ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




06-06-2551 (1578)

International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform
สื่อกับกฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศมาเลเซีย
สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลและเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ
- ภูมิหลัง : กฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศมาเลเซีย
- คดีหมิ่นประมาทที่สำคัญและคำตัดสินประวัติศาสตร์
- คำพิพากษาที่ลงโทษสื่อ กรณีตัวอย่าง ๕ คดี
- คดีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเกอร์
- การแปลความหมายของศาลเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก?
- อุปสรรคที่ใหญ่กว่าสำหรับสื่อในประเทศมาเลเซีย
- การเมืองที่ควบคุมสื่อ และเส้นทางเบื้องหน้า

midnightuniv(at)gmail.com


บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๗๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform
สื่อกับกฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศมาเลเซีย
สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทแปลและเรียบเรียงนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

สื่อกับการหมิ่นประมาทในประเทศมาเลเซีย
แปลจากรายงานเรื่อง Defamation in Malaysia นำเสนอที่การสัมมนานานาชาติ International Seminar on Defamation: Building a Regional Advocacy Platform ระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่เมืองจ็อกจาการ์ต้า (Yogyakarta) ประเทศอินโดนิเซีย

โดย กายาทรี
Gayathry Venkiteswaran เป็นผู้อำนวยการบริหารของศูนย์กลางเพื่อวิชาชีพสื่ออิสระ
(Centre for Independent Journalism - CIJ) ประเทศมาเลเซีย

ภูมิหลัง : กฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศมาเลเซีย
ในประเทศมาเลเซียมีกฎหมายทั้งการหมิ่นประมาททางอาญาและทางแพ่ง

- การหมิ่นประมาททางแพ่งอ้างถึงกฎหมายหมิ่นประมาท พ.ศ. 2500 (1957) ที่ "ถือว่ามีการหมิ่นประมาทเกิดขึ้น ถ้าโจทก์สามารถแสดงได้ว่ามีการตีพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาท, และข้อความหมิ่นประมาทนั้นกระทำโดยมีเจตนาร้าย หรือถ้อยคำในข้อความหมิ่นประมาทสะท้อนถึงเจตนาที่ต้องการหมิ่นประมาท นอกจากนี้ โจทก์ต้องแสดงให้เห็นว่าข้อความนั้นเป็นความเห็นที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ชอบธรรม"

อย่างไรก็ตาม การหมิ่นประมาททางอาญาซึ่งมีทั้งโทษปรับและโทษจำ หรือทั้งจำและปรับนั้นถูกบัญญัติไว้ในหมวดที่ 21 มาตรา 499 ของประมวลกฎหมายอาญา ว่า การหมิ่นประมาทเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการแสดงให้เห็นว่า "ถ้อยคำ โดยการพูด หรือโดยตั้งใจให้เกิดความเข้าใจ หรือโดยสัญลักษณ์, หรือโดยสิ่งที่เห็นได้ว่าเป็นตัวแทน, กระทำหรือพิมพ์ข้อกล่าวหาใดที่เกี่ยวข้องกับบุคคลใด, โดยเจตนาก่อให้เกิดความเสียหาย, หรือตั้งใจหรือมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า การกล่าวหานั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงของบุคคลนั้น"

คดีหมิ่นประมาทที่สำคัญและคำตัดสินประวัติศาสตร์
ในอดีต การฟ้องหมิ่นประมาทระหว่างบุคคลนั้น ถูกตัดสินให้จ่ายค่าปรับจำนวนน้อย ในช่วงทศวรรษที่ 1920s หนังสือพิมพ์ Utusan Malaysia ถูกเจ้าหน้าตำรวจฟ้องเพราะตีพิมพ์จดหมายที่บรรยายเหตุการณ์ที่นายตำรวจระดับผู้กำกับ ถูกจับกุมในโรงละคร (ronggeng). หนังสือพิมพ์ถูกศาลสั่งให้จ่ายค่าปรับจำนวนน้อยกว่า 5,000 เหรียญสหรัฐ แต่ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่สูง ณ เวลานั้น และต้องยุติการพิมพ์ชั่วคราว

ช่วงทศวรรษที่ 1990s มีการฟ้องหมิ่นประมาทคดีใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลในวงการธุรกิจที่ใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรี คดีระหว่างวินเซนท์ ตัน (Vincent Tan) กับ Haji Hassan Hamzah (พ.ศ.2538) กลายเป็นแบบอย่างสำหรับคดีใหญ่ๆ เมื่อศาลสูงหรือศาลสหพันธ์ (Federal Court)ยืนคำพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าปรับแก่ฝ่ายโจทก์คือ วินเซนท์ ตัน เป็นจำนวนเงิน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (10 ล้านริงกิด)

โจทก์ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารของบริษัทมหาชนเครือ Berjaya Group Bhd. (*) อ้างความเสียหายจากข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาท และการคบคิดของจำเลย 7 คนในบทความ 4 ชิ้นที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Malayan Industry 3 ฉบับ. ผู้พิพากษา Mokhtar Sidin J มีคำพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงิน 10 ล้านริงกิด เป็นค่าปรับทดแทนความเสียหายจากจำเลยร่วมซึ่งรวมถึง MGG Pillai นักข่าวผู้ล่วงลับไปแล้ว Pillai เป็นนักข่าวและนักเขียนที่ได้รับการยอมรับนับถือในวงการสื่อมวลชนของมาเลเซีย

(*)Berjaya Group Berhad (MYX: 3395) is one of the most diversified conglomerates in Malaysia and is headed by Tan Sri Dato' Seri Vincent Tan Chee Yioun. The group's main activities includes Property Investment & Development, Gaming & Lottery Management and Vacation Time-Share, Travel, Hotels & Resorts Development & Management. Today, Berjaya Group is a major Malaysian conglomerate with an annual revenue in excess of RM2.93 billion.

คำพิพากษาที่ลงโทษสื่อ กรณีตัวอย่าง ๕ คดี
วินเซนท์ ตัน (Vincent Tan) ไม่ใช่คนเดียวที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายหมิ่นประมาทและได้รับเงินค่าปรับจำนวนสูง

1. คดีของ Tun Datuk Patinggi Haji Abdul Rahman Ya'kub กับ Bre Sdn Bhd (พ.ศ. 2539)
- โจทก์ เป็นอดีตรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการรัฐซาราวัก (Sarawak State) อ้างความเสียหายจากการถูกหมิ่นประมาทที่มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายวัน
- ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าปรับแทนความเสียหายเป็นเงิน 100,000 ริงกิด (30,000 เหรียญสหรัฐ)

2. คดีของ Noor Asiah Mahmood กับ Randhir Singh (พ.ศ. 2543)
- โจทก์อ้างความเสียหายจากบทความ 2 ชิ้นที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ New Strait Times, interlia
- ผู้พิพากษา Kamalanathan Ratnam มีคำพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายทั่วไป (general damages) เป็นเงิน 300,000 ริงกิด (100,000 เหรียญสหรัฐ) แก่โจทก์ที่ 1 และจ่าย 200,000 ริงกิด (60,000 เหรียญสหรัฐ) แก่โจทก์ที่ 2 และผู้พิพากษายังได้สั่งให้มีการจ่ายค่าเสียหายร้ายแรง (aggravated damages) แก่โจทก์ทั้งสอง คนละ 200,000 ริงกิด (60,000 เหรียญสหรัฐ) ทำให้จำนวนเงินที่จำเลยต้องจ่ายเป็นค่าเสียหายของโจทก์ รวมเป็นหนึ่งล้านริงกิด (300,000 เหรียญสหรัฐ)

3. คดีของ Ummi Hafilda Ali กับ Karangkraf Sdn Bhd (ที่ 2) (พ.ศ. 2543)
- Ummi Hafilda และพยานอีกคนหนึ่งในคดีของอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) (*) ฟ้องร้องจำเลย ประกอบด้วย ผู้พิมพ์และผู้จัดจำหน่ายนิตยสารบันเทิง Bacaria ที่ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับพวกเขา ในบทความนี้กล่าวว่าพวกเขากำลังจะแต่งงานกันซึ่งโจทก์อ้างว่าทำให้ชื่อเสียงของพวกเขาเสียหาย
- ผู้พิพากษา Kamalanathan Ratnam J มีคำพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์คนละ 25,000 ริงกิด (8,000 เหรียญสหรัฐ)

(*)Dato' Seri Anwar bin Ibrahim (born August 10, 1947) is a former deputy prime minister and finance minister of Malaysia. Early in his career, he became a protege of the former prime minister of Malaysia, Mahathir bin Mohamad, but subsequently emerged as the most prominent critic of Mahathir's administration.

In 1999, he was sentenced in a highly controversial trial to six years in prison for corruption, and in 2000, to another nine years for alleged homosexual acts. However, in 2004, Malaysia's highest court, the Federal Court reversed the second conviction and he was released.

4. คดีของ Tjanting Handicraft Sdn Bhd กับ Utusan Melayu (M) Bhd (พ.ศ. 2544)
- โจทก์ฟ้องร้องจำเลยกรณีบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารผู้หญิง Wanita ซึ่งผู้เขียนบทความชิ้นนี้กล่าวหาว่า โจทก์ผลิตผ้าบาติกที่ไม่สวย และโจทก์ที่ 2 ทำให้ประเทศอับอายเพราะยอมให้ผู้นำประเทศต่างๆ สวมใส่เสื้อที่ตัดเย็บไม่น่าดูและน่าเกลียดในระหว่างการประชุมเอเปก (Asia-Pacific Economic Cooperation) ที่มาเลเซีย
- ผู้พิพากษามีคำพิพากษาให้มีการจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 1.3 ล้านริงกิด (430,000 เหรียญสหรัฐ)

ในประเทศมาเลเซีย การฟ้องร้องสื่อในคดีหมิ่นประมาทมิได้ถูกจำกัดอยู่เฉพาะสื่อในประเทศ มีตัวอย่างที่สื่อต่างประเทศถูกฟ้องร้องด้วย

5. คดีของ Insas Bhd กับ Samurls (พ.ศ. 2547)
1. โจทก์อ้างความเสียหายจากการที่จำเลยตีพิมพ์บทความเรื่อง "Malaysian Justice on Trial" ในนิตยสาร International Commercial
Litigation Magazine ฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2536
2. นิตยสารดังกล่าวพิมพ์ในกรุงลอนดอน และมีการเผยแพร่ในประเทศมาเลเซียและที่อื่นๆ
3. โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าเสียหายคนละ 25 ล้านริงกิด (8 ล้านเหรียญสหรัฐ) รวมถึงค่าเสียหายสำหรับการหมิ่นประมาทในบทความดังกล่าว
4. ผู้พิพากษามีคำสั่งพิพากษาให้จำเลยที่อุทธรณ์ต่อศาลสูง จ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์คนละ 500,000 ริงกิด (160,000 เหรียญสหรัฐ)

ปี พ.ศ. 2548 นายอันวาร์ อิบราฮิม (Anwar Ibrahim) ชนะคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 4.5 ล้านริงกิด (1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) จาก Datuk Abdul Khalid@ Khalid Jafri Bakar Shah ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "50 Dalil Mengapa Anwar Tak Boleh Jadi PM" ("50 เหตุผลที่ทำไมอันวาร์ไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้") ซึ่งมีการเผยแพร่ในวาระที่เขาถูกปลดจากตำแหน่งในรัฐบาลและในพรรคเมื่อปี พ.ศ. 2541

ปี พ.ศ. 2549 Vincent Tan Chee Yioun เจ้าพ่อวงการธุรกิจมีการเจรจาค่าเสียหายโดยไม่เปิดเผยจำนวนเงิน ในคดีที่เขาฟ้องร้องศาสตราจารย์ Jomo Kwame Sundram และจำเลยร่วมอีก 4 คน ร่วมกับสำนักพิมพ์ Star Papyrus Printing Sdn Bhd. การฟ้องร้องดังกล่าวนี้เกิดจากบทความเรื่อง "Malaysia props up crony capitalists" ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Asian Wall Street Journal (ฉบับวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2541)

กลุ่มธุรกิจ VS สื่อ
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมการออกแบบ Maunsell Sharma & Zakaria ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านออกแบบของโครงการทางหลวงยกระดับ Ampang-KL Elevated Highway (KLT) ฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีหมิ่นประมาทจากสำนักพิมพ์ Utusan Melayu (M) Bhd เป็นเงิน 50 ล้านริงกิด โจทก์อ้างว่าหนังสือพิมพ์รายวัน Utusan Malaysia daily ตีพิมพ์ข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทบริษัทฯ ในบทความที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวันที่ 9 และ 10 กุมภาพันธ์ เกี่ยวกับรอยร้าวของถนนวงแหวนเส้นกลางบนทางหลวงและรอยร้าวนี้มีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการด้านวิศวกรรมการออกแบบทางหลวง

P&A Systech Sdn. Bhd ฟ้องร้องหนังสือพิมพ์ The Star และผู้สื่อข่าว Sira Habibu ในคดีหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหาย 20 ล้านริงกิด จากกรณีเขียนบทความเรื่อง "Illegal Sand Dredging in Kedah" โจทก์อ้างว่าบทความดังกล่าวเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจว่า บริษัทฯ กำลังประกอบธุรกิจผิดกฎหมายโดยไม่มีใบอนุญาต โครงการดังกล่าวนี้มีประเด็นถกเถียงขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมและยังไม่มีข้อสรุป

การปะทะกันของนักการเมือง
- Tan Sri Abdul Taib Mahmud ผู้ว่าการรัฐซาราวัก เรียกร้องคำขอโทษต่อหน้าสาธารณะ และค่าทดแทนที่ไม่เปิดเผยจำนวนจากพรรคการเมืองเกออาดิลัน (Parti Keadilan Rakyat (PKR) หรือ People's Justice Party) และผู้นำพรรค 2 คนในรัฐซาราวัก กรณีเผยแพร่ใบปลิวซึ่งเขาอ้างว่าเป็นการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง สื่อที่ต้องถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีนี้คือ Malaysiakini.com ที่พิมพ์เผยแพร่เรื่องที่ผู้ว่าการรัฐฯเข้าไปเกี่ยวข้องการเจรจาที่น่าคลือบแคลงเกี่ยวกับสัมปทานไม้

- คดีหมิ่นประมาทที่ Husam Musa นักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน Parti Islam SeMalaysia (PAS) ถูกฟ้องโดยบริษัท ECM Libra Berhad ที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Khairy Jamaluddin ซึ่งเป็นบุตรเขยของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2549 จากบทความเรื่อง "How did Khairy buy the shares of ECM Libra?" ที่ Husam เขียนโดยหยิบยกข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของนักการเมืองหนุ่มในการหาเงินหลายล้าน มาซื้อหุ้นในบริษัทที่ได้รับความโปรดปรานจากรัฐบาลให้ทำโครงการต่างๆ บทความดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Harakah ของพรรคอิสลาม

นักการเมือง, ตำรวจ และสื่อ
ACP K. Kumaran ผู้กำกับการตำรวจเมือง Sentul ฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านริงกิด จากสมาชิกสภาสูงของพรรคเกออาดิลัน (Parti Keadilan Rakyat (PKR) และหนังสือพิมพ์รายวัน Tamil daily การฟ้องดังกล่าวนี้ตามมาด้วยการฟ้องกลับของพรรคเกออาดิลัน ว่า ผู้ว่าการตำรวจฯหมิ่นประมาทและบกพร่องต่อการปฏิบัติราชการ

คดีนี้เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีฆาตกรรมสตรี ที่กล่าวกันว่ามีความสัมพันธ์กับบุตรชายของสมาชิกในคณะรัฐมนตรี กรณีนี้หนังสือพิมพ์ Tamil daily - Makkal Osai ถูกโจมตีอย่างต่อเนื่องจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล Indian party และถูกคุกคามอีกเมื่อไม่นานมานี้โดยรัฐบาลปฏิเสธที่จะออกใบอนุญาตการพิมพ์ประจำปีให้ ต่อมามีการกลับลำโดยรัฐบาลยอมออกใบอนุญาตให้ ทั้งนี้เชื่อกันว่าเป็นเพราะแรงกดดันจากสาธารณชน

มีกรณีที่ไม่ได้รับการเปิดเผยอีกจำนวนมาก ที่บุคคลและบริษัทขู่ว่าจะฟ้องร้องหมิ่นประมาทสื่อและนักข่าว องค์กรสื่อหลายแห่งได้รับจดหมายแจ้งอย่างเป็นทางการว่าอาจจะถูกฟ้องร้องหมิ่นประมาทหากไม่ยุติการพิมพ์เผยแพร่เรื่องต่างๆ

ในกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาจีน Oriental Daily News และนักข่าวได้รับจดหมายแจ้งอย่างเป็นทางการ 2 ฉบับ จากบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีเรื่องอื้อฉาวถูกเปิดเผยอยู่ในบล็อกต่างๆ และหนังสือพิมพ์บางฉบับ ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐซาราวัก เรื่องดังกล่าวเกี่ยวข้องกับโครงการ Port Klang Free Zone (*) และนักข่าวที่เขียนข่าวนี้เพียงแต่ระบุชื่อของผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว

(*)Port Klang Free Zone (PKFZ) is a 1,000-acre) regional industrial park and integrated free zone and industrial zone providing integrated commercial and industrial zone offering facilities for international cargo distribution (export), regional distribution and manufacturing parks for products fabrication. It is located along the Straits of Malacca Port Klang, Klang, Malaysia. The PKFZ was previously managed by Jebel Ali Free Zone Authority (JAFZA), however it is taken over and rebranded by local company in 2007.

The regional industrial park offers various investment incentives to investors to set up business and manufacturing facilities in PKFZ, eg. tax exemptions on most products and/or services, industrial allowances, 100% foreign equity, 100% repatriation of capital and profits and, incentives for R&D, training and export.

คดีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเกอร์
ปี พ.ศ. 2550 มีการฟ้องคดีหมิ่นประมาทจำนวนมาก และคดีประวัติศาสตร์นี้เป็นคดีที่องค์กรสื่อขนาดใหญ่ ฟ้องบล็อกเกอร์ 2 คน คนหนึ่งเป็นอดีตนักข่าว คือ Adiruddin Atan และอีกคนหนึ่งเป็นทั้งบล็อกเกอร์และที่ปรึกษาด้านไอที คือ Jeff Ooi

โดยเมื่อวันที่ 11 มกราคม หนังสือพิมพ์ The New Straits Times ได้แจ้งคำสั่งของศาลที่สั่งให้ Jeff Ooi ลบข้อความหมิ่นประมาทที่โพสต์อยู่ในบล็อกของเขา จำนวน 13 ข้อความที่มีการโพสต์ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2550

คดีที่ Ooi และ Atan ถูกฟ้องหมิ่นประมาทนี้ ทำให้เกิดการถกเถียงในประเทศมาเลเซียว่าบล็อก, การโต้เถียงแสดงความคิดเห็นในสื่อออนไลน์ และเวบไซด์นั้นจะต้องใช้กฎหมายหมิ่นประมาทฉบับเดียวกับเรื่องที่ถูกตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์หรือไม่. ศาสตราจารย์ Shad Saleem Faruqi ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กล่าวไว้ตามที่มีการอ้างถึงใน The New Straits Times เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550 ในหัวข้อข่าว Bloggers Subject to Some Rules โต้แย้งว่า "คำนิยามของคำพูด คลอบคลุมทุกรูปแบบของการสื่อสารไม่ว่าจะรูปแบบใด, การเขียนหรือสัญลักษณ์ ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าบล็อกเกอร์นั้นจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน"

การแปลความหมายของศาลเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก?
เราได้เห็นศาลมีคำสั่งให้มีการจ่ายค่าเสียหายหลายล้านริงกิดในคดีความหมิ่นประมาทต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุแห่งความกังวลโดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับสื่อ มีเพียงคดีที่อุทธรณ์ในปีพ.ศ. 2543 ที่ผู้พิพากษา Gopal Sri Ram กล่าวเป็นข้อสังเกตไว้ว่า คดีหมิ่นประมาทไม่ควรถูกใช้เป็นกลไกในการกดขี่

"ในกระบวนการปรึกษาหารือของพวกเรานั้น ไม่ได้มองข้ามแนวโน้มที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ เกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายและการสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเป็นเงินหลายล้านริงกิด […] นั่นเป็นการตัดสินใจที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ปรัชญาสำคัญของการพิพากษานั้นคือ ความเสียหายต่อชื่อเสียงนั้นมีความสำคัญกับสมาชิกในสังคมของเราไม่มากไปกว่าการสูญเสียสมาชิกของสังคมไป แต่เราคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราควรต้องตรวจสอบแนวโน้มที่ถูกกำหนดไว้จากคดีนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินการสำหรับคดีหมิ่นประมาทไม่ได้ถูกใช้เป็นกลไกในการกดขี่ มิเช่นนั้น เสรีภาพในการแสดงออกที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญจะเป็นเพียงภาพลวงตา"

คำพิพากษาเมื่อไม่นานมานี้ในคดีที่ไอรีน เฟอร์นานเดซ (Irene Fernandez) นักกิจกรรมทางสังคมฟ้องร้องหนังสือพิมพ์รายวัน Utusan Malaysia ผู้พิพากษาตัดสินให้ไอรีนได้รับค่าเสียหาย 200,000 ริงกิด (60,000 เหรียญสหรัฐ) และสั่งให้หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ข้อความที่ระบุถึงความรับผิดชอบของวิชาชีพหนังสือพิมพ์ เป็นส่วนหนึ่งบนเนื้อที่หนังสือพิมพ์. คดีนี้ นักข่าวและหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ไม่สามารถหาคำอธิบายที่ชอบธรรมในเรื่องที่ตีพิมพ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายงานที่ไอรีนเขียน เกี่ยวกับการละเมิดในสถานกักกันตัวคนเข้าเมือง

(*)Irene Fernandez (*1946) is the director and co-founder of the non-governmental organization Tenaganita, which promotes the rights of migrant workers and other oppressed and poor people in Malaysia. They had been given the promise of getting support for their families at home by the rich, but instead, they got cheated and had to suffer malnutrition, torture and sexual abuse.

In 1995, Irene Fernandez published a report on the living conditions of the migrant workers. She was arrested in 1996 and charged with 'maliciously publishing false news'. After seven years of trial, she was found guilty in 2003 and imprisoned for one year. Her civil rights are now restricted, but she carries on her everyday life and continues her work.

In 2005, she was awarded the Right Livelihood Award for "her outstanding and courageous work to stop violence against women and abuses of migrant and poor workers".

แต่การแปรความหมายเช่นนี้เกิดขึ้นยากและจะทำให้ขาดความศรัทธาในฝ่ายตุลากร (ที่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลและคำประกาศที่จะปฏิรูปตุลาการ), การฟ้องหมิ่นประมาทยังคงถูกมองว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ของเสรีภาพในการแสดงออก

อุปสรรคที่ใหญ่กว่าสำหรับสื่อในประเทศมาเลเซีย
ในประเทศมาเลเซีย เครื่องมือหลักที่ถูกใช้ในการควบคุมและคุกคามสื่อคือ กฎหมายอื่นๆ ที่ควบคุมการเผยแพร่จัดจำหน่าย และกฎหมายที่ควบคุมการปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง กฎหมายที่เป็นปัญหา คือ:

- กฎหมายสื่อสิ่งพิมพ์และการพิมพ์ พ.ศ. 2527:
เป็นกากเดนของยุคสมัยอาณานิคม กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้หนังสือพิมพ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตการพิมพ์ทุกปี ศูนย์กลางเพื่อวิชาชีพสื่ออิสระ (Centre for Independent Journalism - CIJ) (*) พบว่าการใช้กฎหมายนี้เป็นไปเพื่อกดหัวสื่อให้ประพฤติ "ดี" เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

(*)The Centre for Independent Journalism, Malaysia (CIJ) is a non-profit media organisation that aspires towards a democratic and responsible media by empowering communities to claim and protect their information and communication rights. Established in 2001, CIJ seeks to :

- Empower communities through training and capacity building on communication and communication rights;
- Use and expand existing space innovatively for independent media projects;
- Support community-based media initiatives;
- Support and defend journalists in maintaining their professional standards and conduct;
- Advocate legislative changes to promote and protect media freedom, freedom of expression
and freedom of information; and
- Secure local financial support and not compromise on our independence and integrity.

CIJ, as a non-profit organisation, is currently dependent on funding, mainly from global organisations, focusing on different projects. We see this as an initial need while we build on our local funding base. (http://www.cijmalaysia.org/content/view/1/2/)

- ฎหมายว่าด้วยการก่อความไม่สงบ พ.ศ. 2527:
เป็นอีกซากเดนหนึ่งของอดีต รัฐสามารถตีความถ้อยคำที่กินความกว้างขวางของกฎหมายนี้ ในการจัดการกับผู้วิพากษ์วิจารณ์และผู้ต่อต้าน นักการเมืองฝ่ายค้าน นักเคลื่อนไหวทางสังคม และบล็อกเกอร์ ถูกสอบสวนภายใต้กฎหมายนี้ รวมถึงกรณีของ Malaysiakini.com (*) เมื่อปี พ.ศ. 2546 ด้วย

(*)Malaysiakini is a political news website published in English, Malay, Chinese and Tamil. Since its launch on November 20, 1999 it has been widely considered to be one of the leading non-government owned paid-news agencies in Malaysia. Compete.com estimates that Malaysiakini attracts over 170,000 visitors in 2008. Alexa ranked malaysiakini.com as the 16th most popular web site in Malaysia (ahead of Star) in 2008.

Unlike most news sources in Malaysia, Malaysiakini remains free from government regulation and thus widely considered to be the country's only credible, independent voice. Malaysiakini has gained both praise and notoriety by regularly covering subjects and viewpoints deemed taboo by the mainstream broadcast and print media; the fact that it is still allowed to operate is partly due to the Malaysian government's tolerance regarding internet censorship. The Malaysian government had pledged there would be no control and censorship of Internet content in line with efforts to create the Multimedia Super Corridor

คดีล่าสุดที่เกิดขึ้นหลังวันเสรีภาพสื่อโลกเพียงไม่กี่วัน คือ การฟ้องร้อง Raja Petra Kamaruddin บล็อกเกอร์ชื่อดัง จากข้อความที่เขาโพสต์เกี่ยวกับคดีในศาลที่เป็นที่ถกเถียงกัน กรณีเหตุการณ์ฆาตกรรมสตรีชาวมองโกเลีย. นายตำรวจ 2 คน และผู้อำนายการด้านที่ปรึกษาที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรองนายกรัฐมนตรีถูกดำเนินคดีด้วย

- กฎหมายว่าด้วยความลับทางราชการ พ.ศ. 2515:
เป็นกฎหมายที่ถูกตราขึ้นจากผลของเหตุการณ์จลาจล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2512 และถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเก็บความลับเกี่ยวกับการตัดสินใจที่สำคัญของรัฐ. นักข่าวและนักการเมืองฝ่ายค้านหลายคนถูกจับกุมภายใต้กฎหมายนี้

- กฎหมายความมั่นคงภายใน พ.ศ. 2503:
เป็นกฎหมายที่เป็นผลมาจากช่วงที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎหมายนี้มีประสิทธิภาพอย่างมาก ในการก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความกลัวในหมู่ประชาชน นักเขียน ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ ที่ถูกจับกุมและคุมขังภายใต้กฎหมายนี้ ถูกปฏิเสธสิทธิที่จะให้มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมปกติ

- กฎหมายตำรวจ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา:
เป็นเครื่องมือของตำรวจที่ใช้สอบสวนนักข่าวและแหล่งข่าว ขณะนี้มีนักข่าวจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ 2 ฉบับถูกเรียกตัวไปซักถาม กรณีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความผิดพลาดในการบริหารจัดการกองทุนของรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล (Barisan Nasional Government) ที่กำลังจะหมดวาระ

การเมืองที่ควบคุมสื่อ:
เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดที่ทำให้ผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการ ต้องประกอบวิชาชีพในสภาวะน่าเวทนา มีเพียงไม่กี่คนที่กล้าท้าทายเจ้าของสื่อ เพื่อที่จะทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน และเปิดเผยการประพฤติมิชอบต่างๆ

เส้นทางเบื้องหน้า

- การสร้างสื่อที่เข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียว:
ด้วยเหตุที่ต้องแข่งขันกันทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อนั้น ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเต็มออกเต็มใจของบรรดาผู้บริหารสื่อในการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลที่บริหารประเทศ ยิ่งทำให้ยากต่อการส่งเสริมเสรีภาพสื่อและความเป็นอิสระของสื่อด้วย บรรดานักข่าวไม่ได้กำลังทำงานเพื่อยืนยันจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ แต่ทำงานเพื่อรับใช้เจ้าของสื่อ. องค์กรสื่อที่มีความเข้มแข็งมากกว่าจะส่งสัญญาณว่า กฎหมายหมิ่นประมาทไม่สามารถใช้เพื่อควบคุมสื่อ

- ผู้พิพากษาใช้มาตรฐานด้านสิทธิต่างๆ เพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก:
หากพบว่าสื่อกระทำผิดจริง ศาลจำเป็นต้องระมัดระวังว่าเสรีภาพในการแสดงออกไม่ถูกใช้เป็นเครื่องสังเวยในการตัดสินลงโทษ คดีหมิ่นประมาทใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ควรถูกนำมาเป็นมาตรฐานในการพิพากษา

- การเพิ่มการสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ:
กลุ่มสนับสนุนทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค จะคอยติดตามตรวจสอบการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทในการควบคุมสื่อ ขณะเดียวกัน ควรมีการจัดตั้งเครือข่ายสนับสนุนนักข่าวและสื่ออย่างเป็นทางการ และมีการสนับสนุนด้านเงินทุนด้วย

- การยกเลิกกฎหมายต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อเสรีภาพในการแสดงออก:
ประเทศมาเลเซียต้องเดินหน้าดำเนินการปฏิรูปกฎหมายหลายฉบับของประเทศ มาเลเซียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ใช้กฎหมายโบราณที่สุด ในแง่ของการส่งเสริมเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน กลุ่มประชาสังคมต่างๆ และนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน กำลังทำงานร่วมกันเพื่อกดดันให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมายประเภทนี้ แม้ว่าจะเป็นภารกิจที่ยากยิ่ง แต่แนวโน้มทางการเมืองได้เปิดให้เห็นบางช่องทางสำหรับการนี้

บทแปลและเรียบเรียงนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

1563. เวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ: กรณีอินโดนีเซีย (สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง)
1564. สื่ออินโดนิเซีย: แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ / สื่อฟิลิปปินส์กับความรุนแรง (สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง)

1574. สื่อ กับกฎหมายหมิ่นประมาทในติมอร์ตะวันออก และกัมพูชา (สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง)
1578. สื่อกับกฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศมาเลเซีย (สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง)
1579. สถานะเสรีภาพสื่อในออสเตรเลีย - ณ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ (สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 6th May 2008 : Copyleft by MNU.

คดีหมิ่นประมาทไม่ควรถูกใช้เป็นกลไกในการกดขี่ ในกระบวนการปรึกษาหารือของพวกเรานั้น ไม่ได้มองข้ามแนวโน้มที่เกิดขึ้นในประ เทศนี้ เกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายและการสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเป็นเงินหลายล้านริงกิด […] นั่นเป็นการตัดสินใจที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ ปรัชญาสำคัญของการพิพากษานั้นคือ ความเสียหายต่อชื่อเสียงนั้นมีความสำคัญกับสมาชิกในสังคมของเราไม่มากไปกว่าการสูญเสียสมาชิกของสังคมไป แต่เราคิดว่าถึงเวลาแล้ว ที่เราควรต้องตรวจสอบแนวโน้มที่ถูกกำหนดไว้จากคดีนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าการดำเนินการสำหรับคดีหมิ่นประมาทไม่ได้ถูกใช้เป็นกลไกในการกดขี่ มิเช่นนั้น เสรีภาพในการแสดงออกที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญจะเป็นเพียงภาพลวงตา (คัดลอกมาจากบทความ)

H