่พิจารณาเสนอแนะ หรือให้คำปรึกษาทางนโยบายด้านความมั่นคงต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงอยู่แล้ว การกำหนดให้บุคคลในตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งมีส่วนร่วมรับผิดชอบในนโยบายหรือให้คำปรึกษาด้านความมั่นคงแก่คณะรัฐมนตรี มาดำรงตำแหน่งหน่วยงานที่เล็กกว่าสังกัดเดิมและมีภารกิจในการปฏิบัติที่ขึ้นต่อนายกรัฐมนตรี (มาตรา ๙) อีกเช่นนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนแล้ว ยังไม่เหมาะสม เพราะจะเกิดปัญหาขัดกันของผลประโยชน์โดยตำแหน่งและมีผลทำให้ นายกรัฐมนตรีอาจไม่สามารถบังคับบัญชาหรือสั่งการได้ และส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในสภาความมั่นคงแห่งชาติต่อไปอีกด้วย

เพราะความคิดของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนี้ ในการให้ความเห็นหรือคำปรึกษาในฐานะคณะกรรมการอำนวยการความมั่นคงภายใน กับในฐานะคณะกรรมการสภาความมั่นคง จะแตกต่างกันย่อมเป็นไปไม่ได้ การแยกบุคคลออกจากตำแหน่งหน้าที่ที่ชัดแจ้งอาจจะเกิดผลดีกว่า อาทิเช่น หากนายรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานโดยตำแหน่งในสภาความมั่นคง ไม่เห็นด้วยกับคำแนะนำของคณะกรรมการสภาความมั่นคง ตนเองก็ยังมีอำนาจในการสั่งการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในให้ปฏิบัติไปตามที่ตนเองเห็นว่าเหมาะสมได้ แต่หากให้บุคคลกลุ่มเดียวกันมาปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานทั้งให้คำปรึกษาและปฏิบัติ นอกเหนือไปจากการควบคุม กำกับ และตรวจสอบจะหมดความหมายไปแล้ว ยังเป็นการผูกขาดอำนาจในการคิดและปฏิบัติแก่บุคคลกลุ่มเดียวเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศในอีกลักษณะหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น หน่วยงานในระดับปฏิบัติเช่นนี้จึงไม่ควรมีองค์ประกอบของคณะกรรมการและผู้รับผิดชอบดังที่ปรากฏในร่างกฎหมายนี้

อันที่จริงแล้ว คณะกรรมการความมั่นคงภายในควรที่จะเป็นบุคคลในระดับปฏิบัติที่มาจากหลายหน่วยงาน และมีภารกิจที่ชัดเจนแท้จริงในเรื่องของการรักษาความมั่นคงภายใน ที่เมื่อกำหนดนโยบายหรือแผนงานแล้ว นายกรัฐมนตรีสามารถใช้อำนาจสั่งการไปยังหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงได้ ไม่จำเป็นต้องอาศัยบุคคลดังกล่าวมาเป็นคณะกรรมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นคณะกรรมการที่ไม่สามารถคัดเลือกบุคคลที่ตนเห็นว่าเหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และเลขาธิการการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้ เนื่องจากมาตรา ๙ และ ๑๓ ของร่างกฎหมายนี้ กำหนดชัดเจนว่าเป็นตำแหน่งผู้บัญชากรทหารบกและเสนาธิการทหารบกตามลำดับเท่านั้น

การบัญญัติกฎหมายเช่นนี้ จึงเป็นการบัญญัติกฎหมายตามสถานการณ์ ซึ่งดูเหมือนว่าคณะผู้ปกครองหรือชนช้ำนำทางอำนาจปกครองของไทยในขณะนี้ จะยึดถือเอาปัญหาความมั่นคงทางการเมืองเป็นปัญหาใจกลางของชาติ และเป็นความจำเป็นที่แท้จริงในการบัญญัติกฎหมายนี้ ดังนั้น รูปแบบของการจัดตั้งองค์กรรักษาความมั่นคงและผู้บริหารองค์กร จึงเป็นไปในลักษณะที่ไม่มีความยืดหยุ่นและคำนึงถึงความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม ความเหมาะสมของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นเกณฑ์ ถือเป็นการกำหนดคุณสมบัติที่ขัดต่อหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้ ความสามารถเข้ามาบริหารบ้านเมือง ซึ่งหากจะคำนึงว่ากองทัพบกจะเป็นผู้รับผิดชอบหลัก การมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการจะเป็นการสะดวกในสายงานนั้น ก็อาจไม่ถูกต้องนัก เพราะร่างกฎหมายนี้ก็ให้อำนาจผู้ปฏิบัติดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐได้ทั้งหมดอยู่แล้ว อีกทั้งแม้ว่ารูปแบบของการก่อการร้ายยุคใหม่นี้ จะทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณารูปแบบการอำนวยการดังที่กล่าวมาแล้ว แต่รูปแบบดังกล่าวนั้น ต้องการผู้นำที่เป็นผู้บัญชาการทหารบกและเสนาธิการทหารบกเท่านั้นจริงหรือ

๗. มาตรา ๗ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน
(๑) ดังที่กล่าวแล้วว่า คณะกรรมการอำนวยการจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นบุคคลชุดเดียวกันกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาทางนโยบายหรือยุทธศาสตร์ความมั่นคงให้แก่คณะรัฐมนตรีอยู่แล้ว การกำหนดหน้าที่ตามมาตรา ๗ (๑) จึงถือเป็นการดำเนินงานซ้ำซ้อน โดยเฉพาะในเรื่องการมอบหมายจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ และแสดงให้ถึงเห็นความจำเป็นในการกำหนดสถานะของคณะกรรมการที่ต้องทบทวน และแยกฝ่ายนโยบายออกจากฝ่ายปฏิบัติการให้ชัดแจ้ง

(๒) เห็นว่าควรที่จะต้องกำหนดให้คณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดระดับชั้นของปัญหา และสามารถเลื่อนหรือลดหรือยกเลิกการกำหนดชั้นของปัญหาและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา โดยไม่ควรให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแต่เพียงลำพัง

(๓) เห็นว่าเหมาะสมแล้ว แต่ควรให้อยู่ในการอนุมัติของนายกรัฐมนตรีและการตรวจสอบในแต่ละปีจากฝ่ายนิติบัญญัติอีกด้วย

(๔) จะเป็นการเหมาะสมกว่าที่จะให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดแผนแม่บท และอนุมัติแผนปฏิบัติการในการรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งในร่างกฎหมายนี้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (มาตรา ๙)

(๕) ระเบียบที่จะสามารถออกใช้บังคับได้ ไม่สมควรที่จะเป็นระเบียบที่เกี่ยวกับการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดให้สามารถพิจารณาอนุมัติการใช้จ่ายหรือกำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายของหน่วยงาน แต่ควรที่จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ และไม่ควรให้สิทธิพิเศษเชิงผลประโยชน์ในเรื่องของอำนาจ ในการพิจารณาเบิกจ่ายหรืออนุมัติการใช้จ่ายเงินที่เหนือกว่าหน่วยงานทั่วไป

(๖) การกำหนดจำนวนของภาคและพื้นที่การปฏิบัติงานในแต่ละภาคในหน่วยงานนี้ ควรกำหนดโดยกฎหมาย มิใช่โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และไม่ควรผูกติดอยู่กับการกำหนดภาคของกองทัพบก ซึ่งมีแนวคิดและพัฒนามาจากระยะสมัยสงครามอุดมการณ์ ซึ่งการกำหนดให้กองทัพบกกำหนดยุทธศาสตร์กองทัพภาค เป็นผลมาจากการกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ พคท.เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะปัญหาความมั่นคงทุกเรื่องอาจไม่สัมพันธ์กับพื้นที่การปฏิบัติงานและสายการบังคับบัญชาของกองทัพบก

(๗) ควรกำหนดเป็นคุณสมบัติของบุคคลหรือหลักเกณฑ์ที่เป็นกรอบในการแต่งตั้งบุคคล หรือคณะบุคคลในการเป็นที่ปรึกษาหรือผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันการกำหนดโดยอำเภอใจของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน อันจะมีผลต่อการปฏิบัติงาน ความรู้ความสามารถโดยรวมขององค์กร

(๘) ควรที่จะต้องกำหนดให้มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับ (๗)

(๙) เห็นว่าควรกำหนดให้ชัดเจนว่า "ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ"นั้น หมายถึงกฎหมายอะไร ? มิฉะนั้นแล้วในชั้นการบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะถูกนำไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นโดยไม่มีขอบเขต และจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้อำนาจที่มีความสัมพันธ์ทางอำนาจในการใช้อำนาจทางการเมือง. การกำหนดให้ชัดเจนจะเป็นกรอบแห่งแนวคิดในการใช้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งจะต้องเป็นการใช้อย่างเคร่งครัด มิใช่โดยกว้างขวาง

๘. มาตรา ๘ ได้กล่าวมาแล้วในข้อ บทนิยามที่ว่าด้วย "หน่วยงานของรัฐ "

หมวด ๒

๙. มาตรา ๙ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
เห็นด้วยกับการก่อตั้งหน่วยงานที่มีภารกิจพิเศษเพื่อการรักษาความมั่นคงภายในขึ้นมา โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องเรียกว่า "กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.)"ก็ได้ ความจำเป็นในการก่อตั้งหน่วยงานนี้นั้น ควรที่จะต้องเป็นปัญหาที่ถึงระดับความมั่นคงอย่างแท้จริง ภายใต้การวินิจฉัยของคณะรัฐมนตรีหรือสภาความมั่นคงแห่งชาติ และให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของนายกรัฐมนตรี และรายงานการปฏิบัติงานต่อรัฐสภาทุกๆ ปี. อย่างไรก็ตาม การก่อตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในนั้น ควรที่จะต้องมีเงื่อนไขกำกับดังนี้

เงื่อนไขการก่อตั้งหน่วยงาน
๑. การปฏิบัติงานควรต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์เท่านั้น ไม่ควรกำหนดกฎหมายลักษณะที่ต้องมีผู้ปฏิบัติงานเป็นถาวร แม้ไม่มีสถานการณ์ความมั่นคงเกิดขึ้นก็ตาม

๒. กำหนดเป็นสายการอำนวยการ การบังคับบัญชาและการประสานภารกิจรวมทั้งขอบเขตการทำงาน โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในลักษณะประจำเพียงเล็กน้อยตามที่จำเป็น เพื่อดำเนินงานทางธุรการเท่านั้น เมื่อเสร็จภารกิจต้องกลับสู่ที่ตั้งเดิมตามปกติ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือการใช้อำนาจต่อเนื่อง ยกเว้นแต่หน้าที่ที่ต้องดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ที่จะต้องผูกพันในการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. กำหนดให้นายกรัฐมนตรี(ภายใต้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี)เท่านั้น ที่มีอำนาจเด็ดขาดในการสั่งการหรือยุติการปฏิบัติการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ในเหตุแห่งความมั่นคงใดความมั่นคงหนึ่ง

๔. ไม่ควรให้กองทัพเป็นผู้กำหนดแนวคิดและการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามในกรณีของความมั่นคง แต่ไม่ปฏิเสธที่จำเป็นต้องมีกองทัพเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวคิดและแนวปฏิบัติ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง

๕. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในไม่ควรผูกยึดอยู่กับการดำเนินการแบบทหาร ไม่ว่าชื่อเรียกหน่วยงาน รูปแบบการบังคับบัญชา บุคลากร ตำแหน่ง วิธีคิด วิธีการทำงาน ความสามารถในการใช้งบประมาณลับ ควรเน้นที่ความสามารถในการป้องกันหรือรับมือกับปัญหาความมั่นคงด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับความมั่นคงแต่ละปัญหาและตามสถานการณ์ และเอื้อต่อการเข้าร่วมของหน่วยงานและบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และเห็นความสำคัญของหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงภายในอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศที่หน่วยงานทั้งหลายจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ มิใช่ยึดเอามาเป็นอำนาจของกองทัพบกเท่านั้น

๖. การกำหนดจำนวนบุคลากร งบประมาณ ควรจัดเป็นรูปของเงินอุดหนุน ที่ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานการณ์ เช่นเดียวกันกับการดำเนินการกับองค์กรคณะกรรมการการเลือกตั้ง และอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การใช้จ่ายและตรวจสอบการใช้จ่ายเงินแผ่นดินเช่นเดียวกับหน่วยราชการอื่น

๗. ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน โดยให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการแต่งตั้งภายใต้ความเห็นชอบจากวุฒิสภา เพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในทุกด้าน และรายงานการดำเนินการต่อรัฐสภาให้รับทราบ พร้อมทั้งตอบข้อซักถามภายหลังจากได้รับรายงานผลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ควรต้องประกอบด้วย

- ผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรม
- ผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด
- ผู้แทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- ผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ผู้แทนจากศาลยุติธรรม
- ผู้แทนจากศาลปกครอง
- ผู้แทนจากคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
- ผู้แทนจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และ
- ผู้แทนจากองค์กรพัฒนาภาคเอกชน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเลือกกันเองจำนวน ๑ คน เหล่านี้เป็นต้น

ในกรณีที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานนี้พิจารณาแล้ว และมีมติไม่น้อยกว่าสามในสี่ของทั้งหมด เห็นว่าสถานการณ์ความมั่นคงที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในดำเนินการอยู่นั้น ไม่มีอยู่จริง หรือมีผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ หรือก่อให้เกิดปัญหาการปฏิบัติงานที่เกี่ยวพันกับกฎหมายฉบับอื่นเป็นอย่างมาก ให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงาน รูปการจัดตั้งหน่วยงานในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน รูปแบบของการบริหารจัดการรวมทั้งงบประมาณใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น หรือเสนอยกเลิกกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อใช้บังคับหรือยกเลิกแล้วแต่กรณีตามความจำเป็นของสถานการณ์

๘. ข้อพิจารณาในมาตรา ๙ เรื่องอื่นๆ

๘.๑ ไม่เห็นด้วยกับการให้ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน แต่ควรแต่งตั้งจากบุคคลที่มีสถานะเป็นพลเรือนในขณะนั้น ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเหมาะสมภายใต้ความเห็นชอบจากรัฐสภา และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาจากนายกรัฐมนตรีโดยตรง

๘.๒. นายกรัฐมนตรีไม่สมควรที่จะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(ผอ.รมน.) ทั้งนี้เนื่องจาก สถานะของนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยราชการฝ่ายบริหารทุกหน่วยซึ่งรวมถึงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)อยู่แล้ว การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในโดยตรง อาจจะให้เกิดความซ้ำซ้อนกับภารกิจในฐานะของผู้บังคับบัญชาอีกชั้นหนึ่งของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรมหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งไม่มีความจำเป็นเช่นนั้น อีกทั้งความต้องการหรือความจำเป็นในการใช้บังคับกฎหมายนี้ก็เพียงเพื่อแก้ไขสถานะการณ์ด้วยวิธีการพิเศษ ให้ยุติโดยรวดเร็ว ผู้ปฏิบัติจึงจะต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษจากกฎหมายเท่านั้น และเมื่อยุติสถานการณ์แล้ว ความจำเป็นในการปฏิบัติย่อมไม่มีการคงหน่วยงานขนาดใหญ่เอาไว้ ซึ่งจะเป็นการไม่เหมาะสมในทุกๆ ด้าน

๘.๓. ควรกำหนดให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งและคุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน รวมทั้งเลขาธิการรักษาความมั่นคงภายในเช่นกันอีกด้วย

๘.๔. ควรให้หน่วยงานนี้มีสถานะที่แยกต่างหากจากกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือแม้กระทั่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ให้มีอำนาจในการปฏิบัติงานและประสานการปฏิบัติกับกองทัพหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้อย่างคล่องตัว โดยที่กองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องให้การสนับสนุนหรือปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานนี้อย่างจริงจัง และกำหนดบทบัญญัติในกรณีที่กองทัพหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ปฏิบัติตาม หรือไม่ให้ความร่วมมือ

แม้ว่ากองทัพบกจะมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาของชาติมาโดยตลอด แต่ก็จะไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอนุโลมให้กองทัพบกเป็นแกนในการรักษาความมั่นคงภายในทุกกรณีปัญหา ทั้งนี้เนื่องจากว่าความมั่นคงมีหลายประเภท จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของบุคคลที่หลากหลายและเหมาะสมกับสถานการณ์ ประสบการณ์ของกองทัพบกยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอื่นที่มิใช่เป็นเรื่องของการใช้อาวุธในการก่อให้เกิดปํญหาความมั่นคง โดยเฉพาะการมีความคิดเห็นหรือเชื่อมั่นในการกำหนดอนาคตของประเทศนั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้ปฏิบัติและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เปิดกว้าง ไม่มีลักษณะบีบบังคับหรือใช้อาวุธเข้าข่มขู่ เราจะอาศัยหรือถือว่าความคิดของกำลังพลทหารที่มีเพียง ๓๐๐,๐๐๐ กว่านาย(ซึ่งในความเป็นจริงเป็นเพียงความคิดของชนชั้นนำฝ่ายทหารเพียงไม่กี่คนเท่านั้น) เป็นความคิดหลักที่ถูกต้องของประเทศแล้วได้หรือ และด้วยเหตุของปัญหาในลักษณะนี้จึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่จะกำหนดให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รักษาความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลักษณะที่จะต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ความมั่นคงที่มีหลากหลายรูปแบบนี้ จำกัดหน้าที่ กำหนดผู้นำหน่วย และผูกติดกับกองทัพดังที่กำหนดในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้

หมายเหตุ ปรากฏในการประชุมสัมมนาฝ่ายทหารหลายครั้ง ได้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือถกเถียงกันอยู่เป็นประจำว่า บทบาทของทหารในเวลานี้เป็นบทบาทที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ เป็นบทบาทที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เนื่องจากหลายๆ กรณีที่ทหารเข้าไปเกี่ยวข้องนั้น ดูจะเป็นการมากเกินกว่าหน้าที่ และมีนายทหารจำนวนไม่น้อยที่ตั้งคำถามขึ้นเพื่อให้ได้คิดกันว่า จำเป็นมากน้อยเพียงไรที่ทหารต้องเข้าไปกระทำเช่นนี้ อาทิเช่น การที่ทหารไปจับกุมไม้เถื่อน เป็นต้น ทั้งนี้ไม่ต้องไปกล่าวว่าที่ทำไปนั้นอาศัยอำนาจตามกฎหมายใด ภารกิจของทหารส่วนที่มิใช่หน้าที่โดยตรงนั้นควรเป็นไปเพื่อสนับสนุน ซึ่งหมายถึงมีการร้องขอจากหน่วยงานหลักเสียก่อน มิใช่เป็นบทบาทในเชิงเข้าไปแย่งยึดเอามาครอบงำ และครองความเป็นเจ้าของภาระหน้าที่นั้นๆ โดยลำพังอำเภอใจตนเอง ไม่มีลักษณะร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับหน่วยงานราชการอื่น

ตัวอย่างของรูปธรรมข้างต้นถือเป็นข้อที่แสดงให้เห็นว่า แนวคิดในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายทหารนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นข้อยุติในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทของทหารกับสังคม ด้วยเหตุนี้ในการกำหนดภารกิจของทหารที่ก้าวล่วงเข้าไปเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการอื่น ดังเช่น ความในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณากันให้รอบคอบ มิฉะนั้นแล้วปัญหาแนวความคิดของฝ่ายทหาร (ซึ่งเป็นของชนชั้นนำฝ่ายทหารเพียงไม่กี่คน) อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน การตรากฎหมายขึ้นมาใช้บังคับ สิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งอุดมคติเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของทหารโดยภาพรวม

๘.๕. ควรระบุให้ชัดแจ้งในกฎหมายว่า หน่วยงานด้านรักษาความมั่นคงภายในนี้ จะมีสถานะเป็นหน่วยงานระดับใด มีรูปแบบการบริหารงานบุคคลและบริหารธุรการในลักษณะใด เป็นข้าราชการทั้งหมดหรือเป็นบุคคลธรรมดาที่ได้รับการแต่งตั้งก็ได้ และสัดส่วนระหว่างข้าราชการกับบุคคลธรรมดาควรที่จะเป็นอย่างไร จึงจะเหมาะสม. นอกจากนี้ ข้าราชการที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานนี้นั้น จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากผู้ใด หน่วยราชการอื่นจะสามารถโอนย้ายเข้ามาสังกัดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้หรือไม่ ภายใต้หลักเกณฑ์ใด ระเบียบราชการที่จะนำมาใช้กับการบริหารหน่วยงานและบุคลากรและงบประมาณของหน่วยงานนี้ ควรที่จะมีหลักเกณฑ์หรือลักษณะอย่างไร กรณีเหล่านี้จะส่งผลต่อสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ พนักงาน และครอบครัวอีกด้วย

การกำหนดกรอบกำลังบุคลากรซึ่งจะปฏิบัติงานในฐานะเจ้าพนักงาน งบประมาณสนับสนุนที่ชัดเจนนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการด้านงบประมาณของรัฐ และจะได้ไม่ก่อให้เกิดการซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่จ่ายให้แก่กองทัพโดยตรงอยู่แล้ว ซึ่งตามร่างกฎหมายฉบับนี้จะไม่ปรากฏชัดเจนในขนาดของหน่วยงาน วิธีการดำเนินการด้านงบประมาณ และหลักเกณฑ์การดำเนินงานที่จะไม่ก่อให้เกิดรายได้แฝงของเจ้าพนักงานที่จะมาปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจได้รับเงินเดือนจากหน่วยงานเดิมและได้เบี้ยเลี้ยงหรือค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานนี้อีก ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วในขณะเวลาหนึ่ง บุคคลนั้นปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานนี้เท่านั้น

๘.๖. เมื่อพิจารณาร่างมาตรา ๓๘ ประกอบกับมาตรา ๙ แล้ว จะเห็นได้ว่ามีข้อที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนี้ ที่สามารถกำหนดโดยประกาศของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อเอื้อต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ปฏิบัติงาน (แม้ว่ามาตรา ๓๘ จะกำหนดว่า อยู่ภายใต้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลังก็ตาม) เนื่องจากทางปฏิบัติแล้ว นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชารัฐมนตรีและปลัดกระทรวงการคลัง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทั้งหมด และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในด้วย จึงทำให้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ไม่อาจมีได้โดยอิสระความเห็นของตนเองโดยหลักการ)

๘.๗. การก่อตั้งหน่วยงานใหม่ในลักษณะที่ต้องมีภารกิจพิเศษเช่นนี้ มักจะเกิดปัญหาขึ้นในเรื่องของบุคคลากรและการบริหารจัดการ รวมทั้งทิศทางการดำเนินการขององค์กร อาทิเช่น กรณีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งขณะที่จัดตั้งใหม่นั้น ถือว่ากรมนี้แยกการดำเนินงานออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงมีกำลังพลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองทัพบกมาสมัครเป็นจำนวนมาก และครั้นเมื่อดำเนินงานมาได้ระยะหนึ่ง ข้อจำกัดของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยส่งผลต่อแนวคิดในการบริหารจัดการองค์กรของผู้นำองค์กร และมีผลต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กร จนต้องมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงใหม่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษยังอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ได้รับสิทธิพิเศษที่เอื้อต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ดังที่ปราฏในร่างนี้ ผลกระทบจากการดำเนินงานจึงไม่น่ากังวลเ มื่อเทียบกับผลที่จะเกิดเมื่อร่างกฎหมายนี้ถูกใช้บังคับ

๘.๘. ร่างกฎหมายนี้ไม่ได้ระบุชัดว่า ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชาข้าราชการนั้น เป็นการบังคับบัญชาข้าราชการที่ใด ในหน่วยงานนี้เท่านั้นหรือไปบังคับบัญชาหน่วยงานอื่นๆ ที่การปฏิบัติงานของหน่วยนี้ต้องไปเกี่ยวข้อง

๘.๙. การกำหนดแผนแม่บทหรืออนุมัติแผนปฏิบัติการในการรักษาความมั่นคงภายในนั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยความรอบคอบจากคณะกรรมการกำกับนโยบาย มิใช่อาศัยเพียงการตัดสินใจของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเท่านั้น เพราะแผนการรักษาความมั่นคงภายในย่อมเกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อหน่วยงานราชการ เอกชน ประชาชนเป็นวงกว้าง

๘.๑๐. การกำหนดให้ผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในนั้น จะมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการกองทัพบกเช่นกัน เพราะหน้าที่โดยตรงของผู้บัญชาการทหารบกที่ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ควรที่จะทุ่มเทให้คือการดูแล บังคับบัญชา บริหารจัดการกองทัพ การกำหนดหน้าที่อื่นเอาไว้ในกฎหมายอื่นโดยทั่วๆ ไปนั้น จะเป็นไปในลักษณะของคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ไม่มีเงินเดือนประจำ อันมีผลให้มาปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งคราว มิใช่ในลักษณะประจำ แต่การกำหนดเอาไว้ในร่างกฎหมายนี้จะทำให้ผู้บัญชาการทหารบกต้องปฏิบัติหน้าที่สองตำแหน่งในเวลาเดียวกัน มีเงินเดือนประจำทั้งๆ ที่ปฏิบัติงาน ๓๐ วันเท่าคนอื่น และอาจแสดงให้เห็นโดยอ้อมได้ว่า การจัดสายการบังคับบัญชาในกองทัพบกสามารถดำเนินการได้ดี จนทำให้ผู้บัญชาการทหารบกและเสนาธิการทหารบกมีเวลามากพอที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ประจำในหน่วยงานอื่นได้ และแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ความมั่นคงเป็นปัญหาปกติทุกวันของประเทศ โดยทันทีที่มีการใช้บังคับกฎหมายนี้ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สมควรที่จะบังคับใช้ภายใต้สถานการณ์และเวลาที่เหมาะสมแท้จริงจะเป็นการถูกต้องกว่า

๑๐. มาตรา ๑๐ บทบาทเป็นองค์กรกลางด้านความมั่นคงภายใน
ความในร่างมาตรา ๑๐ นี้ ผู้วิจารณ์เห็นชอบด้วยทั้งหมด ทั้งนี้ภายใต้ความเห็นที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยกเว้นแต่ในเรื่องของวาระเร่งด่วนแห่งชาติเท่านั้น เนื่องจากวาระเร่งด่วนนั้น อาจจะมิใช่เป็นเรื่องของความมั่นคงก็ได้ อาจจะเป็นเรื่องของความจำเป็นในการดำเนินนโยบายของรัฐในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้บังเกิดผลอย่างรวดเร็ว จริงจัง ซึ่งแต่ละหน่วยราชการหรือองค์กรอิสระทั้งหลายก็สามารถรับการประสานจากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้อยู่แล้ว การมุ่งเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วยทุกเรื่องและผูกพันกำลังพลทหารเช่นนี้ จึงแสดงให้เห็นถึงขนบปฏิบัติของทหารที่ไม่จำต้องฟังความคิดความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ถึงความพร้อมหรือไม่พร้อมของตนก่อน (อาทิเช่น การที่ฝ่ายทหารสามารถจับกุมผู้กระทำผิดตัดไม้เถื่อนตามแนวชายแดนด้วย ทั้งๆที่ตนเองไม่มีอำนาจที่จะไปกระทำนั้น จำเป็นแค่ไหนที่จะต้องไปกระทำ) ซึ่งแตกต่างไปจากขนบปฏิบัติของข้าราชการพลเรือนที่อาศัยข้าราชการทั้งมวลมีส่วนร่วม ในการอำนวยการแผนงานและภารกิจ และจะส่งผลต่อชั้นการปฏิบัติงานที่ต่างวัฒนธรรม. หากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในมีข้าราชการจากที่หลากหลาย และอยู่ภายใต้การนำของผู้ที่มีวิธีคิดวิธีการทำงานแบบทหาร หรือต้องการให้รูปแบบการปฏิบัติงานของหน่วยงานแห่งนี้เป็นเยี่ยงทหารได้

ควรกำหนดให้ชัดแจ้งถึงลักษณะและรูปแบบการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และควรให้อำนาจในการกำหนดเป็นไปโดย พ.ร.บ.มิใช่โดยกฎกระทรวง ทั้งนี้เพื่อเป็นกรอบในการควบคุมการดำเนินงาน มิให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในหรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในสามารถใช้อำนาจของตนโดยไม่มีขอบเขต ในการขยายขนาดของหน่วยงานอันมีผลต่อการกำหนดอัตรากำลังและงบประมาณ หรือเป็นเครื่องมือในการใช้หน่วยงานนี้ดำเนินการเพื่อปกป้องอำนาจทางการเมืองของตน ทั้งๆ ที่ภารกิจอาจจะเป็นเพียงช่วงสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเท่านั้น

กฎหมายก่อตั้งหน่วยงานราชการอื่น เปิดโอกาสให้มีการกำหนดลักษณะการแบ่งงานภายในหน่วยงานเองได้นั้น กฎหมายเหล่านั้นจะมีกรอบในการกำหนดภารกิจที่ชัดเจน ไม่สัมพันธ์กับปัญหาหรือสถานการณ์ภายนอกองค์กร ไม่มีปัญหาในเรื่องของการใช้อำนาจก้าวก่ายกับหน่วยงานอื่น การกำหนดการจัดแบ่งหน่วยงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน สามารถดำเนินการโดยกฎกระทรวงได้ ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีอำนาจที่ไม่มีขอบเขตได้

๑๑. มาตรา ๑๑ ภารกิจ กอ.รมน.
ปัญหาเกี่ยวกับภารกิจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)นั้น หากมีการจำกัดหรือกำหนดขอบเขตที่ชัดแจ้งแล้ว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ก็ย่อมสามารถที่จะมีภารกิจ และกำกับดูแล ดำเนินการแก้ไขตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ได้

๑๒. มาตรา ๑๒ อำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.
(๑) เห็นว่าเหมาะสมแล้ว (ภายใต้ความเห็นเกี่ยวกับชนิดหรือประเภทของความมั่นคง)

(๒) มีข้อที่ต้องพิจารณาว่า ระเบียบความมั่นคงควรที่จะมีลักษณะอย่างไร, และหน่วยงานใดควรที่จะเป็นผู้มีหน้าที่กำหนด, คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในหรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จะเป็นผู้กำหนดด้วยตนเองจะเป็นการเหมาะสมหรือไม่, เหตุผลสำคัญในการกำหนดว่าพื้นที่ใดมั่นคงหรือไม่มั่นคงนั้น พิจารณาจากสถานการณ์อย่างไร, เหตุใดจึงไม่รวมการจัดระเบียบความมั่นคงทางอากาศหรือทางอวกาศเอาไว้ด้วย, และบทบาทของ กอ.รมน.ในวงเล็บนี้ จะมีสถานะอย่างไรในความสัมพันธ์กับหน่วยงาน อาทิเช่น เป็นสถานะนำ โดยมีอำนาจสั่งการ บังคับบัญชา กำหนดให้ต้องปฏิบัติตาม หรือเสนอความเห็นเท่านั้น รวมทั้งในกรณีที่หน่วยงานใดไม่เห็นชอบด้วยนั้น กอ.รมน.จะอ้างอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๙ หรือ ๒๖ มาใช้บังคับกับหน่วยงานนั้นๆ ได้หรือไม่ ? ความเห็นที่แตกต่างกันนี้จึงสมควรที่จะต้องกำหนด ให้มีกลไกเสริมการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างหน่วยงานเพื่อป้องกันแนวโน้มการใช้อำนาจเกินขอบเขต หรือโดยอำเภอใจของ กอ.รมน. เช่น กำหนดให้หน่วยงานนั้นเองหรือให้ กอ.รมน.เสนอรายงานให้รัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือเสนอต่อนายกรัฐมนตรีทราบแล้วแต่กรณี

(๓) วลีที่ว่า "ด้วยการผนึกพลังมวลชน" นั้น ไม่เหมาะสมที่จะนำมาบัญญัติไว้ในกฎหมาย เพราะเป็นวิธีการดำเนินงาน เหตุใดจึงไม่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ในเรื่องของเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อชาติ ต่อศาสนา ต่อรัฐธรรมนูญ ต่อบทบัญญัติของกฎหมายเอาไว้เป็นความใน(๓) ของมาตรา ๑๒ นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ความในวงเล็บนี้เป็นวัตถุประสงค์ของหน่วยงานมากกว่าที่จะมาบัญญัติว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน นอกจากนี้แล้วอาจจะไม่เป็นการเหมาะสมอย่างยิ่งที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจะทำหน้าที่เป็นผู้นำ หรือรวมศูนย์ หรือเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการตามความในวงเล็บ ๓ นี้ เนื่องจากว่าความคิด ความเชื่อถือศรัทธาของผู้คนในสังคม ย่อมเป็นรากฐานของความมั่นคงในสถาบันนั้นๆ และความดีงามของสถาบันนั้นๆ เองต่างหาก ที่เป็นตัวกำหนดความมั่นคงของสถาบันนั้นๆ

การบังคับการข่มขู่หรือกดดันให้ต้องเชื่อถือ เคารพหรือศรัทธา จึงเป็นการกระทำที่เป็นการทำลายมากกว่าที่จะส่งเสริม และเป็นการขัดแย้งในวิถีแห่งการเป็นประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง บทบาทของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในในเรื่องนี้ ซึ่งหากนำโดยทหารหรือมีวิธีคิดวิธีการทำงานแบบทหารที่มีความรู้ความชำนาญในวิถีแห่งการใช้อำนาจ มากกว่าวิถีรับฟังหรือร่วมมือปรึกษาหารือต่อความแตกต่าง ซึ่งต้องใช้วิธีการที่หลากหลายและละเอียดอ่อนแล้ว อาจไม่เป็นการเหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหาทางปฏิบัติ และก่อให้เกิดการใช้อำนาจหน้าที่ให้บังเกิดผลร้ายต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วย หรือไม่ยินยอมปฏิบัติตามได้

(๔) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ไม่สมควรอยู่ภายใต้คำสั่งหรือสายการบังคับบัญชาของสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี เพราะหากกำหนดให้สภาความมั่นคง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายอำนาจหน้าที่และบังคับบัญชาอีกด้วยแล้ว อาจจะเกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ในการก้าวก่ายอำนาจสั่งการของนายกรัฐมนตรี จึงไม่ควรที่จะให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในดำเนินการใดๆ โดยตรงได้

๑๓. มาตรา ๑๓ สำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

๑. การจัดรูปแบบการบังคับบัญชาในสำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(สน.ลธ.รมน.) ควรที่จะต้องจัดให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับภารกิจโดยรวมของปัญหาความมั่นคง ไม่ควรผูกโยงกับการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การจัดรูปแบบตามร่างกฎหมายนี้เป็นการยกลักษณะมาจากการจัดการในกองทัพ ซึ่งมีเหตุผลในการพัฒนาตนเองอันเนื่องมาจากภารกิจความมั่นคงในอดีต มิใช่เป็นปัญหาความมั่นคงทุกเรื่อง

ตามร่างกฎหมายฉบับนี้ สำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (สน.ลธ.รมน.) มีฐานะเป็นหน่วยงานหนึ่งในส่วนราชการภายในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และทำหน้าที่เป็นสำนักงานฝ่ายอำนวยการของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน แต่เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้กำหนดว่ากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจะมีการแบ่งหน่วยงานออกเป็นจำนวนเท่าใด ชื่อและภารกิจของแต่ละหน่วยมีอย่างไรบ้าง ไม่ได้กำหนดเอาไว้แต่ให้จัดทำเป็นกฎกระทรวง(มาตรา ๑๐ วรรค ๒) จึงเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีจะต้องกำหนดขึ้นมาอนาคต ซึ่งไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะให้ดำเนินการเช่นนี้ เพราะจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของผู้ดำเนินการ หรือมีเจตนาปกปิดการใช้อำนาจเอาไว้ในการปฏิบัติ โดยที่ในชั้นพิจารณาร่างกฎหมายฝ่ายนิติบัญญัติไม่อาจเห็นภาพของการดำเนินการที่แท้จริง

และเนื่องจากงานอำนวยการในรูปแบบของฝ่ายทหารนั้น มักจะบังคับบัญชาโดยฝ่ายเสนาธิการซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๖ ส่วนงานที่สำคัญ คือ

๑ ด้านยุทธการ
๒ ด้านการข่าว
๓ ด้านกำลังพล
๔ ด้านงานส่งกำลังบำรุง
๕ ด้านกิจการพลเรือน และ
๖ ด้านปลัดบัญชี

ด้วยเหตุนี้การอำนวยการของสำนักเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (สน.ลธ.รมน.) จะมีรูปแบบในลักษณะทหารเช่นนี้หรือไม่ ในเมื่อปัญหาด้านความมั่นคงมีหลายลักษณะและต้องอาศัยวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายแนวคิด และอาศัยวิธีการจัดหน่วยงานที่ยืดหยุ่นไม่แข็งตัว เพราะรูปแบบนี้งานด้านยุทธการจะมีอำนาจและมีบทบาทมากที่สุด และเป็นหัวใจของการดำเนินงาน แต่จะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์เนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคงเป็นปัญหาสัมพัทธ์ (relative issues) มิใช่ปัญหาสัมบูรณ์ (absolute issues) เมื่ออยู่ในภาวะปกติ ความจำเป็นในการก่อตั้งหน่วยงานในลักษณะต่างๆ และมีการบรรจุอัตรากำลังเอาไว้ จึงไม่มีความจำเป็นและซ้ำซ้อนกับหน้าที่โดยตรงของหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของตนอยู่แล้ว

นอกจากนี้งานอำนวยการนี้ จะมีความแตกต่างไปจากการจัดหน่วยราชการพลเรือนในองค์กรขนาดเล็ก ที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีที่มีฝ่ายทำหน้าที่โดยตรงทางนโยบายหรือภาระหน้าที่ขององค์กร และมีสำนักงานเป็นหน่วยธุรการมีหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายดำเนินการทางนโยบาย หรือภาระหน้าที่โดยตรงขององค์กร ด้วยเหตุนี้คำว่า "อำนวยการ" ของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงไม่ชัดแจ้งว่าจะเป็นการกำหนดหน้าที่ทั่วไป เช่นที่หน่วยงานอื่นปฏิบัติ หรือเป็นการกำหนดหน้าที่ในลักษณะที่สอดคล้องกับการจัดองค์กรแบบกองทัพบก ควรที่กฎหมายจะต้องบัญญัติให้ชัดแจ้ง

๒. เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคง ควรที่จะต้องเป็นตำแหน่งของหัวหน้าหน่วยราชการ มีหน้าที่เฉพาะทางธุรการของหน่วยงานนี้ หรือจะให้มีหน้าที่ควบคุมอำนวยการงานทุกส่วนงานก็ได้ แต่ควรที่จะมีสถานะเป็นข้าราชการ ที่มีระดับเท่าเทียมกันกับตำแหน่งเลขาธิการขององค์กรในระดับเดียวกัน โดยไม่ควรที่จะผูกติดกับตำแหน่งเสนาธิการทหารบก และจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีภายใต้การเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี จะเป็นการเหมาะสมกว่า

๓. การกำหนดให้เสนาธิการทหารบก ปฏิบัติหน้าที่ประจำในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในด้วยนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกองทัพบกเองได้ เนื่องจากเสนาธิการทหารบกก็มีหน้าที่ของตนเองอยู่มากมายแล้ว การเพิ่มงานย่อมเป็นการลดศักยภาพการการทำงานของเสนาธิการทหารบกที่พึงกระทำต่อกองทัพบกไปโดยปริยาย และจะมีผลต่อการแต่งตั้งบุคลากรของกองทัพบกขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการในวันข้างหน้า เพราะจะต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถในการดำรงตำแหน่งเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งจะต้องมีบุคลิกภาพ มีความรู้ ความสามารถที่แตกต่างไปจากตำแหน่งเสนาธิการทหารบกตามปรกติ ทั้งนี้ไม่ต้องกล่าวถึงการพยายามเข้าดำรงตำแหน่งนี้ เนื่องจากจะมีผลประโยชน์ตอบแทนเป็นรายเดือนเพิ่มขึ้นกว่าตำแหน่งหน้าที่ราชการอื่นตามปกติ

๑๔. มาตรา ๑๔ อำนาจในการทำนิติกรรมของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะกำหนดให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน มีอำนาจทำนิติกรรม ฟ้องคดี และดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับคดีอันเกี่ยวเนื่องกับภารกิจ โดยกระทำในนามของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้เนื่องจากผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ควรที่จะต้องปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมและตรวจสอบของหน่วยงานอื่นด้วย มิฉะนั้นแล้วย่อมก่อให้เกิดการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ และก่อให้เกิดการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะการทำนิติกรรมผูกพันกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ในนามของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก็สามารถให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการได้ ดังเช่นที่กระทำในนามองค์กรราชการอื่นที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา ไม่จำเป็นต้องทำโดยตนเอง

การอนุญาตให้กระทำได้เช่นนี้ ย่อมก่อให้เกิดอำนาจซ้อนในขั้นตอนการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีทั้งการปฏิบัติงานตามปกติและที่กระทำโดยผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการไม่เหมาะสมที่จะให้การกระทำนิติกรรมของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ถือว่ากระทำในนามของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไม่ได้รับทราบเรื่องด้วย หรืออาจจะไม่เห็นด้วยแต่อย่างใด

กล่าวในเรื่องของการฟ้องคดีนั้น ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและกระบวนการยุติธรรม จำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเป็นผู้ดำเนินการ มิฉะนั้นแล้วอาจส่งผลให้คดีที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเป็นผู้เริ่มคดี สามารถส่งฟ้องศาลด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการก็ได้ จึงก่อให้เกิดความสับสนและมาตรฐานการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต่างระดับกันได้ นอกเหนือไปจากความสับสนในการใช้อำนาจเริ่มคดีว่าควรที่จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด หากมีคดีเกี่ยวกับความมั่นคงเกิดขึ้น และศาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาคดีที่ฟ้องโดยผู้อำนวยการรักษาความมั่นคง

หมวด ๓ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

๑๕. มาตรา ๑๕
การกำหนดให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค โดยให้อยู่ในกองทัพภาคและให้แม่ทัพภาคเป็นประธาน ถือเป็นการแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งที่จะให้กองทัพบกผูกขาดอำนาจในการรักษาความมั่นคงไว้กับตนเอง เพราะเป็นไปตามการจัดรูปแบบการดำเนินงานของกองทัพบก ทั้งๆ ที่ภาคตามหลักการปกครองของไทยที่กำหนดโดยกระทรวงมหาดไทย จะแตกต่างไปจากการจัดภาคของกองทัพบก นอกจากนี้แล้วก็ไม่ปรากฏว่าร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ภาคแต่ละภาคประกอบด้วยจังหวัดใดบ้าง รวมทั้งไม่ได้บัญญัติให้นำภาคตามความในการจัดตั้งการบังคับบัญชาของกองทัพบกมาเป็นภาคตามความหมายในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้

ความจริงแล้วการกำหนดให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงในระดับภาค ถือว่าเป็นการเหมาะสม เพราะเป็นการให้ความสำคัญกับปัญหาความมั่นคงซึ่งสามารถเกิดขึ้นในระดับพื้นที่หรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งได้ และเป็นการกำหนดรูปแบบและวิธีการในการป้องกันและแก้ปัญหาความมั่นคงเอาไว้เป็นการล่วงหน้า แต่เนื่องจากกองทัพไม่สมควรที่จะเป็นผู้นำอย่างถาวรในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในลักษณะภาพรวมดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคโดยกำหนดให้แม่ทัพภาคเป็นประธานจึงไม่เป็นการเหมาะสม แต่ควรที่จะต้องเป็นบุคคลที่นายกรัฐมนตรีภายใต้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจะเหมาะสมกว่า และไม่ถือว่าเป็นการดำเนินงานในลักษณะหน่วยงานประจำ เป็นเพียงคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนในกฎหมายนี้ว่า คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคประกอบด้วยบุคคลจากหน่วยงานใดบ้าง และคุณสมบัติของบุคคลและหลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคนั้น ควรจะเป็นเช่นไร จำเป็นที่จะต้องบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายฉบับนี้อย่างชัดแจ้ง ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดเอาไว้แต่เพียงผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด หรือหน่วยงานอื่นตามที่แม่ทัพภาคกำหนด จึงไม่เหมาะสมและไม่เป็นการเพียงพอ เพราะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแม่ทัพภาคเป็นสำคัญ ซึ่งดุลพินิจของแม่ทัพภาคแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันไป และเปิดทางให้แม่ทัพภาคใช้อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือบุคคลเข้าเป็นที่ปรึกษาหรือเข้าร่วมงานด้านความมั่นคงโดยอำเภอใจตนเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมควรที่จะต้องกำหนดให้มีบุคคลจากภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย เนื่องจากปัญหาความมั่นคงเป็นปัญหาที่ควรจะอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค จึงจะต้องมีทั้งฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ฝ่ายภาคประชาชน(ผู้นำชุมชน) เข้าร่วมด้วย ส่วนใครจะเป็นประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคนั้น ก็ควรที่จะให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการของแต่ละภาคเป็นสำคัญ ไม่ควรกำหนดเอาไว้เป็นการตายตัว

นอกจากนี้แล้วกฎหมายตามร่างมาตรานี้ ส่งผลชัดเจนถึงการลดบทบาทและความสำคัญของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีหน้าที่ดูแลป้องกันประเทศ แต่ให้น้ำหนักกับกองทัพบกแต่เพียงถ่ายเดียว

อย่างไรก็ตามในกรณีที่ระบบการบริหารราชการแผ่นดินในหน่วยราชการตามปกติอื่น ไม่มีการจัดแบ่งเป็นภาคดังเช่นการจัดหน่วยของกองทัพบก ความจำเป็นในการกำหนดสถานที่ตั้งเพื่อปฏิบัติงานตามกฎหมายความมั่นคง ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคย่อมที่จะมีเช่นกัน ดังนั้นเพื่อความเหมาะสม รัฐบาลควรที่จะต้องกำหนดให้ใช้สถานที่ตั้ง ณ ที่ตั้งของกองทัพภาคหรือที่ตั้งในศาลากลางจังหวัดที่เหมาะสมในแต่ละท้องที่ได้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะหาสถานที่เหมาะสมได้ เนื่องจากระบบการรักษาความปลอดภัย การจัดเก็บเอกสาร เครื่องมือจะกระทำได้สะดวกกว่าสถานที่ราชการอื่นตามปกติ

มีข้อที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เน้นการใช้อำนาจในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ผ่านทางระบบสายการบังคับบัญชาของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ทั้งๆ ที่ในระดับบนสุดของนโยบายนั้น ถูกกำกับโดยคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในและนายกรัฐมนตรี ดังนั้นหากต้องการที่จะให้ระบบการรักษาความมั่นคงภายในมีลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ และเป็นไปในลักษณะของการทำงานเป็นทีม มิใช่อาศัยระดับยอดสุดแบบโครงสร้างกองทัพบกตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว รูปแบบการบังคับบัญชางานรักษาความมั่นคงภายในควรที่จะต้องเปลี่ยนเป็นการควบคุมโดยทางคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในแทน กล่าวคือแทนที่แม่ทัพภาคจะเป็นผู้บังคับบัญชาและทำการแต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค ก็ควรที่จะเปลี่ยนเป็นให้นายกรัฐมนตรี ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อกำกับนโยบายรักษาความมั่นคงของชาติ และทำการแต่งตั้งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคขึ้นมาบังคับบัญชาสายปฏิบัติการเมื่อมีสถานการณ์ที่จำเป็นเท่านั้น

๑๖. มาตรา ๑๖ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค
การปฏิบัติงานทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับแผนการปฏิบัติ การงบประมาณ การแต่งตั้งบุคลากร จำเป็นที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการนั้นๆ โดยตรง โดยผ่านทางคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน มิฉะนั้นแล้วอาจเกิดปัญหาต่างคนต่างทำตามที่ตนเห็นว่าเหมาะสม. ร่างกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ แก่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคเกินสมควร ซึ่งจะทำให้อำนาจของนายกรัฐมนตรีในการบังคับบัญชาการดำเนินงานของหน่วยงานนี้ด้อยประสิทธิภาพลง

๑๗. มาตรา ๑๗ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค
โดยเหตุที่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค เป็นคณะบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการในเรื่องของความมั่นคงเป็นสำคัญ และเป็นการก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ในบางภาคยังไม่มีเหตุความมั่นคงเกิดขึ้น หรือบางภาคก็มีเหตุ แต่เป็นไปในลักษณะที่ต้องใช้ปฏิบัติการทางทหารเป็นสำคัญ จึงไม่เป็นการเหมาะสมและไม่มีความจำเป็นที่จะจัดให้มีการก่อตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคขึ้นเป็นการถาวร และมีหน้าที่ที่ตายตัวเป็นเช่นเดียวกันทั้งมวล หรือใช้วิธีการบังคับบัญชาในลักษณะเดียวกันทุกภาค และอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกองทัพภาคดังที่กล่าวมาแล้ว

และไม่สมควรที่จะให้แม่ทัพภาคเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เช่นเดียวกันกับดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค เพราะเป็นการรวบอำนาจทั้งทางนโยบายและการปฏิบัติการไว้ที่บุคคลคนเดียวกัน ไม่สอดคล้องกับหลักการรักษาความมั่นคงที่ระดับบนควรจัดให้มีคณะกรรมการมีอำนาจเชิงนโยบาย ขณะที่แยกสายการปฏิบัติออกจากกัน

ตำแหน่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ควรที่จะต้องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความมั่นคงที่เกิดขึ้นนอกเหนือเขตอำนาจของจังหวัด หรือเกิดขึ้นในหลายๆ จังหวัดในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งเมื่อเกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้น ควรที่จะเปิดให้นายกรัฐมนตรีภายใต้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมขึ้นปฏิบัติหน้าที่ เมื่อมีสถานการณ์ความมั่นคงเกิดขึ้นเท่านั้น. และเมื่อสถานการณ์สิ้นสุดลง การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลนั้นก็สิ้นสุดลง โดยบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งอาจเป็นข้าราชการพลเรือน หรือทหาร หรือตำรวจ หรือรัฐมนตรีผู้ใดผู้หนึ่งก็ได้ ทั้งนี้เพราะมีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงในระดับภาคควบคุมดูแลกำหนดนโยบาย แผนงานและบุคลากรเอาไว้แล้ว ตำแหน่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค จึงไม่ควรที่จะแต่งตั้งเอาไว้อย่างตายตัว แม้ไม่มีสถานการณ์ก็ส่งผลให้ผู้นั้นได้รับอำนาจและสิทธิประโยชน์ทางเงินเดือนประจำเหนือกว่าข้าราชการผู้อื่น

ร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการด้วยนั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง เพราะอำนาจที่มีควรที่จะต้องเป็นอำนาจที่จำกัดเฉพาะข้าราชการในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค และจำกัดเฉพาะกรณีที่มีสถานการณ์เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ควรตัดตอนอำนาจของผู้บังคับบัญชาหน่วยงานราชการต่างๆ ที่มีอยู่ตามปกติ กฎหมายนี้จึงควรที่จะเป็นการให้อำนาจเพียงแค่ประสานหรือขอการสนับสนุนเท่านั้น อำนาจสั่งการโดยตรงจึงไม่ควรมี นอกเหนือไปจากการมีสถานการณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนายกรัฐมนตรีภายใต้ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาจสั่งการมายังหน่วยงานราชการทั้งมวลให้ปฏิบัติหน้าที่โดยขึ้นตรงต่อคำสั่งของคณะกรรมการ หรือผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ ในกรณีสถานการณ์ปกติ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคและข้าราชการจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่ควรจะทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ฝ่ายปฏิบัตินั้นไม่มีการดำเนินงานใดๆ ยกเว้นแต่ในกรณีที่มีสถานการณ์จำเป็นเท่านั้น ซึ่งเมื่อนายกรัฐมนตรีทำการแต่งตั้งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคขึ้นแล้ว ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคจะต้องปฏิบัติงานภายใต้การกำกับทางนโยบายจากคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

หมวด ๔ คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด

๑๘. มาตรา ๑๘
มีความเหมาะสมแล้วที่จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของคณะกรรมการนั้นควรที่จะต้องให้มีที่มาจากองค์กรอิสระภาคประชาชนด้วย และไม่สมควรที่จะให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เนื่องจากจะเป็นการลดทอนอำนาจในการควบคุมดูแลการดำเนินการของนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดควรที่จะได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายใน เช่นเดียวกันกับคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค

อำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา ๑๙(๕) นั้น ควรที่จะให้เป็นการแต่งตั้งของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในเท่านั้นอีกเช่นกัน ไม่สมควรให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค

ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ในมาตรา ๑๘ กำหนดให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค เป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน ๓ คน เพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ทั้งๆ ที่ในมาตรา ๑๖ (๕) กำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด เป็นของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค จึงเป็นการขัดแย้งกัน และแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด มีสัดส่วนของบุคคลที่มาจากฝ่ายทหาร(ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือไม่) เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๔ คน

นอกจากนี้แล้วโดยที่มาตรา ๑๙(๕) กำหนดให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอรายชื่อคณะบุคคล เป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติราชการให้ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคเป็นผู้แต่งตั้งนั้น มีข้อพึงพิจารณาว่า คณะบุคคลดังกล่าวเป็นคณะเดียวกันกับที่ระบุใน(๖) ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาคโดยตรง

๑๙. มาตรา ๑๙ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด
มีความเห็นเป็นเช่นเดียวกันกับที่กล่าวในมาตรา ๑๖

๒๐. มาตรา ๒๐ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด
ไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องก่อตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด(กอ.รมน.จว.)ขึ้นเป็นหน่วยงานถาวร มีอัตรากำลัง มีงบประมาณเป็นของตนเอง โดยที่ไม่ต้องคำนึงว่ามีสถานการณ์ความมั่นคงเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ตามร่างกฎหมายนี้ ทั้งนี้เนื่องจากจริงๆ แล้ว หน่วยราชการที่มีอำนาจตามปกติ เช่น กระทรวงมหาดไทยก็มีการจัดตั้งหน่วยงานระดับจังหวัดขึ้นภายในจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงภายในจังหวัดกันอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะไม่มีลักษณะเป็นการจัดตั้งแบบทหารเท่านั้น กรณีจึงอาจกำหนดให้มีการจัดเตรียมหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรองรับสถานการณ์ความมั่นคงภายในจังหวัดได้ล่วงหน้า โดยกำหนดให้ฝ่ายทหารและตำรวจเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย หากเมื่อมีสถานการณ์ความมั่นคงเกิดขึ้นในจังหวัดใด ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ก็จะสามารถสั่งการมายังจังหวัดโดยตรงได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค โดยอาจกำหนดให้แต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้อำนวยการรรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดก็ย่อมที่จะกระทำได้ ทั้งนี้เว้นแต่สถานการณ์ความมั่นคงนั้นจะเกิดขึ้นในระดับภาค หรือหลายๆ จังหวัดในภูมิภาคเดียวกัน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามประธานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นมีความเหมาะสมแล้ว แต่ไม่สมควรที่จะให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดด้วย สมควรที่จะคัดเลือกจากคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดผู้อื่นหรือนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งโดยตรงก็ได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะแยกอำนาจกำกับออกจากการปฏิบัติการซึ่งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ควรที่จะสามารถกำกับดูแลเชิงนโยบายต่อการปฏิบัติของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดได้ หรือสามารถรายงานไปยังคณะกรรมการรักษาความมั่นคงภายในภาค เพื่อให้พิจารณาและดำเนินการรายงานไปยังนายกรัฐมนตรีได้โดยทันที เพื่อหาทางระงับหรือยับยั้งการกระทำที่เห็นว่าไม่ถูกต้องของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด

การไม่ต้องก่อตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นการถาวร ย่อมเป็นการประหยัดงบประมาณและไม่สิ้นเปลืองบุคลากร หรือก่อความสับสนในอำนาฅจหน้าที่ของหน่วยงานนี้กับหน่วยงานปกติ

 

คลิกไปอ่านบทความตอนที่ ๓

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
7 November2007

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง
โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และนักวิชาการอิสระ-สถาบันฯ

ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ดูเหมือนจะเป็นยูโธเปีย(utopia) สำหรับประเทศศูนย์กลาง
แต่ขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กลับกลายเป็นยูโธปลอม(dystopia) ของบรรดาประเทศชายขอบทั้งหลาย เนื่องจากได้นำมาซึ่งการสูญเสีย และกดขี่ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านความยุติธรรม ความเท่าเทียม อิสรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะมองจากมิติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมาย ฯลฯ

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นมาจาก
การเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ที่กำลังคุกคามผู้คนและพยายามที่จะแสวงหาตัวบท
พร้อมทั้งกรณีตัวอย่างในที่ต่างๆ มานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์โลก
ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และทางออกที่หลากหลายในประเทศชายขอบต่างๆ
สำหรับผู้สนใจสามารถส่งบทความเข้าร่วมที่ midnightuniv(at)gmail.com