โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๓๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (December, 13, 12, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

13-12-2550

John Holloway
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

Change the World Without Taking Power
ต่อต้านและข้ามพันรัฐ: บทสัมภาษณ์จอห์น ฮอลโลเวย์
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล
นักวิชาการอิสระ ผู้สนใจประเด็นขบวนการภาคประชาชน ในละตินอเมริกา


บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับบทความแปลชิ้นนี้ เป็นบทสัมภาษณ์จอห์น ฮอลโลเวย์ โดย มารีนา สิตริน
เกี่ยวกับขบวนการประชาชนในละตินอเมริกา ซึ่งมีตัวอย่างมากมายเกี่ยวกับ
การต่อสู้ของภาคประชาชน และรัฐที่พยายามจะกลืนขบวนการดังกล่าวอย่างแยบยล
รวมถึงข้อแนะนำในการเป็นผู้กำหนดวาระทางสังคม ทำการต่อต้าน และข้ามพ้นรัฐ

ต่อไปนี้ เป็นบางส่วนของการตอบข้อซักถามของฮอลโลเวย์ ที่เป็นตัวอย่างจากบทความ...
ในการสัมภาษณ์นี้ คุณเป็นผู้กำหนดวาระด้วยคำถาม ถ้าผมไม่ชอบคำถาม (จริงๆ ผมชอบมาก)
ผมจะไม่เพิกเฉยต่อคำถามนั้น แต่จะตอบในลักษณะที่พยายามกำหนดวาระด้วยตัวผมเองบ้าง
การสนทนามีลักษณะสองทางเสมอ หากคุณบอกผมว่า คุณจะโอนก๊าซธรรมชาติมาเป็นของชาต
ิเพื่อผลประโยชน์ของเรา ผมก็จะบอกว่า "เยี่ยม แต่ในเมื่อเป็นผลประโยชน์ของเรา ถ้าอย่างนั้น
ก็ให้เราเป็นคนบริหารสิ" ประเด็นอยู่ที่รูปแบบ ไม่ใช่เนื้อหา จริงไหม
อยู่ที่การเมืองของ"อย่างไร" มากกว่า "อะไร"

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๓๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Change the World Without Taking Power
ต่อต้านและข้ามพันรัฐ: บทสัมภาษณ์จอห์น ฮอลโลเวย์
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล
นักวิชาการอิสระ ผู้สนใจประเด็นขบวนการภาคประชาชน ในละตินอเมริกา

แปลจาก : John Holloway and Marina Sitrin, "Against and Beyond the State:
An Interview with John Holloway," ZNet; May 10, 2007.

จอห์น ฮอลโลเวย์และมารีนา สิตริน สนทนากันเกี่ยวกับขบวนการสังคมใหม่ในละตินอเมริกา อำนาจ รัฐ และ "การเมืองที่ใฝ่ฝันถึงอนาคต" (prefigurative politics) (1) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 บทสนทนานี้เป็นส่วนต่อเนื่องจากที่เริ่มต้นไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 2004 (โปรดดู "เราเดินด้วยคำถาม: บทสัมภาษณ์จอห์น ฮอลโลเวย์, http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2545/document9537.html

สิตริน: บทสัมภาษณ์/สนทนาครั้งที่แล้วของเราใน ค.ศ. 2004 ครั้งนั้นความสนใจส่วนใหญ่เน้นไปที่คำถามเกี่ยวกับอำนาจรัฐ และโดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงโลกโดยไม่ยึดอำนาจรัฐ การสนทนาของเราส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากแนวคิดสร้างสรรค์ทางสังคมที่เป็นอิสระจากรัฐ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในละตินอเมริกา วันนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 มีหลายคนโต้แย้งว่า ในละตินอเมริกามีอะไรเปลี่ยนไปแล้วมากมาย สิ่งที่ฉันนึกถึงเป็นพิเศษก็คือ รัฐบาล "ฝ่ายซ้าย" 7 ประเทศ ที่กำลังครองอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น โบลิเวีย, เวเนซุเอลา, เอกวาดอร์, และนิการากัว และคนที่พูดว่า "บัดนี้" ฝ่ายซ้ายได้มาถึงแล้ว มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริงๆ อย่างที่ใครๆ กล่าวขวัญถึงหรือเปล่า? นั่นเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในอำนาจที่เป็นทางการ ดังที่ผู้สันทัดกรณีหลายคนกล่าวถึง? หรือกระทั่งนี่ควรเป็นจุดเริ่มต้นการสนทนาของเราหรือเปล่า?

ฮอลโลเวย์: ครับ ผมคิดว่านี่คือจุดเริ่มต้นที่ดี นี่ไม่ใช่ยุคเข็ญในประเทศเหล่านั้น บางทีนั่นแหละคือประเด็นสำคัญที่สุด เพื่อนๆ จากยุโรปหลายคนเขียนมาหาผมเป็นครั้งคราว และเห็นได้ชัดว่าพวกเขากำลังคิดด้วยเหตุผลแบบ Johannes Agnoli (2) นั่นคือ สิ่งที่สำคัญคือต้องรักษาความคิดขบถให้มีชีวิตชีวาเอาไว้ โดยเฉพาะในยามทุกข์เข็ญเช่นปัจจุบัน แต่เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในละตินอเมริกา เห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่ยุคเข็ญ มันอาจเป็นยุคลำบาก ยุคน่าประหวั่น (โดยเฉพาะในเม็กซิโกตอนนี้) แต่ไม่ใช่ยุคยากเข็ญ มันเป็นยุคที่น่าตื่นเต้นต่างหาก เต็มไปด้วยการต่อสู้ เต็มไปด้วยความหวัง ความสำคัญของการที่รัฐบาล "ฝ่ายซ้าย" เฟื่องฟูขึ้นมาก็คือ รัฐบาลเหล่านี้คือภาพสะท้อนความแข็งแกร่งของการต่อสู้ทั้งทวีปนี้ และนั่นแหละที่สำคัญที่สุด

ผมพูดว่า "ภาพสะท้อน" แต่นอกจากนี้ มันยังเป็นการขานรับต่อการแผ่ขยายของการต่อสู้ทางสังคมด้วย นี่เป็นการขานรับที่ซับซ้อนมากและขัดแย้งกันเอง ในทุกกรณี รัฐบาลเหล่านี้เป็นตัวแทนของความพยายามที่จะตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้แก่การต่อสู้ ทำให้การต่อสู้มีรูปแบบของรัฐ แน่นอน นั่นยังหมายถึงการปลดชนวนการต่อสู้และตะล่อมมันไปสู่รูปแบบการจัดตั้งที่สอดคล้องกับการผลิตซ้ำของทุน ในบางกรณี รัฐบาล "ฝ่ายซ้าย" ที่จริงแล้วเป็นแค่นักปฏิรูปและกดขี่อย่างเปิดเผย (เช่น อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย) ในกรณีอื่น (โดยเฉพาะเวเนซุเอลา) ดูเหมือนมีความพยายามอย่างแท้จริงที่จะผลักดันรูปแบบรัฐให้พ้นขีดจำกัด เพื่อเปิดรัฐออกสู่รูปแบบของการควบคุมโดยประชาชนอย่างแท้จริง เรื่องนี้จะทำได้มากน้อยแค่ไหนภายในโครงสร้างของรัฐและจากภายในองค์กรที่มีผู้นำเดี่ยวครอบงำ ผมยังสงสัยอยู่มาก กระนั้นก็ตาม เส้นทางโคจรของรัฐบาลเวเนซุเอลาก็น่าสนใจมากกว่าที่ใครๆ คาดหมายเยอะ. ดังนั้น ความสำคัญที่แท้จริงของรัฐบาล "ฝ่ายซ้าย" ไม่ใช่ ฉากหน้า แต่เบื้องหลังฉากหน้านั้น ทวีปนี้กำลังเดือดพล่าน

สิตริน: ทวีปนี้กำลังเดือดพล่าน และที่ที่มันกำลังเดือนพล่าน นั่นแหละคือสิ่งที่ฉันอยากคุยถึง ฉันเห็นด้วยว่า แรงบันดาลใจที่แท้จริงในละตินอเมริกาทุกวันนี้อยู่ข้างหลังฉากหน้าของรัฐบาล "ฝ่ายซ้าย" กล่าวคือ ขบวนการสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฉันกำลังนึกถึงขบวนการที่มีความเป็นอิสระมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นซาปาติสตาและ APPO ในเม็กซิโก, Coordinadora del Agua y por la Vida ในโบลิเวีย, ขบวนการแรงงานไร้งานที่ดำเนินการโดยอิสระในอาร์เจนตินา (3) ตลอดจนถึงสถานประกอบการที่คนงานยึดครองและกอบกู้หลายร้อยแห่ง ซึ่งไม่ได้มีอยู่ในอาร์เจนตินาเท่านั้น แต่ยังมีในบราซิล, อุรุกวัย, ปารากวัย, ชิลี ฯลฯ คุณคิดว่า รัฐบาล "ฝ่ายซ้าย" เหล่านี้ส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อขบวนการอัตตาณัติ (*) (autonomous movements)? มันเปิดพื้นที่ให้ขบวนการเหล่านี้มากขึ้นหรือเปล่า?
(*) ขบวนการอัตตาณัติ (autonomous movements) เป็นขบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน โดยปราศจากอำนาจควบคุมจากภายนอก มีความเป็นอิสระของตนเอง และปกครองตนเอง [คำที่ใกล้เคียงในภาษาอังกฤษ อย่างเช่น self-governing, sovereign, independent, self-directed, self-reliant เป็นต้น - กอง บก.ม.เที่ยงคืน)

ฮอลโลเวย์: เปล่าเลย ผมไม่คิดว่ารัฐบาลเหล่านี้เปิดพื้นที่ให้ขบวนการ หรือเป็นไปได้ที่รัฐบาลเปิดพื้นที่ให้ในสิ่งที่ขบวนการอยากทำ แต่ผลักดันขบวนการให้ทำในวิถีทางที่แตกต่างออกไป ให้ทำในวิถีทางที่ผสมกลมกลืนไปกับระบบ แม้แต่ในกรณีที่ดีที่สุด การปฏิวัติก็ยังถูกชิงไป รัฐบาลดำเนินการตามเป้าหมายหลายประการของขบวนการ แต่เป็นการกระทำ ในนามของ ขบวนการ เท่ากับบอกให้ขบวนการอยู่บ้านหรือไม่ก็เข้ารีตเป็นผู้จงรักภักดีต่อรัฐบาลแทน นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึกมากในโบลิเวีย นั่นเป็นตัวอย่างหนึ่ง. แน่นอน รัฐบาลเอโว โมราเลสมีความแตกต่างที่แตกหักกับรัฐบาลชุดก่อนๆ อย่างสำคัญ และกำลังดำเนินการตามข้อเรียกร้องของขบวนการที่โค่นประธานาธิบดีมาแล้วหลายคนก่อนหน้านี้ แต่รัฐบาลโมราเลสก็กระทำในรูปแบบที่เจือจางลงมาก และขบวนการสังคมก็มีทางเลือกแค่ประกาศความจงรักภักดีอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือไม่ก็ถูกรัฐบาลกีดกันไปอยู่วงนอก

ดังนั้น ขบวนการปฏิวัติจึงถูกชิงการนำไปและถูกทำให้เจือจางลง ผมคิดว่าลักษณะเช่นนี้น่าจะเกิดกับรัฐบาลฝ่ายซ้ายจริงๆ ทุกรัฐบาล คำว่า "ฝ่ายซ้ายจริงๆ" หมายถึง รัฐบาลที่เติบโตมาจากขบวนการจริงๆ ในกรณีอื่น เช่น อาร์เจนตินา แน่นอน รัฐบาลไม่ได้เติบโตมาจากขบวนการ เพียงแต่เสนอการขานรับแบบเสรีนิยมต่อขบวนการมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนๆ

ถ้าเช่นนั้น มีรัฐบาลฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา อย่างไหนดีกว่ากัน หรือไม่แตกต่างกันเลย? โดยรวมแล้ว ผมคิดว่ามีรัฐบาลฝ่ายซ้ายน่าจะดีกว่า แม้ว่าไม่เสมอไป. ในกรณีของเม็กซิโก ผมคิดว่าโลเปซ โอบราดอร์ น่าจะกดขี่และเป็นตัวอันตรายน้อยกว่ารัฐบาลคัลเดโรน แต่แน่นอน ถึงอย่างไรก็ต้องมีกระบวนการชิงการนำจากขบวนการเกิดขึ้น หรือดึงขบวนการที่มุ่งหน้าหาความเป็นอิสระให้หันมาสนับสนุนรัฐบาลที่อ้างว่ากระทำ ในนามของ ขบวนการ สิ่งสำคัญคือการรักษาตรรกะและรูปแบบการจัดตั้งของเราเอาไว้ ไม่ว่าจะมีรัฐบาลสีไหนก็ตาม

สิตริน: ถ้าอย่างนั้น เราจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร? แบบไหน? ฉันรู้ว่านี่เป็นคำถามที่คนในขบวนการต่างๆ กำลังถามตัวเองและถามกันและกันอยู่ แม้กระทั่งก่อนที่รัฐบาล "ฝ่ายซ้าย" จะได้รับการเลือกตั้ง คนจำนวนมากก็กำลังตั้งคำถามว่า จะจัดตั้งต่อไปโดยวางพื้นฐานอยู่บนกาละและเทศะของตนเองอย่างไร ปัจจุบัน คำถามยิ่งแหลมคมกว่าเดิม คุณเห็นทางออกอื่นบ้างหรือไม่? ยกตัวอย่างเช่น ในทศวรรษ 1990 กลุ่ม HIJOS ในอาร์เจนตินา ลูกหลานของกลุ่มคนที่หายสาบสูญ (4) เริ่มหันเหการอภิปรายเกี่ยวกับระบอบเผด็จการมาสู่การพูดถึงชุมชน แยกทางจากแนวคิด non-involvement (no te metas--การไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ) กลุ่ม HIJOS เป็นเครือข่ายแนวระนาบที่ใช้ปฏิบัติการท้าทายซึ่งหน้าและจัดตั้งตนเอง

ในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลเคียร์ชเนอร์เชิญสมาชิกของกลุ่ม HIJOS มามีส่วนร่วมในกระบวนการทางกฎหมายที่มีลู่ทางจะจับตัวฆาตกรในสมัยเผด็จการมาลงโทษได้หลายคน แต่ปัญหาที่ซ่อนอยู่ก็คือ การดำเนินการต้องกระทำผ่านตัวแทน และไม่มีเวลามาปรึกษาในกลุ่มเมื่อต้องตัดสินใจ ผลลัพธ์กลายเป็นความท้าทายต่อความสัมพันธ์แนวระนาบและการจัดตั้งตนเองที่พวกเขาร่วมกันสร้างขึ้น ตัวอย่างของปัญหาท้าทายแบบนี้ยังมีที่โบลิเวีย ขบวนการอิสระที่ต่อสู้เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ กลับพบว่าตัวเองถูกกีดกันจากสภาเพราะไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด พวกเขาไม่สามารถมีส่วนร่วมในสิ่งที่เกิดมาจากพวกเขาแท้ๆ จะทำอย่างไรดี? เราจะเดินหน้าสร้างกาละและเทศะที่เป็นของเราเองได้อย่างไร?

ฮอลโลเวย์: ผมคิดว่านั่นเป็นคำถามที่ยากเสมอ การบอกว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกโดยอาศัยรัฐเป็นเรื่องหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องที่ชัดเจนอย่างยิ่งสำหรับผมก็ตาม แต่เป็นเรื่องยากมากที่จะพูดว่า เราจะไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับรัฐเลย ผมเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ คนจำนวนมากที่อ่านบทความนี้อยู่ (ถ้ามีอยู่บ้าง) อาจมีรายได้จากรัฐไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น มันจึงไม่ใช่คำถามเรื่องความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องในสังคมทุนนิยมหรอก มันเป็นคำถามว่าเราจะจัดการอย่างไรกับความพัวพันที่เรามีกับรัฐต่างหาก ทำอย่างไรเราจึงหลีกเลี่ยงไม่ตกหลุมพรางการจัดตั้งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่รัฐจัดไว้ให้

ประเด็นสำคัญประการหนึ่งคือ ขบวนการควรรับเงินทุนหรือเงินอุดหนุนจากรัฐในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือไม่ ชาวซาปาติสตา (ซึ่งผมชื่นชมพวกเขามาก) ยึดแนวทางว่าจะไม่รับเงินอุดหนุนใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อดูจากสถานการณ์ในเชียปาส ผมคิดว่าพวกเขาน่าจะมีจุดยืนที่ถูกต้อง แต่มันก็ทำให้ผู้สนับสนุนพวกเขาบางคนตกอยู่ในสถานการณ์แร้นแค้นจนยากที่จะประคองตัวรอด ส่วนชาวปีเกเตโรส์แห่งโซลาโน (ซึ่งผมชื่นชมพวกเขามากเช่นกัน) มีจุดยืนว่า พวกเขาจะรับเงินอุดหนุนเพื่อคนว่างงาน ในเมื่อมันเป็นแค่การได้คืนเศษเสี้ยวเล็กน้อยที่พวกเขาเองในฐานะแรงงานเป็นผู้สร้างขึ้นมา แต่พวกเขาต้องมีอำนาจแบบหมู่คณะในการควบคุมเงินด้วยตนเอง

บางที สิ่งสำคัญอาจไม่ใช่เนื้อหาของการตัดสินใจ (จะรับหรือไม่รับเงินอุดหนุน) แต่อยู่ที่ตัดสินใจอย่างไร นั่นคือ ตั้งคำถามอย่างสม่ำเสมอว่ากระบวนการตัดสินใจเป็นไปในเชิงระนาบอย่างแท้จริงหรือไม่ ตลอดจนการต่อสู้เพื่อรักษาการควบคุมตามระบอบประชาธิปไตยแนวระนาบต่อกระบวนการทั้งหมด กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ รักษา mandar obedeciendo (ปกครองโดยเชื่อฟัง) อย่างแท้จริง นี่คือทัศนะที่ผมมีต่อตัวอย่างของกลุ่ม HIJOS ที่คุณหยิบยกขึ้นมา ตัวอย่างของประเทศโบลิเวียนั้นแตกต่างออกไปเล็กน้อย ผมมองว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการชิงการปฏิวัติไปอย่างที่กล่าวถึงในคำตอบที่แล้วมากกว่า แต่แน่ล่ะ คำถามสำคัญคือ จะต่อสู้ไม่ให้เกิดการชิงการนำได้อย่างไร

สิตริน: เราจะต่อสู้เพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซงและการชิงการนำได้อย่างไร? ปัญหาท้าทายประการหนึ่งที่ฉันเห็นก็คือ รัฐเป็นผู้กำหนดกรอบการสนทนา ในโบลิเวีย รัฐกำลังเสนอบางสิ่งบางอย่างที่อาจดีต่อประชาชน และเชื้อเชิญให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ถ้าเป็นคุณจะไปเข้าร่วมไหม? และต่อให้คุณมีส่วนร่วมด้วยวิถีทางแนวระนาบมากที่สุด คือในฐานะชุมชนหรือหมู่คณะ แต่การเสวนาทั้งหมดก็ถูกรัฐตีกรอบมาแล้ว รัฐกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสนทนา กระบวนการจะเป็นไปในแนวระนาบอย่างแท้จริงได้อย่างไร หากวาระของการสนทนาถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว?

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนปกครองตนเองที่ตั้งอยู่นอกเมืองโคชาบัมบา ในโบลิเวีย ซึ่งตอนนี้มีอยู่หลายชุมชน ชุมชนเหล่านี้อาจกำลังพูดคุยกันถึงความสัมพันธ์แบบเครือข่ายที่มีต่อกัน และการแลกเปลี่ยนในรูปแบบทางเลือกต่างๆ แล้วทีนี้รัฐบาลของเอโวก็เสนอจะโอนทรัพยากรในชุมชนนั้นให้เป็นของชาติ เราจะจัดตั้งแบบปกครองตนเองและโต้ตอบกับรัฐไปพร้อมๆ กันได้อย่างไร? ทำพร้อมๆ กันได้หรือไม่? ชุมชนปกครองตนเองจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เส้นทางของตนถูกกลืนไปในสิ่งที่ดูเหมือนความปรารถนาดีของรัฐ? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีความสัมพันธ์กับรัฐโดยยังรักษาความอิสระเอาไว้? และประการสุดท้าย หากการตัดสินใจคือจัดตั้งแบบปกครองตนเองต่อไป และไม่ยอมให้วาระของรัฐเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการหรือชุมชน ชุมชนนั้นจะอธิบายต่อสังคมส่วนอื่นๆ อย่างไร ในเมื่อสังคมส่วนอื่นมองว่ารัฐมีความตั้งใจดี แต่ทำไมถึงเพิกเฉยต่อวาระของรัฐ?

ฮอลโลเวย์: ในการสัมภาษณ์นี้ คุณเป็นผู้กำหนดวาระด้วยคำถาม ถ้าผมไม่ชอบคำถาม (จริงๆ ผมชอบนะ ผมชอบมาก) ผมจะไม่เพิกเฉยต่อคำถามนั้น แต่จะตอบในลักษณะที่พยายามกำหนดวาระด้วยตัวผมเองบ้าง การสนทนามีลักษณะสองทางเสมอ หากคุณบอกผมว่า คุณจะโอนก๊าซธรรมชาติมาเป็นของชาติเพื่อผลประโยชน์ของเรา ผมก็จะบอกว่า "เยี่ยม แต่ในเมื่อเป็นผลประโยชน์ของเรา ถ้าอย่างนั้นก็ให้เราเป็นคนบริหารสิ" ประเด็นอยู่ที่รูปแบบ ไม่ใช่เนื้อหา จริงไหม อยู่ที่การเมืองของ อย่างไร มากกว่า อะไร นี่ต้องเป็นสิ่งที่เราผลักดันตลอดเวลา ปัญหาสำคัญของเอโวกับชาเวซไม่ใช่พวกเขาทำอะไร แต่อยู่ที่ทำอย่างไรต่างหาก ซึ่งเกี่ยวกับรูปแบบของการจัดตั้งและจัดการ

กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อรัฐไม่ใช่แค่ต่อต้านและไม่ใช่แค่ข้ามพ้น แต่ต้องต้อต้านและข้ามพ้น (against-and-beyond) ความเป็นอิสระเพียงอย่างเดียวที่เรามีได้คือความเป็นอิสระที่จะเคลื่อนไหวในแบบต่อต้านและข้ามพ้น โดยเน้นไปที่การข้ามพ้นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ นั่นคือ เดินหน้าโครงการของเราต่อไป แต่เข้าใจด้วยว่า โครงการนั้นคือการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านและข้ามพ้น การหลั่งไหลไปทางเดียวไม่มีอยู่จริงหรอก มีแต่ความเคลื่อนไหวของรอยแตกร้าวมากมายที่ขัดแย้งกันเองเท่านั้น

สิตริน: คุณเห็นรอยแตกร้าวนั้นที่ไหนบ้าง? รอยแตกร้าวที่เป็นทั้งการสร้างสรรค์ด้วยใช่ไหม? นั่นคือการต่อต้านและข้ามพ้น?

ฮอลโลเวย์: ทุกหนแห่ง ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของการลืมตาและมองโลกในแง่ของการขัดขืนต่ออำนาจ ไม่ใช่ในแง่ของการครอบงำ ผมมองว่าการต่อต้านและข้ามพ้นก็คือการปฏิเสธและสร้างสรรค์นั่นเอง "ไม่ เราจะไม่ทำตามที่ทุนบังคับให้เราทำ เราจะทำตามที่เราเห็นว่าจำเป็นและเห็นควร" นี่คือสิ่งที่ชาวซาปาติสตากำลังบอกว่า "iYa Basta! (พอกันที) พอกันทีกับการถูกกดขี่ เราจะเดินหน้าตามโครงการของเรา สร้าง Juntas de Buen Gobierno (รัฐบาลที่ดี) ของเราเอง สร้างระบบสาธารณสุขและการศึกษาของเราเอง และเราจะสะท้อนตัวเราและส่งเสียงออกไปข้างนอก เราจะไม่ยอมเป็นเขตปกครองตนเองที่ปิดประตูต่อคนนอก แต่เราจะเป็นรอยแตกร้าวในระบบของการครอบงำ รอยแตกร้าวที่ขยายออกไปเรื่อย ๆ"

แต่แน่นอน ยังมีตัวอย่างอื่นๆ อีกมากมายมหาศาล บางครั้งก็เป็นเพราะไม่มีกลไกรัฐที่นั่น ประชาชนจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากช่วยเหลือตัวเอง เช่น กรณีของเมืองเอลอัลโตในโบลิเวีย จารีตของการปกครองตนเองอันลึกซึ้งคือบ่อเกิดสำคัญที่ทำให้ขบวนการต่อต้านขัดขืนเข้มแข็งในระยะหลัง เช่นกัน นี่ไม่ใช่แค่เขตปกครองตนเอง แต่เป็นรอยร้าวในระบบครอบงำ บางครั้งมันก็เกิดขึ้นในขอบเขตเล็กๆ เช่น กลุ่มคนที่มารวมกันและตัดสินใจว่า พวกเขาจะอุทิศชีวิตให้สิ่งที่ตนเองเห็นว่าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูกหรือสร้างร้านกาแฟทางเลือกสักแห่ง ในรัฐปูเอบลา (รัฐหนึ่งทางตอนกลางของเม็กซิโก) เรามีร้านกาแฟของซาปาติสตาที่น่าทึ่งมาก นั่นคือร้าน Espiral 7 ซึ่งกลายเป็นจุดศูนย์รวมของขบวนการต่อต้านและข้ามพ้นทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่มันเกิดขึ้นเงียบๆ กลุ่มคนหรือกลุ่มเพื่อนที่ตัดสินใจว่า พวกเขาจะไม่ดำเนินชีวิตตามเสียงเรียกร้องของเงินตรา แต่พวกเขาจะกำหนดวาระของตนเอง

บางทีปัญหาทั้งหมดน่าจะอยู่ที่การกำหนดวาระของเราเอง แก่นแท้ของระบบทุนนิยมก็คือ มันเป็นระบบที่คอยบัญชาว่าเราต้องทำอะไร การขบถก็คือการบอกว่า "ไม่ เราจะกำหนดสิ่งที่เราจะทำเอง เราจะกำหนดวาระของเราเอง" กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ภายในการต่อต้านและข้ามพ้น เราต้องการให้การข้ามพ้นเป็นตัวกำหนดทิศทาง และจังหวะก้าวของการต่อต้านให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้. แน่นอน นี่เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากในทางปฏิบัติ แต่ปัญหาใหญ่หลวงของฝ่ายซ้ายก็คือ เราปล่อยให้ทุนเป็นผู้กำหนดวาระเกือบตลอดเวลา แล้วเราค่อยไล่ประท้วงตามหลัง

ยกตัวอย่างเช่น ใน Otra Campa?a (การรณรงค์ทางเลือกอื่น ซึ่งเป็นการรณรงค์ครั้งล่าสุดของซาปาติสตา) การใช้ความรุนแรงปราบปรามในเมืองอะเตนโก หมายความว่า รัฐบาลสามารถกลับมาควบคุมวาระได้อีกครั้ง เมื่อรองผู้บัญชาการมาร์กอสต้องตัดสินใจหยุดพักการเดินทางรณรงค์ทั่วประเทศ แน่นอน การต่อต้านการกดขี่เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งยวดเสมอ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน ที่เราต้องไม่สูญเสียการควบคุมจังหวะการต่อสู้ของเราเอง นี่เป็นสิ่งที่ชาวซาปาติสตาทำได้ดีมาตลอดโดยรวม และเป็นจุดเน้นเสมอมาของขบวนการ MTD Solano ซึ่งเป็นกลุ่มปีเกเตโรส์ที่น่าประทับใจที่สุดกลุ่มหนึ่งในอาร์เจนตินา

เมื่อใดที่เราเริ่มเพ่งความสนใจไปที่การต่อต้านและข้ามพ้นแบบนี้ เพ่งดูรอยแตกร้าวทั้งหลายในระบบครอบงำ เมื่อนั้นจินตภาพที่เรามีต่อโลกจะเริ่มเปลี่ยนไป เราจะเริ่มมองโลกว่าไม่ใช่ (หรือไม่ใช่แค่) โลกของการครอบงำ แต่เป็นโลกที่เต็มไปด้วยการปฏิเสธและการสร้างสรรค์ เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีหลากหลายรูปแบบ

สิตริน: นักวิชาการหลายคน โดยเฉพาะที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ มักเขียนวิพากษ์วิจารณ์ขบวนการแนวระนาบในละตินอเมริกา พวกเขาอ้างว่า ขบวนการเหล่านี้ล้มเหลวเนื่องจากไม่เข้าใจเรื่องชนชั้นและอำนาจ (เพราะไม่ต้องการทำความเข้าใจ) ตอนนี้นักวิชาการพวกนี้ เช่น เจมส์ เพทราส หรือ ทาริก อาลี (5) กำลังเขียนถึงชัยชนะของฝ่ายซ้าย โดยไม่ไยดีต่อสิ่งที่คนจำนวนมากในขบวนการปรารถนาหรือกำลังสร้างขึ้น ฉันเห็นว่านี่เป็นการมองด้านเดียว คับแคบ และขาดความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ ฉุดเราย้อนกลับไปสู่กรอบความคิดเดิมๆ สมัยยุคทศวรรษ 1960-90 แต่งานเขียนพวกนี้แหละที่คนส่วนใหญ่มักหามาอ่าน เมื่อต้องการรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในละตินอเมริกา คุณคิดว่าเรื่องนี้สร้างความเสียหายต่อขบวนการทั้งหลายบ้างไหม?

ฮอลโลเวย์: ถูกต้อง โดยทั่วไปผมถือว่าการเป็นสหายร่วมอุดมการณ์เป็นแนวคิดที่เปิดกว้าง เราควรถือว่าทุกคนที่พูดว่า "ไม่" ต่อระบบทุนนิยมล้วนเป็นสหาย (อย่างน้อยก็เป็นสหายที่มีจุดยืนร่วมกันในสิ่งที่ "ไม่" แม้จะไม่ใช่สหายในจุดยืนของสิ่งที่ "ใช่" ก็ตาม) แต่บางครั้งก็ยากที่จะรักษาความเป็นสหายเอาไว้ ผมเห็นพ้องว่ามีการหลับหูหลับตาต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น พยายามยัดเยียดการต่อสู้ในปัจจุบันให้อยู่ในกรอบความคิดที่สร้างขึ้นตั้งแต่วัยหนุ่มของนักวิชาการเหล่านี้ ราวกับพวกเขากำลังใส่เครื่องบังตาที่ทำให้มองอะไรไม่เห็น สำหรับพวกเขา ชัยชนะของฝ่ายซ้ายคือชาเวซกับเอโว บางครั้งก็นับรวมเคียร์ชเนอร์กับลูลาด้วยซ้ำ พวกเขามองไม่เห็นว่า ความสำเร็จในการเลือกตั้งเหล่านี้ อย่างดีที่สุดก็เป็นแค่องค์ประกอบที่ขัดแย้งมากๆ ในคลื่นการต่อสู้ที่แท้จริงของละตินอเมริกา ผมไม่แน่ใจว่างานเขียนเหล่านี้มีผลกระทบต่อขบวนการเองมากนัก แต่มันแพร่ความมืดบอดนี้ให้แก่นักอ่านนอกละตินอเมริกามากเป็นพิเศษ แน่นอน สิ่งที่เราต้องมีก็คือหนังสืออย่าง "Horizontalism"(**) ของคุณให้มากขึ้น หนังสือที่เปิดให้คนอื่นๆ ได้ยินสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริง ๆ สิ่งที่ประชาชนกำลังทำและพูดจริง ๆ
(**) Horizontalism : Voices of Popular Power in Argentina. Marina Sitrin (Editor)
December 19th and 20th, 2001, marked the beginning a popular rebellion in Argentina. After IMF policies led to economic meltdown and massive capital flight, millions of Argentinians poured into the streets to protest the freezing of their bank accounts, the devaluing of their currency, and the bankruptcy of their state. This rebellion-of workers and the unemployed, of the middle class and the recently declassed-erupted without leadership or hierarchy. Political parties and newly emerged elites had no role in the movement that toppled five consecutive national governments in just two weeks. People created hundreds of neighborhood assemblies involving tens of thousands of active participants. The dozens of occupied factories that existed at the start of the rebellion grew to hundreds, taken over and run directly by workers.

The social movements that exploded in Argentina that December not only transformed the fabric of Argentine society but also highlighted the possibility of a genuinely democratic alternative to global capital. Horizontalism: Voices of Popular Power in Argentina is the story of those movements, as told by the men and women who are building them. (ผู้สนใจอ่านเพิ่มเติม คลิก http://www.akpress.org/2006/items/horizontalism)


สิตริน: หลายคนที่กำลังอ่านบทสนทนานี้คงได้แรงบันดาลใจจากขบวนการที่กำลังเติบโตขึ้นทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะในละตินอเมริกา และน่าจะเริ่มคิดหรือคิดแล้วว่า โอเค แล้วทีนี้ฉันจะเคลื่อนไหวต่อต้านและข้ามพ้นรัฐอย่างไรดี? นั่นหมายถึงอะไรและควรเป็นอย่างไร? ฉันควรออกไปอยู่กับขบวนการปกครองตนเองหรือไม่? คุณจะพูดอะไรบ้างกับคนที่ตั้งคำถามแบบนี้?

ฮอลโลเวย์: ไม่มีสูตรสำเร็จหรอก จริงไหม? ผมพบผู้คนมากมายที่เคยใช้เวลาอยู่ในชุมชนซาปาติสตา ผมประทับใจในตัวพวกเขาและสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เสมอ แต่ผมคิดว่า หัวใจสำคัญน่าจะเป็นหลักการของซาปาติสตาที่ว่า จงเริ่มต้นจากจุดที่เราเป็น จงต่อสู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในที่ที่เราอยู่ ไม่ใช่เพียงแค่สร้างขบวนการ (แม้ว่านั่นอาจเป็นสิ่งสำคัญ) แต่จงพยายามกำหนดวาระของเราเองในทุกสิ่งที่เราทำ ถ้าพูดแบบมาร์กซิสต์ก็คือ จงต่อสู้เพื่อคุณค่าของการใช้สอยและต่อต้านมูลค่า ต่อสู้เพื่อการสร้างสรรค์หรือการกระทำที่มีประโยชน์และต่อต้านแรงงานนามธรรม (abstract labour) (6)

และสิ่งที่สำคัญมากคือการมองไปรอบตัวและรับรู้ เรียนรู้ที่จะมองทะลุตลอดจนเห็นประชาชนที่กำลังต่อต้านและข้ามพ้นทุน ประชาชนที่กำลังต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีในชีวิตประจำวัน ความคิดที่อันตรายร้ายแรงที่สุดของฝ่ายซ้ายก็คือ ความคิดว่าเราพิเศษ เราแตกต่าง เราเปล่าเลย ทุกคนขบถไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ปัญหาคือการมองเห็นการขบถนั้นและค้นหาหนทางเข้าไปสัมผัสมัน ชาวซาปาติสตาท้าทายอย่างลึกซึ้งเมื่อพวกเขากล่าวว่า "พวกเราคือสามัญชน ดังนั้น พวกเราจึงเป็นขบถ" สิ่งที่อาจสำคัญที่สุดก็คือ การเข้าใจธรรมชาติของการปฏิวัติในชีวิตประจำวัน

บางทีคำตอบในเชิงปฏิบัติมากกว่านี้ก็คือ มีหนังสือยอดเยี่ยมเล่มหนึ่งของกลุ่ม Trapese Collective กำลังจะออกมาชื่อ Do It Yourself (สำนักพิมพ์ Pluto Press ลอนดอน เร็วๆนี้) ซึ่งมีคำแนะแนวทางเชิงปฏิบัติมากๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถทำได้ เช่น การริเริ่มสวนครัวชุมชน การจัดตั้งศูนย์สังคม การจัดตั้งโดยปราศจากผู้นำ การดูแลสุขภาพ และการศึกษาด้วยตัวเราเอง ฯลฯ

สิตริน: อะไรคือชั่วขณะที่ให้แรงบันดาลใจมากที่สุดที่คุณได้เห็นหรือรู้สึกเมื่อปีที่แล้ว? และทำไมมันถึงให้แรงบันดาลใจแก่คุณ?

ฮอลโลเวย์: มีสองคำตอบด้วยกัน

คำตอบแรก ไม่ใช่ชั่วขณะ แต่เป็นหลาย ๆ ชั่วขณะรวมกัน มันเกิดขึ้นเมื่อผมได้รับเชิญให้ไปร่วมประชุมกับกลุ่มปกครองตนเองในเวเนซุเอลา อาร์เจนตินา โบลิเวีย กัวเตมาลา ที่นี่ในเม็กซิโก ประสบการณ์ทั้งหมดมันท่วมท้นจริงๆ การได้พบปะประชาชนที่อยู่ในการต่อสู้ ได้เห็นความทุ่มเทและความกระตือรือร้นของพวกเขา รวมทั้งความสัมพันธ์ทางสังคมที่แตกต่างออกไปกลายเป็นความจริงขึ้นมาแล้วสำหรับคนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะได้เห็นคนหนุ่มสาวกับความเข้าใจและความสามารถที่พวกเขามีอย่างลึกซึ้ง เช่น ในกัวเตมาลา ผมเจอวัยรุ่นอายุ 14 ปีคนหนึ่งจากชนบท ที่กำลังทำรายการประจำทางวิทยุเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรี เป็นต้น ความเป็นจริงกำลังวิ่งนำไปข้างหน้า จนการคิดเชิงทฤษฎีของเราไล่กวดตามไม่ทัน

คำตอบที่สอง คือเมื่อสองสามวันมานี้เอง มีการแสดงดนตรีสั้นๆ จากรัฐเวราครูซ ที่ผมบังเอิญได้เข้าไปฟัง นักดนตรีเล่นได้วิเศษมาก ฉับพลันนั้นเอง ผมรู้สึกขึ้นมาว่า นี่แหละคือเนื้อแท้ของลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่เพราะเข้าฟังฟรี (จริงๆ แล้วก็ฟรี) ไม่ใช่เพราะเนื้อหาทางการเมืองของดนตรี (จริงๆ แล้วไม่มีเลย) แต่เพียงเพราะมันเป็นชั่วขณะหนึ่งที่เวลาหยุดชะงัก ชั่วขณะที่การสร้างสรรค์หรือการกระทำที่มีประโยชน์ครองความสำคัญสูงสุดเหนือกว่าแรงงานนามธรรม คุณค่าการใช้สอยเหนือกว่ามูลค่า ความเบิกบานเหนือภาระหน้าที่ บางทีเราคงต้องนึกถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ (หรือจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม) ในแง่ของกาละมากกว่า (หรือไม่ใช่แค่) ในแง่ของเทศะ เราต้องนึกถึงมันในแง่ของการสร้างสรรค์และการหยุดชะงักเวลา การขยายและทบทวีชั่วขณะแห่งอิสรภาพ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับผู้เขียน :

- จอห์น ฮอลโลเวย์ คือผู้เขียนหนังสือ Change the World Without Taking Power (Pluto Press, 2002) และร่วมเขียนหนังสือ Zapatista! Rethinking Revolution in Mexico (Pluto Press, 1998)

- มารีนา สิตริน เป็นบรรณาธิการของหนังสือ Horizontalism: Voices of Popular Power in Argentina (AK Press, 2006), (ฉบับภาษาสเปน, Chilavert, Argentina, 2005) และที่กำลังจะออกอีกเล่มคือ Insurgent Democracies: Latin America's New Powers (Citylights Press, 2007)

เชิงอรรถ :

(1) Prefigurative politics เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า การสร้าง "สังคมในอนาคต" ขึ้นอยู่กับวิธีปฏิบัติของเราในปัจจุบัน ไม่ว่าในการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์กับผู้อื่น การจัดตั้งองค์กร ฯลฯ แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเฟมินิสต์(แนวคิดสตรีนิยม)ด้วยคำขวัญที่ว่า "การเมืองคือเรื่องส่วนตัว" นักเคลื่อนไหวทางสังคมที่รับแนวคิดนี้ยืนยันว่า รูปแบบการทำงานทางการเมืองไปจนถึงการใช้ชีวิตจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย เช่น ต้องพยายามใช้ชีวิตอย่างไม่ทำลายธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีจริยธรรม มีการจัดตั้งที่ไม่มีโครงสร้างลำดับชั้น และแสวงหาความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยวิธีการที่ใช้ความรุนแรงน้อยที่สุด และมีความสุขมากที่สุด เป็นต้น "การเมืองที่ใฝ่ฝันถึงอนาคต" นี้ แตกต่างจากการเล่นการเมืองแบบ "ยุทธศาสตร์" องค์กรของนักกิจกรรมตามแนวทางนี้มักไม่มีโครงสร้างตายตัว ไม่รวมศูนย์ ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและต่อต้านระบบแบบราชการ

(2) Johannes Agnoli (1925-2003) มาร์กซิสต์ที่สำคัญคนหนึ่งของเยอรมนี แนวคิดของเขามีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับรัฐและการเมือง ความเชื่อมโยงระหว่างการโค่นล้มทำลายระบอบเดิมกับยูโทเปีย การวิจารณ์พรรคการเมืองฝ่ายซ้าย และความจำเป็นของการปฏิวัติในยุคสมัยที่ไม่มีการปฏิวัติ

(3) APPO หรือสมัชชาประชาชนแห่งอัวฮากา คือขบวนการสังคมในรัฐอัวฮากาที่ประท้วงยืดเยื้อและยึดเมืองหลวงของรัฐไว้ได้ระยะหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว

Coordinadora del Agua y por la Vida ในโบลิเวีย หรือองค์กรประสานงานเพื่อน้ำและชีวิต เป็นองค์กรที่เริ่มต้นขึ้นในเมืองโคชาบัมบาและมีบทบาทใน "สงครามน้ำ" ที่นำไปสู่การยกเลิกการแปรรูปน้ำประปาของเมืองนี้ องค์กรของโคชาบัมบาขยายประเด็นเรื่องน้ำออกไปสู่ประเด็นก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "องค์กรประสานงานเพื่อน้ำและชีวิต"

ขบวนการแรงงานไร้งานหรือที่เรียกกันว่า piqueteros เป็นขบวนการของคนว่างงานที่ใช้วิธีปิดถนนและประท้วงเพื่อให้รัฐหันมาเหลียวแล ขบวนการปีเกเตโรส์ พัฒนาขึ้นมาเป็นขบวนการสังคมที่สำคัญขบวนการหนึ่งในอาร์เจนตินา

(4) ในช่วงรัฐบาลเผด็จการทหารยุคทศวรรษ 1960-70 ในอาร์เจนตินา มีประชาชนกว่าสามหมื่นคนถูก "อุ้ม" หายไป คนที่หายไปนั้นมีส่วนหนึ่งเป็นเยาวชนนักศึกษา แม่ของคนเหล่านี้รวมตัวกันเป็นกลุ่ม Madre de Plaza de Mayo เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐบาล ส่วนกลุ่ม HIJOS ซึ่งย่อมาจาก Hijos por la Identidad y la Justicia contra el Olvido y el Silencio (Sons and Daughters for Identity and Justice Against Forgetting and Silence) เป็นการรวมตัวกันของลูกหลานของคนที่ถูกทำให้สาบสูญไปในช่วงนั้น

(5) James Petras ศาสตราจารย์กิตติคุณในภาคสังคมวิทยาของมหาวิทยาลัยบิงแฮมตัน รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (ปัจจุบันเกษียณแล้ว) นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาของขบวนการแรงงานไร้ที่ดินและไร้งานทำในบราซิลและอาร์เจนตินา Tariq Ali บรรณาธิการวารสาร New Left Review

(6) แรงงานรูปธรรมและนามธรรมเป็นแนวคิดที่มาร์กซ์ใช้วิจารณ์ระบบเศรษฐกิจการเมืองในบทที่ 1 ของ Das Kapital. "แรงงานนามธรรม" เกิดมาจากการคิดถึงการทำงานของมนุษย์ในเชิงนามธรรม และมองแรงงานแยกขาดจากตัวผู้ทำงานที่เป็นผู้ใช้แรงงานนั้น ด้วยพื้นฐานการคิดถึงแรงงานในเชิงนามธรรมนี้เอง ทำให้เราสามารถคิดถึง ปริมาณ แรงงานได้ กล่าวคือ การวัดแรงงานเป็นชั่วโมงนั่นเอง ดังนั้น ในเชิงเศรษฐศาสตร์ คนงานจึงไม่มีอยู่อีกต่อไป มีแต่ "แรงงาน" ที่เป็นปัจจัยการผลิตนามธรรม

ความสำเร็จของการสร้างแรงงานนามธรรมขึ้นมาในความคิด และสามารถวัดมันในเชิงปริมาณ มีความสัมพันธ์อย่างมากกับพัฒนาการของการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและความเป็นสินค้า (commodity) รวมไปจนถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ใช้เงินในการแลกเปลี่ยน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก : (เพิ่มเติมจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย)

John Holloway (sociologist)

John Holloway (born 1947) is a lawyer, Marxist-oriented sociologist and philosopher, whose work is closely associated with the Zapatista movement in Mexico, his home since 1991. It has also been taken up by some intellectuals associated with the piqueteros in Argentina; Abahlali baseMjondolo movement in South Africa and the Anti-Globalization Movement in Europe and North America.

He was born in Dublin, Ireland, and has a Ph.D in Political Science from the University of Edinburgh. He is currently a teacher at the Institute for Humanities and Social Sciences at the Autonomous University of Puebla.

His 2002 book, Change the World Without Taking Power, has been the subject of much debate in Marxist circles, and contends that the possibility of revolution resides not in the seizure of state apparatuses, but in day-to-day acts of abject refusal of capitalist society - so-called anti-power, or 'the scream' as he puts it repeatedly. He is considered by supporters and critics to be broadly Autonomist in outlook, and his work is often compared and contrasted with that of figures such as Antonio Negri.
He is first cousin to Canadian political activist Kate Holloway and Canadian entertainer Maureen Holloway.

Holloway's thesis has bee criticized by thinkers like Tariq Ali and Slavoj Zizek.

Books in English

- State and Capital: A Marxist Debate (1978), ISBN 0-7131-5987-1, ed. with Sol Piccioto
- Social Policy Harmonisation in the European Community (1981), ISBN 0-566-00196-9

- Post-Fordism and Social Form: A Marxist Debate on the Post-Fordist State (1991),
ISBN 0-333-54393-9, ed. with Werner Bonefeld

- Global Capital, National State, and the Politics of Money (1995),
ISBN 0-312-12466-X, ed. with Werner Bonefeld

- Zapatista!: Reinventing Revolution in Mexico (1998), ISBN 0-7453-1178-4, ed. with Elo?na Pel?ez
- Change the World Without Taking Power (2002), ISBN 0-7453-1864-9

 

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
13 December 2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
บางทีปัญหาทั้งหมดน่าจะอยู่ที่การกำหนดวาระของเราเอง แก่นแท้ของระบบทุนนิยมก็คือ มันเป็นระบบที่คอยบัญชาว่าเราต้องทำอะไร การขบถก็คือการบอกว่า "ไม่ เราจะกำหนดสิ่งที่เราจะทำเอง เราจะกำหนดวาระของเราเอง" กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ภายในการต่อต้านและข้ามพ้น เราต้องการให้การข้ามพ้นเป็นตัวกำหนดทิศทาง และจังหวะก้าวของการต่อต้านให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้. แน่นอน นี่เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากในทางปฏิบัติ แต่ปัญหาใหญ่หลวงของฝ่ายซ้ายก็คือ เราปล่อยให้ทุนเป็นผู้กำหนดวาระเกือบตลอดเวลา แล้วเราค่อยไล่ประท้วงตามหลัง (จอห์น ฮอลโลเวย์)
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream