กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น

เว็บไซต์ที่บอกไม่ได้ว่ามีคุณภาพหรือไม่ เพราะคุณต้องตัดสินใจเอาเองว่าจะใช้คำคุณศัพท์ที่เหมาะสมกับเว็บนี้อย่างไร?
เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำความรู้ที่นำเสนอไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการและสังคม
หากนำเอางานวิชาการไปใช้ประโยชน์
กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnight2545(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com

ขอขอบคุณ https://thaiis.com/ ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่เพื่อการศึกษา
คลิกที่ตัวอักษร a-z เพื่อค้นหาหัวเรื่องตามที่ต้องการ
.........................
copyleft by The Midnightuniv
สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน(บรรณาธิการเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน และสังคมไทยของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ติดต่อที่ midnightuniv(at)yahoo.com/ midnightuniv(at)gmail.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน สามารถคลิกอ่านบทความได้ที่สารบัญ (content 001-800) ข้างบนแถบสีส้มนี้ / ไม่สงวนลิขสิทธิ์
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาส่งไปที่ midarticle(at)yahoo.com

Free Documentation License
Copyleft : 2005, 2006, 2007
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies
of this license document, but changing it is not allowed.

ลิขซ้าย 2548, 2549, 2550 : สมเกียรติ ตั้งนโม
ผู้ที่นำข้อมูลสารานุกรมฟรีไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ เผยแพร่ หรืออ้างอิง โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร โดยระบุถึงเว็บไซต์ และ URL มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org

สนใจข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ที่ส่งถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
คลิกเข้าไปดูได้ที่ป้าย - ข้อมูลจากองค์กรต่างๆ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กองบรรณาธิการขอใช้สิทธิ์ในการอนุญาตให้มีการคัดลอกและนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ทุกเมื่อ

เวทีสัมนาและอภิปราย ณ สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
วันเสาร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๙ ตั้งแต่ ๙.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

จัดโดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับ องค์กรความโปร่งใสแห่งประเทศไทย
และ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


แม้ตามกฎหมายอาญาจะได้บัญญัติฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไว้ในมาตรา 112
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องไม่ให้มีการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิด หรือทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่ข้อกล่าวหาดังกล่าวได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการคุกคามต่อบุคคลต่างๆ ในสังคมอย่างต่อเนื่องกว้างขวาง นับตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน
กระทั่งในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีการใช้ข้อกล่าวหาในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับบุคคลและสื่อมวลชน

การกระทำเช่นนี้ ทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาตกอยู่ในสถานะยากลำบากในการชี้แจงต่อสาธารณะ
เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนอย่างมาก จนสังคมไทยไม่มีโอกาสจะได้เรียนรู้ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ
ที่ผ่านมา การใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพล้วนแต่เป็นการดำเนินการโดยคู่ขัดแย้งในทางการเมือง หรือจากนักการเมือง และในหลายครั้งก็ปรากฏว่าได้มีคำตัดสินให้ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากความผิดไป จึงเห็นได้ชัดเจนว่า
การดำเนินการที่เกิดขึ้นเป็นการใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง มากกว่าการมุ่งหมายปกป้องสถาบันกษัตริย์ดังเป็นที่เข้าใจกัน

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เห็นว่า ประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อสังคมการเมืองไทยอย่างยิ่งจึงได้ร่วมกับ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ องค์กรความโปร่งใสแห่งประเทศไทย จัดการสัมมนาในหัวข้อ
"หมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสังคมไทย" ขึ้น ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๙ โดยมีกำหนดการดังนี้

วันเสาร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๙
9.30 - 12.00 น. "คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ : พิทักษ์สถาบันหรือเครื่องมือคุกคามประชาชน?"
คุณโสภณ สุภาพงษ์ รักษาการสมาชิกวุฒิสภา
ศ. ดร. คณิต ณ นคร คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พล.ต.ท. สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการสันติบาล
คุณไพโรจน์ พลเพชร สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อาจารย์ไพสิฐ พานิชย์กุล มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน,
ดำเนินรายการ

13.00 - 15.00 น. อภิปราย " ทางออก : ถึงเวลาปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ?"

ดร. เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
คุณวสันต์ พานิช คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ผศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, ดำเนินรายการ

แถลงการณ์ ปกป้องระบบกฎหมายในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

กฎหมายเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลงโทษบุคคลที่ได้กระทำการใดๆ
อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

แต่ในสังคมการเมืองไทย ข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้กลายมาเป็นเครื่องมือในทางการเมือง เพื่อที่จะกำจัดบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ยืนอยู่ตรงกันข้ามกับผู้มีอำนาจในทางการเมือง ซึ่งได้มีบุคคลตกเป็นผู้ต้องหา จำเลย ในข้อกล่าวหานี้มาเป็นจำนวนไม่น้อย
นับจากอดีต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่มีการดำเนินคดีกับผู้ที่เคลื่อนไหวคัดค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
ก็มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน เช่น การดำเนินคดีกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และสื่อมวลชน

เมื่อผู้ใดตกอยู่ในฐานะของผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็จะอยู่ในฐานะที่เสมือนถูกปิดปากไม่ให้มีโอกาสชี้แจง
หรือโต้แย้งการกระทำของตนได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนและทั้งบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าสื่อมวลชน กระบวนการยุติธรรม
ต่างก็ปล่อยให้เหตุการณ์ดำเนินไปโดยไม่มีการทักท้วง แม้ว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหาอาจไม่เข้าข่ายต่อการกระทำที่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ตาม
โดยปล่อยให้ศาลเป็นผู้ทำการตัดสินในขั้นสุดท้าย ซึ่งได้สร้างความยากลำบากแก่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นอย่างมาก เพราะในหลายคดี
ก็ได้มีการตัดสินที่เป็นการตีความให้ความผิดฐานนี้กินความไปถึงการกระทำหลายอย่าง ที่อาจห่างไกลต่อความผิดฐานหมิ่นประมาท

สำหรับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ควรจะต้องแยกแยะระหว่างการกระทำที่เป็นการหมิ่น หรือเป็นเพียงแค่การใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม ซึ่งในความผิดนี้ต้องปรากฏอย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำหรือคำพูดที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
เพราะถ้าหากมีการตีความให้คำพูดที่ไม่เหมาะสมเป็นความผิด ก็อาจมีการใช้ข้อหากันอย่างพร่ำเพรื่ออันจะนำมาซึ่งผลเสียต่อสถาบันและระบบกฎหมาย
เนื่องจากเป็นการใช้กฎหมายโดยไม่สุจริตเพื่อมุ่งปิดปากหรือเล่นงานฝ่ายตรงกันข้าม โดยมิได้มีเจตนาที่จะปกป้องสถาบันแม้แต่น้อย

เพื่อมิให้เกิดการใช้คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องมือในการคุกคามประชาชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต้องทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลาง โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
การกระทำใดที่ไม่เข้าข่ายความผิดก็ต้องกล้าที่จะสั่งไม่ฟ้อง โดยไม่จำเป็นต้องปล่อยให้คดีดำเนินต่อไปในชั้นศาล

2. เพื่อไม่ให้เกิดการใช้คดีนี้เป็นเครื่องมือในทางการเมือง ต้องจำกัดไม่ให้มีการริเริ่มดำเนินคดีเกิดขึ้นโดยเพียงบุคคลทั่วไป
แต่ต้องให้คณะรัฐมนตรีมาเป็นผู้ตัดสินใจต่อการที่จะดำเนินคดีหรือไม่ เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในทางการเมือง หากเป็นการกลั่นแกล้งต่อบุคคลบางคน

3. ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นความผิดที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอาญา
การจะลงโทษบุคคลในความผิดนี้ต้องปรากฏอย่างชัดเจนทั้งตัวการกระทำและเจตนา มิใช่เป็นการตีความกว้างขวางให้ครอบคลุมการกระทำอื่นๆ
เช่น การไม่เคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี การทะเลาะวิวาทโดยมีคำด่าเปรียบเปรย ซึ่งมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท
หากเป็นเพียงการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อสถาบันกษัตริย์ อีกทั้งการตีความให้ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้ขยายออกไป
ก็จะเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักของการใช้กฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
22 เมษายน 2549


บทความล่าสุดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๔๙
บริการฟรี เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย
นักวิชาการท่านใด ประสงค์นำเสนอบทความทางวิชาการบนสื่อแห่งนี้
สามารถส่งบทความมาได้ที่ midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com


880. ข้อจำกัดเกี่ยวกับทฤษฎีจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม (สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

881. จุดเปลี่ยนของความคิด การกอบกู้โรงงานในอาร์เจนตินา (ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง)
882. อำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์เฉพาะกิจ และวิธีการอหิงสา (รศ. ดร. เกษียร เตชะพีระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
883. ย้อนรำลึกถึงผลงานรัฐบาลทักษิณ (ตอนที่ ๑) รวบรวมผลงาน นิธิ เอียวศรีวงศ์, กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน)
884. ย้อนรำลึกถึงผลงานรัฐบาลทักษิณ (ตอนที่ ๒) รวบรวมผลงาน นิธิ เอียวศรีวงศ์, กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน)
885. การปฏิวัติกำมะหยี่ของประชาชาติเชคฯ (สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
886. บทบาทของศิลปะในสังคมประชาธิปไตย และ ขอสนับสนุนฟ้าเดียวกัน (เคโกะ เซ : เขียน, Documenta12)
887. In Support of Fa Diew Kan - and the role of art in democratic society - (Keiko Sei
)

888. การเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวมลายูมุสลิม(ตอนที่ ๑) (ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
889.
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวมลายูมุสลิม(ตอนที่ ๒) (ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

890. แผ่นดินอื่น: บริบท ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลง (กำพล จำปาพันธ์ : เขียน, นักวิชาการอิสระ)
891. ทุนนิยม ตลาด และเรื่องของผู้ดีอังกฤษ (ไมเคิล ไรท : เขียน, ฝรั่งมองไทย-ในมติชนสุดสัปดาห์)
892. เกอเธ่และโชเปนฮาวเออร์ : การแปลภาษาและถ้อยคำ (ภัควดี วีระภาสพงษ์, นักแปล และนักวิชาการอิสระ)

893. Constitutionalism: Road Map สู่อุตมรัฐที่ไร้ประชาชน? (ผศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล, สาขานิติศาสตร์)
894. การเมืองของชนชั้นนำ VS การเมืองชนชั้นตาม (ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์, รศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ)
895. ประวัติของคนทำสื่อที่หาญท้าทายทำเนียบขาว : ไมเคิล มัวร์ (สมเกียรติ ตั้งนโม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
896. แถลงการณ์ ปกป้องระบบกฎหมายในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

900
. สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง (สมเกียรติ ตั้งนโม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

สารบัญ ๑ next
สารบัญ ๒ next
สารบัญ ๓ next
สารบัญ ๔ next
สารบัญ ๕ next

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความ
ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 890 เรื่อง หนากว่า 12000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com

ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
(หมายเหตุ : กรณีสั่งซื้อแผ่น CD-ROM จากต่างประเทศ ราคา 350 บาท รวมค่าจัดส่ง)
คลิกอ่านรายละเอียดที่กระดานข่าว ม.เที่ยงคืน

 



ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3

ประวัติ ม.เที่ยงคืน I webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน และสังคมไทยของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

ข้อความใดๆก็ตามที่ปรากฏบนเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นของเจ้าของชื่อ หรือนามแฝง หรือ IP ของผู้นั้น
ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยความรับผิดชอบโดยตรงของบรรณาธิการเว็บไซต์นี้
หากพบข้อความใดบนเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่หมิ่นประมาท หรือล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ชุมชน และสังคม กรุณาแจ้งให้ทราบ
เพื่อที่จะดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด (หากพบข้อความดังกล่าว กรุณาแจ้งให้ทราบที่ midnightuniv(at)yahoo.com)

 

 

คลิกไปหน้า home page เก่า
Date: 24 April 2006
เว็บไซต์ที่มีการคลิกมากกว่า 1.5 -2.0 ล้านคลิกต่อเดือน
บทสัมภาษณ์นอม ชอมสกี : ภาษาชวนเชื่อ
Constitutionalism: อุตมรัฐที่ไร้ประชาชน
การปฏิวัติกำมะหยี่ของประชาชาติเชคฯ
HOST@THAIIS