นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

โลกใบใหม่เราสร้างได้
เวทีสังคมโลกในประเทศไทย ตุลาคม ๒๕๔๙
ผู้ประสานคณะทำงานเวทีสังคมโลก
ประเทศไทย

ขอเชิญองค์กรภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมเตรียมงาน
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
เวลา ๑๓.๐๐ น.- ๑๗.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมชั้นล่าง อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา
สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 730
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ A4)



เรื่อง ขอเชิญร่วมประชุม

เรียน ตัวแทนองค์กรภาคประชาชน องค์กรประชาธิปไตย

ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานสมัชชาสังคมโลก ปี 2006 (World Social Forum 2006 ) ซึ่งเป็นเวทีในระดับนานาชาติที่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ภายไต้คำขวัญว่า " โลกใบใหม่เราสร้างได้ " (Another World is Possible) โดยมุ่งประเด็นทางสังคม และการเมือง ในเวทีขององค์กรภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้รักประชาธิปไตยที่ล้วนได้รับผลกระทบจากระบบทุนนิยม และกลไกตลาดเสรี โดยในงานจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 5,000 คนจากทั่วโลก ซึ่งทางคณะทำงานเตรียมการจัดงานได้ขอความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตให้เป็นสถานที่จัดงานดังกล่าวในช่วงเดือนตุลาคมปีหน้า

จึงขอเรียนทุกท่านเข้าร่วมประชุมในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2548 นี้ เวลา 13.00 น.-17.00 น. ณ ห้องประชุมชั้นล่าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ หวังว่าท่านจะกรุณาสละเวลามาร่วมประชุม เพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพ และช่วยกันสนับสนุนผลักดันเวทีภาคประชาชนแห่งนี้ให้เป็นจริง

ขอแสดงความนับถือ

วิภา ดาวมณี
ผู้ประสานคณะทำงาน


" โลกใบใหม่เราสร้างได้ และเราจะลงมือสร้างวันนี้ "
ขอเชิญชวนองค์กรภาคประชาชนทุกองค์กร ร่วมเป็นเจ้าภาพและร่วมจัดงานเวทีสมัชชาสังคมโลก (World Social Forum) สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยในเดือนตุลาคม ๒๕๔๙


๑. เวทีสมัชชาสังคมโลก (WSF) คืออะไร?
เวทีสมัชชาสังคมโลก (World Social Forum) คือเวทีแลกเปลี่ยนหาทางเลือกใหม่ของภาคประชาชนโลกที่จัดขึ้นภายใต้คำขวัญ "โลกใบใหม่เราสร้างได้" กระแสการเคลื่อนไหวที่นำไปสู่ขบวนการสมัชชาสังคมโลก ที่ประชุมครั้งแรกในปี 2001 ที่เมือง Porto Alegre ประเทศบราซิล มาจากความไม่พอใจกับระบบทุนนิยมตลาดเสรี(เสรีนิยมใหม่หรือ Neo-liberalism) และการขยายอำนาจของรัฐและกลุ่มทุนขนาดใหญ่จนก่อให้เกิดสงคราม(จักรวรรดินิยม) ความไม่พอใจนี้สะสมมายาวนานตั้งแต่ยุคสิ้นสุดของสงครามเย็น เพราะหลังจากสงครามเย็นมีการผงาดขึ้นของอำนาจกลุ่มทุนที่ทำลายวิถีชีวิตประชาชน ทำลายสิ่งแวดล้อม ตัดสวัสดิการสังคม และทำลายความมั่นคงของประชาชนทั่วโลก

หลังจากการประชุมเวทีสมัชชาสังคมโลกครั้งแรก มีการจัดเวทีนี้ในระดับโลกถึง 5 ครั้ง โดยที่การประชุมครั้งที่ 4 ในปี 2004 จัดที่เมืองมุมบายประเทศอินเดีย นอกจากนี้มีการจัดเวทีประชุมย่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น สมัชชาสังคมยุโรปที่จัดในประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ เวทีสมัชชาสังคมเอเชียที่จัดที่ไฮดราบัดอินเดีย และเวทีสมัชชาสังคมอัฟริกาและลาตินอเมริกาเป็นต้น… ในปี 2006 (๒๕๔๙) จะมีการจัดเวทีสมัชชาสังคมโลกสาขาภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุงเทพฯ ในเดือนตุลาคม

(หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้จากสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
World Social Forum
- นาโอมี ไคลน์ อนาธิปไตย VS เสรีนิยมใหม่
- นิยามความหมายและความเป็นมา World Social Forum
- การประจันหน้ากับจักรวรรดิ : นอม ชอมสกี้
- ขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านโลกาภิวัตน์
- ความเป็นไปได้ที่จะจัดประชุมเวทีสังคมเอเชียตะวันออกในไทย
- เปลี่ยนโลกโดยไม่ต้องยึดอำนาจรัฐ? สร้างพรรคการเมือง?
- ภาคประชาชนโลกไปถึงไหนกันแล้ว รายงานจากสมัชชาสังคมโลก 2005 บราซิล
- รั้วแห่งการกักกัน หน้าต่างแห่งโอกาส
- เวทีสังคมโลกครั้งที่ ๑ : อเมริกันหายไปไหน
- เวทีสังคมโลกเมืองมุมไบ เมืองแห่งความล้มเหลวจากการเปิดเสรี
- เวทีสังคมโลก เวทีชาวบ้านยุคโลกาภิวัตน์
- World Social Forum กับการเลือกตั้ง ๖ กุมภาพันธ์ ๔๘



เวทีสมัชชาสังคมโลกมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. เป็นเวทีเสรีและเปิดกว้าง เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยน ทบทวนความเห็นระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อเสริมสร้างขบวนการเคลื่อนไหว และเสนอทางออกเพื่อสร้างโลกใหม่ โดยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ขององค์กรภาคประชาชนนอกภาครัฐ ที่ไม่ผูกพันธ์กับพรรคการเมืองกระแสหลัก ไม่ใช่องค์กรระดับสูงของสถาบันศาสนา และไม่ได้เป็นธุรกิจ และเนื่องจากเวทีนี้เปิดกว้าง องค์กรใดองค์กรหนึ่งไม่สามารถอ้างว่าเป็นตัวแทนของ WSF ได้

2. เป็นเวทีเสรีขององค์กรที่คัดค้านแนวเสรีนิยมใหม่ของกลุ่มทุนในระบบทุนนิยมตลาดเสรี (เช่นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ การลดสวัสดิการทางสังคม การทำให้ทุกอย่างเป็นสินค้า และการเปิดตลาดเสรีในทุกส่วนของภาคเศรษฐกิจตามสัญญาค้าเสรี FTA)

3. เป็นเวทีเสรีขององค์กรที่คัดค้านการใช้อำนาจทางทหาร และการก่อสงครามของรัฐต่างๆ เพื่อประโยชน์กลุ่มทุน. WSF เคยประสานงานการประท้วงต่อต้านสงครามอิรักทั่วโลกในปี 2003

4. เวทีสมัชชาสังคมเป็นเวทีที่เน้นการเคลื่อนไหวในระดับสากล โดยเน้นความสมานฉันท์ระหว่างประชาชนทั่วโลก ไม่ใช่การเคลื่อนไหวแบบชาตินิยม เวทีสมัชชาสังคมโลกจะเคารพความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศใด มีวิถีชีวิตอย่างไร หรือเป็นเชื้อชาติใด

5. เงินทุนในการจัดงาน WSF ภาคประชาชนในประเทศเจ้าภาพเป็นผู้หาทุนเอง โดยที่ทุนก้อนใหญ่ใช้ในการบริหารจัดงาน การเช่าสถานที่และอุปกรณ์ และในการประชาสัมพันธ์ ส่วนค่าเดินทางและที่พักของผู้เข้าร่วม ผู้เข้าร่วมและองค์กรของเขาต้องรับผิดชอบเอง

WSF มีกฎเกณฑ์ชัดเจนเรื่องการหาทุน
ในประการแรก ส่วนหนึ่งมาจากค่าลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมในอัตราก้าวหน้า และ
ในประการที่สอง มีการตกลงกันว่าจะไม่รับเงินจากกลุ่มทุนและองค์กรที่สนับสนุนเสรีนิยม

การประชุมเวทีสมัชชาสังคมโลกมีหน้าตาอย่างไร?

งานที่จัดมาอย่างต่อเนื่องในรอบห้าปีที่ผ่านมา มีลักษณะการจัดวงเสวนา และ เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายใต้หัวข้อต่างๆ ที่หลากหลาย ในแต่ละวัน จะมีหลายๆ เวทีจัดพร้อมกัน บางเวทีก็เป็นเวทีใหญ่ (ประมาณ 300 คน) บางเวทีอาจเล็ก (ประมาณ 50 คน) และในพิธีเปิดและปิดอาจมีเวทีที่คนเข้าร่วมเป็นพัน นอกจากนี้จะมีซุ้มเพื่อแสดงนิทรรศการและเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์ ฯลฯ และงานศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย

๒. ภาคประชาชนไทยจะได้อะไรจากการเข้าร่วมสมัชชาสังคมโลก?

เวทีสมัชชาสังคมโลกเป็นโอกาสทองที่องค์กรต่างๆ ของภาคประชาชนไทยจะมาร่วมกันพัฒนาความคิดเพื่อสร้างความเข้มแข็ง สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดอ่อนของขบวนการภาคประชาชนไทยที่ทุกคนยอมรับ คือการเคลื่อนไหวแบบแยกส่วนหรือแยกประเด็นปัญหา สมัชชาสังคมโลกมีประเพณีในการสร้างการเคลื่อนไหวแบบองค์รวม ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันด้วยกรอบที่เชื่อมโยงประเด็นดังกล่าวเข้าด้วยกัน ภายใต้ความเข้าใจในระบบการเมืองและเศรษฐกิจโลก

นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ท้าทายขบวนการภาคประชาชนไทยคือ การขยายอำนาจของรัฐบาล ไทยรักไทย ผ่านการใช้นโยบายประชานิยมและการปราบปราม

ดังนั้นการจัด WSF ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสทองสำหรับเราทุกคนในภาคประชาชนไทยเพราะ
1. เราสามารถพัฒนาการเคลื่อนไหวจากเรื่องประเด็นปัญหาแยกส่วน ไปสู่การเข้าใจและการวิเคราะห์แบบองค์รวม

2. เราสามารถสร้างประเพณีการถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างเสรี ด้วยมิตรภาพและความสมานฉันท์ เพื่อทบทวนความคิดเดิมๆ ได้ และเพื่อสร้างพื้นฐานการทำงานร่วมกันในหลายๆ ประเด็น

3. เราสามารถแลกเปลี่ยนเรื่องประสบการณ์และทิศทางการเคลื่อนไหวกับพี่น้อง มิตรสหายจากภาคประชาชนในประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นจากมาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย,เขมร,พม่า,ฯลฯ เป็นต้น

๓. ถ้าจะมีส่วนร่วม องค์กรของท่านต้องทำอะไรบ้าง?

สิ่งที่ทุกคนไม่ควรลืมคือ เราทุกคนในภาคประชาชนเป็นเจ้าของร่วมของงานนี้

6 ขั้นตอนง่ายๆ ในการมีส่วนร่วมมีดังนี้...
1. องค์กรของท่านอยากทำอะไร? ควรจัดการประชุมในองค์กร เพื่อคุยกันว่าองค์กรของท่านอยากจะร่วมพูดคุยในหัวข้ออะไร และอยากใช้พื้นที่ในการจัดซุ้มนิทรรศการและซุ้มเผยแพร่ข้อมูลอย่างไร

2. องค์กรของท่านอยากร่วมมือกับใคร? ถ้าเราจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการจัดงาน เราควรพยายามจัดวงเสวนาพูดคุยร่วมกับองค์กรอื่นๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อขยายความร่วมมือและความเข้าใจแบบองค์รวม ทางส่วนกลางอาจช่วยประสานงานระหว่างองค์กรที่มีความสนใจคล้ายคลึงกันได้ แต่ทุกคนต้องช่วยกันด้วย

3. เสนอหัวข้อกับคณะเตรียมงาน พอตกลงกันเองว่าอยากพูดคุยประเด็นอะไร ควรติดต่อคณะเตรียมงานเพื่อเสนอหัวข้อ พร้อมกับประเมินจำนวนคนที่จะเข้าฟัง เพื่อหาห้องประชุมที่เหมาะสม

4. จองพื้นที่สำหรับซุ้ม ถ้าองค์กรของท่านต้องการจัดซุ้ม

5. เริ่มเตรียมวิทยากรของท่าน เตรียมผู้ดำเนินรายการ และเตรียมเนื้อหาการประชุม

6. เริ่มหาทุนในการเดินทาง ค่าที่พัก และค่าลงทะเบียนสำหรับสมาชิกขององค์กร

๔. เชิญแสดงความเห็นว่า WSFที่ไทยควรเน้นหัวข้อหลักๆ อะไร?
เราอยากให้องค์กรของท่านติดต่อกลับมาว่าสนใจหัวข้อหลักๆ อะไรบ้าง เราจะได้สร้างโครงการงานตามความเห็นของท่าน หัวข้อที่เราอยากเสนอในระยะเบื้องต้นให้ท่านพิจารณามีดังนี้ แต่คงมีอีกหลายหัวข้อที่เรามองข้าม เราต้องการคำแนะนำจากท่านด่วน!! เราไม่ต้องการผูกขาดความคิดเรื่องเนื้อหาการประชุมแต่อย่างใด

หัวข้อเบื้องต้นที่เราอยากเสนอ… เช่น
1. ผลกระทบของระบบทุนต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน (ท่อก๊าซ เขื่อน โรงไฟฟ้า การย้ายชุมชนในเมือง ฯลฯ)

2. สิทธิเสรีภาพของคนกลุ่มน้อย เช่นชาวมุสลิม กลุ่มชาติพันธ์ เกย์ กะเทย ทอมดี้ แรงงานข้ามชาติ ฯลฯ

3. การนำกลไกตลาดเสรีเข้ามาทำให้ทุกอย่างเป็นสินค้า
(การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ สัญญาการค้าเสรี องค์กรค้าโลก ปัญหาลิขสิทธิ์)

4. ความรุนแรงของรัฐและสงคราม

5. การเมืองทางเพศ

6. แนวความคิดทางการเมืองต่างๆ เพื่อสร้างโลกใบใหม่

7. เกษตรทางเลือก พลังงานทางเลือก ประมงทางเลือก

8. เสรีภาพของสื่อ

9. ขบวนการแรงงาน

10. ความมั่นคงในชีวิต ปัญหาที่ดิน ปัญหาหนี้สิน สวัสดิการทางสังคม

ติดต่อกลับมาหาเรา !
แสดงความจำนงร่วมเป็นอาสาสมัครในคณะทำงานที่ โทร. 016134792, 098914181

 

 


ใบตอบรับการเข้าร่วมการประชุม
เตรียมการจัดงาน สมัชชาสังคมโลกในประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน 2548
เวลา 13.00 น.-17.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้นล่าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน

-------------------------------------------------------------

ชื่อ/สกุล.................................................................................................................................
ตำแหน่ง................................................................................................................................
องค์กร...................................................................................................................................

โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้.........................................
Email: .....................................................................

 

ยินดีเข้าร่วมการสัมมนา (ทำเครื่องหมาย ถูก หากสามารถเข้าร่วมได้)
ไม่สามารถเข้าร่วมการสัมมนาได้ (ทำเครื่องหมาย หากไม่สามารถเข้าร่วมได้)
รวมผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน............................................................. ท่าน

ขอความกรุณาส่งแบบตอบรับนี้กลับภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน นี้
ทางโทรสาร ที่ 02-884-5927
หรือ email: [email protected]


 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

เวทีสมัชชาสังคมโลก (World Social Forum) คือเวทีแลกเปลี่ยนหาทางเลือกใหม่ของภาคประชาชนโลกที่จัดขึ้นภายใต้คำขวัญ "โลกใบใหม่เราสร้างได้" กระแสการเคลื่อนไหวที่นำไปสู่ขบวนการสมัชชาสังคมโลก ที่ประชุมครั้งแรกในปี 2001 ที่เมือง Porto Alegre ประเทศบราซิล มาจากความไม่พอใจกับระบบทุนนิยมตลาดเสรี(เสรีนิยมใหม่หรือ Neo-liberalism) และการขยายอำนาจของรัฐและกลุ่มทุนขนาดใหญ่จนก่อให้เกิดสงคราม(จักรวรรดินิยม) ความไม่พอใจนี้สะสมมายาวนานตั้งแต่ยุคสิ้นสุดของสงครามเย็น เพราะหลังจากสงครามเย็นมีการผงาดขึ้นของอำนาจกลุ่มทุนที่ทำลายวิถีชีวิตประชาชน ทำลายสิ่งแวดล้อม ตัดสวัสดิการสังคม และทำลายความมั่นคงของประชาชนทั่วโลก

 

R
related topic
071148
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

อุดมศึกษาบนเว็ปไซต์ เพียงคลิกก็พลิกผันความรู้ ทำให้เข้าใจและเรียนรู้โลกมากขึ้น
สนใจค้นหาความรู้ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีน้ำเงิน
สนใจเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีแดง