ปฏิกริยาจากภาคประชาชน
ต่อกรณีข้อตกลง JTEPA
FTA
Watch ฟ้องศาลหลักเมือง-เผาบัญชีหนังหมา
และข้อมูลสำนักข่าวกรองแห่งชาติฯ
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
รวบรวมมาจากข้อมูลที่ได้รับมาจากกลุ่ม
FTA Watch
การรณรงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น
หรือ JTEPA ซึ่งกลุ่ม FTA Watch ได้ทำมาโดยตลอดนั้น จนกระทั่งรัฐบาลชั่วคราวชุดปัจจุบัน
(โดยไม่ฟังเสียงประชาชน - แต่ฟังเสียงกลุ่มทุนเพียงไม่กี่กลุ่มที่ได้รับประโยชน์)
์ได้ไปเซ็นสัญญาข้อตกลงดังกล่าวในวันที่ ๓ เมษายนนี้ ทำให้ปฏิกริยาของภาคประชาชนหลายองค์กร
แสดงออกถึงขีดสุดในระดับตรรกะที่พัฒนามาตามลำดับ ดังจะเห็นได้จากการเสนอข้อมูลแย้ง,
การเสนอข้อกังวลและความห่วงใยในรายละเอียด
มีการนำเรื่องขึ้นสู่ศาลปกครองทุกระดับ
และไปสิ้นสุดกระบวนการที่ศาลหลักเมือง และอาศัยพื้นที่บนท้องถนนหน้าสถานทูตญี่ปุ่นเพื่อเผาบัญชีหนังหมา
อันบรรจุรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความไม่โปร่งใส ไม่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม
และจะไม่มีการรับผิด (accountability) ตามมาในอนาคต หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
ทั้งหมดเหล่านี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงอุทิศหน้าเว็บเพจนี้อย่างเต็มใจ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกประวัติศาสตร์น่าอับยศของจารีตการเมืองและเศรษฐกิจไทย
(midnightuniv(at)gmail.com)
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๙๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๓ เมษายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๐ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
FTA Watch ฟ้องศาลหลักเมือง
เผาบัญชีหนังหมา และข้อมูลสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
รวบรวมโดย กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
1. FTA Watch ฟ้องศาลหลักเมือง
ความนำ
จากการที่รัฐบาลแต่งตั้งชั่วคราว (หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ของ คปค.)
ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะใช้โอกาสการไปเยือนประเทศญี่ปุ่น,
เนื่องในโอกาสครบรอบ 120 ปีความสัมพันธ์ฯไทย-ญี่ปุ่น, เพื่อเซ็นสัญญาความตกลงการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
(JTEPA) ในวันที่ 3 เมษายน 2550 นั้น, กลุ่ม FTA Watch ได้ทำการรณรงค์เพื่อคัดคานเรื่องนี้มาโดยตลอด
(ในหลายรูปแบบ, รายละเอียดต่างๆ สามารถคลิกไปอ่านได้ที่เว็บไซต์ของ FTA Watch
: http://ftawatch.org/ ภาษาอังกฤษ http://www.ftawatch.org/en/index.shtml)
ด้วยการนำเรื่องดังกล่าวขึ้นสู่ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด, (ในช่วงปลายเดือนมีนาคม
2550) เพื่อขอให้ศาลฯ ไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งยับยั้งการทำข้อตกลงฯ ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองศาลฯ ได้พิจารณาเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารฯ
ซึ่งไม่เกี่ยวกับคดีปกครองฯ จึงขอยกคำขอดังกล่าวข้างต้น
เหตุดังนั้น กลุ่ม FTA Watch จึงได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ณ ศาลหลักเมืองในวันที่ 1 เมษายน 2550 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
คำประกาศหน้าศาลหลักเมือง
คำประกาศคว่ำบาตรรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
กรณีทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ญี่ปุ่น โดยไม่ฟังเสียงประชาชน
เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่มิได้มาตามครรลองประชาธิปไตย
หากมาจากการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 เมื่อรัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ
ประชาชนต่างคาดหวังว่า รัฐบาลจะดำเนินการตามสัญญาประชาคมเฉพาะกิจที่ให้คำมั่นไว้กับประชาชน
นั่นคือ ชำระสะสางปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบในยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร,
สร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นกับชนทุกหมู่เหล่า, นำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
แต่แล้วในช่วงระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา นอกจากรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะขาดความเอาจริงเอาจังในการผลักดันพันธกิจดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง ยังกลับทำให้ปัญหาต่างๆ ลุกลามบานปลายมากยิ่งขึ้น. กรณีที่รัฐบาลทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น โดยไม่ฟังเสียงประชาชน นับได้ว่าเป็นกรณีที่ขาดความชอบธรรม เพราะเป็นการกระทำที่ปราศจากหลักธรรมาภิบาล ปิดบังข้อมูลความเป็นจริง ขาดความโปร่งใส หมิ่นเหม่ต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในทางนโยบาย เฉกเช่นเดียวกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ถูกคณะทหารโค่นล้มไปแล้ว เป็นการกระทำนอกลู่นอกทางจากกรอบพันธกิจที่เคยประกาศเป็นพันธสัญญาไว้กับประชาชน อันจะนำมาซึ่งความไม่สมานฉันท์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาลอย่างแน่นอน
การเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น เป็นเรื่องใหญ่ รัฐบาลที่จะทำข้อตกลงระหว่างประเทศเช่นนี้ได้ จะต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การศึกษาวิจัยอย่างละเอียดถึงผลประโยชน์ ผลกระทบทุกๆด้านจากนักวิชาการอิสระ และมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม เป็นจริง และกว้างขวาง การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มุ่งแต่ผลประโยชน์ตัวเลขทางเศรษฐกิจจากเรื่องการส่งออก โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายอย่างใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ย่อมขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่รัฐบาลชั่วคราวชุดนี้เคยประกาศไว้
ผลกระทบของข้อตกลงนี้จะทำให้ญี่ปุ่นนำขยะและของเสียอันตรายเข้ามาทิ้งในประเทศไทย
เปิดช่องให้ต่างชาติยึดครองทรัพยากรชีวภาพและผูกขาดพันธุ์พืช จำกัดมาตรการบังคับใช้สิทธิทำให้ยามีราคาแพง
ลิดรอนอำนาจอธิปไตยของรัฐจากข้อบัญญัติในการคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติ ตลอดจนทำให้คนต่างชาติเข้ามาแย่งชิงการใช้บริการด้านสาธารณสุขในประเทศไทย
และส่งผลกระทบต่อคนยากจนโดยไม่มีมาตรการและกระบวนการใดๆ มารองรับผลกระทบ
(หมายเหตุ: ประเด็นการเข้ามาแย่งชิงการใช้บริการด้านสาธารณสุขในประเทศไทย
โปรดดูบทความ ม.เที่ยงคืน ลำดับที่ 658 เรื่อง: โรงพยาบาลไทย หัวใจบริการ(ต่างชาติ)
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน FTA Watch) คลิกอ่าน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว พวกเรา ซึ่งเป็นประชาชนจากหลายภาคส่วนทั้งที่เป็นเกษตรกร ผู้บริโภค ผู้รับบริการด้านสาธารณสุข พี่น้องสลัมในเมือง และองค์กรที่ติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงมาชุมนุมกัน ณ ที่นี้ เพื่อทำพิธีสักการะบวงสรวงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อันมี พระแก้วมรกต พระสยามเทวาธิราช ศาลหลักเมือง เทพยาดาทุกชั้นฟ้า และ ดวงวิญญาณแห่งบรรพชน ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดคุ้มครองป้องกันประเทศไทยปลอดพ้นจากภัยพิบัติอันเกิดจากโลภาคติ และโมหาคติของรัฐบาล ข้าราชการ และกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่นโดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายใหญ่หลวง ที่จะเกิดแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้ โปรดประทานกำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาในการต่อสู้ด้วยพลังจิตใจที่บริสุทธิ์ ช่วยดลให้ผู้บริหารประเทศกลับใจ ยกเลิกการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ช่วยดลให้กลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์อย่าได้เพียงแต่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน แต่ให้มองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ที่จะได้รับผลกระทบและความเสียหายต่อส่วนรวมในระยะยาวด้วย
เราขอประกาศว่า จะเดินหน้าคัดค้านข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น และไม่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ที่จะลงนามในวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ อย่างถึงที่สุด
๑ เมษายน ๒๕๕๐
ศาลหลักเมือง
2. เผาเอฟทีเอ.ไทย-ญี่ปุ่น พร้อมบัญชีหนังหมา
ไม่ยอมรับการลงนาม
JTEPA : Japan-Thailand Exploitative Partnership Agreement
ประชาไท -3 เม.ย.50 กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(เอฟทีเอว็อทช์)และพันธมิตรประกอบด้วยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์/เอชไอวี ประเทศไทย เครือข่ายผู้บริโภค และเครือข่ายสลัมสี่ภาค
ราว100 คน พร้อมด้วย ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนวณิชย์ เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว ได้ไปประท้วงหน้าสถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
เพื่อคัดค้านการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการลงนามระหว่าง
พล.อ.สุรยุทธฺ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนายชินโซะ
อาเบะ ที่ญี่ปุ่น ในช่วงเย็นวันที่ 3 เม.ย.
การประท้วงครั้งนี้ผู้ประท้วงได้ถือป้ายมีข้อความว่า "JTEPA สัญญาโมฆะ", "Japan-Thailand Exploitative Partnership Agreement", "ฉีกเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น สัญญาทาส สัตว์เศรษฐกิจ" ฯลฯ จากนั้นได้มีตัวแทน 5 คนแสดงท่านอนตายคล้ายศพหน้าสถานฑูต พร้อมป้ายประกาศจับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี, นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีต่างประเทศ, นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีพาณิชย์, นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัตน์ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม, และนายพิศาล มาณวพัฒน์ หัวหน้าคณะเจรจาฯ ฐานฆ่าประเทศไทยโดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน
นายนิมิตร์ เทียนอุดม สมาชิกเอฟทีเอ ว็อทช์ อ่านคำแถลงการณ์ไม่ยอมรับการลงนามเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น
ความว่า
"วันนี้ เป็นวันที่น่าอับอายสำหรับประเทศและประชาชนไทย ที่รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ตัดสินใจลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่สัญญาฉบับนี้จะทำให้เกิดผลกระทบวงกว้างต่อสิ่งแวดล้อม, ทรัพยากรชีวภาพ, เกษตรกร, คนไข้, ผู้ประกอบการรายย่อย, ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ต้องเข้ารับบริการด้านสาธารณสุข, อีกทั้งยังขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับแนวทางการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง ที่รัฐบาลนี้ประกาศเป็นนโยบายในการบริหารประเทศ
วันนี้ เป็นวันที่เราได้เห็นอย่างแจ้งชัดแล้วว่ารัฐบาลชุดนี้ก็มีพฤติกรรมที่แทบไม่แตกต่างใดๆ กับรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ตัดสินใจนโยบายทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวยต่อกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยการปกปิดข้อมูลไม่โปร่งใส และปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนี้สถาบันทางการเมืองต่างๆ แทบทั้งหมดต่างล้มเหลวและไม่สามารถเป็นที่พึ่งพาใดๆ แก่ประชาชนคนส่วนใหญ่ได้ แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2549 ก็ถูกละเมิดจากการที่คณะรัฐมนตรีได้ตัดสินใจลงนามในสัญญาระหว่างประเทศโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเอฟทีเอว็อทช์และพันธมิตรขอเรียกร้องให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างน้อย 20 คนเข้าชื่อกัน เพื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความว่าการลงนามในข้อตกลงเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นในครั้งนี้ของรัฐบาลเป็นการกระทำที่ชอบโดยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะนี่เป็นโอกาสเดียวที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีโอกาสได้แก้ตัว หลังจากที่ประธานสภาฯ และสมาชิกส่วนใหญ่ยอมจำนนอย่างน่าอับอายด้วยการอภิปรายข้อตกลงเอฟทีเอฉบับนี้ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 โดยไม่มีการลงมติ และมิได้มีโอกาสพิจารณาข้อตกลงซึ่งมีความหนา 942 หน้าอย่างรอบคอบ รอบด้าน แต่ประการใด
เราขอยืนยันว่าหนังสือสัญญาหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่รัฐบาลได้ลงนามในวันนี้นั้น เป็น "โมฆะสัญญา" เราไม่ยอมรับและขอปฏิเสธผลผูกพันใดๆ ที่สัญญาฉบับนี้มีต่อประชาชนชาวไทย หนังสือสัญญาฉบับนี้หาได้เป็นสัญลักษณ์ใดๆที่สะท้อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศญี่ปุ่น-ไทยไม่ หากเป็นตัวแทนการกดขี่ของกลุ่มทุนข้ามชาติขนาดใหญ่ที่สมคบคิดกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร และกลุ่มทุนบางกลุ่มในประเทศไทยบดขยี้กลุ่มธุรกิจรายย่อย สร้างผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่แตกต่างใดๆ กับหนังสือสัญญาที่ จอมพล ป. พิบูลสงครามลงนามและนำประเทศไทยกลายเป็นบริวารของรัฐบาลญี่ปุ่นในอดีต
เอฟทีเอว็อทช์และพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์/เอชไอวี, เครือข่ายผู้บริโภค, และเครือข่ายสลัมสี่ภาคจะประสานงานกับประชาชนทั่วประเทศ เคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขหรือยกเลิกหนังสือสัญญาที่ไม่ชอบธรรมนี้โดยเร็วที่สุด เช่นเดียวกับที่ "ขบวนการเสรีไทย" ที่ได้เคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของประเทศจนเป็นผลสำเร็จในท้ายที่สุด"
จากนั้นผู้ชุมนุมได้เผาเอกสารความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น, ทั้งฉบับภาษาอังกฤษ และภาษาไทย, รวมทั้ง "บัญชีหนังหมา" ซึ่งเป็นเอกสารรวบรวมรายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาความตกลง และผู้ที่ให้การสนับสนุน ประกอบไปด้วย คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งคณะ, คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ทั้งคณะ, ยกเว้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเคยอภิปรายท้วงติงการลงนามความตกลง เพราะเป็นห่วงการนำเข้าขยะและการส่งเสริมให้คนญี่ปุ่นมาใช้บริการสาธารณสุขไทย และยกเว้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง สมาชิกกลุ่มเอฟทีเอว็อทช์กล่าวว่า การมาประท้วงในวันนี้เพื่อสะท้อนความไม่เห็นด้วยกับการลงนามความตกลงที่จะมีขึ้นในเวลา18.00 น. เชื่อว่ามีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่ไม่โปร่งใสของรัฐบาลชุดนี้มากกว่า 70% และเรามาบอกกล่าวแก่สถานฑูตญี่ปุ่นให้นำสารไปถึงรัฐบาลญี่ปุ่นว่า ความตกลงนี้มีหลายประเด็นที่กระทบกับคนไทย เช่น เรื่องขยะที่แม้แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่เห็นด้วยกับการที่ญี่ปุ่นพยายามยัดเยียดขยะสารพิษมาทิ้งในประเทศไทย การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินเลย การจำกัดมาตรการบังคับใช้สิทธิการคุ้มครองนักลงทุนซึ่งละเมิดอธิปไตยของประเทศ และการกระตุ้นการบริการสุขภาพจนเกิดปัญหาหมอสมองไหล
ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่น
จะต้องนำความตกลงฯที่ลงนามแล้วผ่านการพิจารณาของรัฐสภา จึงอยากเห็นรัฐสภาญี่ปุ่นจะแก้ไขเนื้อหาสาระที่น่ากังวลเหล่านี้เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ
120 ปีความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น นอกจากนี้ หวังที่จะเห็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
20-30 ท่านเข้าชื่อกันเพื่อขอให้ตุลาการรัฐธรรมนูญตีความว่า
สิ่งที่รัฐบาลไปลงนามนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
"เราเรียกร้องสปิริตจาก สนช. ในครั้งนี้ที่จะปกป้องประเทศไทย เพราะการลงนามครั้งนี้ไม่ต่างจากการที่ จอมพล ป.พิบูลสงครามทำสัญญาร่วมสงครามกับญี่ปุ่นโดยที่ไม่ผ่านสภา และต้องเป็นโมฆะในที่สุด" นางสาวสารีกล่าว
3. STATEMENT: FTA Watch
and Allies Reject JTEPA
Today is a day of the deepest shame for Thailand and the Thai people. The
coup-installed government of Gen. Surayuth Chulanon has decided to sign a
free trade agreement with Japan. This is in spite of the nation-wide impact
that this agreement will have on the environment, biological resources, farmers,
patients, small businesses and the majority consumers of health services.
Moreover, the agreement is in total contradiction to the development path
based on the sufficiency economy philosophy, which the government has declared
to be national policy.
Today is the day when this government's behaviour is shown to be almost no different from the economic policies favouring vested business interests of Thaksin Shinawatra. The decision has been made in a secretive and non-transparent manner, without the participation of the people. Almost all existing political institutions have failed and have betrayed the trust of the public. Even the interim Constitution of 2006 has been violated by the decision of the Cabinet to sign an international agreement without parliamentary approval.
FTA Watch and its allies call upon at least 20 members of the National Legislative Assembly to petition the Constitutional Court for an interpretation of the constitutionality of the signing by this government of the Japanese-Thai Economic Partnership Agreement. This is the last opportunity for the National Legislative Assembly to redeem the shameful capitulation of its Chair and the majority of its Members by discussing the Agreement on 15 February 2007 without any resolution and without even setting eyes on the 942-page document.
We insist that JTEPA as signed by the government today is null and void. We reject it and refute any obligations it places on the Thai people. This agreement does not symbolize good relations between the two countries, but represents oppression by large-scale transnational capital, which conspires with some factions of domestic capital and the coup-installed government to destroy small businesses and harm the majority of the Thai people. In this regard, it is no different from the agreement signed by Field-Marshal P Phibulsongkhram, which made Thailand a vassal of the Japanese government in the past.
FTA Watch and its allies - the Alternative Agriculture Network, the Network of People Living with HIV/AIDS, the Consumers Network, and the Four Regions Slums Network - will mobilize nation-wide support of the Thai people for appropriate amendments to, or cancellation of, this illegitimate agreement as soon as possible, just like the mobilization of the Free Thai Movement for national independence.
3 April 07
FTA Watch
Alternative Agriculture Network
Network of People Living with HIV/AIDS
Consumers Network
Four Regions Slums Network
4. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมคัดค้านการทำข้อตกลง
JTEPA
จากการประชุมวาระพิเศษของคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคม
2550, เวลา 15.00 น. ที่ประชุมได้มีมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้สนับสนุนกลุ่ม FTA Watch
ในการรณรงค์คัดค้านการเซ็นสัญญาความตกลงการเป็นเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น
(JTEPA - Japan - Thailand Economic Partnership Agreement) ดังแถลงการณ์ต่อไปนี้
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ผู้มีรายนามท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอร่วมคัดค้านการทำความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)
ด้วยเหตุแห่งความไม่ชอบธรรมหลายประการคือ
- ตลอดเวลาที่ผ่านมาเกี่ยวกับการทำความตำลงความร่วมมือดังกล่าว ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นทางการโดยภาครัฐ หรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับสาระสำคัญของข้อตกลงนั้น จึงทำให้เกิดความไม่โปร่งใส
- ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่ปรากฏว่าประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะประเด็นการเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเข้ามาจดสิทธิบัตรจุลชีพ หรือเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นประกาศคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
่อันจะเกิดผลกระทบอย่างมากมายและร้ายแรง รวมถึงประเด็นการแย่งใช้บริการสาธารณสุขไทย และการแพร่ขยะอันตรายและของเสียจากญี่ปุ่น- ประการต่อมา หลังจากการทำความตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA)แล้ว หากมีข้อผิดพลาดประการใด รัฐบาลชั่วคราวชุดนี้จะไม่มีส่วนในความรับผิด(accoutability)ใดๆ
ประเด็นที่สำคัญที่สุด คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่า รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารซึ่งเป็นรัฐบาลชั่วคราว และมีนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง มีความขัดแย้งในเชิงนโยบายกับที่ประกาศไว้
ด้วยเหตุข้างต้นทั้งหมด
รัฐบาลชุดนี้จึงไม่มีความชอบธรรมที่จะลงนามข้อตกลงระหว่างประเทศใดๆ
ที่จะมีผลผูกมัดต่อประชาชนและสังคมไทยในอนาคต
คณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกภาคส่วนร่วมมือกับกลุ่ม FTA Watch ให้ระงับการเจรจาไว้ก่อน จนกว่าทุกประเด็นจะได้รับการพิจารณาอย่างกว้างขวาง รอบคอบ และโปร่งใส ภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตยและรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ลงชื่อคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ, รศ.ดร.อรรถจักร
สัตยานุรักษ์, รศ.สายชล สัตยานุกรักษ์, รศ.วารุณี ภูริสินสิทธิ์, รศ.สมเกียรติ
ตั้งนโม, ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ผศ.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช,อ.ชัชวาล ปุญปัน,
อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล, อ.สุชาดา จักรพิสุทธิ์, อ.นัทมน คงเจริญ, อ.พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์,
อ.ชำนาญ จันทร์เรือง
ในส่วนของผู้ต้องการเพิ่มเติมรายชื่อ
กรุณาส่งรายชื่อของท่านมายัง [email protected]
รายชื่อเพิ่มเติม:
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
(ภาคผนวก)
ผลกระทบของการทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น
(JTEPA)
โดย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
http://www.nia.go.th/nia/content/showsubdetail.asp?fdcode=!!!!4116212139111211&ifmid=0010008201015003%2F500112-00001
(หมายเหตุ: ปัจจุบันบทความชิ้นนี้ได้ถูกถอดออกจากเว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว)
การจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (Japan -Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) อาจเป็นปัญหาท้าทายของรัฐบาลที่จะต้องชั่งน้ำหนักในการตัดสินใจเชิงนโยบาย เนื่องจากความตกลงดังกล่าวมีทั้งผลดีและผลเสีย รวมทั้งมีความจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมกำหนดมาตรการรองรับ และต้องมีการเปิดเผยข้อมูลการเจรจาตามข้อเรียกร้องของกลุ่มต่อต้านการเปิดเสรีการค้า
ถึงแม้ว่าประเด็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสถานการณ์การแข่งขันในเวทีการค้าโลกจะเป็นปัจจัยกดดันให้ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำความตกลงดังกล่าวได้ แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลต้องบริหารงานในสภาวะที่ไม่ปกติและมีอายุงานเพียงประมาณ 1 ปี การเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณารับรอง JTEPA จึงอาจเป็นประเด็นอ่อนไหวทางการเมือง และถูกท้วงติงจากกลุ่มที่ต่อต้านการค้าเสรีได้
ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาลจึงน่าจะมีการเปิดเผยข้อมูล ควบคู่ไปกับการสร้างระบบรองรับผลกระทบ เพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจว่าจะไม่เกิดความเสียหายรุนแรงตามมา ทั้งนี้ จากการประมวลถึงผลดีและผลเสียจากกลุ่มนักวิชาการทั้งที่สนับสนุนและคัดค้าน JTEPA (จนถึงกลาง ม.ค.50) พอจะสรุปในเบื้องต้นได้ ดังนี้
สินค้าที่ไทยจะได้รับผลด้านบวก
1. สินค้าเกษตร และประมง การยกเลิกภาษีทันทีจะเป็นประโยชน์ต่อสินค้าผัก-ผลไม้เมืองร้อน, กุ้งแปรรูปทั้งแช่เย็นแช่แข็ง, ไวน์ที่ทำจากผลไม้ แต่ต้องมีใบรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ, และผลิตภัณฑ์จากไม้และป่าไม้ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าที่ญี่ปุ่นให้โควตาพิเศษ เช่น กล้วย, เนื้อหมูและแฮมแปรรูป, แป้งมันสำปะหลังดัดแปลง, กากน้ำตาล, และสับปะรดสด, รวมทั้งมีสินค้าเกษตรของไทยบางรายการได้รับสิทธิลดภาษีมากกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนที่ญี่ปุ่นได้ตกลงไว้ เช่น ปลาทูน่า, ซึ่งญี่ปุ่นยอมลดภาษีให้ไทย ขณะที่ประเทศอื่นไม่ได้รับการลดภาษี
2. สินค้าอุตสาหกรรม การยกเลิกภาษีทันทีจะเป็นประโยชน์กับกลุ่มสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์พลาสติก, สารเคมี และผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ, ส่วนรองเท้าและเครื่องหนัง จะทยอยลดภาษีใน 7-10 ปี โดยกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มน่าจะได้รับประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเห็นได้จากการที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มพยายามเร่งรัดให้รัฐบาลลงนาม JTEPA อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่อาจถูกสหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จะมีตลาดญี่ปุ่นรองรับแทน หากถูกสหรัฐฯ ตัดสิทธิ GSP ในอนาคต
สินค้าที่ไทยจะได้รับผลด้านบวก
1. สินค้าเกษตร การยกเลิกภาษีทันทีจะทำให้สินค้าผลไม้เมืองหนาวของญี่ปุ่นเข้ามาตีตลาดสินค้าผลไม้ไทย อาทิ แอปเปิ้ล, พีช, แพร์, พรุน, ลูกเบอร์รี่, มะนาวฝรั่ง, ซึ่งอาจเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรไทยที่เดิมก็ได้รับความเดือดร้อนจากการทำ FTA ไทย-จีน, ไทย-ออสเตรเลีย, และไทย-นิวซีแลนด์ อยู่แล้ว และปัจจุบันยังไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม
2. สินค้าอุตสาหกรรม การทยอยลดภาษีให้กับสินค้าเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (ยกเว้นเหล็กรีดร้อนที่ยกเลิกภาษีทันที) ชิ้นส่วนยานยนต์เฉพาะที่นำเข้ามาใช้ประกอบรถยนต์ ยานยนต์ขนาดเกิน 3,000 CC ขึ้นไป ซึ่งสินค้าไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่าญี่ปุ่น และอาจส่งผลกระทบต่อ SMEs ของไทย เนื่องจากเงินทุนที่ต่ำกว่า รวมทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าญี่ปุ่นมาก
3. การบริการทางการแพทย์ การเปิดเสรีทางการแพทย์อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ เนื่องจากการอนุญาตให้คนญี่ปุ่นมารับการรักษาพยาบาลในไทยได้ โดยสามารถเบิกจ่ายเงินจากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของรัฐได้ (เท่ากับสิทธิตามกฎหมายญี่ปุ่นที่ให้เบิกจ่ายจากกองทุนสวัสดิการฯ ได้ในอัตราร้อยละ 70) จะเป็นการสนับสนุนให้มีชาวต่างประเทศเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การไหลของแพทย์จากภาครัฐเข้าสู่ภาคเอกชน ประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลลดลง ปัญหามาตรฐานในการรักษาพยาบาลแตกต่างกัน เป็นต้น
4. ข้อกำหนดเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin : RoO) ที่กำหนดให้ใช้วัตถุดิบจากในประเทศเท่านั้น จะเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการไทย เช่น เครื่องนุ่งห่มที่ยังต้องนำเข้าวัตถุดิบบางชนิดจากต่างประเทศ เป็นต้น
5. ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช สูงกว่ามาตรฐานสากล (Sanitary and Phytosanitary Standard : SPS) ดังนั้น แม้ว่าจะมีการยกเลิกภาษีแล้วก็ตาม แต่หากญี่ปุ่นยังมีความเข้มงวดในมาตรการ SPS ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะทำให้สินค้าไทยไม่สามารถเข้าไปทำตลาดในญี่ปุ่นได้
6. ประเด็นขยะพิษ หากมีการระบุในข้อตกลง JTEPA เกี่ยวกับการลดภาษีนำเข้าขยะจากญี่ปุ่นทุกประเภทลงเหลือร้อยละ 0 จริง จะเป็นการเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นนำขยะสารพิษมาทิ้งในไทย แม้ว่าทั้งไทยและญี่ปุ่นจะลงนามในอนุสัญญาบาเซิลแล้ว แต่เนื่องจากช่องโหว่ของอนุสัญญาบาเซิลที่อนุญาตให้ส่งออกขยะพิษเพื่อการรีไซเคิลได้ ประกอบกับเคยปรากฏกระแสข่าวว่าญี่ปุ่นพยายามผลักดันให้มีการตั้งศูนย์รีไซเคิลในไทย จึงอาจทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งมลพิษ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาวะของประชาชนอย่างรุนแรง
แม้ว่าภาครัฐจะพยายามสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะด้วยการทำประชาพิจารณ์ เมื่อ 22 ธ.ค. 49 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะประเด็นหลักที่ทำให้เกิดกระแสต่อต้านการทำ JTEPA คือ การที่ภาครัฐไม่เปิดเผยร่างความตกลงฉบับสมบูรณ์ (text) ต่อสาธารณะ ส่งผลให้ภาคเอกชนเกิดความหวาดระแวง/สงสัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ ว่ามีข้อบทใดบ้างที่เป็นประโยชน์ หรืออาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยภายหลังการลงนาม
โดยเฉพาะกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ที่เคลื่อนไหวคัดค้านการเปิดเสรีการค้ามาโดยตลอด ในระยะที่ผ่านมา ความพยายามจัดทำข้อตกลงดังกล่าวเผชิญการคัดอย่างรุนแรง เห็นได้จากการเจรจาเปิดเสรีการค้าไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 6 เมื่อต้น ม.ค.49 ที่ จ.เชียงใหม่ มีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 10,000 คน จากกลุ่มเครือข่ายคัดค้าน 10 องค์กร เช่น เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ, สมัชชาคนจน, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, เครือข่ายป่าไม้ที่ดิน 4 ภาค เป็นต้น
ดังนั้น หากภาครัฐพยายามผลักดัน JTEPA จึงอาจเผชิญการต่อต้านเช่นเดียวกัน ซึ่งคงจะไม่เป็นผลดีต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้ ทั้งนี้ ช่องทางที่รัฐบาลน่าจะพิจารณาดำเนินการ คือ การเปิดเผยร่างข้อตกลงทั้งฉบับต่อสาธารณะ และการทำประชาพิจารณ์อย่างโปร่งใส รวมทั้งการเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ ก่อนที่จะมีการลงนามใน JTEPA
ข้อมูลภาคผนวกได้รับจาก
Kannikar KIJTIWATCHAKUL
ข้อมูลเพิ่มเติม -------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับผู้สนใจข้อมูลเกี่ยวกับ FTA ที่รวบรวมอยู่บนเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน สามารถคลิกไปอ่านได้
ดังรายนามต่อไปนี้
658.
โรงพยาบาลไทย
หัวใจบริการ(ต่างชาติ) (กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน)
668.
การเจรจา
FTA มหันตภัยสึนามิทางเศรษฐกิจ (กรรณิการ์ กิจติเวชกุล Thai Action
on Globalization)
676.
ข้อเสนอการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯรอบที่
๕ (นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, วุฒิสมาชิก)
780.
ความยอกย้อนและวาระซ่อนเร้นของ
WTO และ FTA (บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, โครงการนโยบายฐานทรัพยากรฯ)
800.
คณาจารย์
นักวิชาการทุกสาขา และประชาชนร่วมคัดค้านการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหรัฐฯ
802.
บทสรุปชีพจรรายวัน
คัดค้านเจรจาเอฟทีเอไทยสหรัฐ (มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมรณรงค์บนสื่อออนไลน์)
806.
จดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ
กรณีการเจรจาเอฟทีเอ (ประชาชน นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาชน)
866.
การเปิดเสรีการลงทุนในเอฟทีเอ.ไทย-สหรัฐ:
สิ่งที่คนไทยต้องรู้ทัน (รศ.ดร.ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล)
927.
หัวเรื่องเศรษฐกิจ:
"จีดีพี.สีเขียว"ปะทะ"เอฟทีเอ.สีดำ" (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
944.
เอฟทีเอ.ไทย-ญี่ปุ่น
ทำไมต้องรีบร้อน??? (รวบรวมโดย กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
990.
เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยเรื่องเอฟทีเอ
กรณีเอกวาดอร์และไทย (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
1000.
ยุทธศาสตร์เจรจาเอฟทีเอ.เพื่อประชาชน
เปรียบเทียบไทย-โบลีเวีย (ข้อมูลจากเอฟทีเอ.วอทช์)
1004.
การค้าที่ไม่เป็นธรรมและไม่รับผิดชอบ
บทเรียนเอฟทีเอของสหรัฐฯ (สรุปโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล)
1031.
เอฟทีเอ.เกาหลีกับสหรัฐฯ
บทเรียนที่เรียนรู้กันได้ (รวบรวมโดยกองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
1131.
FTAไทย-ญี่ปุ่น:
เรื่องของสัตว์ประหลาด Godzilla ตายยาก (กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีฯ
FTA Watch)
1194.
สมาพันธ์องค์กรเอกชนญี่ปุ่นถวายฎีกาในหลวง
กรณีกากของเสียจากญี่ปุ่น (ข้อมูลจาก FTA Watch)
1195. FTA
ไทย-ญี่ปุ่น: การลดศักยภาพของแผ่นดินทองเหลือเพียงที่ทิ้งขยะ (เพ็ญโฉม
แซ่ตั้ง : เขียน)
1196. แผนการเปิดเสรีขยะอันตรายของญี่ปุ่น:
บทเรียนจากฟิลิปปินส์ (เรียบเรียงโดย FTA Watch)
1197. FTA
ไทย-ญี่ปุ่น: รากหญ้าของทั้งสองประเทศไม่มีใครได้ประโยชน์ (สรุปรายงานสัมมนา
JTEPA)
1198. JTEPA
สิทธิบัตรจุลชีพ กับม้าโทรจัน (ตอนที่ ๑)(ตอนที่ ๒) (นันทน อินทนนท์,
มหาวิทยาลัยสต๊อกโฮล์ม)
1199.
FTA Watch
ฟ้องศาลหลักเมือง เผาบัญชีหนังหมา และข้อมูลสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
1200. ระบบสิทธิบัตร:
จุดอ่อนของการคุ้มครองทรัพยากรจุลชีพในไทย (ตอนที่ ๑-๓) (นันทน อินทนนท์
: เขียน)
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Lawrence Henry Summers, received global criticism in 1991 after his shockingly cruel comment of "logic of economics" that "if we transport hazardous wastes and pollution industries with low cost to developing countries where the "price of life" is cheap, we can save our cost. We should accept this truth." It is clear that the current conception of Asia as industrial dumpsite is a reappearance of this shameful discussion.