1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
International Seminar
on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform
สถานะเสรีภาพสื่อในออสเตรเลีย
- ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑
สุภัตรา
ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้
ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)
บทแปลและเรียบเรียงนี้
ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ
๑. สถานการณ์สื่อ/
หนังสือพิมพ์ออสเตรเลีย
๒. หมิ่นประมาททางแพ่ง กับ การกระทำที่เกี่ยวข้อง
- กฎหมายหมิ่นประมาท พ.ศ.2548 (นิวเซาท์เวลล์)
- การคุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูล
- บทบัญญัติที่ซ่อนเร้นในกฎหมายต่างๆ และ คำสั่งห้ามของศาล
- เสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร
- ปีใหม่ และรัฐบาลใหม่ที่ก้าวพลาด
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๗๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๗ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๐ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
International Seminar
on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform
สถานะเสรีภาพสื่อในออสเตรเลีย
- ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑
สุภัตรา
ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทแปลและเรียบเรียงนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
สถานะเสรีภาพสื่อในออสเตรเลีย
- ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑
แปลจากรายงานเรื่อง Press Freedom in Australia - The
State of Play in May 2008 นำเสนอที่การสัมมนานานาชาติ International Seminar
on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม
พ.ศ. 2551 ที่เมืองจ็อกจาการ์ต้า (Yogyakarta) ประเทศอินโดนิเซีย
จิม โนล-อัน
Jim Nolan เป็นผู้แทนสหพันธ์นักข่าวนานาชาติ
(International Federation of Journalists - IFJ)
๑. สถานการณ์สื่อ/ หนังสือพิมพ์ออสเตรเลีย
ประชาธิปไตยอันแข็งแรงมั่นคงของออสเตรเลียยังคงเติบโตงอกงามและมีความยากลำบากสำหรับนักข่าวในออสเตรเลียที่ต้องฝ่าฟันนั้น น้อยนิดจริงๆ หากเทียบกับเพื่อนร่วมวิชาชีพในภูมิภาคเดียวกัน แต่เพียงสิ่งที่เห็นว่าดีที่สุดในบรรดาทั้งหมดนั้น ไม่ใช่เครื่องตัดสินกับการที่นักข่าวออสเตรเลียพอใจที่จะหยุดต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อ พวกเขาพอใจที่ออสเตรเลียสามารถที่จะยังคงเป็นประทีปของสื่อมวลชนและเสรีภาพสื่อผ่านผลการประเมินอย่างต่อเนื่องของสถาบันต่างๆ และการปฏิบัติต่างๆที่ส่งเสริมเสรีภาพสื่อ
คืนวันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม ในนครซิดนีย์ นักข่าวออสเตรเลียได้รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนเพื่อนร่วมวิชาชีพนานาประเทศ และร่วมเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อโลก ณ การชุมนุมนั้น กลุ่มพันธมิตรสื่อบันเทิงและศิลปะ (*) (The Media Entertainment and Arts Alliance)ได้แถลงผลรายงานของกลุ่มฯประจำปีพ.ศ. 2551 ว่าด้วย "สถานการณ์สื่อในออสเตรเลีย" รายงานฉบับนี้สามารถดาวน์โลดได้จากเวบไซด์ของกลุ่มพันธมิตรฯ [www.alliance.org.au]
(*)เพิ่มเติมโดยผู้แปล - The Media Entertainment and Arts Alliance พันธมิตรสื่อบันเทิงและศิลปิน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยเป็นการรวมตัวกันของ 3 สหภาพที่ครอบคลุม นักแสดง นักข่าว และลูกจ้างในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบันเทิง คือกลุ่มความเท่าเทียมของนักแสดง (Actors Equity - AE), สมาคมนักข่าวออสเตรเลีย (The Australian Journalists Association (AJA), และสมาคมนักแสดงและลูกจ้างในอุตสาหรรมเกี่ยวกับการบันเทิง (The Australian Theatrical & Amusement Employees Association -ATAEA)
หลักการของการรวมตัวนั้นเพื่อเป็นสหภาพของบุคคลทุกคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลข่าวสารและความบันเทิง
ปัจจุบัน กลุ่มพันธมิตรฯ มีสมาชิก 30,000 คนที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสื่อในด้านต่างๆ
อาทิ นักข่าวหนังสือพิมพ์ -โทรทัศน์- วิทยุ วงการบันเทิง ภาพยนตร์ การละคร นักแสดง
นักเต้นรำ นักกีฬา นักวาดการ์ตูน ช่างภาพ นักแสดงโอเปร่า-ออรเคสตร้า รวมถึงผู้ทำงานด้านประชาสัมพันธ์
ธุรกิจสิ่งพิมพ์ และผู้จัดทำเวบไซด์ต่างๆ
ในคำนำของรายงานนี้ Christopher Warren เลขาธิการของกลุ่มพันธมิตรฯ (และเป็นรองประธานสหพันธ์นักข่าวนานาชาติ)
กล่าวว่า:
หากรายงานนี้เป็นสมุดรายงานผลการเรียน , หลังจากที่ผลการเรียนต่ำกว่าเป้ามาหลายปี รายงานผลของปีนี้จะยังคงเขียนว่า "สามารถทำได้ดีกว่านี้, แต่จะมีหมายเหตุว่า: "สัญญาณเชิงบวกบางอย่างปรากฏให้เห็นก่อนจะปิดเทอม... เราหวังว่าคะแนนในปีหน้าจะเพิ่มขึ้น"
ผลสำเร็จใหญ่ประการแรกในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา คือ เรื่องการกร่อนเซาะเสรีภาพสื่อในออสเตรเลียได้ผุดขึ้นมาสู่ความสนใจของสาธารณชน, โดยจำนวนมากเกี่ยวเนื่องกับคดีดังๆหลายคดี และการรวมกลุ่มเพื่อสิทธิในการรับรู้ ซึ่งเป็นการรวมทีมของกลุ่มพันธมิตรฯ กับ News Ltd. (กลุ่มธุรกิจสื่อที่ใหญ่สุดในออสเตรเลีย -ผู้แปล), Fairfax (สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของออสเตรเลีย - ผู้แปล), สถานีวิทยุโทรทัศน์เอบีซี (Australian Broadcasting Corporation- ABC), สถานีวิทยุโทรทัศน์เอสบีเอส (Special Broadcasting Service- SBS) และองค์กรสื่ออื่นๆที่มีความกังวลเกี่ยวกับข้อจำกัดและความปั่นป่วนวุ่นวาย ที่นักข่าวต้องเผชิญในการพยายามแสวงหาความจริงในประเทศ
...........................ไม่นานหลังจากนั้น Irene Moss(*) ได้เผยแพร่ข้อค้นพบจากรายงานการตรวจสอบอิสระเรื่องสถานการณ์เสรีภาพในการพูดในประเทศออสเตรเลีย, พบว่า - เช่นเดียวกับที่เราได้เน้นย้ำในรายงานประจำปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2548: "ว่าเสรีภาพในการพูดและเสรีภาพสื่อกำลังถูกลิดรอนทีละน้อยและบางครั้งอยู่ในระดับที่เกือบมองไม่เห็น"
(*)เพิ่มเติมโดยผู้แปล - Irene Moss เป็นประธานคณะผู้ตรวจสอบอิสระเรื่องสถานการณ์เสรีภาพในการพูดในออสเตรเลีย, Moss เคยเป็นกรรมการในคณะกรรมาธิการอิสระต่อต้านการทุจริตระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2547 และเคยดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการรัฐสภาแห่งนิวเซาท์เวลล์
ต่อมา ภายในเดือนที่รายงานดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ เรามีรัฐบาลสหพันธรัฐชุดใหม่ที่ได้ให้สัญญาไว้ระหว่างการรณรงค์หาเสียงว่า จะเป็นรัฐบาลที่เปิดกว้างมากขึ้นและปฏิญาณว่าจะสนับสนุนเสรีภาพสื่อ ดูเหมือนว่าคำมั่นสัญญาของพรรคแรงงาน (Australia Labour Party -ALP) ต่อการปฏิรูปเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารอยู่ในวาระของการกำหนดเป็นพระราชบัญญัติในปีนี้ และจะดำเนินต่อไปบนหนทางยาวไกลเพื่อสนับสนุนรัฐบาลที่เปิดกว้างมากขึ้นในประเทศนี้
เลขาธิการของกลุ่มพันธมิตรฯ
ชี้ให้เห็นถึงสัญญาณอื่นๆ ที่เป็นความหวัง เช่น รัฐบาล
ควีนส์แลนด์ (Queensland Government) (*) สัญญาที่จะทบทวนกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารในรัฐนั้น
และการเคลื่อนไหวของนักข่าวต่อกฎหมายต่างๆ ที่ปกป้องนักหนังสือพิมพ์จากการต้องเปิดเผยชื่อแหล่งข่าว
(shield laws) กับพันธะสัญญาของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(ประกอบด้วย หัวหน้าผู้พิพากษาแห่งเครือจักรภพและเขตรัฐ - ผู้แทนจากการเลือกตั้งที่อยู่ในคณะรัฐมนตรี)
ว่าอย่างน้อยที่สุด จะรับรองให้ทั่วประเทศมีการเพิ่มการคุ้มครองจากที่มีอยู่อย่างจำกัดในปัจจุบัน
ในกฎหมายลักษณะพยานหลักฐานแห่งนิวเซาท์เวลล์ (NSW Evidence Act)
(*)เพิ่มเติมโดยผู้แปล - รัฐบาลควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลียแบ่งการปกครองเป็น 3 ระดับ คือ รัฐบาลท้องถิ่น (local government), รัฐบาลมลรัฐ (state government), และรัฐบาลสหพันธรัฐ (federal government) แต่ละรัฐบาลรับผิดชอบในการตัดสินใจและจัดเตรียมบริการสาธารณะต่อประชาชนภายใต้เขตการปกครอง
รัฐบาลทั้ง 3 ระดับทำงานร่วมกันเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่า ประชาชนชาวออสเตรเลียทั้งหมดสามารถที่จะดำเนินชีวิต, ประกอบอาชีพ และมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในชุมชน รัฐบาลสหพันธรัฐรับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจและภาษี และนโยบายหลักต่างๆ เช่น ความมั่นคงแห่งรัฐ, การสื่อสาร และสวัสดิการ รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณสำหรับรัฐบาลแห่งรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่น
เลขาธิการของกลุ่มพันธมิตรฯ เน้นย้ำว่า เพื่อให้เกิดประสิทธิผล การคุ้มครองดังกล่าวนี้ ต้องยึดโยงกับการคุ้มครองอย่างแท้จริงสำหรับผู้ที่เปิดเผยข้อมูลที่มีความสำคัญต่อนักข่าว แต่ยังไม่มีการตอบรับต่อข้อเสนอเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวนี้ ปรากฏให้เห็นจากทุกรัฐบาล ทั้งเก่าและใหม่
บรรดานักข่าวยังได้เรียกร้องให้มีการทบทวนกฎหมายหลายฉบับ โดยเฉพาะกฎหมายที่ถูกผ่านออกมาบังคับใช้ในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา ในนามของการต่อสู้กับการก่อการร้าย แม้ว่าจะมีการส่งสัญญาตอบรับออกมาจากรัฐบาลพรรคแรงงานแห่งสหพันธรัฐ ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาใหม่ต่อข้อแนะนำในการเยียวยาปัญหาเหล่านี้
กรณีใหญ่ที่เป็นความอัปยศทางการเมืองในการควบคุมและปล่อยตัวนายแพทย์หนุ่มชาวอินเดีย(เมื่อมีการล้มคดี) ส่งผลให้กฎหมายเหล่านี้ส่งสัญญาณไม่พึงประสงค์ (คดีอื้อฉาวนี้สามารถหาอ่านได้ในรายงาน ปี พ.ศ. 2551)
๒. หมิ่นประมาททางแพ่ง กับ การกระทำที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน เรื่องการฟ้องหมิ่นประมาททางอาญา เป็นจดหมายที่ไม่ถึงมือผู้รับในออสเตรเลีย แต่การฟ้องหมิ่นประมาททางแพ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครซิดนีย์ อย่างไรก็ตาม มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในขณะนี้ กฎหมายประนีประนอมยอมความคดีหมิ่นประมาททางแพ่ง (A harmonized civil defamation law)ได้ถูกตราขึ้นในออสเตรเลีย ซึ่งส่งผลกระทบอย่างฉับพลันทันใดต่อคดีฟ้องหมิ่นประมาทต่างๆ - ในแต่ละรัฐและเขตรัฐต้องรับรองกฎหมายประเภทเดียวกัน (identical laws) เพราะว่าคดีหมิ่นประมาทยังคงถือเป็นเรื่องของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ
กฎหมายหมิ่นประมาท พ.ศ.2548 (นิวเซาท์เวลล์) ระบุจุดมุ่งหมายไว้ว่า:
() บังคับใช้บทบัญญัติต่างๆ เพื่อส่งเสริมกฎหมายแบบแผน( uniform laws) ว่าด้วยการหมิ่นประมาทในประเทศออสเตรเลีย, และ
() เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่ากฎหมายหมิ่นประมาท ไม่ได้จำกัดอย่างไม่สมเหตุสมผลในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก และ, โดยเฉพาะ, ในการเผยแพร่ให้สาธารณชนรู้และในการถกเถียงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะและเรื่องที่สำคัญ, และ
() จัดเตรียมการเยียวยาที่เป็นธรรมและมีประสิทธิผล ให้ผู้ที่ชื่อเสียงเกียรติภูมิได้รับความเสียหายจากการหมิ่นประมาทที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน, และ
() ส่งเสริมวิธีการที่รวดเร็วและไม่ต้องเป็นคดีความในการแก้ปัญหาข้อพิพาท เกี่ยวกับการเผยแพร่เรื่องที่เป็นการหมิ่นประมาท
การนำกฎหมายใหม่มาใช้ เป็นการปฏิรูปที่เป็นหัวใจหลักที่มีการพิจารณากันมานานแล้วว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง รวมถึงการเสริมความเข้มแข็งของกฎหมายจารีตที่คุ้มครองข้อเท็จจริงที่มีหลักฐาน แต่ไม่รวมถึงกรณีที่บริษัทเอกชนฟ้องหมิ่นประมาท, การลดลงหรือการเพิ่มจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่สามารถจ่ายได้, และการลดระยะอายุความเป็นหนึ่งปี (ก่อนหน้านี้อายุความที่โจทก์ดำเนินการได้ คือ 6 ปี) กฎหมายเอกภาพจะช่วยยุติข้อพิพาทในศาลด้วย
สภาการหนังสือพิมพ์ออสเตรเลียรายงานว่า จำนวนของการดำเนินคดีหมิ่นประมาณลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ นับตั้งแต่มีการใช้กฎหมายประนีประนอมยอมความคดีหมิ่นประมาท(harmonized Defamation Acts) สภาการหนังสือพิมพ์ระบุในรายงานเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (www.presscouncil.org.au) ว่า:
"The Herald และ Weekly Times ไม่ได้ถูกดำเนินคดีทางกฎหมายในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการตีพิมพ์ หลังจากที่มีการใช้กฎหมายแบบแผน (uniform legislation) แต่ได้รับหนังสือแจ้งแสดงความกังวล[ต่อเรื่องที่ตีพิมพ์] จำนวน 3 ฉบับซึ่งได้มีการเจรจาปรองดองกันไปแล้ว
ในช่วง 18 เดือนจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2550 สื่อในเครือ Fairfax Media ได้รับหมายศาล 1 ครั้ง ในการฟ้องดำเนินคดีบรรณาธิการผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์ The Age ในเมืองเมลเบิร์น และหลังจากมีการประกาศใช้กฎหมายแบบแผน ได้รับคำฟ้องเรียกค่าเสียหาย 6 คดี โดย 5 คดีเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการตีพิมพ์ของหนังสือพิมพ์ในเครือ ในเมืองซิดนีย์ คือ The Sydney Morning Herald และ The Sun Herald"
นี่คงจะเป็นการพัฒนาที่น่าอัศจรรย์ คือ จำนวนคดียังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
สภาการหนังสือพิมพ์ระบุด้วยว่า มีความพยายามบางอย่างเมื่อไม่นานมานี้ที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมายหมิ่นประมาทฉบับใหม่ด้วยการอ้างสาเหตุอื่นๆ ของการกระทำ นักธุรกิจชาวออสเตรเลียผู้ฉาวโฉ่กล่าวหาว่า บทความในหนังสือพิมพ์ "ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเจตนาหลอกลวง" และ ดังนั้น จึงเป็นการละเมิดกฎหมายว่าด้วยข้อปฏิบัติทางการค้า (The Trade Practices Act) ศาลไม่รับข้อโต้แย้งนั้น และยกฟ้อง
ในคดีอื่นเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ใช้กฎหมายข้อปฏิบัติทางการค้าฉบับเดียวกันนี้ ในการฟ้องร้องคณะนักวิจัยที่ทำรายงานประณามบริษัท (และกลุ่มอื่นๆ) เกี่ยวกับการทำให้เด็กหญิงถูกมองเป็นวัตถุทางเพศในการโฆษณาสินค้า บริษัทถอนคดีดังกล่าวไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
การคุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูล
สภาการหนังสือพิมพ์ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในจำนวนองค์กรที่เรียกร้องให้มีการคุ้มครองที่เหมาะสมต่อผู้เปิดเผยข้อมูล
โดยมีการชี้ชัดไว้ในรายงานประจำปี ดังนี้:
"บทบาทของผู้เปิดเผยข้อมูลเพื่อการคงไว้ซึ่งความต้องรับผิดชอบของรัฐบาลนั้น ได้กลายเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ปัญหาพื้นฐานคือความรู้สึกไม่มั่นคงของพนักงานรัฐที่เปิดเผยเกี่ยวกับการกระทำมิชอบ หรือการบริหารงานที่มิชอบนั้น จะยังคงดำรงอยู่จนกว่าจะมีกฎหมายคุ้มครองที่แท้จริงต่อผู้เปิดเผยข้อมูล อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะผ่านสื่อ เมื่อพวกเขาไม่อาจหาช่องทางอย่างเป็นทางการในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้"
ประเด็นนี้ ได้ถูกให้ความสำคัญในสองคดีที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ คดีแรกเห็นได้จากคำพิพากษาลงโทษ Alan Kessing (*) หลังจากที่เขาเขียนในรายงานเกี่ยวกับความไม่มีประสิทธิภาพของพิธีการศุลกากรที่สนามบินซิดนีย์ ที่มีถูกแอบนำมาเผยแพร่ . คดีที่สองเห็นได้จากคำพิพากษาคดี Desmond Kelly ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ ที่ถูกกล่าวหาว่าให้ข้อมูลที่เป็นความลับทางราชการกับนักข่าว 2 คน Harvey and McManus (**) โชคดีที่ Kelly พ้นผิดในการอุทธรณ์ ลักษณะของการตัดสินพิพากษาลงโทษทั้งสองคดีนี้ ทำให้สภาการหนังสือพิมพ์มีข้อสังเกตว่าคำพิพากษา "แสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่ล้าสมัยของรัฐบาลสหพันธรัฐ ต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ให้ข่าว"
(*)เพิ่มเติมโดยผู้แปล - Alan Kessing เป็นอดีตเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร สนามบินนครซิดนีย์ เขาถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 9 เดือน (โดยให้รอลงอาญา) ต่อความผิดฐานแพร่งพรายข้อมูลเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นปัญหาให้สื่อมวลชนรู้
(**)เพิ่มเติมโดยผู้แปล - Michael Harvey และ Gerard McManus นักข่าวของหนังสือพิมพ์ Herald-Sun ถูกศาลพิพากษาลงโทษให้จ่ายค่าปรับเป็นเงินคนละ 7,000 เหรียญในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เพราะปฏิเสธที่จะเปิดเผยชื่อแหล่งข่าวที่แพร่งพรายข้อมูลทางราชการที่กระทบต่อรัฐบาลสหพันธรัฐ
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 Harvey และ McManus นำเสนอข่าวเกี่ยวกับแผนของรัฐฐาลที่จะชะลอการจ่ายเงินบำนาญ 500 ล้านเหรียญแก่ทหารผ่านศึก ภายหลังข่าวดังกล่าวถูกตีพิมพ์ Desmond Patrick Kelly ถูก Danna Vale ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีที่ดูแลกิจการเกี่ยวกับทหารผ่านศึก ฟ้องภายใต้กฎหมายอาญาเครือจักรภพในความผิดฐานแพร่งพรายข้อมูลลับของทางราชการ
ตัวเลขที่มีการเปิดเผยในรัฐสภาออสเตรเลียระบุว่า ในช่วง 4 ปี ตำรวจสหพันธรัฐออสเตรเลียได้ใช้เวลา 2,100 ชั่วโมง และงบประมาณ 2 ล้านเหรียญในการพยายามที่จะติดตามจับกุมกับผู้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการบริการสาธารณะภายในสหพันธรัฐ. แต่การกระทำเช่นนี้ของรัฐบาลไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะรัฐบาลในระดับเดียว ในช่วงสองสัปดาห์ที่เพิ่งผ่านมา รัฐบาลพรรคแรงงานแห่งรัฐออสเตรเลียตะวันตก ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าตรวจค้นสำนักงานหนังสือพิมพ์ Perth newspaper
บทบัญญัติที่ซ่อนเร้นในกฎหมายต่างๆ
และ คำสั่งห้ามของศาล (Judicial Suppression Order)
เรื่องที่น่าตื่นเต้นน้อยกว่า แต่กระนั้นก็มีความสำคัญอย่างมากกับนักข่าวคือ
ผลรายงานของ "Moss" เมื่อเร็วๆ นี้ที่พบว่า ขนาดและลักษณะแพร่หลายของข้อจำกัดทางกฎหมายของรัฐและสหพันธรัฐ
ทั้งในภาคเอกชนและรัฐบาลนั้นมีมากขึ้น การทบทวนระเบียบข้อบังคับและกฎหมายหลายร้อยฉบับนั้นมีผลกระทบต่อสื่อ
และในการปฏิบัติหน้าที่ปกติประจำวันของศาลและรัฐบาลถูกพบด้วยว่า มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายในออสเตรเลียอย่างน้อย
500 ฉบับ ที่เป็นการจำกัดเสรีภาพสื่อ และมีคำสั่งห้ามของศาลอย่างน้อย 1,000 เรื่อง[ที่มีผลกระทบกับสื่อ]
ในรายงานประจำปีของสภาการหนังสือพิมพ์ระบุว่า กลุ่มธุรกิจสื่อ News Limited มีคำสั่งห้ามของศาลถึง 887 ฉบับ ที่บันทึกไว้อยู่ในฐานข้อมูล เฉพาะปี พ.ศ. 2550 ปีเดียวมีมากกว่า 200 คำสั่งออกมา
เสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร
กลุ่มพันธมิตรสื่อฯ รายงานว่า ความล่าช้าและต้นทุนที่สูงนั้นยังคงจำกัดประสิทธิภาพของกฎหมายเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารของออสเตรเลีย
สภาพการณ์เสรีภาพสื่อในออสเตรเลียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยปัญหากับกฎหมายว่าด้วยเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร
กฎหมายว่าด้วยเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารถูกสาปด้วยความล่าช้าและต้นทุนสูง, เทคนิคต่างๆทางกฎหมาย, การแทรกแซงทางการเมือง, และวัฒนธรรมความลับ. ในปีที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์หลายตัวอย่างของอุปสรรคเหล่านี้ที่ยังคงดำรงอยู่ ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ คำปฏิเสธของรัฐบาล Howard (*) ที่จะเปิดเผยผลการสำรวจที่ใช้งบประมาณ 32 ล้านเหรียญ ในการโฆษณาสนับสนุนกฎหมาย WorkChoices (**) จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งของสหพันธรัฐในปี พ.ศ. 2550 คำร้องของ Mark Davis ผู้สื่อข่าว และหนังสือพิมพ์ The Sydney Morning Herald ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าเป็นการขัดกับผลประโยชน์ของสาธารณะ และจะทำให้ "เกิดความเชื่อที่เป็นความเข้าใจผิด"
(*)John Winston Howard (born 26 July 1939) was the 25th Prime Minister of Australia from 11 March 1996 to 3 December 2007. He is the second-longest serving Australian Prime Minister after Sir Robert Menzies.
(**) *เพิ่มเติมโดยผู้แปล - WorkChoices หรือ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ในสถานประกอบการ พ.ศ. 2548 ( The Workplace Relations Act ) เป็นประเด็นหลักเรื่องหนึ่งที่ทำให้รัฐบาล Howard แพ้เลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของสหพันธรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2550
Matthew Moore บรรณาธิการของ The Herald เขียนไว้ว่า "ทำไมคุณถึงจะเกิดความเชื่อที่ถูกทำให้เข้าใจผิด จากรายละเอียดที่เป็นผลของการสำรวจนั้นซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ถูกอธิบายได้อย่างง่ายๆ และหน่วยงาน [ที่รับผิดชอบ] ไม่ได้พยายามที่จะทำการอธิบาย"
ปีใหม่ และรัฐบาลใหม่ที่ก้าวพลาด
เพียงสองสัปดาห์ที่เพิ่งผ่านมา นักสังเกตการณ์สามารถแก้ตัวสำหรับความคิดที่ว่า
ตราบเท่าที่เสรีภาพในข้อมูลข่าวสารยังเป็นข้อกังวล รัฐบาลจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
มีการประกาศว่ากรมสหพันธรัฐของกระทรวงการคลัง ได้ปฏิเสธคำร้องของสถานีเอบีซี
(Australia Broadcasting Corporation) กรณีที่สถานีฯ ขอสำเนาความเห็นของกระทรวงฯ
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ในสถานประกอบการของรัฐบาลพรรคแรงงานชุดใหม่นั้น
จะทำให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นหรือไม่ เหตุผลหนึ่งของคำปฏิเสธดังกล่าว เป็นเหตุผลชนิดที่ทำให้แม้แต่
Sir Humphry Appleby (ข้าราชการผู้ได้รับฉายาว่า "ท่านรัฐมนตรีครับผม")
ก็ต้องรู้สึกกระอักกระอ่วนใจเมื่อได้ยิน. กระทรวงการคลังให้เหตุผลว่า การเปิดเผยข้อมูลตามที่มีการร้องขอนั้นอาจ
"ก่อให้เกิดข้อถกเถียงที่ไม่จำเป็นต่อประเด็นดังกล่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรี"
การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นแม้ว่ารัฐบาลได้สัญญาไว้ว่าจะเปิดกว้างมากขึ้น รวมถึงการที่จะมีการเขียนกฎหมายว่าด้วยเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารขึ้นใหม่ เมื่อถูกถามถึงความสมเหตุสมผลในการตัดสินใจดังกล่าว Wayne Swan รัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนใหม่จากพรรคแรงงาน กล่าวว่า ข้าราชการเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร ไม่ใช่คณะรัฐมนตรี เขาบอกว่า "ผมไม่คิดว่าสถานีเอบีซี หรือองค์กรสื่อใดจะต้องการให้ Wayne Swan ในฐานะรัฐมนตรีเดินเข้าไปที่กรมฯ และบอกพวกเขาว่าควรต้องเปิดเผยหรือไม่เปิดเผย [ข้อมูล] ภายใต้กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน"
มันเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับผู้บริหารระดับสูงสุดของกระทรวงการคลัง
ที่จะดูหมิ่นสติปัญญาของผู้ลงคะแนนสียง
- แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรงการคลังคนใหม่ของเราได้ทำแล้ว -
ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคเบื้องต้นนี้
แต่ยังคงมีความคาดหวังสูงว่า รัฐบาลชุดใหม่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวกกับกฎหมายเสรีภาพในข้อมูลข่าวสาร,
โดยไม่อ้างถึงบทบัญญัติซ่อนเร้นจำนวนมหาศาลในกฎหมายของเครือจักรภพ
บทแปลและเรียบเรียงนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
1563. เวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ:
กรณีอินโดนีเซีย (สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง)
1564. สื่ออินโดนิเซีย:
แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ / สื่อฟิลิปปินส์กับความรุนแรง (สุภัตรา ภูมิประภาส
: แปลและเรียบเรียง)
1574. สื่อ
กับกฎหมายหมิ่นประมาทในติมอร์ตะวันออก และกัมพูชา (สุภัตรา ภูมิประภาส
: แปลและเรียบเรียง)
1578. สื่อกับกฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศมาเลเซีย
(สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง)
1579. สถานะเสรีภาพสื่อในออสเตรเลีย
- ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ (สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
คดีหมิ่นประมาทไม่ควรถูกใช้เป็นกลไกในการกดขี่ ในกระบวนการปรึกษาหารือของพวกเรานั้น ไม่ได้มองข้ามแนวโน้มที่เกิดขึ้นในประ เทศนี้ เกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายและการสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเป็นเงินหลายล้านริงกิด [ ] นั่นเป็นการตัดสินใจที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ปรัชญาสำคัญของการพิพากษานั้นคือ ความเสียหายต่อชื่อเสียงนั้นมีความสำคัญกับสมาชิกในสังคมของเราไม่มากไปกว่าการสูญเสียสมาชิกของสังคมไป แต่เราคิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่เราควรต้องตรวจสอบแนวโน้มที่ถูกกำหนดไว้จากคดีนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินการสำหรับคดีหมิ่นประมาทไม่ได้ถูกใช้เป็นกลไกในการกดขี่ มิเช่นนั้น เสรีภาพในการแสดงออกที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญจะเป็นเพียงภาพลวงตา (คัดลอกมาจากบทความ)