นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ



The Midnight University

แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนถึงประชาชนไทย
คำประกาศขบวนการเสรีไทย ๒๕๔๙
ผศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล
สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ
ขอเชิญชวนพี่น้อง ประชาชนไทยทุกท่านร่วมลงชื่อ
เพื่อปฏิเสธสถานะการเป็นตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐบาลไทย
ในการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทยกับสหรัฐฯ
โดยข้อผูกพันหลังการลงนามของรัฐบาลไทยดังกล่าว จะไม่มีผลผูกพันกับประชาชนไทย

(คำประกาศเพื่อประโยชนเกิดแก่สังไทย)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 803
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 3 หน้ากระดาษ A4)

 

คำประกาศขบวนการเสรีไทย ๒๕๔๙
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าในกระบวนการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลไทยและสหรัฐนั้น ทางรัฐบาลไทยได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะดำเนินการต่อไป โดยไม่รับฟังข้อคิดของประชาชน การดำเนินการที่เกิดขึ้นมีปัญหาที่สำคัญใน 2 ด้าน

ประการแรก ด้านกระบวนการ รัฐบาลได้ดำเนินการในการเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐด้วยท่าทีที่ลุกลี้ลุกลน ขาดความโปร่งใส ไม่มีการให้ข้อมูลต่อสาธารณะ ไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และที่สำคัญเป็นการดำเนินการที่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2540 มาตรา 224 วรรค ซึ่งกำหนดว่าหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลง "เขตอำนาจรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้เป็นการเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา"

บทบัญญัติในมาตรานี้มีจุดมุ่งหมายก็เพื่อทำให้การตัดสินใจในระดับระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวางได้รับการพิจารณาและตัดสินจากตัวแทนของประชาชน เพื่อให้เกิดการหาข้อสรุปที่รอบด้านมากที่สุด บทบัญญัตินี้จึงเป็นการพยายามแสวงหาความรู้และมุมมองให้ได้มากที่สุดก่อนดำเนินการใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของชาติ

ซึ่งในการทำเอฟทีเอนั้น มีหลายประเด็นหากมีการลงนามในข้อตกลงแล้วต้องมีการเสนอร่างกฎหมายหรือการแก้ไขกฎหมายต่อรัฐสภา เช่น การขยายระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร แต่รัฐบาลก็ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะนำข้อตกลงดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภาแต่อย่างใด การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนและจงใจ

ไม่เพียงปฏิเสธอำนาจของรัฐสภา รัฐบาลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการจัดทำข้อตกลงเอฟทีเอ ยังไม่เคยเปิดเผยหรือให้คำชี้แจงต่อสาธารณชนอย่างตรงไปตรงมาสักครั้งเดียว ถึงผลกระทบที่จะบังเกิดขึ้นกับสังคมไทย รวมถึงมาตรการในการลดทอนผลกระทบหรือทางเลือกอื่น แต่ทำราวกับว่าต้องมีการทำข้อตกลงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง และเมื่อเกิดผลกระทบก็ปล่อยประชาชนต้องเผชิญกับชะตากรรมและความหายนะจากการเจรจาเอฟทีเอด้วยตนเอง ดังที่เกษตรกรผู้ปลูกหอม กระเทียม และพืชผักผลไม้เมืองหนาวในภาคเหนือได้เผชิญมา

แม้ในบางเรื่องที่แม้จะไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 224 ซึ่งต้องนำมาสู่การพิจารณาของรัฐสภา ดังการลดภาษีทางการค้าระหว่างกัน แต่หากรัฐบาลตระหนักถึงผลกระทบและคำนึงถึงชีวิตของคนยากคนจนดังที่มักพร่ำบอกอยู่ตลอดเวลา ก็สามารถที่จะใช้กระบวนการทางรัฐสภาและช่องทางอื่นๆ ในการรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้ที่ได้รับผลกระทบได้

แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่เกิดขึ้นในรัฐบาลนายทุน นักการเมืองเทวดาแต่อย่างใด

ประการที่สอง ด้านเนื้อหา การจัดทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐได้ก่อให้เกิดผลดีและผลเสีย หากพิจารณาจากประสบการณ์ที่รัฐบาลไทยได้จัดทำข้อตกลงทางการค้ากับประเทศอื่นๆ มาก่อน เช่น ออสเตรเลีย จีน นิวซีแลนด์ จะพบว่ากลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการทำข้อตกลงจะเป็นกลุ่มทุนธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย ดังนี้ กลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มธุรกิจดาวเทียมและโทรคมนาคม บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการเกษตร กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน เห็นได้ชัดเจนว่ากลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์ล้วนแต่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและมีอำนาจทางการเมืองแทบทั้งสิ้น

ขณะที่กลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจะเป็นคนเล็กคนน้อยของสังคม เช่น เกษตรกรปลูกหอม กระเทียม พืชผักผลไม้เมืองหนาว เกษตรกรที่เลี้ยงโคนม โคเนื้อ เกษตรกรที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ต่างประเทศ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

จะเห็นว่าการดำเนินนโยบายในลักษณะเช่นนี้คือ การนำเอาประชาชนระดับล่างของสังคมไปเซ่นสังเวยเพื่อแลกกับความร่ำรวยของกลุ่มนายทุนนักการเมืองที่ยึดครองอำนาจอยู่ การดำเนินการที่เกิดขึ้นจึงไม่แตกต่างไปจากข้อกล่าวหาที่มีกับนักการเมือง ในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในการตัดสินใจนโยบายเรื่องต่างๆ ที่มักมีคนของรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ แต่สำหรับการจัดทำ เอฟทีเอถือเป็น "อภิมหาการโกงกินเชิงนโยบาย" ซึ่งมีความเลวร้ายยิ่งกว่า เพราะเป็นการหาประโยชน์ใส่ตัวและพวกพ้องบนความหายนะของคนยากคนจน

(เป็นที่น่าสังเกตว่าขณะที่เร่งรัดให้มีการเปิดเสรีด้านต่างๆ ในการเจรจากับสหรัฐ ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง แต่สำหรับธุรกิจโทรคมนาคมกลับไม่มีการกล่าวถึงแต่อย่างใด ทั้งที่สถาบันทางวิชาการหลายแห่งสนับสนุนให้มีการเปิดเสรีขึ้น ก็ชัดเจนว่ามีนักการเมืองคนใดบ้างจะได้รับผลกระทบหากมีการเปิดเสรี ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยแม้แต่น้อยว่า เหตุใดนายกรัฐมนตรีของไทยจึงยืนยันว่าไม่มีการเปิดเสรีธุรกิจด้านนี้ โดยไม่ได้ชี้แจงถึงเหตุผลแม้แต่น้อย)

จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าเพราะเหตุใดการดำเนินการของรัฐบาลจึงเป็นไปอย่างลับๆ ล่อๆ ไม่กล้าเผชิญหน้ากับคำถามของสาธารณชนราวกับกำลังกระทำความผิด เพราะมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนในสังคมเป็นหลักของการจัดทำ

สภาวะเช่นนี้จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลของนายทุน โดยนายทุน และเพื่อนายทุน

ด้วยการดำเนินนโยบายที่มุ่งประโยชน์ตนและพวกพ้องเป็นหลัก จึงไม่สามารถยอมรับให้รัฐบาลที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ถือเป็นตัวแทนที่ชอบธรรมของประชาชนได้ ถึงแม้จะมีการลงนามในข้อตกลงทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐเกิดขึ้น ก็ไม่อาจที่จะนับว่าข้อตกลงนี้เกิดขึ้นด้วยความเห็นชอบของประชาชน

ขบวนการเสรีไทย 2549 คือ ข้อเสนอให้ตัดความสัมพันธ์และไม่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลในการแสดงบทบาทเป็นตัวแทนของประชาชน รวมทั้งตอบโต้ต่อกลุ่มนายทุนนักการเมืองที่ใช้ระบบการเมืองแสวงหาประโยชน์ใส่ตัวและพวกพ้อง ด้วยมาตรการดังนี้

หนึ่ง ร่วมกันลงนามเพื่อปฏิเสธสถานะการเป็นตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐบาลไทยในการทำข้อตกลงกับสหรัฐ เช่นเดียวกับที่ขบวนการเสรีไทยเคยปฏิเสธการประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตรของรัฐบาลไทยที่นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และหากมีการลงนามเกิดขึ้น ประชาชนไทยก็จะไม่ยอมรับผลผูกพันในข้อตกลงดังกล่าว โดยสามารถเข้าร่วมลงชื่อขบวนการเสรีไทย 2549 ได้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org

สอง ตอบโต้กับกลุ่มนายทุนนักการเมืองที่แสวงหาประโยชน์จากการทำข้อตกลงเอฟทีเอ ด้วยการเลิกซื้อหรือใช้บริการของกลุ่มทุน โดยเฉพาะ 4 กลุ่มทุน ดังนี้ กลุ่มทุนโทรศัพท์มือถือดาวเทียม กลุ่มทุนอุตสาหกรรมเกษตร กลุ่มทุนอุตสาหกรรมรถยนต์ กลุ่มทุนสัมปทานโทรทัศน์

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ศุกร์ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๙



ผู้เห็นด้วยกับประกาศขบวนการเสรีไทย ๒๕๔๙ สามารถคลิกไปลงชื่อได้แบนนอร์สีเขียว

รายชื่อผู้เห็นด้วยกับคำประกาศขบวนการเสรีไทย ๒๕๔๙
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล, รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม, รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์, อ.ชัชวาล ปุญปัน, อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล, อ.สุชาดา จักรพิสุทธิ์(แม่นยำ), อ. วัลลภ แม่นยำ, ผศ. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวานิช, รศ.สายชล สัตยานุรักษ์, รศ. วารุณี ภูริสินสิทธิ์. ดร. นงเยาว์ เนาวรัตน์, อ. อำพล วงศ์จำรัส, อ. ปรานี วงศ์จำรัส อ. ชาญกิจ คันฉ่อง, อ.นัทมน คงเจริญ, อ.พิกุล อิทธิหิรัญพงศ์, อรณิชา ตั้งนโม, คมเนตร เชษฐพัฒนวานิช, คมลักษณ์ ไชยยะ ป.โท มานุษยวิทยา ม.ศิลปากร, วรงค์ หลูไพบูลย์, ชุติเดช ชวณิชย์, กฤตพร เจพาณิชพงศ์, กรรณิการ์ กิจติเวชกุล, กิจการ ช่วยชูวงศ์, จิตรตรี คำเกตุ, เจษฎากร แสนบัวคำ, ภัควดี วีระภาสพงษ์, ชำนาญ จันทร์เรือง, ส.รัตนมณี พลกล้า, นิลรัตน์ จิตรนำทรัพย์, พิภพ จิตรนำทรัพย์, จารุวิตต์ บุนนาค, ธเนศ พุ่มศิริ,

สฤณี อาชวานันทกุล, บุญเลิศ วิเศษปรีชา, Payon Saelee, สมเกียรติ สกุลมนูชัย, ปารมี คุณปิติดิลก, พฤต วณิชพันธุ์, รุ่งทิพย์ วณิชพันธุ์, วีระนันท์ ตังคะประเสริฐ, รฎาศิริ ศิริคช, อนุรักษ์ กงทอง, ชยกร บูรณธัญรัตน์, punlop sornponthun, ดร.ไชยยันต์ ไชยยะ, วีระพงษ์ บุญมา, พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สมวงศ์ อุไรวัฒนา, อุดม วิชานศวกุล, นาดิร โยธาสมุทร, นราพงศ์ พองพรหม, ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, ดร.มนต์ชัย โศภิษฐกมล, ศุพชัย เกศการุณกุล, Chootima Longjit, กันยารัตน์ แวน ไดค์, นัจจา ปิติอนันท์, อนุรักษ์ วิษณุวงศ์, หรรษา ศรีธรรม, วิวัฒน์ คําทวี, นุชอนงค์ เตชะวงศ์ธรรม, ธนวัฒน์ วิรัติสกุล, สมเกียรติ มีธรรม, มนตรี วิชานศวกุล, ศตวรรษ สุริยะ, patchara lertatsawapol, กฤษดาพร กลิ่นจันทร์, ณัฐชัย ธชาศรี, อุทัยศักดิ์ ยุทธภัณฑ์, นวรัตน์ เจียรนิติธร, วงเดือน ประกอบกิจ, sarayuth ploddee, Lawan Jirasaowaphak and family, nawaporn, ภารนัย(6/65), วีระพล ช่อสูงเนิน, ทีปกรณ์ ศรีสุวรรณ์,

อรวรรณ ศรีพรหมกุล, Nuttavut prasanaticom, ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์, จีรกาญน์ จินดาธรรม, ศุภกร แซ่ตั้ง, ศุภกร ศิริสุนทร ม.ธรรมศาสตร์, สง่า สิทธิภารัตน์, บุณยาพร แจ่มสมบูรณ์, ธีรรัฐ เชี่ยวสกุล, คมสัน สวัสดิรักษา, krisada, นาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย, กิตติพงษ์ ชื่นสงวน, อาคม สุวัณณกีฏะ, ธุมาวดี สุวัณณกีฏะ, ทองเพชร น้อยตำแย, ศิริวรรณ จันสุทธิรางกูร, ตะวันฉาย ฟ้าคราม, ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, vongnapa kallachanpises, นิมิตร์ เทียนอุดม, กฤษดาพร กลิ่นจันทร์, กรรณิกา ตันสกุล, วันดี เจตวัฒน์, แพรวไพลิน, พรรัตน์ วชิราชัย นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชัญญา ปฐมาขจรพงศ์, อภิญลักษณ์ บุญมณี, ผศ.กิติสาร วาณิชยานนท์ ม.รังสิต, ทินกร เตียนสิงห์, รัสมี จิวสุวรรณ มอ หาดใหญ่, วรดุลย์ ตุลารักษ์, นาลินี ศรีกสิกุล, แพรวไพลิน แสงขำ, อนันต์ เลรามัญ, ถนอมนวล หิรัญเทพ, ทิวาพร นุเสน, เนาวนิจ สิริผาติวิรัตน์, เจตนิพิฐ นำศิริวิวัฒน์,

สุนทราพร เกษแก้ว, วรรณรบ ตาทิพย์, ทองหล่อ วรทิวา, ศิริพร ศรีวรกานต์, ศิรีธร วิวัจนสิรินทร์, พรทิพย์ มหามงคล, ธชนม์ ก้าวสมบูรณ์, พงศ์ปณต กองสุข, วีรุทัย อยู่เหลือสุข, พิทยา ศรีโกตะเพ็ชร, อุฬาร หอเนตรวิจิตร, Kunlachet L. มานพ ก้าวสมบูรณ์, ประพันธ์ ภราดรพานิชกุล, ชำนาญ ยานะ, ปัณณธร ชินวงศ์, มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม, สายพิณ กุลกนกวรรณ ฮัมดานี, วินัย ผลเจริญ, ภัทรภาค รังษีกิจโพธิ์, ปนัดดา ขวัญทอง, ชลียา ทองมั่ง, กฤตย์ ทองคง, อำนวยพร แซ่ลิ้ม, รุ่งเรือง เกิดคง, อนุชิต สิงห์สุวรรณ, กนกวรรณ อุโฆษกิจ, สุชานาถ ปิ่นประดับ, อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล, สงคราม ศาลาลอย, ปริชัย ดาวอุดม, NOZ, เบญจางค์ สังฆรัตนะ, กังวาน กังวานพรศิริ, อังคณา กังวานพรศิริ, โกวิท กังวานพรศิริ, ชภิญญ์ กังวานพรศิริ, โชติกา กังวานพรศิริ, ชนกานต์ กังวานพรศิริ, นายปิติพันธ์ อารีญาติ, โชติกา เบ็ญญาลักษณ์,

ปิยวรรณ อัศวราชันย์, สมชาย บำรุงวงศ์, อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล, ธนาคาร แย้มสุข, นันทิชา จันทร์สุขเศรษฐ์, รุ่งทิวา ปัญญโรจน์, จันทร์จิราภรณ์ เตชะอำพลกุล, ทศพล เตชะอำพลกุล, ชุติมา หัตถธรรมนูญ, ผศ. จิตราภรณ์ เชิดชูพงษ์ ผศ. ดร ปฐมา อักษรจรุง อ.ธริศรา ผลเกิด จากคณะศิลปศาสตร์ มอ.หาดใหญ่, น.ส. จรีรัตน์ สร้อยเสริมทรัพย์ นาย ภาณุศ อภิบาลเกียรติกุล จากคณะนิติศาสตร์ มอ.หาดใหญ่. อ.ฉลองเดช คูภานุมาต และ.อ.ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี วจศ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เผด็จ พราวศรี, ถาวร พิชิตสุรกิจ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.






- คณาจารย์และนักวิชาการทุกสาขา ร่วมต้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯที่เชียงใหม่
- การเจรจา FTA มหันตภัยสึนามิทางเศรษฐกิจ
- ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ: ปัญหาว่าด้วย"ทริปส์ผนวก"

- ข้อเสนอการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯรอบที่ ๕
- ความยอกย้อนและวาระซ่อนเร้นของ WTO และ FTA
- นักวิชาการเสนอคว่ำเขตเศรษฐกิจพิเศษ (ปกป้องนายทุนยึดสมบัติชาติ)
- ไม่ควรนำเรื่องยาเข้าเจรจา เอฟทีเอ. ไทย-สหรัฐ
- โรงพยาบาลไทย หัวใจบริการ(ต่างชาติ)
- หนังสือร้องเรียนกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
-
WTO การค้าเสรี : ใครได้ใครเสีย

 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 760 เรื่อง หนากว่า 11000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี