โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 15 March 2007
Copyleft2007
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๑๘๘ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (March, 15,03.2007)
R

กรรมกรทั่วโลกจงรวมตัวกัน เพื่อฮั้วขึ้นค่าแรงระดับโลก
เศรษฐศาสตร์เข้าใจยาก: ข้อเสนอขึ้นค่าแรงและความไม่เสรีจริงของตลาด
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและสรุปความ
นักวิชาการและนักแปลอิสระ

บทความแปลและสรุปความชิ้นนี้ เคยเผยแพร่แล้วบนเว็บไซต์วิทยาลัยวันศุกร์
และประชาไทออนไลน์ จากเดิมชื่อ "กรรมกรทั่วโลกจงรวมตัวกัน…เพื่อฮั้วขึ้นค่าแรงระดับโลก"
ซึ่งแปลมาจากงานของ Henry C. K. Liu, เรื่อง

'The Organization of Labour-intensive Exporting Countries: A Proposal
Part 1. ว่าด้วยเรื่อง
The need for a labor cartel จาก Asia Times Online, Feb.-Mar., 2006.
เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเสนอให้กรรมกรและแรงงานสามัคคีกันขึ้นค่าแรง เพราะค่าแรงมีความจำเป็นในระบบทุนนิยม
แต่ได้ถูกตักตวงผลประโยชน์จากนายทุนมาเป็นเวลานาน
ในบทความชิ้นนี้ได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่าง ความร่วมมือกันเรียกร้องขึ้นค่าแรง
กับความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน หรือโอเปก ในการกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลก
(OPEC - Organization of the Petroleum Exporting Countries)


ผู้ที่สนใจอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ คลิกไปอ่านได้จากที่นี่
(midnightuniv(at)gmail.com)

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๘๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

เศรษฐศาสตร์เข้าใจยาก: ข้อเสนอขึ้นค่าแรงและความไม่เสรีจริงของตลาด
กรรมกรทั่วโลกจงรวมตัวกัน…เพื่อฮั้วขึ้นค่าแรงระดับโลก
ข้อเสนอ OLEC ของ เฮนรี ซี. เค. ลิว
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและสรุปความจาก

แนะนำผู้เขียน
Henry C K Liu is chairman of a New York-based private investment group. His website is at http://www.henryckliu.com.

สำหรับบทความแปลแบบสรุปความชิ้นนี้ นำมาจากบทความขนาดยาวเรื่อง 'The Organization of Labour-intensive Exporting Countries: A Proposal เขียนโดย Henry C. K. Liu, ภาคที่ ๑ ว่าด้วยเรื่อง The need for a labor cartel ซึ่งเผยแพร่บน Asia Times Online, เดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ๒๕๕๐. เนื่องจากบทความนี้ฉบับสมบูรณ์ได้แบ่งออกเป็น ๔ ภาคด้วยกัน จึงได้นำเอาบทคัดย่อมานำเสนอ เพื่อนักศึกษาและสมาชิกจะได้เห็นภาพรวมของเรื่องดังกล่าว ดังนี้...

PART 1
The need for a labor cartel
There are many examples debunking free-market propaganda that wages and prices must simply be a consequence of supply and demand. Cartels such as OPEC not only set their own rules, they have wide-ranging effects on the economy at large. A similar world cartel for labor would halt the globalization-inspired race to the bottom for wages, which if unchecked will ruin not only lives but the world economy. (Feb 24, '06)
อ่านต้นฉบับสมบูรณ์บทความที่แปลสรุปความนี้ได้ที่
http://www.atimes.com/atimes/Global_Economy/HB25Dj01.html

บทความต่อเนื่องของผู้เขียนคนเดียวกัน
PART 2
Rising wages to right historic wrongs
In the 18th century, the steam engine and other labor-saving devices triggered the Industrial Revolution, and the face of economics changed forever. Yet workers in many cases were even worse off than they had been in bygone eras, a situation perpetuated by economic theorists who consistently failed to value labor in the same way as other goods. (Mar 6, '06)
http://www.atimes.com/atimes/others/olec.html)

PART 3
Failed theories on the value of labor
Classical economists were aware of the existence of widespread systemic unemployment, which was later called structural unemployment by monetarists, and that markets could and regularly did fail if unregulated. But it was not - and still is not - economists who paid the price for their incomplete analysis, but the jobless. (Mar 7, '06)
http://www.atimes.com/atimes/Global_Economy/HC08Dj01.html

PART 4
Toward living wages in the modern era
The idea of a global labor cartel is based on the needs of a modern economy for managing consumer demand to overcome structural overcapacity, which globalization has made a worldwide problem. The rules of economic democracy mandate that capital in a modern economy is formed from the savings of labor, which in turn depends on rising wages. (Mar 8, '06)
http://www.atimes.com/atimes/Global_Economy/HC09Dj01.html

ต้นฉบับนี้มีลิขสิทธิ์ ตามข้อความข้างล่างนี้ จึงไม่สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาประกอบได้
นักศึกษาและสมาชิกที่สนใจ กรุณาคลิกไปอ่านต้นฉบับด้วยตัวเอง ดัง URL ที่ได้ให้ไว้แล้วในแต่ละภาค
Copyright 2006 Asia Times Online Ltd. All rights reserved. Please contact us for information on sales, syndication and republishing .

หมายเหตุ: งานชิ้นนี้เป็นหนึ่งในชุด "การแสวงหาทางเลือกใหม่ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า" ซึ่งผู้แปลต้องการนำเสนอต่อผู้ที่สนใจ จากสามชิ้นแรกที่เคยนำเสนอไปแล้วคือ

-"การเข้าถึงตลาด" คือคำตอบต่อปัญหาความยากจน?"
http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2545/document95138.html

-"คิดนอกกรอบ: ว่าด้วยการค้า, การพัฒนาและการลดปัญหาความยากจน"
http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2545/document95159.html

-กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา: ความเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้อุปสงค์ภายในประเทศเป็นหัวจักร (สำหรับเรื่องนี้ยังไม่ได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน กรุณาคลิกไปอ่านที่ประชาไทออนไลน์
http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=3793&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เศรษฐศาสตร์เข้าใจยาก: ข้อเสนอขึ้นค่าแรงและความไม่เสรีจริงของตลาด
ความจำเป็นต้องมีการรวมตัวกันขึ้นค่าแรงระดับโลก
ไม่ว่านักลัทธิการค้าเสรี-เสรีนิยมใหม่จะโฆษณาชวนเชื่อว่าอย่างไรก็ตาม แต่ระบบเศรษฐกิจโลกทุกวันนี้ไม่ได้ดำเนินไปบนพื้นฐานของตลาดเสรีเลยแม้แต่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เอง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจโลกมีความสมดุล ประเทศที่มีแรงงานเป็น 'สินค้าหลัก' จึงควรรวมตัวกัน (cartel) เพื่อทำให้ค่าแรงทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น

มีข้อเท็จจริง 3 ประการที่ทำให้ตลาดโลกไม่ใช่ตลาดเสรี

ประการแรก คือ การค้าในโลกทุกวันนี้ดำเนินไปภายใต้โครงสร้างสถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บน 'การครองความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์' (dollar hegemony) (1) กล่าวคือระบบพิลึกพิสดารที่ทำให้เงินดอลลาร์เป็นเงินกระดาษ (fiat paper) ที่ไม่ได้มีมูลค่าอ้างอิงกับระบบเศรษฐกิจที่แท้จริงเลย และประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถพิมพ์เงินกระดาษนี้ออกมาแค่ไหนก็ได้ตามอำเภอใจ ระบบเศรษฐกิจโลกทุกวันนี้จึงเป็นเสมือนเกมเล่นขายของ ทั่วโลกต่างตั้งหน้าตั้งตาส่งออกความมั่งคั่งที่แท้จริงไปสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกกับกระดาษที่มีค่าขึ้นมาเพราะการสมมติให้มันครองความเป็นใหญ่เท่านั้นเอง

สินค้าวัตถุดิบที่เป็นหัวใจสำคัญของโลก โดยเฉพาะน้ำมัน กำหนดราคาซื้อขายในตลาดเป็นเงินดอลลาร์ ทั้งนี้เพราะอำนาจทางทหารของสหรัฐฯ ในภูมิศาสตร์การเมืองของโลก ประเทศส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีเงินดอลลาร์เพื่อนำเข้าน้ำมัน แต่ประเทศที่ระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพิงการส่งออก มักต้องซื้อน้ำมันมากกว่าความต้องการบริโภคของคนในประเทศจริงๆ เพียงเพื่อป้อนน้ำมันให้กับความต้องการพลังงานของภาคการผลิตเพื่อส่งออก

หลังจากหักค่าน้ำมันและสินค้านำเข้าอื่นๆ แล้ว มูลค่าส่วนเกินของการค้าที่ได้จากการส่งออกที่อยู่ในรูปของเงินดอลลาร์ ไม่ได้ถูกนำมาใช้โดยตรงในตลาดภายในประเทศซึ่งไม่ได้ใช้ดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลัก ดังนั้น การครองความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์จึงทำให้ประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกตกอยู่ในสถานะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก นั่นคือ ยิ่งได้ดอลลาร์จากมูลค่าส่วนเกินของการค้ามากเท่าไร ภายในประเทศก็ยิ่งจนลงเท่านั้น ยิ่งเมื่อบวกกับการกดค่าแรงในประเทศให้ต่ำเข้าไว้เพื่อแข่งขันในตลาดโลก มันก็อุปมาเหมือนเราบังคับให้ลูกๆ ของเราเองอดอยาก เพื่อทำให้เกิดแรงงานเด็กเสรีไว้เสิร์ฟไอศกรีมให้คนนอกบ้านกิน แค่ต้องส่งออกสินค้าดีๆ ไปแลกกับเงินกระดาษก็แย่พออยู่แล้ว มันยิ่งย่ำแย่เข้าไปใหญ่ที่ต้องกดค่าแรงในประเทศให้ต่ำเข้าไว้ เพียงเพื่อให้ได้เงินกระดาษ ซึ่งใช้ในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศตัวเองก็ไม่ได้ด้วยซ้ำ

ประการที่สอง ข้อเท็จจริงประการที่สองที่ทำให้ตลาดโลกไม่เสรีจริง เกิดมาจากแนวคิดที่บกพร่องของเศรษฐศาสตร์สำนักนีโอ-คลาสสิกเกี่ยวกับการให้ความหมายต่อ 'ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน' (labour productivity) โดยนิยามว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานคือ มูลค่าตลาดจำนวนหนึ่งที่แรงงานคนหนึ่งสามารถผลิตได้ต่อหน่วยการลงทุนหนึ่งๆ

ในแง่ของเศรษฐศาสตร์การเงิน "มูลค่าตลาด" (market value) ซึ่งแสดงออกด้วยราคา, จำเป็นต้องมีเสถียรภาพเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ. ในทางการเงิน, ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานจึงเพิ่มขึ้นได้ด้วยการลดค่าแรงต่อหน่วยการลงทุนลงเท่านั้น ดังนั้น การแข่งขันด้านราคาเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาด จึงเท่ากับเป็นการกดค่าแรงลงโดยตรง แม้ว่าค่าแรงอาจเพิ่มขึ้นบ้างเป็นครั้งคราว แต่สัดส่วนของค่าแรงต่อมูลค่าตลาดของสินค้าต้องลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานเพิ่มขึ้นในเชิงการเงิน และแปรออกมาเป็นผลกำไร. ตามคำนิยามแบบนี้ กำไรจากการค้าจึงเกิดขึ้นมาได้จากค่าแรงที่ลดลงเรื่อยๆ เท่านั้น

แต่ในระบบตลาดที่อ้างตัวว่า 'เสรี' ทุกวันนี้ แรงงานไม่มีอำนาจการกำหนดราคาต่อมูลค่าตลาดของแรงงานเอง เนื่องจากระบบทุนนิยมไม่ยอมรับว่า มีเพดานขั้นสูงสุดสำหรับกำไรที่เป็นธรรม เอาแต่เต้นระบำฉลองคำขวัญว่า 'ยิ่งมากยิ่งดี' โดยนัยนี้ ทุนนิยมจึงคัดค้านการมีพื้นฐานขั้นต่ำสุดสำหรับค่าแรงที่เป็นธรรมไปโดยปริยาย การเต้นระบำนั้นจึงเท่ากับฉลองคำขวัญว่า 'ยิ่งต่ำยิ่งดี' ไปพร้อมกันด้วย เงื่อนไขของการค้าโลกจึงตั้งอยู่บนการแสวงหาค่าแรงที่ต่ำที่สุดเพื่อกำไรที่สูงที่สุด แทนที่จะแสวงหาค่าแรงที่เป็นธรรมเพื่อกำไรที่เป็นธรรม

นี่เองคือความเชื่อมโยงระหว่าง "โลกาภิวัตน์ของระบบทุนนิยมเสรีนิยมใหม่" กับ "การแสวงหากำไรจากส่วนต่างของค่าแรงในตลาดแรงงานทั่วโลก". ทว่าในขณะเดียวกัน ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดโลกก็ต้องพึ่งพิงผู้บริโภค ค่าแรงที่ต่ำย่อมนำไปสู่ภาวะการผลิตล้นเกิน (overcapacity) ทั้งนี้เพราะอุปสงค์ที่เกิดจากผู้บริโภคจะมีขึ้นได้ก็ต้องอาศัยค่าแรงที่สูงพอ การแสวงหากำไรสูงสุดจนเกิดผลกระทบทางลบต่ออุปสงค์ของผู้บริโภค จึงกลายเป็นความขัดแย้งภายในของระบบเศรษฐกิจตลาดทุนนิยมที่ไร้การกำกับดูแล

ประการที่สาม ซึ่งทำให้ตลาดโลกไม่เสรีจริงก็คือ ในขณะที่โลกาภิวัตน์ทางการเงินเปิดทางสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดนทั่วโลกได้อย่างไร้ข้อจำกัด แต่รัฐบาลทุกประเทศยังไม่ยอมให้แรงงานเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนได้อย่างเสรี โดยยังใช้กฎข้อบังคับเกี่ยวกับการเข้าเมืองอย่างเข้มงวด

ผู้สนับสนุนการค้าเสรี นับตั้งแต่อดัม สมิธมาจนถึงเดวิด ริคาร์โด มักมองว่าความเหลื่อมล้ำระหว่างทุนกับแรงงานในด้านการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนเป็น 'เรื่องธรรมชาติ' โดยไม่เคยฉุกคิดเลยว่านี่เป็นความลำเอียงทางการเมืองต่างหาก การที่แรงงานไม่อาจเคลื่อนย้ายไปไหนได้ไกล อาจเป็นความเป็นจริงในศตวรรษที่ 18 แต่มันไม่ใช่ 'เรื่องธรรมชาติ' อีกแล้วในระบบเศรษฐกิจโลกยุคเครื่องบินไอพ่นของศตวรรษที่ 21

การที่แรงงานไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ทำให้แรงงานไม่มีอำนาจการกำหนดราคาในตลาดโลก ไม่สามารถไปขายแรงงานในที่ที่เป็นที่ต้องการที่สุดและค่าแรงในตลาดสูงสุด ส่วนทุนกลับไปไหนมาไหนได้อย่างเสรี สามารถไปในที่ที่มีความต้องการสูงสุดและได้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด ความเหลื่อมล้ำระหว่างทุนกับแรงงานนี่เอง คือช่องทางฉกฉวยในการทำกำไรจากส่วนต่างของค่าแรงในประเทศต่างๆ และทำให้ค่าแรงทั่วโลกถูกกดต่ำลงเรื่อยๆ

ถึงเวลาสำหรับ OLEC (Organization of Labor-intensive Exporting Countries)
ในโลกที่ดำเนินไปภายใต้กฎเกณฑ์ของระบบเศรษฐกิจการเมือง แนวคิดในการรวมตัวกันขึ้นค่าแรงระดับโลกในนามของ 'องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกแรงงาน' (Organization of Labor-intensive Exporting Countries-OLEC) สามารถช่วยปรับระดับความเหลื่อมล้ำระหว่าง "ทุน" กับ "แรงงาน" ให้สมดุลกันได้. นี่เป็นแนวคิดทางการเมืองที่จะส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลกในยุคโลกาภิวัตน์ทางการเงินที่ไร้การกำกับดูแล

ในระบบทุนนิยมการเงิน ทั้งทุนและแรงงานถูกมองเป็นแค่สินค้า สินค้าทุกอย่างย่อมสามารถเรียกราคาในตลาดได้ โดยผู้ขายใช้อำนาจในการกำหนดราคาที่เหมาะสม ด้วยการกักอุปทานของสินค้านั้นๆ จากตลาดจนกว่าจะได้ราคาที่เป็นธรรม. ในเมื่อสมาชิกของโอเปก (องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน) สามารถก่อตั้งองค์กรการความร่วมมือ (cartel) ระดับโลก เพื่อควบคุมการผลิตและขึ้นราคาน้ำมันในตลาดโลกเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก รวมทั้งอ้างว่าการทำเช่นนี้เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโลกด้วย, ในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศที่ส่งออกสินค้าที่ผลิตด้วยแรงงานจำนวนมาก (labour-intensive) ที่มีค่าแรงต่ำ ก็น่าจะรวมตัวกันตั้งองค์กรความร่วมมือแรงงานระดับโลก เพื่อควบคุมและขึ้นค่าแรงทั่วโลก ซึ่งหากมองในเชิงยุทธศาสตร์ การทำเช่นนี้จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโลกเช่นกัน

เป้าหมายของ OLEC น่าจะเป็นการประสานและผนึกนโยบายแรงงานในหมู่ประเทศสมาชิก เพื่อเรียกราคาที่เป็นธรรม เท่าเทียม และมีเสถียรภาพ ในตลาดโลกให้แก่กำลังแรงงานของตน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลตอบแทนต่อการลงทุนที่เป็นธรรมมากกว่านี้ อันจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจโลกมีความเติบโตสูงสุด

เป้าหมายสูงสุดขององค์กร น่าจะเป็นการส่งเสริมระบอบการค้าที่การทำกำไรต้องผูกอยู่กับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย. เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประสบการณ์ของ OPEC น่าจะเป็นแนวนำทางที่มีประโยชน์ การที่โอเปกกำหนดให้น้ำมันที่มีคุณภาพต่างกันสามารถเรียกราคาได้ต่างกัน โดยผูกอยู่กับบรรทัดฐานที่ตั้งไว้, OLEC เองก็น่าจะตั้งบรรทัดฐานด้านราคาสำหรับแรงงานไว้เป็นแกนกลาง โดยมีขอบเขตราคาที่ยืดหยุ่นซึ่งสะท้อนปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตรอบๆ บรรทัดฐานที่เป็นแกนกลางดังกล่าว วิธีนี้จะช่วยหยุดยั้งไม่ให้ค่าแรงในโลกตกต่ำลงไปเรื่อยๆ อย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้

กระบวนการตัดสินใจของโอเปกนั้น ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะคัดเลือกผู้ว่าการประจำประเทศของตน ผู้ว่าการเหล่านี้มาประชุมกันปีละ 2 ครั้งและคัดเลือกประธานองค์การ การตัดสินใจทุกอย่างต้องลงมติเอกฉันท์ เป้าหมายหลักคือ กำหนดราคาและการผลิตให้มีเสถียรภาพ ปรับอัตราการผลิตให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตลาด.

ในช่วงทศวรรษแรกของการก่อตั้งโอเปก กลุ่มบรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่เรียกกันว่า 'ภคินีเจ็ดนาง' (เอสโซ, บีพี, เชลล์, กัลฟ์, สแตนดาร์ดออยล์ออฟแคลิฟอร์เนีย, เท็กซาโก, และโมบิล) พยายามใช้อำนาจทางการเงินอันมหาศาลมาบีบคั้นโอเปกเพื่อกดดันราคาน้ำมันให้ต่ำเอาไว้ รวมทั้งจ่ายค่าภาคหลวงต่ำๆ แก่รัฐบาลของประเทศเจ้าของน้ำมันด้วย ทั้งนี้เพื่อเอาใจผู้บริโภคในประเทศร่ำรวย และรักษากำไรของบรรษัทให้สูงสุดต่อไป

แต่โอเปกเรียนรู้จากประสบการณ์อันผันผวนว่า ราคาน้ำมันที่ต่ำไปไม่เป็นธรรมกับค่าตอบแทนของการเป็นเจ้าของทรัพยากร ในขณะเดียวกัน ราคาที่สูงเกินไปก็ไม่ใช่ผลดีต่ออุตสาหกรรมน้ำมัน เพราะจะทำให้อุปสงค์ลดต่ำลงและเกิดภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ ส่วนราคาที่สูงอย่างเหมาะสมจะทำให้ผู้บริโภคใช้นโยบายประหยัดพลังงาน กระตุ้นให้เกิดการสำรวจหาแหล่งน้ำมันใหม่หรือแสวงหาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ อันจะช่วยยืดอายุยุคพลังงานน้ำมัน โดยที่น้ำมันยังครองความเป็นใหญ่ต่อไปได้อีกนาน ดังนั้น การร่วมมือกันด้านราคาไม่จำเป็นต้องสร้างผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจโลกเสมอไป

ค่าแรงกับราคามีความสัมพันธ์กันโดยพื้นฐาน นโยบายการตั้งราคาของบริษัทธุรกิจที่ปฏิบัติกันในโลกของความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรการความร่วมมืออย่างโอเปก ผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ หรือผู้นำตลาดในด้านยา, ซอฟท์แวร์, การสื่อสารหรือการเงิน, ล้วนมีจุดร่วมที่เหมือนกันประการหนึ่ง. นโยบายราคาในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจที่แตกต่างกันนี้ ตั้งอยู่บนสมมติฐานเดียวกันว่า ราคาแทบไม่เคยถูกกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานเลย นี่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับที่สอนไว้ในตำราเศรษฐศาสตร์นีโอ-คลาสสิก ความเป็นจริงที่เป็นพื้นฐานที่สุดก็คือ ราคาไม่ได้ถูกกำหนดด้วยอุปสงค์อุปทาน แต่กำหนดจากยุทธศาสตร์หลายอย่างที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าระยะยาวของสินทรัพย์ให้มากที่สุดและจากเงื่อนไขทางการเมือง

การกำหนดราคาของโอเปกเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด นับแต่ก่อตั้งโอเปกขึ้นมา ราคาน้ำมันก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก ตลอดประวัติศาสตร์ของน้ำมัน ราคาถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขที่ซับซ้อนมาก และมีการปรับอุปทานให้สอดคล้องกับราคาที่ตั้งไว้

ราคาไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทาน
แต่โอเปกไม่ใช่กลุ่มธุรกิจเดียวที่ทำแบบนี้ ในโลกของความเป็นจริงที่ไม่ได้อยู่ในตำราของนักเศรษฐศาสตร์ สินค้าสำคัญๆ หลายอย่างก็ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยอุปสงค์อุปทาน ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมยา ราคายาไม่ได้ตั้งตามต้นทุนหรืออุปสงค์ โมเดลราคาของยาใหม่แต่ละตัวมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างมูลค่าให้ได้มากที่สุดตลอดอายุของยาตัวนั้น ซึ่งเรื่องนี้แทบไม่เกี่ยวอะไรเลยกับอุปสงค์อุปทาน

โครงสร้างราคาระบบปฏิบัติการวินโดว์ของไมโครซอฟท์ ก็ไม่เกี่ยวกับอุปสงค์อุปทานหรือต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost-ต้นทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย) ซึ่งเกือบเท่ากับศูนย์ ค่าโทรศัพท์ก็มักไม่เกี่ยวกับอุปสงค์อุปทานหรือต้นทุนส่วนเพิ่ม แม้กระทั่งในอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นเหมือนไดโนเสาร์ที่ตกค้างมาจากระบบเศรษฐกิจยุคก่อน แม้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้นทุนสูงและผลตอบแทนต่อการลงทุนต่ำ แต่การตั้งราคาก็ยังตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ซับซ้อนกว่าแค่อุปสงค์อุปทาน ราคาสินค้าเกษตรก็เช่นกัน ราคาของสินค้าชนิดนี้บิดเบี้ยวไปเพราะการแทรกแซงทางการเมืองอย่างหนัก

ในความเป็นจริง ราคาเป็นองค์ประกอบที่ถูกแทรกแซงมากที่สุดในการค้าขาย นี่แหละคือข้อผิดพลาดขั้นพื้นฐานของนักเศรษฐศาสตร์ที่คลั่งตลาดอย่างสุดขั้ว (market fundamentalism) อาทิเช่น ฟรีดริช ฮาเยก (Friedrich Hayek) ฮาเยกเชื่อว่า ถ้าไม่มีการแทรกแซง กลไกตลาดและกลไกราคาจะสร้างระเบียบที่เป็นเครื่องนำทางมนุษย์และสินค้าไปสู่ที่ที่ทำประโยชน์ได้สูงสุด แต่แนวคิดเกี่ยวกับราคาของฮาเยกเป็นมายาคติที่อุดมไปด้วยความเพ้อฝันแบบโรแมนติก และไม่เคยมีการปฏิบัติจริงที่ไหนในโลก

ธรรมชาติของความร่วมมือ
องค์กรความร่วมมือระดับโลกสามารถทำได้หลายรูปแบบในหลายลักษณะ และสร้างผลกระทบที่หลากหลายต่อตลาดโลก ไม่ว่าสินค้านั้นจะเป็นอะไร น้ำมัน หรือเพชร ลักษณะร่วมของความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพก็คือ ข้อตกลงในหมู่สมาชิก เพื่อร่วมมือกันจำกัดปริมาณของอุปทานในตลาด จนทำให้เรียกราคาได้สูงอย่างต่อเนื่อง แทนที่จะแข่งขันกันขายจนไม่มีอำนาจกำหนดราคาในตลาด

ในทางทฤษฎี ความร่วมมือเป็นการรวมตัวกันของหลายบริษัทหรือองค์กรที่เป็นอิสระจากกัน องค์กรความร่วมมือจะทำหน้าที่ตัดสินใจเรื่องราคาและปริมาณของสินค้าในตลาดแทนสมาชิกแต่ละราย สมาชิกจะไม่แข่งขันกันเอง แต่แบ่งกำไรทั้งหมดตามแต่จะตกลงกันล่วงหน้า. ภายใต้เงื่อนไขนี้ องค์กรความร่วมมือจึงปฏิบัติตัวเหมือนนักผูกขาด แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ผูกขาดสินค้านั้นๆ ทั้งหมดที่มีในตลาด เช่น โอเปกควบคุมปริมาณน้ำมันเพียงหนึ่งในสามของโลกเท่านั้น

องค์กรความร่วมมือแรงงาน สามารถดำเนินการภายใต้กฎเกณฑ์ที่ตอบสนองต่อปัญหาที่เป็นลักษณะเฉพาะของตลาดแรงงาน รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับใครเข้ามาเป็นสมาชิกและมีการเจรจาต่อรองกันในหมู่สมาชิกอย่างไร ในขณะที่โอเปกมีซาอุดีอาระเบียเป็นสมาชิกที่เป็นตัวแปรสำคัญ. OLEC น่าจะมีจีนกับอินเดียเป็นตุ้มถ่วงที่คอยแกว่งดันราคาค่าแรงในโลกให้สูงขึ้น เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก OLEC

ความร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจโลก
ระบบเศรษฐกิจในโลกที่สาม ซึ่งมีแรงงานล้นเกินต่างตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบในการค้าโลก ทั้งนี้เพราะทุนโลกปฏิบัติตาม 'กฎราคาเดียว' (Law of One Price) ในขณะที่แรงงานโลกไม่ปฏิบัติตามกฎนี้

การครองความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์ ทำให้การลงทุนต่างชาติในภาคการส่งออกของระบบเศรษฐกิจที่ไม่ใช้เงินดอลลาร์ ต้องทำการค้าขายเป็นเงินดอลลาร์ มันจึงทำให้ภาคส่วนเศรษฐกิจที่ไม่ใช่การส่งออกในประเทศกำลังพัฒนาขาดแคลนทุนที่จะใช้ในการพัฒนา ระบบเศรษฐกิจที่ไม่ใช้เงินดอลลาร์จึงประสบปัญหาความไม่สมดุลระหว่างแรงงานล้นเกินกับการขาดแคลนทุน จนไม่สามารถบรรลุการจ้างงานเต็มอัตราและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานโดยรวมให้ดีขึ้นได้ ความไม่สมดุลนี้สะท้อนออกมาเป็นค่าแรงที่ต่ำที่ทำให้การบริโภคภายในประเทศนั้นๆ ต่ำตามไปด้วย กลายเป็นวงจรที่ย้อนไปเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศโลกที่สามตกอยู่ในวังวนของความด้อยพัฒนา ความด้อยพัฒนาในระดับท้องถิ่นที่กระจายไปทั่วโลกก็ย้อนไปเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ระบบเศรษฐกิจโลกเติบโตได้เต็มที่อีกทีหนึ่ง

สภาพการณ์เช่นนี้ไม่ได้ทำร้ายแค่ประเทศกำลังพัฒนา แต่ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าก็ได้รับผลเสียเช่นกัน เพราะความเหลื่อมล้ำของค่าแรงในประเทศต่างๆ ทำให้เกิดการจ้างงานนอกประเทศ (outsourcing) จนการจ้างงานและค่าแรงในประเทศพัฒนาแล้วเริ่มลดต่ำลงเช่นกัน ดังนั้น การทำให้ค่าแรงทั่วโลกสูงขึ้นย่อมเป็นผลดีแบบ win-win ต่อทุกฝ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่นักการค้าเสรี-เสรีนิยมใหม่ชอบให้สัญญาไว้ แต่ไม่เคยทำให้ปรากฏเป็นจริงได้เสียที

ผู้นำของโอเปกได้อำนาจการกำหนดราคาในตลาดน้ำมันโลกมาได้ด้วยเงื่อนไขเบื้องต้น 2 ประการคือ 1) การเป็นเจ้าของน้ำมันที่อยู่ในดิน (เคลื่อนย้ายไม่ได้) และ 2) การมีอธิปไตยทางการเมือง". ประเทศที่เป็นเจ้าของแรงงานก็มีเงื่อนไขเบื้องต้นคล้ายกันคือ 1) แรงงานที่เคลื่อนย้ายไม่ได้เพราะข้อจำกัดการอพยพเข้าเมืองของประเทศพัฒนาแล้ว และ 2) การมีอธิปไตยทางการเมือง ประเทศเจ้าของแรงงานเหล่านี้จึงควรทำแบบเดียวกับโอเปก พร้อมกับหาแรงสนับสนุนจากขบวนการแรงงานในประเทศใหญ่ๆ เช่น ในสหรัฐอเมริกา การทำเช่นนี้จะขัดขวางไม่ให้ทุนโลกฉกฉวยหากำไรจากส่วนต่างของค่าแรงระหว่างประเทศ ลดช่องว่างของค่าแรงลง และถ้าจำเป็น รัฐบาลก็ใช้มาตรการทางด้านค่าธรรมเนียมหรือภาษีแทรกแซงเสียเลย

โลกาภิวัตน์ไม่ใช่ความเป็นไปที่แย่ในตัวมันเอง สิ่งที่แย่คือเงื่อนไขทางการค้าที่อยู่เบื้องหลังโลกาภิวัตน์ต่างหาก แนวคิดที่ถูกต้องในการพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่ใช่การกระจายความมั่งคั่งเสียใหม่เพื่อทำให้คนรวยจนลง แต่เราต้องสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาใหม่ต่างหาก โดยการทำให้คนจนรวยขึ้นในอัตราเร่งที่จะลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนลง

เงื่อนไขการค้าในปัจจุบันมุ่งขยายช่องว่างทางรายได้ด้วยการกดค่าแรงต่ำลง และทำให้ค่าแรงต่ำเป็นปัจจัยหลักในการวัดความสามารถในการแข่งขัน ระบบการเงินแบบเสรีนิยมใหม่ให้สินเชื่อแก่บริษัทที่ได้กำไรจากการกดค่าแรง และระงับสินเชื่อจากบริษัทที่ดันค่าแรงสูงขึ้น สิ่งที่โลกต้องการคือระบบจัดสรรสินเชื่อเสียใหม่และระบบการวัดกำไรที่เชื่อมโยงความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการ กับระดับค่าแรงที่สูงขึ้นเข้าด้วยกัน

เฮนรี ฟอร์ด เคยทำแบบนี้ในสหรัฐฯ มาแล้ว
ถ้าหากว่าเรายังไม่ลืม นี่ต่างหากคือแนวคิดแบบอเมริกันแท้ๆ. เฮนรี ฟอร์ด เคยทำแบบนี้ในสหรัฐฯ มาแล้ว ด้วยการจงใจจ่ายค่าแรงสูงกว่ามาตรฐานในตลาด เพื่อให้คนงานสามารถซื้อรถยนต์ที่ตัวเองผลิตได้ ประสบการณ์ของสหรัฐฯ พิสูจน์ว่า คนจนสามารถรวยขึ้นโดยไม่ต้องทำให้คนรวยจนลง ทั้งนี้โดยการขยายเค้กผลประโยชน์ให้ใหญ่ขึ้น ไม่ใช่มัวแบ่งเค้กก้อนเล็กลงๆ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดมาจากค่าแรงที่สูง หาใช่ค่าแรงต่ำไม่

การลดความเหลื่อมล้ำของค่าแรงในโลก ในเชิงเศรษฐกิจและการเมืองแล้ว ไม่มีทางที่เราจะลดค่าแรงให้ต่ำลงในประเทศพัฒนาแล้ว ทางเดียวที่มีอยู่คือขึ้นค่าแรงในอัตราเร่งในภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำ การจะทำเช่นนี้ให้ประสบความสำเร็จได้ ต้องมีธงนำด้วยการตั้งให้ความเท่าเทียมของค่าแรงโลกเป็นเป้าหมายทางนโยบาย ไม่ใช่ปล่อยให้กลุ่มพลังในตลาดกดค่าแรงต่ำลงตามยถากรรม

เมื่อค่าแรงโลกมีความเท่าเทียมกัน การผลิตก็ควรกระจายไปตามที่ต่างๆ ตามความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริง ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ไม่ใช่มีค่าแรงเป็นปัจจัยกำหนดมิติเดียวอย่างในปัจจุบัน การค้าโลกและการผลิตเพื่อส่งออกต้องทำไปเพื่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาภายในประเทศ ไม่ใช่ส่งผลเสีย ทั้งหมดนี้เพื่อให้รายได้รวมของประชากรในโลกเพิ่มสูงขึ้น สร้างอุปสงค์ของผู้บริโภคให้สูงขึ้น และแก้ไขหรือขจัดปัญหาภาวะการผลิตล้นเกินในขณะนี้

เศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการค้าเสรี-เสรีนิยมใหม่มักโมเมว่า สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นกฎธรรมชาติ แต่ลืมกฎธรรมชาติพื้นฐานที่สุดข้อหนึ่งไปก็คือ ทุนนั้นต้องการแรงงานยิ่งกว่าแรงงานต้องการทุน ต่อให้ปราศจากทุน แรงงานยังสามารถผลิตได้เสมอ ถึงจะด้อยประสิทธิภาพลงบ้างก็ตาม แต่หากปราศจากแรงงาน ทุนก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้และเป็นได้แค่สินทรัพย์ที่ตั้งอยู่เฉยๆ ไม่มีใครเอาเงินไปลงทุนในทะเลทรายหรอก แม้แต่บ่อน้ำมันก็ยังต้องการคนงานเลย!

++++++++++++++++++++++++++

(1) ผู้สนใจเรื่อง 'การครองความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์' สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก

- นโยบายค่าเงินดอลลาร์: ปากแข็ง มืออ่อน
http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2545/document95075.html

- นาวาเศรษฐกิจสหรัฐฯ : ฤาจะเป็นเรือไททานิค? และอะไรคือภูเขาน้ำแข็ง?
http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2545/document95224.html

หรืออ่านบทความอันทรงคุณค่า (และน่าจะเป็นงานเขียนชิ้นสุดท้าย?) ของนักเศรษฐศาสตร์ผู้ล่วงลับ Andre Gunder Frank, THE NAKED HEGEMON, www.atimes.com

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

เมื่อค่าแรงโลกมีความเท่าเทียมกัน การผลิตก็ควรกระจายไปตามที่ต่างๆ ตามความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริง... เศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนการค้าเสรี-เสรีนิยมใหม่มักโมเมว่า สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นกฎธรรมชาติ แต่ลืมกฎธรรมชาติพื้นฐานที่สุดข้อหนึ่งไปก็คือ ทุนนั้นต้องการแรงงานยิ่งกว่าแรงงานต้องการทุน ต่อให้ปราศจากทุน แรงงานยังสามารถผลิตได้เสมอ ถึงจะด้อยประสิทธิภาพลงบ้างก็ตาม แต่หากปราศจากแรงงาน ทุนก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้และเป็นได้แค่สินทรัพย์ที่ตั้งอยู่เฉยๆ ไม่มีใครเอาเงินไปลงทุนในทะเลทรายหรอก (บางส่วนจากบทความ)

15-03-2550

Global labor cartel
The Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com